คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ศุภชัย ภู่งาม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 288 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6521/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดินต้องเป็นไปตามแผนที่และบัญชีรายชื่อ หากเกินขอบเขตเป็นการละเมิด
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2532 บัญญัติไว้ชัดเจนว่าให้เวนคืนที่ดินภายในแนวเขตตามแผนที่และบัญชีรายชื่อท้ายพระราชบัญญัติเท่านั้น การที่ จำเลยที่ 4 นำชี้แนวเขตเข้าไปในที่ดินของโจทก์ทั้งสอง เกินกว่ารูปแผนที่และจำนวนเนื้อที่ของที่ดินซึ่งระบุไว้ ในบัญชีรายชื่อเจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดิน ซึ่งต้องเวนคืน แม้จะยังอยู่ในระยะ 240 เมตร ตามที่ พระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงแผ่นดิน สายคลองตัน-หนองงูเห่า พ.ศ. 2522 กำหนดไว้ ก็จะถือว่าที่ดินส่วนซึ่งจำเลยที่ 4 นำชี้เพิ่มถูกเวนคืนด้วยไม่ได้ จำเลยทั้งสี่ไม่มีสิทธิเข้าไปเกี่ยวข้องกับที่ดินส่วนนี้ ศาลอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยคดีของโจทก์ทั้งสองว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ที่ดินที่ถูกเวนคืนจำเลยทั้งสี่ไม่มีสิทธิเข้าไปยึดถือครอบครอง ซึ่งหลังจากนั้นไม่ปรากฏว่าฝ่ายจำเลยเข้าครอบครองหรือดำเนินการก่อสร้างทางในที่ดินพิพาท แสดงว่า โจทก์ทั้งสองมิได้สูญเสียที่ดินพิพาทไป โจทก์ทั้งสองจึง มิได้รับความเสียหายเป็นจำนวนเท่ากับราคาที่ดินซึ่งโจทก์ ทั้งสองทำสัญญาจะซื้อจะขายกับบุคคลภายนอก จำเลยทั้งสี่ ไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6521/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดินต้องเป็นไปตามกฎหมายและแผนที่แนบท้าย หากเกินขอบเขตที่ระบุถือเป็นการละเมิด
แม้โจทก์และจำเลยทั้งสี่แถลงรับข้อเท็จจริงกันว่า ที่ดินของโจทก์ทั้งสองเนื้อที่ 3 ไร่ 1 งาน 74 ตารางวา ที่โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีนี้เป็นส่วนที่เกินจากจำนวนเนื้อที่ตามที่ระบุไว้ใน พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์... เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดิน ... พ.ศ.2532 ก็ตาม แต่เนื่องจากการเวนคืนที่ดินในกรณีนี้ต้องอยู่ในบังคับของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา15 ดังนั้น การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์จึงต้องกระทำโดยอาศัยกฎหมายในรูปของพ.ร.บ.ซึ่งต้องระบุรายละเอียดตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าวด้วย เมื่อปรากฏว่ามีการออก พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์... พ.ศ.2532 เวนคืนที่ดินของโจทก์ทั้งสองโดยมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวบัญญัติให้เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ต่าง ๆของกรุงเทพมหานคร ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้าย พ.ร.บ.ดังกล่าว ซึ่งปรากฏรายชื่อเจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายตามบัญชีท้าย พ.ร.บ.ให้แก่กรมทางหลวง แต่ตามบัญชีรายชื่อและแผนที่ท้าย พ.ร.บ.ระบุว่า ที่ดินของโจทก์ทั้งสองถูกเวนคืนเนื้อที่ 3 ไร่ 64 ตารางวา โดยข้อความใน มาตรา 4 บัญญัติไว้อย่างชัดเจนว่าให้เวนคืนที่ดินภายในแนวเขตตามแผนที่และบัญชีรายชื่อท้าย พ.ร.บ.เท่านั้นทั้งตามมาตรา 15 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530ซึ่งเป็นกฎหมายแม่บทของการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ได้บัญญัติไว้ว่า ให้ตรา พ.ร.บ.ขึ้นเพื่อเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เมื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับที่จะต้องเวนคืนที่แน่นอนแล้วโดยให้ระบุที่ดินที่ต้องเวนคืนพร้อมทั้งรายชื่อเจ้าของและให้มีแผนที่หรือแผนผังแสดงเขตที่ต้องเวนคืนอย่างชัดเจนไว้ท้าย พ.ร.บ. และให้ถือว่าแผนที่หรือแผนผังนั้นเป็นส่วนหนึ่งแห่ง พ.ร.บ.ด้วย ดังนั้น จำนวนเนื้อที่ดินและรูปแผนที่ในบัญชีรายชื่อเจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดินที่ต้องเวนคืนและแผนที่ท้าย พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์จึงต้องเป็นจำนวนที่ถูกเวนคืนที่แน่นอน เมื่อจำเลยที่ 4 นำชี้แนวเขตทางเข้าไปในที่ดินของโจทก์ทั้งสองเกินกว่ารูปแผนที่และจำนวนเนื้อที่ดินที่ระบุไว้ในบัญชีรายชื่อเจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดินที่ต้องเวนคืนท้าย พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์...พ.ศ.2532แม้ยังอยู่ในระยะ 240 เมตร ตามที่ พ.ร.ฎ.กำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงแผ่นดิน สายคลองตัน - หนองงูเห่า... พ.ศ.2522 กำหนดไว้ ก็ต้องถือว่าส่วนที่จำเลยที่ 4 นำชี้เพิ่มอีก 3 ไร่ 1 งาน 74 ตารางวา ถูกเวนคืนด้วยไม่ได้
เมื่อที่ดินที่จำเลยที่ 4 นำชี้ให้รังวัดปักหลักเขตเข้าไปในที่ดินของโจทก์ทั้งสองผู้ถูกเวนคืนเพิ่มอีก 3 ไร่ 1 งาน 74 ตารางวา ไม่ใช่ที่ดินที่ถูกเวนคืนตามกฎหมาย จำเลยทั้งสี่ย่อมไม่มีสิทธิเข้าไปเกี่ยวข้อง การที่จำเลยที่ 3 มอบหมายให้จำเลยที่ 4 ไปนำชี้แนวเขตในนามของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตามแผนที่แนวทางและระดับของจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 4 นำชี้ให้เจ้าพนักงานที่ดินรังวัดเข้าไปในที่ดินของโจทก์ทั้งสอง และวางหลักปักหมุดในที่ดินของโจทก์ทั้งสองเกินกว่าจำนวนเนื้อที่ที่ถูกเวนคืนตามที่ระบุในแผนที่และบัญชีรายชื่อเจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดินที่ต้องเวนคืนท้าย พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์... พ.ศ.2532 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อโจทก์ได้โต้แย้งคัดค้านแล้ว แต่จำเลยทั้งสี่ยังยืนยันจะเข้าไปสร้างทางในที่ดินของโจทก์ส่วนนี้ จนโจทก์ต้องดำเนินคดีทางศาล ดังนี้ การกระทำของจำเลยทั้งสี่จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
โจทก์ระบุในคำขอท้ายฟ้องขอให้ศาลพิพากษาห้ามมิให้จำเลยทั้งสี่และบริวารเข้าไปเกี่ยวข้องกับที่ดินของโจทก์ทั้งสองตามฟ้องเนื้อที่ 3 ไร่ 1 งาน74 ตารางวา หากจำเลยทั้งสี่ไม่ปฏิบัติหรือไม่สามารถปฏิบัติตามคำขอข้างต้นได้ให้จำเลยทั้งสี่ชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสองเป็นเงินเท่าราคาที่ดินที่โจทก์ทั้งสองทำสัญญาจะซื้อจะขายกับบุคคลภายนอก โดยโจทก์มิได้เรียกร้องค่าเสียหายอย่างอื่นอีกแต่ข้อเท็จจริงปรากฏตามสำนวนว่าในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งห้ามจำเลยกับพวกมิให้กระทำการใด ๆ ในที่ดินพิพาทจนกว่าคดีจะถึงที่สุด ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งว่า คดีนี้ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาแล้ว และอยู่ในระหว่างนัดฟังคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์จึงไม่มีเหตุที่จะคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ทั้งสองในระหว่างอุทธรณ์ให้ยกคำร้อง ซึ่งมีการอ่านคำสั่งในวันเดียวกันกับที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่วินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาทไม่ใช่ที่ดินที่ถูกเวนคืน จำเลยทั้งสี่จึงไม่มีสิทธิที่จะเข้าไปถือครอบครองที่ดินพิพาทได้โดยพลการ แต่ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าหลังจากนั้นฝ่ายจำเลยได้เข้าไปครอบครองหรือดำเนินการก่อสร้างทางในที่ดินพิพาท คงได้ความแต่เพียงว่าฝ่ายจำเลยได้นำรังวัดปักหมุดในเขตที่ดินพิพาทเท่านั้น โจทก์ทั้งสองจึงไม่ได้สูญเสียที่ดินพิพาทตามฟ้องไป ดังนี้ ย่อมฟังไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสองเสียหายเท่าราคาที่ดินที่โจทก์ทั้งสองทำสัญญาจะซื้อจะขายกับบุคคลภายนอกตามฟ้อง จำเลยทั้งสี่จึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายส่วนนี้ต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6521/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดินต้องเป็นไปตามกฎหมาย หากการเข้าใช้ที่ดินเกินกว่าที่ระบุในบัญชีรายชื่อและแผนที่ ถือเป็นละเมิด
แม้โจทก์และจำเลยทั้งสี่แถลงรับข้อเท็จจริงกันว่าที่ดินของโจทก์ทั้งสองเนื้อที่ 3 ไร่ 1 งาน 74 ตารางวาที่โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีนี้เป็นส่วนที่เกินจากจำนวนเนื้อที่ตามที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดิน พ.ศ. 2532 ก็ตาม แต่เนื่องจากการเวนคืนที่ดินในกรณีนี้ต้องอยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 15ดังนั้น การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์จึงต้องกระทำโดยอาศัยกฎหมายในรูปของพระราชบัญญัติซึ่งต้องระบุรายละเอียดตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าวด้วย เมื่อปรากฏว่ามีการออกพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2532 เวนคืน ที่ดินของโจทก์ทั้งสองโดยมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติให้เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ต่าง ๆ ของกรุงเทพมหานคร ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้าย พระราชบัญญัติดังกล่าว ซึ่งปรากฏรายชื่อเจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายตามบัญชีท้าย พระราชบัญญัติให้แก่กรมทางหลวงแต่ตามบัญชีรายชื่อและแผนที่ท้ายพระราชบัญญัติระบุว่าที่ดินของโจทก์ทั้งสองถูกเวนคืนเนื้อที่ 3 ไร่ 64 ตารางวาโดยข้อความใน มาตรา 4 บัญญัติไว้อย่างชัดเจนว่าให้เวนคืนที่ดินภายในแนวเขตตามแผนที่และบัญชีรายชื่อท้ายพระราชบัญญัติเท่านั้นทั้งตามมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ซึ่งเป็นกฎหมายแม่บทของการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ได้บัญญัติไว้ว่า ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นเพื่อเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เมื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับที่จะต้องเวนคืนที่แน่นอนแล้วโดยให้ระบุที่ดินที่ต้องเวนคืนพร้อมทั้งรายชื่อเจ้าของและให้มีแผนที่หรือแผนผังแสดงเขตที่ต้องเวนคืนอย่างชัดเจนไว้ท้ายพระราชบัญญัติ และให้ถือว่าแผนที่หรือแผนผังนั้นเป็นส่วนหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติด้วยดังนั้น จำนวนเนื้อที่ดินและรูปแผนที่ในบัญชีรายชื่อเจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดินที่ต้องเวนคืนและแผนที่ท้ายพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์จึงต้องเป็นจำนวนที่ถูกเวนคืนที่แน่นอน เมื่อจำเลยที่ 4 นำชี้แนวเขตทางเข้าไปในที่ดินของโจทก์ทั้งสองเกินกว่ารูปแผนที่และจำนวนเนื้อที่ดินที่ระบุไว้ในบัญชีรายชื่อเจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดินที่ต้องเวนคืนท้ายพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2532 แม้ยังอยู่ในระยะ 240 เมตรตามที่พระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงแผ่นดิน สายคลองตัน-หนองงูเห่า พ.ศ. 2522กำหนดไว้ ก็ต้องถือว่าส่วนที่จำเลยที่ 4 นำชี้เพิ่มอีก3 ไร่ 1 งาน 74 ตารางวา ถูกเวนคืนด้วยไม่ได้ เมื่อที่ดินที่จำเลยที่ 4 นำชี้ให้รังวัดปักหลักเขตเข้า ไปในที่ดินของโจทก์ทั้งสองผู้ถูกเวนคืนเพิ่มอีก3 ไร่ 1 งาน 74 ตารางวา ไม่ใช่ที่ดินที่ถูกเวนคืนตามกฎหมาย จำเลยทั้งสี่ย่อมไม่มีสิทธิเข้าไปเกี่ยวข้องการที่จำเลยที่ 3 มอบหมายให้จำเลยที่ 4 ไปนำชี้แนวเขตในนามของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตามแผนที่แนวทางและระดับของจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 4นำชี้ให้เจ้าพนักงานที่ดินรังวัดเข้าไปในที่ดินของโจทก์ทั้งสอง และวางหลักปักหมุดในที่ดินของโจทก์ทั้งสองเกินกว่าจำนวนเนื้อที่ที่ถูกเวนคืนตามที่ระบุในแผนที่และบัญชีรายชื่อเจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดินที่ต้องเวนคืนท้ายพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2532จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อโจทก์ได้โต้แย้งคัดค้านแล้ว แต่จำเลยทั้งสี่ยังยืนยันจะเข้าไปสร้างทางในที่ดินของโจทก์ส่วนนี้ จนโจทก์ต้องดำเนินคดีทางศาล ดังนี้ การกระทำของจำเลยทั้งสี่จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ระบุในคำขอท้ายฟ้องขอให้ศาลพิพากษาห้ามมิให้จำเลยทั้งสี่และบริวารเข้าไปเกี่ยวข้องกับที่ดินของโจทก์ทั้งสองตามฟ้องเนื้อที่ 3 ไร่ 1 งาน 74 ตารางวา หากจำเลยทั้งสี่ไม่ปฏิบัติหรือไม่สามารถ ปฏิบัติตามคำขอข้างต้นได้ให้จำเลยทั้งสี่ชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสองเป็นเงินเท่าราคาที่ดินที่โจทก์ทั้งสองทำสัญญาจะซื้อจะขายกับบุคคลภายนอก โดยโจทก์มิได้เรียกร้องค่าเสียหายอย่างอื่นอีกแต่ข้อเท็จจริงปรากฏตามสำนวนว่าในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งห้ามจำเลยกับพวกมิให้กระทำการใด ๆในที่ดินพิพาทจนกว่าคดีจะถึงที่สุด ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งว่าคดีนี้ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาแล้ว และอยู่ในระหว่างนัดฟังคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์จึงไม่มีเหตุที่จะคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ทั้งสองในระหว่างอุทธรณ์ให้ยกคำร้อง ซึ่งมีการอ่านคำสั่งในวันเดียวกันกับที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่วินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาทไม่ใช่ที่ดินที่ถูกเวนคืนจำเลยทั้งสี่จึงไม่มีสิทธิที่จะเข้าไปถือครอบครองที่ดินพิพาทได้โดยพลการ แต่ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าหลังจากนั้นฝ่ายจำเลยได้เข้าไปครอบครองหรือดำเนินการก่อสร้างทางในที่ดินพิพาท คงได้ความแต่เพียงว่าฝ่ายจำเลยได้นำรังวัดปักหมุดในเขตที่ดินพิพาทเท่านั้น โจทก์ทั้งสองจึงไม่ได้สูญเสียที่ดินพิพาทตามฟ้องไป ดังนี้ ย่อมฟังไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสองเสียหายเท่าราคาที่ดินที่โจทก์ทั้งสองทำสัญญาจะซื้อจะขายกับบุคคลภายนอกตามฟ้อง จำเลยทั้งสี่จึงไม่ต้องรับผิด ชดใช้ค่าเสียหายส่วนนี้ต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6101/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับเช็คเป็นการชำระหนี้แทนเงินสด เมื่อเช็คใช้ไม่ได้ สิทธิเรียกร้องระงับ หนี้เดิมก็ระงับตามไปด้วย
จำเลยกู้เงินไปจากโจทก์ตามสัญญากู้ฉบับพิพาทต่อมาการที่โจทก์ยอมรับเช็คซึ่งบริษัทน. เป็นผู้สั่งจ่ายเป็นการที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ยอมรับการชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระหนี้ด้วยเงินสด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 วรรคแรก และเมื่อปรากฏว่าเช็คฉบับดังกล่าวไม่อาจเรียกเก็บเงินได้ โจทก์ได้ฟ้องผู้สั่งจ่ายและได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยโจทก์ยอมให้ผู้สั่งจ่ายผ่อนชำระ ซึ่งมีผลให้สิทธิเรียกร้องของโจทก์เกี่ยวกับเช็คฉบับดังกล่าวระงับสิ้นไป โจทก์ได้สิทธิใหม่ตามที่กำหนดไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งมีผลเท่ากับว่าเช็คได้ใช้เงินแล้ว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 วรรคท้ายเมื่อหนี้เงินกู้ตามสัญญากู้ฉบับพิพาทจำนวน 600,000 บาทเป็นส่วนหนึ่งของหนี้ในเช็คจำนวน 1,700,000 บาทซึ่งได้มีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันแล้วหนี้ตามสัญญากู้ฉบับพิพาทจึงย่อมระงับสิ้นไปด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6101/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ด้วยเช็คและการระงับสิ้นหนี้เดิมเมื่อมีสัญญาประนีประนอมยอมความ
จำเลยกู้เงินไปจากโจทก์ตามสัญญากู้ฉบับพิพาท ต่อมาการที่โจทก์ยอมรับเช็คซึ่งบริษัท น.เป็นผู้สั่งจ่าย เป็นการที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ยอมรับการชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระหนี้ด้วยเงินสด ตาม ป.พ.พ.มาตรา 321วรรคแรก และเมื่อปรากฏว่าเช็คฉบับดังกล่าวไม่อาจเรียกเก็บเงินได้ โจทก์ได้ฟ้องผู้สั่งจ่ายและได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โดยโจทก์ยอมให้ผู้สั่งจ่ายผ่อนชำระ ซึ่งมีผลให้สิทธิเรียกร้องของโจทก์เกี่ยวกับเช็คฉบับดังกล่าวระงับสิ้นไป โจทก์ได้สิทธิใหม่ตามที่กำหนดไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งมีผลเท่ากับว่าเช็คได้ใช้เงินแล้ว ตาม ป.พ.พ.มาตรา 321 วรรคท้าย เมื่อหนี้เงินกู้ตามสัญญากู้ฉบับพิพาทจำนวน 600,000 บาท เป็นส่วนหนึ่งของหนี้ในเช็คจำนวน 1,700,000 บาท ซึ่งได้มีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันแล้วหนี้ตามสัญญากู้ฉบับพิพาทจึงย่อมระงับสิ้นไปด้วย ตาม ป.พ.พ.มาตรา 321 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6018/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซักค้านพยานในศาลไม่ใช่การหมิ่นประมาท หากไม่ยืนยันข้อเท็จจริงที่เป็นการใส่ความ
จำเลยเป็นทนายความให้ จ. ซึ่งถูกโจทก์ฟ้องขอแบ่งมรดกและขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถา ในการไต่สวนคำร้อง จำเลยได้ซักค้านโจทก์ว่า "โจทก์เป็นโจรรุ่นเดียวกับ เสือขาวใช่ไหม" ดังนี้ การที่จำเลยซักค้านโจทก์ดังกล่าว เป็นการถามพยานในเวลาพิจารณาคดีเพื่อการวินิจฉัย ชั่งน้ำหนักคำพยาน ไม่ใช่ข้อความที่ยืนยันว่าโจทก์ เป็นโจร จึงไม่เป็นการใส่ความ การกระทำของจำเลยไม่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5945/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงกฎหมายอาคารและการใช้บทบัญญัติที่เอื้อประโยชน์แก่จำเลย
จำเลยก่อสร้างอาคารที่เกิดเหตุมาก่อนวันที่ 6 มิถุนายน 2535อันเป็นวันที่ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 ใช้บังคับ โดยไม่ได้รับอนุญาต การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522มาตรา 21, 65 วรรคหนึ่ง, 70 แต่ต่อมามี พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 2)พ.ศ.2535 ออกใช้บังคับ โดยมาตรา 22 ให้ยกเลิกความในมาตรา 65 แห่งพ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 และมาตรา 25 ให้ยกเลิกความในมาตรา 70แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 และให้ใช้ความใหม่แทนบทกำหนดโทษตามมาตรา 65 วรรคหนึ่งเดิม ซึ่งเป็นบทกำหนดโทษผู้ก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต ระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท แต่มาตรา 65 วรรคหนึ่ง ที่แก้ไขใหม่ระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับส่วนมาตรา 70 ซึ่งเป็นบทกำหนดโทษให้หนักขึ้นในการกระทำผิดอันเกี่ยวกับอาคารเพื่อพาณิชยกรรมระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับเป็นสิบเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่มาตรา 70 ที่แก้ไขใหม่ ระวางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ อันเป็นกรณีที่กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ภายหลังกระทำความผิดอันมีทั้งส่วนที่เป็นคุณและเป็นโทษแก่ผู้กระทำความผิด ซึ่ง ป.อ.มาตรา 3 ให้ใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิดไม่ว่าในทางใด ดังนั้น จึงต้องนำมาตรา 70 ที่แก้ไขใหม่ อันเป็นคุณแก่จำเลยยิ่งกว่ามาตรา 70 เดิม มาใช้บังคับแก่จำเลย และยังคงใช้มาตรา 65 วรรคหนึ่งเดิม ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดอันเป็นคุณแก่จำเลยยิ่งกว่ามาตรา 65 ที่แก้ไขใหม่ มาใช้บังคับแก่จำเลย จำเลยจึงมีความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 65 วรรคหนึ่งเดิม
พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 65 วรรคสองเดิม มิได้บัญญัติให้ระวางโทษปรับรายวันแก่ผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 21ด้วย จึงลงโทษปรับจำเลยเป็นรายวันตามคำขอของโจทก์ไม่ได้
การก่อสร้างอาคารผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 31 นั้น จะลงโทษปรับเป็นรายวัน ตามมาตรา 65 วรรคสอง ได้ก็ต่อเมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งให้รื้อถอนอาคารดังกล่าวแล้ว และผู้ได้รับคำสั่งไม่ปฏิบัติตามมาตรา 42 วรรคสอง ในกรณีเช่นนี้จึงจะลงโทษปรับรายวันได้ตลอดเวลาที่ฝ่าฝืน หรือจนกว่าจะปฏิบัติตามแล้วแต่กรณี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5945/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตและการแก้ไขกฎหมายที่ใช้บังคับ ศาลฎีกาพิจารณาโทษตามกฎหมายที่มีผลดีต่อจำเลย
จำเลยก่อสร้างอาคารที่เกิดเหตุมาก่อนวันที่6 มิถุนายน 2535 อันเป็นวันที่พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 ใช้บังคับ โดยไม่ได้รับอนุญาตการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 21,65 วรรคหนึ่ง,70 แต่ต่อมามีพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 ออกใช้บังคับ โดยมาตรา 22ให้ยกเลิกความในมาตรา 65 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ. 2522 และมาตรา 25 ให้ยกเลิกความในมาตรา 70แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และให้ใช้ความใหม่แทนบทกำหนดโทษตามมาตรา 65 วรรคหนึ่งเดิมซึ่งเป็นบทกำหนดโทษผู้ก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต ระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท แต่มาตรา 65 วรรคหนึ่ง ที่แก้ไขใหม่ระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับส่วนมาตรา 70 ซึ่งเป็นบทกำหนดโทษให้หนักขึ้นในการกระทำผิดอันเกี่ยวกับอาคารเพื่อพาณิชยกรรมระวางโทษ จำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับเป็นสิบเท่าของโทษ ที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ หรือทั้งจำทั้งปรับแต่มาตรา 70 ที่แก้ไขใหม่ ระวางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ อันเป็นกรณีที่กฎหมาย ที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ภายหลังกระทำความผิดอันมีทั้งส่วนที่เป็นคุณและเป็นโทษแก่ผู้กระทำ ความผิด ซึ่งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 ให้ใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิดไม่ว่าในทางใดดังนั้น จึงต้องนำมาตรา 70 ที่แก้ไขใหม่ อันเป็นคุณแก่จำเลยยิ่งกว่ามาตรา 70 เดิม มาใช้บังคับแก่จำเลย และยังคงใช้มาตรา 65 วรรคหนึ่งเดิม ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดอันเป็นคุณแก่จำเลยยิ่งกว่ามาตรา 65ที่แก้ไขใหม่ มาใช้บังคับแก่จำเลย จำเลยจึงมีความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522มาตรา 65 วรรคหนึ่งเดิม พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 65 วรรคสอง เดิม มิได้บัญญัติให้ระวางโทษปรับรายวันแก่ผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติ ตามมาตรา 21 ด้วย จึงลงโทษปรับจำเลยเป็นรายวัน ตามคำขอของโจทก์ไม่ได้ การก่อสร้างอาคารผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522มาตรา 31 นั้น จะลงโทษปรับเป็นรายวัน ตามมาตรา 65 วรรคสอง ได้ก็ต่อเมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งให้รื้อถอนอาคารดังกล่าวแล้ว และผู้ได้รับคำสั่งไม่ปฏิบัติตามมาตรา 42 วรรคสอง ในกรณีเช่นนี้จึงจะลงโทษปรับรายวันได้ตลอดเวลาที่ฝ่าฝืน หรือจนกว่า จะปฏิบัติตามแล้วแต่กรณี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5834/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไปยังภูมิลำเนาจำเลยที่ถูกต้องตามกฎหมาย และผลของการรับทราบวันนัด
โจทก์ฟ้องจำเลยโดยบรรยายไว้ในคำฟ้องว่าจำเลยอยู่บ้านเลขที่281 เมื่อเจ้าพนักงานศาลนำหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไปส่งให้จำเลยที่บ้านเลขที่ดังกล่าว แต่ไม่พบจำเลย พบเพียงหญิงอายุประมาณ 40 ปี แจ้งว่าไม่เคยมีชื่อจำเลยอยู่ในบ้านดังกล่าว และไม่ยอมรับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไว้แทน โจทก์จึงต้องยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องเกี่ยวกับภูมิลำเนาของจำเลยเป็นบ้านเลขที่ 482/2ซึ่งการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องในครั้งหลังนี้ จำเลยทราบว่าถูกโจทก์ฟ้องและได้ยื่นคำให้การต่อสู้คดี แสดงว่าจำเลยถือเอาบ้านเลขที่ 482/2 เป็นภูมิลำเนาของจำเลยอีกแห่งหนึ่ง ฉะนั้น การปิดหมายแจ้งวันนัดการขายทอดตลาดให้จำเลยทราบที่บ้านเลขที่ดังกล่าวจึงชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 79 และถือว่าจำเลยทราบวันนัดขายทอดตลาดแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5834/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียกและแจ้งการขายทอดตลาดชอบด้วยกฎหมาย แม้จำเลยไม่ได้พักอาศัยที่ภูมิลำเนาตามทะเบียนบ้าน
โจทก์ฟ้องจำเลยโดยบรรยายไว้ในคำฟ้องว่าจำเลย อยู่บ้านเลขที่ 281 เมื่อเจ้าพนักงานศาลนำหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไปส่งให้จำเลยที่บ้านเลขที่ดังกล่าวแต่ไม่พบจำเลย พบเพียงหญิงอายุประมาณ 40 ปี แจ้งว่าไม่เคยมีชื่อจำเลยอยู่ในบ้านดังกล่าว และไม่ยอมรับหมายเรียก และสำเนาคำฟ้องไว้แทน โจทก์จึงต้องยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้อง เกี่ยวกับภูมิลำเนาของจำเลยเป็นบ้านเลขที่ 482/2 ซึ่งการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องในครั้งหลังนี้ จำเลยทราบว่าถูกโจทก์ฟ้องและได้ยื่นคำให้การต่อสู้คดี แสดงว่าจำเลยถือเอาบ้านเลขที่ 482/2 เป็นภูมิลำเนา ของจำเลยอีกแห่งหนึ่ง ฉะนั้น การปิดหมายแจ้งวันนัด การขายทอดตลาดให้จำเลยทราบที่บ้านเลขที่ดังกล่าว จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 79 และถือว่าจำเลยทราบวันนัดขายทอดตลาดแล้ว
of 29