พบผลลัพธ์ทั้งหมด 772 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 888/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนย้ายลูกจ้างสถาบันการบินพลเรือน สิทธิในการได้รับบำเหน็จเป็นสัญญาจ้างใหม่ ไม่ต่อเนื่องจากเดิม
พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันการบินพลเรือน พ.ศ. 2535มาตรา 38 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้สถาบันการบินพลเรือนจำเลยพิจารณารับโอนพนักงานหรือลูกจ้างของ ศูนย์ฝึกการบินพลเรือนในประเทศไทย กรมการบินพาณิชย์ซึ่งมีอยู่ในวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ไปเป็นพนักงานหรือลูกจ้างของ สบพ. โดยให้ได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้าง รวมทั้งสิทธิและประโยชน์ต่าง ๆ เท่าที่เคยได้รับอยู่เดิมไปพลางก่อนจนกว่าผู้ว่าการจะได้บรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง แต่จะแต่งตั้งให้ได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างต่ำกว่าเงินเดือนหรือค่าจ้างที่ได้รับอยู่เดิมไม่ได้ และวรรคสอง บัญญัติว่าการโอนลูกจ้างตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าเป็นการให้ออกจากงานเพราะทางราชการยุบตำแหน่งหรือทางราชการเลิกจ้างโดยไม่มีความผิด และให้ได้รับบำเหน็จตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยบำเหน็จลูกจ้าง บทบัญญัติ แห่งกฎหมายดังกล่าวได้ระบุไว้อย่างชัดแจ้งแล้วว่า การที่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างของศูนย์ฝึกการบินพลเรือนในประเทศไทยได้โอนมาทำงานเป็นลูกจ้างของจำเลยตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันการบินพลเรือน พ.ศ. 2535สัญญาจ้างระหว่างศูนย์ฝึกการบินพลเรือนในประเทศไทยกับโจทก์ได้สิ้นสุดลงตามมาตรา 38 วรรคสอง ซึ่งโจทก์ก็ได้รับเงินบำเหน็จจากศูนย์ฝึกการบินพลเรือนในประเทศไทยครบถ้วนแล้ว การที่โจทก์โอนมาทำงานกับจำเลยจึงเป็นสัญญาว่าจ้างใหม่ต่างหากจากสัญญาเดิม และโดยกฎหมายฉบับดังกล่าวมิได้มีบทบัญญัติให้นับอายุงานโจทก์ต่อเนื่องกัน ฉะนั้น สิทธิและหน้าที่ระหว่างจำเลยกับ โจทก์จึงต้องเป็นไปตามสัญญาว่าจ้างใหม่และเริ่มต้นนับอายุงานใหม่ เมื่อจำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจจึงต้องนำระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เรื่องมาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจพ.ศ. 2534 มาใช้บังคับ โจทก์จึงต้องอยู่ภายใต้บังคับของระเบียบดังกล่าวด้วย ซึ่งระเบียบดังกล่าวไม่ได้ กำหนดให้จำเลยจ่ายเงินบำเหน็จในกรณีเลิกจ้างโจทก์เอาไว้ โจทก์มิใช่ลูกจ้างของส่วนราชการ จึงไม่อาจนำระเบียบดังกล่าวมาใช้บังคับแก่โจทก์ได้ โจทก์จึงอ้างว่ามีสิทธิได้รับบำเหน็จตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยบำเหน็จลูกจ้าง พ.ศ. 2519 มิได้ พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันการบินพลเรือน พ.ศ. 2535มาตรา 38 วรรคหนึ่ง กำหนดไว้เพื่อให้สิทธิและ ประโยชน์ต่าง ๆ ของโจทก์ที่จะพึงได้รับจาก สถาบันการบินพลเรือนในระหว่างที่โจทก์ยังไม่ได้รับการบรรจุ และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งจากผู้ว่าการไม่น้อยกว่า ที่เคยได้รับอยู่ในขณะที่เป็นลูกจ้างของศูนย์ฝึกการบินพลเรือนในประเทศไทยเป็นการชั่วคราวเท่านั้นหาได้ก่อให้เกิดสิทธิหรือประโยชน์ใด ๆ ที่โจทก์เคยได้รับอยู่ก่อนมาคิดคำนวณ ด้วย และเมื่อไม่มีระเบียบหรือบทกฎหมายใดให้สิทธิ โจทก์เรียกร้องเงินบำเหน็จได้ จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายเงินบำเหน็จแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 788/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องรับโทรทัศน์ไม่ใช่เครื่องมือการพนัน: การริบของกลางต้องพิจารณาสภาพของทรัพย์สิน
เครื่องรับโทรทัศน์สีของกลางเป็นเพียงเครื่องมือ และอุปกรณ์รับภาพการแข่งขันชกมวยจากสถานีโทรทัศน์ ซึ่งเป็นผู้ส่งภาพดังกล่าวมาเท่านั้น การที่จำเลยกับพวก ซึ่งเป็นผู้ชมท้าพนันผลการแข่งขันชกมวย หาทำให้เครื่องรับโทรทัศน์สีดังกล่าวเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในการเล่นการพนันชกมวยตามความหมายแห่ง พระราชบัญญัติการพนันฯ โดยแท้จริงไม่และแม้จำเลยจะให้การรับสารภาพกรณีของกลางตามฟ้องแต่เมื่อปรากฏว่าตามสภาพของเครื่องรับโทรทัศน์ของกลางนั้นมิใช่เครื่องมือเครื่องใช้ในการเล่นการพนันชกมวยแล้วเครื่องรับโทรทัศน์สีของกลางจึงไม่ใช่เป็นทรัพย์สินอันจะพึงริบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 552/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาโทษคดีรับของโจรโดยคำนึงถึงความสัมพันธ์ภายในครอบครัว อายุ และประวัติของผู้ต้องหา เพื่อรอการลงโทษ
จำเลยทำผิดฐานรับของโจร เมื่อปรากฏตามคำแถลงของผู้เสียหายว่า จำเลยเป็นญาติกับผู้เสียหาย แสดงว่าเป็นเรื่องภายในเครือญาติกัน พฤติการณ์แห่งคดีจึงมิใช่เรื่องร้ายแรงและผู้เสียหายแถลงว่าได้รับทรัพย์ของกลางคืนแล้ว จึงไม่ติดใจเอาความแก่จำเลย อีกทั้งจำเลยเป็นหญิงอายุมากถึง 59 ปีแล้วและไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รับโทษจำคุกมาก่อน จึงมีเหตุอันควรปรานี สมควรกำหนดโทษและรอการลงโทษจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 393/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องไม่ชัดเจน ศาลไม่รับฟ้อง แม้มีการแก้ไขหลายครั้ง โจทก์อุทธรณ์ไม่ชัดเจน ศาลฎีกายกอุทธรณ์
ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องเพราะคำฟ้องเขียนฟุ่มเฟือย อ่านไม่เข้าใจโจทก์อุทธรณ์อ้างเพียงว่าศาลแรงงานกลางมีคำสั่งดังกล่าวและให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ กับอ้างว่าโจทก์ใช้สิทธิทางศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55ศาลตัดสิทธิโจทก์ทั้งที่ทราบว่าคดียังไม่ถึงที่สุดเท่านั้นมิได้โต้แย้งคำสั่งศาลแรงงานกลางว่าคำฟ้องมิได้เขียนฟุ่มเฟือยและสามารถอ่านเข้าใจได้ พร้อมทั้งเหตุผลสนับสนุนข้อโต้แย้งดังกล่าว จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 31 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 375/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การค้นพบยาเสพติดหลังบ้าน: ศาลยกประโยชน์แห่งความสงสัยเมื่อหลักฐานไม่ชัดเจน
โจทก์มิได้นำสืบให้ศาลเห็นว่า ที่อ้างว่าสืบทราบว่าจำเลยลักลอบจำหน่ายเฮโรอีนนั้นสืบทราบด้วยวิธีใดและจำเลยมีพฤติการณ์อย่างใด การไปจับกุมจำเลยมานี้ไม่ได้ใช้วิธีล่อซื้อแต่เป็นการนำหมายค้นไปค้นเพื่อพบและยึดสิ่งของผิดกฎหมาย ซึ่งการที่ร้อยตำรวจโท ป.ยันยันว่า มีชายซึ่งไม่ได้สอบถามชื่อมา กระซิบ บอกว่ามี เฮโรอีนอยู่หลังบ้านจำเลยนั้นถือเป็นการเลื่อนลอยทั้งการค้นของเจ้าพนักงานก็มิได้เป็นไปตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 102 วรรคหนึ่งบัญญัติไว้ว่า การค้นในที่รโหฐานเท่าที่สามารถจะทำได้ให้ค้นต่อหน้าผู้ครอบครองสถานที่หรือบุคคลในครอบครัว ฯลฯแต่ในขณะที่ไปตรวจค้นนั้นมีจำเลยอยู่ที่บ้านคนเดียวและไม่ปรากฏว่ามีเหตุขัดข้องอย่างใด เมื่อค้นในบ้านไม่พบสิ่งผิดกฎหมายก็สมควรจะนำจำเลยไปหลังบ้านด้วยและค้นต่อหน้าจำเลยเพื่อแสดงความบริสุทธิ์และเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมาย การที่ค้นพบเฮโรอีนของกลางลับหลัง อย่างนี้ทำให้ยังเป็นที่น่าเคลือบแคลงสงสัย จำเลยประกอบอาชีพมีงานทำเป็นกิจจะลักษณะโดยเป็นเจ้าของร้านรับซ่อมรถจักรยานยนต์อยู่ ณ บ้านที่เกิดเหตุนั้นเองมี ช. กำนันตำบลที่เกิดเหตุรับรองว่าจำเลยไม่เคยเสพหรือจำหน่ายยาเสพติดให้โทษ และทางพิจารณาได้ความว่าบริเวณที่พบเฮโรอีนของกลางมิได้อยู่ในบ้าน แต่อยู่นอกบ้านออกไปในที่โล่ง ไม่มีหลังคาคลุม เพียงแต่มีรั้วลวดหนามกั้นอยู่โดยรอบ ซึ่งก็สามารถเดินผ่านข้ามได้แสดงว่ารั้วนี้กั้นคนไม่ได้ทั้งจุดที่ค้นพบถุงเฮโรอีนซึ่งอยู่ห่างรั้วประมาณ 1 ศอกนั้น ก็ง่ายต่อการที่ ผู้อื่นจะนำถุงเฮโรอีนของกลางไปวางซุก ไว้อย่างยิ่งโดยไม่ถึงกับต้องเข้าไปข้างในรั้วเพียงแต่เดินมาข้างรั้ว แล้วยื่นมือเข้าไปวางก็ทำได้ทุกเวลาอยู่แล้ว จะฟังว่า ค้นพบเฮโรอีนของกลางหลังบ้านจำเลยก็ต้องเป็นของจำเลย ยังฟังได้ไม่ถนัด กรณีมีเหตุสงสัยจึงเห็นสมควรยกประโยชน์ แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลยตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 231/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาการกระทำความผิดทางอาญา: การประเมินผลร้ายแรงของบาดแผลต่อการลงโทษ
ผู้เสียหายที่ 2 มีบาดแผลเพียง 2 แห่ง ที่กลางหลังและที่ขาข้างซ้าย บาดแผลที่กลางหลังมีลักษณะถูกดินระเบิด บาดแผลกลมถลอกพอมีเลือดซึมเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เซนติเมตร ส่วนที่ขาข้างซ้ายบวมแดง สันนิษฐานว่าถูกของแข็งไม่มีคม บาดแผลดังกล่าวรักษา 7 วันหาย ผู้เสียหายที่ 2 จึงได้รับอันตรายแก่กายเพียงเล็กน้อย ทั้ง ๆ ที่จุดระเบิดอยู่ห่างจากผู้เสียหายที่ 2 เพียงประมาณไม่เกิน2 เมตร แสดงว่าวัตถุระเบิดที่จำเลยกับพวกใช้นั้น ไม่อาจทำให้ผู้เสียหายที่ 2ถึงแก่ชีวิตได้ แม้จำเลยกับพวกจะเล็งเห็นผลของการกระทำว่าสะเก็ดระเบิดอาจทำให้ผู้อื่นถึงตายได้ แต่การกระทำของจำเลยกับพวกเมื่อไม่สามารถบรรลุผลได้อย่างแน่แท้ เพราะเหตุปัจจัยซึ่งใช้ในการกระทำความผิด การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 288, 81 และ 83 หาใช่มาตรา 288, 80และ 83 ไม่
คดีนี้จำเลยให้การรับสารภาพในชั้นจับกุม และศาลชั้นต้นก็ยกเอาคำให้การดังกล่าวขึ้นมารับฟังประกอบการวินิจฉัยคดีด้วย ถือได้ว่าคำให้การของจำเลยในชั้นจับกุมเป็นการให้ความรู้แก่ศาล อันเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาเป็นเหตุบรรเทาโทษ ถึงแม้จำเลยจะมิได้ฎีกาปัญหาข้อนี้ขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจลดโทษให้จำเลยได้
คดีนี้จำเลยให้การรับสารภาพในชั้นจับกุม และศาลชั้นต้นก็ยกเอาคำให้การดังกล่าวขึ้นมารับฟังประกอบการวินิจฉัยคดีด้วย ถือได้ว่าคำให้การของจำเลยในชั้นจับกุมเป็นการให้ความรู้แก่ศาล อันเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาเป็นเหตุบรรเทาโทษ ถึงแม้จำเลยจะมิได้ฎีกาปัญหาข้อนี้ขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจลดโทษให้จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 231/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพยายามฆ่า: การประเมินอันตรายจากวัตถุระเบิดและการลดโทษจากคำรับสารภาพ
ผู้เสียหายที่ 2 มีบาดแผลเพียง 2 แห่ง ที่กลางหลังและที่ขาข้างซ้าย บาดแผลที่กลางหลังมีลักษณะถูกดินระเบิด บาดแผลกลมถลอกพอมีเลือดซึม เส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เซนติเมตร ส่วนที่ขาข้างซ้ายบวมแดง สันนิษฐานว่าถูกของแข็งไม่มีคม บาดแผลดังกล่าวรักษา 7 วันหาย ผู้เสียหายที่ 2 จึงได้รับ อันตรายแก่กายเพียงเล็กน้อย ทั้ง ๆ ที่จุดระเบิดอยู่ห่างจาก ผู้เสียหายที่ 2 เพียงประมาณไม่เกิน 2 เมตร แสดงว่า วัตถุระเบิดที่จำเลยกับพวกใช้นั้น ไม่อาจทำให้ผู้เสียหายที่ 2 ถึงแก่ชีวิตได้ แม้จำเลยกับพวกจะเล็งเห็นผลของการกระทำว่า สะเก็ด ระเบิดอาจทำให้ผู้อื่นถึงตายได้ แต่การกระทำของจำเลยกับพวกเมื่อไม่สามารถบรรลุผลได้อย่างแน่แท้ เพราะเหตุปัจจัย ซึ่งใช้ในการกระทำความผิด การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288,81 และ 83 หาใช่มาตรา 288,80 และ 83 ไม่ คดีนี้จำเลยให้การรับสารภาพในชั้นจับกุม และศาลชั้นต้น ก็ยกเอาคำให้การดังกล่าวขึ้นมารับฟังประกอบการวินิจฉัยคดีด้วย ถือได้ว่าคำให้การของจำเลยในชั้นจับกุมเป็นการให้ความรู้ แก่ศาล อันเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาเป็นเหตุบรรเทาโทษ ถึงแม้จำเลยจะมิได้ฎีกาปัญหาข้อนี้ขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจ ลดโทษให้จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 197/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อบังคับสวัสดิการพนักงาน: การจ่ายเงินสะสมและเงินสมทบเป็นสิทธิโดยชอบธรรม หาใช่ดุลพินิจของนายจ้าง
กฎระเบียบข้อบังคับการทำงานของจำเลย เรื่องสวัสดิการพนักงาน ข้อ 2 ว่าด้วยเงินสะสมพนักงานระบุเจตนารมณ์การจัดให้มีเงินสะสมขึ้นเพื่อช่วยเหลือและเป็นหลักประกันให้เกิดความมั่นคงในอนาคตของพนักงาน ที่ลาออกหรือเกษียณอายุว่าหลังจากพ้นสภาพพนักงานด้วยเหตุ ดังกล่าวจะได้เงินจำนวนหนึ่ง ซึ่งเงินที่จะได้รับนี้ ส่วนหนึ่งเป็นเงินที่หักไว้จากค่าจ้างของโจทก์ในแต่ละเดือน และอีกส่วนหนึ่งจำเลยจะต้องสมทบซึ่งต้องมอบเงินให้พนักงาน ที่ลาออกในจำนวนตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ทุกกรณีเสมอ ไม่ใช่กำหนดให้อยู่ในดุลพินิจของจำเลยเป็นผู้พิจารณาว่า ควรจะสมทบเงินหรือควรจะมอบเงินให้หรือไม่เพราะถ้าให้อยู่ ในดุลพินิจของจำเลย ย่อมเป็นการไม่แน่นอนว่าจำเลยจะ สมทบเงินหรือจะมอบเงินให้หรือไม่ จึงไม่เป็นหลักประกัน ที่แน่นอนและไม่ก่อให้เกิดความมั่นคงในอนาคตของโจทก์ ทั้งไม่มีสวัสดิการที่จำเลยจะต้องจัดให้โจทก์ตาม เจตนารมณ์ที่กำหนดไว้ ข้อความในกฎระเบียบข้อบังคับการทำงาน ข้อ 2(7)(8) ที่ระบุว่าจำเลยจะสมทบเงินหรือจะพิจารณามอบเงิน คำว่า "จะ" หมายความเพียงว่าในเวลาข้างหน้าถัดจากมีกฎระเบียบข้อบังคับ การทำงานแล้ว จำเลยจึงจะต้องปฏิบัติและจ่ายเงินตาม หลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ และคำว่า "จะพิจารณา" ก็มีความหมาย เพียงว่าให้จำเลยพิจารณาก่อนว่าโจทก์ออกจากงานเนื่องจาก การกระทำความผิดหรือไม่ และถ้ามีสิทธิได้รับเงินที่จำเลย จะสมทบและจะมอบให้ โจทก์มีสิทธิได้รับตามกฎระเบียบข้อบังคับ การทำงานข้อใดเท่านั้น ไม่ใช่กำหนดให้เป็นดุลพินิจของ จำเลยที่จะพิจารณาว่าควรจะสมทบเงินหรือควรจะมอบเงิน ให้โจทก์หรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 134/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พฤติการณ์ทำร้ายร่างกายจนถึงแก่ความตาย พยานหลักฐานบ่งชี้เจตนาฆ่า เข้าข่ายความผิดฐานพยายามฆ่า
จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ไม้ท่อนคนละท่อนซึ่งมีขนาดยาวประมาณ1 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 นิ้ว ตีทำร้ายผู้เสียหายทั้งสองในขณะที่ผู้เสียหายที่ 2 กำลังขับรถจักยานยนต์โดยมีผู้เสียหายที่ 1 และ ย.นั่งซ้อนท้าย จนรถจักรยานยนต์ที่ผู้เสียหายที่ 2 ขับล้มลง ผู้เสียหายที่ 1 หลบหนีไปได้ ส่วนผู้เสียหายที่ 2 ถูกรุมตีอีกหลายทีที่บริเวณศีรษะ ใบหน้า ลำตัว และหัวไหล่ขวา จนหมดสติ และกระดูกแขนข้างขวาหัก บาดแผลและกระดูกแขนขวาของผู้เสียหายที่ 2 ต้องใช้เวลารักษาประมาณ 60วัน หากผู้เสียหายที่ 2 ไม่ได้รับการรักษาให้ทันท่วงทีอาจถึงแก่ความตายได้ แสดงว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันตีผู้เสียหายที่ 2 อย่างแรง ประกอบกับขณะที่ตีทำร้ายผู้เสียหายที่ 2จำเลยทั้งสองพูดว่าตีให้ตาย พฤติการณ์ที่จำเลยที่ 2 ร่วมกระทำไปแสดงว่าจำเลยที่ 2มีเจตนาฆ่าผู้เสียหายที่ 2 เมื่อผู้เสียหายที่ 2 ไม่ถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 2 จึงมีความผิดฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้เสียหายที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 134/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพยายามฆ่าจากการรุมทำร้ายด้วยอาวุธอันตราย จนผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บสาหัส
จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ไม้ท่อนคนละท่อนซึ่งมีขนาดยาวประมาณ 1 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 นิ้ว ตีทำร้ายผู้เสียหาย ทั้งสองในขณะที่ผู้เสียหายที่ 2 กำลังขับรถจักรยานยนต์โดยมี ผู้เสียหายที่ 1 และย.นั่งซ้อนท้าย จนรถจักรยานยนต์ที่ผู้เสียหายที่ 2 ขับล้มลง ผู้เสียหายที่ 1 หลบหนีไปได้ ส่วนผู้เสียหายที่ 2 ถูกรุมตีอีกหลายทีที่บริเวณศีรษะ ใบหน้า ลำตัว และหัวไหล่ขวา จนหมดสติ และกระดูกแขนข้างขวาหัก บาดแผลและกระดูกแขนขวาของผู้เสียหายที่ 2 ต้องใช้เวลารักษา ประมาณ 60 วัน หากผู้เสียหายที่ 2 ไม่ได้รับการรักษา ให้ทันท่วงทีอาจถึง แก่ความตายได้ แสดงว่าจำเลยทั้งสอง ร่วมกันตีผู้เสียหายที่ 2 อย่างแรง ประกอบกับขณะที่ตีทำร้ายผู้เสียหายที่ 2 จำเลยทั้งสองพูดว่าตีให้ตาย พฤติการณ์ที่จำเลยที่ 2 ร่วมกระทำไปแสดงว่าจำเลยที่ 2 มีเจตนาฆ่า ผู้เสียหายที่ 2 เมื่อผู้เสียหายที่ 2 ไม่ถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 2 จึงมีความผิดฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้เสียหายที่ 2