พบผลลัพธ์ทั้งหมด 772 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6840/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดโทษประหารชีวิตตามมาตรา 52(2) ต้องพิจารณาความร้ายแรงของพฤติการณ์แห่งคดีเป็นเรื่อง ๆ ไป
การลดโทษประหารชีวิตให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 52(2) ศาลจะลดเป็นโทษจำคุกตลอดชีวิตหรือโทษจำคุก ตั้งแต่ 25 ปี ถึง 50 ปี ก็ได้ เป็นดุลพินิจของศาลตามพฤติการณ์แห่งความร้ายแรงของแต่ละคดีเป็นเรื่อง ๆ ไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6825/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกงโดยเจตนาทุจริตตั้งแต่แรกทำสัญญา โอนสิทธิเรียกร้องก่อนทำสัญญาเป็นเหตุให้โจทก์เสียหาย
จำเลยที่ 2 มีเจตนาทุจริตตั้งแต่ในขณะที่ทำสัญญาร่วมดำเนินการกับโจทก์ โดยไม่เปิดเผยความจริงที่โอนสิทธิเรียกร้องตามสัญญาซื้อขายเครื่องส่งโทรทัศน์สีตามสัญญาดังกล่าวซึ่งควรบอกให้แจ้งให้แก่ผู้ทำการแทนโจทก์ทราบ ก็เพื่อให้ผู้ทำการแทนโจทก์หลงเข้าใจผิดว่าจำเลยที่ 1 มีสิทธิรับเงินค่าขายจากผู้ซื้ออันเป็น กรณีปกติของการค้า อันเป็นอุบายของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นการหลอกลวง และโดยการหลอกลวงดังกล่าวได้ไปซึ่งทรัพย์สินเครื่องส่งโทรทัศน์สีดังกล่าวจากโจทก์ ซึ่งเปลี่ยนสภาพเป็นสิทธิที่จะได้รับชำระเงินจำนวน 13,000,000 บาทเศษอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341จำเลยที่ 2 เป็นผู้ลงมือกระทำต้องรับผิดเป็นตัวการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองโดยทุจริตแสดงข้อความอันเป็นเท็จและปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งแก่โจทก์การที่จำเลยทั้งสองปกปิดมิได้แจ้งให้โจทก์ทราบว่าจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ได้ตกลงทำหนังสือสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องการรับเงินที่ได้รับจาก ก. ให้แก่บุคคลที่สามก่อนแล้ว จึงทำสัญญาเป็นหุ้นส่วนกับโจทก์ในวันกระทำผิดซึ่งเป็นเวลาในภายหลัง เป็นเหตุได้ไปซึ่งทรัพย์สินของโจทก์คือเครื่องส่งโทรทัศน์และเครื่องส่งวิทยุกระจายเสียงที่โจทก์ซื้อเป็นเงินรวมจำนวน 51,000,000 บาทเศษ ที่โจทก์จะได้ส่วนแบ่งตามสัญญาดังกล่าวพร้อมทั้งระบุสถานที่เกิดเหตุ คำฟ้องของโจทก์จึงครบองค์ประกอบฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158(5) และ (6)
จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ทำสัญญาร่วมดำเนินการฉบับที่ 1 กับโจทก์ในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2536 และทำสัญญาร่วมดำเนินการฉบับที่ 2 กับโจทก์ในวันที่ 10 เมษายน 2536โดยมีเจตนาฉ้อโกงมาแต่ต้นอันเป็นเจตนาแยกจากกันและต่างวาระกัน การกระทำจึงเป็นกรณีต่างกรรมต่างวาระกันแยกจากกัน 2 กรณี เป็นความผิด 2 กรรม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองโดยทุจริตแสดงข้อความอันเป็นเท็จและปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งแก่โจทก์การที่จำเลยทั้งสองปกปิดมิได้แจ้งให้โจทก์ทราบว่าจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ได้ตกลงทำหนังสือสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องการรับเงินที่ได้รับจาก ก. ให้แก่บุคคลที่สามก่อนแล้ว จึงทำสัญญาเป็นหุ้นส่วนกับโจทก์ในวันกระทำผิดซึ่งเป็นเวลาในภายหลัง เป็นเหตุได้ไปซึ่งทรัพย์สินของโจทก์คือเครื่องส่งโทรทัศน์และเครื่องส่งวิทยุกระจายเสียงที่โจทก์ซื้อเป็นเงินรวมจำนวน 51,000,000 บาทเศษ ที่โจทก์จะได้ส่วนแบ่งตามสัญญาดังกล่าวพร้อมทั้งระบุสถานที่เกิดเหตุ คำฟ้องของโจทก์จึงครบองค์ประกอบฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158(5) และ (6)
จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ทำสัญญาร่วมดำเนินการฉบับที่ 1 กับโจทก์ในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2536 และทำสัญญาร่วมดำเนินการฉบับที่ 2 กับโจทก์ในวันที่ 10 เมษายน 2536โดยมีเจตนาฉ้อโกงมาแต่ต้นอันเป็นเจตนาแยกจากกันและต่างวาระกัน การกระทำจึงเป็นกรณีต่างกรรมต่างวาระกันแยกจากกัน 2 กรณี เป็นความผิด 2 กรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6353/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเข้าเป็นคู่ความแทนจำเลยที่เสียชีวิต: อำนาจสั่งของศาลอุทธรณ์และการส่งสำนวน
จำเลยที่ 1 ถึงแก่กรรมขณะคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 3 ย่อมเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ภาค 3 ที่จะมีคำสั่งเกี่ยวกับการเข้าเป็นคู่ความแทนที่จำเลยที่ 1 ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นนัดพิจารณาคำร้องโดยให้ผู้ร้องแสดงพยานหลักฐานการถึงแก่กรรมของจำเลยที่ 1 และฐานะของผู้ร้องแล้ว ต้องส่งพยานหลักฐานพร้อมสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 3เพื่อพิจารณาสั่ง การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่จำเลยที่ 1 แล้วอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ให้ฟัง จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6349/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าบริการของลูกจ้างเป็นค่าจ้างตามกฎหมาย และการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมต้องจ่ายค่าชดเชย
ค่าบริการเป็นเงินที่จำเลยเรียกเก็บจากลูกค้าที่มาใช้บริการในอัตราร้อยละ 10 แล้วจำเลยรวบรวมไว้เพื่อแบ่งเฉลี่ยให้แก่ลูกจ้างทุกคนจำนวนเท่า ๆ กันเป็นประจำทุกเดือน โดยจำเลยตกลงด้วยว่าลูกจ้างทุกคนจะได้ค่าบริการไม่ต่ำกว่าเดือนละ 1,250 บาท หากแบ่งเฉลี่ยแล้วลูกจ้างแต่ละคนได้รับต่ำกว่าเดือนละ 1,250 บาท จำเลยจะจ่ายส่วนที่ขาดให้จนครบ เมื่อค่าบริการมิใช่เป็นเงินเฉพาะที่จำเลยเรียกเก็บจากลูกค้าเท่านั้น แต่ส่วนหนึ่งเป็นเงินที่จำเลยเป็นผู้จ่ายให้แก่ลูกจ้างรวมอยู่ด้วย โดยมีจำนวนขั้นต่ำที่แน่นอนและจ่ายเป็นประจำทุกเดือนถือได้ว่าเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงานค่าบริการดังกล่าวจึงเป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2
โจทก์มิได้ร่วมทุจริตกับ ส. และมิได้สนับสนุนให้ ส.ทุจริตค่าอาหารของจำเลย เพียงแต่โจทก์เมื่อทราบถึงพฤติการณ์อันส่อไปในทางทุจริตของ ส.แล้ว โจทก์ในฐานะผู้บังคับบัญชาของ ส.มิได้รายงานพฤติการณ์ดังกล่าวให้จำเลยทราบ อันเป็นการปกปิดพฤติการณ์อันส่อไปในทางทุจริตของผู้ใต้บังคับบัญชา กับบกพร่องต่อหน้าที่ในการควบคุมดูแลผู้ใต้บังคับบัญชา และหย่อนสมรรถภาพในการบริหารงานที่ไม่จัดให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทำงานในเวลาและสถานที่ที่เหมาะสมอันเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยไม่เป็นกรณีที่ร้ายแรง ทั้งระเบียบข้อบังคับของจำเลยก็มิได้กำหนดให้เป็นกรณีที่ร้ายแรง ดังนั้นจำเลยจะต้องว่ากล่าวตักเตือนโจทก์ด้วยวาจาหรือออกหนังสือตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษรตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ตามระเบียบข้อบังคับเสียก่อน การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทันทีโดยมิได้ว่ากล่าวตักเตือนก่อน จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์
โจทก์มิได้ร่วมทุจริตกับ ส. และมิได้สนับสนุนให้ ส.ทุจริตค่าอาหารของจำเลย เพียงแต่โจทก์เมื่อทราบถึงพฤติการณ์อันส่อไปในทางทุจริตของ ส.แล้ว โจทก์ในฐานะผู้บังคับบัญชาของ ส.มิได้รายงานพฤติการณ์ดังกล่าวให้จำเลยทราบ อันเป็นการปกปิดพฤติการณ์อันส่อไปในทางทุจริตของผู้ใต้บังคับบัญชา กับบกพร่องต่อหน้าที่ในการควบคุมดูแลผู้ใต้บังคับบัญชา และหย่อนสมรรถภาพในการบริหารงานที่ไม่จัดให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทำงานในเวลาและสถานที่ที่เหมาะสมอันเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยไม่เป็นกรณีที่ร้ายแรง ทั้งระเบียบข้อบังคับของจำเลยก็มิได้กำหนดให้เป็นกรณีที่ร้ายแรง ดังนั้นจำเลยจะต้องว่ากล่าวตักเตือนโจทก์ด้วยวาจาหรือออกหนังสือตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษรตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ตามระเบียบข้อบังคับเสียก่อน การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทันทีโดยมิได้ว่ากล่าวตักเตือนก่อน จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6261/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผิดนัดชำระค่าจ้างและการคิดดอกเบี้ยนับแต่วันที่ร้องเรียนต่อหน่วยงานราชการ
แม้ข้อเท็จจริงจะฟังไม่ได้ว่าจำเลยผิดนัดตั้งแต่เมื่อใดแต่การที่จำเลยไม่ยอมจ่ายค่าจ้างค้างแก่โจทก์โดยโจทก์ได้ทวงถามจนกระทั่งโจทก์ยื่นคำร้องต่อสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดนครศรีธรรมราช จำเลยก็ยัง ไม่ยอมชำระให้นั้น ถือว่าจำเลยผิดนัดในการชำระค่าจ้างค้าง แก่โจทก์แล้ว จำเลยต้องรับผิดในดอกเบี้ยแก่โจทก์นับแต่วันที่ โจทก์ยื่นคำร้องต่อสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6261/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคิดดอกเบี้ยค่าจ้างค้างชำระ เริ่มนับแต่วันที่ลูกจ้างยื่นคำร้องต่อหน่วยงานราชการ เมื่อทวงถามแล้วจำเลยยังไม่ชำระ
โจทก์ฟ้องว่าได้ทวงถามให้จำเลยชำระค่าจ้างค้างแล้ว แต่จำเลยเพิกเฉย ขอให้บังคับจำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันผิดนัด โดยมิได้ระบุว่าการทวงถามอันเป็นเหตุให้จำเลยผิดนัดได้กระทำเมื่อใด ดังนั้น ข้อเท็จจริงจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยผิดนัดตั้งแต่เมื่อใด แต่การที่จำเลยไม่ยอมจ่ายค่าจ้างค้างแก่โจทก์โดยโจทก์ได้ทวงถามจนกระทั่งโจทก์ยื่นคำร้องต่อสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดนครศรีธรรมราชในวันที่ 4 ตุลาคม 2539 จำเลยก็ยังไม่ยอมชำระให้นั้น ถือได้ว่าจำเลยผิดนัดในการชำระค่าจ้างค้างแก่โจทก์แล้ว จำเลยจึงต้องรับผิดในดอกเบี้ยแก่โจทก์ตั้งแต่วัน ดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6227/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิใช้ทางจำเป็นเมื่อที่ดินถูกล้อม และการกำหนดค่าทดแทนการใช้ทาง
โจทก์ที่ 1 และที่ 5 ยกที่ดินให้บุตร คือโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4และโจทก์ที่ 6 ถึงที่ 8 ที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดินที่มีเพียงสิทธิครอบครองย่อมจะโอนสิทธิครอบครองให้แก่กันได้โดยการมอบการครอบครอง การที่โจทก์ที่ 1 และที่ 5มอบการครอบครองบางส่วนของที่ดินให้โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 และโจทก์ที่ 6 ถึงที่ 8โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 และที่ 6 ถึงที่ 8 จึงเป็นผู้มีสิทธิครอบครองโดยชอบ และมีอำนาจฟ้องให้เปิดทางจำเป็นได้
ที่ดินของโจทก์ทั้งเก้ามีที่ดินของบุคคลอื่นล้อมอยู่ทั้งสี่ด้าน และแม้จะมีทางเดินทางทิศตะวันตกและทางทิศเหนือให้โจทก์ทั้งเก้าใช้เดินออกสู่ทางสาธารณะได้ แต่โจทก์ทั้งเก้าก็ไม่มีสิทธิโดยชอบด้วยกฎหมายที่จะใช้ทางเดินดังกล่าวได้โดยถาวรถือได้ว่าที่ดินของโจทก์ทั้งเก้าถูกที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้สำหรับทางที่อยู่ทางทิศตะวันตกจะต้องผ่านที่ดินของบุคคลอื่นซึ่งมีบ้านปลูกอยู่หลายหลังและต้องเดินวกไปวกมาไกลกว่าเดินผ่านทางพิพาท ส่วนทางที่อยู่ทางทิศเหนือก็จะต้องเดินผ่านที่ดินของบุคคลอื่นเช่นเดียวกัน ทั้งสภาพทางเดินก็ขรุขระ หน้าฝนน้ำจะท่วมทางเดินเละเป็นโคลนไม่สามารถเดินผ่านได้สะดวก ส่วนทางพิพาทอยู่ติดกับที่ดินของโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 4 ทางด้านทิศใต้ เป็นทางตรงอยู่ชิดแนวเขตที่ดินของจำเลยทางด้านทิศตะวันตกยาวตลอดแนวเพียง 36 เมตร โดยไม่มีบ้านปลูกขวางอยู่ และโจทก์ทั้งเก้าสามารถใช้ทางพิพาทได้ตลอดทั้งปี ทางพิพาทจึงเป็นทางที่ใกล้และสะดวกต่อการเดินผ่านของโจทก์ทั้งเก้าออกสู่ทางสาธารณะ และเป็นทางที่พอควรแก่ความจำเป็นของโจทก์ทั้งเก้าและเสียหายแก่จำเลยน้อยที่สุด ทางพิพาทจึงเป็นทางจำเป็นที่จำเลยจะต้องเปิดให้โจทก์ทั้งเก้าเดินผ่านได้ เมื่อปรากฏว่าโจทก์ทั้งเก้าเคยใช้รถยนต์กระบะบรรทุกวัสดุก่อสร้างผ่านทางพิพาท เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพการใช้ทางพิพาทในปัจจุบันโจทก์ทั้งเก้าจึงมีความจำเป็นต้องใช้ทางพิพาทกว้าง 2 เมตร
จำเลยขอให้โจทก์ทั้งเก้าใช้ค่าทดแทนทั้งหมดรวม 300,000 บาทการที่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้โจทก์ทั้งเก้าใช้เพียงคนละ 1,000 บาท ต่อปี แม้จะเป็นเวลาหลายปีโดยไม่ได้กำหนดจำนวนปีที่แน่นอนก็ตาม แต่ในปีต่อ ๆ ไปโจทก์ทั้งเก้าอาจจะมีทางอื่นที่สามารถใช้เดินออกสู่ทางสาธารณะได้สะดวกกว่า และเป็นทางเดินที่ใช้ได้โดยชอบด้วยกฎหมาย จนไม่จำเป็นต้องใช้ทางพิพาทและไม่จำต้องใช้ค่าทดแทนอีกต่อไป คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ส่วนนี้จึงไม่เกินคำขอ แต่การใช้ค่าทดแทนเป็นรายปีอาจจะก่อให้เกิดกรณีพิพาทเกี่ยวกับการผิดนัดไม่ใช้ค่าทดแทนหรือใช้ค่าทดแทนไม่ตรงตามกำหนดได้ง่าย และเป็นมูลเหตุก่อให้เกิดกรณีพิพาทเกี่ยวกับการใช้ทางพิพาทขึ้นบ่อย ๆ ได้ จึงเห็นควรกำหนดให้โจทก์ทั้งเก้าใช้ค่าทดแทนรวมทั้งหมดในคราวเดียว
ที่ดินของโจทก์ทั้งเก้ามีที่ดินของบุคคลอื่นล้อมอยู่ทั้งสี่ด้าน และแม้จะมีทางเดินทางทิศตะวันตกและทางทิศเหนือให้โจทก์ทั้งเก้าใช้เดินออกสู่ทางสาธารณะได้ แต่โจทก์ทั้งเก้าก็ไม่มีสิทธิโดยชอบด้วยกฎหมายที่จะใช้ทางเดินดังกล่าวได้โดยถาวรถือได้ว่าที่ดินของโจทก์ทั้งเก้าถูกที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้สำหรับทางที่อยู่ทางทิศตะวันตกจะต้องผ่านที่ดินของบุคคลอื่นซึ่งมีบ้านปลูกอยู่หลายหลังและต้องเดินวกไปวกมาไกลกว่าเดินผ่านทางพิพาท ส่วนทางที่อยู่ทางทิศเหนือก็จะต้องเดินผ่านที่ดินของบุคคลอื่นเช่นเดียวกัน ทั้งสภาพทางเดินก็ขรุขระ หน้าฝนน้ำจะท่วมทางเดินเละเป็นโคลนไม่สามารถเดินผ่านได้สะดวก ส่วนทางพิพาทอยู่ติดกับที่ดินของโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 4 ทางด้านทิศใต้ เป็นทางตรงอยู่ชิดแนวเขตที่ดินของจำเลยทางด้านทิศตะวันตกยาวตลอดแนวเพียง 36 เมตร โดยไม่มีบ้านปลูกขวางอยู่ และโจทก์ทั้งเก้าสามารถใช้ทางพิพาทได้ตลอดทั้งปี ทางพิพาทจึงเป็นทางที่ใกล้และสะดวกต่อการเดินผ่านของโจทก์ทั้งเก้าออกสู่ทางสาธารณะ และเป็นทางที่พอควรแก่ความจำเป็นของโจทก์ทั้งเก้าและเสียหายแก่จำเลยน้อยที่สุด ทางพิพาทจึงเป็นทางจำเป็นที่จำเลยจะต้องเปิดให้โจทก์ทั้งเก้าเดินผ่านได้ เมื่อปรากฏว่าโจทก์ทั้งเก้าเคยใช้รถยนต์กระบะบรรทุกวัสดุก่อสร้างผ่านทางพิพาท เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพการใช้ทางพิพาทในปัจจุบันโจทก์ทั้งเก้าจึงมีความจำเป็นต้องใช้ทางพิพาทกว้าง 2 เมตร
จำเลยขอให้โจทก์ทั้งเก้าใช้ค่าทดแทนทั้งหมดรวม 300,000 บาทการที่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้โจทก์ทั้งเก้าใช้เพียงคนละ 1,000 บาท ต่อปี แม้จะเป็นเวลาหลายปีโดยไม่ได้กำหนดจำนวนปีที่แน่นอนก็ตาม แต่ในปีต่อ ๆ ไปโจทก์ทั้งเก้าอาจจะมีทางอื่นที่สามารถใช้เดินออกสู่ทางสาธารณะได้สะดวกกว่า และเป็นทางเดินที่ใช้ได้โดยชอบด้วยกฎหมาย จนไม่จำเป็นต้องใช้ทางพิพาทและไม่จำต้องใช้ค่าทดแทนอีกต่อไป คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ส่วนนี้จึงไม่เกินคำขอ แต่การใช้ค่าทดแทนเป็นรายปีอาจจะก่อให้เกิดกรณีพิพาทเกี่ยวกับการผิดนัดไม่ใช้ค่าทดแทนหรือใช้ค่าทดแทนไม่ตรงตามกำหนดได้ง่าย และเป็นมูลเหตุก่อให้เกิดกรณีพิพาทเกี่ยวกับการใช้ทางพิพาทขึ้นบ่อย ๆ ได้ จึงเห็นควรกำหนดให้โจทก์ทั้งเก้าใช้ค่าทดแทนรวมทั้งหมดในคราวเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6227/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางจำเป็น: การโอนสิทธิครอบครองที่ดิน และการกำหนดค่าทดแทนที่เหมาะสม
โจทก์ที่ 1 และที่ 5 ยกที่ดินให้บุตร คือโจทก์ที่ 2ถึงที่ 4 และโจทก์ที่ 6 ถึงที่ 8 ที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดินที่มีเพียงสิทธิครอบครองย่อมจะโอนสิทธิครอบครองให้แก่กันได้โดยการมอบการครอบครอง การที่โจทก์ที่ 1และที่ 5 มอบการครอบครองบางส่วนของที่ดินให้โจทก์ที่ 2ถึงที่ 4 และโจทก์ที่ 6 ถึงที่ 8 โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 และที่ 6 ถึงที่ 8 จึงเป็นผู้มีสิทธิครอบครองโดยชอบ และมีอำนาจ ฟ้องให้เปิดทางจำเป็นได้ ที่ดินของโจทก์ทั้งเก้ามีที่ดินของบุคคลอื่นล้อมอยู่ทั้งสี่ด้าน และแม้จะมีทางเดินทางทิศตะวันตกและทางทิศเหนือให้โจทก์ทั้งเก้าใช้เดินออกสู่ทางสาธารณะได้ แต่โจทก์ทั้งเก้าก็ไม่มีสิทธิโดยชอบด้วยกฎหมายที่จะใช้ทางเดินดังกล่าวได้โดยถาวรถือได้ว่าที่ดินของโจทก์ทั้งเก้าถูกที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้สำหรับทางที่อยู่ทางทิศตะวันตกจะต้องผ่านที่ดินของบุคคลอื่นซึ่งมีบ้านปลูกอยู่หลายหลังและต้องเดินวกไปวกมาไกลกว่าเดินผ่านทางพิพาท ส่วนทางที่อยู่ทางทิศเหนือก็จะต้องเดินผ่านที่ดินของบุคคลอื่นเช่นเดียวกัน ทั้งสภาพทางเดินก็ขรุขระ หน้าฝนน้ำจะท่วมทางเดินและเป็นโคลนไม่สามารถเดินผ่านได้สะดวก ส่วนทางพิพาทอยู่ติดกับ ที่ดินของโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 4 ทางด้านทิศใต้ เป็นทางตรง อยู่ชิดแนวเขตที่ดินของจำเลยทางด้านทิศตะวันตกยาวตลอดแนวเพียง 36 เมตร โดยไม่มีบ้านปลูกขวางอยู่ และโจทก์ทั้งเก้าสามารถใช้ทางพิพาทได้ตลอดทั้งปี ทางพิพาทจึงเป็นทางที่ใกล้ และสะดวกต่อการเดินผ่านของโจทก์ทั้งเก้าออกสู่ทางสาธารณะ และเป็นทางที่พอควรแก่ความจำเป็นของโจทก์ทั้งเก้าและเสียหาย แก่จำเลยน้อยที่สุด ทางพิพาทจึงเป็นทางจำเป็นที่จำเลย จะต้องเปิดให้โจทก์ทั้งเก้าเดินผ่านได้ เมื่อปรากฏว่า โจทก์ทั้งเก้าเคยใช้รถยนต์กระบะบรรทุกวัสดุก่อสร้าง ผ่านทางพิพาท เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพการใช้ทางพิพาท ในปัจจุบันโจทก์ทั้งเก้าจึงมีความจำเป็นต้องใช้ทางพิพาท กว้าง 2 เมตร จำเลยขอให้โจทก์ทั้งเก้าใช้ค่าทดแทนทั้งหมดรวม300,000 บาท การที่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้โจทก์ทั้งเก้าใช้เพียงคนละ 1,000 บาท ต่อปี แม้จะเป็นเวลาหลายปีโดยไม่ได้กำหนดจำนวนปีที่แน่นอนก็ตาม แต่ในปีต่อ ๆ ไปโจทก์ทั้งเก้าอาจจะมีทางอื่นที่สามารถใช้เดินออกสู่ทางสาธารณะได้สะดวกกว่า และเป็นทางเดินที่ใช้ได้โดยชอบด้วยกฎหมาย จนไม่จำเป็นต้องใช้ทางพิพาท และไม่จำต้องใช้ค่าทดแทนอีกต่อไป คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ส่วนนี้จึงไม่เกินคำขอ แต่การใช้ค่าทดแทนเป็นรายปีอาจจะก่อให้เกิด กรณีพิพาทเกี่ยวกับการผิดนัดไม่ใช้ค่าทดแทนหรือใช้ค่าทดแทน ไม่ตรงตามกำหนดได้ง่าย และเป็นมูลเหตุก่อให้เกิด กรณีพิพาทเกี่ยวกับการใช้ทางพิพาทขึ้นบ่อย ๆ ได้ จึงเห็นควร กำหนดให้โจทก์ทั้งเก้าใช้ค่าทดแทนรวมทั้งหมดในคราวเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5994/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างรายเดือน กรณีรายงานเวลาทำงานเท็จ แม้ไม่ทำให้เกิดความเสียหายร้ายแรง
โจทก์เป็นลูกจ้างรายเดือน ได้รับค่าจ้างเป็นอัตราเดือนละตามจำนวนที่ได้กำหนดไว้แน่นอน และการคิดค่าจ้างรายเดือนมิได้นำจำนวนวันหรือจำนวนชั่วโมงที่โจทก์เข้าปฏิบัติงานจริงเป็นเกณฑ์คำนวณค่าจ้าง ถ้าโจทก์ขาดงานหรือไปปฏิบัติงานสายบ้าง โจทก์ก็มิได้ถูกลดหรือถูกตัดค่าจ้างในวันดังกล่าว โจทก์ยังคงได้รับค่าจ้างรายเดือนเต็มจำนวน การที่โจทก์ไปปฏิบัติงานจริงเวลา 8.20นาฬิกา แต่ลงเวลาปฏิบัติงานตั้งแต่ 6 นาฬิกา แม้เป็นเท็จ แต่เมื่อไม่ทำให้โจทก์ได้รับค่าจ้างหรือประโยชน์อย่างอื่นจากจำเลยเพิ่มขึ้น จึงไม่เป็นการแสวงหาประโยชน์อันมิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น การกระทำของโจทก์ไม่เป็นการทุจริตต่อหน้าที่ เป็นเพียงการไปปฏิบัติงานสายและรายงานเท็จเกี่ยวกับเวลาเริ่มปฏิบัติงานต่อผู้บังคับบัญชาเท่านั้น ซึ่งไม่ทำให้จำเลยได้รับความเสียหายร้ายแรงการที่เลิกจ้างจำเลยโดยโจทก์ไม่ได้กระทำผิดตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 (1) จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์
โจทก์ไปปฏิบัติงานสายของโจทก์แล้วโจทก์ยังรายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชาอีก ถือได้ว่าเป็นการกระทำอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้ ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและจำเลยไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างให้โจทก์ กับไม่ต้องรับโจทก์กลับเข้าทำงาน
โจทก์ไปปฏิบัติงานสายของโจทก์แล้วโจทก์ยังรายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชาอีก ถือได้ว่าเป็นการกระทำอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้ ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและจำเลยไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างให้โจทก์ กับไม่ต้องรับโจทก์กลับเข้าทำงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5994/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างรายเดือนที่ลงเวลาทำงานเท็จ แต่ไม่ทำให้จำเลยเสียหายร้ายแรง ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าเลิกจ้างได้ แต่ต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์เป็นลูกจ้างรายเดือน ได้รับค่าจ้างเป็นอัตราเดือนละตามจำนวนที่ได้กำหนดไว้แน่นอน และการคิดค่าจ้าง รายเดือนมิได้นำจำนวนวันหรือจำนวนชั่วโมงที่โจทก์เข้าปฏิบัติงานจริงเป็นเกณฑ์คำนวณค่าจ้าง ถ้าโจทก์ขาดงานหรือไปปฏิบัติงานสายบ้าง โจทก์ก็มิได้ถูกลดหรือถูกตัดค่าจ้างในวันดังกล่าว โจทก์ยังคงได้รับค่าจ้างรายเดือนเต็มจำนวน การที่โจทก์ไปปฏิบัติงานจริงเวลา 8.20 นาฬิกาแต่ลงเวลาปฏิบัติงานตั้งแต่ 6 นาฬิกา แม้เป็นเท็จแต่เมื่อไม่ทำให้โจทก์ได้รับค่าจ้างหรือประโยชน์อย่างอื่นจากจำเลยเพิ่มขึ้น จึงไม่เป็นการแสวงหาประโยชน์อันมิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น การกระทำของ โจทก์ไม่เป็นการทุจริตต่อหน้าที่ เป็นเพียงการไปปฏิบัติงานสายและรายงานเท็จเกี่ยวกับเวลาเริ่มปฏิบัติงานต่อผู้บังคับบัญชาเท่านั้น ซึ่งไม่ทำให้จำเลยได้รับความเสียหายร้ายแรงการที่จำเลยเลิกจ้างโดยโจทก์ไม่ได้กระทำผิดตาม ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 47(1) จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์ โจทก์ไปปฏิบัติงานสาย แล้วโจทก์ยังรายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชาอีก ถือได้ว่าเป็นการกระทำอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตจำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้ ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและจำเลยไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าค่าเสียหายจากการเลิกจ้างให้โจทก์กับไม่ต้องรับโจทก์กลับเข้าทำงาน