พบผลลัพธ์ทั้งหมด 288 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5782/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้เช่าต่อความเสียหายจากทรัพย์สินอาคาร และการใช้สำเนาเอกสารต่างประเทศเป็นหลักฐาน
แม้สัญญาเช่าและสัญญาบริการระหว่างบริษัท ย. กับจำเลยที่ 1ผู้เช่าและผู้รับบริการจะระบุให้บริษัทผู้ให้เช่าอาคารเลขที่ 127 และผู้ให้บริการเป็นผู้ดูแลและให้บริการด้านความปลอดภัย ซ่อมแซมบำรุงรักษาสิ่งปลูกสร้างและทรัพย์สินส่วนกลางตลอดจนอุปกรณ์ต่าง ๆ ก็ตาม แต่จำเลยที่ 1 เป็นผู้เช่าซึ่งเป็นผู้ครอบครองพื้นที่ชั้นใต้ดิน ชั้นที่ 1 ถึงชั้นที่ 3 และชั้นที่ 7 ภายในอาคารดังกล่าว และเป็นผู้ได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในพื้นที่อาคารที่เช่า บริษัทผู้ให้เช่าและผู้ให้บริการดังกล่าวหาใช่ผู้ครอบครองซึ่งได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินที่เช่าไม่ จำเลยที่ 1 ผู้เช่าอาคารนั้น ไม่ว่าจะเช่าเพื่ออยู่อาศัยหรือเพื่อประกอบการค้าขายสินค้าก็ถือได้ว่าเป็นบุคคลผู้อยู่ในโรงเรือน ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 436 เมื่อธงขนาดใหญ่ที่ถูกแรงลมพัดจนหลุดและปลิวไปถูกสายไฟฟ้าจนขาดตกลงมาถูกตัวโจทก์จนได้รับอันตรายแก่กายเป็นธงที่ติดอยู่ที่อาคารซึ่งจำเลยที่ 1 ครอบครอง จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุคคลผู้อยู่ในโรงเรือนจึงต้องรับผิดในความเสียหายอันเกิดแต่ธงนั้นหล่นจากอาคารดังกล่าว
ต้นฉบับใบเสร็จรับเงิน ใบรับรองแพทย์และใบแจ้งรายละเอียดของการจ่ายค่าตอบแทนอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น โจทก์จำเป็นต้องใช้เป็นหลักฐานในการเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทประกันภัย จึงถือได้ว่าเป็นกรณีที่โจทก์ไม่สามารถนำต้นฉบับมาได้โดยประการอื่น ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 93 (2) ศาลย่อมอนุญาตให้นำสำเนามาสืบได้ สำเนาเอกสารดังกล่าวจึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้
ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 46 วรรคสาม ที่บัญญัติว่า ถ้าต้นฉบับเอกสารหรือแผ่นกระดาษไม่ว่าอย่างใด ๆ ที่ส่งต่อศาลได้ทำขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศให้ศาลสั่งคู่ความฝ่ายที่ส่งให้ทำคำแปลทั้งฉบับหรือเฉพาะแต่ส่วนสำคัญโดยมีคำรับรองมายื่นเพื่อแนบไว้กับต้นฉบับนั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีการแปลภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทยให้ถูกต้องตรงกับต้นฉบับเท่านั้น หากจำเลยที่ 1 เห็นว่าคำแปลไม่ถูกต้องก็ชอบที่จะคัดค้านได้ แต่ตามคำแถลงคัดค้านของจำเลยที่ 1 ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1คัดค้านว่าคำแปลเอกสารภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาไทยนั้นไม่ถูกต้องตรงกับภาษาญี่ปุ่นอย่างไร ดังนั้น ศาลจึงรับฟังเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานได้ แม้เอกสารดังกล่าวไม่มีการรับรองว่าคำแปลเป็นภาษาไทยถูกต้องก็ตาม
ต้นฉบับใบเสร็จรับเงิน ใบรับรองแพทย์และใบแจ้งรายละเอียดของการจ่ายค่าตอบแทนอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น โจทก์จำเป็นต้องใช้เป็นหลักฐานในการเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทประกันภัย จึงถือได้ว่าเป็นกรณีที่โจทก์ไม่สามารถนำต้นฉบับมาได้โดยประการอื่น ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 93 (2) ศาลย่อมอนุญาตให้นำสำเนามาสืบได้ สำเนาเอกสารดังกล่าวจึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้
ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 46 วรรคสาม ที่บัญญัติว่า ถ้าต้นฉบับเอกสารหรือแผ่นกระดาษไม่ว่าอย่างใด ๆ ที่ส่งต่อศาลได้ทำขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศให้ศาลสั่งคู่ความฝ่ายที่ส่งให้ทำคำแปลทั้งฉบับหรือเฉพาะแต่ส่วนสำคัญโดยมีคำรับรองมายื่นเพื่อแนบไว้กับต้นฉบับนั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีการแปลภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทยให้ถูกต้องตรงกับต้นฉบับเท่านั้น หากจำเลยที่ 1 เห็นว่าคำแปลไม่ถูกต้องก็ชอบที่จะคัดค้านได้ แต่ตามคำแถลงคัดค้านของจำเลยที่ 1 ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1คัดค้านว่าคำแปลเอกสารภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาไทยนั้นไม่ถูกต้องตรงกับภาษาญี่ปุ่นอย่างไร ดังนั้น ศาลจึงรับฟังเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานได้ แม้เอกสารดังกล่าวไม่มีการรับรองว่าคำแปลเป็นภาษาไทยถูกต้องก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5782/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้เช่าต้องรับผิดต่อความเสียหายจากสิ่งของตกหล่นจากอาคารที่ตนครอบครอง ตามหลักความรับผิดในโรงเรือน
แม้สัญญาเช่าและสัญญาบริการระหว่างบริษัท ย.กับจำเลยที่ 1 ผู้เช่าและผู้รับบริการจะระบุให้บริษัทผู้ให้เช่าอาคารเลขที่ 127 และผู้ให้บริการเป็นผู้ดูแลและให้บริการด้านความปลอดภัย ซ่อมแซมบำรุงรักษาสิ่งปลูกสร้างและทรัพย์สินส่วนกลางตลอดจนอุปกรณ์ต่าง ๆ ก็ตาม แต่จำเลยที่ 1เป็นผู้เช่าซึ่งเป็นผู้ครอบครองพื้นที่ชั้นใต้ดิน ชั้นที่ 1ถึงชั้นที่ 3 และชั้นที่ 7 ภายในอาคารดังกล่าว และเป็นผู้ได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในพื้นที่อาคารที่เช่าบริษัทผู้ให้เช่าและผู้ให้บริการดังกล่าวหาใช่ผู้ครอบครองซึ่งได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินที่เช่าไม่ จำเลยที่ 1ผู้เช่าอาคารนั้น ไม่ว่าจะเช่าเพื่ออยู่อาศัยหรือเพื่อประกอบการค้าขายสินค้าก็ถือได้ว่าเป็นบุคคล ผู้อยู่ในโรงเรือน ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 436 เมื่อธงขนาดใหญ่ที่ถูกแรงลมพัดจนหลุดและปลิว ไปถูกสายไฟฟ้าจนขาดตกลงมาถูกตัวโจทก์จนได้รับอันตรายแก่กาย เป็นธงที่ติดอยู่ที่อาคารซึ่งจำเลยที่ 1 ครอบครอง จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุคคลผู้อยู่ในโรงเรือนจึงต้องรับผิด ในความเสียหายอันเกิดแต่ธงนั้นหล่นจากอาคารดังกล่าว ต้นฉบับใบเสร็จรับเงิน ใบรับรองแพทย์และใบแจ้งรายละเอียดของการจ่ายค่าตอบแทนอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น โจทก์จำเป็นต้องใช้เป็นหลักฐานในการเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทน จากบริษัทประกันภัย จึงถือได้ว่าเป็นกรณีที่โจทก์ไม่สามารถ นำต้นฉบับมาได้โดยประการอื่น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 93(2) ศาลย่อมอนุญาตให้นำสำเนามาสืบได้ สำเนาเอกสาร ดังกล่าวจึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 46 วรรคสามที่บัญญัติว่า ถ้าต้นฉบับเอกสารหรือแผ่นกระดาษไม่ว่าอย่างใด ๆที่ส่งต่อศาลได้ทำขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศให้ศาลสั่งคู่ความฝ่ายที่ส่งให้ทำคำแปลทั้งฉบับหรือเฉพาะแต่ส่วนสำคัญโดยมีคำรับรองมายื่นเพื่อแนบไว้กับต้นฉบับนั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีการแปลภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทยให้ถูกต้องตรงกับต้นฉบับเท่านั้น หากจำเลยที่ 1 เห็นว่าคำแปลไม่ถูกต้องก็ชอบที่จะคัดค้านได้ แต่ตามคำแถลงคัดค้านของจำเลยที่ 1ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 คัดค้านว่าคำแปลเอกสารภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาไทยนั้นไม่ถูกต้องตรงกับภาษาญี่ปุ่นอย่างไรดังนั้น ศาลจึงรับฟังเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานได้แม้เอกสารดังกล่าวไม่มีการรับรองว่าคำแปลเป็นภาษาไทยถูกต้องก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5719/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการเพิกถอนการขายทอดตลาด: สิทธิโจทก์ยังคงอยู่แม้เวลาผ่านพ้น
โจทก์ได้ร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาภายใน 10 ปีนับแต่วันมีคำพิพากษา ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 271 แล้ว แต่คดีมีปัญหาเฉพาะขั้นตอนการขายทอดตลาด ซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดีโดยเฉพาะ ไม่เกี่ยวกับโจทก์หรือผู้แทนโจทก์ แม้จำเลยร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดและขายทอดตลาดใหม่และศาลฎีกาเห็นว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ทำการขายทอดตลาดไปโดยไม่ได้แจ้งให้จำเลยทราบคำสั่งของศาลที่อนุญาตให้ขายทอดตลาดและวันขายทอดตลาด จึงพิพากษาให้เพิกถอนการขายทอดตลาดและขายทอดตลาดใหม่ แม้ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้คู่ความฟังเมื่อเกิน 10 ปีนับแต่วันมีคำพิพากษาศาลชั้นต้น ก็ไม่กระทบถึงสิทธิของโจทก์ที่จะขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทำการขายทอดตลาดใหม่ต่อไปตามคำพิพากษาศาลฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5719/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการเพิกถอนการขายทอดตลาด: สิทธิของโจทก์ยังคงอยู่แม้ระยะเวลาเกิน 10 ปี หากมีเหตุให้เพิกถอน
โจทก์ได้ร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาภายใน 10 ปีนับแต่วันมีคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 271 แล้ว แต่คดีมีปัญหาเฉพาะขั้นตอนการขายทอดตลาดซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดีโดยเฉพาะไม่เกี่ยวกับโจทก์หรือผู้แทนโจทก์ แม้จำเลยร้องขอ ให้เพิกถอนการขายทอดตลาดและขายทอดตลาดใหม่และศาลฎีกาเห็นว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ทำการขายทอดตลาดไปโดยไม่ได้แจ้งให้จำเลยทราบคำสั่งของศาลที่อนุญาตให้ขายทอดตลาด และวันขายทอดตลาด จึงพิพากษาให้เพิกถอนการขายทอดตลาด และขายทอดตลาดใหม่ แม้ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกา ให้คู่ความฟังเมื่อเกิน 10 ปีนับแต่วันมีคำพิพากษาศาลชั้นต้น ก็ไม่กระทบถึงสิทธิของโจทก์ที่จะขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดี ทำการขายทอดตลาดใหม่ต่อไปตามคำพิพากษาศาลฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5624/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานที่เป็นสำเนาเอกสารที่เจ้าพนักงานรับรอง แม้ผู้รับรองไม่มีอำนาจโดยตรง หากไม่มีข้อพิรติ
แม้สำเนารายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีที่โจทก์อ้างส่งศาลมีสิบตำรวจตรี ม. ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจลงชื่อรับรองสำเนาเอกสารดังกล่าวโดยไม่มีอำนาจหน้าที่ก็ตาม แต่เมื่อมิใช่เป็นข้อสาระสำคัญ เพราะในชั้นพิจารณาไม่ปรากฏว่าเอกสารดังกล่าวไม่ตรงกับต้นฉบับ ทั้งจำเลยมิได้คัดค้านโต้แย้งความถูกต้องแท้จริงของเอกสารนี้ เมื่อเป็นสำเนาเอกสารที่เจ้าพนักงานรับรองว่าถ่ายมาจากต้นฉบับจริงย่อมรับฟังได้โดยชอบ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา238
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5624/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สำเนาเอกสารที่เจ้าพนักงานรับรอง แม้มิมีอำนาจ ย่อมรับฟังได้หากไม่ปรากฏความไม่ตรงกัน
แม้สำเนารายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีที่โจทก์อ้างส่งศาลมีสิบตำรวจตรี ม.ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจลงชื่อรับรองสำเนาเอกสารดังกล่าวโดยไม่มีอำนาจหน้าที่ก็ตาม แต่เมื่อมิใช่เป็นข้อสาระสำคัญ เพราะในชั้นพิจารณาไม่ปรากฏว่าเอกสารดังกล่าวไม่ตรงกับต้นฉบับ ทั้งจำเลยมิได้คัดค้านโต้แย้งความถูกต้องแท้จริงของเอกสารนี้ เมื่อเป็นสำเนาเอกสารที่เจ้าพนักงานรับรองว่าถ่ายมาจากต้นฉบับจริง ย่อมรับฟังได้โดยชอบ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 238
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5549/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยืมรถและการรับผิดในละเมิด: จำเลยไม่ต้องรับผิดหากผู้ยืมไม่ได้เป็นตัวแทน
จำเลยเป็นเจ้าของรถยนต์กระบะคันเกิดเหตุโดยในขณะเกิดเหตุจำเลยให้ น. ยืมเงิน โดยให้ น.ขับรถยนต์ของจำเลยคันดังกล่าวไปรับเงินจากภรรยาของจำเลย แล้ว น.ขับรถยนต์ไปเฉี่ยวชนกับรถจักรยานยนต์คันอื่นโดยละเมิด เป็นเหตุให้ ณ.ผู้ขับขี่ และ บ. ซึ่งนั่งซ้อนท้ายมากับรถคันดังกล่าวถึงแก่ความตายแต่การที่ น. นำรถยนต์ที่จำเลยให้ยืมเพื่อไปรับเงินที่จำเลยให้ยืมจากภรรยาของจำเลย มิใช่เป็นการทำการแทนจำเลย หากแต่เป็นการทำเพื่อกิจการและประโยชน์ของ น.เอง ดังนี้น. จึงมิใช่ตัวแทนของจำเลย จำเลยย่อมไม่ต้องรับผิดในผลแห่งละเมิดซึ่ง น. ได้กระทำไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5543/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนที่ดินเป็นทางสาธารณประโยชน์ขัดเจตนาเจ้าของที่ดิน การแก้ไขทะเบียนที่ดิน
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์มิได้มีเจตนาจะยกที่ดินพิพาทในคดีนี้ให้เป็นทางสาธารณประโยชน์ แต่จำเลยกลับจดทะเบียนให้ที่ดินพิพาทเป็นทางสาธารณ-ประโยชน์ ขัดต่อเจตนาของโจทก์ ขอให้จำเลยจดทะเบียนแก้คำว่า แบ่งหักให้เป็นทางสาธารณประโยชน์ออกไปจากโฉนดที่ดินของโจทก์ แล้วใส่ชื่อโจทก์แทน เมื่อปรากฏตามหลักฐานทางทะเบียนว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ของโจทก์ แต่เป็นทางสาธารณ-ประโยชน์ ดังนั้น หากโจทก์ชนะคดีโจทก์ย่อมได้รับที่ดินพิพาทดังกล่าวกลับคืนมาเป็นของโจทก์ จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5543/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนที่ดินผิดวัตถุประสงค์และข้อจำกัดการฎีกาในคดีมีทุนทรัพย์ไม่เกินสองแสนบาท
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์มิได้มีเจตนาจะยกที่ดินพิพาทในคดีนี้ให้เป็นทางสาธารณประโยชน์ แต่จำเลยกลับจดทะเบียน ให้ที่ดินพิพาทเป็นทางสาธารณประโยชน์ ขัดต่อเจตนาของโจทก์ ขอให้จำเลยจดทะเบียนแก้คำว่า แบ่งหักให้เป็นทางสาธารณประโยชน์ ออกไปจากโฉนดที่ดินของโจทก์ แล้วใส่ชื่อโจทก์แทน เมื่อปรากฎตามหลักฐานทางทะเบียนว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ของโจทก์แต่เป็นทางสาธารณประโยชน์ ดังนั้น หากโจทก์ชนะคดีโจทก์ย่อมได้รับที่ดินพิพาทดังกล่าวกลับคืนมาเป็นของโจทก์จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5526/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะแลกเปลี่ยนที่ดิน: สิทธิเรียกร้องบังคับตามสัญญาและการผูกพันตามคำพิพากษาถึงที่สุด
หนังสือสัญญาเอกสารท้ายฟ้องที่จำเลยได้ทำกับ ร.มีข้อความระบุว่าตกลงแลกเปลี่ยนที่ดินกัน โดยที่พิพาทเป็นกรรมสิทธิ์รวมของ ร.และบิดาจำเลย เนื่องจากบิดาจำเลยถึงแก่กรรม จำเลยจะขอรับมรดกที่พิพาทส่วนของบิดา เมื่อได้รับ มรดกที่พิพาทหนี้เสร็จเรียบร้อยแล้ว จำเลยยอมโอนกรรมสิทธิ์ ที่พิพาทส่วนของบิดาที่รับมรดกเนื้อที่ประมาณ 2 ไร่ ให้แก่ ร.ส่วนร. จะโอนที่ดิน 3 แปลง ให้แก่จำเลยต่อมามีการบันทึกเพิ่มเติมว่า จำเลยได้รับ ส.ค.1 ที่เชิงทะเลไปแล้ว จำเลยจะโอนที่พิพาทให้แก่พวกลูก ร.เมื่อถึงเวลาพวกลูกของ ร.ต้องการ จำเลยจะโอนให้ทันที ดังนี้เมื่อขณะทำสัญญาที่ดินพิพาทยังมีชื่อบิดาจำเลย เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดอยู่ ทั้งสัญญาระบุไว้ชัดเจนว่าจำเลยจะโอนกรรมสิทธิ์ให้เมื่อรับโอนมรดกแล้วข้อตกลงตามสัญญา จึงเป็นสัญญาจะแลกเปลี่ยนที่ดินซึ่งมีหลักฐานเป็นหนังสือ ลงลายมือชื่อฝ่ายจำเลยผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญ ต้องด้วย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 519 ประกอบมาตรา 456 วรรคสอง โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกันของ ร. ย่อมมีสิทธิฟ้องร้องบังคับเอาแก่จำเลยได้ ศาลอุทธรณ์ได้พิพากษาคดีถึงที่สุดแล้วว่า จำเลยได้รับที่ดินของ ร. ตามสัญญาครบถ้วนแล้ว จำเลยไม่มีสิทธิเรียกให้แบ่งที่พิพาท จำเลยมีหน้าที่ต้องโอนส่วนของจำเลยในโฉนดที่พิพาทให้โจทก์ เมื่อจำเลยเป็นคู่ความในคดีดังกล่าว จึงต้องผูกพันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 145 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงต้องโอนที่พิพาทให้โจทก์ทั้งสอง ในฐานะผู้จัดการมรดกร่วมกันของ ร.