คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ศุภชัย ภู่งาม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 288 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8991/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายยาเสพติด แม้ยังไม่ชำระเงินก็ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติด
พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 4 ได้ให้นิยามศัพท์คำว่า "จำหน่าย" หมายความว่า ขาย จ่าย แจก แลกเปลี่ยน ให้ ดังนั้น การที่จำเลยส่งมอบ 3, 4 - เมทิลลีนไดออกซีเมทแอมเฟตามีนของกลางให้แก่สายลับที่เข้าล่อซื้อแม้จะยังไม่ได้ชำระเงินให้จำเลย ก็ถือว่าเป็นการจำหน่ายตามบทกฎหมายดังกล่าวแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5549/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยืมรถและการไม่เป็นตัวแทน: จำเลยไม่ต้องรับผิดในละเมิดที่ตัวการกระทำเอง
จำเลยเป็นเจ้าของรถยนต์กระบะคันเกิดเหตุ โดยในขณะเกิดเหตุจำเลยให้นายนิดยืมเงิน 5,000 บาท โดยให้ น.ขับรถยนต์ของจำเลยคันดังกล่าวไปรับเงินจากภรรยาของจำเลย แล้ว น.ขับรถยนต์ไปเฉี่ยวชนกับรถจักรยานยนต์คันอื่นโดยละเมิด เป็นเหตุให้ ณ. และ บ.ถึงแก่ความตาย เมื่อการที่ น.นำรถยนต์ที่จำเลยให้ยืมเพื่อไปรับเงินที่จำเลยให้ยืมจากภรรยาของจำเลยนั้น มิใช่เป็นการทำการแทนจำเลย แต่เป็นการทำเพื่อกิจการและประโยชน์ของ น.เอง ดังนี้ น.จึงมิใช่ตัวแทนของจำเลย จำเลยย่อมไม่ต้องรับผิดในผลแห่งละเมิดซึ่ง น.ได้กระทำไปดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8461/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องขับไล่จำกัดเฉพาะเจ้าของกรรมสิทธิ์ การสิ้นสุดสิทธิการใช้ประโยชน์ส่งผลต่ออำนาจฟ้อง
โจทก์เป็นเพียงแต่ผู้ได้รับอนุญาตจากทางสุขาภิบาลป่าตองให้ทำการก่อสร้างอาคารชั้นเดียวจำนวน 15 คูหา รวมทั้งห้องพิพาทลงบนที่ดิน ซึ่งที่ดินดังกล่าวยังมีคดีพิพาทกันอยู่ระหว่างนางสาว จ. เจ้าของที่ดินกับนาย อ. นางสาว จ. อนุญาตให้โจทก์ใช้ที่ดินอยู่จนถึงเมื่อศาลฎีกาในคดีดังกล่าวมีคำพิพากษา เมื่อคดีได้ความว่าศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2537 โจทก์จึงต้องคืนการใช้ที่ดินและยกสิ่งปลูกสร้าง รวมทั้งห้องพิพาทให้แก่นางสาว จ. ตามที่ตกลงกันไว้ ดังนั้น สิ่งก่อสร้างบนพื้นดินย่อมตกเป็นของนางสาว จ. ตามหลักเรื่องส่วนควบตั้งแต่วันที่ 27 เมษายน 2537 เป็นต้นไป ฉะนั้น ขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้โจทก์จึงไม่ใช่เจ้าของห้องพิพาท จำเลยทำสัญญาเช่าห้องพิพาทกับโจทก์เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2536 สัญญาเช่าสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2537 หลังจากสัญญาเช่าสิ้นสุดลงแล้วจำเลยก็มิได้ทำสัญญาเช่ากับโจทก์อีก โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2537 ซึ่งขณะที่ฟ้องโจทก์ไม่ได้เป็นเจ้าของห้องพิพาทแล้ว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7872/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บ้านปลูกบนที่ดินเช่าราชพัสดุไม่เป็นส่วนควบของที่ดิน การโอนสิทธิเช่าไม่สมบูรณ์หากไม่จดทะเบียนตามกฎหมาย
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 146 ทรัพย์ซึ่งติดกับที่ดินหรือติดกับโรงเรือนเพียงชั่วคราวไม่ถือว่าเป็นส่วนควบกับที่ดินหรือโรงเรือนนั้น ความข้อนี้ให้ใช้บังคับแก่โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นซึ่งผู้มีสิทธิในที่ดินของผู้อื่นใช้สิทธินั้นปลูกสร้างไว้ในที่ดินนั้นด้วย ป. ซึ่งเป็นผู้เช่าที่ดินราชพัสดุได้ใช้สิทธิในการเช่าปลูกสร้างบ้านพิพาทลงในที่ดินราชพัสดุ บ้านพิพาทจึงไม่ตกเป็นส่วนควบของที่ดินราชพัสดุ
การจดทะเบียนการโอนสิทธิการเช่าที่ดินราชพัสดุจากบุคคลผู้มีสิทธิไปยังบุคคลอื่นต่อเจ้าหน้าที่ของทางราชการ หาใช่เป็นการจดทะเบียนการให้อสังหาริมทรัพย์ไม่ เพราะการโอนบ้านพิพาทซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์จะต้องปฏิบัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 456, 525 ประกอบ ป. ที่ดิน มาตรา 71 คือ ไปจดทะเบียนการได้รับการยกให้บ้านพิพาทต่อเจ้าพนักงานที่ดินตาม ป. ที่ดิน ฉะนั้นการโอนไปซึ่งสิทธิการเช่าที่ดินราชพัสดุยังถือไม่ได้ว่าเป็นการยกให้บ้านพิพาทเพราะยังไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด การยกให้บ้านพิพาทไม่สมบูรณ์ ไม่มีผลให้บ้านพิพาทโอนตกไปยังผู้รับโอน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7171/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาอุทธรณ์ต้องมีเหตุพิเศษ การอ้างเหตุผลล่าช้าในการเบิกจ่ายเงินค่าธรรมเนียมเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอ
จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ในคดีแพ่งไปแล้วถึง 2 ครั้ง ครั้งแรกอ้างว่ายังคัดคำพิพากษาไม่แล้วเสร็จโดยขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปอีก 30 วัน ครั้งที่สองอ้างว่า ค่าขึ้นศาลและค่าฤชาธรรมเนียมใช้แทนโจทก์จำเลยที่ 2 จำเป็นต้องใช้ระยะเวลาเบิกจ่ายจึงขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปอีก30 วัน ศาลชั้นต้นอนุญาต ซึ่งเท่ากับว่าศาลชั้นต้นเห็นว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษ และระยะเวลานับแต่จำเลยทราบคำพิพากษาศาลชั้นต้นจนถึงวันครบกำหนดระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตเป็นเวลานานถึง 64 วัน ซึ่งเป็นเวลาอันสมควรที่จำเลยจะเบิกจ่ายเงินดังกล่าวได้แล้ว แต่จำเลยกลับยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ออกไปอีกเป็นครั้งที่สามโดยมิได้อ้างเหตุพฤติการณ์พิเศษ คงอ้างแต่เพียงว่าจำเลยที่ 2 ยังมิได้ส่งเงินดังกล่าวมายังพนักงานอัยการทนายจำเลยที่ 2 เท่านั้น ซึ่งมิใช่พฤติการณ์พิเศษ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องของจำเลยที่ 2 นั้น ชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7171/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาอุทธรณ์ต้องมีเหตุผลพิเศษ หากศาลเห็นว่าระยะเวลาที่ให้เพียงพอแล้ว การอ้างเหตุเดิมซ้ำจะไม่ได้รับการพิจารณา
จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ในคดีแพ่งไปแล้วถึง 2 ครั้งครั้งแรกอ้างว่ายังคัดคำพิพากษาไม่แล้วเสร็จโดยขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปอีก 30 วัน ครั้งที่สองอ้างว่า ค่าขึ้นศาลและค่าฤชาธรรมเนียมใช้แทนโจทก์จำเลยที่ 2 จำเป็นต้องใช้ระยะเวลาเบิกจ่ายจึงขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปอีก 30 วัน ศาลชั้นต้นอนุญาต ซึ่งเท่ากับว่าศาลชั้นต้นเห็นว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษและระยะเวลานับแต่จำเลยทราบคำพิพากษาศาลชั้นต้นจนถึงวันครบกำหนดระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตเป็นเวลานานถึง 64 วัน ซึ่งเป็นเวลาอันสมควรที่จำเลยจะเบิกจ่ายเงินดังกล่าวได้แล้ว แต่จำเลยกลับยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ออกไปอีกเป็นครั้งที่สามโดยมิได้อ้างเหตุพฤติการณ์พิเศษ คงอ้างแต่เพียงว่าจำเลยที่ 2 ยังมิได้ส่งเงินดังกล่าวมายังพนักงานอัยการทนายจำเลยที่ 2 เท่านั้นซึ่งมิใช่พฤติการณ์พิเศษ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องของจำเลยที่ 2 นั้น ชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7143/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคิดค่าทดแทนเวนคืนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแยกประเภทเป็นไปตามกฎหมาย
การกำหนดค่าทดแทนสำหรับที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในที่ดินนั้นต้องปฏิบัติตามมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ซึ่งกำหนดเงินค่าทดแทนให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายซึ่งที่ดินที่ต้องเวนคืนไว้ในมาตรา 18 (1) และกำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่เจ้าของโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นที่รื้อถอนไม่ได้ ซึ่งมีอยู่ในที่ดินที่ต้องเวนคืนไว้ในมาตรา 18 (2) แยกประเภทกัน ดังนั้น การคิดค่าทดแทนสำหรับที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในที่ดินที่ถูกเวนคืนแยกจากกันจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5624/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานหลักฐานที่เป็นสำเนาเอกสารที่เจ้าพนักงานรับรอง แม้ผู้รับรองไม่มีอำนาจโดยตรง แต่เอกสารตรงกับต้นฉบับและไม่มีการโต้แย้ง
แม้สำเนารายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีที่โจทก์อ้างส่งศาลมีสิบตำรวจตรี ม. ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจลงชื่อรับรองสำเนาเอกสารดังกล่าวโดยไม่มีอำนาจหน้าที่ก็ตาม แต่เมื่อมิใช่เป็นข้อสาระสำคัญ เพราะในชั้นพิจารณาไม่ปรากฏว่าเอกสารดังกล่าวไม่ตรงกับต้นฉบับ ทั้งจำเลยมิได้คัดค้านโต้แย้งความถูกต้องแท้จริงของเอกสารนี้ เมื่อเป็นสำเนาเอกสารที่เจ้าพนักงานรับรองว่าถ่ายมาจากต้นฉบับจริงย่อมรับฟังได้โดยชอบ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 238

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5198/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนรถเช่าซื้อของกลาง: สิทธิเจ้าของแท้จริง ผู้เช่าซื้อกระทำผิด ไม่ถือเป็นการสนับสนุนความผิดหรือใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
พ. หุ้นส่วนผู้จัดการของผู้ร้องยื่นเอกสารต่อรองผู้กำกับหัวหน้าสถานีตำรวจภูธรอำเภอ แม้ในเอกสารจะมีข้อความว่าขอท่านได้โปรดมีคำสั่งคืนรถจักรยานยนต์ที่เจ้าพนักงานตำรวจยึดมาให้แก่ผู้ร้องด้วย การยื่นเอกสารดังกล่าวหาใช่เป็นการขอคืนของกลางตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36 แต่อย่างใดไม่ นอกจากนี้เอกสารดังกล่าวผู้ร้องได้ยืนยันว่ารถจักรยานยนต์ที่เจ้าพนักงานตำรวจยึดมาเป็นของผู้ร้องผู้ร้องมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำผิดที่เกิดขึ้นก็เป็นเรื่องที่ผู้ร้องยืนยันถึงสิทธิของผู้ร้องในรถจักรยานยนต์ของกลาง และแม้จะได้ความว่าหลังจากทราบว่าได้ใช้รถจักรยานยนต์ในการกระทำผิดแล้วผู้ร้องยังรับชำระค่าเช่าซื้อจากผู้เช่าซื้ออีก 4 งวดและเพิ่งจะมาบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2540 แต่ศาลชั้นต้นก็พิพากษาให้ริบรถจักรยานยนต์เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2540 พฤติการณ์ดังกล่าวก็ยังไม่มีเหตุที่จะฟังว่าผู้ร้องขอคืนรถของกลางเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่นและเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตแต่ประการใดไม่ การที่โจทก์ฎีกาว่า ผู้ร้องได้มอบรถจักรยานยนต์ไปโดยยังไม่ได้จดทะเบียนโอนเป็นการสนับสนุนให้มีการกระทำผิดกฎหมายและหากมีผู้นำรถจักรยานยนต์ไปกระทำความผิดกฎหมาย ย่อมเป็นการยากที่เจ้าพนักงานตำรวจจะทำการสอบสวนหาตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษ ฎีกาของโจทก์ไม่ถือว่าพฤติการณ์ของผู้ร้องเช่นนี้ เป็นการขอคืนของกลางที่เป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น เพราะเป็นการคาดการณ์ที่ไกลเกินเหตุเนื่องจากในเรื่องเช่าซื้อรถจักรยานยนต์นี้เมื่อมีการทำสัญญาเช่าซื้อกันเป็นหนังสือตลอดจนมีการค้ำประกันแล้ว ผู้ให้เช่าซื้อก็จะส่งมอบรถจักรยานยนต์ที่เช่าซื้อให้แก่ผู้เช่าซื้อไป เป็นกรณีที่ปฏิบัติกันเป็นปกติธรรมดาโดยทั่วไป หาใช่เป็นการผิดธรรมดาวิสัยแต่อย่างใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5176/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองเมทแอมเฟตามีนและอีเฟดรีนเพื่อจำหน่าย และความผิดกรรมเดียวจากยาเสพติดประเภท 1
การมีเมทแอมเฟตามีน2,000เม็ดและอีเฟดรีน 4,600 เม็ด โดยไม่ปรากฏเหตุผลความจำเป็นอย่างอื่น ผิดปกติวิสัยที่จะมีไว้เพื่อเสพเอง ทั้งมีการแบ่งบรรจุในถุงพลาสติก4 ถุง ถุงละ 200 เม็ด เท่า ๆ กัน ประกอบกับในขณะจับกุมจำเลยที่ 1 รับสารภาพว่ามีวัตถุออกฤทธิ์ไว้เพื่อขาย จึงรับฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 มีเมทแอมเฟตามีนและอีเฟดรีน ไว้เพื่อขายจริง
ในระหว่างพิจารณาคดีมีประกาศกระทรวงสาธารณสุขบังคับใช้แล้วและมีผลให้เมทแอมเฟตามีนไม่เป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อไป แต่เป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 การที่จำเลยมีเมทแอมเฟตามีน ไว้ในครอบครองเกินปริมาณเพื่อขาย และมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเป็นการกระทำความผิดในวาระเดียวกันจับได้พร้อมกัน แม้วัตถุแห่งการกระทำความผิดต่างชนิดกันแต่ก็เป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ด้วยกัน จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท
ความผิดฐานมียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 66 มีโทษหนักกว่าความผิดฐานมีวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ไว้ในครอบครองเพื่อขายตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 89 ดังนั้นจึงต้องนำกฎหมายที่ใช้ขณะกระทำความผิดซึ่งเป็นคุณแก่จำเลยลงโทษแก่จำเลยทั้งสอง
การมีเมทแอมเฟตามีนและอีเฟดรีนไว้ในครอบครองเพื่อขายในขณะเดียวกันย่อมเป็นความผิดกรรมเดียว และเป็นกรรมเดียวกับการมีไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีกำหนด
of 29