พบผลลัพธ์ทั้งหมด 92 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 589/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบรถยนต์ที่ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด
จำเลยซุกซ่อนเฮโรอีนไว้ได้ที่เบาะนั่งคนขับโดยใช้แผ่นยางปูพื้นรถปิดไว้ ถือได้ว่ารถยนต์ของกลางเป็นยานพาหนะที่จำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ ซึ่งต้องริบตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษพ.ศ. 2522 มาตรา 102
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 589/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบรถยนต์ที่ใช้ซ่อนยาเสพติดเพื่อจำหน่าย
จำเลยที่ 1 ซุกซ่อนเฮโรอีนที่จำเลยที่ 1 มีไว้ในครอบครอง เพื่อจำหน่ายไว้ในรถยนต์ รถยนต์ดังกล่าวจึงเป็นยานพาหนะ ที่จำเลยที่ 1 ได้ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับ ยาเสพติดให้โทษ ต้องริบตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษพ.ศ. 2522 มาตรา 102
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 472/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์กรณีตัวแทนจำกัดอำนาจและการซื้อขายโดยสุจริต
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด จำเลยทั้งสองประกอบกิจการขายรถยนต์ โดยจำเลยที่ 2 มีชื่อเป็นเจ้าของในทะเบียน และเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์พิพาท โจทก์ซื้อรถยนต์พิพาทจากจำเลยที่ 1 แล้วโจทก์ได้ส่งมอบรถยนต์ให้แก่ลูกค้าของโจทก์ไป แม้ตามสัญญาซื้อขายและส่งมอบรถยนต์คันพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสองมีเงื่อนไขว่ากรรมสิทธิ์ในรถยนต์ของจำเลยที่ 2 จะโอนเป็นของจำเลยที่ 1 ผู้ซื้อต่อเมื่อชำระราคาครบถ้วนแล้วก็ตาม แต่จำเลยที่ 1 ยังไม่ได้ชำระราคาให้จำเลยที่ 2 แม้แต่เพียงบางส่วน และจำเลยที่ 2 ผู้ขายก็มิได้กำหนดราคารถยนต์ที่ขายหรือตกลงกันในสัญญาว่า ให้กำหนดกันด้วยวิธีอย่างใดอย่างหนึ่งตามป.พ.พ.มาตรา 487 และมิได้กำหนดระยะเวลาให้จำเลยที่ 1 ชำระราคารถยนต์ดังกล่าวไว้ด้วย ย่อมเห็นได้ว่าสัญญาซื้อขายและส่งมอบรถยนต์ระหว่างจำเลยทั้งสองไม่มีลักษณะเป็นสัญญาซื้อขายกันตามปกติ การที่จำเลยที่ 2 ส่งมอบรถยนต์พิพาทให้อยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 1 ซึ่งประกอบกิจการขายรถยนต์เช่นเดียวกับจำเลยที่ 2 ในประการที่เห็นได้ว่าจำเลยที่ 1 จะนำรถยนต์ดังกล่าวไปขายแก่บุคคลทั่ว ๆ ไปพฤติการณ์เช่นนี้ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวการที่ไม่เปิดเผยชื่อและยอมให้จำเลยที่ 1ซึ่งเป็นตัวแทนทำการออกนอกหน้าเป็นตัวการว่าเป็นเจ้าของหรือผู้มีสิทธิขายรถยนต์พิพาทแล้ว เมื่อโจทก์ซื้อรถยนต์พิพาทมาโดยสุจริต จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาซื้อขายและต้องจดทะเบียนกรรมสิทธิ์รถยนต์พิพาทพร้อมมอบสมุดจดทะเบียนให้แก่โจทก์ หากจำเลยที่ 2 ไม่ดำเนินการศาลย่อมพิพากษาให้ถือคำพิพากษาของศาลเป็นการแสดงเจตนาของจำเลยที่ 2 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 472/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ - ความรับผิดของตัวการต่อบุคคลภายนอกที่ซื้อรถยนต์จากตัวแทน
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยทั้งสองประกอบกิจการขายรถยนต์ โดยจำเลยที่ 2มีชื่อเป็นเจ้าของในทะเบียน และเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์พิพาท โจทก์ซื้อรถยนต์พิพาทจากจำเลยที่ 1 แล้วโจทก์ได้ส่งมอบรถยนต์ให้แก่ลูกค้าของโจทก์ไป แม้ตามสัญญาซื้อขายและส่งมอบรถยนต์คันพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสองมีเงื่อนไขว่ากรรมสิทธิ์ในรถยนต์ของจำเลยที่ 2 จะโอนเป็นของจำเลยที่ 1ผู้ซื้อต่อเมื่อชำระราคาครบถ้วนแล้วก็ตาม แต่จำเลยที่ 1ยังไม่ได้ชำระราคาให้จำเลยที่ 2 แม้แต่เพียงบางส่วนและจำเลยที่ 2 ผู้ขายก็มิได้กำหนดราคารถยนต์ที่ขายหรือตกลงกันในสัญญาว่า ให้กำหนดกันด้วยวิธีอย่างใดอย่างหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 487 และมิได้กำหนดระยะเวลาให้จำเลยที่ 1 ชำระราคารถยนต์ดังกล่าวไว้ด้วยย่อมเห็นได้ว่าสัญญาซื้อขายและส่งมอบรถยนต์ระหว่างจำเลยทั้งสองไม่มีลักษณะเป็นสัญญาซื้อขายกันตามปกติ การที่จำเลยที่ 2ส่งมอบรถยนต์พิพาทให้อยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 1ซึ่งประกอบกิจการขายรถยนต์เช่นเดียวกับจำเลยที่ 2 ในประการที่เห็นได้ว่าจำเลยที่ 1 จะนำรถยนต์ดังกล่าวไปขายแก่บุคคลทั่ว ๆ ไปพฤติการณ์เช่นนี้ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวการที่ไม่เปิดเผยชื่อและยอมให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทนทำการออกนอกหน้าเป็นตัวการว่าเป็นเจ้าของหรือผุ้มีสิทธิขายรถยนต์พิพาทแล้ว เมื่อโจทก์ซื้อรถยนต์พิพาทมาโดยสุจริต จำเลยที่ 2จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาซื้อขายและต้องจดทะเบียนกรรมสิทธิ์รถยนต์พิพาทพร้อมมอบสมุดจดทะเบียนให้แก่โจทก์ หากจำเลยที่ 2ไม่ดำเนินการศาลย่อมพิพากษาให้ถือคำพิพากษาของศาลเป็นการแสดงเจตนาของจำเลยที่ 2 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 408/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งไล่ออกข้าราชการตำรวจที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย การโต้แย้งสิทธิ และอำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยเพิกถอนคำสั่งและมีคำสั่งใหม่ให้โจทก์เข้ารับราชการเหมือนเดิมและให้มีคำสั่งให้โจทก์ได้รับเงินเดือนย้อนหลังหากจำเลยไม่ปฏิบัติตามขอให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยโดยโจทก์ได้บรรยายฟ้องว่าโจทก์ถูกดำเนินคดีอาญาข้อหามีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต พาอาวุธปืนไปในทางสาธารณะ หรือหมู่บ้านโดยไม่มีเหตุอันสมควร ยิงปืนในหมู่บ้านโดยไม่มี เหตุอันสมควร เมาสุราทำให้ทรัพย์สินของผู้อื่นเสียหาย และถูกพักราชการระหว่างรอฟังผลคดีอาญา ต่อมา ศาลพิพากษา ยกฟ้อง โจทก์ กองบัญชาการตำรวจภูธร 1มีคำสั่งให้โจทก์กลับเข้ารับราชการและลงโทษกักขังโจทก์มีกำหนด 60 วัน ซึ่งตามคำสั่งดังกล่าวระบุว่าเป็นการลงโทษข้อหาเสพสุราจนมีอาการมึนเมาและเสียกริยาในที่สาธารณะ ต่อมาจำเลยมีคำสั่งไล่โจทก์ออกจากราชการ ซึ่งตามคำสั่งดังกล่าวระบุว่าเป็นการลงโทษข้อหาละทิ้งหน้าที่เสพสุรามึนเมาอาละวาดทำลายทรัพย์สินของผู้อื่น และยิงปืนโดยไม่มีเหตุอันสมควรคำสั่งของจำเลยดังกล่าวเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ยุติธรรม และขัดต่อคำพิพากษาของศาลที่ถึงที่สุดแล้วดังนี้ คำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายให้เห็นว่าคำสั่ง ของจำเลยดังกล่าวได้อ้างข้อหาเมาสุราซึ่งโจทก์ถูกลงโทษ กักขัง 60 วันไปแล้ว และมีข้อหายิงปืนโดยไม่มีเหตุอันสมควร ซึ่งศาลพิพากษา ยกฟ้องถึงที่สุดไปแล้ว กับมีข้อหา ละทิ้งหน้าที่เพิ่มขึ้นอีก จึงอาจเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตามที่โจทก์อ้าง และคำสั่งไล่ออกก็เป็นคำสั่งที่มีผล กระทบต่อสถานภาพของสิทธิและหน้าที่ของโจทก์ คำฟ้องของโจทก์ถือได้ว่ามีการโต้แย้งสิทธิแล้ว โจทก์จึงมี อำนาจฟ้อง การที่ศาลชั้นต้นพิพากษา ยกฟ้อง โจทก์โดย ไม่ฟังข้อเท็จจริงตามข้ออ้างของโจทก์เสียก่อนจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 408/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเพิกถอนคำสั่งไล่ออก: การบรรยายเหตุแห่งการโต้แย้งสิทธิที่เพียงพอ
โจทก์ถูกดำเนินคดีอาญาข้อหามีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืน ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต พาอาวุธปืนไปในทางสาธารณะ หรือหมู่บ้านโดยไม่มีเหตุอันสมควร ยิงปืนในหมู่บ้านโดย ไม่มีเหตุอันสมควรเมาสุราทำให้ทรัพย์สินของผู้อื่นเสียหาย และถูกพักราชการระหว่างรอฟังผลคดีอาญา ต่อมาศาลจังหวัดอ่างทอง พิพากษายกฟ้องโจทก์ กองบัญชาการตำรวจภูธร 1 มีคำสั่ง ที่ 99/2534 ให้โจทก์กลับเข้ารับราชการและลงโทษกักขังโจทก์ มีกำหนด 60 วัน อันเป็นการลงโทษข้อหาเสพสุราจนมีอาการ มึนเมาและเสียกริยาในที่สาธารณะ แต่ต่อมาจำเลยมีคำสั่ง ที่ 983/2534 ไล่โจทก์ออกจากราชการ ซึ่งคำสั่งดังกล่าวระบุว่า เป็นการลงโทษข้อหาละทิ้งหน้าที่ เสพสุรามึนเมาอาละวาด ทำลายทรัพย์สินของผู้อื่น และยิงปืนโดยไม่มีเหตุอันสมควร คำสั่ง ของจำเลยดังกล่าวจึงอาจเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งคำสั่งไล่ออกก็เป็นคำสั่งที่มีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิ และหน้าที่ของโจทก์ ถือว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 408/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งไล่ออกข้าราชการ – การโต้แย้งสิทธิ – ผลกระทบต่อสถานภาพ – เหตุผลไม่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยเพิกถอนคำสั่งและมีคำสั่งใหม่ให้โจทก์เข้ารับราชการเหมือนเดิม และให้มีคำสั่งให้โจทก์ได้รับเงินเดือนย้อนหลังหากจำเลยไม่ปฏิบัติตามขอให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยโดยโจทก์ได้บรรยายฟ้องว่า โจทก์ถูกดำเนินคดีอาญาข้อหามีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต พาอาวุธปืนไปในทางสาธารณะหรือหมู่บ้านโดยไม่มีเหตุอันสมควร ยิงปืนในหมู่บ้านโดยไม่มีเหตุอันสมควร เมาสุราทำให้ทรัพย์สินของผู้อื่นเสียหาย และถูกพักราชการระหว่างรอฟังผลคดีอาญา ต่อมาศาลพิพากษายกฟ้องโจทก์ กองบัญชาการตำรวจภูธร 1 มีคำสั่งให้โจทก์กลับเข้ารับราชการและลงโทษกักขังโจทก์มีกำหนด 60 วัน ซึ่งตามคำสั่งดังกล่าวระบุว่าเป็นการลงโทษข้อหาเสพสุราจนมีอาการมึนเมาและเสียกริยาในที่สาธารณะ ต่อมาจำเลยมีคำสั่งไล่โจทก์ออกจากราชการ ซึ่งตามคำสั่งดังกล่าวระบุว่าเป็นการลงโทษข้อหาละทิ้งหน้าที่เสพสุรามึนเมาอาละวาดทำลายทรัพย์สินของผู้อื่น และยิงปืนโดยไม่มีเหตุอันสมควรคำสั่งของจำเลยดังกล่าวเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ยุติธรรม และขัดต่อคำพิพากษาของศาลที่ถึงที่สุดแล้ว ดังนี้ คำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายให้เห็นว่าคำสั่งของจำเลยดังกล่าวได้อ้างข้อหาเมาสุราซึ่งโจทก์ถูกลงโทษกักขัง 60 วันไปแล้ว และมีข้อหายิงปืนโดยไม่มีเหตุอันสมควรซึ่งศาลพิพากษายกฟ้องถึงที่สุดไปแล้ว กับมีข้อหาละทิ้งหน้าที่เพิ่มขึ้นอีก จึงอาจเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายตามที่โจทก์อ้าง และคำสั่งไล่ออกก็เป็นคำสั่งที่มีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิและหน้าที่ของโจทก์ คำฟ้องของโจทก์ถือได้ว่ามีการโต้แย้งสิทธิแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง การที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยไม่ฟังข้อเท็จจริงตามข้ออ้างของโจทก์เสียก่อนจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 291/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้โดยเจ้าหนี้ฟ้องลูกหนี้เองได้ และอายุความการเรียกทรัพย์คืนจากผู้ถือหุ้น
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 234 บัญญัติให้เจ้าหนี้ผู้ใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้จะต้องขอหมายเรียกลูกหนี้เข้ามาในคดีนั้นด้วย ก็เพื่อให้ลูกหนี้ได้มีโอกาสรักษาสิทธิของตน ดังนั้นการที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1เข้ามาในคดีนี้แทนการขอให้ศาลหมายเรียกจำเลยที่ 1เข้ามาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(3)จึงถือได้ว่ามีการเรียกลูกหนี้เข้ามาในคดีตามความมุ่งหมายของบทบัญญัติดังกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 4 แล้ว โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 1 แทนการขอหมายเรียกจำเลยที่ 1 ให้เข้ามาในคดีได้ หาเป็นเหตุที่จะต้องยกฟ้องโจทก์และขัดข้องที่จะพิพากษาให้จำเลยอื่นชำระหนี้แก่โจทก์โดยอ้างว่าโจทก์มิได้หมายเรียกจำเลยที่ 1 เข้ามาในคดีไม่ การที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 โดยมิได้มีคำขอบังคับให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้นั้นก็เนื่องจากศาลฎีกาเคยพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้รายเดียวกันนี้ให้แก่โจทก์ไปก่อนแล้วจึงไม่จำต้องมีคำขอบังคับจำเลยที่ 1 อีก ทั้งเมื่อมิได้มีคำขอบังคับจำเลยที่ 1 ศาลก็พิพากษาบังคับจำเลยที่ 1ไม่ได้อยู่แล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142 หาเป็นเหตุให้ฟ้องโจทก์ต้องเสียไปถึงกับยกฟ้องโจทก์ไม่ การฟ้องเรียกทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 คืนจากผู้ถือหุ้นตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1269 กฎหมายก็มิได้กำหนด อายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 291/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ (บริษัท) แทนการหมายเรียกเข้าศาล และการเรียกทรัพย์สินคืนจากผู้ถือหุ้นเพื่อชำระหนี้ภาษี
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 234 บัญญัติให้เจ้าหนี้ผู้ใช้สิทธิเรียกร้องของ ลูกหนี้จะต้องขอหมายเรียกลูกหนี้เข้ามาในคดีนั้นด้วย ก็เพื่อประสงค์ให้ลูกหนี้ได้มี โอกาสรักษาสิทธิของตน ดังนั้นการที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 เข้ามาในคดีนี้แทนการขอให้ศาลหมายเรียกจำเลยที่ 1 เข้ามาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(3) จึงถือได้ว่ามีการเรียกลูกหนี้เข้ามาในคดีตามความมุ่งหมายของบทบัญญัติ ดังกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 แล้ว โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 1 แทนการขอหมายเรียกจำเลยที่ 1 ให้เข้ามาในคดีได้ หาเป็นเหตุที่จะต้องยกฟ้องโจทก์ไม่ทั้งไม่เป็นเหตุขัดข้องที่จะพิพากษาให้จำเลยอื่นชำระหนี้แก่โจทก์โดยอ้างว่าโจทก์ มิได้หมายเรียกจำเลยที่ 1 เข้ามาในคดี โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 โดยมิได้มีคำขอบังคับให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ก็เนื่องจาก ศาลฎีกาเคยพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้รายเดียวกันนี้ให้แก่โจทก์ไปก่อนแล้วจึงไม่จำต้องมีคำขอบังคับจำเลยที่ 1 อีก ทั้งเมื่อมิได้มีคำขอบังคับจำเลยที่ 1 ศาลก็พิพากษาบังคับจำเลยที่ 1 ไม่ได้อยู่แล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 กรณีดังกล่าวหาเป็นเหตุให้ฟ้องโจทก์ต้องเสียไปถึงกับยกฟ้องโจทก์ไม่และการฟ้องเรียกทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 คืนจากผู้ถือหุ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1269 กฎหมายก็มิได้กำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 ดังนี้การที่ศาลชั้นต้น มีคำสั่งไม่รับฟ้องของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสอง ให้ศาลชั้นต้นรับฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 ไว้แล้วดำเนินกระบวนพิจารณา ตั้งแต่ให้จำเลยทั้งหมดยื่นคำให้การใหม่และพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 291/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้แทนการขอหมายเรียก และอายุความการเรียกทรัพย์สินคืนจากผู้ถือหุ้น
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 234 บัญญัติให้เจ้าหนี้ ผู้ใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้จะต้องขอหมายเรียกลูกหนี้เข้ามาในคดีนั้นด้วยก็เพื่อประสงค์ให้ลูกหนี้ได้มีโอกาสรักษาสิทธิของตน ดังนั้นการที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1เข้ามาในคดีนี้แทนการขอให้ศาลหมายเรียกจำเลยที่ 1เข้ามาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(3)จึงถือได้ว่า มีการเรียกลูกหนี้เข้ามาในคดีตามความมุ่งหมายของบทบัญญัติดังกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 4 แล้ว การที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 โดยมิได้มีคำขอบังคับให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้นั้นก็เนื่องจากศาลฎีกาเคยพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้รายเดียวกันนี้ให้แก่โจทก์ไปก่อนแล้วจึงไม่จำต้องมีคำขอบังคับจำเลยที่ 1 อีก ทั้งเมื่อมิได้มีคำขอบังคับจำเลยที่ 1 ศาลก็พิพากษาบังคับจำเลยที่ 1ไม่ได้อยู่แล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142 หาเป็นเหตุให้ฟ้องโจทก์ต้องเสียไปถึงกับยกฟ้องโจทก์ไม่ และการฟ้องเรียกทรัพย์สินของจำเลยที่ 1คืนจากผู้ถือหุ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1269กฎหมายก็มิได้กำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30