พบผลลัพธ์ทั้งหมด 772 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4038-4039/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม แม้ขาดทุนต่อเนื่อง แต่ทุนจดทะเบียนสูง และไม่มีเหตุผลเพียงพอ
มูลกรณีที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นเรื่องที่โจทก์อ้างว่าการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์นั้นเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งเป็นการใช้สิทธิตามที่ พ.ร.บ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 บัญญัติไว้ มิใช่เป็นการฟ้องเกี่ยวกับกรณีพิพาทซึ่งเกิดจากสัญญาจ้างพนักงานแต่อย่างใด ดังนั้น แม้ว่าสัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยระบุว่า "นายจ้างและลูกจ้างยินยอมให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งใช้สิทธิใด ๆ ที่จะพึงมีตามสัญญานี้เพื่อระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการก่อน ถ้าปรากฏว่าไม่สามารถระงับข้อพิพาทได้ให้ปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป" ก็ตาม กรณีก็ไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 10 โจทก์จึงมีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลแรงงานกลางได้
การดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงานนั้น พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 45 ให้อำนาจศาลที่จะเรียกพยานหลักฐานมาสืบได้เองตามที่เห็นสมควรและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ซึ่งเป็นกรณีที่มีบทบัญญัติกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีแรงงานเป็นการเฉพาะแล้ว ไม่อาจนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87(2) และมาตรา 88 มาอนุโลมใช้บังคับแก่การดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงานตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ได้ การที่ศาลแรงงานกลางอนุญาตให้โจทก์อ้างเอกสารหมาย จ.1 และ จ.11 เป็นพยานและรับฟังข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในเอกสารดังกล่าว ทั้งที่โจทก์มิได้ระบุเอกสารทั้งสองฉบับไว้ในบัญชีระบุพยานของโจทก์ จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่า กิจการของจำเลยประสบภาวะขาดทุนต่อเนื่องนับแต่ดำเนินการในปี 2538 จนถึงปี 2542 รวมเป็นเงินถึง 40 ล้านบาท และนอกจากโจทก์แล้วจำเลยยังได้เลิกจ้างพนักงานอื่น ๆ อีก 2 คน ตามที่จำเลยอุทธรณ์ก็ตาม แต่จำเลยมีทุนจดทะเบียนดำเนินการถึง 208,500,000 บาท ประกอบกับจำเลยทราบดีอยู่แล้วว่าปกติการดำเนินธุรกิจประกันภัยสหกรณ์อย่างเช่นกิจการของจำเลยจะขาดทุนต่อเนื่องในระยะเวลา 6 ปีแรก และข้อเท็จจริงก็ไม่ปรากฏอย่างชัดแจ้งว่า แนวโน้มในการดำเนินกิจการของจำเลยในปีต่อ ๆ ไปนั้นจะต้องประสบภาวะวิกฤตจนถึงขั้นไม่อาจดำเนินการกิจการต่อไปได้หากไม่แก้ไขการจัดการโดยวิธีเลิกจ้างโจทก์ ฉะนั้นจึงถือว่าการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์นั้นยังไม่มีเหตุอันสมควรอย่างเพียงพอ เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
การดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงานนั้น พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 45 ให้อำนาจศาลที่จะเรียกพยานหลักฐานมาสืบได้เองตามที่เห็นสมควรและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ซึ่งเป็นกรณีที่มีบทบัญญัติกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีแรงงานเป็นการเฉพาะแล้ว ไม่อาจนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87(2) และมาตรา 88 มาอนุโลมใช้บังคับแก่การดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงานตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ได้ การที่ศาลแรงงานกลางอนุญาตให้โจทก์อ้างเอกสารหมาย จ.1 และ จ.11 เป็นพยานและรับฟังข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในเอกสารดังกล่าว ทั้งที่โจทก์มิได้ระบุเอกสารทั้งสองฉบับไว้ในบัญชีระบุพยานของโจทก์ จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่า กิจการของจำเลยประสบภาวะขาดทุนต่อเนื่องนับแต่ดำเนินการในปี 2538 จนถึงปี 2542 รวมเป็นเงินถึง 40 ล้านบาท และนอกจากโจทก์แล้วจำเลยยังได้เลิกจ้างพนักงานอื่น ๆ อีก 2 คน ตามที่จำเลยอุทธรณ์ก็ตาม แต่จำเลยมีทุนจดทะเบียนดำเนินการถึง 208,500,000 บาท ประกอบกับจำเลยทราบดีอยู่แล้วว่าปกติการดำเนินธุรกิจประกันภัยสหกรณ์อย่างเช่นกิจการของจำเลยจะขาดทุนต่อเนื่องในระยะเวลา 6 ปีแรก และข้อเท็จจริงก็ไม่ปรากฏอย่างชัดแจ้งว่า แนวโน้มในการดำเนินกิจการของจำเลยในปีต่อ ๆ ไปนั้นจะต้องประสบภาวะวิกฤตจนถึงขั้นไม่อาจดำเนินการกิจการต่อไปได้หากไม่แก้ไขการจัดการโดยวิธีเลิกจ้างโจทก์ ฉะนั้นจึงถือว่าการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์นั้นยังไม่มีเหตุอันสมควรอย่างเพียงพอ เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4038-4039/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม แม้ขาดทุน แต่ทุนจดทะเบียนสูง และไม่มีเหตุผลเพียงพอ
มูลคดีที่โจทก์ทั้งสองฟ้องจำเลยคดีนี้เป็นเรื่องที่โจทก์ทั้งสองอ้างว่าการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสองนั้นเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งเป็นการใช้สิทธิตามที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 49 บัญญัติไว้ไม่ใช่เป็นการฟ้องเกี่ยวกับกรณีพิพาทซึ่งเกิดจากสัญญาจ้างพนักงานแต่อย่างใด โจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิที่จะนำคดีมาฟ้องต่อศาลแรงงานกลางได้เนื่องจากมิได้อยู่ในเงื่อนไขข้อตกลง ศาลแรงงานกลางจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ ได้บัญญัติหลักการสำคัญในการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีแรงงานไว้เป็นการเฉพาะแล้ว ไม่อาจนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87(2) และมาตรา 88มาอนุโลมใช้บังคับแก่การดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงานได้ ศาลแรงงานกลางจึงมีอำนาจเรียกพยานมาสืบได้เองหรือกำหนดให้คู่ความนำพยานมาสืบโดยจะให้ยื่นบัญชีระบุพยานหรือไม่ก็ได้ การที่ศาลแรงงานกลางอนุญาตให้โจทก์ทั้งสองอ้างเอกสารเป็นพยานและรับฟังข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในเอกสารดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย
แม้กิจการของจำเลยประสบภาวะการขาดทุนต่อเนื่องนับแต่เริ่มดำเนินกิจการในปี 2538 จนถึงปี 2542 รวมเป็นเงินถึง 40 ล้านบาท และนอกจากโจทก์ทั้งสองแล้วจำเลยยังได้เลิกจ้างพนักงานอื่น ๆ อีก 2 คน แต่จำเลยมีทุนจดทะเบียนดำเนินการถึง208,500,000 บาท ประกอบกับจำเลยทราบดีอยู่แล้วว่าปกติการดำเนินธุรกิจประกันภัยสหกรณ์อย่างเช่นกิจการของจำเลยจะขาดทุนต่อเนื่องในระยะเวลา 6 ปีแรก และไม่ปรากฏอย่างชัดแจ้งว่าภาวะการขาดทุนของจำเลย ในขณะที่เลิกจ้างโจทก์ทั้งสองกับแนวโน้มในการดำเนินกิจการของจำเลยในปีต่อ ๆ ไปนั้น จะต้องประสบภาวะวิกฤตจนถึงขั้นไม่อาจดำเนินกิจการต่อไปได้ หากไม่แก้ไขการจัดการโดยวิธีเลิกจ้างโจทก์ทั้งสอง จึงต้องถือว่าการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสองนั้นยังไม่มีเหตุอันสมควรอย่างเพียงพอ จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ ได้บัญญัติหลักการสำคัญในการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีแรงงานไว้เป็นการเฉพาะแล้ว ไม่อาจนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87(2) และมาตรา 88มาอนุโลมใช้บังคับแก่การดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงานได้ ศาลแรงงานกลางจึงมีอำนาจเรียกพยานมาสืบได้เองหรือกำหนดให้คู่ความนำพยานมาสืบโดยจะให้ยื่นบัญชีระบุพยานหรือไม่ก็ได้ การที่ศาลแรงงานกลางอนุญาตให้โจทก์ทั้งสองอ้างเอกสารเป็นพยานและรับฟังข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในเอกสารดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย
แม้กิจการของจำเลยประสบภาวะการขาดทุนต่อเนื่องนับแต่เริ่มดำเนินกิจการในปี 2538 จนถึงปี 2542 รวมเป็นเงินถึง 40 ล้านบาท และนอกจากโจทก์ทั้งสองแล้วจำเลยยังได้เลิกจ้างพนักงานอื่น ๆ อีก 2 คน แต่จำเลยมีทุนจดทะเบียนดำเนินการถึง208,500,000 บาท ประกอบกับจำเลยทราบดีอยู่แล้วว่าปกติการดำเนินธุรกิจประกันภัยสหกรณ์อย่างเช่นกิจการของจำเลยจะขาดทุนต่อเนื่องในระยะเวลา 6 ปีแรก และไม่ปรากฏอย่างชัดแจ้งว่าภาวะการขาดทุนของจำเลย ในขณะที่เลิกจ้างโจทก์ทั้งสองกับแนวโน้มในการดำเนินกิจการของจำเลยในปีต่อ ๆ ไปนั้น จะต้องประสบภาวะวิกฤตจนถึงขั้นไม่อาจดำเนินกิจการต่อไปได้ หากไม่แก้ไขการจัดการโดยวิธีเลิกจ้างโจทก์ทั้งสอง จึงต้องถือว่าการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสองนั้นยังไม่มีเหตุอันสมควรอย่างเพียงพอ จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3647/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะสมาชิกสหภาพแรงงานหลังคำสั่งลงโทษทางวินัย การเปลี่ยนแปลงคำสั่งลงโทษมีผลต่อสมาชิกภาพหรือไม่
โจทก์ถูกลงโทษไล่ออกจากการเป็นลูกจ้างของบริษัทซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ แต่โจทก์ได้อุทธรณ์คำสั่ง คำสั่งลงโทษไล่ออกจึงยังไม่เป็นที่สุดจนกว่าจะมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของกรรมการผู้อำนวยการใหญ่เมื่อต่อมาก่อนมีคำวินิจฉัยบริษัทได้มีคำสั่งยกเลิกคำสั่งลงโทษไล่ออกดังกล่าว โดยให้ลงโทษโจทก์ด้วยการตัดเงินเดือน 25 เปอร์เซ็นต์ เป็นเวลา3 เดือนแทน และให้โจทก์กลับเข้าทำงานตามปกติ อันเป็นการเปลี่ยนแปลงคำสั่งลงโทษเดิมจากไล่ออกเป็นตัดเงินเดือนและถือว่าคำสั่งลงโทษตัดเงินเดือนเป็นที่สุดแล้ว จึงถือได้ว่าโจทก์ถูกลงโทษเพียงตัดเงินเดือน มิได้ถูกลงโทษไล่ออก โจทก์จึงยังมีสถานะเป็นพนักงานของบริษัทมาตลอด ไม่ขาดคุณสมบัติหรือพ้นสภาพการเป็นสมาชิกและกรรมการของสมาคมหรือสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ
จำเลยเป็นนายทะเบียนสมาคมพนักงานรัฐวิสาหกิจโจทก์เป็นสมาชิกและกรรมการสมาคมพนักงานรัฐวิสาหกิจ การที่จำเลยมีหนังสือไปยังโจทก์ เป็นกรณีที่จำเลยใช้อำนาจของนายทะเบียนสมาคมพนักงานรัฐวิสาหกิจจำหน่ายชื่อโจทก์ออกจากการเป็นสมาชิกและกรรมการสมาคมพนักงานรัฐวิสาหกิจการบินไทย และยืนยันว่าการใช้อำนาจดังกล่าวถูกต้อง การกระทำของจำเลยจึงเป็นการโต้แย้งสิทธิการเป็นสมาชิกและกรรมการสมาคมพนักงานรัฐวิสาหกิจการบินไทยของโจทก์แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนได้
จำเลยเป็นนายทะเบียนสมาคมพนักงานรัฐวิสาหกิจโจทก์เป็นสมาชิกและกรรมการสมาคมพนักงานรัฐวิสาหกิจ การที่จำเลยมีหนังสือไปยังโจทก์ เป็นกรณีที่จำเลยใช้อำนาจของนายทะเบียนสมาคมพนักงานรัฐวิสาหกิจจำหน่ายชื่อโจทก์ออกจากการเป็นสมาชิกและกรรมการสมาคมพนักงานรัฐวิสาหกิจการบินไทย และยืนยันว่าการใช้อำนาจดังกล่าวถูกต้อง การกระทำของจำเลยจึงเป็นการโต้แย้งสิทธิการเป็นสมาชิกและกรรมการสมาคมพนักงานรัฐวิสาหกิจการบินไทยของโจทก์แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3647/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะสมาชิกสมาคมแรงงานเมื่อถูกไล่ออกแล้วกลับเข้าทำงาน: คำวินิจฉัยการเพิกถอนคำสั่งที่ถูกต้อง
แม้โจทก์จะถูกคำสั่งลงโทษไล่ออกจากการเป็นลูกจ้างของบริษัท ก. แต่โจทก์ได้อุทธรณ์คำสั่ง คำสั่งลงโทษไล่ออกจึงยังไม่เป็นที่สุด จนกว่าจะมีคำวินิจฉัยของกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ซึ่งต่อมาบริษัท ก. ได้มีคำสั่งให้ยกเลิกคำสั่งลงโทษไล่ออกดังกล่าวโดยลงโทษโจทก์ด้วยการตัดเงินเดือนและให้โจทก์กลับเข้าทำงานตามปกติโดยนับอายุงานต่อเนื่อง รวมทั้งวันที่โจทก์ได้หยุดงานไปในระหว่างถูกไล่ออกด้วย จึงถือได้ว่าโจทก์ถูกลงโทษเพียงตัดเงินเดือนมิได้ถูกลงโทษไล่ออก โจทก์จึงไม่ขาดคุณสมบัติหรือพ้นสภาพจากการเป็นสมาชิกและกรรมการของสมาคมหรือสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการบินไทย
จำเลยเป็นนายทะเบียนสมาคมพนักงานรัฐวิสาหกิจ โจทก์เป็นสมาชิกและกรรมการสมาคมดังกล่าว เมื่อจำเลยใช้อำนาจของนายทะเบียนสมาคมพนักงานรัฐวิสาหกิจ จำหน่ายชื่อโจทก์ออกจากการเป็นสมาชิกและกรรมการสมาคมพนักงานรัฐวิสาหกิจการบินไทยและยืนยันว่าการใช้อำนาจดังกล่าวถูกต้อง การกระทำของจำเลยจึงเป็นการโต้แย้งสิทธิการเป็นสมาชิกและกรรมการสมาคมพนักงานรัฐวิสาหกิจการบินไทยของโจทก์แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของจำเลยได้
จำเลยเป็นนายทะเบียนสมาคมพนักงานรัฐวิสาหกิจ โจทก์เป็นสมาชิกและกรรมการสมาคมดังกล่าว เมื่อจำเลยใช้อำนาจของนายทะเบียนสมาคมพนักงานรัฐวิสาหกิจ จำหน่ายชื่อโจทก์ออกจากการเป็นสมาชิกและกรรมการสมาคมพนักงานรัฐวิสาหกิจการบินไทยและยืนยันว่าการใช้อำนาจดังกล่าวถูกต้อง การกระทำของจำเลยจึงเป็นการโต้แย้งสิทธิการเป็นสมาชิกและกรรมการสมาคมพนักงานรัฐวิสาหกิจการบินไทยของโจทก์แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3434/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสั่งคำร้องรื้อฟื้นคดีอาญาเป็นของศาลอุทธรณ์ แม้ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องแต่ศาลอุทธรณ์มีอำนาจพิจารณาและยกคำร้องได้
พระราชบัญญัติการรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ฯ มาตรา 10 กำหนดให้อำนาจในการสั่งคำร้องขอให้รื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่เป็นของศาลอุทธรณ์ฉะนั้น การที่ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องดังกล่าวเสียเองจึงไม่ชอบ อย่างไรก็ตามเมื่อคดีได้ขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลอุทธรณ์แล้ว ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจที่จะมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้องได้โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นทำความเห็นอีก เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าคำร้องของผู้ร้องไม่มีมูลจึงพิพากษายกคำร้อง คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวจึงเป็นที่สุดตามมาตรา 10 วรรคสอง ผู้ร้องไม่มีสิทธิฎีกาได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3266/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสะดุดหยุดจากเจรจาชดใช้ค่าเสียหาย แม้ยังไม่กำหนดจำนวนเงินแน่นอน
ช.ผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 2 ได้ทำบันทึกการตกลงชดใช้ค่าเสียหายกับผู้เสียหายทุกคน แล้วรับข้อเสนอของผู้เสียหายแต่ละคนที่ได้เรียกร้องค่าเสียหายตามจำนวนที่ระบุไว้ในบันทึกเพื่อนำไปเสนอจำเลยที่ 2 พิจารณาจำนวนเงินที่ผู้เสียหายแต่ละคนเรียกร้องอีกครั้งหนึ่ง ประกอบกับตามบันทึกเกี่ยวกับการชดใช้ค่าเสียหาย ช. ได้แจ้งให้พนักงานสอบสวนทราบว่า จำเลยที่ 2 จะรับผิดชอบค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหายตามความเป็นจริงเท่านั้น จากบันทึกทั้งสองฉบับมีความหมายว่า ช. ได้ตกลงยินยอมชดใช้ค่าเสียหายให้ผู้เสียหายทุกคนตามที่ได้รับมอบหมายอำนาจจากจำเลยที่ 2 แล้ว เพียงแต่ยังไม่ได้กำหนดจำนวนเงินแน่นอนที่จะจ่ายให้แก่ผู้เสียหายแต่ละคนเท่านั้น ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้กระทำการใด ๆ อันปราศจากข้อสงสัยแสดงให้เห็นเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพหนี้ตามสิทธิเรียกร้อง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1) แล้ว จึงทำให้อายุความสะดุดหยุดลงนับแต่วันทำบันทึกตกลงชดใช้ค่าเสียหาย ต่อมาโจทก์ทราบจากพนักงานสอบสวนว่า จำเลยที่ 2 ปฏิเสธไม่ชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ เมื่อนับแต่วันทราบดังกล่าวถึงวันฟ้องฟังไม่เกิน 1 ปี ฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3266/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสะดุดหยุดเมื่อจำเลยแสดงเจตนาชดใช้ค่าเสียหาย แม้ยังไม่ได้ตกลงจำนวนเงิน
เกิดเหตุละเมิดวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2540 ต่อมาวันที่ 20 มีนาคม 2540 ช. ผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 2 ให้มีอำนาจเจรจาตกลงค่าเสียหาย ได้ทำบันทึกการตกลงชดใช้ค่าเสียหายว่า ช. ตกลงกับผู้เสียหายทุกคน แล้วรับข้อเสนอของผู้เสียหายแต่ละคนเพื่อนำไปเสนอจำเลยที่ 2 พิจารณา ประกอบกับตามบันทึกเกี่ยวกับการชดใช้ค่าเสียหาย ช. ได้แจ้งให้พนักงานสอบสวนทราบว่า จำเลยที่ 2 จะชดใช้ให้แก่ผู้เสียหายที่ได้รับบาดเจ็บตามหลักฐานหรือใบเสร็จค่ารักษาพยาบาลที่แท้จริงสำหรับผู้ตายให้ศพละ 50,000 บาท ความเสียหายต่อทรัพย์สินให้ประเมินตามความเป็นจริง ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้กระทำการใด ๆ อันปราศจากข้อสงสัยแสดงให้เห็นเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพหนี้ตามสิทธิเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/14(1) แล้ว จึงทำให้อายุความสะดุดหยุดลงนับแต่วันที่ 20 มีนาคม 2540จนถึงวันที่ 16 มิถุนายน 2540 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์ทราบจากพนักงานสอบสวนว่า จำเลยที่ 2ปฏิเสธไม่ชดใช้ค่าเสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3214/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะพนักงานรัฐวิสาหกิจ & สิทธิเรียกร้องค่าชดเชยตามระเบียบ คดีนี้ศาลแก้ดอกเบี้ยเป็น 7.5%
ขณะที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ จำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจ อยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่เกิดสิทธิเรียกร้อง และเนื่องจากพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 4 บัญญัติว่าพระราชบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ดังนั้น จำเลยซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจจึงไม่อยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ที่โจทก์ฟ้องโดยอ้างว่าโจทก์มีสิทธิเรียกร้องตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 จึงเป็นการอ้างบทกฎหมายคลาดเคลื่อนอย่างไรก็ตาม โจทก์ฟ้องเรียกค่าชดเชยกรณีเลิกจ้างจากจำเลย ซึ่งเมื่อปรับบทกฎหมายแล้ว พอถือได้ว่าโจทก์ฟ้องเรียกค่าชดเชยจากจำเลยตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่องมาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11(1) และมาตรา 11 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534
จำเลยจ้างโจทก์โดยทำสัญญาว่าจ้างมีกำหนด 1 ปี ให้เงินตอบแทนรวม 3,600,000 บาท แบ่งจ่ายเป็นรายเดือน เมื่อสิ้นสุดสัญญาแล้วโจทก์และจำเลยได้ตกลงทำสัญญาจ้างทำนองเดียวกันปีต่อปี โดยให้โจทก์ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาด้านการตลาดพัฒนาระบบการจัดแผนดำเนินงานของทุกฝ่ายงาน และเป็นที่ปรึกษาของฝ่ายพัฒนาบริการและการตลาด โจทก์มีอำนาจสั่งจ่ายเงินสดและการอนุมัติค่าใช้จ่ายเฉพาะฝ่ายพัฒนาบริการและการตลาดเทียบเท่ารองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ทางปฏิบัติโจทก์มาทำงานที่ธนาคารจำเลยทุกวัน ทั้งในการทำงานจำเลยสั่งการถึงโจทก์และโจทก์สั่งการต่อไปยังพนักงานอื่นของจำเลยได้ด้วย โจทก์จึงมีสถานะเป็นพนักงานหรือลูกจ้างของจำเลย แม้ตามสัญญาว่าจ้างกำหนดสถานะไว้ว่าจำเลยเป็นผู้ว่าจ้าง โจทก์เป็นผู้รับจ้างโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับสวัสดิการต่าง ๆ ดังเช่นพนักงานหรือลูกจ้างของจำเลยจะได้รับ โจทก์ไม่ต้องมีบัตรพนักงาน โจทก์ไม่เคยถูกประเมินผลงานหรือได้รับการปรับเงินเดือนรายปี ทั้งโจทก์ไม่มีรายชื่อในฝ่ายทรัพยากรบุคคลว่าเป็นพนักงานหรือลูกจ้างของจำเลยด้วยนั้น เป็นกรณีที่จำเลยปฏิบัติต่อโจทก์แตกต่างจากพนักงานอื่น ยังไม่พอที่จะถือว่าโจทก์มิใช่พนักงานหรือลูกจ้างของจำเลย
โจทก์ฟ้องเรียกค่าชดเชย ดอกเบี้ยและเงินเพิ่มจากจำเลยโดยอ้างสิทธิตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 แต่เนื่องจากจำเลยมิได้อยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติดังกล่าว โจทก์จึงไม่อาจอ้างสิทธิที่จะได้รับดอกเบี้ยและเงินเพิ่มตามกฎหมายฉบับดังกล่าวได้ ทั้งตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่องมาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534 ก็มิได้มีข้อใดกำหนดให้รัฐวิสาหกิจต้องจ่ายดอกเบี้ยหรือเงินเพิ่ม กรณีมิได้จ่ายค่าชดเชยให้แก่พนักงานไว้แต่ค่าชดเชยเป็นหนี้เงินโจทก์จึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดจากจำเลยได้เพียงร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่งเท่านั้น
จำเลยจ้างโจทก์โดยทำสัญญาว่าจ้างมีกำหนด 1 ปี ให้เงินตอบแทนรวม 3,600,000 บาท แบ่งจ่ายเป็นรายเดือน เมื่อสิ้นสุดสัญญาแล้วโจทก์และจำเลยได้ตกลงทำสัญญาจ้างทำนองเดียวกันปีต่อปี โดยให้โจทก์ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาด้านการตลาดพัฒนาระบบการจัดแผนดำเนินงานของทุกฝ่ายงาน และเป็นที่ปรึกษาของฝ่ายพัฒนาบริการและการตลาด โจทก์มีอำนาจสั่งจ่ายเงินสดและการอนุมัติค่าใช้จ่ายเฉพาะฝ่ายพัฒนาบริการและการตลาดเทียบเท่ารองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ทางปฏิบัติโจทก์มาทำงานที่ธนาคารจำเลยทุกวัน ทั้งในการทำงานจำเลยสั่งการถึงโจทก์และโจทก์สั่งการต่อไปยังพนักงานอื่นของจำเลยได้ด้วย โจทก์จึงมีสถานะเป็นพนักงานหรือลูกจ้างของจำเลย แม้ตามสัญญาว่าจ้างกำหนดสถานะไว้ว่าจำเลยเป็นผู้ว่าจ้าง โจทก์เป็นผู้รับจ้างโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับสวัสดิการต่าง ๆ ดังเช่นพนักงานหรือลูกจ้างของจำเลยจะได้รับ โจทก์ไม่ต้องมีบัตรพนักงาน โจทก์ไม่เคยถูกประเมินผลงานหรือได้รับการปรับเงินเดือนรายปี ทั้งโจทก์ไม่มีรายชื่อในฝ่ายทรัพยากรบุคคลว่าเป็นพนักงานหรือลูกจ้างของจำเลยด้วยนั้น เป็นกรณีที่จำเลยปฏิบัติต่อโจทก์แตกต่างจากพนักงานอื่น ยังไม่พอที่จะถือว่าโจทก์มิใช่พนักงานหรือลูกจ้างของจำเลย
โจทก์ฟ้องเรียกค่าชดเชย ดอกเบี้ยและเงินเพิ่มจากจำเลยโดยอ้างสิทธิตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 แต่เนื่องจากจำเลยมิได้อยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติดังกล่าว โจทก์จึงไม่อาจอ้างสิทธิที่จะได้รับดอกเบี้ยและเงินเพิ่มตามกฎหมายฉบับดังกล่าวได้ ทั้งตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่องมาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534 ก็มิได้มีข้อใดกำหนดให้รัฐวิสาหกิจต้องจ่ายดอกเบี้ยหรือเงินเพิ่ม กรณีมิได้จ่ายค่าชดเชยให้แก่พนักงานไว้แต่ค่าชดเชยเป็นหนี้เงินโจทก์จึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดจากจำเลยได้เพียงร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่งเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3214/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะพนักงานรัฐวิสาหกิจ: การพิจารณาจากลักษณะการทำงาน แม้สัญญาจะระบุเป็นผู้รับจ้าง
ขณะที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ จำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจ จึงตกอยู่ในบังคับของ พ.ร.บ. พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 ไม่ได้อยู่ในบังคับของ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 โจทก์ฟ้องเรียกค่าชดเชยกรณีจำเลยเลิกจ้างโจทก์ โดยอ้างว่ามีสิทธิเรียกร้องตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ แต่เมื่อปรับบทกฎหมายตามข้อหาของโจทก์ดังกล่าวแล้ว พอถือได้ว่าโจทก์ฟ้องเรียกค่าชดเชยจากจำเลยตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3211/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของนายจ้างในการสั่งตรวจร่างกายลูกจ้างที่ลาป่วย และการเลิกจ้างเมื่อลูกจ้างฝ่าฝืนคำสั่งชอบด้วยกฎหมาย
การที่โจทก์ยื่นใบลาป่วยโดยมีใบรับรองแพทย์และได้รับอนุญาตให้ลาจนครบกำหนด และมาทำงานแล้ว ก็ตาม หากจำเลยสงสัยว่าโจทก์ป่วยจริงหรือไม่หรือใช้สิทธิลาป่วยไม่สุจริต ก็ชอบที่จะสั่งให้โจทก์ไปตรวจกับ แพทย์อื่นซึ่งจำเลยจัดให้เพื่อตรวจสอบว่าโจทก์ป่วยจริงหรือไม่ หากการตรวจปรากฏว่าโจทก์ป่วยจริงและใช้สิทธิ ลาป่วยโดยสุจริตก็จะเป็นผลดีแก่โจทก์ คำสั่งของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นคำสั่งเกี่ยวกับการทำงานที่มีเหตุผลชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม โจทก์ต้องปฏิบัติตาม เมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามจึงเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกรณีไม่ร้ายแรง จำเลยได้มีหนังสือตักเตือนโจทก์ และยืนยันคำสั่งให้โจทก์ปฏิบัติตามโจทก์ก็ยังไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง จำเลยจึงลงโทษให้พักงานโจทก์ 11 วัน และยืนยันให้โจทก์ปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าวอีก เมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามจำเลยจึงมีสิทธิออกคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่จ่ายค่าชดเชย จึงเป็นคำสั่งที่ ชอบด้วยประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 (4) และเป็นการปฏบัติถูกต้องตามขั้นตอนของข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างแล้วและคำสั่งดังกล่าวถือได้ว่าไม่ใช้คำสั่งเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
เมื่อจำเลยปฏิบัติถูกต้องตามขั้นตอนในการลงโทษตามที่ระบุไว้ในข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างแล้ว จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าจ้างกรณีพักงานให้แก่โจทก์ ส่วนเรื่องค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีนั้น โจทก์ยังไม่ได้ใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปี และไม่เข้าด้วยกรณีตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง เพราะโจทก์ถูกเลิกจ้างเนื่องจากกระทำความผิด และเพราะฝ่าฝืนคำสั่งของจำเลย โดยที่จำเลยมีหนังสือตักเตือนแล้ว ซึ่งมีผลไม่เกินหนึ่งปีนับแต่โจทก์ได้รับทราบหนังสือเตือนตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 (4) และข้อ 45 จำเลยจึง ไม่ต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์
เมื่อจำเลยปฏิบัติถูกต้องตามขั้นตอนในการลงโทษตามที่ระบุไว้ในข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างแล้ว จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าจ้างกรณีพักงานให้แก่โจทก์ ส่วนเรื่องค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีนั้น โจทก์ยังไม่ได้ใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปี และไม่เข้าด้วยกรณีตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง เพราะโจทก์ถูกเลิกจ้างเนื่องจากกระทำความผิด และเพราะฝ่าฝืนคำสั่งของจำเลย โดยที่จำเลยมีหนังสือตักเตือนแล้ว ซึ่งมีผลไม่เกินหนึ่งปีนับแต่โจทก์ได้รับทราบหนังสือเตือนตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 (4) และข้อ 45 จำเลยจึง ไม่ต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์