คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วุฒินันท์ สุขสว่าง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 92 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5811/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายนัดพิจารณาคดีโดยชอบด้วยกฎหมาย แม้ผู้รับเป็นผู้ลงลายมือชื่อรับแทน
เมื่อหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้นำส่งโดยเจ้าพนักงานขององค์การสื่อสารแห่งประเทศไทย มีผู้ลงลายมือชื่อรับแทนเป็นเอกสารตามใบตอบรับในประเทศของทางราชการ ทั้งการส่งก็เป็นการส่งตรงตามภูมิลำเนาของโจทก์และทนายโจทก์ที่ได้แจ้งไว้ต่อศาล จึงฟังได้ว่าได้นำส่งให้แก่โจทก์และทนายโจทก์โดยชอบแล้วตาม ป.วิ.พ.มาตรา 73 ทวิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5811/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับถือว่าชอบแล้วตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
เมื่อหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้นำส่งโดย เจ้าพนักงานขององค์การสื่อสารแห่งประเทศไทยมีผู้ลงลายมือชื่อรับแทนเป็นเอกสารตามใบตอบรับในประเทศของทางราชการ ทั้งการส่งก็เป็นการส่งตรงตามภูมิลำเนาของโจทก์และทนายโจทก์ที่ได้แจ้งไว้ต่อศาล จึงฟังได้ว่าได้นำส่งให้แก่โจทก์และทนายโจทก์โดยชอบแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 73 ทวิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5710/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวางเพลิงเผาทรัพย์ที่จำเลยเป็นเจ้าของร่วม ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 217 และ 218
จำเลยซึ่งเป็นผู้จุดไฟจนเกิดไฟไหม้บ้านเป็นเจ้าของ บ้านเกิดเหตุรวมอยู่ด้วยและเนื่องจากบทบัญญัติมาตรา 218 แห่งประมวลกฎหมายอาญา เป็นเหตุฉกรรจ์ของมาตรา 217 โดย มาตรา 218 บัญญัติให้ผู้กระทำความผิดต่อทรัพย์ที่ระบุไว้ ในมาตรา 218(1) ถึง (6) ต้องได้รับโทษหนักขึ้น ดังนั้น การกระทำอันมิได้เป็นความผิดตามมาตรา 217 แม้กระทำต่อ ทรัพย์ที่ระบุในมาตรา 218 ผู้กระทำย่อมไม่มีความผิดเช่นกัน เมื่อมาตรา 217 บัญญัติไว้แต่เพียงว่า การวางเพลิงเผาทรัพย์ ของผู้อื่นเป็นความผิดโดยไม่มีข้อความว่า "หรือผู้อื่น เป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย" ก็เป็นความผิดแล้ว จึงต้อง ตีความคำว่า "ทรัพย์ของผู้อื่น" โดยเคร่งครัด เพราะเป็น การตีความบทกฎหมายที่มีโทษทางอาญา มิอาจตีความขยายความ ออกไปให้รวมถึงทรัพย์ที่ผู้อื่นมีส่วนเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย เพื่อให้เป็นผลร้ายแก่จำเลยหรือผู้ต้องหาได้ ฉะนั้น เมื่อจำเลยเป็นเจ้าของบ้านเกิดเหตุรวมอยู่ด้วย การกระทำของ จำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามมาตรา 217 และย่อมไม่เป็นความผิดตามมาตรา 218(1) เช่นเดียวกัน การที่โจทก์ฎีกาว่าหากศาลฎีกาฟังว่าจำเลยไม่มีความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 218(1) ก็เป็นความผิดตาม มาตรา 220 วรรคสอง แต่เมื่อพิจารณาความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 220 แล้ว กรณีจะต้องเป็นการกระทำให้เกิดเพลิงไหม้แก่วัตถุใด ๆ แม้เป็นของผู้กระทำเองจนน่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคลอื่นหรือทรัพย์ของผู้อื่นซึ่งโจทก์มิได้กล่าวมาในฟ้อง จึงต้องห้ามมิให้พิพากษาลงโทษตามบทบัญญัติดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5242/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: การกำหนดราคาค่าทดแทนตามราคาตลาด ณ วันที่กฎหมายมีผลบังคับใช้ และสิทธิในการได้รับดอกเบี้ย
จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ฯ กับโจทก์เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2537 และจ่ายเงินค่าอสังหาริมทรัพย์ตามสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวให้แก่โจทก์เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2537 แม้มิใช่เป็นการดำเนินการเพื่อเวนคืนโดยอาศัย พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน.. พ.ศ. 2530 แต่การดำเนินการดังกล่าวอยู่ในระหว่างเวลาบังคับใช้ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน? พ.ศ. 2535 ซึ่งมีจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามพระราชกฤษฎีกาฉบับหลังนี้ ทำให้จำเลยที่ 2 มีอำนาจตกลงซื้อขายและกำหนดจำนวนเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ ที่จะต้องเวนคืนจากโจทก์และจ่ายเงินค่าอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวให้แก่โจทก์ จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ฯ กับโจทก์ โดยอาศัยอำนาจของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตาม พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน.. พ.ศ. 2535 การดำเนินการเพื่อเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์จึงเป็นการดำเนินการโดยอาศัย พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน? พ.ศ. 2535 และไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการกำหนดเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์ที่จะต้องเวนคืนไว้เป็นพิเศษในพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับใดโดยเฉพาะ ดังนั้น การกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่จะต้องเวนคืนจึงต้องคำนึงถึงมาตรา 21 (1) ถึง (5) แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 คือต้องคำนึงถึงราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของที่ดินของโจทก์ที่จะต้องเวนคืนตามที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน? พ.ศ. 2535 คือวันที่ 29 สิงหาคม 2535
โจทก์กับจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันตามมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2537 ดังนั้น ฝ่ายจำเลยมีหน้าที่จะต้องจ่ายเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ทั้งหมดให้แก่โจทก์ภายใน 120 วัน นับแต่วันที่ทำสัญญาซึ่งก็คือวันที่ 15 พฤษภาคม 2537 ตามมาตรา 11 วรรคหนึ่ง อันเป็นวันที่ต้องมีการจ่ายตามมาตรา 26 วรรคท้าย โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยนับแต่วันดังกล่าว ไม่ใช่คิดจากวันรับเงินค่าทดแทน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4957/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาลฎีกา, การทิ้งฎีกา, กรรมสิทธิ์ที่ดิน, ครอบครองปรปักษ์, ผลกระทบต่อค่าเสียหาย
จำเลยเข้าไปล้อมรั้วสังกะสีทำเป็นร้านอาหารในที่ดินพิพาทของโจทก์โดยถือวิสาสะ มิใช่เจตนาอย่างเป็นเจ้าของ ส่วนที่จำเลยมุงหลังคากระเบื้องและทำรั้วด้านข้างและด้านหลังนั้น จำเลยก็เพิ่งทำหลังคาและรั้วดังกล่าวเมื่อนับถึงวันที่จำเลยฟ้องแย้งยังไม่ถึง 10 ปี จำเลยจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทและเรียกค่าเสียหายก่อนฟ้อง 30,000 บาท กับค่าเสียหายอนาคตอีกเดือนละ 10,000 บาท จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยโดยการครอบครองปรปักษ์ เป็นกรณีพิพาทกันในเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดินด้วย เมื่อศาลอุทธรณ์ยกฟ้องโจทก์ โจทก์ฎีกาโดยเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเพียงตามจำนวนทุนทรัพย์ในค่าเสียหายก่อนฟ้อง โดยไม่ได้เสียค่าขึ้นศาลตามราคาที่ดินพิพาทมาด้วย ศาลฎีกาสั่งให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกาตามราคาที่ดินพิพาทให้ครบถ้วน แต่โจทก์ไม่ชำระ จึงต้องถือว่าโจทก์ทิ้งฎีกาเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับปัญหาในเรื่องกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตาม ป.วิ.พ.มาตรา 174 ประกอบมาตรา 246 และ 247 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยปัญหาดังกล่าว จึงคงมีปัญหาวินิจฉัยในปัญหาค่าเสียหายก่อนฟ้องเท่านั้น แต่เมื่อโจทก์ทิ้งฟ้องในปัญหาที่พิพาทกันในเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดินเสียแล้ว ทั้งปัญหาเรื่องค่าเสียหายก็เกี่ยวเนื่องกับปัญหาที่โจทก์ทิ้งฟ้องไม่สามารถวินิจฉัยแยกออกจากกันได้และไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง ปัญหาเรื่องค่าเสียหายก่อนฟ้องจึงไม่เป็นสาระอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ.มาตรา249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4957/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์และผลกระทบต่อค่าขึ้นศาล หากไม่ชำระค่าขึ้นศาลครบถ้วน ศาลมีอำนาจจำหน่ายคดี
จำเลยเข้าไปล้อมรั้วสังกะสีทำเป็นร้านอาหารในที่ดินพิพาทของโจทก์โดยถือวิสาสะ มิใช่เจตนาอย่างเป็นเจ้าของ ส่วนที่จำเลยมุงหลังคากระเบื้องและทำรั้วด้านข้างและด้านหลังนั้น จำเลยก็เพิ่งทำหลังคาและรั้วดังกล่าวเมื่อนับถึงวันที่จำเลยฟ้องแย้งยังไม่ถึง 10 ปี จำเลยจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทและเรียกค่าเสียหายก่อนฟ้อง 30,000 บาท กับค่าเสียหายอนาคตอีกเดือนละ 10,000 บาท จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยโดยการครอบครองปรปักษ์ เป็นกรณีพิพาทกันในเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดินด้วย เมื่อศาลอุทธรณ์ยกฟ้องโจทก์ โจทก์ฎีกาโดยเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเพียงตามจำนวนทุนทรัพย์ในค่าเสียหายก่อนฟ้อง โดยไม่ได้เสียค่าขึ้นศาลตามราคาที่ดินพิพาทมาด้วย ศาลฎีกาสั่งให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกาตามราคาที่ดินพิพาทให้ครบถ้วนแต่โจทก์ไม่ชำระ จึงต้องถือว่าโจทก์ทิ้งฎีกาเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับปัญหาในเรื่องกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174 ประกอบมาตรา 246 และ 247 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวจึงคงมีปัญหาวินิจฉัยในปัญหาค่าเสียหายก่อนฟ้องเท่านั้น แต่เมื่อโจทก์ทิ้งฟ้องในปัญหาที่พิพาทกันในเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดินเสียแล้ว ทั้งปัญหาเรื่องค่าเสียหายก็เกี่ยวเนื่องกับปัญหาที่โจทก์ทิ้งฟ้องไม่สามารถวินิจฉัยแยกออกจากกันได้และไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง ปัญหาเรื่องค่าเสียหายก่อนฟ้องจึงไม่เป็นสาระอันควรได้รับการวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4814/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการเป็นผู้จัดการมรดกสงวนไว้สำหรับทายาทตามลำดับกฎหมาย การครอบครองทำประโยชน์ภายหลังการเสียชีวิตไม่ถือเป็นผู้มีส่วนได้เสีย
คำว่า ผู้มีส่วนได้เสีย ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 วรรคหนึ่ง มีความหมายถึงผู้ได้รับประโยชน์จากทรัพย์มรดกโดยตรง มาแต่ต้นในขณะเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ในขณะเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ร. มารดาของเจ้ามรดกแม้จะมีอายุถึง 95 ปี แต่เมื่อ ร.ยังมีชีวิตอยู่ร. จึงเป็นทายาทโดยธรรมลำดับที่ 2 ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 วรรคหนึ่ง ส่วนผู้ร้องเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับเจ้ามรดก เป็นทายาทโดยธรรมลำดับที่ 3 อันเป็นลำดับถัดลงมา ผู้ร้องย่อมไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตาย ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1630 วรรคหนึ่งและการที่ผู้ร้องเข้าไปครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินอันเป็นทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกภายหลังเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ก็ถือไม่ได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามความหมายของบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวข้างต้นผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4814/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในทรัพย์มรดก: ผู้มีส่วนได้เสียคือทายาทตามลำดับกฎหมาย การครอบครองภายหลังมรณะไม่ทำให้มีสิทธิ
คำว่า ผู้มีส่วนได้เสีย ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1713 วรรคหนึ่งมีความหมายถึงผู้ได้รับประโยชน์จากทรัพย์มรดกโดยตรงมาแต่ต้นในขณะเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย
ในขณะเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ร.มารดาของเจ้ามรดกแม้จะมีอายุถึง 95 ปี แต่เมื่อ ร.ยังมีชีวิตอยู่ ร.จึงเป็นทายาทโดยธรรมลำดับที่ 2ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1629 วรรคหนึ่ง ส่วนผู้ร้องเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับเจ้ามรดก เป็นทายาทโดยธรรมลำดับที่ 3 อันเป็นลำดับถัดลงมา ผู้ร้องย่อมไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตาย ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1630 วรรคหนึ่ง และการที่ผู้ร้องเข้าไปครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินอันเป็นทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกภายหลังเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ก็ถือไม่ได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามความหมายของบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวข้างต้น ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4733/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกานี้ยืนหลักการรื้อถอนอาคารที่ฝ่าฝืนกฎหมายควบคุมอาคาร แม้แก้ไขไม่ได้ และเจ้าของ/ผู้ครอบครองต้องรับผิดชอบ
พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 เป็นกฎหมายพิเศษการฟ้องบังคับตามพระราชบัญญัติดังกล่าวเป็นเรื่องที่กฎหมายมีวัตถุประสงค์ให้อำนาจเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่จะคุ้มครองประโยชน์และความปลอดภัยแก่ประชาชนเป็นสำคัญ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นจึงฟ้องขอให้บังคับให้รื้อถอนได้เสมอหากอาคารที่ก่อสร้างโดยฝ่าฝืนกฎหมายยังคงอยู่กรณีไม่อาจนำบทบัญญัติเรื่องอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้บังคับได้ พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 42 กำหนดว่าการก่อสร้างดัดแปลงอาคารโดยฝ่าฝืนกฎหมายในกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารดำเนินการรื้อถอนอาคารนั้นทั้งหมดหรือบางส่วนได้ ดังนั้น โจทก์จึงฟ้องบังคับ จำเลยที่ 2 ในฐานะเจ้าของและจำเลยที่ 3 ในฐานะผู้ครอบครองอาคารพิพาทได้ อาคารพิพาทเป็นตึกแถว จึงอยู่ในบังคับของข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522ข้อ 76(4) ให้ต้องมีที่ว่างโดยปราศจากสิ่งปกคลุมไว้เป็นทางเดินหลังอาคารได้ถึงกันมีความกว้างไม่น้อยกว่า 2 เมตรการที่อาคารของจำเลยทุกห้องมีการดัดแปลงก่อสร้างต่อเติมเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กเต็มที่ว่างด้านหลังอาคารทุกชั้นรวมทั้งการต่อเติมอีก 2 ชั้น ดังกล่าวย่อมเห็นได้โดยสภาพว่าไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครฯ ดังกล่าวได้ นอกจากจะรื้อถอนส่วนที่ดัดแปลงก่อสร้างต่อเติมดังกล่าวออกไป การที่โจทก์สั่งให้จำเลยที่ 2ถึงที่ 5 รื้อถอนโดยไม่สั่งให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4205/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสอบสวนนิติบุคคล: ผู้มีอำนาจกระทำการแทนตามกฎหมายเท่านั้นที่พนักงานสอบสวนจะสอบสวนได้
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 7 วรรคหนึ่งบัญญัติให้ในการสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณาคดีที่นิติบุคคลเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลย ให้ออกหมายเรียกผู้จัดการหรือผู้แทนอื่น ๆของนิติบุคคลนั้น ให้ไปยังพนักงานสอบสวนหรือศาล แล้วแต่กรณีคำว่า ผู้จัดการหรือผู้แทนอื่นของนิติบุคคลตามบทบัญญัติดังกล่าวนั้นย่อมหมายถึง ผู้ที่มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลนั้นตามกฎหมายเช่น กรรมการผู้จัดการของบริษัท
พนักงานสอบสวนทำการสอบสวน ก. กรรมการคนหนึ่งของบริษัทจำเลยในฐานะตัวแทนบริษัทจำเลย โดยมิได้สอบสวน อ. กรรมการผู้จัดการและผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลยและตามบันทึกคำให้การของ ก. มีข้อความว่า ก. ไม่ขอให้การชั้นสอบสวนจะไปให้การในชั้นศาล และยังให้การว่า ก. เป็นกรรมการบริษัทจำเลย แต่ ก. ไม่มีอำนาจลงชื่อในการทำนิติกรรมของบริษัทจำเลย ทั้งไม่ปรากฏว่าบริษัทจำเลยมอบอำนาจให้ ก. กระทำการแทนบริษัทจำเลยได้ ดังนี้ พนักงานสอบสวนจึงไม่มีอำนาจสอบสวน ก. ในฐานะตัวแทนบริษัทจำเลยเกี่ยวกับคดีอาญาคดีนี้ กรณีย่อมถือไม่ได้ว่ามีการสอบสวนบริษัทจำเลยโดยชอบแล้ว พนักงานอัยการจึงไม่มีอำนาจฟ้องบริษัทจำเลยเป็นคดีนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120
of 10