คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ศุภชัย ภู่งาม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 288 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2015-2016/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิรโทษกรรมความผิดจากการชุมนุม: ศาลยุติธรรมผูกพันตามคำวินิจฉัยตุลาการรัฐธรรมนูญ
ตุลาการรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยไว้ในคำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ที่ 2/2535 ลงวันที่ 22 กรกฎาคม 2535 ว่า การออก พ.ร.ก.นิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำความผิดเนื่องในการชุมนุมกันระหว่างวันที่ 17 พฤษภาคมพ.ศ. 2535 ถึงวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 พ.ศ. 2535 ซึ่งออกใช้บังคับเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2535 เป็นไปตามมาตรา 172 วรรคหนึ่ง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 แล้ว คำวินิจฉัยดังกล่าวย่อมเป็นเด็ดขาดตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 มาตรา 209 และมีผลผูกพันศาลยุติธรรมตามมาตรา 268
ตุลาการรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยไว้ในคำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ที่ 3/2535 ลงวันที่ 9 พฤศจิกายน 2535 ว่า ข้อความที่ว่ากิจการที่ได้เป็นไปในระหว่างที่ใช้ พ.ร.ก.นิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำความผิดฯ พ.ศ.2535 มีผลว่า นับตั้งแต่วันที่ 23 พฤษภาคม 2535 ซึ่งเป็นวันที่ พ.ร.ก. ฉบับดังกล่าวมีผลใช้บังคับ การกระทำทั้งหลายทั้งสิ้นของบุคคลที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมกันระหว่างวันที่ 17 พฤษภาคม 2535 ถึงวันที่ 21 พฤษภาคม 2535 และได้กระทำในระหว่างวันดังกล่าว ถ้าการกระทำนั้นผิดกฎหมายผู้กระทำย่อมพ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิงไปทันที และการพ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิงนี้ย่อมมีอยู่ตลอดไปโดยไม่ถูกกระทบกระเทือนจากการที่ พ.ร.ก.ฉบับนี้ตกไปเนื่องจากสภาผู้แทนราษฎรไม่อนุมัติ เพราะ พ.ร.ก. ก็มีผลใช้บังคับเป็นกฎหมายเช่นเดียวกับพ.ร.บ.ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 172 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2534 การไม่อนุมัติพระราชกำหนดนิรโทษกรรมฉบับนี้ ไม่มีผลกระทบกระเทือนถึงผู้ซึ่ง พ.ร.ก. บัญญัติให้พ้นจากความผิดและความรับผิดไปแล้วไม่ว่าบุคคลนั้นจะถูกร้องทุกข์ ถูกกล่าวโทษ หรือถูกดำเนินคดีตามกฎหมายแล้วหรือไม่ก็ตาม คำวินิจฉัยของตุลาการรัฐธรรมนูญดังกล่าวย่อมเป็นเด็ดขาดและมีผลผูกพันศาลยุติธรรมเช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2014/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการเรียกร้องค่าสินค้าซื้อขายแบบติดตั้งพิเศษ เริ่มนับเมื่อติดตั้งสมบูรณ์และจำเลยรับมอบ
สินค้าที่จำเลยสั่งซื้อจากโจทก์ต้องจัดทำขึ้นเป็นพิเศษแล้วนำไปติดตั้งในสถานที่ของจำเลย ทั้งต้องมีการทดสอบการใช้ระยะหนึ่ง โจทก์นำสินค้าไปติดตั้งและดำเนินการแก้ไขให้สมบูรณ์เป็นที่เรียบร้อย โดยจำเลยลงลายมือชื่อ รับสินค้าเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2536 เมื่อตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/12 อายุความให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้อง ได้เป็นต้นไป โจทก์ย่อมบังคับสิทธิเรียกร้องได้ก็ต่อเมื่อ สินค้าที่ซื้อขายติดตั้งเรียบร้อยและผ่านการทดสอบว่า ใช้งานได้ดีและจำเลยยอมรับมอบสินค้านั้นแล้ว อายุความจึงเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2536

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2014/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความเริ่มนับเมื่อติดตั้งและทดสอบสินค้าเรียบร้อย พร้อมการยอมรับมอบสินค้า
สินค้าที่จำเลยสั่งซื้อจากโจทก์ต้องจัดทำขึ้นเป็นพิเศษ แล้วนำไปติดตั้งในสถานที่ของจำเลย ทั้งต้องมีการทดสอบการใช้ระยะหนึ่ง โจทก์นำสินค้าไปติดตั้งให้และดำเนินการแก้ไขให้สมบูรณ์เป็นที่เรียบร้อย โดยจำเลยลงลายมือชื่อรับสินค้าเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2536 เมื่อตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/12 อายุความให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป โจทก์ย่อมบังคับสิทธิเรียกร้องได้ก็ต่อเมื่อสินค้าที่ซื้อขายติดตั้งเรียบร้อยและผ่านการทดสอบว่าใช้งานได้ดีและจำเลยยอมรับมอบสินค้านั้นแล้ว อายุความจึงเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2536

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1981/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม การใช้ทางร่วม และการขัดขวางสิทธิของเจ้าของรวมคนอื่น
โจทก์ทั้งสาม จำเลยและบุคคลอื่นเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาท เมื่อไม่ปรากฏว่าเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินดังกล่าวได้มีการแบ่งแยกกันครอบครองเป็นส่วนสัด แม้โจทก์ทั้งสามจะใช้ทางพิพาทมานานเพียงใด ก็เป็นเพียงการใช้สิทธิของเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมเท่านั้น ไม่ก่อให้เกิดสิทธิภาระจำยอมในทางพิพาทแต่อย่างใด
จำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมคนหนึ่ง จึงมีสิทธิที่จะใช้ทางพิพาทได้ แต่การใช้นั้นต้องไม่ขัดต่อสิทธิแห่ง เจ้าของรวมคนอื่น ๆ การที่จำเลยปิดกั้นทางเดินพิพาทย่อมเห็นได้ว่าเป็นการขัดต่อสิทธิของโจทก์ทั้งสามซึ่งเป็น เจ้าของรวมด้วย
การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยว่ากรณีเป็นเรื่องการใช้สิทธิของเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม แม้โจทก์ทั้งสามจะตั้งรูปเรื่องฟ้องคดีมาโดยอ้างว่าเป็นทางภาระจำยอม แต่เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าเป็นกรณีพิพาทระหว่างเจ้าของรวม ศาลมีอำนาจที่จะยกบทกฎหมายที่ถูกต้องขึ้นปรับได้ ที่ศาลชั้นต้นให้จำเลยรื้อถอนประตูไม้สังกะสีออกไปจากทางพิพาทนั้น ศาลอุทธรณ์ภาค 2 เห็นด้วยในผล พิพากษายืน โดยที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอม การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืน คำพิพากษาจึงมีผลไม่ตรงกับการวินิจฉัย ถือว่าคำวินิจฉัยและคำพิพากษาขัดกัน เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้เสียให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1978/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีปลอมแปลงเอกสาร: ศาลแขวงมีอำนาจพิจารณาคดีปลอมแปลงเอกสารธรรมดา แต่ต้องฟ้องภายในกำหนดเวลา
พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องคดีอาญาต่อศาลชั้นต้นซึ่งมิใช่ ศาลแขวงโดยบรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันปลอม หนังสือมอบอำนาจของผู้เสียหาย ซึ่งเป็นเอกสารสิทธิและ ร่วมกันใช้เอกสารสิทธิปลอมดังกล่าว ขอให้ลงโทษตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265 ซึ่งมีโทษจำคุกตั้งแต่ หกเดือนถึงห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท ซึ่งข้อหาดังกล่าวเกินอำนาจพิจารณาของศาลแขวง กรณีจึง ไม่อยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวง และวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 7 การที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองต่อศาลชั้นต้นจึงชอบด้วยกฎหมายแล้วแม้ศาลชั้นต้นจะพิพากษาว่าจำเลยทั้งสองมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264 และ 268 ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 265 ก็ไม่ทำให้อำนาจฟ้องของโจทก์เปลี่ยนแปลงไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1978/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแขวงและความชอบด้วยกฎหมายในการฟ้องคดีอาญา
พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องคดีอาญาต่อศาลชั้นต้นซึ่งมิใช่ศาลแขวงโดยบรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันปลอมหนังสือมอบอำนาจของผู้เสียหาย ซึ่งเป็นเอกสารสิทธิและร่วมกันใช้เอกสารสิทธิปลอมดังกล่าว ขอให้ลงโทษตาม ป.อ.มาตรา265 ซึ่งมีโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาทซึ่งข้อหาดังกล่าวเกินอำนาจพิจารณาของศาลแขวง กรณีจึงไม่อยู่ภายใต้บังคับของพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 7การที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองต่อศาลชั้นต้นจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว แม้ศาลชั้นต้นจะพิพากษาว่าจำเลยทั้งสองมีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 264 และ 268 ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 265 ก็ไม่ทำให้อำนาจฟ้องของโจทก์เปลี่ยนแปลงไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1878/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้องและการพิจารณาคดีเสร็จสิ้นโดยไม่ต้องแจ้งวันนัดฟังคำพิพากษา
โจทก์ฟ้องข้อ 1 โดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าจำเลยกู้เงินโจทก์ไป 53,000 บาท แล้วต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องว่าเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2531 จำเลยได้ทำสัญญากู้เงินมอบให้โจทก์ เนื่องจากก่อนทำสัญญากู้เงินฉบับดังกล่าวจำเลยเป็นหนี้ค่าสินค้าโจทก์อยู่จำนวน 33,000 บาทวันที่ 2 มีนาคม 2531 จำเลยได้มาขอกู้เงินโจทก์จำนวน20,000 บาท และได้รับเงินไปครบถ้วนแล้ว รวมกับหนี้ที่จำเลยค้างค่าสินค้าเป็นหนี้ทั้งสิ้น 53,000 บาท เป็นการเพิ่มเติมรายละเอียดว่าหนี้ตามสัญญากู้เงินมีมูลมาจากอะไรบ้างจึงเป็นการแก้ไขคำฟ้องโดยยังคงข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาไว้เหมือนเดิม คือจำเลยกู้เงินโจทก์ไป 53,000 บาทไม่ใช่เป็นการถอนฟ้องในข้อ 1 เดิมทั้งหมดออกไปแล้วเอาข้อความใหม่เข้าแทน ศาลจึงอนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้องได้ ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานจำเลยโดยจำเลยทราบวันนัดโดยชอบแล้วเมื่อจำเลยไม่มาศาลในเวลานัด ศาลชั้นต้นจึงมี คำสั่งว่าจำเลยไม่มีพยานมาสืบ ถือว่าจำเลยไม่ติดใจสืบพยาน คดีเป็นอันเสร็จการพิจารณา ดังนี้ถือได้ว่าการพิจารณาคดี เป็นอันสิ้นสุดลง ศาลจึงมีอำนาจพิพากษาคดีไปในวันที่มีคำสั่ง นั้นได้โดยไม่ต้องแจ้งกำหนดวันเวลานัดฟังคำพิพากษาดังกล่าว ให้จำเลยทราบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 133 อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1878/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้องและการพิจารณาคดีเมื่อจำเลยไม่มาศาล ศาลมีอำนาจพิพากษาได้
โจทก์ฟ้องข้อ 1 โดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าจำเลยกู้เงินโจทก์ไป 53,000 บาท แล้วต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องว่าเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2531 จำเลยได้ทำสัญญากู้เงินมอบให้โจทก์ เนื่องจากก่อนทำสัญญากู้เงินฉบับดังกล่าวจำเลยเป็นหนี้ค่าสินค้าโจทก์อยู่จำนวน 33,000 บาท วันที่2 มีนาคม 2531 จำเลยได้มาขอกู้เงินโจทก์จำนวน 20,000 บาท และได้รับเงินไปครบถ้วนแล้ว รวมกับหนี้ที่จำเลยค้างค่าสินค้าเป็นหนี้ทั้งสิ้น 53,000 บาท เป็นการเพิ่มเติมรายละเอียดว่าหนี้ตามสัญญากู้เงินมีมูลมาจากอะไรบ้าง จึงเป็นการแก้ไขคำฟ้องโดยยังคงข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาไว้เหมือนเดิม คือจำเลยกู้เงินโจทก์ไป 53,000 บาท ไม่ใช่เป็นการถอนฟ้องในข้อ 1 เดิมทั้งหมดออกไปแล้วเอาข้อความใหม่เข้าแทน ศาลจึงอนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้องได้
ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานจำเลยโดยจำเลยทราบวันนัดโดยชอบแล้วเมื่อจำเลยไม่มาศาลในเวลานัด ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งว่าจำเลยไม่มีพยานมาสืบ ถือว่าจำเลยไม่ติดใจสืบพยาน คดีเป็นอันเสร็จการพิจารณา ดังนี้ถือได้ว่าการพิจารณาคดีเป็นอันสิ้นสุดลง ศาลจึงมีอำนาจพิพากษาคดีไปในวันที่มีคำสั่งนั้นได้โดยไม่ต้องแจ้งกำหนดวันเวลานัดฟังคำพิพากษาดังกล่าวให้จำเลยทราบตาม ป.วิ.พ.มาตรา 133 อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1877/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับผิดของทายาทต่อตัวการจากกรณีตัวแทนเบิกเงินกองทุนแล้วไม่ส่งมอบ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ป. ผู้ตายขณะเป็นกรรมการผู้จัดการโจทก์และจำเลยร่วมซึ่งเป็นรองผู้จัดการโจทก์ในฐานะตัวแทนโจทก์ ได้นำสมุดคู่ฝากเงินธนาคารของโจทก์ไปเบิกและรับเงินของกองทุนไฟป่าจากธนาคาร แล้วไม่นำเงินเข้าบัญชีรายรับของโจทก์ ขอให้บังคับจำเลยในฐานะทายาทผู้ตายร่วมกันรับผิดชดใช้เงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์เป็นกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นตัวการฟ้องเรียกเงินที่ผู้ตายในฐานะตัวแทนรับไว้เกี่ยวด้วยการเป็นตัวแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 810 แม้เงินดังกล่าวจะมิใช่เงินของโจทก์ แต่เมื่อผู้ตายต้องคืนเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ เพราะเป็นเงินที่ผู้ตายรับไว้เกี่ยวด้วยการเป็นตัวแทนของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยในฐานะทายาทของผู้ตายให้รับผิดใช้เงินจำนวนดังกล่าวพร้อมด้วยดอกเบี้ยแก่โจทก์ได้ โจทก์ฟ้องให้จำเลยในฐานะทายาทของ ป. รับผิดกรณีที่ผู้ตายซึ่งเป็นตัวแทนต้องรับผิดต่อโจทก์ มิใช่โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะทายาทของ ป. ในกรณีละเมิด และกรณีตัวการฟ้องเรียกเงินที่ตัวแทนรับไว้เกี่ยวกับการเป็นตัวแทน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 810 กฎหมายไม่ได้บัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เดิม (มาตรา 193/30 ที่แก้ไขใหม่) นับแต่วันที่ ป. ผู้ตายรับเงินจากกองทุนไฟป่าไว้แทนโจทก์ไป เมื่อนับถึงวันที่โจทก์ยื่นฟ้องยังไม่เกิน 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1877/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่คืนเงินตัวแทน - ทายาทรับผิด - อายุความ 10 ปี
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ป. ผู้ตายขณะเป็นกรรมการผู้จัดการโจทก์และจำเลยร่วมซึ่งเป็นรองผู้จัดการโจทก์ในฐานะตัวแทนโจทก์ ได้นำสมุดคู่ฝากเงินธนาคารของบริษัทโจทก์ไปเบิกและรับเงิน ของกองทุนไฟป่าของ ป่าจากธนาคาร แล้วไม่นำเงินเข้าบัญชีรายรับ ของโจทก์ ขอให้บังคับจำเลยในฐานะทายาทผู้ตายร่วมกันรับผิด ชดใช้เงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ จึงเป็นกรณีที่โจทก์ซึ่ง เป็นตัวการฟ้องเรียกเงินที่ผู้ตายในฐานะตัวแทนรับไว้ เกี่ยวด้วยการเป็นตัวแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 810 แม้เงินดังกล่าวจะมิใช่เงินของโจทก์ ผู้ตาย ก็ต้องคืนเงินจำนวนดังกล่าวเพราะเป็นเงินที่ผู้ตายรับไว้ เกี่ยวด้วยการเป็นตัวแทนของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย ในฐานะทายาทของผู้ตายให้รับผิดใช้เงินจำนวนดังกล่าวพร้อมด้วยดอกเบี้ยแก่โจทก์ โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยในฐานะทายาทโดยธรรมของป.ผู้ตายให้ส่งมอบเงินจากกองทุนไฟป่าที่ผู้ตายเบิกและรับไว้แทนให้แก่โจทก์เป็นการฟ้องให้จำเลยในฐานะ ทายาทรับผิดกรณีที่ผู้ตายซึ่งเป็นตัวแทนต้องรับผิดต่อโจทก์ มิใช่โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะทายาทของป.ในกรณีละเมิดและกรณีตัวการฟ้องเรียกเงินที่ตัวแทนรับไว้เกี่ยวกับ การเป็นตัวแทน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 810 กฎหมายไม่ได้บัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164 เดิม (มาตรา 193/30 ที่แก้ไขใหม่) นับแต่วันที่ป. ผู้ตายรับเงินจากกองทุนไฟป่าไว้แทนโจทก์ไป เมื่อนับถึง วันที่โจทก์ยื่นฟ้องยังไม่เกิน 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
of 29