คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
มงคล คุปต์กาญจนากุล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 772 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2172/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาวางเงินในคดีแรงงาน: ศาลต้องพิจารณาคำร้องก่อนสั่งคำฟ้อง
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 125 วรรคสามมิใช่บทบัญญัติที่ห้ามมิให้นายจ้างยื่นคำร้องขอให้ศาลแรงงานขยายระยะเวลาวางเงินตาม ป.วิ.พ.มาตรา 23 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
โจทก์ยื่นฟ้องพร้อมกับยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินบางส่วนต่อศาล ศาลแรงงานจะต้องมีคำสั่งคำร้องขอดังกล่าวก่อนว่าจะอนุญาตให้ขยายระยะเวลาวางเงินหรือไม่ เพียงใด การที่ศาลแรงงานพิจารณาสั่งคำฟ้องโดยไม่พิจารณาสั่งคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินก่อน จึงเป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.ว่าด้วยการพิจารณา มาตรา 243 (2) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ศาลฎีกาย้อนสำนวน ให้ศาลแรงงานมีคำสั่งคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินต่อศาลก่อนแล้วจึงพิจารณาสั่งคำฟ้องและดำเนินการต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2172/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวางเงินค่าชดเชยแรงงานและการขยายเวลา ศาลต้องพิจารณาคำร้องขยายเวลาก่อนสั่งรับฟ้อง
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 125 วรรคสาม มิใช่บทบัญญัติที่ห้ามมิให้นายจ้างยื่นคำร้องขอให้ศาลแรงงาน ขยายระยะเวลาวางเงินตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและ วิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 โจทก์ยื่นฟ้องพร้อมกับยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินบางส่วนต่อศาล ศาลแรงงานจะต้องมีคำสั่งคำร้องขอดังกล่าวก่อนว่าจะอนุญาตให้ขยายระยะเวลาวางเงินหรือไม่ เพียงใดการที่ศาลแรงงานพิจารณาสั่งคำฟ้องโดยไม่พิจารณาสั่งคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินก่อน จึงเป็นการไม่ปฏิบัติตาม บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยการพิจารณา มาตรา 243(2) ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงาน และวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ศาลฎีกา ย้อนสำนวน ให้ศาลแรงงานมีคำสั่งคำร้องขอขยายระยะเวลา วางเงินต่อศาลก่อนแล้วจึงพิจารณาสั่งคำฟ้องและดำเนินการต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2105/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวางเงินประกันค่าสินไหมทดแทนจากการยื่นคำร้องขัดทรัพย์ที่ไม่มีมูลเพื่อประวิงคดี ศาลมีอำนาจสั่งได้
หากศาลเห็นว่าคำร้องขัดทรัพย์ของผู้ร้องไม่มีมูลและยื่นเข้ามาเพื่อประวิงคดีให้ชักช้า ศาลมีอำนาจสั่งให้ผู้ร้องวางเงินต่อศาลเพื่อเป็นประกันการชำระค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์สำหรับความเสียหายที่อาจจะได้รับเนื่องจากเหตุเนิ่นช้าในการบังคับคดีอันเกิดแต่การยื่นคำร้องของ ผู้ร้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 288 วรรคสอง (1) แม้กรณีจะยังไม่ปรากฏความเสียหายชัดแจ้ง แต่เพื่อประกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตโจทก์ซึ่งมีสิทธิได้รับเงินตามคำพิพากษาตามยอมมีอำนาจยื่นคำร้องขอและศาลมีอำนาจสั่งให้ผู้ร้องวางเงินได้ และการ วางเงินดังกล่าวเป็นคนละประเภทกับเงินค่าขึ้นศาลซึ่งต้องเสียและวางต่อศาลในกรณีที่แตกต่างกัน เมื่อปรากฏว่า จำเลยทั้งสองมีหนี้ต้นเงินที่ค้างชำระแก่โจทก์เพียง 672,095 บาท แต่ทรัพย์ที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้ราคา 3,200,000 บาท การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีคำสั่งให้ผู้ร้อง วางเงินต่อศาลจำนวน 800,000 บาท จึงสูงเกินไปศาลฎีกาเห็นสมควรกำหนดจำนวนเงินประกันค่าสินไหมทดแทนเสียใหม่ เป็นเงิน 200,000 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2040/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฆ่าโดยบันดาลโทสะ: การกระทำของผู้ตายเป็นเหตุให้จำเลยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรง
ก่อนเกิดเหตุผู้ตายซึ่งเมาสุรามากเดินตาม ส. ขึ้นไปชั้นบนของบ้านและได้พบกับจำเลย ผู้ตายมองหน้าจำเลยพร้อมกับพูดว่า ใครซ่า โดยจำเลยมิได้สมัครใจทะเลาะกับผู้ตาย ส. พาผู้ตายลงไปชั้นล่างแล้วผู้ตายเดินกลับขึ้นไปชั้นบนอีกและไปเตะประตูห้องพักที่จำเลยกับภริยาและบุตรซึ่งยังเล็กนอนอยู่ เป็นเหตุให้บุตรจำเลยร้องไห้ ดังนี้แม้ผู้ตายไม่มีอาวุธ และจำเลยซึ่งไม่พอใจการกระทำของผู้ตายดังกล่าวได้ใช้อาวุธมีดแทงผู้ตายฝ่ายเดียวก็ตาม แต่ผู้ตายเป็นฝ่ายก่อเหตุขึ้นแต่เพียงฝ่ายเดียวในลักษณะคุกคามรบกวนการพักผ่อนในห้องพักอาศัยของจำเลยกับภริยาและบุตรในเวลาดึกดื่นเช่นนั้น ถือได้ว่าจำเลยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมจากผู้ตาย การที่จำเลยใช้อาวุธมีดแทงผู้ตายในขณะนั้นจึงเป็นการกระทำความผิดโดยบันดาลโทสะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1950/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานสนับสนุนการปล้นทรัพย์ข้ามชาติ เจ้าพนักงานตำรวจมีหน้าที่ปราบปรามแต่กลับให้ความช่วยเหลือ
แม้จำเลยที่ 3 มิได้อยู่ในฐานะเป็นตัวการในการปล้นเงินที่ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เพราะขณะทำการปล้นจำเลยที่ 3 อยู่ที่ประเทศไทย แต่พฤติการณ์ของจำเลยที่ 3 ที่ร่วมวางแผนปรึกษากับผู้ร่วมกระทำความผิดเพื่อจะไปปล้นเงินดังกล่าว และให้ความช่วยเหลือด้านอุปกรณ์ที่ใช้ในการปล้นแก่ตัวการก่อนการกระทำความผิด ถือได้ว่าจำเลยที่ 3 เป็นผู้สนับสนุนในความผิดฐานปล้นทรัพย์
จำเลยที่ 6 ขับรถยนต์ไปส่งจำเลยที่ 1 กับพวกลงเรือข้ามฝั่งไปประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เพื่อไปปล้นเงินตามแผนการที่กำหนดไว้ ทั้งยังคอยอำนวยความสะดวกด้วยการไปรอรับโบกเสื้อคลุมให้สัญญาณภายหลังที่จำเลยที่ 1 กับพวกกระทำการปล้นเงินแล้ว ถือได้ว่าจำเลยที่ 6 ให้การช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์แก่จำเลยที่ 1 กับพวกทั้งก่อนและหลังกระทำความผิด จำเลยที่ 6 จึงมีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนในความผิดฐานปล้นทรัพย์
จำเลยที่ 1 กับพวกได้ร่วมกันปล้นธนาคารในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว แล้วพาทรัพย์หนีเข้ามาในประเทศไทย คณะกรรมการปกครองกำแพงนครเวียงจันทน์ได้แต่งตั้งเจ้าพนักงานตำรวจมาสมทบกับเจ้าพนักงานตำรวจของไทยเพื่อติดตามคนร้ายพร้อมของกลางมาลงโทษตามกฎหมาย เมื่อเจ้าพนักงานตำรวจผู้ได้รับการแต่งตั้งจากประเทศดังกล่าวได้ร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่ผู้กระทำความผิดที่เป็นคนไทยต่อพันตำรวจเอก ส. หัวหน้าตำรวจภูธรจังหวัดหนองคายแล้ว ดังนั้นพนักงานสอบสวนที่ได้รับแต่งตั้งจากพันตำรวจเอก ส. ให้ทำการสอบสวนคดีนี้ จึงถือเป็นพนักงานสอบสวนซึ่งรัฐบาลประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวได้ร้องฟ้องให้ทำโทษผู้ต้องหา มีอำนาจสอบสวนในระหว่างรอฟังคำสั่งจากอัยการสูงสุดหรือผู้รักษาการแทนโดยต้องดำเนินการที่จำเป็นทุกอย่างเพื่อป้องกันมิให้เกิดความเสียหาย เมื่อต่อมาอัยการสูงสุดได้มอบหมายให้พลตำรวจตรี ห. เป็นพนักงานสอบสวนที่รับผิดชอบ การสอบสวนที่พนักงานสอบสวนได้ดำเนินการไปก่อนหน้านี้ย่อมถือว่าเป็นการสอบสวนโดยชอบไม่ต้องคำนึงว่าพลตำรวจตรี ห. ได้ปฏิบัติเกี่ยวกับการสอบสวนมาแล้วหรือไม่เพียงใด โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
แม้เอกสารที่โจทก์อ้างส่งศาลมิได้ระบุไว้ในบัญชีพยานโจทก์อันไม่ถูกต้องตามกระบวนพิจารณาก็ตามแต่เอกสารที่โจทก์อ้างส่งศาลคดีนี้ โจทก์เพียงใช้ประกอบคำเบิกความของพยานบุคคลซึ่งได้ระบุไว้ในบัญชีพยานโจทก์ จำเลยที่ 2 มีโอกาสซักค้านพยานบุคคลของโจทก์ที่เกี่ยวกับเอกสารทุกฉบับที่โจทก์อ้างส่งศาลได้อยู่แล้ว ไม่ทำให้จำเลยที่ 2 เสียเปรียบหรือหลงผิดในการต่อสู้คดี เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมศาลย่อมมีอำนาจรับฟังพยานเอกสารเช่นว่านี้ได้เพราะเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 (2) ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1816/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินมรดกตกเป็นสมบัติของวัด: นิติกรรมโอนขายที่ดินธรณีสงฆ์เป็นโมฆะ
พระภิกษุ ส. ได้ที่ดินพิพาทมาในระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศและเป็นกรรมสิทธิ์ของพระภิกษุ ส. ในขณะถึงแก่มรณภาพ ที่ดินพิพาทจึงตกเป็นสมบัติของวัดจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1623 แต่วัดมิใช่ทายาทโดยธรรมของพระภิกษุที่ถึงแก่มรณภาพตามมาตรา 1629 ดังนั้น การที่วัดจำเลยร้องขอให้ศาลตั้งจำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกของพระภิกษุ ส. จึงมิใช่กรณีทายาทร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกเพื่อจัดแบ่งมรดกให้ทายาท การที่จำเลยที่ 2 จดทะเบียนรับโอนที่ดินพิพาทในฐานะผู้จัดการมรดก จึงเป็นการถือกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทไว้แทนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์โดยผลแห่งกฎหมาย
แม้ก่อนถึงแก่มรณภาพพระภิกษุ ส. ได้ทำสัญญาจะขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยร่วม และจำเลยร่วมได้ผ่อนชำระค่าที่ดินครบถ้วนแล้ว แต่เมื่อพระภิกษุ ส. ถึงแก่มรณภาพ ที่ดินพิพาทตกเป็นสมบัติของวัดจำเลยที่ 1 โดยเป็นที่ธรณีสงฆ์ ซึ่งจะโอนกรรมสิทธิ์ได้ก็แต่โดยพระราชบัญญัติตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 33 (2) และมาตรา 34 การที่จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกพระภิกษุ ส. จดทะเบียนโอนขายที่พิพาทให้จำเลยร่วม แม้จะ โดยความเห็นชอบของจำเลยที่ 1 ก็เป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 นิติกรรมย่อมเสียเปล่ามาแต่แรก โดยศาลไม่จำเป็นต้องเพิกถอน และโจทก์ก็ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ เพราะจำเลยทั้งสองไม่มีอำนาจทำนิติกรรมจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นธรณีสงฆ์ให้แก่โจทก์ได้ จึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยว่าโจทก์ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทกับจำเลยที่ 2 หรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1816/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดินของพระภิกษุตกเป็นสมบัติของวัดเมื่อมรณภาพ การโอนขายธรณีสงฆ์ต้องเป็นไปตามกฎหมาย
ที่ดินพิพาทพระภิกษุ ส. ได้มาในระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศและเป็นกรรมสิทธิ์ของพระภิกษุ ส. ในขณะถึงแก่มรณภาพ จึงตกเป็นสมบัติของวัดจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1623 แต่วัดมิใช่ทายาทโดยธรรมของพระภิกษุที่ ถึงแก่มรณภาพตามมาตรา 1629 ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 ร้องขอให้ ศาลตั้งจำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกของพระภิกษุ ส.จึงมิใช่กรณีทายาทร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกเพื่อจัดแบ่งมรดก ให้ทายาท การที่จำเลยที่ 2 จดทะเบียนรับโอนที่พิพาทในฐานะ ผู้จัดการมรดก จึงเป็นการถือกรรมสิทธิ์ที่พิพาทไว้แทนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์โดยผลแห่งกฎหมาย แม้ก่อนถึงแก่มรณภาพพระภิกษุ ส. ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยร่วม และจำเลยร่วมได้ผ่อนชำระค่าที่ดินครบถ้วนแล้ว แต่เมื่อพระภิกษุ ส. ถึงแก่มรณภาพ ที่ดินพิพาทตกเป็นสมบัติของจำเลยที่ 1 โดยเป็นที่ธรณีสงฆ์ซึ่งจะโอนกรรมสิทธิ์ ได้ก็แต่โดยพระราชบัญญัติ ทั้งนี้ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 33(2) และมาตรา 34 การที่จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกพระภิกษุ ส. จดทะเบียนโอนขายที่พิพาทให้จำเลยร่วมแม้โดยความเห็นชอบของจำเลยที่ 1 จึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 หากจำเลยที่ 2ได้นำที่พิพาทไปทำสัญญาจะซื้อจะขายให้แก่โจทก์ โจทก์ก็ไม่มีอำนาจ ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1710/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแยกความผิดผลิตและครอบครองยาเสพติดเพื่อจำหน่าย การลงโทษตามบทที่มีโทษหนักที่สุด
โจทก์บรรยายฟ้องข้อ 1 ว่า จำเลยกระทำความผิดกฎหมาย หลายกรรมต่างกันโดยแยกเป็นข้อ ก.ข.ค.ง. ฟ้องข้อ 1 ก. โจทก์บรรยายว่า จำเลยผลิตเฮโรอีนโดยการแบ่งบรรจุ ใส่หลอดกาแฟปิดหัวท้ายยาวประมาณ 2 เซนติเมตร จำนวน 4 หลอด รวมน้ำหนัก 0.072 กรัม โดยไม่ได้รับอนุญาต ฟ้องข้อ 1 ข.โจทก์บรรยายว่า จำเลยมีเฮโรอีนไฮโดรคลอไรด์ซึ่งเป็นเกลือของเฮโรอีนบรรจุหลอดพลาสติกเบอร์ 5จำนวน 1 หลอด และบรรจุหลอดกาแฟ 4 หลอด รวมน้ำหนัก0.368 กรัม อันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ดังกล่าวในฟ้องข้อ 1 ก. ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาตและมิได้รับการยกเว้นใด ๆ ตามกฎหมายดังนี้แม้ฟ้องข้อ 1 ข. จะระบุว่าจำเลยมียาเสพติดให้โทษตามฟ้องข้อ 1 ก. ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย แต่ฟ้องทั้ง 2 ข้อดังกล่าว โจทก์บรรยายฟ้องแยกการกระทำความผิดของจำเลยออกเป็นต่างกรรมกัน ฟ้องข้อ 1 ก.โจทก์มิได้บรรยายว่า การผลิตเฮโรอีนของจำเลยนั้นเป็นการกระทำเพื่อจำหน่าย อันเป็นสาระสำคัญแห่งองค์ประกอบความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษพ.ศ. 2522 มาตรา 65 วรรคสอง ดังนี้ศาลจึงไม่อาจลงโทษจำเลยตามมาตรา 65 วรรคสอง ได้ คงลงโทษจำเลยได้ตามมาตรา 65 วรรคหนึ่ง เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1710/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแยกความผิดฐานผลิตและครอบครองยาเสพติดเพื่อจำหน่าย ฎีกาเน้นการบรรยายฟ้องที่ชัดเจนถึงเจตนา
โจทก์บรรยายฟ้องข้อ 1 ว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำความผิดกฎหมายหลายกรรมต่างกันโดยแยกเป็นข้อ ก. ข. ค. ง. ฟ้องข้อ 1 ก. โจทก์บรรยายว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันผลิตเฮโรอีนโดยการแบ่งบรรจุใส่หลอดกาแฟปิดหัวท้ายยาวประมาณ 2 เซนติเมตร จำนวน 4 หลอด รวมน้ำหนัก 0.072 กรัมโดยไม่ได้รับอนุญาต ฟ้องข้อ 1 ข. โจทก์บรรยายว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันมีเฮโรอีนไฮโดรคลอไรด์ซึ่งเป็นเกลือของเฮโรอีนบรรจุหลอดพลาสติกเบอร์ 5 จำนวน 1 หลอดและบรรจุหลอดกาแฟ 4 หลอด รวมน้ำหนัก 0.368 กรัม อันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ดังกล่าวในฟ้องข้อ 1 ก. ไว้ในครอบครองของจำเลยทั้งสองเพื่อจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาตและมิได้รับการยกเว้นใด ๆ ตามกฎหมาย ดังนี้แม้ฟ้องข้อ1 ข. จะระบุว่าจำเลยทั้งสองมียาเสพติดให้โทษตามฟ้องข้อ 1 ก. ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย แต่ฟ้องทั้ง 2 ข้อดังกล่าวโจทก์บรรยายฟ้องแยกการกระทำความผิดของจำเลยออกเป็นต่างกรรมกัน ฟ้องข้อ 1 ก.โจทก์มิได้บรรยายว่า การผลิตเฮโรอีนของจำเลยทั้งสองนั้นเป็นการกระทำเพื่อจำหน่าย อันเป็นสาระสำคัญแห่งองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 65 วรรคสอง ดังนี้ศาลจึงไม่อาจลงโทษจำเลยทั้งสองตามมาตรา 65 วรรคสอง ได้ คงลงโทษจำเลยทั้งสองได้ตามมาตรา 65 วรรคหนึ่ง เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1710/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแยกการกระทำความผิดผลิตและครอบครองยาเสพติดเพื่อจำหน่าย ศาลต้องลงโทษตามองค์ประกอบความผิดที่บรรยายฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องข้อ 1 ว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำความผิดกฎหมายหลายกรรมต่างกันโดยแยกเป็นข้อ ก. ข. ค.ง. ฟ้องข้อ 1 ก. โจทก์บรรยายว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันผลิต เฮโรอีนโดยการแบ่งบรรจุใส่หลอดกาแฟปิดหัวท้ายยาวประมาณ 2 เซนติเมตร จำนวน 4 หลอด รวมน้ำหนัก 0.072 กรัม โดยไม่ได้รับอนุญาต ฟ้องข้อ 1 ข. โจทก์บรรยายว่า จำเลยทั้งสอง ร่วมกันมีเฮโรอีนไฮโดรคลอไรด์ซึ่งเป็นเกลือของเฮโรอีนบรรจุหลอดพลาสติกเบอร์ 5 จำนวน 1 หลอด และบรรจุหลอดกาแฟ4 หลอด รวมน้ำหนัก 0.368 กรัม อันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ดังกล่าวในฟ้องข้อ 1 ก. ไว้ในครอบครองของ จำเลยทั้งสองเพื่อจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาตและมิได้ รับการยกเว้นใด ๆ ตามกฎหมาย ดังนี้แม้ฟ้องข้อ 1 ข.จะระบุว่าจำเลยทั้งสองมียาเสพติดให้โทษตามฟ้องข้อ 1 ก.ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย แต่ฟ้องทั้ง 2 ข้อดังกล่าวโจทก์บรรยายฟ้องแยกการกระทำความผิดของจำเลยออกเป็นต่างกรรมกัน ฟ้องข้อ 1 ก. โจทก์มิได้บรรยายว่า การผลิตเฮโรอีนของจำเลยทั้งสองนั้นเป็นการกระทำเพื่อจำหน่ายอันเป็นสาระสำคัญแห่งองค์ประกอบความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 65 วรรคสองดังนี้ศาลจึงไม่อาจลงโทษจำเลยทั้งสองตามมาตรา 65 วรรคสอง ได้ คงลงโทษจำเลยทั้งสองได้ตามมาตรา 65 วรรคหนึ่ง เท่านั้น
of 78