พบผลลัพธ์ทั้งหมด 772 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2311/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจหน้าที่การยึดของกลางในคดีอาญา: อำนาจอยู่ที่พนักงานสอบสวน ไม่ใช่เจ้าหน้าที่กรมป่าไม้
แม้พระราชบัญญัติป่าไม้ฯ มาตรา 64 บัญญัติให้อำนาจของเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ไว้ให้ถือว่าพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาย่อมมีความหมายว่า เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 2 มีอำนาจสืบสวน ตรวจค้น จับกุมและยึดสิ่งของใดที่มีไว้ ได้มา ได้ใช้หรือสงสัยว่าได้ใช้ในการกระทำผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ ก่อนมี การสอบสวนเท่านั้นไม่มีกฎหมายใดบัญญัติให้มีอำนาจหน้าที่ในการสอบสวน ด้วย จึงไม่ใช่พนักงานสอบสวนแต่เป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวน ในเขตท้องที่ที่มีการกระทำผิดเกิดขึ้นและตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 85 วรรคสาม มิได้หมายความว่า เจ้าพนักงานหรือเจ้าหน้าที่คนใดหรือหน่วยงานใดเป็นผู้ยึดสิ่งของนั้นไว้ตั้งแต่แรกจะต้องเป็นผู้ยึดไว้จนกว่าคดีถึงที่สุดด้วยไม่ โดยขั้นตอนต่อไปในการดำเนินคดีอาญาแก่ผู้กระทำหลังจากมีการยึดสิ่งของที่สงสัยว่าได้มาหรือมีไว้โดยผิดกฎหมายแล้ว ย่อมต้องไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน พนักงานสอบสวนก็จะมีอำนาจหน้าที่ ทำการสอบสวนคดีที่ได้ร้องทุกข์ไว้และถ้าเห็นว่าสิ่งของที่ผู้จับกุมหรือ ตรวจค้นยึดได้นั้น อาจใช้เป็นพยานหลักฐานในการดำเนินคดีแก่ผู้กระทำผิดได้ ก็จะสั่งยึดเป็นของกลางในคดีนั้นต่อไป กรณีเช่นนี้เจ้าพนักงานผู้ยึดสิ่งของนั้นไว้ในชั้นตรวจค้นหรือจับกุมก็ไม่มีอำนาจใดที่จะยึดสิ่งของนั้นไว้อีกได้ ส่วนข้อตกลงระหว่างกระทรวงมหาดไทยผู้ดูแลราชการกรมตำรวจในขณะนั้นกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ผู้ดูแลราชการกรมป่าไม้ เรื่อง การปฏิบัติเกี่ยวกับของกลางในคดีความผิดเกี่ยวกับการป่าไม้ และระเบียบกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ว่าด้วยการปฏิบัติเกี่ยวกับของกลางในคดีความผิดเกี่ยวกับการป่าไม้พ.ศ. 2533 ที่ตกลงให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้ดูแลรักษาและจัดการตามระเบียบของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์สำหรับ ของกลางที่ตรวจยึดได้ในคดีความผิดเกี่ยวกับการป่าไม้ทุกชนิด ยกเว้นของกลาง ที่เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยอาวุธปืน ต้องมอบให้พนักงานสอบสวนเก็บรักษาและ ดำเนินการ ไม่ใช่กฎหมายเป็นเพียงข้อตกลงที่กำหนดขึ้นเพื่อความสะดวกในการ ปฏิบัติงานระหว่างหน่วยราชการซึ่งต้องปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวข้องต่อกันและ สอดคล้องกับกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่แม้กฎหมายและระเบียบกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ในการคืนของกลางให้แก่เจ้าของเมื่อพนักงานอัยการ มีคำสั่งไม่ฟ้อง หรือให้จำเลยที่ 2ดำเนินการกับของกลางในส่วนที่ศาล มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ริบหรือไม่ริบของกลางก็เป็นกระบวนการในการบังคับคดี ไม่เกี่ยวกับการยึดของกลางไว้ในชั้นสอบสวนและในชั้นพิจารณาของศาล การที่จำเลยที่ 2 ดูแลรักษาไม้ของกลางในระหว่างการสอบสวน จึงเป็น การกระทำการแทนพนักงานสอบสวน กรณียังไม่เป็นที่พอใจว่าคำฟ้องโจทก์ ที่ขอให้บังคับจำเลยที่ 2 เพิกถอนคำสั่งยึดหรืออายัดไม้สักของกลางมีมูล ไม่อาจอนุญาตให้นำวิธีคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาตามที่โจทก์ ขอมาใช้บังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2070/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจสอบสวนคดีเช็ค: การกระทำความผิดต่อเนื่องในหลายท้องที่
การกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 การออกเช็คในท้องที่ใดย่อมถือได้ว่า การกระทำความผิดอาญาได้กระทำลงในท้องที่นั้นต่อเนื่องกับการกระทำความผิดในท้องที่ที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน
จำเลยได้ออกเช็คตามฟ้องในท้องที่อำเภอบางบาลซึ่งอยู่ในเขตอำนาจการสอบสวนของพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอบางบาล และธนาคารตามเช็คได้ปฏิเสธการจ่ายเงินในเขตท้องที่อำเภอพระนครศรีอยุธยาซึ่งอยู่ในเขตอำนาจการสอบสวนของพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอพระนครศรีอยุธยาถือได้ว่าการกระทำความผิดคดีนี้ได้กระทำลงในอำเภอบางบาลต่อเนื่องกับการกระทำความผิดในอำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พนักงานสอบสวนของสถานีตำรวจภูธรอำเภอบางบาลและสถานีตำรวจภูธรอำเภอพระนครศรีอยุธยาย่อมมีอำนาจสอบสวนคดีนี้ได้ เมื่อผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอบางบาล และพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอบางบาลทำการสอบสวนแล้ว คดีนี้จึงมีการสอบสวนโดยชอบ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง
จำเลยได้ออกเช็คตามฟ้องในท้องที่อำเภอบางบาลซึ่งอยู่ในเขตอำนาจการสอบสวนของพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอบางบาล และธนาคารตามเช็คได้ปฏิเสธการจ่ายเงินในเขตท้องที่อำเภอพระนครศรีอยุธยาซึ่งอยู่ในเขตอำนาจการสอบสวนของพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอพระนครศรีอยุธยาถือได้ว่าการกระทำความผิดคดีนี้ได้กระทำลงในอำเภอบางบาลต่อเนื่องกับการกระทำความผิดในอำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พนักงานสอบสวนของสถานีตำรวจภูธรอำเภอบางบาลและสถานีตำรวจภูธรอำเภอพระนครศรีอยุธยาย่อมมีอำนาจสอบสวนคดีนี้ได้ เมื่อผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอบางบาล และพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอบางบาลทำการสอบสวนแล้ว คดีนี้จึงมีการสอบสวนโดยชอบ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2070/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจสอบสวนคดีเช็ค: การกระทำความผิดต่อเนื่องระหว่างท้องที่ออกเช็คและท้องที่ปฏิเสธการจ่ายเงิน
การกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 การออกเช็คในท้องที่ใดย่อมถือได้ว่าการกระทำความผิดอาญาได้กระทำลงในท้องที่นั้นต่อเนื่องกับการกระทำความผิดในท้องที่ที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน
จำเลยได้ออกเช็คตามฟ้องในท้องที่อำเภอบางบาลซึ่งอยู่ในเขตอำนาจการสอบสวนของพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอบางบาล และธนาคารตามเช็คได้ปฏิเสธการจ่ายเงินในเขตท้องที่อำเภอพระนครศรีอยุธยาซึ่งอยู่ในเขตอำนาจการสอบสวนของพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอพระนครศรีอยุธยาถือได้ว่าการกระทำความผิดคดีนี้ได้กระทำลงในอำเภอบางบาลต่อเนื่องกับการกระทำความผิดในอำเภอพระนครศรีอยุธยาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พนักงานสอบสวนของสถานีตำรวจภูธรอำเภอบางบาลและสถานีตำรวจภูธรอำเภอพระนครศรีอยุธยาย่อมมีอำนาจสอบสวนคดีนี้ได้เมื่อผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอบางบาลและพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอบางบาลทำการสอบสวนแล้ว คดีนี้จึงมีการสอบสวนโดยชอบ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง
จำเลยได้ออกเช็คตามฟ้องในท้องที่อำเภอบางบาลซึ่งอยู่ในเขตอำนาจการสอบสวนของพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอบางบาล และธนาคารตามเช็คได้ปฏิเสธการจ่ายเงินในเขตท้องที่อำเภอพระนครศรีอยุธยาซึ่งอยู่ในเขตอำนาจการสอบสวนของพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอพระนครศรีอยุธยาถือได้ว่าการกระทำความผิดคดีนี้ได้กระทำลงในอำเภอบางบาลต่อเนื่องกับการกระทำความผิดในอำเภอพระนครศรีอยุธยาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พนักงานสอบสวนของสถานีตำรวจภูธรอำเภอบางบาลและสถานีตำรวจภูธรอำเภอพระนครศรีอยุธยาย่อมมีอำนาจสอบสวนคดีนี้ได้เมื่อผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอบางบาลและพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอบางบาลทำการสอบสวนแล้ว คดีนี้จึงมีการสอบสวนโดยชอบ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2070/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจสอบสวนคดีเช็ค: การกระทำความผิดต่อเนื่องในหลายท้องที่
การกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คนั้น การออกเช็คในท้องที่ใดย่อมถือได้ว่า การกระทำความผิดอาญาตามพระราชบัญญัติดังกล่าวได้กระทำลงในท้องที่นั้นต่อเนื่องกับการกระทำความผิดในท้องที่ที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน เมื่อผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนแห่งที่ที่จำเลยออกเช็คและพนักงานสอบสวนดังกล่าวทำการสอบสวนแล้ว คดีจึงมีการสอบสวนโดยชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1444/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์สำเร็จ แม้ยังมิได้จดทะเบียน การซื้อโดยไม่สุจริตมีผลผูกพัน
ผู้ร้องทั้งสองเข้าครอบครองที่พิพาททั้งสามแปลงไว้โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันตั้งแต่ปี 2518 ตลอดมาจนถึงวันยื่นคำร้องขอเป็นเวลาเกินสิบปีแล้ว และเมื่อผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้ซื้อที่พิพาททั้งสามแปลงจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลฟ้องขับไล่ผู้ร้องทั้งสองออกจากที่พิพาทดังกล่าว ศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าผู้คัดค้านมิใช่ผู้ซื้อทรัพย์สินโดยสุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 1330 คำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวจึงผูกพันผู้คัดค้านและผู้ร้องทั้งสอง ซึ่งเป็นคู่ความในกระบวนพิจารณาของคดีดังกล่าวให้ฟังได้ว่าผู้คัดค้านซื้อที่พิพาททั้งสามแปลงโดยไม่สุจริต แม้ผู้ร้องทั้งสองจะยังไม่จดทะเบียนการได้มาซึ่งที่พิพาททั้งสามแปลง ก็ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ผู้คัดค้านได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคสอง
คดีนี้ไม่เป็นการร้องขอซ้ำกับคดีของศาลชั้นต้นที่ผู้คัดค้านฟ้องผู้ร้องทั้งสองเรื่องละเมิดและขับไล่ออกจาก ที่พิพาท เพราะคดีดังกล่าวแม้ผู้ร้องทั้งสองจะฟ้องแย้งขอแสดงกรรมสิทธิ์ในที่พิพาททั้งสามแปลง แต่ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทและมิได้วินิจฉัยในประเด็นดังกล่าว โดยถือว่าผู้ร้องทั้งสองสละประเด็นแล้ว ซึ่งศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาพิพากษายืน กรณีจึงยังมิได้มีการวินิจฉัยในประเด็นข้อนี้แต่อย่างใด ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ผู้ร้องทั้งสองได้กรรมสิทธิ์ที่พิพาททั้งสามแปลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 ชอบแล้ว
คดีนี้ไม่เป็นการร้องขอซ้ำกับคดีของศาลชั้นต้นที่ผู้คัดค้านฟ้องผู้ร้องทั้งสองเรื่องละเมิดและขับไล่ออกจาก ที่พิพาท เพราะคดีดังกล่าวแม้ผู้ร้องทั้งสองจะฟ้องแย้งขอแสดงกรรมสิทธิ์ในที่พิพาททั้งสามแปลง แต่ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทและมิได้วินิจฉัยในประเด็นดังกล่าว โดยถือว่าผู้ร้องทั้งสองสละประเด็นแล้ว ซึ่งศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาพิพากษายืน กรณีจึงยังมิได้มีการวินิจฉัยในประเด็นข้อนี้แต่อย่างใด ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ผู้ร้องทั้งสองได้กรรมสิทธิ์ที่พิพาททั้งสามแปลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 ชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1123/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเรื่องตราสารที่ต้องปิดอากรแสตมป์ แม้ไม่มีคู่ความอุทธรณ์ และการไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยหากไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลง
ปัญหาว่าเอกสารใดเป็นตราสารที่ต้องปิดอากรแสตมป์ให้บริบูรณ์ตามประมวลรัษฎากรหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นสมควร ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจหยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นมาวินิจฉัยได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ประกอบมาตรา 246 การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าหนังสือสัญญากู้ยืมเงินและหนังสือสัญญาค้ำประกันเป็นเพียงหลักฐานเป็นหนังสือไม่ใช่ตราสารที่ต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร จึงไม่ถือว่าเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1112/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สมคบร่วมกันกระทำผิดยาเสพติด: เจตนาต่างกันก็เป็นความผิดได้
การจำหน่ายยาเสพติดให้โทษจะต้องมีผู้ขายฝ่ายหนึ่งกับผู้ซื้ออีกฝ่ายหนึ่ง ทั้งสองฝ่ายมีเจตนาคนละอย่างกัน ผู้ขายมีเจตนาที่จะขายผู้ซื้อมีเจตนาที่จะซื้อ เมื่อทั้งสองฝ่ายตกลงร่วมกันที่จะขายและจะซื้อยาเสพติดให้โทษต่อกัน ก็ถือว่าได้สมคบโดยการตกลงร่วมคบคิดกันที่จะกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดแล้วตาม พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มาตรา 8 วรรคหนึ่ง หาใช่ว่าจะต้องมีเจตนาเดียวกันหรือเจตนาร่วมกันไม่
จากการสอบสวนพยานหลักฐานต่างๆ พนักงานสอบสวนเชื่อว่าจำเลยและ ล. กระทำความผิดในข้อหาสมคบกันกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด จึงเสนอต่อเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ขออนุมัติแจ้งข้อหาดังกล่าวเพิ่มเติมและได้รับอนุมัติแล้ว พนักงานสอบสวนจึงแจ้งข้อหาเพิ่มเติมแก่จำเลย แต่จำเลยให้ การปฏิเสธ แม้โจทก์จะมิได้อ้างส่งบันทึกคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยเป็นพยาน แต่จำเลยก็มิได้นำสืบปฏิเสธ ข้อเท็จจริง ทั้งยอมรับว่าได้มีการแจ้งข้อหาเพิ่มเติมแก่จำเลยว่าร่วมสมคบกับผู้อื่นกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดและได้มีการกระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษเพราะได้มีการสมคบกันแล้ว จึงฟังได้ว่ามีการสอบสวนจำเลยในข้อหา สมคบกันตาม พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ โดยชอบแล้ว
จากการสอบสวนพยานหลักฐานต่างๆ พนักงานสอบสวนเชื่อว่าจำเลยและ ล. กระทำความผิดในข้อหาสมคบกันกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด จึงเสนอต่อเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ขออนุมัติแจ้งข้อหาดังกล่าวเพิ่มเติมและได้รับอนุมัติแล้ว พนักงานสอบสวนจึงแจ้งข้อหาเพิ่มเติมแก่จำเลย แต่จำเลยให้ การปฏิเสธ แม้โจทก์จะมิได้อ้างส่งบันทึกคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยเป็นพยาน แต่จำเลยก็มิได้นำสืบปฏิเสธ ข้อเท็จจริง ทั้งยอมรับว่าได้มีการแจ้งข้อหาเพิ่มเติมแก่จำเลยว่าร่วมสมคบกับผู้อื่นกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดและได้มีการกระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษเพราะได้มีการสมคบกันแล้ว จึงฟังได้ว่ามีการสอบสวนจำเลยในข้อหา สมคบกันตาม พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ โดยชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1112/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สมคบกันค้าเฮโรอีน - พยานแวดล้อมประกอบคำรับสารภาพ เชื่อได้ว่าจำเลยร่วมธุรกิจกับผู้ต้องหาอื่น
ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดบางกรณีจะเกิดขึ้นได้จะต้องมีบุคคลสองฝ่ายมาตกลงร่วมคบคิดกัน เช่น การจำหน่ายยาเสพติดให้โทษจะต้องมีผู้ขายฝ่ายหนึ่งกับผู้ซื้ออีกฝ่ายหนึ่ง ทั้งสองฝ่ายมีเจตนาคนละอย่างกัน ผู้ขายมีเจตนาที่จะขายผู้ซื้อมีเจตนาที่จะซื้อ เมื่อทั้งสองฝ่ายตกลงร่วมกันที่จะขายและจะซื้อยาเสพติดให้โทษต่อกัน ก็ถือว่าได้สมคบโดยการตกลงร่วมคบคิดกันที่จะกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดแล้วตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 8 วรรคหนึ่ง หาใช่ว่าจะต้องมีเจตนาเดียวกันหรือเจตนาร่วมกันไม่
จากการสอบสวนพยานหลักฐานต่าง ๆ พนักงานสอบสวนเชื่อว่าจำเลยและ ล. กระทำความผิดในข้อหาสมคบกันกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด จึงเสนอต่อเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ขออนุมัติแจ้งข้อหาดังกล่าวเพิ่มเติมและได้รับอนุมัติแล้ว พนักงานสอบสวนจึงแจ้งข้อหาเพิ่มเติมแก่จำเลย แต่จำเลยให้การปฏิเสธ แม้โจทก์จะมิได้อ้างส่งบันทึกคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยเป็นพยาน แต่จำเลยก็มิได้นำสืบปฏิเสธข้อเท็จจริงดังกล่าว ทั้งยังยอมรับว่าได้มีการแจ้งข้อหาเพิ่มเติมแก่จำเลยว่าร่วมสมคบกับผู้อื่นกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดและได้มีการกระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษเพราะได้มีการสมคบกันแล้ว จึงฟังได้ว่าได้มีการสอบสวนจำเลยในข้อหาสมคบกันตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ โดยชอบแล้ว
จากการสอบสวนพยานหลักฐานต่าง ๆ พนักงานสอบสวนเชื่อว่าจำเลยและ ล. กระทำความผิดในข้อหาสมคบกันกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด จึงเสนอต่อเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ขออนุมัติแจ้งข้อหาดังกล่าวเพิ่มเติมและได้รับอนุมัติแล้ว พนักงานสอบสวนจึงแจ้งข้อหาเพิ่มเติมแก่จำเลย แต่จำเลยให้การปฏิเสธ แม้โจทก์จะมิได้อ้างส่งบันทึกคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยเป็นพยาน แต่จำเลยก็มิได้นำสืบปฏิเสธข้อเท็จจริงดังกล่าว ทั้งยังยอมรับว่าได้มีการแจ้งข้อหาเพิ่มเติมแก่จำเลยว่าร่วมสมคบกับผู้อื่นกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดและได้มีการกระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษเพราะได้มีการสมคบกันแล้ว จึงฟังได้ว่าได้มีการสอบสวนจำเลยในข้อหาสมคบกันตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ โดยชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 852-919/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนกิจการและผลกระทบต่อสถานะลูกจ้าง: ยินยอมโอนย้าย = ไม่เป็นลูกจ้างเดิม
เดิมโจทก์ทั้งหมดเป็นลูกจ้างของจำเลย ต่อมาบริษัท พ. ผู้เช่าเข้ามาเช่าและดำเนินกิจการต่อจากจำเลย การที่จำเลยได้โอนกิจการของตนไปให้บริษัท พ. เช่าดำเนินการต่อ และบริษัท พ. ได้รับโจทก์ทั้งหมดไปทำงานให้แก่บริษัท พ. โดยโจทก์ทั้งหมดมิได้ใช้สิทธิปฏิเสธไม่ยินยอมโอนไปทำงานกับบริษัท พ. ตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 577 ให้สิทธิไว้ อีกทั้งเมื่อบริษัท พ. ค้างชำระค่าจ้าง โจทก์ทั้งหมดก็ฟ้องคดีเรียกค่าจ้างค้างชำระเอาแก่บริษัท พ. กรณีจึงถือได้ว่าโจทก์ทั้งหมดได้ยอมรับการเปลี่ยนตัวนายจ้างจากจำเลยไปเป็นบริษัท พ. และยินยอมโอนไปทำงานให้แก่บริษัท พ. แล้ว บริษัท พ. จึงเป็นนายจ้างของโจทก์ทั้งหมด ตามคำนิยามของคำว่า "นายจ้าง" และ "ลูกจ้าง" ในข้อ 2 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2515 โจทก์ทั้งหมดจึงมิใช่ลูกจ้างของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 845/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรื้อถอนรั้วเพื่อสร้างรั้วใหม่ไม่เป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ หากเจ้าของเดิมยังสามารถใช้ประโยชน์จากวัสดุเดิมได้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสี่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83,84,91,358,363,365 และคดีต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อมีปัญหาข้อกฎหมายที่จะต้องวินิจฉัยตามฎีกาจำเลยทั้งสี่ว่า การที่จำเลยทั้งสี่ร่วมกันรื้อถอนเสารั้วและลวดหนามเป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์หรือไม่ การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวจะต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 222 ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยทั้งสี่ไม่เป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์เพราะมิได้ทำให้รั้วลวดหนามเสื่อมค่าหรือไร้ประโยชน์จากการใช้สอยสำหรับโจทก์ร่วม แต่ศาลชั้นต้นยังมิได้ฟังข้อเท็จจริงว่าเสารั้วและลวดหนามเป็นทรัพย์ของโจทก์ร่วม การที่ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า เสารั้วและลวดหนามเป็นทรัพย์ของโจทก์ร่วมจึงเป็นการมิชอบ ศาลฎีกาจึงต้องฟังข้อเท็จจริงใหม่ให้ถูกต้องก่อนว่าโจทก์ร่วมเป็นเจ้าของเสารั้วและลวดหนามนั้นหรือไม่
จำเลยทั้งสี่ร่วมกันรื้อถอนเสารั้วและลวดหนามของโจทก์ร่วมที่กั้นแนวเขตที่ดินก็เพื่อก่อสร้างรั้วกำแพงอิฐบล็อก ซึ่งมั่นคงถาวรและใช้ประโยชน์ได้มากกว่า แทนรั้วลวดหนามที่ปลูกสร้างมานานและมีสภาพเก่า เป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ร่วมกันของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และโจทก์ร่วม โดยโจทก์ร่วมได้ประโยชน์จากการใช้รั้วใหม่มากกว่ารั้วลวดหนามเดิม การรื้อถอนเสารั้วและลวดหนามจำเลยที่ 3 และที่ 4 ก็ได้ทำอย่างระมัดระวัง และไม่ทำให้เสารั้วและลวดหนามได้รับความเสียหาย ทั้งเมื่อรื้อถอนแล้วก็นำเสารั้วและลวดหนามซึ่งยังมีสภาพที่โจทก์ร่วมสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อีกไปกองไว้ให้โจทก์ร่วม การกระทำของจำเลยทั้งสี่มิได้ทำให้เสารั้วและลวดหนามของโจทก์ร่วมเสียหาย ทำให้เสื่อมค่าหรือทำให้ไร้ประโยชน์ จึงไม่เป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
จำเลยทั้งสี่ร่วมกันรื้อถอนเสารั้วและลวดหนามของโจทก์ร่วมที่กั้นแนวเขตที่ดินก็เพื่อก่อสร้างรั้วกำแพงอิฐบล็อก ซึ่งมั่นคงถาวรและใช้ประโยชน์ได้มากกว่า แทนรั้วลวดหนามที่ปลูกสร้างมานานและมีสภาพเก่า เป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ร่วมกันของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และโจทก์ร่วม โดยโจทก์ร่วมได้ประโยชน์จากการใช้รั้วใหม่มากกว่ารั้วลวดหนามเดิม การรื้อถอนเสารั้วและลวดหนามจำเลยที่ 3 และที่ 4 ก็ได้ทำอย่างระมัดระวัง และไม่ทำให้เสารั้วและลวดหนามได้รับความเสียหาย ทั้งเมื่อรื้อถอนแล้วก็นำเสารั้วและลวดหนามซึ่งยังมีสภาพที่โจทก์ร่วมสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อีกไปกองไว้ให้โจทก์ร่วม การกระทำของจำเลยทั้งสี่มิได้ทำให้เสารั้วและลวดหนามของโจทก์ร่วมเสียหาย ทำให้เสื่อมค่าหรือทำให้ไร้ประโยชน์ จึงไม่เป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์