พบผลลัพธ์ทั้งหมด 772 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 39/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีละทิ้งหน้าที่: สิทธิการเลิกจ้างและค่าจ้างระหว่างช่วงเวลาที่ยังไม่ได้เลิกจ้าง
โจทก์ทำหน้าที่เป็นพนักงานขับรถของจำเลยที่ 1 ซึ่งประจำอยู่สำนักงานใหญ่ในกรุงเทพมหานคร จำเลยที่ 1 สามารถย้ายโจทก์ไปปฏิบัติงานในโครงการก่อสร้างจังหวัดใกล้เคียงได้ ดังนั้น คำสั่งของจำเลยที่ 1 ที่ให้โจทก์ไปทำงานในโครงการสร้างสะพานข้ามแม่น้ำจังหวัดนนทบุรี จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย การที่โจทก์ไม่ยอมไปทำงานที่โครงการดังกล่าวแม้จะยังคงไปทำงานที่สำนักงานใหญ่ทุกวัน ย่อมเป็นการละทิ้งหน้าที่สามวันติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร จำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 119(5)
สิทธิในการเลิกจ้างของนายจ้างในกรณีที่ลูกจ้างละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรจะเกิดขึ้นเมื่อลูกจ้างได้ละทิ้งหน้าที่ล่วงพ้นในวันที่สามไปแล้ว และนายจ้างย่อมไม่อาจให้การเลิกจ้างมีผลย้อนหลังนับแต่วันที่ลูกจ้างเริ่มละทิ้งหน้าที่ ฉะนั้น การที่โจทก์ไปทำงานที่สำนักงานใหญ่ของจำเลยที่ 1ทุกวัน ระหว่างวันที่ 3 ถึงวันที่ 8 มกราคม โจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับค่าจ้างในระหว่างเวลาดังกล่าว
สิทธิในการเลิกจ้างของนายจ้างในกรณีที่ลูกจ้างละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรจะเกิดขึ้นเมื่อลูกจ้างได้ละทิ้งหน้าที่ล่วงพ้นในวันที่สามไปแล้ว และนายจ้างย่อมไม่อาจให้การเลิกจ้างมีผลย้อนหลังนับแต่วันที่ลูกจ้างเริ่มละทิ้งหน้าที่ ฉะนั้น การที่โจทก์ไปทำงานที่สำนักงานใหญ่ของจำเลยที่ 1ทุกวัน ระหว่างวันที่ 3 ถึงวันที่ 8 มกราคม โจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับค่าจ้างในระหว่างเวลาดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9873/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติบุคคลแยกต่างหาก สัญญาต่างหาก ความรับผิดชอบเฉพาะคู่สัญญา
ตามคำฟ้องโจทก์ระบุว่าบริษัทจำเลยที่ 1 และบริษัทจำเลยที่ 2 เป็นนิติบุคคลต่างหากจากกัน และตามหนังสือรับรองเอกสารท้ายฟ้องก็ระบุไว้ชัดเจนว่าต่างเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากกัน แม้ผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลยที่ 1 และที่ 2 ส่วนใหญ่จะเป็นญาติพี่น้องกันมีนามสกุลเดียวกันและแม้จะเป็นบริษัทในเครือเดียวกันก็ตาม แต่ตามกฎหมายแล้ว ต้องถือว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ต่างเป็นนิติบุคคลแยกกัน หาใช่เป็นบริษัทเดียวกันไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9381-9407/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจรัฐวิสาหกิจแก้ไขข้อตกลงสภาพการจ้าง และการจ่ายเงินบำเหน็จตามมติคณะรัฐมนตรี
โจทก์เป็นรัฐวิสาหกิจตาม พ.ร.บ.การปิโตเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ.2521 จึงต้องห้ามมิให้นำพ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาใช้บังคับแก่โจทก์และพนักงานหรือลูกจ้างของโจทก์ตามมาตรา 4 (4) การแก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องแจ้งข้อเรียกร้องเป็นหนังสือ ได้รับความยินยอมหรือต้องเป็นคุณแก่ลูกจ้างยิ่งกว่าแต่อย่างใด ประกอบกับพ.ร.บ. พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2534 มาตรา 11 (1), 18 (1) (3) และระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2534 ข้อ 49 ให้อำนาจรัฐวิสาหกิจแก้ไขข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างได้โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของฝ่ายบริหารพนักงาน ฐานะ ความรับผิดชอบ ความสามารถของรัฐวิสาหกิจ ตลอดจนผลกระทบต่อการบริการประชาชนเป็นสำคัญหาจำต้องได้รับความยินยอมจากพนักงานหรือลูกจ้างไม่ แม้ในมาตรา 54 วรรคสอง จะกำหนดให้ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างซึ่งมีอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับให้ยังคงใช้บังคับต่อไปก็ตาม แต่ก็มิได้เป็นบทบัญญัติที่ห้ามมิให้แก้ไขข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ทั้งโจทก์เป็นรัฐวิสาหกิจมีหน้าที่ต้องบริหารงานภายใต้นโยบายของรัฐบาลและต้องปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีจึงมีอำนาจแก้ไขข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างได้โดยมีผลเป็นการแก้ไขและบังคับใช้ตั้งแต่วันลงมติ ส่วนที่มติดังกล่าวกำหนดให้แก้ไขข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีด้วย ก็เพียงเพื่อให้ปรากฏการแก้ไขในข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างโดยมติคณะรัฐมนตรีเท่านั้น หาได้เป็นเงื่อนไขที่จะทำให้มติคณะรัฐมนตรีไม่มีผลใช้บังคับแต่อย่างใด จำเลยเป็นพนักงานของโจทก์ สิทธิของจำเลยจะได้รับเงินบำเหน็จเพียงใดต้องเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9347/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลแรงงานกำหนดประเด็น-วันสืบพยานได้โดยไม่ต้องรอชี้ขาดคำคัดค้านก่อน และสัญญาค้ำประกันมีผลตลอดระยะทำงาน
พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 39 วรรคหนึ่ง มีเจตนาให้การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีในศาลแรงงานเป็นไปโดยประหยัด สะดวก รวดเร็ว และเที่ยงธรรม จึงให้ศาลแรงงานกำหนดประเด็นข้อพิพาทและกำหนดวันสืบพยานไปทันทีในวันใดก็ได้ หาจำต้องกำหนดไม่น้อยกว่าสิบวันนับแต่วันชี้สองสถานดังเช่นที่ ป.วิ.พ. กำหนดไว้ไม่ ทั้งการกำหนดประเด็นข้อพิพาทในคดีแรงงานก็เป็นอำนาจและดุลพินิจของศาลแรงงานโดยเฉพาะ และเมื่อกำหนดประเด็นข้อพิพาทไปแล้วก็ไม่มีบทบัญญัติใดกำหนดให้ศาลแรงงานต้องชี้ขาด คำคัดค้านการกำหนดประเด็นข้อพิพาทของคู่ความก่อนวันสืบพยาน เพราะการกำหนดให้ชี้ขาดก่อนเช่นนั้นทำให้กระบวนพิจารณาดำเนินไปโดยล่าช้า ทำให้คู่ความไม่ได้รับความเที่ยงธรรมได้ การที่ศาลแรงงานกลางใช้ดุลพินิจ สั่งให้รวมคำคัดค้านของจำเลยไว้ในสำนวนคดีความโดยไม่ชี้ขาดคำคัดค้านก่อนว่าควรเปลี่ยนแปลงการกำหนดประเด็นข้อพิพาทหรือไม่จึงหาเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบไม่
สัญญาจ้างระบุว่า อ. เป็นลูกจ้างของโจทก์ ทดลองงานเป็นระยะเวลาไม่เกิน 120 วัน และต้องทำงานให้โจทก์เป็นระยะเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 24 เดือน หมายความว่าระยะเวลา 120 วันแรกเป็นระยะทดลองงาน เมื่อพ้นระยะ ทดลองงานแล้ว อ. ต้องทำงานให้โจทก์ต่อไปอีก ซึ่งนับรวมกับระยะทดลองงานแล้วต้องไม่น้อยกว่า 24 เดือน โดยสัญญาไม่ได้กำหนดวันสิ้นสุดสัญญาจ้างไว้ จึงเป็นสัญญาจ้างที่ยังไม่มีกำหนดระยะเวลา ในสัญญาค้ำประกัน ก็กำหนดไว้ชัดแจ้งว่าสัญญาค้ำประกันมีผลบังคับตลอดระยะเวลาที่ อ. ทำงานกับโจทก์ไม่ว่าตำแหน่งหน้าที่ใด ๆ ที่โจทก์กำหนดและระยะเวลาทำงานนานเท่าใด โดยจำเลยซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจะไม่บอกเลิกสัญญาจนกว่าจะได้มีการหาบุคคลอื่นที่มีหลักฐานมั่นคงและโจทก์เห็นชอบให้เป็นผู้ค้ำประกันแทนได้เรียบร้อยแล้ว สัญญาค้ำประกันจึงหาได้ให้มีผลเพียงชั่วระยะเวลาทดลองงาน 120 วัน ไม่ ทั้งจำเลยก็มิได้หาบุคคลอื่นมาเป็นผู้ทำสัญญาค้ำประกันแทน โดยความเห็นชอบของโจทก์ จำเลยจึงต้องผูกพันรับผิดตามสัญญาค้ำประกันตลอดระยะเวลาที่ อ. ทำงานกับโจทก์จนถึง วันที่ อ. ลาออก และต้องรับผิดต่อความเสียหายที่ อ.ได้ก่อให้เกิดขึ้นแก่โจทก์ตั้งแต่เริ่มทำงานจนถึงวันลาออกจากงาน
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดชดใช้เงินที่ อ. ลูกจ้างของโจทก์ยักยอกไปหรือให้ชดใช้เงินที่ อ.ก่อให้เกิดความ
เสียหายต่อโจทก์เพราะการผิดสัญญาจ้างแรงงานเป็นการฟ้องเรียกเงินของโจทก์คืนจากผู้ยักยอกและจำเลยต้องรับผิดชดใช้คืนในฐานะผู้ค้ำประกัน จึงมีอายุความฟ้องเอาคืนได้ภายในกำหนด 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 นับแต่วัน ยักยอกถึงวันฟ้องยังไม่เกิน 10 ปี คดีไม่ขาดอายุความ
สัญญาจ้างระบุว่า อ. เป็นลูกจ้างของโจทก์ ทดลองงานเป็นระยะเวลาไม่เกิน 120 วัน และต้องทำงานให้โจทก์เป็นระยะเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 24 เดือน หมายความว่าระยะเวลา 120 วันแรกเป็นระยะทดลองงาน เมื่อพ้นระยะ ทดลองงานแล้ว อ. ต้องทำงานให้โจทก์ต่อไปอีก ซึ่งนับรวมกับระยะทดลองงานแล้วต้องไม่น้อยกว่า 24 เดือน โดยสัญญาไม่ได้กำหนดวันสิ้นสุดสัญญาจ้างไว้ จึงเป็นสัญญาจ้างที่ยังไม่มีกำหนดระยะเวลา ในสัญญาค้ำประกัน ก็กำหนดไว้ชัดแจ้งว่าสัญญาค้ำประกันมีผลบังคับตลอดระยะเวลาที่ อ. ทำงานกับโจทก์ไม่ว่าตำแหน่งหน้าที่ใด ๆ ที่โจทก์กำหนดและระยะเวลาทำงานนานเท่าใด โดยจำเลยซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจะไม่บอกเลิกสัญญาจนกว่าจะได้มีการหาบุคคลอื่นที่มีหลักฐานมั่นคงและโจทก์เห็นชอบให้เป็นผู้ค้ำประกันแทนได้เรียบร้อยแล้ว สัญญาค้ำประกันจึงหาได้ให้มีผลเพียงชั่วระยะเวลาทดลองงาน 120 วัน ไม่ ทั้งจำเลยก็มิได้หาบุคคลอื่นมาเป็นผู้ทำสัญญาค้ำประกันแทน โดยความเห็นชอบของโจทก์ จำเลยจึงต้องผูกพันรับผิดตามสัญญาค้ำประกันตลอดระยะเวลาที่ อ. ทำงานกับโจทก์จนถึง วันที่ อ. ลาออก และต้องรับผิดต่อความเสียหายที่ อ.ได้ก่อให้เกิดขึ้นแก่โจทก์ตั้งแต่เริ่มทำงานจนถึงวันลาออกจากงาน
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดชดใช้เงินที่ อ. ลูกจ้างของโจทก์ยักยอกไปหรือให้ชดใช้เงินที่ อ.ก่อให้เกิดความ
เสียหายต่อโจทก์เพราะการผิดสัญญาจ้างแรงงานเป็นการฟ้องเรียกเงินของโจทก์คืนจากผู้ยักยอกและจำเลยต้องรับผิดชดใช้คืนในฐานะผู้ค้ำประกัน จึงมีอายุความฟ้องเอาคืนได้ภายในกำหนด 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 นับแต่วัน ยักยอกถึงวันฟ้องยังไม่เกิน 10 ปี คดีไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9107/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องขอให้เรียกบุคคลภายนอกเป็นจำเลยร่วมไม่ใช่คำคู่ความ ต้องห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 226
คำร้องขอของโจทก์ที่ให้เรียกธนาคาร ท. บุคคลภายนอกเข้ามาเป็นคู่ความในคดีเพื่อเป็นจำเลยร่วมไม่มีลักษณะเป็นคำฟ้องหรือคำคู่ความ ไม่เหมือนกรณีที่บุคคลภายนอกร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความในคดีไม่ว่าโดยความสมัครใจ หรือถูกหมายเรียกของศาลให้เข้ามา เนื่องจากคำร้องสอดของบุคคลภายนอกที่ยื่นต่อศาลเป็นการตั้งประเด็นโต้แย้งกับคู่ความในคดีจึงมีลักษณะเป็นคำฟ้องและเป็นคำคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 1(3) และ (5) เมื่อศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องของโจทก์ที่ให้เรียกธนาคาร ท. เข้ามาเป็นจำเลยร่วม จึงไม่ใช่คำสั่งไม่รับหรือคืนคำคู่ความตามมาตรา 18 แต่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาซึ่งต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 226
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8898/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกเลิกประกวดราคาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และการไม่มีละเมิดจากหน่วยงานราชการ
ประกาศแจ้งความประกวดราคาจ้างเหมาเป็นเพียงประกาศเชิญชวนให้ผู้สนใจที่จะรับจ้างขนขยะมูลฝอยจากท่าริมแม่น้ำเจ้าพระยาไปทำลายโดยวิธีฝังดิน ยื่นคำเสนอขอทำสัญญากับจำเลยที่ 1 โดยวิธียื่นซองประกวดราคา ซึ่งต่อมาโจทก์เป็นผู้เข้าประกวดราคาและเสนอราคาต่ำสุดอันเป็นการทำคำเสนอต่อจำเลยที่ 1 แล้ว เท่ากับโจทก์ยอมรับที่จะปฏิบัติตามเงื่อนไขของจำเลยที่ 1 ทุกประการ การที่จำเลยที่ 1 โดยประธานคณะกรรมการเปิดซองประกวดราคามีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบในภายหลังว่าตกลงรับราคาที่โจทก์เสนอถือได้ว่าเป็นการทำคำสนองรับคำเสนอของโจทก์ แต่ในประกาศแจ้งความประกวดราคาจ้างเหมา ข้อ 16 ระบุว่าเมื่อจำเลยที่ 1 แจ้งให้ผู้ประกวดราคาได้ทราบเป็นหนังสือผู้ประกวดราคาได้นั้นต้องไปทำสัญญาตามแบบของจำเลยที่ 1 ภายใน 7 วัน นับแต่วันได้รับแจ้ง ดังนั้นเมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ยังไม่ได้ทำสัญญาตามแบบของจำเลยที่ 1 จึงไม่เกิดเป็นสัญญาผูกพันโจทก์และจำเลยที่ 1 การที่จำเลยที่ 1 ประกาศยกเลิกการประกวดราคาจ้างเหมาครั้งนี้ ไม่ว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้ชนะการประกวดราคาจะทำผิดเงื่อนไขตามประกาศแจ้งความประกวดราคาหรือไม่ก็ตามก็ไม่ถือว่าจำเลยที่ 1 กระทำผิดสัญญาต่อโจทก์ โจทก์จึงไม่อาจเรียกร้องค่าเสียหายในส่วนนี้จากจำเลยที่ 1
ตามประกาศแจ้งความประกวดราคาจ้างเหมา ข้อ 18 ได้ระบุเงื่อนไขไว้ว่า จำเลยที่ 1 ทรงไว้ซึ่งสิทธิที่จะยกเลิกการประกวดราคารายนี้เสียก็ได้แล้วแต่จะเห็นสมควรเพื่อประโยชน์ของทางราชการและผู้ยื่นซองประกวดราคาไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาค่าทดแทนหรือค่าเสียหายใด ๆ จากจำเลยที่ 1 ได้ ดังนั้น แม้ว่าโจทก์จะเป็นผู้ที่ยื่นซองประกวดราคาและเสนอราคาต่ำสุด ทั้งได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขของผู้ยื่นซองประกวดราคาตามที่ได้ประกาศแจ้งความไว้แล้วก็ตามจำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิที่จะยกเลิกการประกวดราคาครั้งนี้ได้เมื่อจำเลยที่ 1 เห็นสมควรเพื่อประโยชน์ของทางราชการ
แม้จำเลยที่ 1 จะแจ้งยกเลิกการประกวดราคาหลังจากการเปิดซองประกวดราคานานถึง 5 ปี แต่โจทก์ก็ไม่สามารถนำสืบได้ว่าจำเลยคนหนึ่งคนใดมีเจตนากลั่นแกล้งโจทก์เพื่อให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ข้อเท็จจริงได้ความว่า โครงการขนขยะมูลฝอยริมแม่น้ำเจ้าพระยามีผลกระทบต่อประชาชนและสิ่งแวดล้อมที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับสถานที่กลบฝังขยะ ตลอดจนบริเวณท่าเทียบเรือที่ใช้เป็นที่ขนลำเลียงขยะมูลฝอยลงเรือเป็นอย่างมาก การพิจารณาถึงผลกระทบดังกล่าวจึงต้องกระทำอย่างละเอียดรอบคอบ จำเลยที่ 1 ได้ดำเนินการในเรื่องนี้อย่างต่อเนื่องและตลอดมา ซึ่งโจทก์ก็ได้ร่วมรับรู้อย่างใกล้ชิด ทั้งยังให้ความยินยอมขยายกำหนดเวลายื่นราคาที่โจทก์เสนอไว้อย่างต่อเนื่องเช่นกัน โจทก์จึงไม่อาจกล่าวอ้างได้ว่าการแจ้งยกเลิกการประกวดราคาล่าช้าของจำเลยที่ 1 เป็นการกระทำโดยจงใจกลั่นแกล้งให้โจทก์ได้รับความเสียหายหรือไม่มีเหตุอันสมควรหรือไม่เป็นประโยชน์ต่อทางราชการ แม้โจทก์จะได้ระบุไว้ในหนังสือยินยอมขยายกำหนดเวลายื่นราคาว่าหากไม่ตกลงทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ภายในกำหนดแล้ว โจทก์จะเรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 ก็ไม่มีผลทางกฎหมายว่าการที่จำเลยที่ 1 ไม่ทำสัญญาจ้างเหมากับโจทก์เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ปฏิบัติราชการไปตามอำนาจหน้าที่ ไม่ได้ความว่าปฏิบัติหน้าที่โดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์เสียหาย จึงไม่ถือว่าเป็นการละเมิดต่อโจทก์เช่นเดียวกัน
ตามประกาศแจ้งความประกวดราคาจ้างเหมา ข้อ 18 ได้ระบุเงื่อนไขไว้ว่า จำเลยที่ 1 ทรงไว้ซึ่งสิทธิที่จะยกเลิกการประกวดราคารายนี้เสียก็ได้แล้วแต่จะเห็นสมควรเพื่อประโยชน์ของทางราชการและผู้ยื่นซองประกวดราคาไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาค่าทดแทนหรือค่าเสียหายใด ๆ จากจำเลยที่ 1 ได้ ดังนั้น แม้ว่าโจทก์จะเป็นผู้ที่ยื่นซองประกวดราคาและเสนอราคาต่ำสุด ทั้งได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขของผู้ยื่นซองประกวดราคาตามที่ได้ประกาศแจ้งความไว้แล้วก็ตามจำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิที่จะยกเลิกการประกวดราคาครั้งนี้ได้เมื่อจำเลยที่ 1 เห็นสมควรเพื่อประโยชน์ของทางราชการ
แม้จำเลยที่ 1 จะแจ้งยกเลิกการประกวดราคาหลังจากการเปิดซองประกวดราคานานถึง 5 ปี แต่โจทก์ก็ไม่สามารถนำสืบได้ว่าจำเลยคนหนึ่งคนใดมีเจตนากลั่นแกล้งโจทก์เพื่อให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ข้อเท็จจริงได้ความว่า โครงการขนขยะมูลฝอยริมแม่น้ำเจ้าพระยามีผลกระทบต่อประชาชนและสิ่งแวดล้อมที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับสถานที่กลบฝังขยะ ตลอดจนบริเวณท่าเทียบเรือที่ใช้เป็นที่ขนลำเลียงขยะมูลฝอยลงเรือเป็นอย่างมาก การพิจารณาถึงผลกระทบดังกล่าวจึงต้องกระทำอย่างละเอียดรอบคอบ จำเลยที่ 1 ได้ดำเนินการในเรื่องนี้อย่างต่อเนื่องและตลอดมา ซึ่งโจทก์ก็ได้ร่วมรับรู้อย่างใกล้ชิด ทั้งยังให้ความยินยอมขยายกำหนดเวลายื่นราคาที่โจทก์เสนอไว้อย่างต่อเนื่องเช่นกัน โจทก์จึงไม่อาจกล่าวอ้างได้ว่าการแจ้งยกเลิกการประกวดราคาล่าช้าของจำเลยที่ 1 เป็นการกระทำโดยจงใจกลั่นแกล้งให้โจทก์ได้รับความเสียหายหรือไม่มีเหตุอันสมควรหรือไม่เป็นประโยชน์ต่อทางราชการ แม้โจทก์จะได้ระบุไว้ในหนังสือยินยอมขยายกำหนดเวลายื่นราคาว่าหากไม่ตกลงทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ภายในกำหนดแล้ว โจทก์จะเรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 ก็ไม่มีผลทางกฎหมายว่าการที่จำเลยที่ 1 ไม่ทำสัญญาจ้างเหมากับโจทก์เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ปฏิบัติราชการไปตามอำนาจหน้าที่ ไม่ได้ความว่าปฏิบัติหน้าที่โดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์เสียหาย จึงไม่ถือว่าเป็นการละเมิดต่อโจทก์เช่นเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8738/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำเตือนของพนักงานตรวจแรงงานมีผลเพียงชี้แนะ ไม่เป็นคำสั่ง นายจ้างมีสิทธิไม่ปฏิบัติตาม และไม่มีอำนาจฟ้องเพิกถอนคำเตือน
พนักงานตรวจแรงงานมีคำเตือนให้นายจ้างจัดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้ลูกจ้างโดยอาศัยอำนาจตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ที่ออกตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ข้อ 77 ซึ่งคำเตือน ดังกล่าวไม่ขัดแย้งกับ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 จึงมีผลเป็นคำเตือนตามประกาศดังกล่าว ข้อ 77 และใช้บังคับได้ต่อไปตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 166 ทั้งคำเตือนดังกล่าวมิใช่คำสั่งหรือคำวินิจฉัยชี้ขาดของพนักงานตรวจแรงงานตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ที่บัญญัติให้นายจ้างต้องปฏิบัติตาม แต่มีผลเพียงเป็นการชี้แนะเพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างนายจ้างและลูกจ้างเท่านั้น ถ้านายจ้างเห็นว่าไม่ถูกต้องจะไม่ปฏิบัติตามก็ได้โดยไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 146 และประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ข้อ 8 การที่พนักงานตรวจแรงงานมีคำเตือนและลูกจ้างขอหยุดพักผ่อนประจำปีตามคำเตือนของพนักงานตรวจแรงงาน ยังไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของนายจ้างตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ประกอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและ วิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ทั้งนายจ้างมิได้ฟ้องพนักงานตรวจแรงงานหรืออธิบดีกรมสวัสดิการและ คุ้มครองแรงงานเป็นจำเลย นายจ้างจึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำเตือนของพนักงานตรวจแรงงานและขอให้ สั่งว่าจำเลยไม่มีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8722/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาซื้อขายที่ดินเนื่องจากจำเลยผิดสัญญา และสิทธิในการเรียกร้องเงินค่าที่ดินคืน
โจทก์พร้อมที่จะปฏิบัติตามสัญญา แต่จำเลยไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาโดยการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินส่วนที่เหลือภายในกำหนดเวลาตามสัญญาได้ จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อขายที่ดิน โจทก์จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญา โจทก์มีหนังสือทวงถามเรียกเงินที่ชำระค่าที่ดินคืนและเรียกค่าเสียหาย ถือได้ว่าโจทก์แสดงเจตนาเลิกสัญญาโดยปริยายแล้ว คู่สัญญาย่อมกลับคืนสู่ฐานะที่เป็นอยู่เดิม และโจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกค่าเสียหายได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 เมื่อโจทก์ได้ชำระเงินให้แก่จำเลยบางส่วนและจำเลยได้โอนที่ดินให้แก่โจทก์บางแปลง โจทก์และจำเลยจึงทำบันทึกข้อตกลงกันใหม่ขยายเวลาโอนที่ดินส่วนที่เหลือโดยให้ถือว่าเงินมัดจำในสัญญาเดิมยังคงไว้ แสดงว่าโจทก์และจำเลยถือว่าการโอนที่ดินที่ดำเนินการเสร็จสิ้นไปแล้วสามารถแยกต่างหากจากที่ดินส่วนที่เหลือได้และถือว่าจำเลยได้ปฏิบัติตามสัญญาในที่ดินส่วนที่โอนแล้ว ดังนี้ โจทก์จะเรียกเงินค่าที่ดินที่ชำระให้แก่จำเลยไปแล้วคืนทั้งหมดหาได้ไม่ คงมีสิทธิเรียกเงินค่าที่ดินในส่วนที่ชำระเกินราคาที่ดินที่รับโอนไปแล้วคืนเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8599/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีเนื่องจากโจทก์ขาดนัด และคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ที่ถูกห้ามตามกฎหมาย
คำร้องของโจทก์ที่โต้แย้งคำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 197 วรรคสอง และมาตรา 201 วรรคหนึ่ง (เดิม) มิได้กล่าวอ้างว่า ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาโดยผิดระเบียบ หรือฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของกฎหมายใด คงอ้างแต่เพียงว่า กรณีมีเหตุสุดวิสัยที่โจทก์ไม่สามารถมาศาลได้ โจทก์ไม่มีเจตนาที่จะละเลยไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือคำสั่งของศาล ขอให้ไต่สวนและกำหนดนัดสืบพยานโจทก์ต่อไป เท่ากับเป็นการกล่าวอ้างว่าโจทก์มิได้จงใจขาดนัดพิจารณา จึงถือได้ว่าคำร้องของโจทก์ดังกล่าวเป็นคำขอให้พิจารณาคดีนี้ใหม่ จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 201 วรรคหนึ่ง ชอบที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งยกคำร้องของโจทก์เสียได้ โดยไม่ต้องทำการไต่สวน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8492/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแรงงานในการรับพยานหลักฐานเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม แม้คู่ความมิได้ยื่นสำเนา
จำเลยส่งเอกสารหมาย ล.1 ถึง ล.14 ซึ่งเป็นเอกสารสำคัญแห่งคดีประกอบคำเบิกความพยานบุคคลของจำเลยต่อศาล โดยไม่ยื่นสำเนาต่อศาลและไม่ส่งสำเนาให้โจทก์ก่อนวันสืบพยานและส่งสำเนาเอกสารหมาย ล.11/6 เป็นพยานต่อศาล เมื่อศาลแรงงานกลางเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม จำเป็นต้องสืบพยานเอกสารหมาย ล.1ถึง ล.14 อันเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี จึงสั่งรับเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานของจำเลย และรับฟังสำเนาเอกสารหมาย ล.11/6 ประกอบคำเบิกความของพยานจำเลย ย่อมเป็นการสั่งรับโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯมาตรา 45 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติให้อำนาจไว้โดยเฉพาะการสั่งรับและรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลางดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายแล้ว