คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ศุภชัย ภู่งาม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 288 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1810/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินราคาเวนคืนที่ดิน: พิจารณาจากราคาตลาดในวันใช้บังคับ พ.ร.ฎ. และดอกเบี้ยกรณีจ่ายช้า
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 21 (1) ที่ให้คำนึงถึงราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนตามที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกานั้น มีความหมายว่า ให้นำเอาราคาซื้อขายของอสังหาริมทรัพย์ในประเภทและชนิดเดียวกันที่ประชาชนทั่วไปซื้อขายกันอยู่ในวันที่พระราชกฤษฎีกาเริ่มมีผลใช้บังคับมาเป็นเกณฑ์พิจารณา ถ้าหาราคาซื้อขายในวันดังกล่าวไม่ได้ ก็อาจหาราคาซื้อขายในวันอื่นที่ใกล้เคียงมาใช้พิจารณาแทน แม้จะเป็นราคาซื้อขายในภายหลังจากวันที่พระราชกฤษฎีกาเริ่มมีผลใช้บังคับก็นำมาใช้เทียบเคียงได้ ผู้กำหนดราคาสามารถใช้ดุลพินิจกำหนดราคาที่ควรจะเป็นโดยคำนึงถึงปัจจัยอื่นที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นลงของราคาอสังหาริมทรัพย์ในทำเลนั้นประกอบไป และกำหนดราคาที่สมควรในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาได้
โจทก์กับจำเลยทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ฯ ตามมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ซึ่งจำเลยมีหน้าที่ตามมาตรา 11 วรรคหนึ่ง ต้องจ่ายเงินค่าทดแทนทั้งหมดให้แก่โจทก์ผู้ถูกเวนคืนซึ่งเป็นเจ้าของภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ฯ คือต้องจ่ายในวันที่ 29 มีนาคม 2538 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของกำหนดเวลาหนึ่งร้อยยี่สิบวัน โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นนับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายเงินค่าทดแทนเป็นต้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1796/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินด้วยรั้วกำแพง การคุ้มครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1312 และความรับผิดในความเสียหาย
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1312 เฉพาะตัวโรงเรือนที่สร้างรุกล้ำที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริตเท่านั้นที่ได้รับความคุ้มครอง รั้วกำแพงที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ก่อสร้างรุกล้ำที่ดินโจทก์ทั้งสองย่อมไม่ได้รับความคุ้มครองตามบทบัญญัติดังกล่าว ทั้ง ป.พ.พ. มาตรา 1314 ก็ไม่ได้บัญญัติให้นำมาตรา 1312 มาบังคับ
เมื่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ก่อสร้างรั้วอันเป็นการละเมิดโจทก์ทั้งสองจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ทั้งสอง จะอ้างว่าได้ขายและส่งมอบที่ดินให้บุคคลภายนอกไปหมดแล้วมาเป็นข้อแก้ตัวหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1683/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพ.ร.บ.อาวุธปืน: การจำกัดโทษฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืน การแก้ไขโทษที่ศาลล่างพิพากษาผิด
ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 7,72 วรรคหนึ่งและวรรคสองให้ลงโทษตามมาตรา 72 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นบทหนักที่สุดย่อมไม่ถูกต้อง เพราะความผิดตามมาตรา 72 วรรคสองต้องเป็นเพียงกรณีมีเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยมิได้รับใบอนุญาตเท่านั้น แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยมิได้รับใบอนุญาต การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามมาตรา 7,72 วรรคหนึ่ง ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องเป็นว่าในความผิดฐานมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยมิได้รับใบอนุญาตจำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯมาตรา 7,72 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1683/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความผิดฐานครอบครองอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ
ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา 7, 72 วรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้ลงโทษตามมาตรา 72วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นบทหนักที่สุด ย่อมไม่ถูกต้อง เพราะความผิดตามมาตรา 72วรรคสอง ต้องเป็นเพียงกรณีมีเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยมิได้รับใบอนุญาตเท่านั้น แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยมิได้รับใบอนุญาต การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามมาตรา 7, 72วรรคหนึ่ง ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องเป็นว่า ในความผิดฐานมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยมิได้รับใบอนุญาตจำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา 7, 72 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1680/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำสัญญาซื้อขายที่ดินโดยไม่มีอำนาจจากจำเลย สัญญาเป็นโมฆะ
จำเลยเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดไม่มีความประสงค์จะขายที่พิพาทให้โจทก์หรือผู้ใด การที่โจทก์ สมคบกับ ป. และ ห. ซึ่งเป็นกรรมการของจำเลยทำหนังสือมอบอำนาจให้ ป. ขายที่ดินให้โจทก์โดยทราบดีอยู่แล้วว่าจำเลยไม่มีเจตนาจะขายที่ดินพิพาท จึงเป็นการกระทำที่ปราศจากอำนาจตาม ป.พ.พ. มาตรา 823 ประกอบ มาตรา 1167 สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทดังกล่าวจึงไม่มีผลผูกพันจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1653/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ปล้นทรัพย์-อนาจาร: พยานแวดล้อมหนักแน่น ยืนยันตัวผู้กระทำผิดได้
แม้โจทก์จะไม่มีส. ลูกจ้างที่ร้านอาหารของผู้เสียหายมาเบิกความเป็นพยานต่อศาลแต่ก็ได้ความจากพนักงานสอบสวนตามบันทึกการชี้ตัวและคำให้การของ ส. ซึ่งสอดคล้องกับคำเบิกความของผู้เสียหาย และในขณะที่ผู้เสียหายอยู่ที่บ้านเกิดเหตุ จำเลยที่ 1 ก็ได้เข้ามา กระทำอนาจารผู้เสียหาย ถึง 2 ครั้ง เป็นเวลานาน ซึ่งในห้องเปิดไฟสว่าง มองเห็นกันได้และอยู่ใกล้ชิดกัน น่าเชื่อว่าผู้เสียหายมีโอกาส มองเห็นและจำจำเลยที่ 1 ได้ และการที่ผู้เสียหาย ไปดูตัวคนร้ายที่ถูกจับอยู่ที่สถานีตำรวจเพราะอ่านพบข่าว และดูภาพคนร้ายจากหนังสือพิมพ์เหมือนคนร้ายที่กระทำ ต่อผู้เสียหาย ยิ่งทำให้คำเบิกความของผู้เสียหายมีน้ำหนัก น่ารับฟังมากว่าผู้เสียหายจำคนร้ายได้ เมื่อดูตัวแล้วผู้เสียหายก็ยืนยันว่า จำเลยที่ 1 กับพวกเป็นคนร้ายและชี้ตัวได้ถูกต้องผู้เสียหายยืนยันว่าเมื่อรู้สึกตัวที่โรงพยาบาลทรัพย์สิน ได้หายไปแม้ไม่ได้ความว่าจำเลยคนใดเอาทรัพย์สินไป แต่พฤติการณ์ที่ผู้เสียหายถูกมอมยาและพาไปที่บ้านเกิดเหตุนานหลายชั่วโมง มีการให้ผู้เสียหายรับประทานยาอีก 2 ครั้งจนผู้เสียหายหมดสติหลับไป เมื่อฟื้นขึ้นที่โรงพยาบาลปรากฏว่า ทรัพย์สินหายไปและไม่พบตัวจำเลยที่ 1 กับพวกเช่นนี้ พยานโจทก์แวดล้อมกรณีมีน้ำหนักมั่นคงรับฟังได้โดยปราศจาก ข้อสงสัยว่าจำเลยที่ 1 ได้ร่วมกระทำผิดจริงตามฟ้อง พยานจำเลยที่ 1 นำสืบอ้างฐานที่อยู่มีน้ำหนักน้อยทั้งจำเลยที่ 1 ได้ให้การ รับสารภาพในข้อหาปล้นทรัพย์ตามฟ้องจนศาลสืบพยานโจทก์ เกือบเสร็จแล้ว จำเลยที่ 1 ได้ขอถอนคำให้การเดิมและ ให้การใหม่ปฏิเสธว่าไม่ได้กระทำผิดตามฟ้องเป็นพิรุธ พยานจำเลยที่ 1 จึงไม่อาจหักล้างพยานโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1600/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับใช้ผังเมืองรวม: การก่อสร้างที่ผิดผังหลังกฎกระทรวงมีผลบังคับใช้ และการปรับใช้กฎกระทรวงฉบับใหม่
ตาม พ.ร.บ.การผังเมือง พ.ศ. 2518 มาตรา 26 วรรคหนึ่งการใช้บังคับผังเมืองรวมให้กระทำโดยกฎกระทรวง และตามมาตรา 27 วรรคหนึ่งบัญญัติห้ามไว้ว่า ในเขตที่ได้มีกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมแล้ว ห้ามบุคคลใดใช้ประโยชน์ที่ดินผิดไปจากที่ได้กำหนดไว้ในผังเมืองรวมหรือปฏิบัติการใด ๆ ซึ่งขัดกับข้อกำหนดของผังเมืองรวมนั้น โดยบัญญัติบทลงโทษทางอาญาและวิธีการแก้ไขสำหรับผู้ฝ่าฝืนไว้ในมาตรา 83 ไม่ปรากฏว่ามีบทบัญญัติใดกำหนดให้ต้องมีการออก พ.ร.บ.ให้ใช้บังคับผังเมืองเฉพาะในท้องที่เดียวกันก่อนจึงจะทำให้กฎกระทรวงข้างต้นมีผลใช้บังคับได้ เพราะการวางและจัดทำผังเมืองเฉพาะเป็นกรณีที่บัญญัติแยกไว้ต่างหากทั้งบทบัญญัติตามมาตรา 27 ซึ่งกำหนดโทษและวิธีการแก้ไขสำหรับผู้ฝ่าฝืนไว้ตามมาตรา 83 นั้น ได้บัญญัติห้ามเฉพาะกรณีใช้ประโยชน์ที่ดินผิดไปจากที่ได้กำหนดไว้ในผังเมืองรวม หรือปฏิบัติการใด ๆ ซึ่งขัดกับข้อกำหนดของผังเมืองรวมเท่านั้น มิได้ระบุถึงผังเมืองเฉพาะด้วยแต่อย่างใด ดังนั้น กฎกระทรวง ฉบับที่ 17 (พ.ศ. 2529)ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วมีผลใช้บังคับ เมื่อจำเลยฝ่าฝืนก่อสร้างอาคารผิดไปจากที่ได้กำหนดไว้ในกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวม โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลย
จำเลยซื้อที่ดินโฉนดตามฟ้องเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2530 แต่กฎกระทรวงฉบับที่ 17 (พ.ศ. 2529) มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 12 กันยายน 2529ถึงวันที่ 11 กันยายน 2534 จำเลยได้ก่อสร้างอาคารขึ้นใหม่ในที่ดินดังกล่าวระหว่างวันที่ 9 พฤษภาคม 2531 ถึงวันที่ 7 กันยายน 2531 ซึ่งอยู่ในระหว่างที่กฎกระทรวงฉบับที่ 17 (พ.ศ. 2529) มีผลใช้บังคับ จำเลยจึงเป็นเจ้าของที่ดินภายหลังจากที่กฎกระทรวงฉบับข้างต้นมีผลใช้บังคับ และใช้ประโยชน์ที่ดินโดยสร้างอาคารตามฟ้องเมื่อกฎกระทรวงฉบับดังกล่าวมีผลใช้บังคับแล้ว จำเลยไม่ใช่เจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดินได้ใช้ประโยชน์ที่ดินมาก่อนที่จะมีกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวม จึงไม่เข้าข้อยกเว้นตาม พ.ร.บ.การผังเมือง พ.ศ. 2518 มาตรา 27 วรรคสอง ส่วนอาคารที่จำเลยก่อสร้างขึ้นใหม่มั่นคงแข็งแรง ไม่กีดขวางการจราจร หากต้องถูกรื้อจำเลยจะได้รับความเสียหายมากนั้น เหตุดังกล่าวไม่มีกฎหมายกำหนดให้ถือเป็นข้อยกเว้นที่ไม่ต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมไว้ จึงไม่อาจรับฟังตามที่จำเลยอ้างได้
ที่จำเลยฎีกาว่า กฎกระทรวง ฉบับที่ 17 (พ.ศ. 2529) ตามฟ้องสิ้นผลบังคับเพราะพ้นกำหนด 5 ปี โดยไม่มีการออกกฎกระทรวงฉบับใหม่เพื่อใช้บังคับผังเมืองรวมในท้องที่เดิมต่อไป จึงไม่อาจนำมาใช้กับกรณีของจำเลยได้นั้นแม้จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้ แต่เป็นปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยมีสิทธิยกขึ้นฎีกาได้
ในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นมีกฎกระทรวง ฉบับที่ 182(พ.ศ. 2537) ออกตามความใน พ.ร.บ.การผังเมือง พ.ศ. 2518 ใช้บังคับโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2537 กำหนดให้ใช้บังคับผังเมืองรวมในท้องที่ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี มีรายการประกอบแผนผังแสดงโครงการคมนาคมและขนส่งท้ายกฎกระทรวง กำหนดให้ขยายถนนโภคานุสรณ์เป็นถนนแบบ ง. ขนาดเขตทาง 30 เมตร ตรงกับกฎกระทรวงฉบับที่ 17 (พ.ศ. 2529) และรายการประกอบแผนผังแสดงโครงการคมนาคมและขนส่งท้ายกฎกระทรวง ฉบับที่ 17 (พ.ศ. 2529) เป็นผลให้กรณีของจำเลยยังคงต้องห้ามและขัดต่อกฎกระทรวงฉบับนี้ ศาลฎีกาจึงชอบที่จะยกกฎกระทรวงฉบับนี้ขึ้นปรับใช้แก่คดีนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1600/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับใช้ผังเมืองรวม: กฎกระทรวงมีผลแม้หมดอายุ หากมีกฎกระทรวงใหม่ใช้บังคับต่อเนื่อง
ตามพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518 มาตรา 26 วรรคหนึ่ง การใช้บังคับผังเมืองรวมให้กระทำโดยกฎกระทรวง และตามมาตรา 27 วรรคหนึ่ง บัญญัติห้ามไว้ว่าในเขตที่ได้มีกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมแล้ว ห้ามบุคคลใดใช้ประโยชน์ที่ดินผิดไปจากที่ได้กำหนดไว้ในผังเมืองรวมหรือปฏิบัติการใด ๆ ซึ่งขัดกับข้อกำหนด ของผังเมืองรวมนั้น โดยบัญญัติบทลงโทษทางอาญาและวิธีการแก้ไขสำหรับผู้ฝ่าฝืนไว้ในมาตรา 83 ไม่ปรากฏว่ามีบทบัญญัติใดกำหนดให้ต้องมีการออกพระราชบัญญัติให้ใช้บังคับผังเมืองเฉพาะในท้องที่เดียวกันก่อนจึงจะทำให้กฎกระทรวงข้างต้นมีผลใช้บังคับได้ เพราะการวางและจัดทำผังเมืองเฉพาะเป็นกรณีที่บัญญัติแยกไว้ต่างหากทั้งบทบัญญัติตามมาตรา 27ซึ่งกำหนดโทษและวิธีการแก้ไขสำหรับผู้ฝ่าฝืนไว้ตามมาตรา 83 นั้น ได้บัญญัติห้ามเฉพาะกรณีใช้ประโยชน์ที่ดิน ผิดไปจากที่ได้กำหนดไว้ในผังเมืองรวม หรือปฏิบัติการใด ๆ ซึ่งขัดกับข้อกำหนดของผังเมืองรวมเท่านั้น มิได้ระบุถึง ผังเมืองเฉพาะด้วยแต่อย่างใด ดังนั้น กฎกระทรวง ฉบับที่ 17(พ.ศ. 2529) ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา แล้วมีผลใช้บังคับ เมื่อจำเลยฝ่าฝืนก่อสร้างอาคารผิดไปจาก ที่ได้กำหนดไว้ในกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวม โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลย จำเลยซื้อที่ดินโฉนดตามฟ้องเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2530แต่กฎกระทรวงฉบับที่ 17(พ.ศ. 2529) มีผลใช้บังคับ ตั้งแต่วันที่ 12 กันยายน 2529 ถึงวันที่ 11 กันยายน 2534 จำเลยได้ก่อสร้างอาคารขึ้นใหม่ในที่ดินดังกล่าว ระหว่างวันที่ 9 พฤษภาคม 2531ถึงวันที่ 7 กันยายน 2531 ซึ่งอยู่ในระหว่างที่กฎกระทรวงฉบับที่ 17(พ.ศ. 2529) มีผลใช้บังคับ จำเลยจึงเป็นเจ้าของที่ดินภายหลังจากที่กฎกระทรวง ฉบับข้างต้นมีผลใช้บังคับ และใช้ประโยชน์ที่ดินโดยสร้างอาคาร ตามฟ้องเมื่อกฎกระทรวงฉบับดังกล่าวมีผลใช้บังคับแล้ว จำเลยไม่ใช่เจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดินได้ใช้ประโยชน์ ที่ดินมาก่อนที่จะมีกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวม จึงไม่เข้าข้อยกเว้นตามพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518 มาตรา 27 วรรคสอง ส่วนอาคารที่จำเลยก่อสร้างขึ้นใหม่มั่นคงแข็งแรง ไม่กีดขวางการจราจร หากต้องถูกรื้อจำเลยจะได้รับความเสียหายมากนั้น เหตุดังกล่าวไม่มีกฎหมายกำหนดให้ถือเป็นข้อยกเว้น ที่ไม่ต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมไว้ จึงไม่อาจรับฟังตามที่จำเลยอ้างได้ ที่จำเลยฎีกาว่า กฎกระทรวง ฉบับที่ 17(พ.ศ. 2529)ตามฟ้องสิ้นผลบังคับเพราะพ้นกำหนด 5 ปี โดยไม่มีการออกกฎกระทรวงฉบับใหม่เพื่อใช้บังคับผังเมืองรวมในท้องที่เดิมต่อไป จึงไม่อาจนำมาใช้กับกรณีของจำเลยได้นั้นแม้จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้ แต่เป็นปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยมีสิทธิยกขึ้นฎีกาได้ ในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นมีกฎกระทรวง ฉบับที่ 182 (พ.ศ. 2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติ การผังเมือง พ.ศ. 2518 ใช้บังคับโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2537 กำหนดให้ใช้บังคับผังเมือง รวมในท้องที่ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมืองอุดรธานีจังหวัดอุดรธานี มีรายการประกอบแผนผังแสดงโครงการคมนาคม และขนส่งท้ายกฎกระทรวง กำหนดให้ขยายถนนโภคานุสรณ์เป็นถนนแบบง. ขนาดเขตทาง 30 เมตร ตรงกับกฎกระทรวง ฉบับที่ 17(พ.ศ. 2529) และรายการประกอบแผนผังแสดงโครงการ คมนาคมและขนส่งท้ายกฎกระทรวง ฉบับที่ 17(พ.ศ. 2529) เป็นผลให้กรณีของจำเลยยังคงต้องห้ามและขัดต่อกฎกระทรวง ฉบับนี้ ศาลฎีกาจึงชอบที่จะยกกฎกระทรวงฉบับนี้ขึ้นปรับใช้แก่คดีนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1504/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ-การผิดสัญญาซื้อขาย-การชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัย-อำนาจฟ้อง-เลิกสัญญา
คดีก่อน โจทก์ฟ้องว่าได้บอกเลิกสัญญาและเรียกเงินมัดจำ กับเบี้ยปรับจากจำเลยอ้างว่าจำเลยผิดสัญญาจะซื้อขาย ประเด็นที่วินิจฉัยในคดีก่อนมีว่า โจทก์บอกเลิกสัญญาโดยชอบ แล้วหรือไม่ แต่คดีก่อนศาลพิพากษายกฟ้อง เพราะการบอกเลิกสัญญาไม่ชอบ โดยศาลยังมิได้วินิจฉัย ในประเด็นที่ว่าจำเลยผิดสัญญาจะซื้อขายหรือไม่ คดีนี้ โจทก์ฟ้องว่าก่อนที่ศาลฎีกาจะพิพากษาในคดีก่อน จำเลย โอนที่ดินตามสัญญาให้แก่ผู้อื่น จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยในคดีนี้จึงมีว่า จำเลยเป็นฝ่ายผิด สัญญาจะซื้อขายหรือไม่ ประเด็นที่ศาลต้องวินิจฉัยในคดีนี้ กับคดีก่อนจึงอาศัยเหตุต่างกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ การที่จำเลยโอนที่ดินที่จะซื้อขายให้บุคคลอื่นย่อมเห็นได้อยู่แล้วว่าจำเลยเป็นฝ่ายตั้งใจที่จะไม่ปฏิบัติตามสัญญา และจำเลยย่อมไม่สามารถปฏิบัติการชำระหนี้คือการโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินแก่โจทก์ได้อีก การชำระหนี้จึงตกเป็นพ้นวิสัยเพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งจำเลยต้องรับผิดชอบส่วนการที่โจทก์จะสามารถดำเนินการตามกฎหมายให้ที่พิพาทกลับมาเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยได้หรือไม่ อย่างไร เป็นคนละกรณีกับการชำระหนี้ซึ่งตก เป็นพ้นวิสัย ทั้งการที่โจทก์ฟ้องคดีเท่ากับเป็นการเลิกสัญญา ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 389 ในตัวอยู่แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยคืนมัดจำ พร้อมเบี้ยปรับและดอกเบี้ยเพราะเหตุที่จำเลยไม่ไปทำการ โอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์ตามสัญญา โดยโจทก์ไม่จำต้อง บอกกล่าวให้จำเลยไปทำการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1504/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยโอนที่ดินก่อนชำระหนี้ถือเป็นการผิดสัญญา โจทก์มีสิทธิเรียกคืนมัดจำและเบี้ยปรับ
คดีก่อน โจทก์ฟ้องว่าได้บอกเลิกสัญญาและเรียกเงินมัดจำกับเบี้ยปรับจากจำเลยอ้างว่าจำเลยผิดสัญญาจะซื้อขาย ประเด็นที่วินิจฉัยในคดีก่อนมีว่าโจทก์บอกเลิกสัญญาโดยชอบแล้วหรือไม่ แต่คดีก่อนศาลพิพากษายกฟ้องเพราะการบอกเลิกสัญญาไม่ชอบ โดยศาลยังมิได้วินิจฉัยในประเด็นที่ว่าจำเลยผิดสัญญาจะซื้อขายหรือไม่ แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าก่อนที่ศาลฎีกาจะพิพากษาในคดีก่อน จำเลยโอนที่ดินตามสัญญาให้แก่ผู้อื่น จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยในคดีนี้จึงมีว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อขายหรือไม่ ประเด็นที่ศาลต้องวินิจฉัยในคดีนี้กับคดีก่อนจึงอาศัยเหตุต่างกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
การที่จำเลยโอนที่ดินที่จะซื้อขายให้บุคคลอื่น ย่อมเห็นได้อยู่แล้วว่าจำเลยเป็นฝ่ายตั้งใจที่จะไม่ปฏิบัติตามสัญญา และจำเลยย่อมไม่สามารถปฏิบัติการชำระหนี้คือการโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินแก่โจทก์ได้อีก การชำระหนี้จึงตกเป็นพ้นวิสัยเพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งจำเลยต้องรับผิดชอบ ส่วนการที่โจทก์จะสามารถดำเนินการตามกฎหมายให้ที่พิพาทกลับมาเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยได้หรือไม่ อย่างไรเป็นคนละกรณีกับการชำระหนี้ซึ่งตกเป็นพ้นวิสัย ทั้งการที่โจทก์ฟ้องคดีเท่ากับเป็นการเลิกสัญญา ตาม ป.พ.พ. มาตรา 389 ในตัวอยู่แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยคืนมัดจำพร้อมเบี้ยปรับและดอกเบี้ยเพราะเหตุที่จำเลยไม่ไปทำการโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์ตามสัญญา โดยโจทก์ไม่จำต้องบอกกล่าวให้จำเลยไปทำการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินก่อน
of 29