คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
มงคล คุปต์กาญจนากุล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 772 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2684/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตอำนาจมอบอำนาจในการขอคืนของกลาง: อำนาจตามหนังสือมอบอำนาจต้องชัดเจนและครอบคลุมถึงการยื่นคำร้องต่อศาล
ผู้ร้องทำหนังสือมอบอำนาจระบุให้ ส. มีอำนาจทำหนังสือคำร้องคำขอหรือแบบรายการของหน่วยราชการใด ๆ เพื่อขอรับและรับทรัพย์สินของบริษัทจากบุคคล นิติบุคคล หน่วยราชการ พนักงานสอบสวน หรือเจ้าพนักงานอื่นใด ไม่ว่าจะเป็นการขอรับมาเพื่อเก็บรักษาไว้ชั่วคราวระหว่างดำเนินคดีหรือเป็นการขอรับคืนเมื่อคดีถึงที่สุดแล้วเท่านั้นไม่ปรากฏว่าผู้ร้องได้มอบอำนาจให้ ส. มีอำนาจดำเนินคดีในศาลหรือยื่นคำร้องขอต่อศาลเพื่อขอรถยนต์กระบะของกลางคืน ทั้งหากกรณีคดีถึงที่สุดโดยศาลมิได้สั่งริบของกลาง หรือโจทก์มิได้ขอให้ริบของกลาง การขอของกลางหรือทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานยึดไว้เพื่อใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีคืน ก็หาจำต้องขอคืนต่อศาลไม่ การระบุให้มีอำนาจขอรับทรัพย์สินคืนเมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว จึงมิใช่การมอบอำนาจให้ยื่นคำร้องขอรถยนต์กระบะของกลางคืนจากศาล ส.ย่อมไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอรถยนต์กระบะของกลางคืนจากศาลแทนผู้ร้องและไม่มีอำนาจมอบอำนาจช่วงให้ ค. ยื่นคำร้องดังกล่าว ค. จึงไม่มีอำนาจยื่นคำร้องในคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2684/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตอำนาจมอบอำนาจ: การขอคืนของกลางต้องดำเนินการอย่างไร
ผู้ร้องทำหนังสือมอบอำนาจระบุให้ ส.มีอำนาจทำหนังสือคำร้องคำขอหรือแบบรายการของหน่วยราชการใด ๆ เพื่อขอรับและรับทรัพย์สินของบริษัทจากบุคคล นิติบุคคล หน่วยราชการ พนักงานสอบสวน หรือเจ้าพนักงานอื่นใด ไม่ว่าจะเป็นการขอรับมาเพื่อเก็บรักษาไว้ชั่วคราวระหว่างดำเนินคดีหรือเป็นการขอรับคืนเมื่อคดีถึงที่สุดแล้วเท่านั้น ไม่ปรากฏว่าผู้ร้องได้มอบอำนาจให้ ส.มีอำนาจดำเนินคดีในศาล หรือยื่นคำร้องขอต่อศาลเพื่อขอรถยนต์กระบะของกลางคืน ทั้งหากกรณีคดีถึงที่สุดโดยศาลมิได้สั่งริบของกลาง หรือโจทก์มิได้ขอให้ริบของกลาง การขอของกลางหรือทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานยึดไว้เพื่อใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีคืน ก็หาจำต้องขอคืนต่อศาลไม่ การระบุให้มีอำนาจขอรับทรัพย์สินคืนเมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว จึงมิใช่การมอบอำนาจให้ยื่นคำร้องขอรถยนต์กระบะของกลางคืนจากศาล ส.ย่อมไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอรถยนต์กระบะของกลางคืนจากศาลแทนผู้ร้อง และไม่มีอำนาจมอบอำนาจช่วงให้ ค.ยื่นคำร้องดังกล่าว ค.จึงไม่มีอำนาจยื่นคำร้องในคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2683/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการริบทรัพย์สินในคดียาเสพติด: การพิจารณาความผิดตาม พ.ร.บ.มาตรการปราบปรามยาเสพติด
การร้องขอให้ริบรถยนต์กระบะของกลางโดยอ้างว่าเป็นทรัพย์ที่จำเลยใช้เป็นพาหนะนำเมทแอมเฟตามีนอันเป็นยาเสพติดตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดมาไว้ในครอบครองและพายาเสพติดดังกล่าวไปเพื่อให้ได้รับผลในการกระทำความผิด ให้ตกเป็นของกองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติดของพนักงานอัยการเป็นการยื่นคำร้องโดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดพ.ศ. 2534 มาตรา 30, 31 ซึ่งความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 ไม่ได้รวมถึงการมียาเสพติดไว้ในครอบครองด้วย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในข้อหามีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ไม่ใช่คดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตามพ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534พนักงานอัยการโจทก์จึงไม่มีอำนาจร้องขอให้ศาลสั่งริบทรัพย์สินของกลางดังกล่าวให้ตกเป็นของกองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติดตามมาตรา 30 และ 31 แห่งพ.ร.บ.ดังกล่าวได้ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสองประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2683/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลสั่งริบทรัพย์สินในคดียาเสพติด: ข้อจำกัดตาม พ.ร.บ.มาตรการปราบปรามยาเสพติด เมื่อไม่ใช่ความผิดตามกฎหมายดังกล่าว
ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ มาตรา 3 ให้คำนิยามไว้ว่า หมายความว่าการผลิตนำเข้า ส่งออก จำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติดและให้หมายความรวมถึง การสมคบ สนับสนุน ช่วยเหลือ หรือพยายามกระทำความผิดดังกล่าวด้วย ไม่ได้รวมถึงการมียาเสพติดไว้ในครอบครอง โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยข้อหามีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตไม่ใช่คดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตามพระราชบัญญัติดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีอำนาจร้องขอให้ศาลสั่งริบทรัพย์สินของกลางให้ตกเป็นของกองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติดตามมาตรา 30 และ 31 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2651/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้ทรัพย์สินพร้อมสิทธิเก็บกิน ไม่ถือเป็นการเนรคุณ แม้ถูกรบกวนสิทธิเก็บกิน สามารถใช้สิทธิทางศาลได้
โจทก์ยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยโดยเสน่หา โดยโจทก์ยังคงมีสิทธิเก็บกินในที่ดินที่ยกให้ ถือว่าเป็นการให้ทรัพย์สินแก่จำเลยโดยมีค่าภารติดพันโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกให้ถอนคืนการให้เพราะเหตุจำเลยประพฤติเนรคุณได้และหากถูกจำเลยรบกวนสิทธิเก็บกิน โจทก์ย่อมสามารถใช้สิทธิทางศาลบังคับจำเลยไม่ให้ขัดขวางการใช้สิทธิเก็บเงินของโจทก์ได้ โดยไม่จำเป็นต้องถอนคืนการให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2651/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้โดยมีภาระติดพันและสิทธิเก็บกิน: ไม่สามารถถอนคืนได้แม้ถูกรบกวนสิทธิ
การที่โจทก์ยกที่ดินพิพาททั้งสองแปลงให้แก่จำเลยโดยเสน่หา โดยโจทก์ยังคงมีสิทธิเก็บกินในที่ดินที่ยกให้นั้น ถือได้ว่าเป็นการให้ทรัพย์สินแก่จำเลยโดยมีค่าภาระติดพัน โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้ถอนคืนการให้เพราะเหตุจำเลยประพฤติเนรคุณตามป.พ.พ. มาตรา 535 ได้ และหากโจทก์ถูกจำเลยรบกวนสิทธิเก็บกิน โจทก์สามารถใช้สิทธิทางศาลบังคับจำเลยไม่ให้ขัดขวางการใช้สิทธิเก็บกินของโจทก์ได้ โดยไม่จำเป็นต้องถอนคืนการให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2647/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระจำยอมต้องเกิดจากการใช้สิทธิอย่างเปิดเผยและต่อเนื่องในนามเจ้าของที่ดิน ไม่ใช่การใช้ของผู้อยู่อาศัย
++ เรื่อง ภาระจำยอม ++
++ ทดสอบทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++
++ +++++++++++++++++++++++++ ++
++
++ พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงรับฟังได้ในเบื้องต้นว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 3596 และ 4855 ตำบลบางอ้ออำเภอบางซื่อ กรุงเทพมหานคร ซึ่งอยู่ติดต่อกัน และทางด้านทิศเหนือของที่ดินโฉนดเลขที่ 3596 ติดต่อกับที่ดินโฉนดเลขที่ 3597 ของจำเลยซึ่งในที่ดินของจำเลยด้านที่ติดกับที่ดินของโจทก์ จำเลยได้สร้างทางกว้าง 5 เมตร ยาวตลอดแนวเขตที่ดินประมาณ 50 เมตร ไปเชื่อมต่อกับซอยโรจน์นิมิตรเพื่อออกสู่ถนนสาธารณะ บุคคลที่อยู่อาศัยในที่ดินทั้งสองแปลงของโจทก์ได้ใช้ทางในเขตที่ดินของจำเลยเพื่อออกสู่ถนนสาธารณะเมื่อประมาณเดือนกันยายน 2535 จำเลยและบริวารได้ตัดต้นไม้ที่อยู่ชิดแนวเขตระหว่างที่ดินของโจทก์กับที่ดินของจำเลยแล้วสร้างรั้วคอนกรีตเป็นกำแพงตลอดแนวเขตที่ดินของจำเลยปิดกั้นทางเข้าออกจากที่ดินของโจทก์ ทำให้โจทก์และบุคคลที่อยู่ในที่ดินของโจทก์ไม่สามารถใช้ทางของจำเลยออกสู่ทางสาธารณะได้ มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า ทางกว้าง 5 เมตร ในเขตที่ดินโฉนดเลขที่ 3597 ตำบลบางอ้ออำเภอบางซื่อ กรุงเทพมหานคร ของจำเลยตกเป็นภาระจำยอมแก่โฉนดที่ดินเลขที่ 3596 และ 4855 ของโจทก์หรือไม่ โจทก์เบิกความว่าโจทก์ซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 3596 และ 4855 ทั้งสองแปลงมาจากบริษัทเมืองไทยประกันชีวิต จำกัด ตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม 2523 โดยซื้อในนามของบริษัทโลเจย์เอนเทอไพรซ จำกัด ซึ่งโจทก์เป็นกรรมการอยู่ แล้วต่อมาในวันที่ 2 ตุลาคม 2534 จึงได้โอนกรรมสิทธิ์มาเป็นชื่อของโจทก์ ขณะซื้อมีทางเข้าออกจากที่ดินของโจทก์สู่ถนนในที่ดินของจำเลยอยู่แล้ว และขณะที่โจทก์ซื้อที่ดินดังกล่าวมานั้น ในที่ดินของโจทก์มีผู้พักอาศัยอยู่ประมาณ 40 คน โจทก์ไม่เคยเข้าไปพักอาศัยในบ้านซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินที่ซื้อมาเลย แต่โจทก์จะเข้าไปดูที่ดินของโจทก์ปีละหลายครั้งเห็นได้ว่าตั้งแต่โจทก์ซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 3596 และ 4855 มาตั้งแต่ในนามของบริษัทโลเจย์เอนเทอไพรซ จำกัด โจทก์หรือบริษัทดังกล่าวไม่เคยเข้าไปพักอาศัยหรือทำประโยชน์ในที่ดินของโจทก์เลย โจทก์มีนางชูศรีช้างต่อ มาเบิกความเป็นพยานว่า นางชูศรีพักอาศัยอยู่ที่บ้านเลขที่ 205/ขซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินของโจทก์มาตั้งแต่นางชูศรีเกิดเป็นเวลา 48 ปี แล้วและได้ใช้ทางพิพาทเป็นทางเข้าออกมาประมาณ 10 ปี แล้ว ในที่ดินของโจทก์มีบ้านปลูกอยู่ 5 หลัง แต่ได้รื้อไปแล้ว 1 หลัง และนางชูศรีไม่ทราบว่าบิดามารดานางชูศรีเข้ามาอยู่ในที่ดินของโจทก์นี้ได้อย่างไรเห็นว่า นางชูศรีหรือบุคคลที่พักอาศัยอยู่ในที่ดินของโจทก์ได้พักอาศัยอยู่ในบ้านซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินของโจทก์มาก่อนที่โจทก์จะเข้ามาเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ ไม่ปรากฏว่านางชูศรีหรือบุคคลอื่นที่พักอาศัยในที่ดินของโจทก์ดังกล่าวได้อยู่อาศัยโดยได้รับมอบหมายจากเจ้าของที่ดินเดิมอย่างไรหรือไม่โจทก์เองก็เบิกความรับว่าบุคคลผู้ที่พักอาศัยอยู่ในที่ดินของโจทก์นั้นมิได้เป็นผู้เช่าบ้าน และมิใช่ญาติพี่น้องของโจทก์ ทุกคนอยู่มาก่อนที่โจทก์จะซื้อที่ดินดังกล่าว เพียงแต่โจทก์ยินยอมให้พักอาศัยอยู่ในที่ดินของโจทก์ต่อไปเท่านั้น แสดงว่านางชูศรีหรือบุคคลที่พักอาศัยอยู่ในที่ดินของโจทก์ไม่ใช่บริวารของโจทก์หรือของเจ้าของที่ดินคนก่อน การใช้ทางเข้าออกจากที่ดินของโจทก์ผ่านที่ดินของจำเลยเป็นการใช้ของบุคคลผู้พักอาศัยอยู่ในที่ดินของโจทก์เพื่อประโยชน์ของตนเท่านั้น มิใช่เพื่อประโยชน์ของเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 3596 และ 4855 แต่อย่างใด การที่บุคคลเหล่านี้ใช้ทางในที่ดินของจำเลยดังกล่าวจึงมิใช่การใช้แทนหรือในนามหรือเพื่อประโยชน์ของเจ้าของที่ดินเดิมหรือของโจทก์ผู้เป็นเจ้าของที่ดินทั้งสองแปลงโดยมีเจตนาเพื่อให้ได้มาซึ่งภาระจำยอม แม้บุคคลดังกล่าวจะได้ใช้ทางนั้นมาเกินกว่า 10 ปี แล้วก็ไม่ทำให้ทางกว้าง 5 เมตร ในที่ดินโฉนดเลขที่ 3597 ของจำเลยตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 3596 และ 4855 ของโจทก์พยานหลักฐานของโจทก์ที่นำสืบมายังไม่เพียงพอให้รับฟังได้ว่า ทางกว้าง5 เมตร ในที่ดินโฉนดเลขที่ 3597 ตำบลบางอ้อ อำเภอบางซื่อกรุงเทพมหานคร ของจำเลยตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินโฉนดเลขที่3596 และ 4855 ของโจทก์ คดีไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ในข้อที่ว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินของโจทก์มาเกิน 10 ปี แล้วหรือไม่ เพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์มานั้นชอบแล้ว ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน ให้โจทก์ใช้ค่าทนายความชั้นฎีกา 1,500 บาทแทนจำเลย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2612/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจับกุมโดยชอบ แม้ผู้ร่วมลงชื่อในบันทึกการจับกุมไม่ได้ร่วมปฏิบัติการ
จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 20 เม็ด ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนจำนวน 10 เม็ด ให้แก่สายลับของเจ้าพนักงานตำรวจในซอยซึ่งมิใช่ที่รโหฐาน ร้อยตำรวจเอก จ. กับพวกซึ่งซุ่มดูการล่อซื้อจับกุมจำเลยในเวลาต่อเนื่องกับเวลาที่จำเลยจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้แก่สายลับ โดยมีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 10 เม็ด และธนบัตรที่ใช้ในการล่อซื้อจำนวน 1,200 บาท ที่ค้นได้จากกระเป๋ากางเกงของจำเลยเป็นหลักฐานยืนยันการกระทำผิดของจำเลย ในชั้นจับกุมร้อยตำรวจเอก จ. ได้แจ้งข้อหาแก่จำเลย จำเลยให้การรับสารภาพด้วยความสมัครใจ การจับกุมดังกล่าวจึงเป็นการจับกุมโดยชอบ แม้พันตำรวจโท อ. ได้มาลงลายมือชื่อในบันทึกการจับกุมโดยตนเองไม่ได้ร่วมจับกุมจำเลยด้วย ก็เป็นเพียงการกระทำโดยไม่ชอบของพันตำรวจโท อ. เท่านั้น หามีผลทำให้การจับกุมจำเลยที่กระทำโดยร้อยตำรวจเอก จ. กับพวกซึ่งทำโดยชอบกลับกลายเป็นการจับกุมโดยไม่ชอบไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2311/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจหน้าที่ยึดของกลางในคดีอาญา: ศาลฎีกาชี้ว่าพนักงานสอบสวนเป็นผู้มีอำนาจยึดของกลาง ไม่ใช่เจ้าหน้าที่กรมป่าไม้
แม้ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 64จะบัญญัติให้อำนาจของเจ้าหน้าที่ของกรมป่าไม้จำเลยที่ 2 ไว้ว่าในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ ที่เกี่ยวกับความผิดอาญาให้ถือว่าพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ก็ย่อมมีความหมายว่าเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 2 มีอำนาจสืบสวนตรวจค้น จับกุมและยึดสิ่งของใดที่มีไว้ ได้มา ได้ใช้หรือสงสัยว่าได้ใช้ในการกระทำผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 ก่อนมีการสอบสวนเท่านั้นแต่เมื่อไม่มีกฎหมายใดบัญญัติให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มีอำนาจหน้าที่ในการสอบสวนด้วยพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 2 จึงไม่ใช่พนักงานสอบสวน แต่เป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวนในเขตท้องที่ที่มีการกระทำผิดเกิดขึ้น
สิ่งของใดที่สามารถใช้เป็นพยานหลักฐานในการดำเนินคดีแก่ผู้กระทำผิด พนักงานสอบสวนมีอำนาจยึดและรวบรวมเก็บรักษาไว้ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 131มิได้หมายความว่าพนักงานสอบสวนจะยึดได้เฉพาะสิ่งของที่ได้มาด้วยการค้นหรือหมายเรียกตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 132(2) และ (3)เท่านั้น
บทบัญญัติที่ให้อำนาจเจ้าพนักงานผู้จับกุมยึดสิ่งของต่าง ๆได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 85 วรรคสามที่ว่าสิ่งของใดที่ยึดไว้เจ้าพนักงานมีอำนาจยึดไว้จนกว่าคดีถึงที่สุดเมื่อเสร็จคดีแล้วก็ให้คืนแก่ผู้ต้องหาหรือแก่ผู้อื่นซึ่งมีสิทธิเรียกร้องขอคืนสิ่งของนั้น เว้นแต่ศาลจะสั่งเป็นอย่างอื่น นั้น หาได้หมายความว่าเจ้าพนักงานหรือเจ้าหน้าที่คนใดหรือของหน่วยงานใดเป็นผู้ยึดสิ่งของนั้นไว้ตั้งแต่แรกจะต้องเป็นผู้ยึดไว้จนกว่าคดีถึงที่สุดไม่
ขั้นตอนในการดำเนินคดีอาญาแก่ผู้กระทำผิดหลังจากมีการยึดสิ่งของที่สงสัยว่าได้มาหรือมีไว้โดยผิดกฎหมายแล้วย่อมจะต้องไปร้องทุกข์ (กล่าวโทษ) ต่อพนักงานสอบสวนพนักงานสอบสวนก็จะมีอำนาจหน้าที่ทำการสอบสวนคดีที่ได้ร้องทุกข์ไว้และถ้าพนักงานสอบสวนเห็นว่าสิ่งของที่ผู้จับกุมหรือตรวจค้นยึดได้นั้นอาจใช้เป็นพยานหลักฐานในการดำเนินคดีแก่ผู้กระทำผิดได้ พนักงานสอบสวนก็จะสั่งยึดเป็นของกลางในคดีนั้นต่อไปและถ้าหากว่าพนักงานสอบสวนเห็นว่าสิ่งของนั้นไม่ใช่พยานหลักฐานอันจำเป็นในการดำเนินคดีแก่ผู้กระทำผิดก็อาจไม่สั่งยึดสิ่งของนั้นไว้เป็นของกลางก็ได้ ในกรณีเช่นนี้เจ้าพนักงานผู้ยึดสิ่งของนั้นไว้ในชั้นตรวจค้นหรือจับกุมก็ไม่มีอำนาจใดที่จะยึดสิ่งของนั้นไว้อีกได้
การมีไม้สักท่อนของกลางไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตซึ่งเป็นความผิดอาญาตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484ไม้ของกลางย่อมเป็นหลักฐานสำคัญแห่งองค์ความผิดที่จะทำให้ทราบข้อเท็จจริงตลอดจนพฤติการณ์ต่าง ๆ อันเกี่ยวกับความผิดที่ถูกกล่าวหาและเพื่อที่จะรู้ตัวผู้กระทำผิดและพิสูจน์ให้เห็นความผิดเมื่อพนักงานสอบสวนรับคำร้องทุกข์จากกรมป่าไม้จำเลยที่ 2 และมีคำสั่งให้ยึดไม้สักท่อนจำนวนดังกล่าวเป็นของกลางในการสอบสวนคดีอาญาแล้วก็ถือได้ว่าไม้สักท่อนของกลางดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานที่พนักงานสอบสวนรวบรวมไว้เพื่อดำเนินคดีอาญาแก่ผู้กระทำผิดข้อตกลงระหว่างกระทรวงมหาดไทยผู้ดูแลราชการกรมตำรวจ (เดิม)กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ผู้ดูแลราชการกรมป่าไม้จำเลยที่ 2เรื่อง การปฏิบัติเกี่ยวกับของกลางในคดีความผิดเกี่ยวกับป่าไม้และระเบียบกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ว่าด้วยการปฏิบัติเกี่ยวกับของกลางในคดีความผิดเกี่ยวกับการป่าไม้ พ.ศ. 2533 ที่ตกลงให้จำเลยที่ 2เป็นผู้ดูแลรักษาและจัดการตามระเบียบของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์สำหรับของกลางที่ตรวจยึดได้ในคดีความผิดเกี่ยวกับการป่าไม้ทุกชนิด ยกเว้นของกลางที่เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยอาวุธปืนต้องมอบให้พนักงานสอบสวนเก็บรักษาและดำเนินการนั้น ไม่ใช่กฎหมายเป็นเพียงข้อตกลงที่กำหนดขึ้นเพื่อความสะดวกในการปฏิบัติงานระหว่างหน่วยราชการซึ่งต้องปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวข้องต่อกันและสอดคล้องกับกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ แม้กฎหมายและระเบียบที่ออกมาจะกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ในการคืนของกลางให้แก่เจ้าของเมื่อพนักงานอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้อง หรือให้จำเลยที่ 2 ดำเนินการกับของกลางในส่วนที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ริบหรือไม่ริบของกลางก็เป็นกระบวนการในการบังคับคดีซึ่งเป็นอีกขั้นตอนหนึ่งไม่เกี่ยวกับการยึดของกลางไว้ในชั้นสอบสวนและในชั้นพิจารณาของศาล การที่จำเลยที่ 2 ดูแลรักษาไม้ของกลางในระหว่างการสอบสวนของพนักงานสอบสวนจึงเป็นการกระทำการแทนพนักงานสอบสวน
เมื่อกรณียังไม่เป็นที่พอใจว่าคำฟ้องโจทก์ที่ขอให้บังคับจำเลยที่ 2เพิกถอนคำสั่งยึดหรืออายัดไม้สักของกลางมีมูลจึงไม่อาจอนุญาตให้นำวิธีคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาตามที่โจทก์ขอมาใช้บังคับได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 255

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2311/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจยึดของกลางในคดีป่าไม้: เจ้าหน้าที่ป่าไม้ vs พนักงานสอบสวน
แม้ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 64 จะบัญญัติให้อำนาจของเจ้าหน้าที่ของกรมป่าไม้จำเลยที่ 2 ไว้ว่า ในการปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯที่เกี่ยวกับความผิดอาญา ให้ถือว่าพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตาม ป.วิ.อ. ก็ย่อมมีความหมายว่า เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 2 มีอำนาจสืบสวนตรวจค้น จับกุมและยึดสิ่งของใดที่มีไว้ ได้มา ได้ใช้หรือสงสัยว่าได้ใช้ในการกระทำผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 ก่อนมีการสอบสวนเท่านั้น แต่เมื่อไม่มีกฎหมายใดบัญญัติให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มีอำนาจหน้าที่ในการสอบสวนด้วย พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 2 จึงไม่ใช่พนักงานสอบสวน แต่เป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวนในเขตท้องที่ที่มีการกระทำผิดเกิดขึ้น
สิ่งของใดที่สามารถใช้เป็นพยานหลักฐานในการดำเนินคดีแก่ผู้กระทำผิด พนักงานสอบสวนมีอำนาจยึดและรวบรวมเก็บรักษาไว้ทั้งนี้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 131 มิได้หมายความว่าพนักงานสอบสวนจะยึดได้เฉพาะสิ่งของที่ได้มาด้วยการค้นหรือหมายเรียกตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ.มาตรา 132 (2) และ (3) เท่านั้น
บทบัญญัติที่ให้อำนาจเจ้าพนักงานผู้จับกุมยึดสิ่งของต่าง ๆ ได้ตามป.วิ.อ.มาตรา 85 วรรคสาม ที่ว่าสิ่งของใดที่ยึดไว้เจ้าพนักงานมีอำนาจยึดไว้จนกว่าคดีถึงที่สุด เมื่อเสร็จคดีแล้วก็ให้คืนแก่ผู้ต้องหาหรือแก่ผู้อื่นซึ่งมีสิทธิเรียกร้องขอคืนสิ่งของนั้น เว้นแต่ศาลจะสั่งเป็นอย่างอื่น นั้น หาได้หมายความว่า เจ้าพนักงานหรือเจ้าหน้าที่คนใดหรือของหน่วยงานใดเป็นผู้ยึดสิ่งของนั้นไว้ตั้งแต่แรกจะต้องเป็นผู้ยึดไว้จนกว่าคดีถึงที่สุดไม่
ขั้นตอนในการดำเนินคดีอาญาแก่ผู้กระทำผิดหลังจากมีการยึดสิ่งของที่สงสัยว่าได้มาหรือมีไว้โดยผิดกฎหมายแล้ว ย่อมจะต้องไปร้องทุกข์ (กล่าวโทษ)ต่อพนักงานสอบสวน พนักงานสอบสวนก็จะมีอำนาจหน้าที่ทำการสอบสวนคดีที่ได้ร้องทุกข์ไว้และถ้าพนักงานสอบสวนเห็นว่าสิ่งของที่ผู้จับกุมหรือตรวจค้นยึดได้นั้นอาจใช้เป็นพยานหลักฐานในการดำเนินคดีแก่ผู้กระทำผิดได้ พนักงานสอบสวนก็จะสั่งยึดเป็นของกลางในคดีนั้นต่อไป และถ้าหากว่าพนักงานสอบสวนเห็นว่าสิ่งของนั้นไม่ใช่พยานหลักฐานอันจำเป็นในการดำเนินคดีแก่ผู้กระทำผิดก็อาจไม่สั่งยึดสิ่งของนั้นไว้เป็นของกลางก็ได้ ในกรณีเช่นนี้เจ้าพนักงานผู้ยึดสิ่งของนั้นไว้ในชั้นตรวจค้นหรือจับกุมก็ไม่มีอำนาจใดที่จะยึดสิ่งของนั้นไว้อีกได้
การมีไม้สักท่อนของกลางไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตซึ่งเป็นความผิดอาญาตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 ไม้ของกลางย่อมเป็นหลักฐานสำคัญแห่งองค์ความผิดที่จะทำให้ทราบข้อเท็จจริง ตลอดจนพฤติการณ์ต่าง ๆอันเกี่ยวกับความผิดที่ถูกกล่าวหาและเพื่อที่จะรู้ตัวผู้กระทำผิดและพิสูจน์ให้เห็นความผิดเมื่อพนักงานสอบสวนรับคำร้องทุกข์จากกรมป่าไม้จำเลยที่ 2 และมีคำสั่งให้ยึดไม้สักท่อนจำนวน ดังกล่าวเป็นของกลางในการสอบสวนคดีอาญาแล้ว ก็ถือได้ว่าไม้สักท่อนของกลางดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานที่พนักงานสอบสวนรวบรวมไว้เพื่อดำเนินคดีอาญาแก่ผู้กระทำผิด ข้อตกลงระหว่างกระทรวงมหาดไทยผู้ดูแลราชการกรมตำรวจ(เดิม) กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ผู้ดูแลราชการกรมป่าไม้จำเลยที่ 2เรื่อง การปฏิบัติเกี่ยวกับของกลางในคดีความผิดเกี่ยวกับการป่าไม้ และระเบียบกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ว่าด้วยการปฏิบัติเกี่ยวกับของกลางในคดีความผิดเกี่ยวกับการป่าไม้ พ.ศ. 2533 ที่ตกลงให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้ดูแลรักษาและจัดการตามระเบียบของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์สำหรับของกลางที่ตรวจยึดได้ในคดีความผิดเกี่ยวกับการป่าไม้ทุกชนิด ยกเว้นของกลางที่เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยอาวุธปืน ต้องมอบให้พนักงานสอบสวนเก็บรักษาและดำเนินการนั้น ไม่ใช่กฎหมายเป็นเพียงข้อตกลงที่กำหนดขึ้นเพื่อความสะดวกในการปฏิบัติงานระหว่างหน่วยราชการซึ่งต้องปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวข้องต่อกัน และสอดคล้องกับกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ แม้กฎหมายและระเบียบที่ออกมาจะกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ในการคืนของกลางให้แก่เจ้าของเมื่อพนักงานอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้อง หรือให้จำเลยที่ 2ดำเนินการกับของกลางในส่วนที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ริบหรือไม่ริบของกลางก็เป็นกระบวนการในการบังคับคดีซึ่งเป็นอีกขั้นตอนหนึ่งไม่เกี่ยวกับการยึดของกลางไว้ในชั้นสอบสวนและในชั้นพิจารณาของศาล การที่จำเลยที่ 2 ดูแลรักษาไม้ของกลางในระหว่างการสอบสวนของพนักงานสอบสวนจึงเป็นการกระทำการแทนพนักงานสอบสวน
เมื่อกรณียังไม่เป็นที่พอใจว่าคำฟ้องโจทก์ที่ขอให้บังคับจำเลยที่ 2เพิกถอนคำสั่งยึดหรืออายัดไม้สักของกลางมีมูล จึงไม่อาจอนุญาตให้นำวิธีคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาตามที่โจทก์ขอมาใช้บังคับได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 255
of 78