พบผลลัพธ์ทั้งหมด 288 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 150/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยานหลักฐานโจทก์อ่อนแอ ศาลฎีกายกฟ้องคดีอาญา ฐานฆ่าและกักขัง เนื่องจากพยานหลักฐานขัดแย้งและไม่น่าเชื่อถือ
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสอง ฐานฆ่าผู้อื่น ให้ประหารชีวิตและฐานทำให้ผู้อื่นปราศจากเสรีภาพในร่างกาย จำคุกคนละ 1 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืน ความผิดฐาน ทำให้ผู้อื่นปราศจากเสรีภาพในร่างกายจึงต้องห้ามฎีกา ในปัญหาข้อเท็จจริง คงมีปัญหามาสู่ศาลฎีกาเฉพาะความผิด ฐานฆ่าผู้อื่น ซึ่งเมื่อพยานหลักฐานของโจทก์และโจทก์ร่วม ดังกล่าวยังไม่มีน้ำหนักเพียงพอที่จะรับฟังได้ว่า จำเลยทั้งสองเป็นผู้พาผู้ตายขึ้นรถยนต์กระบะสีขาวไป และการที่ผู้ตายถูกฆ่าเกิดจากการกระทำของจำเลยทั้งสอง ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกฟ้องในความผิดฐานทำให้ผู้อื่น ปราศจากเสรีภาพในร่างกายของจำเลยทั้งสองได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 เพราะเป็น ข้อเท็จจริงอันเดียวเกี่ยวพันกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 93/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานลักทรัพย์และมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองเป็นคนละกรรม, เจตนาใช้อาวุธเป็นภัยต่อสังคม ไม่รอการลงโทษ
หลังจากจำเลยที่ 1 ลักอาวุธปืนของผู้เสียหายไปจำเลยที่ 1 ได้ครอบครองอาวุธปืนดังกล่าวติดต่อกันตลอดมาจนถึงวันจับกุมเป็นเวลา 1 ปีเศษ โดยไม่ได้รับอนุญาตจำเลยที่ 1 จึงมีความผิดฐานมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตตลอดเวลาที่ครอบครองอาวุธปืนอยู่จนกระทั่ง ถูกจับกุม ส่วนการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์เป็นความผิด ในขณะใดขณะหนึ่งเท่านั้น การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็น ความผิดหลายกรรมต่างกัน พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 ที่ลักอาวุธปืนของนายจ้างแล้วครอบครองพาติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน และทางสาธารณะแสดงว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนาจะใช้อาวุธปืนดังกล่าว นับว่าเป็นภัยต่อความปลอดภัยของสุจริตชนโดยทั่วไป และกระทบต่อ ความสงบเรียบร้อยของสังคม สมควรที่จะปราบปรามอย่างเด็ดขาด จึงไม่รอการลงโทษให้จำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 30/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างก่อสร้าง: สิทธิเรียกร้องค่าจ้างและภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้รับเหมา, การบอกเลิกสัญญา, และความรับผิด
การที่โจทก์บอกเลิกสัญญาจ้างแก่จำเลยก่อให้เกิดคุณประโยชน์แก่จำเลยไม่ว่าจะพิจารณาในแง่ใด ด้วยเหตุนี้ แม้พยานหลักฐานโจทก์ที่นำสืบจะได้ความไม่แจ้งชัดก็ดีหรือบางรายการโจทก์เรียกร้องค่าเครื่องมือเครื่องใช้ หรือค่าก่อสร้างไม่ได้ อันเนื่องมาจากโจทก์ต้องเป็นผู้จัดหาเครื่องมือต่าง ๆ สำหรับใช้ทำงานให้สำเร็จในแต่ละอย่าง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 588 หรือเพราะมิได้กำหนดกันไว้ในสัญญา เป็นต้นว่าค่าปรับปรุงซ่อมแซมถนนก็ดี แต่เมื่อคำนึงถึงพฤติการณ์ต่าง ๆ รวมทั้งเอกสารสรุปผลงานของพนักงานจำเลยก่อนวันโจทก์หยุดงานในวันที่ 23 ตุลาคม 2535 เป็นเวลา 18 วัน ซึ่งก็ปรากฏว่างานที่จ้างได้ดำเนินการไปถึงงวดที่ 6 โดยงานวางท่อในงวดที่ 3 และที่ 5 สำเร็จ 45 เปอร์เซนต์ และ 2 เปอร์เซ็นต์ งานบ่อพักในงวดที่ 6 สำเร็จ 35 เปอร์เซ็นต์ จึงสมควรกำหนดค่างานก่อสร้างตลอดจนค่าวัสดุส่วนที่โจทก์ได้ทำขึ้นแล้ว นอกเหนือจากงานในงวดที่ 1 และที่ 2 และที่ 4 ให้โจทก์อีก เท่าจำนวนเงินที่โจทก์ได้รับไปจากจำเลยก่อนงวดการจ่ายเงินในงวดต่าง ๆ ดังกล่าวตามนัยแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคสาม
ปัญหาว่าโจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าภาษีมูลค่าเพิ่มจากจำเลยหรือไม่ ศาลฎีกาได้ส่งสำนวนให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัยตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 10 วรรคสอง ซึ่งประธานศาลฎีกา ได้ตรวจสำนวนแล้วเห็นเป็นกรณีสืบเนื่องจากข้อพิพาทว่าผู้ใดผิดสัญญาจ้าง ไม่มีคดีพิพาทเกี่ยวกับเรื่องภาษีอากร ตามมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 วินิจฉัยว่า คดีของโจทก์ไม่เป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลภาษีอากร ดังนั้นศาลฎีกาจึงเห็นสมควรจะได้วินิจฉัยปัญหาว่าโจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าภาษีมูลค่าเพิ่มจากจำเลยหรือไม่ไปเลยโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิจารณาปัญหาข้อนี้ใหม่
ผู้ที่มีอำนาจเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการได้จะต้องเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ดังความในมาตรา 82/4 และมาตรา 77/1 (6) อันเป็นคนละส่วนกันกับผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มซึ่งกฎหมายบัญญัติ ไว้เฉพาะแต่ผู้ประกอบการเท่านั้น ฉะนั้น เมื่อมาตรา 82/4 และมาตรา 77/1 (6) บัญญัติวางเงื่อนไขไว้เช่นนี้ โจทก์ก็ต้องดำเนินการให้ครบถ้วนตามนั้น จึงจะก่อให้เกิดอำนาจแก่โจทก์ในข้อที่จะมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระหนี้ค่าภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมายดังกล่าวได้ ทั้งเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาชอบที่จะยกเรื่องนี้ขึ้นวินิจฉัยได้ และด้วยเหตุดังกล่าวตามคำฟ้องของโจทก์ก็ดี หรือตามทางนำสืบของโจทก์ก็ดี ความไม่ปรากฏว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบการที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 85 หรือมาตรา 85/1 หรือที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มชั่วคราว ตามมาตรา 85/3 แล้ว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องโดยอาศัยสิทธิและเงื่อนไขตามกฎหมายดังกล่าวเพื่อเรียกให้จำเลย ชำระหนี้ดังกล่าว
จำเลยตกเป็นผู้ผิดสัญญาแก่โจทก์ จำเลยจึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากโจทก์
ปัญหาว่าโจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าภาษีมูลค่าเพิ่มจากจำเลยหรือไม่ ศาลฎีกาได้ส่งสำนวนให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัยตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 10 วรรคสอง ซึ่งประธานศาลฎีกา ได้ตรวจสำนวนแล้วเห็นเป็นกรณีสืบเนื่องจากข้อพิพาทว่าผู้ใดผิดสัญญาจ้าง ไม่มีคดีพิพาทเกี่ยวกับเรื่องภาษีอากร ตามมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 วินิจฉัยว่า คดีของโจทก์ไม่เป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลภาษีอากร ดังนั้นศาลฎีกาจึงเห็นสมควรจะได้วินิจฉัยปัญหาว่าโจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าภาษีมูลค่าเพิ่มจากจำเลยหรือไม่ไปเลยโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิจารณาปัญหาข้อนี้ใหม่
ผู้ที่มีอำนาจเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการได้จะต้องเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ดังความในมาตรา 82/4 และมาตรา 77/1 (6) อันเป็นคนละส่วนกันกับผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มซึ่งกฎหมายบัญญัติ ไว้เฉพาะแต่ผู้ประกอบการเท่านั้น ฉะนั้น เมื่อมาตรา 82/4 และมาตรา 77/1 (6) บัญญัติวางเงื่อนไขไว้เช่นนี้ โจทก์ก็ต้องดำเนินการให้ครบถ้วนตามนั้น จึงจะก่อให้เกิดอำนาจแก่โจทก์ในข้อที่จะมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระหนี้ค่าภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมายดังกล่าวได้ ทั้งเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาชอบที่จะยกเรื่องนี้ขึ้นวินิจฉัยได้ และด้วยเหตุดังกล่าวตามคำฟ้องของโจทก์ก็ดี หรือตามทางนำสืบของโจทก์ก็ดี ความไม่ปรากฏว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบการที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 85 หรือมาตรา 85/1 หรือที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มชั่วคราว ตามมาตรา 85/3 แล้ว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องโดยอาศัยสิทธิและเงื่อนไขตามกฎหมายดังกล่าวเพื่อเรียกให้จำเลย ชำระหนี้ดังกล่าว
จำเลยตกเป็นผู้ผิดสัญญาแก่โจทก์ จำเลยจึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของหน่วยงานราชการในการเวนคืน และสิทธิเรียกร้องค่าทดแทนที่ดินส่วนที่เหลือ
พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนฯ ระบุให้อธิบดีกรมโยธาธิการเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนตาม พระราชกฤษฎีกา แต่การดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งที่ดินตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของอำนาจหน้าที่ของกรมโยธาธิการจำเลยที่ 1 ในการทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ฯ การแจ้งวางทรัพย์และขอให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างขนย้ายทรัพย์สิน หรือการแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ก็แจ้งเป็นหนังสือออกโดยจำเลยที่ 1 ซึ่งตรงตามเจตนารมณ์ของกฎหมายที่ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 1 การที่อธิบดีกรมโยธาธิการจำเลยที่ 2 ได้ดำเนินการไปต้องถือว่ากระทำการในฐานะผู้แทนของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ด้วย
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ได้กำหนดขั้นตอนการอุทธรณ์และการฟ้องคดีของ ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนไว้แล้ว โดยผู้ที่ไม่พอใจในราคาอสังหาริมทรัพย์หรือจำนวนเงินค่าทดแทน ต้องอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 25 วรรคหนึ่งเพื่อให้รัฐมนตรีพิจารณาวินิจฉัยก่อน หากผู้มีสิทธิได้รับเงิน ไม่พอใจในคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง หรือในกรณีที่รัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 25 วรรคสองก็มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีหรือนับแต่วันพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวแล้วแต่กรณี การที่โจทก์อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีขอเงินค่าทดแทนเพิ่มในส่วนที่ดินที่ถูกเวนคืนทั้งสองแปลง และกล่าวถึงที่ดินส่วนที่เหลือว่าใช้ประโยชน์ได้น้อยไม่ได้ราคาโดยไม่ได้กล่าวอ้างว่ามีราคาลดลงเท่าใดและจะขอค่าทดแทนที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนหรือไม่ จึงไม่ถือว่าเป็นการอุทธรณ์ขอให้กำหนดเงินค่าทดแทน ที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนอันราคาลดลง เมื่อคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ ไม่ได้กำหนดเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินในส่วนที่เหลือจากการเวนคืนอันราคาลดลงให้แก่โจทก์ และโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกร้องค่าทดแทนในส่วนนี้จากจำเลย
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ได้กำหนดขั้นตอนการอุทธรณ์และการฟ้องคดีของ ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนไว้แล้ว โดยผู้ที่ไม่พอใจในราคาอสังหาริมทรัพย์หรือจำนวนเงินค่าทดแทน ต้องอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 25 วรรคหนึ่งเพื่อให้รัฐมนตรีพิจารณาวินิจฉัยก่อน หากผู้มีสิทธิได้รับเงิน ไม่พอใจในคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง หรือในกรณีที่รัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 25 วรรคสองก็มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีหรือนับแต่วันพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวแล้วแต่กรณี การที่โจทก์อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีขอเงินค่าทดแทนเพิ่มในส่วนที่ดินที่ถูกเวนคืนทั้งสองแปลง และกล่าวถึงที่ดินส่วนที่เหลือว่าใช้ประโยชน์ได้น้อยไม่ได้ราคาโดยไม่ได้กล่าวอ้างว่ามีราคาลดลงเท่าใดและจะขอค่าทดแทนที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนหรือไม่ จึงไม่ถือว่าเป็นการอุทธรณ์ขอให้กำหนดเงินค่าทดแทน ที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนอันราคาลดลง เมื่อคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ ไม่ได้กำหนดเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินในส่วนที่เหลือจากการเวนคืนอันราคาลดลงให้แก่โจทก์ และโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกร้องค่าทดแทนในส่วนนี้จากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7515/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายทอดตลาดที่ไม่ชอบ เนื่องจากราคาต่ำกว่าราคาประเมินและขาดการแจ้งเจ้าของทรัพย์
แม้เจ้าพนักงานบังคับคดีจะประเมินราคาที่ดินพิพาทขณะยึดเพียง 404,000 บาท และผู้ซื้อทรัพย์เป็นผู้ให้ราคาสูงสุด 430,000 บาท ก็ตาม แต่ก่อนมีการขายทอดตลาดเจ้าพนักงานบังคับคดีได้มีหนังสือสอบถามราคาที่ดินพิพาทไปยังเจ้าพนักงานที่ดิน ซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินมีหนังสือตอบมาว่าที่ดินพิพาทราคา 808,000 บาท ซึ่งสูงกว่าราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินและสูงกว่าราคาที่ผู้ซื้อทรัพย์ประมูลเกือบเท่าตัว ประกอบกับการขายทอดตลาดครั้งนี้เป็นการขายครั้งแรก และจำเลยที่ 1 ไม่ได้มาระวังการขายเนื่องจากไม่ทราบวันขายทอดตลาด ทั้งค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดต่อโจทก์ในขณะนั้นมีเพียง 100,000 บาทเศษ เท่านั้น พฤติการณ์ในการขายทอดตลาดดังกล่าวมีลักษณะเป็นการรวบรัดและกดราคาจึงเป็นการขายทอดตลาดที่ดินพิพาทที่ไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7515/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายทอดตลาดที่ไม่ชอบเนื่องจากราคาต่ำกว่าราคาประเมินและจำเลยไม่ทราบวันขาย
แม้เจ้าพนักงานบังคับคดีจะประเมินราคาที่ดินพิพาทขณะยึดเพียง 404,000 บาท และผู้ซื้อทรัพย์เป็นผู้ให้ราคาสูงสุด430,000 บาท ก็ตาม แต่ก่อนมีการขายทอดตลาดเจ้าพนักงานบังคับคดีได้มีหนังสือสอบถามราคาที่ดินพิพาทไปยังเจ้าพนักงานที่ดิน ซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินมีหนังสือตอบมาว่า ที่ดินพิพาทราคา 808,000 บาท ซึ่งสูงกว่าราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินและสูงกว่าราคาที่ผู้ซื้อทรัพย์ประมูลเกือบเท่าตัวประกอบกับการขายทอดตลาดครั้งนี้เป็นการขายครั้งแรกและจำเลยที่ 1 ไม่ได้มาระวังการขายเนื่องจากไม่ทราบวันขายทอดตลาด ทั้งค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดต่อโจทก์ในขณะนั้นมีเพียง 100,000 บาทเศษเท่านั้น พฤติการณ์ในการขายทอดตลาดดังกล่าวมีลักษณะเป็นการรวบรัดและกดราคา จึงเป็นการขายทอดตลาดที่ดินพิพาทที่ไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7475/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ จำเลยต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขการชำระเงินหรือหาประกันตาม ป.วิ.พ.มาตรา 234
การอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 234 นั้นแม้จะเป็นการอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์คำสั่ง จำเลยก็ต้องนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาล หาใช่ต้องนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันเฉพาะกรณีอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์คำพิพากษาแต่เพียงอย่างเดียวไม่คดีนี้แม้จำเลยจะอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องขอเลื่อนคดี และงดสืบพยานจำเลยไม่ใช่อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นก็ตาม จำเลยก็ต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.มาตรา 234
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7475/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ จำเลยต้องวางเงินค่าธรรมเนียมและชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกัน
การอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 234 นั้นแม้จะเป็นการอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์คำสั่งจำเลยก็ต้องนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาล หาใช่ต้องนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันเฉพาะกรณีอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์คำพิพากษาแต่เพียงอย่างเดียวไม่คดีนี้แม้จำเลยจะอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องขอเลื่อนคดี และงดสืบพยานจำเลยไม่ใช่อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นก็ตาม จำเลยก็ต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 234
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7432/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยานเบิกความยืนยันเหตุการณ์ต่างกันได้ หากคำเบิกความสอดคล้องกับพยานหลักฐานอื่น จึงรับฟังได้
แม้ ล.ประจักษ์พยานได้นั่งอยู่ในห้องพิจารณาด้วยในขณะที่ผู้เสียหายทั้งสองเบิกความต่อศาลก็ตาม แต่ผู้เสียหายทั้งสองเบิกความว่า เห็นเหตุการณ์ตอนไฟไหม้บ้านแล้ว ไม่เห็นว่าใครเป็นคนจุดไฟ ส่วน ล.เบิกความยืนยันว่าเห็นจำเลยเป็นคนใช้ไฟแช็กจุดไฟเผาบ้านผู้เสียหายที่ 1 แล้วไฟลุกลามไปไหม้บ้านผู้เสียหายที่ 2 บางส่วนด้วย คำเบิกความของ ล.จึงมิได้เบิกความตามที่ได้ยินผู้เสียหายทั้งสองเบิกความแต่อย่างใด ทั้งโจทก์ยังมี ค.ประจักษ์พยานอีกปากหนึ่งเบิกความยืนยันว่าจำเลยเป็นคนจุดไฟเผาบ้านผู้เสียหายที่ 1 แล้วไฟลุกลามไหม้บ้านผู้เสียหายที่ 2 สอดคล้องกัน คำเบิกความของ ล.จึงรับฟังได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7432/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐาน - พยานยืนยันเหตุการณ์ต่างจากคำเบิกความอื่น และมีพยานสนับสนุน
แม้ ล. ประจักษ์พยานได้นั่งอยู่ในห้องพิจารณาด้วยในขณะที่ผู้เสียหายทั้งสองเบิกความต่อศาลก็ตาม แต่ผู้เสียหายทั้งสองเบิกความว่า เห็นเหตุการณ์ตอนไฟไหม้บ้านแล้ว ไม่เห็นว่าใครเป็นคนจุดไฟ ส่วน ล. เบิกความยืนยันว่าเห็นจำเลยเป็นคนใช้ไฟแช็กจุดไฟเผาบ้านผู้เสียหายที่ 1 แล้วไฟลุกลามไปไหม้บ้านผู้เสียหายที่ 2 บางส่วนด้วยคำเบิกความของ ล. จึงมิได้เบิกความตามที่ได้ยินผู้เสียหายทั้งสองเบิกความแต่อย่างใดทั้งโจทก์ยังมี ค. ประจักษ์พยานอีกปากหนึ่งเบิกความยืนยันว่าจำเลยเป็นคนจุดไฟเผาบ้านผู้เสียหายที่ 1 แล้วไฟลุกลามไหม้บ้านผู้เสียหายที่ 2 สอดคล้องกัน คำเบิกความของ ล. จึงรับฟังได้