พบผลลัพธ์ทั้งหมด 772 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1372/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานกระทำการล่วงเกินทางเพศและฝ่าฝืนข้อบังคับบริษัท ถือเป็นกรณีร้ายแรงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์เป็นผู้มีอำนาจให้ความเห็นว่าพนักงานทดลองงานจะผ่านการทดลองงานหรือไม่ การที่โจทก์อาศัยอำนาจหน้าที่ชักชวนพนักงานหญิงที่อยู่ภายใต้บังคับบัญชาออกไปเที่ยวเตร่กับโจทก์ในเวลาค่ำคืนนอกเวลางาน หากไม่ไป โจทก์จะเสนอความเห็นไม่ยอมให้ผ่านการทดลองงาน หรือโจทก์ชักชวนให้ผู้สมัครงานหญิงไปรับประทานอาหารและฟังเพลงในช่วงเวลาที่จะรับบุคคลดังกล่าวเข้าทำงาน แสดงว่า โจทก์ประสงค์ที่จะกระทำการล่วงเกินทางเพศนั่นเอง นอกจากจะเป็นการประพฤติผิดศีลธรรมหรือจารีตประเพณีอันดีงามของสังคมอันเป็นการฝ่าฝืนต่อข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยแล้ว ยังมีผลกระทบต่อการบริหารงานบุคคลของจำเลยและความเจริญของกิจการ โดยทำให้พนักงานที่ไม่ยอมกระทำตามความประสงค์โจทก์และถูกโจทก์กลั่นแกล้งขาดขวัญและกำลังใจในการทำงาน การฝ่าฝืนข้อบังคับในการทำงานของโจทก์จึงเป็นกรณีร้ายแรง จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119(4) และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583
ศาลแรงงานกลางพิจารณาพยานหลักฐานของโจทก์จำเลยแล้วฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยจะพิจารณาจ่ายโบนัสตามผลประกอบการและผลงานของพนักงาน นับแต่ปี 2540 เป็นต้นมาจำเลยไม่ได้จ่ายโบนัสเพราะผลประกอบการขาดทุน อุทธรณ์โจทก์ที่ว่าโจทก์มีสิทธิได้รับโบนัสในปี 2542 เพราะในปีดังกล่าวจำเลยมีผลกำไรในการประกอบการเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลางเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
ศาลแรงงานกลางพิจารณาพยานหลักฐานของโจทก์จำเลยแล้วฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยจะพิจารณาจ่ายโบนัสตามผลประกอบการและผลงานของพนักงาน นับแต่ปี 2540 เป็นต้นมาจำเลยไม่ได้จ่ายโบนัสเพราะผลประกอบการขาดทุน อุทธรณ์โจทก์ที่ว่าโจทก์มีสิทธิได้รับโบนัสในปี 2542 เพราะในปีดังกล่าวจำเลยมีผลกำไรในการประกอบการเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลางเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1372/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานกระทำล่วงเกินทางเพศและฝ่าฝืนข้อบังคับบริษัท
โจทก์อาศัยอำนาจหน้าที่ของโจทก์ชักชวนพนักงานหญิงที่อยู่ภายใต้บังคับบัญชา ออกไปเที่ยวเตร่กับโจทก์ ในเวลาค่ำคืนนอกเวลางาน หากพนักงานหญิงไม่ไป โจทก์จะกลั่นแกล้งเสนอความเห็นไม่ยอมให้พนักงานผู้นั้นผ่านการทดลองงาน หรือการที่โจทก์ชักชวนให้ผู้สมัครงานหญิงไปรับประทานอาหารและฟังเพลงในช่วงเวลาที่จะรับบุคคลดังกล่าวเข้าทำงาน ถือว่าโจทก์มีความประสงค์ที่จะกระทำการล่วงเกินทางเพศต่อพนักงานหญิงผู้ใต้บังคับบัญชาหรือผู้สมัครงานหญิง หาใช่ว่าโจทก์กระทำไปตามวิสัยของชายเจ้าชู้เท่านั้น การกระทำของโจทก์นอกจากจะเป็นการประพฤติผิดศีลธรรมหรือจารีตประเพณีอันดีงามของสังคมอันเป็นการฝ่าฝืนต่อข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยแล้ว ยังมีผลกระทบต่อการบริหารงานบุคคลของจำเลย ทำให้พนักงานขาดขวัญและกำลังใจในการทำงาน การฝ่าฝืนข้อบังคับในการทำงานของโจทก์จึงเป็นกรณีร้ายแรง จำเลยย่อมเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ให้แก่โจทก์ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119 (4) และโจทก์ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยอันเป็นกรณีร้ายแรง ย่อมเป็นการกระทำความผิดอย่างร้ายแรง จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่จำต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 583
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1222/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ตัวผู้กระทำผิดจากพยานผู้เห็นเหตุการณ์ โดยพิจารณาจากสภาพแวดล้อมและระยะเวลาในการเกิดเหตุ
แม้ขณะเกิดเหตุจะเป็นเวลาดึกสงัดและมีฝนตกพรำ ๆ แต่ที่เกิดเหตุอยู่บนถนนที่ใช้สำหรับสัญจร ตามสภาพย่อมเป็นที่โล่งผู้เสียหายที่ 2 สามารถเห็นจำเลยได้โดยอาศัยแสงสว่างจากไฟหน้ารถจักรยานยนต์ ทั้งในคืนเกิดเหตุมีแสงจันทร์มองเห็นได้ชัดในระยะเมตรเศษและผู้เสียหายที่ 2 มิได้ถูกบังคับให้นอนคว่ำหน้าคงอุ้มบุตรนั่งดูคนร้ายขณะปลดทรัพย์สินของผู้เสียหายทั้งสอง จากพฤติการณ์ของคนร้ายที่เข้ามาจับแฮนด์รถจักรยานยนต์ ใช้อาวุธปืนและมีดจี้ผู้เสียหายทั้งสองปลดเอาทรัพย์สินไป ทั้งใช้ผ้าขาวม้ามัดผู้เสียหายทั้งสองก่อนจะขับรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายที่ 1 หลบหนีไปคนร้ายต้องเข้ามาประชิดอยู่ใกล้ ๆ กับผู้เสียหายทั้งสองและใช้เวลานานพอสมควร โอกาสที่ผู้เสียหายที่ 2 จะเห็นและจำหน้าคนร้ายได้ย่อมมีมาก โดยเฉพาะผู้เสียหายที่ 2 รู้จักจำเลยเป็นอย่างดี จึงย่อมสามารถสังเกตและจดจำจำเลยได้โดยง่ายและแม่นยำแม้ว่าจำเลยจะสวมหมวกไหมพรมแบบไอ้โม่งชนิดที่เห็นตาก็ตาม แต่สภาพของหมวกดังกล่าวเมื่อมีช่องให้ตามองเห็น ย่อมทำให้มีช่องว่างให้เห็นหน้าบางส่วน ทั้งหลังเกิดเหตุผู้เสียหายที่ 2 ก็บอกผู้เสียหายที่ 1 ทันทีว่า จำเลยเป็นคนร้ายที่ร่วมปล้นทรัพย์ จากนั้นยังไปเล่าให้เพื่อนบ้านฟังอีกว่าคนร้ายคือจำเลย และในวันรุ่งขึ้นก็ไปร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานตำรวจว่าจำเลยเป็นคนร้าย เมื่อจับจำเลยได้แล้วยังชี้ตัวยืนยันว่าจำเลยเป็นคนร้ายที่ร่วมปล้นทรัพย์ เมื่อผู้เสียหายที่ 2รู้จักจำเลยเป็นอย่างดีโดยเป็นญาติกันและไม่ปรากฏว่าเคยมีสาเหตุโกรธเคืองกันมาก่อนย่อมไม่มีเหตุน่าระแวงสงสัยว่าจะมีเวลาคิดเสริมแต่งเรื่องขึ้นมาทันทีหลังเกิดเหตุเพียงเล็กน้อยว่าจำได้ว่าจำเลยเป็นคนร้าย ทั้งไม่มีความจำเป็นใด ๆ ที่จะต้องเบิกความปรักปรำใส่ร้ายจำเลยซึ่งเป็นญาติกันโดยไม่มีมูลความจริง กรณีจึงฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยเป็นคนร้ายที่ร่วมกระทำผิดฐานปล้นทรัพย์จริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 599/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานโดยมีผลประโยชน์ทับซ้อน จำเลยชอบที่จะเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
คู่มือพนักงานและคำมั่นสัญญาส่วนบุคคลซึ่งเป็นระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานและเป็นหลักจริยธรรมของจำเลยระบุว่าลูกจ้างต้องไม่ให้ผลประโยชน์ส่วนตัวเข้าแทรกแซงการดำเนินธุรกิจของจำเลย การที่โจทก์ทำงานกับจำเลยในตำแหน่งวิศวกรเครื่องกลกับร่วมเป็นคณะกรรมการพิจารณาผู้จัดจำหน่ายสินค้าให้จำเลยและยังเป็นผู้พิจารณาอะไหล่และอุปกรณ์สำหรับใช้กับเครื่องจักรของจำเลยแม้โจทก์จะไม่ได้เป็นผู้พิจารณาให้บริษัท ส. ได้เป็นคู่ค้ากับจำเลยแต่ตำแหน่งของโจทก์สามารถมีอิทธิพลต่อการติดต่อและเป็นมูลเหตุจูงใจกับเป็นช่องทางให้โจทก์เอื้อประโยชน์ให้แก่บริษัท ส. ที่โจทก์ร่วมก่อตั้งเป็นพยานการโอนหุ้น และเข้าประชุมที่บริษัทดังกล่าวแทนภริยาโจทก์ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นโดยทางอ้อมได้ การกระทำของโจทก์ดังกล่าวถือว่าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเป็นกรณีร้ายแรง จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
แม้จำเลยจะไม่ได้ระบุไว้ในหนังสือเลิกจ้างว่าโจทก์ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานข้อใด แต่จำเลยก็มีสิทธิให้การโดยยกรายละเอียดการกระทำของโจทก์ตามหนังสือเลิกจ้างแล้วระบุข้อของระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ที่ตรงกับข้อห้ามที่โจทก์กระทำการฝ่าฝืนขึ้นเป็นข้อต่อสู้ได้ ไม่ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานพ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคสาม
แม้จำเลยจะไม่ได้ระบุไว้ในหนังสือเลิกจ้างว่าโจทก์ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานข้อใด แต่จำเลยก็มีสิทธิให้การโดยยกรายละเอียดการกระทำของโจทก์ตามหนังสือเลิกจ้างแล้วระบุข้อของระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ที่ตรงกับข้อห้ามที่โจทก์กระทำการฝ่าฝืนขึ้นเป็นข้อต่อสู้ได้ ไม่ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานพ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 599/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานกระทำผิดจริยธรรมบริษัท กรณีมีส่วนได้ส่วนเสียกับคู่ค้า
คู่มือพนักงานและคำมั่นสัญญาส่วนบุคคล ซึ่งเป็นระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานและเป็นหลักจริยธรรมของจำเลยระบุว่า ลูกจ้างต้องไม่ให้ผลประโยชน์ส่วนตัวเข้าแทรกแซงการดำเนินธุรกิจของจำเลย เช่น ห้ามลูกจ้างมี อิทธิพลไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมต่อการติดต่อของจำเลยกับผู้จัดจำหน่าย ซึ่งลูกจ้างมีความสัมพันธ์ส่วนตัวหรือ ทางการเงินอยู่ด้วย หรือห้ามทำงานให้กับ เป็นตัวแทน หรืออนุเคราะห์ผู้จัดจำหน่ายด้วยเหตุผลส่วนตัวในการติดต่อ กับจำเลย เพราะถ้าลูกจ้างมีอิทธิพลหรืออำนาจต่อการติดต่อของจำเลยกับบริษัทผู้จัดจำหน่ายซึ่งเป็นคู่ค้ากับจำเลย และลูกจ้างมีความสัมพันธ์เป็นการส่วนตัวหรือทางการเงินกับบริษัทคู่ค้าย่อมเป็นมูลเหตุจูงใจและช่องทางให้ลูกจ้าง ใช้อิทธิพลหรืออำนาจหน้าที่ที่ตนมีอยู่ในทางที่อนุเคราะห์หรือให้ผลประโยชน์แก่บริษัทคู่ค้านั้นได้โดยง่ายและ ยากต่อการตรวจสอบจนอาจทำให้จำเลยผู้เป็นนายจ้างได้รับความเสียหายอย่างมาก การฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับ เกี่ยวกับการทำงานและคำมั่นสัญญาส่วนบุคคลดังกล่าวถือได้ว่าเป็นกรณีร้ายแรง
โจทก์ทำงานกับจำเลยในตำแหน่งวิศวกรเครื่องกลกับร่วมเป็นคณะกรรมการพิจารณาผู้จัดจำหน่ายสินค้าให้จำเลยและเป็นผู้พิจารณาอะไหล่และอุปกรณ์สำหรับใช้กับเครื่องจักรของจำเลย แม้โจทก์จะไม่ได้เป็นผู้พิจารณาให้บริษัท ส. ได้เป็นคู่ค้ากับจำเลย โดยวิศวกรอีกคนหนึ่งของจำเลยซึ่งถือหุ้นอยู่ในบริษัท ส. ในชื่อของผู้อื่นเป็นผู้พิจารณาก็ตาม แต่ตำแหน่งของโจทก์สามารถมีอิทธิพลต่อการติดต่อและเป็นมูลเหตุจูงใจ กับเป็นช่องทางให้โจทก์กระทำประการใดประการหนึ่งที่สามารถเอื้อประโยชน์หรืออนุเคราะห์ประโยชน์ให้แก่บริษัท ส. ที่โจทก์ร่วมก่อตั้ง เป็นพยานการโอนหุ้น และเข้าประชุมที่บริษัทดังกล่าวแทนภริยาโจทก์ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นโดยทางอ้อมได้ การกระทำของโจทก์เป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเป็นกรณีร้ายแรง จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้อง จ่ายค่าชดเชย
หนังสือเลิกจ้างระบุรายละเอียดการกระทำของโจทก์แล้วระบุระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานที่ตรงกับ ข้อห้ามที่โจทก์ฝ่าฝืน เป็นการระบุเหตุผลแห่งการเลิกจ้างไว้ในหนังสือเลิกจ้างตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคสาม แล้ว
โจทก์ทำงานกับจำเลยในตำแหน่งวิศวกรเครื่องกลกับร่วมเป็นคณะกรรมการพิจารณาผู้จัดจำหน่ายสินค้าให้จำเลยและเป็นผู้พิจารณาอะไหล่และอุปกรณ์สำหรับใช้กับเครื่องจักรของจำเลย แม้โจทก์จะไม่ได้เป็นผู้พิจารณาให้บริษัท ส. ได้เป็นคู่ค้ากับจำเลย โดยวิศวกรอีกคนหนึ่งของจำเลยซึ่งถือหุ้นอยู่ในบริษัท ส. ในชื่อของผู้อื่นเป็นผู้พิจารณาก็ตาม แต่ตำแหน่งของโจทก์สามารถมีอิทธิพลต่อการติดต่อและเป็นมูลเหตุจูงใจ กับเป็นช่องทางให้โจทก์กระทำประการใดประการหนึ่งที่สามารถเอื้อประโยชน์หรืออนุเคราะห์ประโยชน์ให้แก่บริษัท ส. ที่โจทก์ร่วมก่อตั้ง เป็นพยานการโอนหุ้น และเข้าประชุมที่บริษัทดังกล่าวแทนภริยาโจทก์ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นโดยทางอ้อมได้ การกระทำของโจทก์เป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเป็นกรณีร้ายแรง จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้อง จ่ายค่าชดเชย
หนังสือเลิกจ้างระบุรายละเอียดการกระทำของโจทก์แล้วระบุระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานที่ตรงกับ ข้อห้ามที่โจทก์ฝ่าฝืน เป็นการระบุเหตุผลแห่งการเลิกจ้างไว้ในหนังสือเลิกจ้างตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคสาม แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 272/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำแก้ฎีกาไม่ชอบ เมื่อจำเลยไม่ได้ยื่นฎีกา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
การฎีกาขอให้ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องจำเลยจะต้องทำเป็นคำฟ้องฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เข้ามาภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด มิใช่ทำเป็นคำแก้ฎีกา เมื่อจำเลยไม่ได้ยื่นฎีกาแต่ทำมาเป็นเพียงคำแก้ฎีกา จึงเป็นการไม่ชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 216 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 185/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานยักยอกทรัพย์และการฝ่าฝืนระเบียบ คำพิพากษาไม่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา
จำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์ซึ่งมีหน้าที่และรับผิดชอบขับรถยนต์นำน้ำมันไปส่งให้แก่กรมช่างอากาศ แต่โจทก์หาได้กระทำเช่นนั้นไม่ กลับยักยอกเอาน้ำมันดังกล่าวไปเป็นของบุคคลอื่นโดยทุจริต ทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย การเลิกจ้างดังกล่าวจึงมาจากเหตุที่โจทก์ยักยอกทรัพย์และฝ่าฝืนระเบียบและคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลย การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าแม้จะฟังไม่ได้ว่าโจทก์ยักยอกน้ำมัน แต่การกระทำของโจทก์เป็นการฝ่าฝืนระเบียบและคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยนั้น เป็นการวินิจฉัยถึงเหตุแห่งการเลิกจ้างตามที่ระบุไว้ในคำสั่งเลิกจ้างแล้ว มิใช่เป็นการยกเหตุอื่นนอกเหนือจากที่มีในคำสั่งเลิกจ้างมาวินิจฉัยคดีแต่อย่างใด
โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างฟ้องจำเลยผู้เป็นนายจ้างเรียกค่าชดเชยสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า โบนัส เงินบำเหน็จ และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม อันเป็นการฟ้องบังคับตามสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้ที่เกิดจากการผิดสัญญาจ้างแรงงานแม้โจทก์จะถูกดำเนินคดีอาญาฐานยักยอกทรัพย์ตามที่จำเลยกล่าวหาก็ไม่ทำให้คดีนี้กลายเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาดังนั้น ในการพิพากษาคดีศาลแรงงานกลางจึงไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา
โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างฟ้องจำเลยผู้เป็นนายจ้างเรียกค่าชดเชยสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า โบนัส เงินบำเหน็จ และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม อันเป็นการฟ้องบังคับตามสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้ที่เกิดจากการผิดสัญญาจ้างแรงงานแม้โจทก์จะถูกดำเนินคดีอาญาฐานยักยอกทรัพย์ตามที่จำเลยกล่าวหาก็ไม่ทำให้คดีนี้กลายเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาดังนั้น ในการพิพากษาคดีศาลแรงงานกลางจึงไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 69/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำงานล่วงเวลา: ลักษณะงานเดียวกัน แม้รายละเอียดต่างกัน ก็ถือเป็นงานล่วงเวลา
ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงและวินิจฉัยแล้วว่าลักษณะงานของโจทก์ที่ต้องออกไปตรวจสอบอุบัติเหตุเมื่อได้รับแจ้งในเวลาทำงานปกติกับงานที่ทำในเวลาเข้าเวรเป็นงานอย่างเดียวกัน และการที่จำเลยให้โจทก์เข้าเวรหลังเวลาทำงานปกติถือเป็นการทำงานล่วงเวลา การที่จำเลยอุทธรณ์ว่าแม้งานที่โจทก์ทำในเวลาทำงานปกติกับงานที่ทำในเวลาเข้าเวรจะเป็นงานประเภทเดียวกัน แต่รายละเอียดและความยากลำบากในการทำงานแต่ละช่วงแตกต่างกันจึงถือไม่ได้ว่าเป็นการทำงานล่วงเวลานั้น เป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางรับฟังมาแล้วเพื่อให้ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงใหม่เพื่อนำไปสู่ข้อกฎหมายว่าโจทก์ทำงานล่วงเวลาหรือไม่ เป็นการอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 39/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากละทิ้งหน้าที่ แม้ไปทำงานที่เดิม ศาลฎีกาวินิจฉัยสิทธิในการเลิกจ้างและค่าจ้าง
โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยในตำแหน่งพนักงานขับรถ โดยบางครั้งทำงานที่สำนักงานใหญ่ ซึ่งตั้งอยู่ที่กรุงเทพมหานคร บางครั้งต้องปฏิบัติงานในโครงการก่อสร้างตามคำสั่งของจำเลยในจังหวัดใกล้เคียง ต่อมาวันที่ 3 มกราคม 2543 จำเลยได้ออกคำสั่งให้โจทก์ไปทำงานที่โครงการสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณวัดนครอินทร์ จังหวัดนนทบุรี เมื่อจำเลยสามารถย้ายโจทก์ไปปฏิบัติงานโครงการก่อสร้างจังหวัดใกล้เคียงได้ การที่จำเลยมีคำสั่งให้โจทก์ไปทำงานที่โครงการสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณวัดนครอินทร์ จังหวัดนนทบุรี จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อโจทก์ไม่ยอมไปทำงานในวันที่ 3 ถึงวันที่ 8 มกราคม 2543 แม้โจทก์จะยังคงไปทำงานที่สำนักงานใหญ่ระหว่างเวลาดังกล่าวทุกวันก็ตาม ก็เป็นการละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร จำเลยย่อมเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่จำต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119 (5)
จำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุว่าโจทก์ละทิ้งหน้าที่ตั้งแต่วันที่ 3 ถึงวันที่ 8 มกราคม 2543 โดยเลิกจ้างโจทก์นับตั้งแต่วันที่ 3 มกราคม 2543 เป็นต้นไปก็ตาม แต่สิทธิในการเลิกจ้างของนายจ้างในกรณีที่ลูกจ้างละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรจะเกิดขึ้นเมื่อลูกจ้างได้ละทิ้งหน้าที่ล่วงพ้นในวันที่สามไปแล้ว นายจ้างย่อมไม่อาจจะให้การเลิกจ้างมีผลย้อนหลังนับตั้งแต่วันที่ลูกจ้างเริ่มละทิ้งหน้าที่ เมื่อในระหว่างวันที่ 3 ถึงวันที่ 8 มกราคม 2543 โจทก์ไปทำงานที่สำนักงานใหญ่ของจำเลยทุกวัน โจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับค่าจ้างในระหว่างเวลาดังกล่าว
จำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุว่าโจทก์ละทิ้งหน้าที่ตั้งแต่วันที่ 3 ถึงวันที่ 8 มกราคม 2543 โดยเลิกจ้างโจทก์นับตั้งแต่วันที่ 3 มกราคม 2543 เป็นต้นไปก็ตาม แต่สิทธิในการเลิกจ้างของนายจ้างในกรณีที่ลูกจ้างละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรจะเกิดขึ้นเมื่อลูกจ้างได้ละทิ้งหน้าที่ล่วงพ้นในวันที่สามไปแล้ว นายจ้างย่อมไม่อาจจะให้การเลิกจ้างมีผลย้อนหลังนับตั้งแต่วันที่ลูกจ้างเริ่มละทิ้งหน้าที่ เมื่อในระหว่างวันที่ 3 ถึงวันที่ 8 มกราคม 2543 โจทก์ไปทำงานที่สำนักงานใหญ่ของจำเลยทุกวัน โจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับค่าจ้างในระหว่างเวลาดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 39/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากละทิ้งหน้าที่ และสิทธิในการได้รับค่าจ้างในช่วงเวลาที่ยังไม่ได้เลิกจ้าง
โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยทำหน้าที่ขับรถในสำนักงานใหญ่ซึ่งตั้งอยู่ที่กรุงเทพมหานคร จำเลยสามารถย้ายโจทก์ไปปฏิบัติงานโครงการก่อสร้างที่จังหวัดใกล้เคียงได้ การที่จำเลยมีคำสั่งให้โจทก์ไปทำงานที่โครงการก่อสร้างสะพานที่จังหวัดนนทบุรี เป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อโจทก์ไม่ยอมไปทำงานที่โครงการก่อสร้างสะพานในวันที่ 3 ถึงวันที่ 7 มกราคม 2543 แม้โจทก์ยังคงไปทำงานที่สำนักงานใหญ่ในระหว่างเวลาดังกล่าวทุกวัน ก็เป็นการละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร จำเลยย่อมเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119(5)
จำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุที่โจทก์ละทิ้งหน้าที่มากกว่าสามวันตั้งแต่วันที่3 มกราคม 2543 เป็นต้นไป แต่สิทธิในการเลิกจ้างของนายจ้างเกิดขึ้นเมื่อลูกจ้างละทิ้งหน้าที่ล่วงพ้นในวันที่สามไปแล้ว และนายจ้างย่อมไม่อาจจะให้การเลิกจ้างมีผลย้อนหลังนับตั้งแต่วันที่ลูกจ้างเริ่มละทิ้งหน้าที่ได้ เมื่อในระหว่างวันที่ 3 ถึงวันที่ 8 มกราคม 2543 โจทก์ไปทำงานที่สำนักงานใหญ่ของจำเลยทุกวัน โจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับค่าจ้างในระหว่างเวลาดังกล่าว
จำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุที่โจทก์ละทิ้งหน้าที่มากกว่าสามวันตั้งแต่วันที่3 มกราคม 2543 เป็นต้นไป แต่สิทธิในการเลิกจ้างของนายจ้างเกิดขึ้นเมื่อลูกจ้างละทิ้งหน้าที่ล่วงพ้นในวันที่สามไปแล้ว และนายจ้างย่อมไม่อาจจะให้การเลิกจ้างมีผลย้อนหลังนับตั้งแต่วันที่ลูกจ้างเริ่มละทิ้งหน้าที่ได้ เมื่อในระหว่างวันที่ 3 ถึงวันที่ 8 มกราคม 2543 โจทก์ไปทำงานที่สำนักงานใหญ่ของจำเลยทุกวัน โจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับค่าจ้างในระหว่างเวลาดังกล่าว