คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วุฒินันท์ สุขสว่าง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 92 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 291/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องจำเลยที่ 1 แทนการหมายเรียก และอายุความการฟ้องเรียกทรัพย์สินคืน
ป.พ.พ.มาตรา 234 บัญญัติให้เจ้าหนี้ผู้ใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้จะต้องขอหมายเรียกลูกหนี้เข้ามาในคดีนั้นด้วย ก็เพื่อประสงค์ให้ลูกหนี้ได้มีโอกาสรักษาสิทธิของตน ดังนั้นการที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 เข้ามาในคดีนี้แทนการขอให้ศาลหมายเรียกจำเลยที่ 1 เข้ามาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 57 (3) จึงถือได้ว่ามีการเรียกลูกหนี้เข้ามาในคดีตามความมุ่งหมายของบทบัญญัติดังกล่าวตาม ป.พ.พ.มาตรา 4 แล้ว โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 1 แทนการขอหมายเรียกจำเลยที่ 1 ให้เข้ามาในคดีได้ หาเป็นเหตุที่จะต้องยกฟ้องโจทก์และไม่เป็นเหตุขัดข้องที่จะพิพากษาให้จำเลยอื่นชำระหนี้แก่โจทก์โดยอ้างว่าโจทก์มิได้หมายเรียกจำเลยที่ 1 เข้ามาในคดีไม่
การที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 โดยมิได้มีคำขอบังคับให้จำเลยที่ 1ชำระหนี้นั้นก็เนื่องจากศาลฎีกาเคยพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้รายเดียวกันนี้ให้แก่โจทก์ไปก่อนแล้ว จึงไม่จำต้องมีคำขอบังคับจำเลยที่ 1 อีก ทั้งเมื่อมิได้มีคำขอบังคับจำเลยที่ 1 ศาลก็พิพากษาบังคับจำเลยที่ 1 ไม่ได้อยู่แล้ว ตาม ป.วิ.พ.มาตรา142 หาเป็นเหตุให้ฟ้องโจทก์ต้องเสียไปถึงกับยกฟ้องโจทก์ไม่ และการฟ้องเรียกทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 คืนจากผู้ถือหุ้นตาม ป.พ.พ.มาตรา 1269 กฎหมายก็มิได้กำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฟ้องของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนจึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสอง ให้ศาลชั้นต้นรับฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 ไว้แล้วดำเนินกระบวนพิจารณาตั้งแต่ให้จำเลยทั้งแปดยื่นคำให้การใหม่และพิพากษาใหม่ตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 267/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ตัวบุคคลผู้กระทำผิดในคดีชิงทรัพย์ ผู้เสียหายไม่สามารถจำหน้าคนร้ายได้อย่างชัดเจนเนื่องจากสถานการณ์และสภาพร่างกาย
ผู้เสียหายถูกชกต่อยทุบทำร้ายบริเวณใบหน้าถึง 10 กว่าครั้ง ย่อมได้รับความปวดเจ็บ ไม่น่าจะมองเห็นได้ถนัดชัดเจน ขณะเกิดเหตุเป็นเวลากลางคืน 2 นาฬิกาเศษแสงไฟฟ้าบริเวณที่เกิดเหตุมีเพียงหลอดไฟฟ้าขนาดเล็กเพียง 20 วัตต์ 2 หลอด ที่หน้าบ้านผู้เสียหายและ บ้านข้างเคียงไม่น่าจะสว่างเพียงพอให้เห็นได้ชัดเจน ทั้งปรากฏว่าคนร้ายสวมหมวกแก๊ป แสงสว่างของไฟฟ้า ที่อยู่ใต้กันสาดบ้านผู้เสียหายและบ้านข้างเคียงย่อมอยู่สูง กว่าศีรษะของคนร้ายทำให้เกิดเงามืดบริเวณใบหน้าคนร้าย ที่สวมหมวกแก๊ป ดังกล่าว ผู้เสียหายย่อมไม่อาจมองเห็น ใบหน้าคนร้ายได้ถนัดชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งระยะเวลา ตั้งแต่คนร้ายลงมาล็อกคอจนขึ้นรถจักรยานยนต์หลบหนีไปนั้น ผู้เสียหายเบิกความว่าเป็นเวลาประมาณ 1 นาที เท่านั้น เมื่อผู้เสียหายซึ่งไม่เคยเห็นหน้าคนร้ายมาก่อนและ ถูกทำร้ายทั้งชกต่อยทุบและกระทืบบริเวณใบหน้าอย่างรุนแรง จนได้รับอันตรายสาหัสจึงไม่น่าจะมีโอกาสเห็นและจำหน้า คนร้ายได้ ประกอบกับการสอบปากคำผู้เสียหายในครั้งแรกผู้เสียหายกล่าวว่าจำหน้าคนร้ายไม่ได้ และยืนยันว่าผู้เสียหายไม่ยอมชี้ตัวคนร้าย ดังนี้พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมานั้น จึงไม่เพียงพอที่จะรับฟังได้ว่าจำเลยเป็นคนร้ายที่ร่วมกับพวกชิงทรัพย์ผู้เสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของหน่วยงานราชการในการเวนคืน และสิทธิเรียกร้องค่าทดแทนที่ดินส่วนที่เหลือ
พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนฯ ระบุให้อธิบดีกรมโยธาธิการเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนตาม พระราชกฤษฎีกา แต่การดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งที่ดินตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของอำนาจหน้าที่ของกรมโยธาธิการจำเลยที่ 1 ในการทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ฯ การแจ้งวางทรัพย์และขอให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างขนย้ายทรัพย์สิน หรือการแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ก็แจ้งเป็นหนังสือออกโดยจำเลยที่ 1 ซึ่งตรงตามเจตนารมณ์ของกฎหมายที่ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 1 การที่อธิบดีกรมโยธาธิการจำเลยที่ 2 ได้ดำเนินการไปต้องถือว่ากระทำการในฐานะผู้แทนของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ด้วย
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ได้กำหนดขั้นตอนการอุทธรณ์และการฟ้องคดีของ ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนไว้แล้ว โดยผู้ที่ไม่พอใจในราคาอสังหาริมทรัพย์หรือจำนวนเงินค่าทดแทน ต้องอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 25 วรรคหนึ่งเพื่อให้รัฐมนตรีพิจารณาวินิจฉัยก่อน หากผู้มีสิทธิได้รับเงิน ไม่พอใจในคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง หรือในกรณีที่รัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 25 วรรคสองก็มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีหรือนับแต่วันพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวแล้วแต่กรณี การที่โจทก์อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีขอเงินค่าทดแทนเพิ่มในส่วนที่ดินที่ถูกเวนคืนทั้งสองแปลง และกล่าวถึงที่ดินส่วนที่เหลือว่าใช้ประโยชน์ได้น้อยไม่ได้ราคาโดยไม่ได้กล่าวอ้างว่ามีราคาลดลงเท่าใดและจะขอค่าทดแทนที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนหรือไม่ จึงไม่ถือว่าเป็นการอุทธรณ์ขอให้กำหนดเงินค่าทดแทน ที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนอันราคาลดลง เมื่อคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ ไม่ได้กำหนดเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินในส่วนที่เหลือจากการเวนคืนอันราคาลดลงให้แก่โจทก์ และโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกร้องค่าทดแทนในส่วนนี้จากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7601/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คู่สัญญาสัญญาประกัน และสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาล การดำเนินกระบวนพิจารณาตามลำดับชั้น
ตามสัญญาประกัน ว. ผู้ประกันเป็นผู้ทำสัญญาประกันไว้ต่อศาล ผู้ประกันจึงเป็นคู่สัญญากับศาล หากมีการผิดสัญญาประกันดังกล่าวผู้ประกันก็เป็นฝ่ายที่อาจถูกบังคับตามสัญญาประกันแต่เพียงผู้เดียวจำเลยมิใช่คู่สัญญาประกันกับศาล จึงหาต้องรับผิดตามสัญญาประกันหรืออาจถูกบังคับตามสัญญาประกันไม่การที่จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นของดหรือลดค่าปรับจึงไม่มีผลอันจะก่อให้เกิดสิทธิอุทธรณ์คำสั่งต่อศาลอุทธรณ์ของผู้ประกันได้ อุทธรณ์ของผู้ประกันจึงเป็นอุทธรณ์ที่มิชอบเนื่องจากมิได้เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาตามลำดับชั้นศาล ที่ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งของผู้ประกัน ซึ่งอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งยกคำร้องของดหรือลดค่าปรับของจำเลย และพิพากษายกอุทธรณ์ของผู้ประกันจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7601/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิอุทธรณ์ในสัญญาประกัน: ผู้ประกันเท่านั้นที่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งปรับจากสัญญาประกัน ไม่ใช่จำเลย
ตามสัญญาประกัน ว. ผู้ประกันเป็นผู้ทำสัญญาประกันไว้ต่อศาล ผู้ประกันจึงเป็นคู่สัญญากับศาล หากมีการผิดสัญญาประกันดังกล่าวผู้ประกันก็เป็นฝ่ายที่อาจถูกบังคับตามสัญญาประกันแต่เพียงผู้เดียว จำเลยมิใช่คู่สัญญาประกันกับศาล จึงหาต้องรับผิดตามสัญญาประกันหรืออาจถูกบังคับตามสัญญาประกันไม่การที่จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นของดหรือลดค่าปรับจึงไม่มีผลอันจะก่อให้เกิดสิทธิอุทธรณ์คำสั่งต่อศาลอุทธรณ์ของผู้ประกันได้ อุทธรณ์ของผู้ประกันจึงเป็นอุทธรณ์ที่มิชอบเนื่องจากมิได้เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาตามลำดับชั้นศาล ที่ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งของผู้ประกัน ซึ่งอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งยกคำร้องของดหรือลดค่าปรับของจำเลย และพิพากษายกอุทธรณ์ของผู้ประกันจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7395/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจนายทะเบียนสหกรณ์เพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่ที่ไม่เป็นไปตามข้อบังคับและหลักการบัญชี
โจทก์ได้มีหนังสือขอความเห็นชอบในการจัดสรรกำไรสุทธิประจำปี 2537 ต่อจำเลยในฐานะนายทะเบียนสหกรณ์ จำเลยก็มีหนังสือให้คำแนะนำแก่โจทก์ตามคำแนะนำของนายทะเบียนสหกรณ์เกี่ยวกับการปฏิบัติทางบัญชีเรื่อง การเอาประกันและการจำหน่ายทรัพย์สินถาวรของสหกรณ์ แนะนำให้โจทก์จัดสรรเป็นเงินสำรอง ค่าบำรุงสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย และจัดสรรเป็นเงินปันผลตามหุ้นที่ชำระแล้ว กำไรสุทธิที่เหลือให้สมทบเป็นเงินสำรองทั้งสิ้น เมื่อจำเลยมีหนังสือแนะนำการปฏิบัติให้โจทก์ทราบดังกล่าวแล้ว และตามข้อบังคับของโจทก์ ข้อ 33 ได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของที่ประชุมใหญ่ว่า ที่ประชุมใหญ่มีอำนาจหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยปัญหาทุกอย่างที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับกิจการของสหกรณ์ซึ่งรวมทั้งในข้อต่อไปนี้... (14) พิเคราะห์และปฏิบัติตามข้อบันทึกของนายทะเบียนสหกรณ์ฯลฯ แต่ที่ประชุมใหญ่ของโจทก์กลับไม่ปฏิบัติตามบันทึกข้อแนะนำของจำเลย โดยในการประชุมใหญ่เพื่อจัดสรรกำไรสุทธิประจำปี 2537 ได้ลงมติให้นำกำไรสุทธิมาจัดสรรเป็นเงินเฉลี่ยคืนตามส่วนแห่งราคาสินค้าที่สมาชิกได้ซื้อร้อยละ 4 จ่ายเป็นเงินโบนัสแก่กรรมการดำเนินการผู้จัดการ และเจ้าหน้าที่ร้อยละ 5 จ่ายเป็นทุนส่งเสริมสวัสดิการแก่เจ้าหน้าที่ของสหกรณ์ร้อยละ 10 และจ่ายเป็นทุนรักษาระดับการจ่ายเงินปันผลร้อยละ 10 นอกเหนือจากที่จำเลยแนะนำไว้ ดังนี้ ย่อมเห็นได้ว่ามติที่ประชุมใหญ่ของโจทก์ดังกล่าวเป็นการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามบันทึกข้อแนะนำของจำเลย ซึ่งเป็นคำแนะนำการปฏิบัติทางบัญชี เรื่อง การเอาประกันและการจำหน่ายทรัพย์สินถาวรของสหกรณ์ เพื่อให้การปฏิบัติทางบัญชีของสหกรณ์ที่มีการเอาประกันและการจำหน่ายทรัพย์สินถาวรเป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป ทั้งชอบด้วยหลักการของสหกรณ์ด้วย ดังนั้น เมื่อจำเลยเห็นว่ามติของที่ประชุมใหญ่ของโจทก์ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามบันทึกข้อแนะนำของจำเลยโดยชัดแจ้ง อันเป็นการขัดต่อข้อบังคับของโจทก์ข้อ 33 (14) จำเลยจึงอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.สหกรณ์ พ.ศ.2511มาตรา 46 สั่งเพิกถอนมตินั้นได้โดยชอบด้วยกฎหมาย
คำสั่งของจำเลยที่ให้เพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่ของโจทก์นั้นจำเลยในฐานะนายทะเบียนสหกรณ์สั่งโดยอำนาจตามความใน พ.ร.บ.สหกรณ์พ.ศ.2511 มาตรา 46 ซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะที่ใช้บังคับแก่สหกรณ์จำกัดเท่านั้นโดยมุ่งประโยชน์เพื่อควบคุมดูแล กำกับให้การดำเนินการของสหกรณ์จำกัดทุกแห่งเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเป็นประโยชน์แก่สมาชิกทั้งมวล จำเลยในฐานะนายทะเบียนหาได้มีผลประโยชน์ใด ๆ ในสหกรณ์จำกัดไม่ ระยะเวลาในการเพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่ของโจทก์จึงไม่อยู่ในระยะเวลาที่กำหนดตาม ป.พ.พ.มาตรา 1195 และเมื่อจำเลยได้เพิกถอนมติดังกล่าวก่อนการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2538 ของโจทก์ กรณีถือได้ว่าจำเลยได้ดำเนินการภายในระยะเวลาอันสมควร ทั้งการกระทำของจำเลยก็มิใช่เป็นการมิได้ใช้บังคับซึ่งสิทธิเรียกร้องภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/9 จึงไม่ขาดอายุความตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7395/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจนายทะเบียนสหกรณ์เพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่ที่ไม่ปฏิบัติตามข้อแนะนำทางบัญชีและการไม่ขาดอายุความ
มติที่ประชุมใหญ่ของสหกรณ์โจทก์เป็นการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามบันทึกข้อแนะนำของจำเลยในฐานะนายทะเบียนสหกรณ์ ซึ่งเป็นคำแนะนำการปฏิบัติทางบัญชีเพื่อให้การปฏิบัติทางบัญชีของสหกรณ์เป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป ทั้งชอบด้วยหลักการของสหกรณ์ด้วย เมื่อจำเลยเห็นว่ามติของที่ประชุมใหญ่ของโจทก์ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามบันทึกข้อแนะนำของจำเลยโดยชัดแจ้ง อันเป็นการขัดต่อข้อบังคับของโจทก์ จำเลยจึงอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติสหกรณ์พ.ศ. 2511 มาตรา 46 สั่งเพิกถอนมตินั้นได้โดยชอบด้วยกฎหมาย
คำสั่งของจำเลยที่ให้เพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่ของโจทก์ จำเลยในฐานะนายทะเบียนสหกรณ์โดยอำนาจตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2511 มาตรา 46ซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะที่ใช้บังคับแก่สหกรณ์จำกัดเท่านั้น โดยมุ่งประโยชน์เพื่อควบคุมดูแล กำกับให้การดำเนินการของสหกรณ์จำกัดทุกแห่งเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเป็นประโยชน์แก่สมาชิกทั้งมวล จำเลยหาได้มีผลประโยชน์ใด ๆ ในสหกรณ์จำกัดไม่ระยะเวลาในการเพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่ของโจทก์จึงไม่อยู่ในระยะเวลาที่กำหนดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1195 และเมื่อจำเลยได้เพิกถอนมติดังกล่าวก่อนการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2538 ของโจทก์ กรณีถือได้ว่าจำเลยได้ดำเนินการภายในระยะเวลาอันสมควรแล้ว ทั้งการกระทำของจำเลยก็มิใช่เป็นการมิได้ใช้บังคับซึ่งสิทธิเรียกร้องภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/9 จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7395/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจนายทะเบียนสหกรณ์ในการเพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่ที่ไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับและหลักการบัญชี
โจทก์ได้มีหนังสือขอความเห็นชอบในการจัดสรรกำไรสุทธิ ประจำปี 2537 ต่อจำเลยในฐานะนายทะเบียนสหกรณ์ จำเลย ก็มีหนังสือให้คำแนะนำแก่โจทก์ตามคำแนะนำของนายทะเบียนสหกรณ์ เกี่ยวกับการปฏิบัติทางบัญชี เรื่อง การ เอาประกันและ การจำหน่ายทรัพย์สินถาวรของสหกรณ์ แนะนำให้โจทก์จัดสรร เป็นเงินสำรอง ค่าบำรุงสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย และจัดสรรเป็นเงินปันผลตามหุ้นที่ชำระแล้ว กำไรสุทธิที่เหลือ ให้สมทบเป็นเงินสำรองทั้งสิ้น เมื่อจำเลยมีหนังสือแนะนำ การปฏิบัติให้โจทก์ทราบดังกล่าวแล้ว และตามข้อบังคับของโจทก์ ข้อ 33 ได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของที่ประชุมใหญ่ว่า ที่ประชุมใหญ่มีอำนาจหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยปัญหาทุกอย่าง ที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับกิจการของสหกรณ์ซึ่งรวมทั้งในข้อต่อไปนี้ (14) พิเคราะห์และปฏิบัติตามข้อบันทึกของนายทะเบียนสหกรณ์ ฯลฯ แต่ที่ประชุมใหญ่ของโจทก์กลับไม่ปฏิบัติตามบันทึกข้อแนะนำ ของจำเลย โดยในการประชุมใหญ่เพื่อจัดสรรกำไรสุทธิประจำปี 2537 ได้ลงมติให้นำกำไรสุทธิมาจัดสรรเป็นเงินเฉลี่ยคืนตามส่วน แห่งราคาสินค้าที่สมาชิกได้ซื้อร้อยละ 4 จ่ายเป็นเงินโบนัส แก่กรรมการดำเนินการผู้จัดการ และเจ้าหน้าที่ร้อยละ 5จ่ายเป็นทุนส่งเสริมสวัสดิการแก่เจ้าหน้าที่ของสหกรณ์ร้อยละ 10 และจ่ายเป็นทุนรักษาระดับการจ่ายเงินปันผลร้อยละ 10 นอกเหนือจากที่จำเลยแนะนำไว้ ดังนี้ย่อมเห็นได้ว่ามติที่ประชุมใหญ่ของโจทก์ดังกล่าวเป็นการฝ่าฝืน ไม่ปฏิบัติตามบันทึกข้อแนะนำของจำเลย ซึ่งเป็นคำแนะนำการปฏิบัติทางบัญชี เรื่อง การเอาประกันและการจำหน่ายทรัพย์สินถาวรของสหกรณ์ เพื่อให้การปฏิบัติทางบัญชี ของสหกรณ์ที่มีการเอาประกันและการจำหน่ายทรัพย์สินถาวรเป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป ทั้งชอบด้วยหลักการของสหกรณ์ด้วย ดังนั้น เมื่อจำเลยเห็นว่ามติของที่ประชุมใหญ่ของโจทก์ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามบันทึกข้อแนะนำของจำเลยโดยชัดแจ้ง อันเป็นการขัดต่อข้อบังคับของโจทก์ข้อ 33(14)จำเลยจึงอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2511มาตรา 46 สั่งเพิกถอนมตินั้นได้โดยชอบด้วยกฎหมาย คำสั่งของจำเลยที่ให้เพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่ของโจทก์นั้นจำเลยในฐานะนายทะเบียนสหกรณ์สั่งโดยอำนาจตามความในพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2511 มาตรา 46 ซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะที่ใช้บังคับแก่สหกรณ์จำกัดเท่านั้นโดยมุ่งประโยชน์เพื่อควบคุมดูแล กำกับให้การดำเนินการของสหกรณ์จำกัดทุกแห่งเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเป็นประโยชน์แก่สมาชิกทั้งมวลจำเลยในฐานะนายทะเบียนหาได้มีผลประโยชน์ใด ๆ ในสหกรณ์จำกัดไม่ ระยะเวลาในการเพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่ของโจทก์ จึงไม่อยู่ในระยะเวลาที่กำหนดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1195 และเมื่อจำเลยได้เพิกถอนมติดังกล่าว ก่อนการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2538 ของโจทก์ กรณีถือได้ว่า จำเลยได้ดำเนินการภายในระยะเวลาอันสมควร ทั้งการกระทำ ของจำเลยก็มิใช่เป็นการมิได้ใช้บังคับซึ่งสิทธิเรียกร้อง ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/9 จึงไม่ขาดอายุความตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7161/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุญาตประกอบการขนส่งใหม่ แม้ทับซ้อนเส้นทางเดิม ไม่ถือเป็นการละเมิด หากมีเหตุผลทางธุรกิจและปฏิบัติตามกฎหมาย
ป.พ.พ. มาตรา 420ป.วิ.พ. ตาราง 6 ท้าย ป.วิ.พ. ค่าทนายความพ.ร.บ. การขนส่งทางบก พ.ศ.2522พ.ร.บ. ควบคุมการขนส่งทางบก พ.ศ.2522
แม้โจทก์ได้รับอนุญาตให้ประกอบการขนส่งเส้นทางสายที่พิพาทเป็นเวลาถึง 30 ปี และกรมการขนส่งทางบกเคยกำหนดนโยบายเกี่ยวกับการให้สัมปทานเดินรถประจำทางว่า จำนวนผู้ประกอบการเดินรถสายหนึ่งไม่ควรให้เกิน1 ราย เพื่อมิให้เกิดการแย่งผู้โดยสารกัน และในการประชุมสัมมนาผู้ประกอบการขนส่งทั่วประเทศของกรมการขนส่งทางบกมีมติว่า ถ้าเส้นทางเดินรถทับซ้อนกันเกินกว่าร้อยละ30 ขึ้นไป ต้องให้ผู้ประกอบการขนส่งคนเดิมเป็นผู้ได้รับอนุญาตก็ตาม แต่นโยบายของกรมการขนส่งดังกล่าวเป็นเพียงแนวทางที่กำหนดขึ้นจากการสัมมนาของผู้ประกอบการขนส่งตามกฎหมายเก่าคือ พ.ร.บ.การขนส่ง พ.ศ.2497 ซึ่งถูกยกเลิกแล้ว โดยพ.ร.บ.การขนส่งทางบก พ.ศ.2522 ทั้งมิใช่นโยบายของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง และมิใช่ระเบียบปฏิบัติซึ่งออกใช้โดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.ควบคุมการขนส่งทางบก พ.ศ.2522 ซึ่งมีแนวทางกำหนดไว้ใหม่แล้ว จำเลยทั้งแปดจึงไม่จำต้องถือตามนโยบายเดิมอีกต่อไป และเหตุที่จำเลยทั้งแปดพิจารณาไม่ให้โจทก์ได้รับใบอนุญาตเดินรถในเส้นทางที่กำหนดขึ้นใหม่ เนื่องจากมีประชาชนร้องเรียนหลายรายว่าโจทก์ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการเดินรถหลายประการ คณะกรรมการจึงเห็นควรให้ผู้ประกอบการขนส่งรายใหม่ได้รับใบอนุญาตเพื่อให้เกิดการแข่งขันในด้านบริการซึ่งจะทำให้ประชาชนผู้ใช้บริการได้รับประโยชน์ จึงถือไม่ได้ว่า จำเลยทั้งแปดได้ปฏิบัติฝ่าฝืนระเบียบและขัดนโยบายต่อโจทก์
รายงานการประชุมครั้งที่ 2/2533 และครั้งที่ 3/2533 ของคณะกรรมการชุดจำเลยทั้งแปดเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2533 และวันที่ 26 กันยายน2533 ซึ่งลงมติให้ ส. ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง เป็นรายงานการประชุมที่ถูกต้องตามมติที่ประชุมของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดและการรับรองรายงานการประชุมเป็นวิธีปฏิบัติซึ่งกำหนดให้ทำเพื่อให้สามารถใช้บันทึกรายงานการประชุมดังกล่าวมาเป็นหลักฐานอ้างอิงว่าคณะกรรมการได้มีการประชุมเกี่ยวกับเรื่องใด มีความเห็นหรือมีมติว่าอย่างไร ดังนั้น เมื่อคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัด อ.มีมติในการประชุมให้ ส.ได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบการขนส่งในเส้นทางสายใหม่แล้ว แม้จำเลยที่ 8 จะออกใบอนุญาตไปก่อนจะมีการรับรองรายงานการประชุมครั้งดังกล่าว แต่ก็เป็นการปฏิบัติตรงตามมติของคณะกรรมการในรายงานการประชุมดังกล่าว จึงไม่เป็นการผิดกฎหมาย การที่จำเลยทั้งแปดในฐานะคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัด อ.มีมติให้ ส.ได้รับอนุญาตประกอบการขนส่งในเส้นทางสายใหม่ และจำเลยที่ 8 ในฐานะนายทะเบียนได้ออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งตามมติดังกล่าว จึงเป็นการปฏิบัติงานไปตามอำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ แม้จะทับเส้นทางเดินรถที่โจทก์ได้รับอนุญาตอยู่เดิม ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
จำเลยที่ 3 ดำเนินคดีด้วยตนเองตลอดมา มิได้แต่งทนายความแม้จำเลยที่ 3 จะเป็นพนักงานอัยการและเป็นทนายความแก้ต่างให้แก่จำเลยที่ 1 ที่ 2และที่ 4 ถึงที่ 8 ก็ไม่มีค่าทนายความที่โจทก์ควรจะใช้แทนจำเลยที่ 3 การที่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้โจทก์ใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์ แทนจำเลยทั้งแปดจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7161/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งใหม่โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย การรับรองรายงานการประชุม และการพิจารณาคำร้องเรียน
แม้โจทก์ได้รับอนุญาตให้ประกอบการขนส่งเส้นทางสายที่พิพาทเป็นเวลาถึง 30 ปี และกรมการขนส่งทางบกเคยกำหนดนโยบายเกี่ยวกับการให้สัมปทานเดินรถประจำทางว่า จำนวนผู้ประกอบการเดินรถสายหนึ่งไม่ควรให้เกิน 1 รายเพื่อมิให้เกิดการแย่งผู้โดยสารกัน และในการประชุมสัมมนาผู้ประกอบการขนส่งทั่วประเทศของกรมการขนส่งทางบก มีมติว่า ถ้าเส้นทางเดินรถทับซ้อนกันเกินกว่าร้อยละ 30 ขึ้นไป ต้องให้ผู้ประกอบการขนส่งคนเดิมเป็นผู้ประกอบการขนส่งคนเดิมเป็นผู้ได้รับอนุญาตก็ตาม แต่นโยบายของกรมการขนส่งดังกล่าวเป็นเพียงแนวทางที่กำหนดขึ้นจากการสัมมนาของผู้ประกอบการขนส่งตามกฎหมายเก่าคือพระราชบัญญัติการขนส่งพ.ศ. 2497 ซึ่งถูกยกเลิกแล้ว โดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบกพ.ศ. 2522 ทั้งมิใช่นโยบายของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง และมิใช่ระเบียบปฏิบัติซึ่งออกใช้โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติควบคุมการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 ซึ่งมีแนวทางกำหนดไว้ใหม่แล้ว จำเลยทั้งแปดจึงไม่จำต้องถือตาม นโยบายเดิมอีกต่อไป และเหตุที่จำเลยทั้งแปดพิจารณาไม่ให้โจทก์ ได้รับใบอนุญาตเดินรถในเส้นทางที่กำหนดขึ้นใหม่ เนื่องจากมีประชาชน ร้องเรียนหลายรายว่าโจทก์ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการเดินรถ หลายประการ คณะกรรมการจึงเห็นควรให้ผู้ประกอบการขนส่ง รายใหม่ได้รับใบอนุญาตเพื่อให้เกิดการแข่งขันในด้านบริการซึ่งจะทำให้ประชาชนผู้ใช้บริการได้รับประโยชน์ จึงถือไม่ได้ว่า จำเลย ทั้งแปดได้ปฏิบัติฝ่าฝืนระเบียบและขัดนโยบายต่อโจทก์ รายงานการประชุมครั้งที่ 2/2533 และครั้งที่ 3/2533ของคณะกรรมการชุดจำเลยทั้งแปดเมื่อวันที่ 24 กันยายน2533 และวันที่ 26 กันยายน 2533 ซึ่งลงมติให้ ส.ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง เป็นรายงานการประชุมที่ถูกต้องตามมติที่ประชุมของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดและการรับรองรายงานการประชุมเป็นวิธีปฏิบัติซึ่งกำหนดให้ทำเพื่อให้สามารถใช้บันทึกรายงานการประชุมดังกล่าว มาเป็นหลักฐานอ้างอิงว่าคณะกรรมการได้มีการประชุมเกี่ยวกับ เรื่องใด มีความเห็นหรือมีมติว่าอย่างไร ดังนั้น เมื่อคณะกรรมการ ควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัด อ.มีมติให้การประชุมให้ส. ได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบการขนส่งในเส้นทางสายใหม่แล้ว แม้จำเลยที่ 8 จะออกใบอนุญาตไปก่อนจะมีการรับรองรายงาน การประชุมครั้งดังกล่าว แต่ก็เป็นการปฏิบัติตรงตามมติของ คณะกรรมการในรายงานการประชุมดังกล่าว จึงไม่เป็นการผิดกฎหมาย การที่จำเลยทั้งแปดในฐานะคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัด อ.มีมติให้ส. ได้รับอนุญาตประกอบการขนส่งในเส้นทางสายใหม่ และจำเลยที่ 8 ในฐานะนายทะเบียนได้ออก ใบอนุญาตประกอบการขนส่งตามมติดังกล่าว จึงเป็นการปฏิบัติงาน ไปตามอำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ แม้จะทับเส้นทางเดินรถ ที่โจทก์ได้รับอนุญาตอยู่เดิม ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำละเมิด ต่อโจทก์ จำเลยที่ 3 ดำเนินคดีด้วยตนเองตลอดมา มิได้แต่งทนาย ความ แม้จำเลยที่ 3 จะเป็นพนักงานอัยการและเป็นทนายความแก้ต่าง ให้แก่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 8 ก็ไม่มีค่าทนายความ ที่โจทก์ควรจะใช้แทนจำเลยที่ 3 การที่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้โจทก์ ใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์ แทนจำเลยทั้งแปดจึงไม่ชอบ
of 10