พบผลลัพธ์ทั้งหมด 772 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 132/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานพยายามฆ่าจากการทำร้ายร่างกายด้วยอาวุธจนถึงแก่บาดเจ็บสาหัส
จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ไม้ท่อนคนละท่อนซึ่งมีขนาดยาวประมาณ1 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 นิ้ว ตีทำร้ายผู้เสียหายทั้งสองในขณะที่ผู้เสียหายที่ 2 กำลังขับรถจักยานยนต์โดยมีผู้เสียหายที่ 1 และ ย.นั่งซ้อนท้าย จนรถจักรยานยนต์ที่ผู้เสียหายที่ 2 ขับล้มลง ผู้เสียหายที่ 1 หลบหนีไปได้ ส่วนผู้เสียหายที่ 2 ถูกรุมตีอีกหลายทีที่บริเวณศีรษะ ใบหน้า ลำตัว และหัวไหล่ขวา จนหมดสติและกระดูกแขนข้างขวาหัก บาดแผลและกระดูกแขนขวาของผู้เสียหายที่ 2 ต้องใช้เวลารักษาประมาณ 60 วันหากผู้เสียหายที่ 2 ไม่ได้รับการรักษาให้ทันท่วงทีอาจถึงแก่ความตายได้ แสดงว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันตีผู้เสียหายที่ 2 อย่างแรง ประกอบกับขณะที่ตีทำร้ายผู้เสียหายที่ 2 จำเลยทั้งสองพูดว่าตีให้ตาย พฤติการณ์ที่จำเลยที่ 2 ร่วมกระทำไปแสดงว่าจำเลยที่ 2 มีเจตนาฆ่าผู้เสียหายที่ 2 เมื่อผู้เสียหายที่ 2 ไม่ถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 2 จึงมีความผิดฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้เสียหายที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 117/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกฟ้องอาญาเนื่องจากพยานหลักฐานไม่เพียงพอและมีความสงสัยตามสมควรในความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย
มูลเหตุที่เจ้าพนักงานไปตรวจค้นบ้านที่เกิดเหตุ เนื่องจากได้รับการร้องเรียนจากชาวบ้านว่ามีการมั่วสุม เสพเมทแอมเฟตามีนและลักลอบจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนที่บ้านดังกล่าว และในวันเกิดเหตุเจ้าพนักงานได้รับแจ้งจากสายลับว่า มีกลุ่มวัยรุ่นมั่วสุมที่บ้านดังกล่าวอีกและมีเมทแอมเฟตามีนอยู่เป็นจำนวนมากโดยไม่ปรากฏว่ามีการ ร้องเรียนหรือกล่าวหาว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ร่วมกันลักลอบ จำหน่ายเมทแอมเฟตามีน เหตุที่จับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 เนื่องจากจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 อยู่ในที่เกิดเหตุ ซึ่งจากการ สอบถาม จำเลยที่ 1 รับว่าที่เกิดเหตุเป็นบ้านที่จำเลยที่ 1 เช่าอยู่อาศัยโดยจำเลยที่ 1 มิได้ให้การพาดพิงหรือซัดทอด ถึงจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 อันจะพอบ่งชี้ให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 มีส่วนร่วมในการกระทำความผิดด้วย จำเลยที่ 1 ให้การในทันทีทันใดเมื่อถูกเจ้าพนักงานสอบถามไม่มีเวลา ไตร่ตรองเพื่อช่วยเหลือหรือปรักปรำผู้ใด เชื่อว่าจำเลยที่ 1 ให้การไปตามความสัตย์จริง คำให้การของจำเลยที่ 1 ในขณะนั้นจึงมีน้ำหนักให้รับฟังได้ ทั้งในชั้นพิจารณา จำเลยที่ 1 ก็ยังยืนยันว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5มาบ้านจำเลยที่ 1 เพื่อซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลยที่ 1ไว้เพื่อเสพเท่านั้น ดังนั้น แม้จะจับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5ได้ในขณะอยู่ร่วมกับจำเลยที่ 1 ในที่เกิดเหตุ แต่ตามพฤติการณ์ และพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบ ยังมีความสงสัยตามสมควรว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ร่วมกับจำเลยที่ 1 กระทำความผิด ฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายโดยไม่ได้ รับอนุญาตหรือไม่ จึงต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้น ให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพยายามฆ่าและชิงทรัพย์ด้วยอาวุธปืน ศาลพิจารณาพยานหลักฐานและแก้ไขคำพิพากษา
จำเลยร่วมกับพวกใช้อาวุธปืนเล็กกลยิงมาทางผู้เสียหาย ทั้งหกในขณะนั่งมาในรถยนต์ซึ่งแล่นมาตามถนนสายพัทลุง-ตรัง โดยจำเลยย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำได้ว่ากระสุนปืน ที่จำเลยกับพวกใช้ยิงอาจถูกผู้เสียหายทั้งหกซึ่งนั่งอยู่ ในรถยนต์ได้ แสดงว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหายทั้งหก เพื่อความสะดวกในการชิงทรัพย์ จำเลยกับพวกลงมือ กระทำความผิดไปตลอดแล้ว แต่การกระทำนั้นไม่บรรลุผล เนื่องจากกระสุนปืนถูกรถยนต์ของผู้เสียหายที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ได้รับความเสียหาย ถูกผู้เสียหายที่ 5 ได้รับบาดเจ็บและกลุ่มผู้เสียหายหลบหนีได้ทัน จำเลยกับพวก ไม่อาจชิงทรัพย์ได้สำเร็จ จำเลยจึงมีความผิดฐานร่วมกัน พยายามฆ่าผู้เสียหายทั้งหกเพื่อความสะดวกในการที่จะ กระทำความผิดอย่างอื่นและฐานร่วมกันพยายามชิงทรัพย์ ของผู้เสียหายที่ 1 ถึงที่ 5 ความผิดฐานร่วมกันมีอาวุธปืนนอกจากที่กำหนดใน กฎกระทรวงไว้ในครอบครองตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯมาตรา 78 วรรคหนึ่ง กับความผิดฐานร่วมกันใช้อาวุธปืนดังกล่าว ในการกระทำความผิดฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่นและฐานร่วมกัน พยายามชิงทรัพย์ตามมาตรา 78 วรรคสาม ฐานร่วมกัน พยายามฆ่าผู้อื่น และฐานร่วมกันพยายามชิงทรัพย์เป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษฐานร่วมกันใช้อาวุธปืนในการกระทำความผิด ฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่นและฐานร่วมกันพยายามชิงทรัพย์ อันเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดเพียงบทเดียว ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7643/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างโดยพฤติการณ์ การจ่ายค่าจ้างและให้ขนย้ายทรัพย์สินถือเป็นการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
กรรมการผู้มีอำนาจของจำเลย พูดกับโจทก์ที่ 1 ว่าโจทก์ทั้งสองมีเงินเดือนสูงถ้าจะลดค่าจ้างจะอยู่ได้หรือไม่และให้โจทก์ทั้งสองขนย้ายทรัพย์ออกไปจากบริษัทจำเลยในตอนเย็นของวันที่พูด กับได้จ่ายค่าจ้างถึงวันดังกล่าวให้โจทก์ทั้งสองด้วย พฤติการณ์ถือได้ว่า จำเลยไม่ให้โจทก์ทั้งสองทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้เป็นการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 46 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7600/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องจากความเพิกเฉยต่อคำสั่งศาล และขอบเขตการจำหน่ายคดี
ในการที่โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องเกี่ยวกับภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 ในครั้งหลัง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า โจทก์ไม่มีหลักฐานแสดงว่าจำเลยที่ 1 ทำงานอยู่ ณ ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขลำนารายณ์ ให้ยกคำร้อง และให้โจทก์แถลงเกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ภายใน 7 วัน มิฉะนั้นถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องโดยศาลชั้นต้นมีคำสั่งดังกล่าวในวันที่โจทก์ยื่นคำร้องและท้ายคำร้องของโจทก์มีหมายเหตุว่า "ข้าพเจ้ารอฟังคำสั่งอยู่ถ้าไม่รอให้ถือว่าทราบแล้ว" จึงต้องถือว่าโจทก์ทราบคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวในวันยื่นคำร้องแล้ว ไม่จำเป็นต้องแจ้งคำสั่งศาลชั้นต้นให้โจทก์ทราบอีกโจทก์จึงมีหน้าที่ต้องแถลงเกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดเมื่อโจทก์ไม่แถลงภายในกำหนดเวลา กรณีต้องถือว่าโจทก์ เพิกเฉย ไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดอันเป็นการทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 174(2) ศาลมีอำนาจจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความได้ตาม มาตรา 132(1) แต่ตามมาตรา 132(1) นี้ไม่ได้ บังคับเด็ดขาดว่าศาลต้องจำหน่ายคดีเป็นแต่ให้ศาลใช้ดุลพินิจ เหตุคดีนี้ที่ถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง เป็นเพราะโจทก์เพิกเฉยไม่แถลงเกี่ยวกับภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1ศาลจึงควรจำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยที่ 1 ที่โจทก์ไม่ดำเนินการตามคำสั่งศาลเท่านั้น ไม่สมควรจำหน่ายทั้งคดีออกจากสารบบความทั้งโจทก์ได้ดำเนินการนำส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยที่ 2 แล้ว และคดีของจำเลยที่ 1 ได้ยุติไปตามคำสั่งศาลชั้นต้น โดยศาลอุทธรณ์อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องอุทธรณ์เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 และจำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยที่ 1กรณีมีเหตุสมควรไม่จำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่ 2 โดยให้โจทก์ ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 2 ต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7600/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล และผลกระทบต่อการจำหน่ายคดีเฉพาะจำเลย
ในการที่โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องเกี่ยวกับภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 ในครั้งหลัง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าโจทก์ไม่มีหลักฐานแสดงว่า จำเลยที่ 1ทำงานอยู่ ณ ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขลำนารายณ์ให้ยกคำร้องและให้โจทก์แถลงเกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ภายใน 7 วัน มิฉะนั้นถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง โดยศาลชั้นต้นมีคำสั่งดังกล่าวในวันที่โจทก์ยื่นคำร้อง และท้ายคำร้องของโจทก์มีหมายเหตุว่า "ข้าพเจ้ารอฟังคำสั่งอยู่ ถ้าไม่รอให้ถือว่าทราบแล้ว" จึงต้องถือว่าโจทก์ทราบคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวในวันยื่นคำร้องแล้ว ไม่จำเป็นต้องแจ้งคำสั่งศาลชั้นต้นให้โจทก์ทราบอีกโจทก์จึงมีหน้าที่ต้องแถลงเกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด เมื่อโจทก์ไม่แถลงภายในกำหนดเวลา กรณีต้องถือว่าโจทก์เพิกเฉย ไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด อันเป็นการทิ้งฟ้องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 174 (2) ศาลมีอำนาจจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความได้ตาม มาตรา 132 (1) แม้ตามมาตรา 132 (1)นี้ไม่ได้บังคับเด็ดขาดว่าศาลต้องจำหน่ายคดีเป็นแต่ให้ศาลใช้ดุลพินิจ แต่คดีนี้ เหตุที่ถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องเป็นเพราะโจทก์เพิกเฉยไม่แถลงเกี่ยวกับภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1ศาลจึงควรจำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยที่ 1 ที่โจทก์ไม่ดำเนินการตามคำสั่งศาลเท่านั้นไม่สมควรจำหน่ายทั้งคดีออกจากสารบบความ ทั้งโจทก์ได้ดำเนินการนำส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยที่ 2 แล้ว และคดีของจำเลยที่ 1 ได้ยุติไปตามคำสั่งศาลชั้นต้น โดยศาลอุทธรณ์อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องอุทธรณ์เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 และจำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยที่ 1 กรณีมีเหตุสมควรไม่จำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่ 2โดยให้โจทก์ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 2 ต่อไป
พิพากษาแก้เป็นว่า ไม่จำหน่ายคดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ให้จำเลยที่ 2 ยื่นคำให้การภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดแล้วให้ศาลชั้นต้นดำเนินการต่อไป และไม่คืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ให้โจทก์ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสามศาลให้เป็นพับ
พิพากษาแก้เป็นว่า ไม่จำหน่ายคดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ให้จำเลยที่ 2 ยื่นคำให้การภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดแล้วให้ศาลชั้นต้นดำเนินการต่อไป และไม่คืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ให้โจทก์ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสามศาลให้เป็นพับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7579/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองยาเสพติดเพื่อจำหน่าย แม้คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไม่ถึง 20 กรัม ก็มีโทษได้ และการรับสารภาพเป็นเหตุบรรเทาโทษ
พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคสอง เป็นเพียงบทบัญญัติสันนิษฐานเด็ดขาดว่า หากมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ตั้งแต่ 20 กรัม ขึ้นไป ให้ถือว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายเท่านั้น มิได้หมายความว่า หากยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้น้อยกว่านั้นแล้ว จะลงโทษจำเลยฐานมียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายไม่ได้ เมื่อจำเลยมีเมทแอมเฟตามีนเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต แม้จะคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์น้อยกว่า 20 กรัม ก็ตาม ย่อมลงโทษจำเลยในข้อหาดังกล่าวได้
แม้ข้อนำสืบของจำเลยจะไม่เป็นประโยชน์แก่การพิจารณา และถือไม่ได้ว่าเป็นเหตุบรรเทาโทษก็ตาม แต่จำเลยให้การรับสารภาพในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนและศาลล่างทั้งสองก็ยกเอาคำให้การดังกล่าวของจำเลยขึ้นมาฟังประกอบการวินิจฉัยด้วย ดังนี้ ถือได้ว่าคำให้การของจำเลยในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนเป็นการให้ความรู้แก่ศาล อันเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 แล้ว สมควรลดโทษให้แก่จำเลย ถึงแม้จำเลยจะมิได้ฎีกาปัญหาข้อนี้ขึ้นมา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและลดโทษให้แก่จำเลยได้
แม้ข้อนำสืบของจำเลยจะไม่เป็นประโยชน์แก่การพิจารณา และถือไม่ได้ว่าเป็นเหตุบรรเทาโทษก็ตาม แต่จำเลยให้การรับสารภาพในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนและศาลล่างทั้งสองก็ยกเอาคำให้การดังกล่าวของจำเลยขึ้นมาฟังประกอบการวินิจฉัยด้วย ดังนี้ ถือได้ว่าคำให้การของจำเลยในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนเป็นการให้ความรู้แก่ศาล อันเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 แล้ว สมควรลดโทษให้แก่จำเลย ถึงแม้จำเลยจะมิได้ฎีกาปัญหาข้อนี้ขึ้นมา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและลดโทษให้แก่จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7476/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิลาพักร้อนสะสมของลูกจ้าง การคำนวณค่าจ้างวันหยุดพักผ่อนตามสัดส่วนระยะเวลาทำงาน
โจทก์เข้าทำงานเป็นลูกจ้างจำเลยเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2533 ครบ 1 ปี ในวันที่30 มิถุนายน 2534 ซึ่งโจทก์มีสิทธิลาหยุดพักผ่อนประจำปีนับแต่เริ่มทำงานในปีถัดมาทุกปีปีละ 10 วัน ตลอดมาจนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2539 รวม 6 ปี แต่โจทก์ไม่ได้ใช้สิทธินั้นดังนั้น โจทก์คงมีสิทธิลาหยุดพักผ่อนประจำปีในปี 2540 โดยนับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม2539 เมื่อนับถึงวันสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2540 อันเป็นวันเลิกจ้างมีผลบังคับเป็นเวลา8 เดือน โจทก์ย่อมมีสิทธิได้ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามส่วนที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 45 มีกำหนด6.66 วัน หาใช่มีสิทธิได้เต็ม 10 วัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7476/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิลาพักร้อนสะสมและการคำนวณค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนตามส่วน
โจทก์เข้าทำงานเป็นลูกจ้างจำเลยเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2533ครบ 1 ปี ในวันที่ 30 มิถุนายน 2534 ซึ่งโจทก์มีสิทธิลาหยุดพักผ่อนประจำปีนับแต่เริ่มทำงานในปีถัดมาทุกปีปีละ 10 วัน ตลอดมาจนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2539 รวม 6 ปีแต่โจทก์ไม่ได้ใช้สิทธินั้น ดังนั้น โจทก์คงมีสิทธิลาหยุดพักผ่อนประจำปีในปี 2540 โดยนับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2539 เมื่อนับถึงวันสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2540 อันเป็นวันเลิกจ้างมีผลบังคับเป็นเวลา 8 เดือน โจทก์ย่อมมีสิทธิได้ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามส่วนที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 45 มีกำหนด 6.66 วัน หาใช่มีสิทธิได้เต็ม 10 วัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7476/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิลาพักร้อนสะสมและการคำนวณค่าจ้างพักร้อนตามระยะเวลาทำงาน
โจทก์เข้าทำงานเป็นลูกจ้างจำเลยเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2533 ครบ 1 ปี ในวันที่30 มิถุนายน 2534 ซึ่งโจทก์มีสิทธิลาหยุดพักผ่อนประจำปีนับแต่เริ่มทำงานในปีถัดมาทุกปีปีละ 10 วัน ตลอดมาจนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2539 รวม 6 ปี แต่โจทก์ไม่ได้ใช้สิทธินั้นดังนั้น โจทก์คงมีสิทธิลาหยุดพักผ่อนประจำปีในปี 2540 โดยนับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม2539 เมื่อนับถึงวันสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2540 อันเป็นวันเลิกจ้างมีผลบังคับเป็นเวลา8 เดือน โจทก์ย่อมมีสิทธิได้ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามส่วนที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 45 มีกำหนด6.66 วัน หาใช่มีสิทธิได้เต็ม 10 วัน