คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วุฒินันท์ สุขสว่าง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 92 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8223/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีจากหลักประกันที่ไม่ชอบ ผู้ซื้อทรัพย์ไม่มีสิทธิคุ้มครอง ศาลเพิกถอนได้
การที่ผู้ประกันนำที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์ของผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลภายนอกมาเป็นหลักประกันในการประกันตัวจำเลยนั้น เป็นการไม่ชอบ เมื่อผู้ประกันผิดสัญญาประกันไม่ชำระค่าปรับ พนักงานอัยการนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินดังกล่าวออกขายทอดตลาดไม่ได้ ฉะนั้น การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีทำการขายทอดตลาดที่ดินรายนี้จึงเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ภาค 4 ลักษณะ 2 ว่าด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ศาลย่อมมีอำนาจสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดที่ไม่ชอบนั้นเสียได้เพื่อให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมตามที่เห็นสมควรตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 และ 296 วรรคสอง ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15
การขายทอดตลาดที่เป็นการบังคับคดีที่ฝ่าฝืนกฎหมายทำให้ผู้ซื้อทรัพย์ไม่มีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1330ทั้งผู้ประกันก็มิใช่ผู้ซื้อทรัพย์ จึงไม่อาจอ้างบทบัญญัติดังกล่าวมาคุ้มครองผู้ประกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8223/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีโดยใช้ทรัพย์สินของบุคคลภายนอกเป็นหลักประกัน ศาลมีอำนาจเพิกถอนการขายทอดตลาดได้
ที่ดินพิพาทเป็นของผู้ร้อง และการที่ผู้ประกันไปยื่นคำขอออกใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) และขอยกเลิกตามเอกสารหมาย ร.4ถึง ร.6 แล้ว จากนั้นกลับมีใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.)เอกสารหมาย ร.7 โดยที่เจ้าพนักงานที่ดินได้ออกใบแทนดังกล่าวตามเอกสารหมายร.7 และมิได้มีการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทไปเป็นของผู้ประกันแล้ว ผู้ประกันไม่ใช่เจ้าของที่ดินพิพาทไม่อาจนำมาใช้เป็นหลักประกันในการทำสัญญาประกันตัวจำเลยได้การที่ผู้ประกันนำทรัพย์ของผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลภายนอกมาเป็นหลักประกันในการประกันตัวจำเลยจึงเป็นการไม่ชอบ การบังคับคดีรายนี้จึงฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.ภาค 4 ลักษณะ 2 ว่าด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง ประกอบด้วยป.วิ.อ.มาตรา 15 ศาลย่อมมีอำนาจสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดที่ไม่ชอบนั้นเสียได้เพื่อให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมตามที่เห็นสมควรตาม ป.วิ.พ.มาตรา 27 และ296 วรรคสอง ประกอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 15 การขายทอดตลาดรายนี้เป็นการบังคับคดีที่ฝ่าฝืนกฎหมาย ผู้ซื้อทรัพย์จึงไม่มีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองตาม ป.พ.พ.มาตรา 1330

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7873/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้รับเหมาช่วงต่อความเสียหายที่เกิดจากการก่อสร้าง และอายุความจากการยอมรับสภาพหนี้
จำเลยเป็นเจ้าของที่ดินข้างเคียงที่ดินโจทก์ ได้ปลูกสร้างอาคารชุดสูง 33 ชั้น จำนวน 4 อาคาร เพื่อขายหรือให้เช่า ระหว่างก่อสร้างอาคารดังกล่าว บ้านและสิ่งปลูกสร้างในที่ดินของโจทก์เกิดความเสียหาย ดังนี้ จำเลยเป็นเจ้าของโครงการอาคารชุดและได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ดำเนินการก่อสร้างอาคารในโครงการทั้งหมด แม้จำเลยจะทำสัญญาว่าจ้างบริษัทอื่นให้ดำเนินการก่อสร้างในส่วนต่าง ๆ แทน แต่จำเลยก็ยังคงเป็นเจ้าของกิจการก่อสร้างในโครงการทั้งหมด และตามสัญญาว่าจ้างดังกล่าว เช่น สัญญาซื้อเสาเข็มคอนกรีตปรากฏตามสัญญาว่า จำเลยจะต้องจัดหาสถานที่สำหรับกองเสาเข็มและจัดทำทางเพื่อให้รถบรรทุกเสาเข็มเข้าไปส่งยังจุดทำงานได้โดยสะดวก และสัญญาว่าจ้างตอกเสาเข็มปรากฏตามสัญญาว่า จำเลยต้องรับผิดชอบกรณีที่มีความเสียหายของอาคารข้างเคียงเนื่องจากความสั่นสะเทือนหรือจากแรงดันของดินจากการตอกเสาเข็ม เช่นนี้ถือว่าจำเลยต้องรับผิดชอบต่อโจทก์ทั้งสองในฐานะเป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำ ตามป.พ.พ.มาตรา 428
คู่ความแถลงร่วมกันให้กรมโยธาธิการประเมินความเสียหายเกี่ยวกับตัวอาคารพิพาทและกรมโยธาธิการได้จัดส่งเอกสารสรุปผลการประเมินราคาค่าก่อสร้างมาให้แล้ว ซึ่งคู่ความยอมรับราคากลางที่กรมโยธาธิการเสนอมาและขออ้างส่งต่อศาล เป็นการแถลงรับข้อเท็จจริงต่อศาลเกี่ยวกับปริมาณค่าเสียหายของโจทก์ทั้งสองโดยมีเงื่อนไขว่าให้เป็นไปตามที่วิศวกรของกรมโยธาธิการประเมินราคา คู่ความทั้งสองฝ่ายย่อมต้องถูกผูกพันเป็นยุติตามที่วิศวกรของกรมโยธาธิการประเมินราคามา จะโต้แย้งเป็นอย่างอื่น หรืออ้างความเห็นของพยานคนใดมาหักล้างมิได้
การก่อสร้างอาคารตามโครงการของจำเลยเริ่มตั้งแต่ปี 2533 จนถึงปี 2537 ความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่อาคารและสิ่งปลูกสร้างของโจทก์ทั้งสองนั้น เป็นผลมาจากการดำเนินการก่อสร้างของจำเลยมิได้เกิดขึ้นครั้งเดียวแล้วเสร็จสิ้นไปหากแต่เกิดต่อเนื่องกันมาเป็นระยะ ๆ ตราบเท่าที่ยังมีการก่อสร้างตามโครงการของจำเลย โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2536 จึงไม่ขาดอายุความ
จำเลยได้ให้ พ. เข้าไปซ่อมบ้านของโจทก์ทั้งสองจนถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2535 อันถือเป็นการที่ลูกหนี้ได้กระทำการอันปราศจากข้อสงสัยแสดงให้เห็นเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพหนี้รายนี้ เป็นผลให้อายุความสะดุดหยุดลง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7873/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดจากการก่อสร้างอาคาร, อายุความ, การยอมรับสภาพหนี้
จำเลยเป็นเจ้าของโครงการอาคารชุดและได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ดำเนินการก่อสร้างอาคารในโครงการทั้งหมดแม้จำเลยจะทำสัญญาว่าจ้างบริษัทอื่นให้ดำเนินการก่อสร้างในส่วนต่าง ๆแทน แต่จำเลยก็ยังคงเป็นเจ้าของกิจการก่อสร้างในโครงการทั้งหมดและตามสัญญาว่าจ้างดังกล่าว เช่น สัญญาซื้อเสาเข็มคอนกรีตว่า จำเลยจะต้องจัดหาสถานที่สำหรับกองเสาเข็มและจัดทำทางเพื่อให้รถบรรทุกเสาเข็มเข้าไปส่งยังจุดทำงานได้โดยสะดวก และสัญญาว่าจ้างตอกเสาเข็มว่าจำเลยต้องรับผิดชอบกรณีที่มีความเสียหายของอาคารข้างเคียงเนื่องจากความสั่นสะเทือนหรือจากแรงดันของดินจากการตอกเสาเข็ม เช่นนี้ถือว่าจำเลยต้องรับผิดชอบต่อบุคคลภายนอกในฐานะเป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 428
คำแถลงของคู่ความมีลักษณะเป็นการแถลงรับข้อเท็จจริงต่อศาลเกี่ยวกับปริมาณค่าเสียหายของโจทก์โดยมีเงื่อนไขว่าให้เป็นไปตามที่วิศวกรของกรมโยธาธิการประเมินราคา คู่ความทั้งสองฝ่ายย่อมต้องถูกผูกพันเป็นยุติตามที่วิศวกรของกรมโยธาธิการประเมินราคามาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 84(1) คู่ความจะโต้แย้งเป็นอย่างอื่นหรืออ้างความเห็นของพยานคนใดมาหักล้างมิได้
การก่อสร้างอาคารตามโครงการของจำเลยเริ่มตั้งแต่ปี 2533จนถึงปี 2537 ความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่อาคารและสิ่งปลูกสร้างของโจทก์นั้น เป็นผลมาจากการดำเนินการก่อสร้างของจำเลย มิได้เกิดขึ้นครั้งเดียวแล้วเสร็จสิ้นไป หากแต่เกิดต่อเนื่องกันมาเป็นระยะ ๆ ตราบเท่าที่ยังมีการก่อสร้างตามโครงการของจำเลย จำเลยได้ให้ พ. เข้าไปซ่อมบ้านของโจทก์จนถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2535 อันถือเป็นการที่ลูกหนี้ได้กระทำการอันปราศจากข้อสงสัยแสดงให้เห็นเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพหนี้รายนี้เป็นผลให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/14(1) โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2536จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7703/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัย เหตุราคาขายทอดตลาดต่ำเกินควรอยู่ภายใต้บทบัญญัติมาตรา 309 ทวิ วรรคสี่ ที่ให้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์เป็นที่สุด
จำเลยยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดโดยอ้างว่าราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ไม่เหมาะสมกับสภาพทรัพย์เท่ากับอ้างว่าราคาที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์มีจำนวนต่ำเกินสมควรตามบทบัญญัติมาตรา 309 ทวิ วรรคสองแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2542 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 4 พฤษภาคม 2542จำเลยยื่นฎีกาภายหลังจากบทบัญญัติมาตรา 309 ทวิ มีผลบังคับใช้แล้วคำร้องของจำเลยจึงอยู่ภายใต้บังคับของวรรคสี่แห่งบทบัญญัติมาตราดังกล่าวซึ่งบัญญัติให้คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์ในเรื่องนี้เป็นที่สุด จำเลยไม่มีสิทธิฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7703/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการขายทอดตลาด: บทบัญญัติมาตรา 309 ทวิ วรรคสี่ แห่ง ป.วิ.พ. แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2542 เป็นที่สุด
จำเลยยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดโดยอ้างว่าราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ไป ไม่เหมาะสมกับสภาพทรัพย์ เท่ากับอ้างว่าราคาที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์มีจำนวนต่ำเกินสมควรตามบทบัญญัติมาตรา 309 ทวิ วรรคสอง แห่ง ป.วิ.พ. แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.พ. (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2542 ซึ่งมี ผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 4 พฤษภาคม 2542 จำเลยยื่นฎีกาวันที่ 13 พฤษภาคม 2542 ภายหลังจากบทบัญญัติมาตรา 309 ทวิ มีผลบังคับใช้แล้ว คำร้องของจำเลยจึงอยู่ภายใต้บังคับของวรรคสี่แห่งบทบัญญัติมาตราดังกล่าวซึ่งบัญญัติให้คำพิพากษา หรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์เป็นที่สุด ดังนั้นเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยและศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุด จำเลยไม่มีสิทธิฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7671/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษกักขังแทนจำคุกและการบวกโทษคดีเก่า ศาลอุทธรณ์พิพากษาถูกต้องตามกฎหมาย
ตาม ป.อ. มาตรา 23 ศาลจะพิพากษาให้ลงโทษกักขังผู้ใดไม่เกินสามเดือนแทนโทษจำคุกนั้น จะต้องเป็นความผิดซึ่งมีโทษจำคุก และศาลจะลงโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน ทั้งต้องไม่ปรากฏว่าผู้นั้นได้รับโทษจำคุกมาก่อน ซึ่งโทษจำคุกในที่นี้ย่อมหมายถึงการถูกจำคุกจริงตามคำพิพากษา แต่ในคดีก่อนศาลมีคำพิพากษาให้รอการลงโทษจำเลยไว้ จึงไม่มีการจำคุกจริงอันถือได้ว่าเป็นกรณีที่จำเลยไม่เคยรับโทษจำคุกมาก่อน การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาให้ลงโทษกักขังไม่เกินสามเดือนแทนโทษจำคุกนั้นจึงชอบด้วย ป.อ. มาตรา 23 แล้ว และเมื่อเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นกักขังแทนแล้ว ก็ย่อมถือไม่ได้ว่าจำเลยถูกลงโทษจำคุก จึงบวกโทษที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนเข้ากับโทษคดีนี้ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7618/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนซื้อขายที่ดินล่าช้าจากข้อจำกัดทางกฎหมาย ไม่ถือเป็นผิดสัญญา และการเลิกสัญญากลับคืนสู่ฐานะเดิม
โจทก์จำเลยไม่สามารถจดทะเบียนซื้อขายที่ดินพิพาทได้ เนื่องจากยังไม่ครบกำหนดระยะเวลาตามประกาศขายที่ดินพิพาท และการประกาศดังกล่าวเป็นการประกาศตามกฎกระทรวงฉบับที่ 35 (พ.ศ. 2531) ข้อ 5 ออกตามความใน พ.ร.บ.ให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 ซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นผู้ปิดประกาศ ฉะนั้นการที่จำเลยไม่สามารถจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์จึงเป็นพฤติการณ์ที่จำเลยไม่ต้องรับผิดชอบตาม ป.พ.พ. มาตรา 205 จำเลยจึงยังไม่ผิดนัดและไม่ผิดสัญญา และพฤติการณ์ก็ไม่ใช่ความรับผิดชอบของโจทก์เช่นกัน เมื่อโจทก์และจำเลยต่างก็ไม่ได้ผิดนัดผิดสัญญา และโจทก์ไม่ติดใจที่จะนัดจดทะเบียนโอนกันใหม่ โดยให้ทนายความมีหนังสือเรียกค่าเสียหายและเรียกมัดจำคืน ส่วนจำเลยมีหนังสือแจ้งโจทก์ขอนัดจดทะเบียนโอนกันใหม่ แต่โจทก์มิได้มีหนังสือตอบตกลงด้วย จำเลยจึงมีหนังสือถึงโจทก์ขอริบมัดจำ แสดงว่าโจทก์จำเลยต่างตกลงเลิกสัญญากันโดยปริยาย คู่สัญญาต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 จำเลยจึงต้องคืนเงินมัดจำพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7618/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดิน: การเลิกสัญญาโดยปริยายและการคืนเงินมัดจำพร้อมดอกเบี้ย
โจทก์จำเลยตกลงทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทในราคา 3,500,000 บาทโดยโจทก์วางเงินมัดจำแก่จำเลย 300,000 บาท เมื่อถึงกำหนดจดทะเบียนโอนที่ดินโจทก์จำเลยต่างไปยังสำนักงานที่ดินแต่ไม่สามารถจดทะเบียนซื้อขายที่ดินพิพาทได้เนื่องจากยังไม่ครบกำหนดระยะเวลาตามประกาศขายที่ดินพิพาท และการประกาศดังกล่าวเป็นการประกาศตามกฎกระทรวงฉบับที่ 35(พ.ศ. 2531) ข้อ 5 ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 ซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ปิดประกาศ ฉะนั้น การที่จำเลยไม่สามารถจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์จึงเป็นพฤติการณ์ที่จำเลยไม่ต้องรับผิดชอบตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 205 จำเลยจึงยังไม่ผิดนัดและไม่ผิดสัญญา และไม่ใช่ความรับผิดชอบของโจทก์ โจทก์จึงไม่ผิดนัดและไม่ผิดสัญญาเช่นกัน
จำเลยให้การว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาเนื่องจากโจทก์ไม่ไปตามนัด หาใช่เนื่องจากโจทก์ไม่รับประกาศไปปิดตามที่ตกลงกันไว้ไม่ การที่จำเลยนำสืบว่าโจทก์ไม่รับประกาศไปปิดตามที่ตกลงไว้ทำให้จำเลยไม่สามารถโอนที่ดินพิพาทในวันนัดตามสัญญาจะซื้อจะขาย จึงเป็นการนำสืบนอกประเด็น การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาเพราะไม่รับประกาศไปปิดตามที่ตกลงไว้ ทำให้จำเลยไม่สามารถโอนที่ดินพิพาทในวันนัด จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นเป็นการไม่ชอบ
เมื่อโจทก์และจำเลยต่างก็ไม่ได้ผิดนัดผิดสัญญา และโจทก์ไม่ติดใจที่จะนัดจดทะเบียนโอนกันใหม่โดยให้ทนายความมีหนังสือเรียกค่าเสียหายและเรียกมัดจำคืนส่วนจำเลยมีหนังสือแจ้งโจทก์ขอนัดจดทะเบียนโอนกันใหม่ แต่โจทก์มิได้มีหนังสือตอบตกลงด้วยแสดงว่าโจทก์จำเลยต่างตกลงเลิกสัญญากันโดยปริยายคู่สัญญาต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391จำเลยจึงต้องคืนเงินมัดจำ 300,000 บาท แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่เวลาที่ได้รับเงินไว้เป็นต้นไป แต่โจทก์ขอคิดดอกเบี้ยจากต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันผิดนัด เมื่อไม่ปรากฎว่าจำเลยผิดนัดไม่คืนมัดจำแก่โจทก์เมื่อใดจึงสมควรให้คิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7551/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ตัวผู้กระทำผิดจากการเบิกความของพยานผู้เสียหาย และพยานหลักฐานสนับสนุน
ขณะเกิดเหตุเป็นเวลา 1 นาฬิกา การที่จะมีพยานอื่นร่วมรู้เห็นเหตุการณ์ด้วยคงเป็นไปได้ยาก ผู้เสียหายที่ 1 เป็นคนขับรถยนต์แท็กซี่รับจ้างน่าจะต้องมีความระมัดระวังในการรับผู้โดยสารในยามวิกาลเป็นพิเศษ ขณะรถของผู้เสียหายที่ 1 ติดไฟสัญญาณจราจรอยู่ที่บริเวณสามเหลี่ยมดินแดง ซึ่งมีแสงสว่างจากหลอดไฟฟ้าจากตึกบริเวณนั้นและใต้ทางด่วนสามารถมองเห็นได้ จำเลยทั้งสองเดินเข้ามาที่รถ ผู้เสียหายที่ 1 ย่อมมีโอกาสเห็นรูปร่างหน้าตาของจำเลยทั้งสองได้ชัดเจน เมื่อจำเลยทั้งสองขึ้นรถแล้ว จำเลยที่ 1 พูดกับผู้เสียหายที่ 1 หลายครั้ง โดยบอกให้ไปส่งที่โรงเรียนดุสิต ขณะที่รถแล่นไปถึงกลางซอยระนอง 2 จำเลยที่ 1 บอกให้หยุดรถจากนั้นก็บอกให้เลื่อนรถไปอีก 2 ถึง 3 เมตร และขณะที่จำเลยทั้งสองจี้ชิงทรัพย์ผู้เสียหายที่ 1 จำเลยที่ 1 ก็บอกให้ผู้เสียหายที่ 1 ส่งกระเป๋าสตางค์ให้และเป็นคนปลดเข็มขัดนิรภัยพร้อมกับเอื้อมมือไปเปิดประตูรถด้านตรงข้ามและผลักตัวผู้เสียหายที่ 1 ตกลงจากรถก่อนที่จะขับรถหลบหนีไป ระยะเวลาตั้งแต่ผู้เสียหายที่ 1 เห็นจำเลยทั้งสองเดินมาขึ้นรถจนกระทั่งหลบหนีไป ผู้เสียหายที่ 1ได้มีโอกาสเห็นรูปร่างหน้าตาและใกล้ชิดจำเลยทั้งสองเป็นเวลานาน แม้จำเลยที่ 2จะนั่งอยู่ทางด้านหลัง แต่ก็อยู่ในวิสัยที่ผู้เสียหายที่ 1 สามารถสังเกตเห็นรูปร่างหน้าตาจำเลยที่ 2 ได้ หลังเกิดเหตุ ผู้เสียหายที่ 1 ก็ยืนยันต่อพนักงานสอบสวนว่าจำคนร้ายทั้งสองได้ โดยบอกว่าคนร้ายที่เป็นชายไว้ผมยาว ส่วนคนร้ายที่เป็นหญิงรูปร่างผอมสูง ประกอบกับการได้ตัวจำเลยทั้งสองมาดำเนินคดีก็เพราะจำเลยทั้งสองถูกจับกุมในข้อหาร่วมกันใช้มีดจี้ชิงทรัพย์คนขับรถยนต์แท๊กซี่ในท้องที่ของสถานีตำรวจนครบาลพหลโยธิน ในเวลาประมาณ 3 นาฬิกา พฤติการณ์แห่งคดีมีรายละเอียดคล้ายคลึงกับคนร้ายจี้ชิงทรัพย์ผู้เสียหายที่ 1 ระยะเวลาเกิดเหตุใกล้เคียงกัน เมื่อผู้เสียหายที่ 1 ชี้ตัวก็ยืนยันว่าจำเลยทั้งสองเป็นคนร้าย ซึ่งระยะเวลาตั้งแต่เกิดเหตุจนกระทั่งจับกุมจำเลยทั้งสองได้และมีการชี้ตัวห่างกันเพียง 2 วันจึงไม่มีข้อน่าสงสัยว่าผู้เสียหายที่ 1 จะจำตัวคนร้ายผิดพลาด แม้ผู้เสียหายที่ 1 จะเบิกความว่าคนร้ายทั้งสองแต่งกายด้วยเสื้อผ้าลักษณะอย่างไร สีอะไรจำไม่ได้ก็มิได้เป็นข้อพิรุธแต่ประการใดเพราะเหตุเกิดเวลากลางคืนและจำเลยทั้งสองก็ไม่ได้แต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่มีลักษณะและสีสันให้เป็นที่น่าสังเกตผิดปกติธรรมดาทั่วไป พยานหลักฐานโจทก์ที่นำสืบมาจึงมีน้ำหนักรับฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองกระทำผิดฐานชิงทรัพย์
of 10