คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
มงคล คุปต์กาญจนากุล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 772 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6977/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายค่าชดเชยกรณีมีเงินบำเหน็จสูงกว่า เงินบำเหน็จทดแทนค่าชดเชยได้ตามกฎหมาย
ตามคำสั่งกระทรวงอุตสาหกรรม ที่ 124/2501 กำหนดให้บริษัทสุรามหาราษฎร จำกัด (มหาชน) จำเลยที่ 3 จ่ายเงินชดเชยและเงินบำเหน็จตามที่กำหนดไว้ในคำสั่งให้แก่พนักงาน และจำเลยที่ 3 จ่ายเงินบำเหน็จตัดตอนรายปีตามคำสั่งดังกล่าวให้โจทก์รับไปแล้ว โจทก์ก็ยอมรับว่าเงินบำเหน็จตัดตอนรายปีที่ได้รับเป็นเงินบำเหน็จตามคำสั่งกระทรวงอุตสาหกรรมที่ 124/2501 เงินบำเหน็จตัดตอนรายปี ที่จำเลยที่ 3 จ่ายให้โจทก์จึงเป็นการจ่ายและรับตามคำสั่งกระทรวงอุตสาหกรรม หาใช่โจทก์รับโดยอาศัยสิทธิตามบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างไม่ เพราะบันทึก ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าว กำหนดเพียงวิธีการจ่ายเงินบำเหน็จที่โจทก์มีสิทธิได้รับตามคำสั่งกระทรวง อุตสาหกรรมที่ 124/2501 ว่าให้จ่ายตัดตอนเป็นรายปีได้เท่านั้น
ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพจ้างที่จำเลยที่ 3 ตกลงให้ผลประโยชน์อื่น ๆ ที่บริษัทสุรามหาคุณ จำกัด ได้ทำบันทึกข้อตกลงกับสหภาพแรงงานเป็นทางการและเคยถือปฏิบัติมาก่อนแก่พนักงาน และศาลฎีกามีคำพิพากษาให้บริษัทสุรามหาคุณ จำกัด จ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง โดยวินิจฉัยว่าค่าครองชีพเป็นค่าจ้างเมื่อนำไปรวมกับค่าจ้างเป็นการให้ประโยชน์แก่ลูกจ้างดีขึ้น จึงต้องนำไปรวมกับค่าจ้างเพื่อคิดค่าชดเชย และค่าชดเชยดังกล่าวที่ได้รับก็เป็นค่าชดเชยตามจำนวนที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามกฎหมาย แต่กรณีที่โจทก์ฟ้องเป็นคดีนี้ ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้รับค่าครองชีพอันถือว่าเป็นผลประโยชน์ที่เคยได้รับหรือไม่ จึงถือไม่ได้ว่ามีผลประโยชน์ดังกล่าวที่โจทก์จะพึงได้รับ ส่วนค่าชดเชยซึ่งเป็นผลประโยชน์อีกประการหนึ่งที่โจทก์จะพึงได้รับและจำเลยที่ 3 มีหน้าที่ต้องจ่ายก็มีเฉพาะค่าชดเชยที่โจทก์มีสิทธิได้รับตามคำสั่งกระทรวงอุตสาหกรรม ที่ 124/2501 และตามกฎหมายเช่นเดียวกัน เมื่อจำเลยที่ 3 ได้จ่ายเงินบำเหน็จตัดตอนรายปีตามคำสั่งกระทรวงอุตสาหกรรม ที่ 124/2501 และข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างให้โจทก์ทั้งห้ารับไปแล้ว และคำสั่งกระทรวงอุตสาหกรรม กำหนดว่า ในกรณีที่พนักงานประจำมีสิทธิได้รับทั้งเงินค่าชดเชยตามกฎหมายว่าด้วย แรงงาน และเงินบำเหน็จตามระเบียบนี้ ถ้าเงินบำเหน็จมากกว่าเงินชดเชย ให้ตัดเงินบำเหน็จออกเท่ากับจำนวนเงิน ชดเชย แต่ถ้าเงินบำเหน็จน้อยกว่าเงินชดเชยก็ให้ได้รับแต่เงินชดเชยอย่างเดียว ซึ่งแสดงว่าประสงค์ให้จำเลยที่ 3 จ่ายเงิน ชดเชยหรือค่าชดเชยให้โจทก์ครบถ้วนตามกฎหมายแรงงาน คือ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 อันเป็นกฎหมายแรงงานที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเลิกจ้าง และถ้าโจทก์มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จด้วย และเงินบำเหน็จมากกว่าค่าชดเชยก็ถือว่าได้จ่ายค่าชดเชยครบถ้วนตามกฎหมายรวมไปกับเงินบำเหน็จแล้ว จำเลยที่ 3 จ่ายเงินบำเหน็จตัดตอนรายปีให้โจทก์รับไปแล้ว และเงินบำเหน็จตัดตอนรายปีดังกล่าวมีจำนวนสูงกว่าค่าชดเชยที่โจทก์มีสิทธิได้รับ ถือว่าจำเลยที่ 3 จ่ายค่าชดเชยรวมไปกับเงินบำเหน็จตัดตอนรายปีให้โจทก์ครบถ้วนแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้ค่าชดเชยอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6729/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมความในคดีอาญา: คำมั่นต่อศาล vs. การสนองรับคำเสนอ
การที่จำเลยแถลงต่อศาลในคดีอาญา ขอให้สัญญาแก่ผู้เสียหายว่าจะนำเงินมาชำระหนี้แก่ผู้เสียหายภายใน 3 เดือนโดยขอให้ศาลชั้นต้นเลื่อนการอ่านคำพิพากษาออกไป และผู้เสียหายก็แถลงรับต่อศาลว่า หากจำเลยสามารถปฏิบัติได้ตามที่ให้สัญญา ผู้เสียหายก็จะถอนคำร้องทุกข์และไม่เรียกร้องหนี้จำนวนใดอีก ดังนี้คำแถลงของผู้เสียหายเป็นเพียงการให้คำมั่นต่อศาลมิได้สนองรับคำเสนอของจำเลยแต่อย่างใดและเป็นข้อเท็จจริงที่ศาลจะนำมาใช้ประกอบดุลพินิจในการเลื่อนคดีออกไปตามที่จำเลยแถลง คำแถลงของจำเลยและผู้เสียหายในรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นจึงไม่ถือว่าเป็นการยอมความตามกฎหมาย แม้ต่อมาผู้เสียหายจะได้นำเอาข้อเท็จจริงตามรายงานกระบวนพิจารณาไปอ้างในการยื่นฟ้องคดีแพ่งและได้ยื่นคำบอกกล่าวขอถอนฟ้องคดีแพ่งไปโดยอ้างเหตุผลว่าไม่ประสงค์จะดำเนินคดีแก่จำเลยในมูลหนี้เดิมซึ่งเป็นจำนวนเดียวกับหนี้ตามเช็คในคดีนี้เพื่อแสดงว่าสิทธิเรียกร้องทางแพ่งของผู้เสียหายยังไม่ขาดอายุความก็ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงให้เห็นว่าผู้เสียหายไม่ประสงค์ที่จะดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยย่อมฟังได้แต่เพียงว่าผู้เสียหายไม่ประสงค์ที่จะดำเนินคดีแพ่งเท่านั้น สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ในคดีนี้จึงยังหาได้ระงับไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6493/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทรัพย์สินที่ได้จากการกระทำผิด ยาเสพติด - การพิสูจน์แหล่งที่มาของเงิน - พยานหลักฐานไม่เพียงพอ
เมื่อกรณีเข้าข้อสันนิษฐานตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ มาตรา 29วรรคสอง ว่าเงินสดและเงินฝากในธนาคารเป็นทรัพย์สินที่ผู้คัดค้านมีอยู่หรือได้มาเกินกว่าฐานะหรือความสามารถในการประกอบอาชีพหรือกิจกรรมอย่างอื่นโดยสุจริต เป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด จึงเป็นหน้าที่ของผู้คัดค้านที่จะต้องนำพยานหลักฐานมาแสดงให้ศาลเห็นว่าทรัพย์สินดังกล่าว ผู้คัดค้านมีอยู่หรือได้มาจากการประกอบอาชีพหรือกิจกรรมอย่างอื่นโดยสุจริตเป็นทรัพย์สินที่ไม่ได้เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5781/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขุดดินในที่ดินของผู้อื่นโดยเจตนาทุจริตเพื่อแสวงหาประโยชน์ ถือเป็นความผิดฐานลักทรัพย์
จำเลยนำดินเข้าไปถมและปรับระดับพื้นที่ในที่ดินราชพัสดุที่เกิดเหตุโดยสมัครใจ เพราะเชื่อว่าตนจะได้รับโอนสิทธิในที่ดินราชพัสดุดังกล่าว แม้กระทรวงการคลังซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินราชพัสดุจะได้ดินนั้นมาในฐานลาภมิควรได้ก็ตาม แต่เมื่อภายหลังไม่มีการโอนสิทธิการเช่าที่ดินกัน จำเลยก็ไม่มีสิทธิที่จะนำดินที่ถมไว้ในที่ดินราชพัสดุคืนไป พฤติการณ์ที่จำเลยได้ให้พวกของจำเลยขุดเอาดินในที่ดินราชพัสดุไปเกินกว่าดินที่จำเลยนำมาถมไว้ โดยไม่รับฟังข้อทักท้วงห้ามปรามของผู้มีสิทธิในที่ดินเป็นการกระทำเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเอง จึงเป็นการขุดเอาดินของผู้เสียหายไปโดยทุจริต จำเลยจึงมีความผิดฐานร่วมกับพวกลักทรัพย์ ตาม ป.อ. มาตรา 335 (7) วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3102/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นายจ้างต้องรอการชำระค่าเสียหายให้บุคคลภายนอกก่อน จึงมีสิทธิไล่เบี้ยจากลูกจ้างและทายาท
ป.พ.พ. มาตรา 425 เป็นบทบัญญัติถึงหน้าที่และความรับผิดของนายจ้างที่ต้องร่วมกับลูกจ้างรับผิดต่อความเสียหายที่บุคคลภายนอกได้รับจากการกระทำละเมิดของลูกจ้างเท่านั้น แต่ในระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างสิทธิของนายจ้างและหน้าที่ของลูกจ้างจะพึงมีต่อกันเพียงใดต้องเป็นไปตามมาตรา 426 ลูกจ้างขับรถของนายจ้างโดยประมาทเป็นเหตุให้ทรัพย์สินของบุคคลภายนอกเสียหาย แต่โจทก์ผู้เป็นนายจ้างยังไม่สามารถตกลงจำนวนค่าเสียหายและยังไม่ได้ชำระค่าเสียหายให้แก่บุคคลภายนอก โจทก์จึงไม่มีสิทธิไล่เบี้ยเงินจำนวนดังกล่าวจากผู้เป็นลูกจ้างที่กระทำละเมิดตามบทกฎหมายดังกล่าว โจทก์ยังไม่ถูกโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ในทางแพ่ง จึงไม่มีสิทธิฟ้องให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ในฐานะทายาทและจำเลยที่ 6 ในฐานะผู้ค้ำประกันของลูกจ้างชำระค่าเสียหายส่วนนี้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3102/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายจ้างต่อความเสียหายจากละเมิดของลูกจ้าง: สิทธิไล่เบี้ยต้องรอการชำระค่าเสียหายก่อน
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 425 เป็นบทบัญญัติถึงหน้าที่และความรับผิดของนายจ้างที่ต้องร่วมกับลูกจ้างรับผิดต่อความเสียหายที่บุคคลภายนอกได้รับจากการกระทำละเมิดของลูกจ้างเท่านั้น แต่ในระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างสิทธิของนายจ้างและหน้าที่ของลูกจ้างจะพึงมีต่อกันเพียงใดต้องเป็นไปตามมาตรา 426 เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างยังไม่ได้ชำระค่าเสียหายให้แก่ผู้ที่ถูก ช.ซึ่งเป็นลูกจ้างกระทำละเมิด โจทก์จึงไม่มีสิทธิไล่เบี้ยเงินจำนวนดังกล่าวจาก ช. ตามบทกฎหมายดังกล่าว เมื่อโจทก์ยังไม่ถูกโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ในทางแพ่ง จึงไม่มีสิทธิฟ้องให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ในฐานะทายาทและจำเลยที่ 6 ในฐานะผู้ค้ำประกันของ ช. ชำระค่าเสียหายส่วนนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2795/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทนายความไม่มีอำนาจฎีกาแทนจำเลยหลังถูกถอนชื่อ แม้ศาลชั้นต้นอนุญาต
คำฟ้องฎีกาและคำร้องขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์รับรองฎีกาของจำเลยที่มีทนายความเป็นผู้ฎีกาและผู้ยื่นคำร้องแทนจำเลย ทนายความดังกล่าวจะต้องมีอำนาจในการฎีกาด้วย เมื่อจำเลยมิได้แต่งให้เป็นทนายความในชั้นฎีกา จึงเป็นการดำเนินคดีแทนจำเลยโดยไม่มีอำนาจ แม้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งอนุญาตให้ฎีกา และมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยมา ก็เป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2795/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจทนายความในการฎีกา: การแต่งตั้งทนายความใหม่ทำให้ทนายความเดิมหมดอำนาจ
คำฟ้องฎีกาและคำร้องขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 6 รับรองฎีกาของจำเลยที่นาย พ. ทนายความเป็นผู้ฎีกาและผู้ยื่นคำร้องแทนจำเลย ทนายความดังกล่าวจะต้องมีอำนาจในการฎีกาด้วย เมื่อจำเลยมิได้แต่งให้นาย พ. เป็นทนายความในชั้นฎีกา จึงเป็นการดำเนินคดีแทนจำเลยโดยไม่มีอำนาจ แม้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งอนุญาตให้ฎีกาและมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยมา ก็เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2642/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท: สิทธิทายาท vs. ผู้ครอบครองปรปักษ์ แม้มีสัญญาขายฝากแต่ผู้ขายฝากไม่มีกรรมสิทธิ์ โจทก์จึงไม่ได้รับกรรมสิทธิ์
คำพิพากษาในคดีก่อนที่ถึงที่สุดซึ่งจำเลยที่ 1 ในฐานะทายาทของ อ. และ จ. เป็นโจทก์ฟ้อง พ. วินิจฉัยว่า พ. ไม่ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ที่ดินยังเป็นทรัพย์มรดกของ อ. และ จ. ที่ตกทอดแก่ทายาท จำเลยที่ 1จึงมีสิทธิในที่ดินดีกว่า พ. โจทก์ซึ่งเป็นจำเลยที่ 2 ในคดีดังกล่าวต้องถูกผูกพันตามคำพิพากษาในคดีนั้นด้วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคหนึ่งแม้ในคดีดังกล่าวศาลจะมิได้พิพากษาเพิกถอนสัญญาขายฝากระหว่าง พ. กับโจทก์ที่ได้จดทะเบียนไว้ในใบแทนโฉนดที่ดินที่ พ. ขอออกมาใหม่ โดยฟังว่าโจทก์รับซื้อฝากโดยสุจริตและจดทะเบียนไว้โดยสุจริต แต่โจทก์ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินเพราะ พ. ผู้ขายฝากไม่มีกรรมสิทธิ์ที่จะทำสัญญาขายฝากให้แก่โจทก์ได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสามในฐานะผู้จัดการมรดกของ อ. และ จ. ส่งมอบโฉนดอันเป็นเอกสารสิทธิของที่ดินและการที่จำเลยทั้งสามยึดถือโฉนดที่ดินไว้ไม่ถือว่าเป็นการละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2642/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท: ผลของคำพิพากษาคดีกรรมสิทธิ์ต่อสัญญาซื้อขายฝาก
เมื่อคำพิพากษาในคดีแพ่งซึ่งถึงที่สุดแล้ว ได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงโดยฟังว่า พ. ไม่ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท โดยการครอบครองปรปักษ์ ที่ดินดังกล่าวยังคงเป็นทรัพย์มรดกของ อ. และ จ. ที่ตกทอดแก่ทายาท จำเลยที่ 1 ในฐานะทายาทของ อ. และ จ. จึงมีสิทธิดีกว่า พ. โจทก์ซึ่งเป็นจำเลยที่ 2 ในคดีดังกล่าวจึงต้องถูกผูกพันตามคำพิพากษาในคดีดังกล่าวด้วย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง แม้ในคดีดังกล่าวศาลจะมิได้พิพากษาให้เพิกถอนสัญญาขายฝากระหว่าง พ. กับโจทก์ โดยฟังว่าโจทก์รับซื้อฝากโดยสุจริตและจดทะเบียนไว้โดยสุจริต แต่โจทก์ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ใน ที่ดินพิพาทเพราะ พ. ผู้ขายฝากไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทที่จะไปทำสัญญาขายฝากให้แก่โจทก์ได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสามในฐานะผู้จัดการมรดกของ อ. และ จ. ส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาทอันเป็นเอกสารสิทธิของที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของ อ. และ จ. ได้ และการยึดถือโฉนดที่ดินพิพาทของจำเลยทั้งสามไม่ถือเป็นการละเมิดต่อโจทก์
of 78