คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วุฒินันท์ สุขสว่าง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 92 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6985/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนเวนคืน-เจ้าของรวม-การโอนสิทธิ-ดอกเบี้ย-หลักเกณฑ์การประเมินราคา
แม้โจทก์ที่ 1 เจ้าของรวมในที่ดินแปลงที่ถูกเวนคืนจะไม่ได้ยื่นอุทธรณ์เงินค่าทดแทน ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทน ซึ่งทำให้โจทก์ที่ 1 สิ้นสิทธิที่จะได้รับการพิจารณาอุทธรณ์เงินค่าทดแทนของโจทก์ที่ 1 จากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกาฯจำเลยที่ 3 ก็ตาม แต่ก็ไม่มีบทกฎหมายใดที่บัญญัติให้การเสียสิทธิดังกล่าวของโจทก์ที่ 1มีผลให้โจทก์ที่ 2 ที่ 4 ที่ 7 และที่ 8 ซึ่งเป็นเจ้ากรรมสิทธิ์ที่ดินร่วมกับโจทก์ที่ 1 ต้องเสียสิทธิในการอุทธรณ์เงินค่าทดแทนต่อจำเลยที่ 3 ไปด้วย
ป.พ.พ.มาตรา 1359 เป็นบทบัญญัติให้เจ้าของรวมคนหนึ่ง ๆอาจใช้สิทธิอันเกิดแก่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์ทั้งหมดเพื่อต่อสู้บุคคลภายนอกได้ ไม่ใช่บทบัญญัติให้เจ้าของรวมคนอื่น ๆ เสียสิทธิไปเพราะเหตุที่เจ้าของรวมคนหนึ่งไม่ใช้สิทธินั้น ดังนั้นการที่โจทก์ที่ 2 ที่ 4 ที่ 7 และที่ 8 ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมกับโจทก์ที่1 ได้ยื่นอุทธรณ์เงินค่าทดแทนต่อจำเลยที่ 3 ถือว่าเป็นการใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อต่อสู้บุคคลภายนอก ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1359 ย่อมเป็นผลถึงโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของรวมด้วย และเมื่อจำเลยที่ 3 มิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวให้เสร็จสิ้นภายในกำหนด 60 วันนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ ทั้งโจทก์ที่ 1 ที่ 2ที่ 4 ที่ 7 และที่ 8 ได้ฟ้องคดีต่อศาลภายใน 1 ปี นับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว จึงเป็นการฟ้องคดีถูกต้องตามขั้นตอนและภายในกำหนดเวลาตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 25 และมาตรา 26 วรรคหนึ่งโจทก์ที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 ที่ 7 และที่ 8 จึงมีอำนาจฟ้องขอเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่ม
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 16วรรคสุดท้าย บัญญัติให้นับแต่วันที่ พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา 15ใช้บังคับ ถ้าผู้มีสิทธิในทรัพย์สินนั้นโอนสิทธิให้แก่บุคคลภายนอก ผู้รับโอนนั้นมีสิทธิที่จะเรียกร้องได้ก็แต่เฉพาะเงินค่าทดแทนเท่านั้น ดังนั้น แม้การเวนคืนจะดำเนินการไปถึงขั้นตอนตาม พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ ซึ่งในกรณีนี้คือที่ดินตามฟ้องแล้ว ก็ยังสามารถโอนสิทธิกันได้ โดยกฎหมายมิได้บัญญัติห้าม เพียงแต่ผู้รับโอนไปมีสิทธิเรียกร้องได้เฉพาะแต่เงินค่าทดแทนเท่านั้นและไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าหากผู้รับโอนรู้มาก่อนว่าที่ดินดังกล่าวจะต้องถูกเวนคืนหรืออยู่ในบริเวณที่จะต้องเวนคืนตาม พ.ร.ฎ.แล้วจะเรียกเงินค่าทดแทนไม่ได้ ทั้งการกำหนดเงินค่าทดแทน กฎหมายก็บัญญัติให้มีคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นตามมาตรา 9 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530เป็นผู้พิจารณากำหนดตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 21 แห่ง พ.ร.บ.ฉบับเดียวกัน หากผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนไม่พอใจก็มีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และหากยังไม่พอใจในคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยก็มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้อีก ดังนั้น การที่โจทก์ทั้งแปดฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนที่ดินที่จะต้องเวนคืนจึงเป็นการปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายให้สิทธิไว้ แม้โจทก์ทั้งแปดจะเรียกเงินค่าทดแทนสูงกว่าราคาที่ดินที่โจทก์ซื้อมา ก็เป็นเรื่องการใช้สิทธิทางศาล ซึ่งศาลจะต้องพิจารณากำหนดให้ตามหลักเกณฑ์ที่ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 21 กำหนดไว้ กรณีไม่อาจถือได้ว่าโจทก์ทั้งแปดใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
แม้คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นได้กำหนดเงินค่าทดแทนให้โจทก์ทั้งแปดเจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนโดยใช้ราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของกรมที่ดินมาเป็นเกณฑ์ โดยคำนึงถึงสภาพและทำเลที่ตั้งของที่ดินประกอบด้วย จะไม่ครบถ้วนหลักเกณฑ์ตามที่กฎหมายกำหนดก็ตามแต่โจทก์ทั้งแปดเป็นฝ่ายกล่าวอ้างว่าโจทก์ทั้งแปดควรจะได้รับเงินค่าทดแทนตามจำนวนที่โจทก์ทั้งแปดฟ้อง จึงเป็นหน้าที่ของโจทก์ทั้งแปดจะต้องหาพยานมาสนับสนุนข้ออ้างของโจทก์ทั้งแปดดังกล่าวให้มีน้ำหนักรับฟังได้ แต่โจทก์ทั้งแปดก็ไม่ได้นำสืบว่า ในวันที่พ.ร.ฎ.ฯ มีผลใช้บังคับที่ดินของโจทก์ทั้งแปดตามฟ้องมีราคาซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดตารางวาละเท่าใด และเมื่อพยานหลักฐานของโจทก์ทั้งแปดรับฟังไม่ได้ว่าที่ดินตามฟ้องของโจทก์ทั้งแปดมีราคาสูงดังที่โจทก์ทั้งแปดฎีกา ศาลฎีกาย่อมพิเคราะห์ถึงหลักเกณฑ์ตามมาตรา 21 (1) ถึง (5) แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 แล้วกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินที่เป็นธรรมแก่โจทก์ทั้งแปดผู้ถูกเวนคืนและสังคม
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 26วรรคท้าย บัญญัติในกรณีที่รัฐมนตรีหรือศาลวินิจฉัยให้ชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้น ให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ นับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนนั้น เห็นได้ว่ากฎหมายกำหนดให้ได้รับดอกเบี้ยปรับขึ้นลงตามอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสิน เมื่อการที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์อัตราร้อยละ 10.5 ต่อปีคงที่ตลอดไป เป็นการไม่ชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้คู่ความไม่ได้อุทธรณ์ในปัญหานี้ ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเป็นดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินแต่ไม่เกินอัตราร้อยละ 10.5 ต่อปีได้แม้โจทก์จำเลยไม่ได้อุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6985/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: การคำนวณค่าทดแทนที่เหมาะสมและดอกเบี้ยตามอัตราเงินฝาก
แม้โจทก์ที่ 1 เจ้าของรวมในที่ดินแปลงที่ถูกเวนคืนจะไม่ได้ ยื่นอุทธรณ์เงินค่าทดแทน ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง จากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทน ซึ่งทำให้โจทก์ที่ 1 สิ้นสิทธิที่จะได้รับการพิจารณาอุทธรณ์เงินค่าทดแทนของโจทก์ที่ 1 จากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ผู้รักษาการตาม พระราชกฤษฎีกาฯจำเลยที่ 3 ก็ตาม แต่ก็ไม่มีบทกฎหมายใดที่บัญญัติให้การเสียสิทธิดังกล่าวของโจทก์ที่ 1 มีผลให้โจทก์ที่ 3 ก็ตาม แต่ก็ไม่มีบทกฎหมายใดที่บัญญัติให้การเสียสิทธิดังกล่าวของโจทก์ที่ 1 มีผลให้โจทก์ที่ 2 ที่ 4 ที่ 7 และที่ 8ซึ่งเป็นเจ้ากรรมสิทธิ์ที่ดินร่วมกับโจทก์ที่ 1 ต้องเสียสิทธิในการอุทธรณ์เงินค่าทดแทนต่อจำเลยที่ 3 ไปด้วย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1359 เป็นบทบัญญัติให้เจ้าของรวมคนหนึ่ง ๆ อาจใช้สิทธิอันเกิดแก่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์ทั้งหมดเพื่อต่อสู้บุคคลภายนอกได้ ไม่ใช่บทบัญญัติ ให้เจ้าของรวมคนอื่น ๆ เสียสิทธิไปเพราะเหตุที่เจ้าของรวมคนหนึ่ง ไม่ใช้สิทธินั้น ดังนั้นการที่โจทก์ที่ 2 ที่ 4 ที่ 7 และที่ 8 ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมกับโจทก์ที่ 1 ได้ยื่นอุทธรณ์เงิน ค่าทดแทนต่อจำเลยที่ 3 ถือว่าเป็นการใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อต่อสู้บุคคลภายนอก ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1359 ย่อมเป็นผล ถึงโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของรวมด้วย และเมื่อจำเลยที่ 3 มิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวให้เสร็จสิ้นภายในกำหนด 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ ทั้งโจทก์ที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 ที่ 7 และที่ 8 ได้ฟ้องคดีต่อศาลภายใน 1 ปี นับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลา ดังกล่าวแล้ว จึงเป็นการฟ้องคดีถูกต้องตามขั้นตอนและภายในกำหนด เวลาตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 25 และ มาตรา 26 วรรคหนึ่ง โจทก์ที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 ที่ 7 และที่ 8 จึงมีอำนาจฟ้องขอเงิน ค่าทดแทนที่ดินเพิ่ม พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530มาตรา 16 วรรคสุดท้าย บัญญัติให้นับแต่วันที่พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา 15 ใช้บังคับ ถ้าผู้มีสิทธิในทรัพย์สินนั้นโอนสิทธิให้แก่บุคคลภายนอก ผู้รับโอนนั้นมีสิทธิที่จะเรียกร้องได้ก็แต่เฉพาะเงินค่าทดแทนเท่านั้น ดังนั้นแม้การเวนคืนจะดำเนินการไปถึงขั้นตอนตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ ซึ่งในกรณีนี้คือที่ดินตามฟ้องแล้วก็ยังสามารถโอนสิทธิกันได้ โดยกฎหมายมิได้บัญญัติห้ามเพียงแต่ผู้รับโอนไปมีสิทธิเรียกร้องได้เฉพาะแต่เงินค่าทดแทนเท่านั้นและไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าหากผู้รับโอนรู้มาก่อนว่าที่ดิน ดังกล่าวจะต้องถูกเวนคืนหรืออยู่ในบริเวณที่จะต้องเวนคืนตาม พระราชกฤษฎีกาแล้วจะเรียกเงินค่าทดแทนไม่ได้ ทั้งการกำหนด เงินค่าทดแทน กฎหมายก็บัญญัติให้มีคณะกรรมการกำหนดราคา เบื้องต้นตามมาตรา 9 แห่ง พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืน อสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 เป็นผู้พิจารณากำหนดตาม หลักเกณฑ์ในมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติฉบับเดียวกัน หากผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนไม่ พอใจก็มีสิทธิอุทธรณ์ต่อ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และหากยังไม่พอใจในคำวินิจฉัย ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยก็มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้อีก ดังนั้น การที่โจทก์ทั้งแปดฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนที่ดินที่ จะต้องเวนคืนจึงเป็นการปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมาย ให้สิทธิไว้ แม้โจทก์ทั้งแปดจะเรียกเงินค่าทดแทนสูงกว่า ราคาที่ดินที่โจทก์ซื้อมา ก็เป็นเรื่องการใช้สิทธิทางศาล ซึ่งศาลจะต้องพิจารณากำหนดให้ตามหลักเกณฑ์ที่พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 21กำหนดไว้ กรณีไม่อาจถือได้ว่าโจทก์ทั้งแปดใช้สิทธิโดยไม่สุจริต แม้คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นได้กำหนดเงินค่าทดแทน ให้โจทก์ทั้งแปดเจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนโดยใช้ราคาประเมิน ทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิ และนิติกรรมของกรมที่ดินมาเป็นเกณฑ์ โดยคำนึงถึงสภาพและทำเล ที่ตั้งของที่ดินประกอบด้วย จะไม่ครบถ้วนหลักเกณฑ์ตามที่ กฎหมายกำหนดก็ตามแต่โจทก์ทั้งแปดเป็นฝ่ายกล่าวอ้างว่า โจทก์ทั้งแปดควรจะได้รับเงินค่าทดแทนตามจำนวนที่โจทก์ ทั้งแปดฟ้อง จึงเป็นหน้าที่ของโจทก์ทั้งแปดจะต้องหาพยานมาสนับสนุน ข้ออ้างของโจทก์ทั้งแปดดังกล่าวให้มีน้ำหนักรับฟังได้แต่โจทก์ทั้งแปดก็ไม่ได้นำสืบว่า ในวันที่พระราชกฤษฎีกาฯมีผลใช้บังคับที่ดินของโจทก์ทั้งแปดตามฟ้องมีราคาซื้อขายกัน ตามปกติในท้องตลาดตารางวาละเท่าใดและเมื่อพยานหลักฐาน ของโจทก์ทั้งแปดรับฟังไม่ได้ว่าที่ดินตามฟ้องของโจทก์ทั้งแปด มีราคาสูงดังที่โจทก์ทั้งแปดฎีกา ศาลฎีกาย่อมพิเคราะห์ถึง หลักเกณฑ์ตามมาตรา 21(1) ถึง (5) แห่งพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 แล้วกำหนดเงิน ค่าทดแทนที่ดินที่เป็นธรรมแก่โจทก์ทั้งแปดผู้ถูกเวนคืนและสังคม พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530มาตรา 66 วรรคท้าย บัญญัติในกรณีที่รัฐมนตรีหรือศาลวินิจฉัยให้ชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้น ให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้นับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนนั้น เห็นได้ว่ากฎหมายกำหนดให้ได้รับดอกเบี้ยปรับขึ้นลงตามสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินเมื่อการที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้คู่ความไม่ได้อุทธรณ์ในปัญหานี้ ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเป็นดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสิน แต่ไม่เกินอัตราร้อยละ 10.5 ต่อปีได้แม้โจทก์จำเลยไม่ได้อุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6790/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนคำร้องทุกข์และการระงับสิทธิฟ้องคดีอาญา กรณีความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
ตามรายงานประจำวันรับแจ้งเป็นหลักฐานระบุว่า"บัดนี้ผู้เสียหายไม่มีความประสงค์จะให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีกับ ช. อีกต่อไป เนื่องจากจะนำคดีฟ้องร้องในทางแพ่งเองจึงขอถอนคำร้องทุกข์" ดังนี้ แสดงว่าโจทก์ไม่ประสงค์ดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยอีกต่อไป เพราะหากโจทก์ ขอถอนคำร้องทุกข์เพื่อประสงค์ดำเนินคดีอาญาเองแล้วก็ไม่เป็นการยากที่ระบุไว้เช่นเดียวกับที่ระบุว่าจะนำคดี ไปฟ้องร้องในทางแพ่งเอง กรณีจึงถือได้ว่าโจทก์ขอถอนคำร้องทุกข์ไปโดยไม่ประสงค์ดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยอีกต่อไป สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6790/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนคำร้องทุกข์และการระงับสิทธิฟ้องคดีอาญา
ตามรายงานประจำวันรับแจ้งเป็นหลักฐานระบุว่า "บัดนี้ผู้เสียหายไม่มีความประสงค์จะให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีกับ ช.อีกต่อไป เนื่องจากจะนำคดีฟ้องร้องในทางแพ่งเองจึงขอถอนคำร้องทุกข์ " ดังนี้ แสดงว่าโจทก์ไม่ประสงค์ดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยอีกต่อไป เพราะหากโจทก์ขอถอนคำร้องทุกข์เพื่อประสงค์ดำเนินคดีอาญาเองแล้ว ก็ไม่เป็นการยากที่ระบุไว้เช่นเดียวกับที่ระบุว่าจะนำคดีไปฟ้องร้องในทางแพ่งเอง กรณีจึงถือได้ว่าโจทก์ขอถอนคำร้องทุกข์ไปโดยไม่ประสงค์ดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยอีกต่อไป สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6567/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดเรื่องทุนทรัพย์ในการฎีกา และประเด็นการครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท
ที่ดินพิพาทมีสามแปลงซึ่งโจทก์แต่ละคนอ้างว่าเป็นเจ้าของโดยที่ดินของโจทก์ทั้งสามมีเขตติดต่อกันเท่านั้นการที่จำเลยที่ 1 ออกโฉนดที่ดินทับที่ดินพิพาทของโจทก์ทั้งสามแล้วขายฝากให้แก่จำเลยที่ 2 จนกรรมสิทธิ์ตกเป็นของจำเลยที่ 2 จึงเป็นเรื่องที่โจทก์แต่ละคนถูกโต้แย้งสิทธิแม้โจทก์ทั้งสามจะฟ้องรวมกันมาก็ต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์ แต่ละคนแยกกัน ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาของโจทก์แต่ละคนไม่เกินสองแสนบาทจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่งการที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า ที่ดินพิพาทมิใช่ของโจทก์ทั้งสามแต่เป็นของจำเลยที่ 1 และได้ออกโฉนดที่ดินโดยชอบแล้วจึงขายฝากให้แก่จำเลยที่ 2 แต่จำเลยที่ 1 ไม่ไถ่ถอนคืนภายในกำหนด กรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดดังกล่าวจึงตกเป็นของจำเลยที่ 2 โดยชอบนั้น เป็นฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 3 จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวข้างต้น จำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้ว่า ที่ดินพิพาทไม่ใช่ของโจทก์ทั้งสามแต่เป็นของจำเลยที่ 1 ซึ่งครอบครองทำประโยชน์ตลอดมาหากฟังว่าโจทก์ทั้งสามมีสิทธิครอบครองจำเลยที่ 1 ก็ได้แย่งการครอบครองจากโจทก์เกินกว่า 1 ปี ส่วนจำเลยที่ 2ให้การยืนยันเพียงว่า เดิมที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่ 1ดังนั้น ตามคำให้การของจำเลยทั้งสองคงมีประเด็นข้อพิพาทเพียงว่า โจทก์ทั้งสามหรือจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทไม่อาจมีประเด็นในเรื่องการแย่งการครอบครองที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 วรรคสอง เพราะการแย่งการครอบครองจะเกิดขึ้นได้ก็แต่ในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น เมื่อจำเลยทั้งสองอ้างว่าเดิมจำเลยที่ 1 ครอบครองที่ดินพิพาท ศาลก็ไม่อาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เพราะเป็นการวินิจฉัยขัดแย้งกับประเด็นที่จำเลยทั้งสองต่อสู้ไว้ในคำให้การ ทั้งไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยฉะนั้น ที่ศาลชั้นต้นตั้งประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์ทั้งสามเป็น เจ้าของที่ดินพิพาทหรือไม่ จึงมิได้ครอบคลุมถึงว่าโจทก์ ทั้งสามมีสิทธิฟ้องเรียกคืนที่ดินพิพาทหรือไม่แต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6394/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปฏิเสธของจำเลยที่ 4 ในสัญญาประกันภัยต้องระบุเหตุผลชัดเจน หากไม่ชัดเจนจะไม่มีสิทธิในการนำสืบ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันเป็นเจ้าของผู้ครอบครองรถยนต์คันพิพาท โดยมีจำเลยที่ 4เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าว ซึ่งจำเลยที่ 4ให้การรับว่าได้รับประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าวจริงแต่ปฏิเสธว่าขณะทำสัญญาประกันภัย จำเลยที่ 2 และที่ 3ไม่มีส่วนได้เสียในรถยนต์ที่เอาประกันภัยโดยมิได้กล่าวในคำให้การว่า จำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่มีส่วนได้เสียอย่างไรคำให้การของจำเลยที่ 4 ดังกล่าวจึงไม่มีเหตุแห่งการปฏิเสธ ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 วรรคสอง จำเลยที่ 4 ไม่มีสิทธิที่จะนำสืบตามคำให้การนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5923/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อยกเว้นกรมธรรม์ประกันภัย: การตีความเฉพาะเจาะจงกรณีบาดเจ็บทางร่างกายและการคุ้มครองกรณีเสียชีวิต
ตามกรมธรรม์ประกันภัย ระบุข้อยกเว้นที่การประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันภัยฉบับนี้ไม่คุ้มครองว่า "2. ความสูญเสียหรือความเสียหายอันเกิดจากความบาดเจ็บทางร่างกายที่เกิดขึ้นในเวลาต่อไปนี้... ง. ขณะที่ผู้เอาประกันภัยเข้าร่วมทะเลาะวิวาทหรือมีส่วนยั่วยุให้เกิดการทะเลาะวิวาท" ดังนี้ ข้อยกเว้นที่จะไม่ต้องรับผิดดังกล่าวต้องตีความโดยเคร่งครัดว่า ย่อมหมายถึงเฉพาะความสูญเสียหรือความเสียหายอันเกิดจากความบาดเจ็บทางกายที่ผู้เอาประกันภัยมิได้เสียชีวิตเพราะตามกรมธรรม์มีข้อตกลงคุ้มครอง 6 ข้อ ข้อ 1. เสียชีวิตข้อ 2. สูญเสียอวัยวะและสายตา ข้อ 3. ทุพพลภาพถาวร ข้อ 4. และข้อ 5. ทุพพลภาพชั่วคราว...ข้อ 6. ค่ารักษาพยาบาล... และกรณีผู้เอาประกันภัยถูกฆาตกรรมหรือถูกลอบทำร้ายร่างกายจำนวนเงินเอาประกันภัยข้อ 1 และข้อ 2 จะเป็น 250,000 บาท ข้อยกเว้นความรับผิดดังกล่าวไม่ได้กล่าวไว้โดยชัดแจ้งถึงกรณีเสียชีวิตหรือถูกฆาตกรรมกรณีจึงไม่เข้าข้อยกเว้นการประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันภัย จำเลยต้องรับผิดชำระเงินแก่โจทก์ตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5923/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อยกเว้นกรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล กรณีผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตจากการทะเลาะวิวาท
ตามกรมธรรม์ประกันภัย ระบุข้อยกเว้นที่การประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันภัยฉบับนี้ไม่คุ้มครองว่า "2. ความสูญเสียหรือความเสียหายอันเกิดจากความบาดเจ็บทางร่างกายที่เกิดขึ้นในเวลาต่อไปนี้ ง. ขณะที่ผู้เอาประกันภัย เข้าร่วมทะเลาะวิวาทหรือมีส่วนยั่วยุให้เกิดการทะเลาะวิวาท"ดังนี้ ข้อยกเว้นที่จะไม่ต้องรับผิดดังกล่าวต้องตีความโดยเคร่งครัดว่า ย่อมหมายถึงเฉพาะความสูญเสียหรือความเสียหาย อันเกิดจากความบาดเจ็บทางกายที่ผู้เอาประกันภัยมิได้เสียชีวิต เพราะตามกรมธรรม์มีข้อตกลงคุ้มครอง 6 ข้อ ข้อ 1. เสียชีวิต ข้อ 2. สูญเสียอวัยวะและสายตา ข้อ 3. ทุพพลภาพถาวรข้อ 4. และข้อ 5. ทุพพลภาพชั่วคราว ข้อ 6. ค่ารักษาพยาบาลและกรณีผู้เอาประกันภัยถูกฆาตกรรมหรือถูกลอบทำร้ายร่างกายจำนวนเงินเอาประกันภัยข้อ 1 และข้อ 2 จะเป็น250,000 บาท ข้อยกเว้นความรับผิดดังกล่าวไม่ได้กล่าวไว้โดยชัดแจ้งถึงกรณีเสียชีวิตหรือถูกฆาตกรรม กรณีจึงไม่เข้าข้อยกเว้นการประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันภัย จำเลยต้องรับผิดชำระเงินแก่โจทก์ตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5831/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทหุ้นส่วนรับเหมา: ไม่เป็นความผิดอาญาฐานยักยอก แต่เป็นผิดสัญญา
เดิมจำเลยที่ 2 เป็นคู่สัญญากับจังหวัดเพื่อขุดลอกหนองน้ำตามสัญญาจ้าง ต่อมาจำเลยที่ 2 ว่าจ้างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ให้รับช่วงงานขุดลอกหนองน้ำดังกล่าว โจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงตกลงเข้าเป็นหุ้นส่วนกันรับงานนั้นเพื่อประสงค์จะแบ่งกำไรกัน โดยโจทก์ให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการดำเนินงาน งานที่รับช่วงมีมูลค่าประมาณ 3,100,000 บาท แม้ต่อมาจำเลยที่ 1 โอนงานงวดสุดท้ายประมาณ 1,300,000 บาท ให้แก่จำเลยที่ 4 รับทำแทน และโจทก์ยังไม่ได้รับส่วนแบ่งจากการเป็นหุ้นส่วนกับจำเลยที่ 1 ก็ตาม แต่มูลเหตุเป็นเรื่องที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำสัญญาเข้าหุ้นกันรับช่วงงานขุดลอกหนองน้ำต่อจากจำเลยที่ 2โดยโจทก์มอบให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการดำเนินการขุดลอกหนองน้ำ จำเลยที่ 1ทำงานแล้วไม่ยอมแบ่งเงินให้แก่โจทก์ ซึ่งโจทก์มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งจากการเป็นหุ้นส่วนอยู่ครึ่งหนึ่ง กรณีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงมิใช่เรื่องที่จำเลยที่ 1ทำผิดหน้าที่ในการจัดการทรัพย์สินของโจทก์โดยทุจริต แต่เป็นเรื่องผิดสัญญาทางแพ่งเรื่องหุ้นส่วนเท่านั้น คดีของโจทก์ย่อมไม่มีมูลเป็นความผิดอาญาฐานยักยอกตาม ป.อ.อาญา มาตรา 353 เมื่อการกระทำของจำเลยที่ 1 ไม่เป็นความผิด จำเลยที่ 2ถึงที่ 4 จึงไม่อาจเป็นตัวการร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1 ดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5831/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนรับช่วงงานแล้วไม่แบ่งกำไร ไม่เป็นความผิดอาญาฐานยักยอก เป็นเรื่องผิดสัญญา
เดิมจำเลยที่ 2 เป็นคู่สัญญากับจังหวัดเพื่อขุดลอกหนองน้ำตามสัญญาจ้าง ต่อมาจำเลยที่ 2 ว่าจ้างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ให้รับช่วงงานขุดลอกหนองน้ำดังกล่าว โจทก์กับ จำเลยที่ 1 จึงตกลงเข้าเป็นหุ้นส่วนกันรับงานนั้นเพื่อ ประสงค์จะแบ่งกำไรกัน โดยโจทก์ให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการ ดำเนินงาน งานที่รับช่วงมีมูลค่าประมาณ 3,100,000 บาท แม้ต่อมาจำเลยที่ 1 โอนงานงวดสุดท้ายประมาณ 1,300,000 บาท ให้แก่จำเลยที่ 4 รับทำแทน และโจทก์ยังไม่ได้รับส่วนแบ่งจากการเป็นหุ้นส่วนกับจำเลยที่ 1 ก็ตาม แต่มูลเหตุเป็นเรื่องที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำสัญญาเข้าหุ้นกันรับ ช่วงงานขุดลอกหนองน้ำต่อจากจำเลยที่ 2 โดยโจทก์มอบให้ จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการดำเนินการขุดลอกหนองน้ำ จำเลยที่ 1 ทำงานแล้วไม่ยอมแบ่งเงินให้แก่โจทก์ ซึ่งโจทก์มีสิทธิได้รับ ส่วนแบ่งจากการเป็นหุ้นส่วนอยู่ครึ่งหนึ่ง กรณีระหว่างโจทก์ กับจำเลยที่ 1 จึงมิใช่เรื่องที่จำเลยที่ 1 ทำผิดหน้าที่ ในการจัดการทรัพย์สินของโจทก์โดยทุจริต แต่เป็นเรื่อง ผิดสัญญาทางแพ่งเรื่องหุ้นส่วนเท่านั้น คดีของโจทก์ย่อม ไม่มีมูลเป็นความผิดอาญาฐานยักยอกตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 353 เมื่อการกระทำของจำเลยที่ 1 ไม่เป็นความผิด จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จึงไม่อาจเป็นตัวการ ร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1 ดังกล่าวได้
of 10