พบผลลัพธ์ทั้งหมด 772 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3182/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งนัดไต่สวนและผลของการไม่มาศาล: ศาลย่อมถือว่าจำเลยทราบคำสั่งเมื่อทนายรับรอง และการไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลย่อมมีผลทางกฎหมาย
จำเลยยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์พร้อมกับคำฟ้องอุทธรณ์ในวันที่ 7 ตุลาคม 2541 และทนายจำเลยได้ลงชื่อรับรองข้อความที่ว่าให้มาทราบคำสั่งเกี่ยวกับคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในวันที่ 14 ตุลาคม 2541 ถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นได้เกษียณคำสั่งไว้ที่คำร้องว่า ให้รับคำร้อง และนัดไต่สวนวันที่ 14 ธันวาคม 2541 เวลา 8.30 นาฬิกา โดยบันทึกวันที่เกษียณคำสั่งในวันที่ 12 ตุลาคม 2541 ซึ่งเป็นการมีคำสั่งไว้ก่อนวันที่กำหนดให้จำเลยมาทราบคำสั่งศาล ย่อมมีผลว่าจำเลยได้ทราบคำสั่งของศาลที่นัดไต่สวนคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในวันที่ 14 ธันวาคม 2541 ตั้งแต่วันที่ 14 ตุลาคม 2541 แล้ว แม้ในวันที่14 ตุลาคม 2541 จำเลยยังมิได้สาบานตัว ศาลก็กำหนดนัดวันไต่สวนคำร้องได้
จำเลยทราบกำหนดวันนัดไต่สวนคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาชั้นอุทธรณ์แล้วไม่มาศาล การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในวันนัดไต่สวนคำร้องว่า ให้งดการไต่สวน แล้วมีคำสั่งให้ยกคำร้องเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 37 และมาตรา 133 ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นให้งดการไต่สวน ก็ถือว่าคดีเสร็จการพิจารณา จึงมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยเสียได้ และคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ว่าหากจำเลยประสงค์ที่จะอุทธรณ์ ให้นำค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์มาวางศาลภายใน 7 วัน นับแต่วันนี้ มิฉะนั้นถือว่าไม่ติดใจอุทธรณ์ ถือเป็นส่วนหนึ่งของคำวินิจฉัยชี้ขาดคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถา ซึ่งถือว่าจำเลยได้ทราบแล้วในวันดังกล่าว โดยศาลชั้นต้นไม่มีหน้าที่ต้องแจ้งคำสั่งให้จำเลยทราบอีก การที่จำเลยมิได้นำเงินค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ไปวางศาลภายในเวลาที่กำหนดไว้ ทั้งมิได้นำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งต้องใช้แทนโจทก์ตามคำพิพากษามาวางศาล ชอบที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องอุทธรณ์
จำเลยทราบกำหนดวันนัดไต่สวนคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาชั้นอุทธรณ์แล้วไม่มาศาล การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในวันนัดไต่สวนคำร้องว่า ให้งดการไต่สวน แล้วมีคำสั่งให้ยกคำร้องเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 37 และมาตรา 133 ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นให้งดการไต่สวน ก็ถือว่าคดีเสร็จการพิจารณา จึงมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยเสียได้ และคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ว่าหากจำเลยประสงค์ที่จะอุทธรณ์ ให้นำค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์มาวางศาลภายใน 7 วัน นับแต่วันนี้ มิฉะนั้นถือว่าไม่ติดใจอุทธรณ์ ถือเป็นส่วนหนึ่งของคำวินิจฉัยชี้ขาดคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถา ซึ่งถือว่าจำเลยได้ทราบแล้วในวันดังกล่าว โดยศาลชั้นต้นไม่มีหน้าที่ต้องแจ้งคำสั่งให้จำเลยทราบอีก การที่จำเลยมิได้นำเงินค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ไปวางศาลภายในเวลาที่กำหนดไว้ ทั้งมิได้นำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งต้องใช้แทนโจทก์ตามคำพิพากษามาวางศาล ชอบที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3177/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างพนักงาน การฝ่าฝืนระเบียบงาน และสิทธิการได้รับค่าจ้างระหว่างพักงาน
ระหว่างที่โจทก์ปฏิบัติหน้าที่เป็นพนักงานขนกระเป๋าในโรงแรมของจำเลยมัคคุเทศก์ได้นำรถตู้มารับแขกกลุ่มหนึ่ง โจทก์ได้พูดกับมัคคุเทศก์ว่า "แขกเลว ๆ อย่างนี้อย่าพามาที่นี่เลย" สาเหตุเพราะแขกและเด็ก ๆ กลุ่มดังกล่าวเป็นชาวตะวันออกกลางและเด็ก ๆ ซุกซนมาก ขณะรอรถได้ใช้ก้อนหินขว้างปานกเป็ดน้ำและปลาในบ่อ โจทก์ได้ว่ากล่าวตักเตือนแล้วไม่เชื่อฟัง เมื่อธุรกิจโรงแรมต้องให้บริการแก่แขกอย่างดีที่สุดพนักงานของโรงแรมต้องพูดจาสุภาพและแสดงกิริยามารยาทด้วยความอ่อนน้อม จึงถือได้ว่าโจทก์ปฏิบัติฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานข้อ 8 วรรคท้ายแล้ว แต่การใช้คำพูดดังกล่าวแม้จะไม่เหมาะสมแต่โจทก์กล่าวไปด้วยอารมณ์โดยไม่ได้มีเจตนาจะทำให้จำเลยเสียหายหรือเล็งเห็นถึงความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นแก่จำเลย จึงมิใช่เป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยในกรณีร้ายแรงและไม่ใช่เป็นการจงใจทำให้จำเลยเสียหาย เมื่อการกระทำของโจทก์มิใช่การฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับในกรณีร้ายแรงตามมาตรา 119(4) แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์
โจทก์เป็นพนักงานยกกระเป๋าของโรงแรมระดับห้าดาวซึ่งมีหน้าที่หลักตามข้อบังคับการทำงานข้อ 19 ว่าต้องทำดีที่สุดในการรักษาชื่อเสียงของโรงแรมจำเลยการที่โจทก์ใช้คำพูดที่ไม่เหมาะสมกับมัคคุเทศก์ที่มารับแขกอันเป็นลูกค้าของโรงแรมถือเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเท่ากับโจทก์ขัดคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลย การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุอันสมควรมิใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายแก่โจทก์
จำเลยมีคำสั่งพักงานโจทก์ 5 วัน เพื่อสอบสวนความผิด เมื่อจำเลยไม่มีข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานระบุให้จำเลยจ่ายเงินแก่ลูกจ้างระหว่างพักงาน โจทก์จึงมีสิทธิได้รับเงินในระหว่างพักงาน 5 วัน ไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบของค่าจ้างตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 116
โจทก์เป็นพนักงานยกกระเป๋าของโรงแรมระดับห้าดาวซึ่งมีหน้าที่หลักตามข้อบังคับการทำงานข้อ 19 ว่าต้องทำดีที่สุดในการรักษาชื่อเสียงของโรงแรมจำเลยการที่โจทก์ใช้คำพูดที่ไม่เหมาะสมกับมัคคุเทศก์ที่มารับแขกอันเป็นลูกค้าของโรงแรมถือเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเท่ากับโจทก์ขัดคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลย การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุอันสมควรมิใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายแก่โจทก์
จำเลยมีคำสั่งพักงานโจทก์ 5 วัน เพื่อสอบสวนความผิด เมื่อจำเลยไม่มีข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานระบุให้จำเลยจ่ายเงินแก่ลูกจ้างระหว่างพักงาน โจทก์จึงมีสิทธิได้รับเงินในระหว่างพักงาน 5 วัน ไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบของค่าจ้างตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 116
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3173/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างพนักงาน: เหตุผลความร้ายแรง, การชดเชย, และค่าจ้างระหว่างพักงาน
โจทก์พูดกับมัคคุเทศก์ว่า "แขกเลวๆ อย่างนี้อย่าพามาที่นี่เลย" แม้ถ้อยคำที่โจทก์ใช้จะเป็นถ้อยคำที่ไม่เหมาะสมแต่โจทก์ได้กล่าวไปด้วยอารมณ์ไม่พอใจในพฤติกรรมที่ไม่สมควรของบุตรแขกชาวตะวันออกกลางโดยไม่ได้มีเจตนาจะทำให้โรงแรมจำเลยเสียหายหรือทำไปโดยเล็งเห็นถึงความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นแก่จำเลย และข้อเท็จจริงก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รับความเสียหายตามที่จำเลยคาดการณ์ กรณีจึงใช่เป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยในกรณีร้ายแรงและไม่ใช่เป็นการจงใจทำให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างเสียหาย ตามมาตรา 119 (4) แห่ง พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์
โจทก์ซึ่งเป็นพนักงานยกกระเป๋าของโรงแรมจำเลยจะต้องทำดีที่สุดในการรักษาชื่อเสียงของโรงแรม โจทก์ใช้คำพูดที่ไม่เหมาะสมดังกล่าวเท่ากับโจทก์ขัดคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลย การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุ ดังกล่าวจึงเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุอันสมควร มิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและ วิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายแก่โจทก์
จำเลยได้มีคำสั่งพักงานโจทก์ตั้งแต่วันที่ 29 สิงหาคม ถึงวันที่ 2 กันยายน 2543 รวม 5 วัน เพื่อสอบสวนความผิด เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยมีข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานระบุให้จำเลยจ่ายเงินแก่ลูกจ้างระหว่างพักงาน โจทก์จึงมีสิทธิได้รับเงินในระหว่างพักงาน 5 วัน ดังกล่าว ไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบของค่าจ้าง ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 116
โจทก์ซึ่งเป็นพนักงานยกกระเป๋าของโรงแรมจำเลยจะต้องทำดีที่สุดในการรักษาชื่อเสียงของโรงแรม โจทก์ใช้คำพูดที่ไม่เหมาะสมดังกล่าวเท่ากับโจทก์ขัดคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลย การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุ ดังกล่าวจึงเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุอันสมควร มิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและ วิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายแก่โจทก์
จำเลยได้มีคำสั่งพักงานโจทก์ตั้งแต่วันที่ 29 สิงหาคม ถึงวันที่ 2 กันยายน 2543 รวม 5 วัน เพื่อสอบสวนความผิด เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยมีข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานระบุให้จำเลยจ่ายเงินแก่ลูกจ้างระหว่างพักงาน โจทก์จึงมีสิทธิได้รับเงินในระหว่างพักงาน 5 วัน ดังกล่าว ไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบของค่าจ้าง ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 116
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2960/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างพนักงานโดยคำสั่งถอดถอนกรรมการของ ธปท. ศาลตัดสินให้จ่ายค่าชดเชยและสินจ้าง
แม้ธนาคารแห่งประเทศไทยจะมีอำนาจในการที่จะสั่งถอดถอนกรรมการ ผู้จัดการหรือบุคคลซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทที่ประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์หรือธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ใดภายใต้เงื่อนไข พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 มาตรา 57 ทวิ ที่แก้ไขแล้วก็ตาม แต่คำสั่งของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ให้ถอดถอนโจทก์ออกจากการเป็นกรรมการผู้จัดการของบริษัทเงินทุนมหาทุน จำกัด เป็นการกระทำที่ไม่ให้โจทก์ทำงานต่อไป จึงเป็นการเลิกจ้างโจทก์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 วรรคสอง และคำสั่งธนาคารแห่งประเทศไทยที่มีผลเป็นการเลิกจ้างโจทก์ดังกล่าวถือว่าเป็นมิตของที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทเงินทุนมหาทุน จำกัด ตามวรรคท้ายของบทบัญญัติข้างต้นด้วย คำสั่งของธนาคารแห่งประเทศไทยจึงมีผลเป็นว่าบริษัทเงินทุนมหาทุน จำกัด ผู้เป็นนายจ้างเลิกจ้างโจทก์ผู้เป็นลูกจ้าง
การที่จำเลยยกปัญหาขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ซึ่งยังมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงานกลาง เป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
การที่จำเลยยกปัญหาขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ซึ่งยังมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงานกลาง เป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2832-2833/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างต้องมีเหตุสมควรและเพียงพอ แม้ปรับโครงสร้างบุคลากรก็ต้องเป็นธรรม
การปรับปรุงโครงสร้างบุคลากรโดยลดจำนวนบุคลากรลงให้เหมาะสมกับงาน แม้เป็นอำนาจบริหารของนายจ้างจนเป็นผลให้ต้องเลิกจ้างลูกจ้างได้ แต่ต้องเป็นการกระทำที่มีเหตุอันสมควรและเพียงพอที่จะเลิกจ้าง และต้องเป็นธรรมต่อลูกจ้างด้วย การลดจำนวนลูกจ้างแม้ผู้ร้องได้กำหนดหลักเกณฑ์ขึ้นพิจารณาแก่ลูกจ้างทุกคนก็ตาม แต่ผลการประเมินได้ระบุเพียงว่าผลปฏิบัติงานของผู้คัดค้านทั้งสองได้คะแนนต่ำสุดของหน่วยงานเท่านั้น โดยไม่ปรากฏว่าผู้คัดค้านทั้งสองไม่สามารถทำงานให้ดีได้หรือทำงานให้ผู้ร้องเสียหายอย่างไร หรือผู้คัดค้านทั้งสองได้กระทำผิดประการใด หรือมีความจำเป็นเพียงใดที่จะต้องเลิกจ้างลูกจ้างในแผนกไฟฟ้าระดับ 5 และแผนกอุปกรณ์ของแหล่งผลิตเอราวัณเฉพาะผู้คัดค้านเพียงสองคนเท่านั้น จึงไม่มีเหตุอันสมควรและเพียงพอถึงขนาดที่ผู้ร้องจะเลิกจ้างผู้คัดค้านทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2832-2833/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: เหตุผลทางธุรกิจต้องสมเหตุสมผลและเป็นธรรมต่อลูกจ้าง
ผู้ร้องประกอบกิจการสำรวจและขุดเจาะน้ำมันและก๊าซธรรมชาติต้องใช้บุคลากรจำนวนมาก การดำเนินกิจการมีกำไรตลอดมา ทั้งปริมาณงานและผลผลิตมิได้ลดลง ส่วนที่มีการผลิตก๊าซธรรมชาติจากแหล่งอื่นและแนวโน้มการใช้ไฟฟ้าลดลง ทำให้ต้องผลิตน้ำมันและก๊าซธรรมชาติลดลงนั้นเป็นเพียงการคาดคะเนแม้เป็นมูลเหตุให้ผู้ร้องต้องปรับโครงสร้างบุคลากร แต่ก็ไม่มีผลทำให้ต้องยุบหน่วยงานที่ผู้คัดค้านซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างทำงานอยู่ ผู้ร้องกลับจ้างลูกจ้างเพิ่มขึ้นอีกหลายคน แม้มิได้ให้ทำงานในแผนกที่ผู้คัดค้านทำงานอยู่ แต่ย่อมจะทำให้ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ส่วนการลดจำนวนบุคลากรลงให้เหมาะสมกับงาน แม้ผู้ร้องได้กำหนดหลักเกณฑ์ขึ้นพิจารณาแก่ลูกจ้างทุกคนแต่ผลการประเมินได้ระบุเพียงว่าผลปฏิบัติงานของผู้คัดค้านได้คะแนนต่ำสุดของหน่วยงานเท่านั้น โดยไม่ปรากฏว่าผู้คัดค้านไม่สามารถทำงานให้ดีได้หรือทำงานให้ผู้ร้องเสียหายอย่างไร หรือได้กระทำผิดประการใด หรือมีความจำเป็นเพียงใดที่จะต้องเลิกจ้างเฉพาะผู้คัดค้านเท่านั้น จึงไม่มีเหตุอันสมควรและเพียงพอถึงขนาดที่ผู้ร้องจะเลิกจ้างผู้คัดค้านได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2715/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ: การได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้สามัญหรือไม่
แม้เจ้าหนี้บุริมสิทธิมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้เอาเงินจากการขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้มาชำระหนี้ตนก่อนเจ้าหนี้สามัญ และมีสิทธิยื่นคำร้องให้ตนเข้าเฉลี่ยในเงินดังกล่าวในฐานะเจ้าหนี้สามัญได้อีกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 289 และ 290 แต่ทั้งสองกรณีนี้เป็นการใช้สิทธิคนละมาตรา คนละเรื่อง และคนละประเด็นกัน เมื่อได้ความว่าหนี้ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระแก่ผู้ร้องเป็นเพียงหนี้สามัญมิใช่หนี้บุริมสิทธิ ฉะนั้น การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้เอาเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยที่ 1 มาชำระหนี้ตนก่อนนั้น ศาลจะสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเข้าเฉลี่ยในเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินดังกล่าวแทนการอนุญาตให้ผู้ร้องได้รับชำระหนี้ก่อนโจทก์หาได้ไม่ เพราะเป็นการพิจารณาสั่งนอกฟ้องนอกประเด็นในคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2703-2713/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รัฐวิสาหกิจกำหนดคุณสมบัติและเหตุพ้นตำแหน่งพนักงานได้ หากไม่ขัด พ.ร.บ.คุณสมบัติมาตรฐาน
จำเลยซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจสามารถกำหนดคุณสมบัติ ลักษณะต้องห้ามและการพ้นจากตำแหน่งของพนักงานของจำเลยเองได้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับที่กำหนดไว้ในมาตรา 9 (1) ถึง (7) และมาตรา 11 (1) ถึง (3) แห่ง พ.ร.บ. คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518
พ.ร.บ.คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 มาตรา 9 (2) บัญญัติถึง คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามเรื่องอายุของพนักงานรัฐวิสาหกิจไว้ว่ามีอายุไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์ เป็นการกำหนด อายุขั้นสูงของผู้มีคุณสมบัติเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจไว้เท่านั้น มิได้ห้ามรัฐวิสาหกิจไม่ให้กำหนดให้ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 60 ปีบริบูรณ์ พ้นจากการเป็นพนักงาน ข้อบังคับของจำเลยที่กำหนดให้พนักงานหญิงของจำเลยพ้นจากการเป็นพนักงาน เนื่องจากเกษียณอายุเมื่อมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ จึงไม่ขัดต่อบทบัญญัติดังกล่าว
พ.ร.บ.คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 มาตรา 9 (2) บัญญัติถึง คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามเรื่องอายุของพนักงานรัฐวิสาหกิจไว้ว่ามีอายุไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์ เป็นการกำหนด อายุขั้นสูงของผู้มีคุณสมบัติเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจไว้เท่านั้น มิได้ห้ามรัฐวิสาหกิจไม่ให้กำหนดให้ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 60 ปีบริบูรณ์ พ้นจากการเป็นพนักงาน ข้อบังคับของจำเลยที่กำหนดให้พนักงานหญิงของจำเลยพ้นจากการเป็นพนักงาน เนื่องจากเกษียณอายุเมื่อมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ จึงไม่ขัดต่อบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2703-2713/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รัฐวิสาหกิจกำหนดเกณฑ์เกษียณอายุพนักงานหญิงได้ หากไม่ขัดกับกฎหมายคุณสมบัติมาตรฐานพนักงานรัฐวิสาหกิจ
จำเลยซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจสามารถกำหนดคุณสมบัติ ลักษณะต้องห้ามและการพ้นจากตำแหน่งของพนักงานของจำเลยเองได้ เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจพ.ศ. 2518 มาตรา 9(1) ถึง (7) และมาตรา 11(1) ถึง (3) จำเลยจึงสามารถกำหนดให้พนักงานหญิงของจำเลยพ้นจากการเป็นพนักงานเนื่องจากเกษียณอายุเมื่อมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ ได้ โจทก์จึงต้องพ้นจากตำแหน่งเนื่องจากเกษียณอายุเมื่ออายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ ตามข้อบังคับของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2632-2654/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินเดือนค่าจ้างสุดท้ายสำหรับคำนวณเงินตอบแทนความชอบคือเงินเดือนที่จ่ายจริง ไม่ใช่เงินเดือนที่เลื่อนขั้นเพื่อใช้คำนวณบำเหน็จ
เดิมจำเลยจ่ายเงินเดือนให้แก่พนักงานก่อนวันจ่ายเงินเดือนทางราชการ 1 วัน ตามคำสั่ง เรื่อง ระเบียบการจ่ายเงินเดือนพนักงานธนาคารออมสิน ต่อมาจำเลยมีคำสั่งใหม่ ยกเลิกคำสั่งเดิมและกำหนดให้จ่ายเงินเดือนให้แก่พนักงานในวันที่ 25 ของทุกเดือน เงินเดือนที่จำเลยจ่ายให้แก่พนักงานในวันที่ 25 ของแต่ละเดือน จึงเป็นเงินเดือนค่าจ้างสำหรับเดือนนั้น ๆ ทั้งเดือน ไม่ใช่เงินเดือนค่าจ้างเพียงแค่วันที่ 25 ของแต่ละเดือน การพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนพนักงานในปีที่ครบเกษียณอายุของจำเลยที่กำหนดว่า "การเลื่อนขั้นเงินเดือนตามคำสั่งนี้ให้ขึ้นให้ในวันที่ 30 กันยายน ของปีที่พนักงานผู้นั้นครบเกษียณอายุ โดยให้อยู่ในเงื่อนไขที่จะไม่มีการจ่ายเงินเดือนที่เพิ่มให้ และให้นำไปใช้เฉพาะการคำนวณบำเหน็จหรือบำนาญเท่านั้น" มีวัตถุประสงค์เพื่อให้พนักงานของจำเลยที่ต้องเกษียณอายุได้รับการพิจารณาความดีความชอบในการเลื่อนขั้นเงินเดือนเพียงเพื่อประโยชน์ในอันที่จะได้รับบำเหน็จหรือบำนาญเพิ่มขึ้น โดยให้นำเงินเดือนที่ได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นแล้วมาเป็นเกณฑ์คำนวณบำเหน็จหรือบำนาญเท่านั้น เงินที่ได้รับหลังจาก เกษียณอายุแล้วเป็นการจ่ายตอบแทนความชอบที่ได้ปฏิบัติงานมาจนครบเกษียณอายุ ถือไม่ได้ว่าเป็นเงินเดือนค่าจ้าง เพราะมิใช่จ่ายเป็นการตอบแทนการทำงาน การที่โจทก์ฟ้องโดยถือเอาอัตราเงินเดือนที่ได้รับการเลื่อนขั้นเงินเดือน ในปีที่ครบเกษียณอายุ มาคำนวณเป็นเงินเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานจึงไม่ถูกต้อง โดยต้องคิดคำนวณจากอัตราเงินเดือนที่ได้รับจริงเมื่อวันที่ 25 กันยายน ดังกล่าว