พบผลลัพธ์ทั้งหมด 772 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7659/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดความรับผิดทางอาญาจากเช็คเมื่อได้รับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของผู้ล้มละลาย
จำเลยลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทในฐานะกรรมการของบริษัทเพื่อชำระหนี้แก่ผู้เสียหาย ต่อมาศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์บริษัทดังกล่าวเด็ดขาด ผู้เสียหายนำเช็คพิพาทไปขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้มีคำสั่งอนุญาตให้ผู้เสียหายมีสิทธิได้รับชำระหนี้เต็มตามจำนวนเงินในเช็ค ดังนี้ การที่ผู้เสียหายได้รับอนุญาตให้ได้รับชำระหนี้จากเช็คตามฟ้องจากกองทรัพย์สินของบริษัทผู้ล้มละลายอย่างเต็มจำนวน มิได้หมายความว่าผู้เสียหายได้รับชำระหนี้ในเช็คตามฟ้องแล้วกรณีไม่อาจถือว่าหนี้ตามเช็คที่โจทก์ฟ้องได้ระงับและสิ้นผลผูกพันไปตามคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ คดีจึงยังไม่เลิกกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 7 สิทธินำคดีอาญามาฟ้องจึงไม่ระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7423/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำของประธานศาลฎีกาที่ไม่ตั้งคณะกรรมการสอบสวน หรือไต่สวนคำร้องคัดค้าน ไม่ถือเป็นละเว้นหน้าที่โดยมิชอบ
การที่จำเลยที่ 3 จะตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยแก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นผู้พิพากษาศาลฎีกาหรือไม่ เป็นอำนาจบริหารงานในหน้าที่ของจำเลยที่ 3 ในตำแหน่งประธานศาลฎีกา และไม่มีผลให้คำพิพากษาศาลฎีกาที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และองค์คณะซึ่งมีอำนาจอิสระในการพิจารณาพิพากษาตามกฎหมายต้องเปลี่ยนแปลงไป โจทก์จึงไม่ได้รับความเสียหายเนื่องจากการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติดังกล่าวของจำเลยที่ 3 โจทก์จึงไม่เป็นผู้เสียหายและไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ระบุในคำฟ้องว่า เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2539 จ. นำร่างคำพิพากษาศาลฎีกาไปให้โจทก์ดู และปรากฏจากสำเนาภาพถ่ายคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีดังกล่าวว่า คำพิพากษาศาลฎีกาลงวันที่ 11 มีนาคม 2539 แสดงว่าคำพิพากษาศาลฎีกาได้ถูกเรียงเสร็จสิ้นแล้วตั้งแต่วันดังกล่าว แต่โจทก์เพิ่งยื่นคำร้องคัดค้านเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2539 และวันที่ 21 พฤษภาคม 2539 อันเป็นระยะเวลาหลังจากที่ศาลฎีกาได้เรียงคำพิพากษาศาลฎีกาเสร็จสิ้น ดังนั้น แม้จะไต่สวนคำร้องคัดค้านและได้ความดังคำคัดค้านก็ไม่ทำให้กระบวนพิจารณาและคำพิพากษาที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และองค์คณะได้ดำเนินและเรียงเสร็จสิ้นก่อนโจทก์ยื่นคำร้องคัดค้านเสียไป ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 13 วรรคสอง การไต่สวนคำร้องคัดค้านจึงไม่อาจจะทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลง และไม่เป็นประโยชน์ต่อโจทก์ ที่จำเลยที่ 3 ไม่ไต่สวนคำร้องคัดค้านของโจทก์และสั่งรวมไว้ในสำนวนไม่เป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์
โจทก์ระบุในคำฟ้องว่า เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2539 จ. นำร่างคำพิพากษาศาลฎีกาไปให้โจทก์ดู และปรากฏจากสำเนาภาพถ่ายคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีดังกล่าวว่า คำพิพากษาศาลฎีกาลงวันที่ 11 มีนาคม 2539 แสดงว่าคำพิพากษาศาลฎีกาได้ถูกเรียงเสร็จสิ้นแล้วตั้งแต่วันดังกล่าว แต่โจทก์เพิ่งยื่นคำร้องคัดค้านเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2539 และวันที่ 21 พฤษภาคม 2539 อันเป็นระยะเวลาหลังจากที่ศาลฎีกาได้เรียงคำพิพากษาศาลฎีกาเสร็จสิ้น ดังนั้น แม้จะไต่สวนคำร้องคัดค้านและได้ความดังคำคัดค้านก็ไม่ทำให้กระบวนพิจารณาและคำพิพากษาที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และองค์คณะได้ดำเนินและเรียงเสร็จสิ้นก่อนโจทก์ยื่นคำร้องคัดค้านเสียไป ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 13 วรรคสอง การไต่สวนคำร้องคัดค้านจึงไม่อาจจะทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลง และไม่เป็นประโยชน์ต่อโจทก์ ที่จำเลยที่ 3 ไม่ไต่สวนคำร้องคัดค้านของโจทก์และสั่งรวมไว้ในสำนวนไม่เป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7390/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การท้าสู้คดีประเด็นสัญญาจ้าง และการกำหนดค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
จำเลยให้การว่าจำเลยจ้างโจทก์โดยมีการทดลองงานและจำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์ไม่ผ่านการทดลองงาน การที่ศาลแรงงาน พิเคราะห์เอกสารสัญญาจ้าง และข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานก็เพื่อวินิจฉัยตามคำท้าว่า จำเลยจ้างโจทก์เข้าทำงานโดยมีการทดลองงานหรือไม่และการที่ศาลแรงงานพิเคราะห์คำว่า พนักงานทดลองงาน และคำว่าพนักงานสัญญาจ้าง ในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน แล้ววินิจฉัยว่าจำเลยจ้างโจทก์เข้าทำงานโดยมีกำหนดระยะเวลาแน่นอนแต่มิใช่ เป็นการทดลองงานเป็นการวินิจฉัยคดีตามคำท้าว่าจำเลยจ้างโจทก์โดยมีการทดลองงานหรือไม่ ตรงตามคำท้าแล้ว
จำเลยแพ้คดีตามคำท้า โดยจำเลยยอมรับข้อเท็จจริงว่าจำเลยจ้างโจทก์เข้าทำงานและจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์ไม่ได้กระทำผิดและไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม แต่สำหรับค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมจะมีมากน้อยเพียงใดนั้น ศาลแรงงานต้องใช้ดุลพินิจกำหนดให้โดยคำนึงถึงอายุของลูกจ้างเมื่อถูกเลิกจ้าง มูลเหตุแห่งการเลิกจ้างและเงินค่าชดเชยที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 การที่ศาลแรงงานพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมเต็มตามฟ้องให้แก่โจทก์โดยมิได้พิเคราะห์ตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น จึงไม่ชอบสมควรย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวต่อไป
จำเลยแพ้คดีตามคำท้า โดยจำเลยยอมรับข้อเท็จจริงว่าจำเลยจ้างโจทก์เข้าทำงานและจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์ไม่ได้กระทำผิดและไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม แต่สำหรับค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมจะมีมากน้อยเพียงใดนั้น ศาลแรงงานต้องใช้ดุลพินิจกำหนดให้โดยคำนึงถึงอายุของลูกจ้างเมื่อถูกเลิกจ้าง มูลเหตุแห่งการเลิกจ้างและเงินค่าชดเชยที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 การที่ศาลแรงงานพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมเต็มตามฟ้องให้แก่โจทก์โดยมิได้พิเคราะห์ตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น จึงไม่ชอบสมควรย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7390/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การท้าคดีประเด็นสัญญาจ้างและการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ศาลต้องพิจารณาหลักเกณฑ์ค่าเสียหายตามกฎหมาย
จำเลยให้การว่าจำเลยจ้างโจทก์โดยมีการทดลองงานและจำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์ไม่ผ่านการทดลองงานการที่ศาลแรงงานพิเคราะห์เอกสารสัญญาจ้าง และข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานก็เพื่อวินิจฉัยตามคำท้าว่า จำเลยจ้างโจทก์เข้าทำงานโดยมีการทดลองงานหรือไม่ และการที่ศาลแรงงานพิเคราะห์คำว่าพนักงานทดลองงานและคำว่าพนักงานสัญญาจ้างในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานแล้ววินิจฉัยว่า จำเลยจ้างโจทก์เข้าทำงานโดยมีกำหนดระยะเวลาแน่นอน แต่มิใช่เป็นการทดลองงานเป็นการวินิจฉัยคดีตรงตามคำท้าว่าจำเลยจ้างโจทก์โดยมีการทดลองงานหรือไม่แล้ว
คู่ความตกลงท้ากันว่าหากจำเลยแพ้คดีตามคำท้าถือว่าจำเลยยอมรับข้อเท็จจริงตามฟ้องโจทก์ หมายความว่าเมื่อจำเลยแพ้คดีตามคำท้าแล้ว จำเลยยอมรับข้อเท็จจริงว่าจำเลยจ้างโจทก์เข้าทำงานและจำเลยเลิกจ้างโจทก์ โดยโจทก์ไม่ได้กระทำผิดและไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้า เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ดังนี้สำหรับค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมศาลแรงงานต้องใช้ดุลพินิจกำหนดให้โดยคำนึงถึงอายุของลูกจ้างเมื่อถูกเลิกจ้างมูลเหตุแห่งการเลิกจ้างและเงินค่าชดเชยที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 ด้วย การที่ศาลแรงงานพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมเต็มตามฟ้องให้แก่โจทก์ โดยมิได้พิเคราะห์ตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น จึงไม่ชอบสมควรย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวต่อไป
คู่ความตกลงท้ากันว่าหากจำเลยแพ้คดีตามคำท้าถือว่าจำเลยยอมรับข้อเท็จจริงตามฟ้องโจทก์ หมายความว่าเมื่อจำเลยแพ้คดีตามคำท้าแล้ว จำเลยยอมรับข้อเท็จจริงว่าจำเลยจ้างโจทก์เข้าทำงานและจำเลยเลิกจ้างโจทก์ โดยโจทก์ไม่ได้กระทำผิดและไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้า เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ดังนี้สำหรับค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมศาลแรงงานต้องใช้ดุลพินิจกำหนดให้โดยคำนึงถึงอายุของลูกจ้างเมื่อถูกเลิกจ้างมูลเหตุแห่งการเลิกจ้างและเงินค่าชดเชยที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 ด้วย การที่ศาลแรงงานพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมเต็มตามฟ้องให้แก่โจทก์ โดยมิได้พิเคราะห์ตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น จึงไม่ชอบสมควรย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7390/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม: ศาลต้องใช้ดุลพินิจพิจารณาปัจจัยในการกำหนดค่าเสียหาย
จำเลยให้การว่าจำเลยจ้างโจทก์โดยมีการทดลองงานและจำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์ไม่ผ่านการทดลองงาน การที่ศาลแรงงานพิเคราะห์เอกสารสัญญาจ้าง และข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานก็เพื่อวินิจฉัยตามคำท้าว่า จำเลยจ้างโจทก์เข้าทำงานโดยมีการทดลองงานหรือไม่ และการที่ศาลแรงงานพิเคราะห์คำว่าพนักงานทดลองงานและคำว่าพนักงานสัญญาจ้างในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานแล้ววินิจฉัยว่า จำเลยจ้างโจทก์เข้าทำงานโดยมีกำหนดระยะเวลาแน่นอน แต่มิใช่เป็นการทดลองงาน เป็นการวินิจฉัยคดีตรงตามคำท้าว่าจำเลยจ้างโจทก์โดยมีการทดลองงานหรือไม่แล้ว
คู่ความตกลงท้ากันว่าหากจำเลยแพ้คดีตามคำท้า ถือว่าจำเลยยอมรับข้อเท็จจริงตามฟ้องโจทก์ หมายความว่า เมื่อจำเลยแพ้คดีตามคำท้าแล้วจำเลยยอมรับข้อเท็จจริงว่าจำเลยจ้างโจทก์เข้าทำงานและจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์ไม่ได้กระทำผิดและไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้า เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมดังนี้ สำหรับค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ศาลแรงงานต้องใช้ดุลพินิจกำหนดให้โดยคำนึงถึงอายุของลูกจ้างเมื่อถูกเลิกจ้าง มูลเหตุแห่งการเลิกจ้างและเงินค่าชดเชยที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 ด้วย การที่ศาลแรงงานพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมเต็มตามฟ้องให้แก่โจทก์ โดยมิได้พิเคราะห์ตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น จึงไม่ชอบ สมควรย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวต่อไป
คู่ความตกลงท้ากันว่าหากจำเลยแพ้คดีตามคำท้า ถือว่าจำเลยยอมรับข้อเท็จจริงตามฟ้องโจทก์ หมายความว่า เมื่อจำเลยแพ้คดีตามคำท้าแล้วจำเลยยอมรับข้อเท็จจริงว่าจำเลยจ้างโจทก์เข้าทำงานและจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์ไม่ได้กระทำผิดและไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้า เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมดังนี้ สำหรับค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ศาลแรงงานต้องใช้ดุลพินิจกำหนดให้โดยคำนึงถึงอายุของลูกจ้างเมื่อถูกเลิกจ้าง มูลเหตุแห่งการเลิกจ้างและเงินค่าชดเชยที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 ด้วย การที่ศาลแรงงานพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมเต็มตามฟ้องให้แก่โจทก์ โดยมิได้พิเคราะห์ตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น จึงไม่ชอบ สมควรย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7330/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างและการคำนวณค่าชดเชยภายใต้กฎหมายแรงงานที่ใช้บังคับ ณ ขณะเลิกจ้าง
นายจ้างบอกเลิกจ้างลูกจ้างตั้งแต่วันที่ 31 กรกฎาคม 2541 และไม่ให้ลูกจ้างทำงานตั้งแต่วันดังกล่าว คงจ่ายแต่เฉพาะสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้ลูกจ้าง เงินดังกล่าวจึงไม่ใช่เงินที่นายจ้างจ่ายให้ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน หรือในวันหยุดซึ่งลูกจ้างไม่ได้ทำงานและในวันลา สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจึงไม่เป็นค่าจ้าง
นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานตั้งแต่วันที่ 31 กรกฎาคม 2541 และไม่จ่ายค่าจ้างให้ตั้งแต่วันดังกล่าว การเลิกจ้างจึงมีผลตั้งแต่วันที่ 31 กรกฎาคม 2541 เมื่อ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 19 สิงหาคม 2541 ในวันที่จำเลยเลิกจ้าง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ยังไม่มีผลใช้บังคับ การที่ลูกจ้างจะได้ค่าชดเชยเพียงใด จึงเป็นไปตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 (3) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเลิกจ้าง
นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานตั้งแต่วันที่ 31 กรกฎาคม 2541 และไม่จ่ายค่าจ้างให้ตั้งแต่วันดังกล่าว การเลิกจ้างจึงมีผลตั้งแต่วันที่ 31 กรกฎาคม 2541 เมื่อ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 19 สิงหาคม 2541 ในวันที่จำเลยเลิกจ้าง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ยังไม่มีผลใช้บังคับ การที่ลูกจ้างจะได้ค่าชดเชยเพียงใด จึงเป็นไปตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 (3) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเลิกจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7329/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดโทษจากคำให้การรับสารภาพและการปรับแก้การเพิ่มโทษตามกฎหมายยาเสพติด
จำเลยให้การรับสารภาพในชั้นจับกุมและศาลได้นำคำให้การรับสารภาพดังกล่าวมาใช้ประกอบการวินิจฉัยลงโทษจำเลย คำให้การของจำเลยในชั้นจับกุมจึงเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา
ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขโดยลดโทษให้จำเลยหนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 และการที่ศาลล่างทั้งสองเพิ่มโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522มาตรา 97 กึ่งหนึ่งนั้น กรณีต้องถือว่าส่วนของการเพิ่มคือกึ่งหนึ่งส่วนของการลดคือหนึ่งในสาม ส่วนของการเพิ่มจึงมากกว่าส่วนของการลด ศาลฎีกาเห็นสมควรไม่เพิ่มไม่ลดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 54
ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขโดยลดโทษให้จำเลยหนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 และการที่ศาลล่างทั้งสองเพิ่มโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522มาตรา 97 กึ่งหนึ่งนั้น กรณีต้องถือว่าส่วนของการเพิ่มคือกึ่งหนึ่งส่วนของการลดคือหนึ่งในสาม ส่วนของการเพิ่มจึงมากกว่าส่วนของการลด ศาลฎีกาเห็นสมควรไม่เพิ่มไม่ลดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 54
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7329/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดโทษและเพิ่มโทษตามกฎหมายอาญาและ พ.ร.บ.ยาเสพติด การพิจารณาความสมดุลของโทษ
จำเลยให้การรับสารภาพในชั้นจับกุมและศาลได้นำคำให้การรับสารภาพดังกล่าวมาใช้ประกอบการวินิจฉัยลงโทษจำเลย คำให้การของจำเลยในชั้นจับกุมจึงเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา
ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขโดยลดโทษให้จำเลยหนึ่งในสามตามป.อ.มาตรา 78 และการที่ศาลล่างทั้งสองเพิ่มโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 97 กึ่งหนึ่งนั้น กรณีต้องถือว่าส่วนของการเพิ่มคือกึ่งหนึ่งส่วนของการลดคือหนึ่งในสาม ส่วนของการเพิ่มจึงมากกว่าส่วนของการลด ศาลฎีกาเห็นสมควรไม่เพิ่มไม่ลดตาม ป.อ.มาตรา 54
ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขโดยลดโทษให้จำเลยหนึ่งในสามตามป.อ.มาตรา 78 และการที่ศาลล่างทั้งสองเพิ่มโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 97 กึ่งหนึ่งนั้น กรณีต้องถือว่าส่วนของการเพิ่มคือกึ่งหนึ่งส่วนของการลดคือหนึ่งในสาม ส่วนของการเพิ่มจึงมากกว่าส่วนของการลด ศาลฎีกาเห็นสมควรไม่เพิ่มไม่ลดตาม ป.อ.มาตรา 54
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7264/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแสดงบัตรจอดรถโดยมิได้แจ้งข้อเท็จจริง ไม่ถึงขั้นฉ้อโกง แม้จำเลยจะเสียหาย
โจทก์ (ลูกจ้าง) ขับรถยนต์ของโจทก์ลงจากอาคารจอดรถของจำเลย (นายจ้าง) แล้วแสดงบัตรจอดรถที่มีตราประทับว่าบริการแผนกจัดเลี้ยง 14 ต่อ น. พนักงานรักษาความปลอดภัยซึ่งทำหน้าที่เก็บค่าบริการจอดรถ โจทก์จึงไม่เสียค่าจอดรถแก่จำเลย โจทก์ทราบดีว่าจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างมีข้อห้ามมิให้พนักงานนำรถขึ้นไปจอดบนอาคารจอดรถ และโจทก์ทราบอยู่แล้วว่าวันเกิดเหตุมีการนำรถขึ้นไปจอดโดยไม่มีสิทธิและไม่ได้รับการยกเว้น และโจทก์ควรจะแจ้งความจริงดังกล่าวให้ น. ทราบขณะยื่นบัตรจอดรถนั้น เป็นกรณีที่โจทก์แสดงบัตรจอดรถที่มีตราประทับว่าบริการแผนกจัดเลี้ยง 14 ต่อ น. เพื่อจอดรถโดยไม่ต้องเสียค่าจอดรถเท่านั้น โจทก์ได้รับผลเพียงการบริการจอดรถจากจำเลย โจทก์หาได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากจำเลยไม่ การกระทำของโจทก์จึงไม่เป็นความผิดอาญาฐานฉ้อโกงและมิได้เป็นการจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7264/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดฐานฉ้อโกงต้องมีการได้ไปซึ่งทรัพย์สิน การบริการจอดรถไม่ใช่ทรัพย์สิน
โจทก์ขับรถยนต์ของโจทก์ลงจากอาคารจอดรถของจำเลยแล้วแสดงบัตรจอดรถที่มีตราประทับว่าบริการแผนกจัดเลี้ยง 14 ต่อ น. พนักงานรักษาความปลอดภัยซึ่งทำหน้าที่เก็บค่าบริการจอดรถ โจทก์จึงไม่เสียค่าจอดรถแก่จำเลย โดยโจทก์ทราบดีว่าจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างมีข้อห้ามมิให้พนักงานนำรถขึ้นไปจอดบนอาคารจอดรถ และโจทก์ทราบอยู่แล้วว่าวันเกิดเหตุมีการนำรถขึ้นไปจอดโดยไม่มีสิทธิและไม่ได้รับการยกเว้นและโจทก์ควรจะแจ้งความจริงดังกล่าวให้ น. ทราบขณะยื่นบัตรจอดรถนั้นมิใช่กรณีที่ทำให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สามถอนหรือทำลายเอกสารสิทธิ และความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 ตอนแรก กรณีจะต้องได้ความว่าผู้กระทำผิดได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวง โจทก์แสดงบัตรจอดรถที่มีตราประทับว่าบริการแผนกจัดเลี้ยง 14 ต่อ น. เพื่อจอดรถโดยไม่ต้องเสียค่าจอดรถเท่านั้น โจทก์ได้รับผลเพียงการบริการจอดรถจากจำเลยโจทก์หาได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากจำเลยไม่ การกระทำของโจทก์จึงไม่เป็นความผิดอาญาฐานฉ้อโกง และมิได้เป็นการจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย