พบผลลัพธ์ทั้งหมด 288 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5526/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะแลกเปลี่ยนที่ดินและสิทธิของผู้จัดการมรดกในการบังคับตามสัญญา
หนังสือสัญญาเอกสารท้ายฟ้องที่จำเลยได้ทำกับ ร.มีข้อความระบุว่าตกลงแลกเปลี่ยนที่ดินกัน โดยที่พิพาทเป็นกรรมสิทธิ์รวมของ ร.และบิดาจำเลย เนื่องจากบิดาจำเลยถึงแก่กรรม จำเลยจะขอรับมรดกที่พิพาทส่วนของบิดาเมื่อได้รับมรดกที่พิพาทนี้เสร็จเรียบร้อยแล้ว จำเลยยอมโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทส่วนของบิดาที่รับมรดกเนื้อที่ประมาณ 2 ไร่ ให้แก่ ร. ส่วน ร.จะโอนที่ดิน 3 แปลงให้แก่จำเลย ต่อมามีการบันทึกเพิ่มเติมว่า จำเลยได้รับ ส.ค.1 ที่เชิงทะเลไปแล้วจำเลยจะโอนที่พิพาทให้แก่พวกลูก ร. เมื่อถึงเวลาพวกลูกของ ร.ต้องการ จำเลยจะโอนให้ทันที ดังนี้ เมื่อขณะทำสัญญาที่ดินพิพาทยังมีชื่อบิดาจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดอยู่ ทั้งสัญญาระบุไว้ชัดเจนว่าจำเลยจะโอนกรรมสิทธิ์ให้เมื่อรับโอนมรดกแล้วข้อตกลงตามสัญญาจึงเป็นสัญญาจะแลกเปลี่ยนที่ดินซึ่งมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายจำเลยผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญ ต้องด้วย ป.พ.พ.มาตรา 519 ประกอบมาตรา456 วรรคสอง โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกันของ ร. ย่อมมีสิทธิฟ้องร้องบังคับเอาแก่จำเลยได้
ศาลอุทธรณ์ได้พิพากษาคดีถึงที่สุดแล้วว่า จำเลยได้รับที่ดินของ ร.ตามสัญญาครบถ้วนแล้ว จำเลยไม่มีสิทธิเรียกให้แบ่งที่พิพาท จำเลยมีหน้าที่ต้องโอนส่วนของจำเลยในโฉนดที่พิพาทให้โจทก์ เมื่อจำเลยเป็นคู่ความในคดีดังกล่าว จึงต้องผูกพันตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงต้องโอนที่พิพาทให้โจทก์ทั้งสองในฐานะผู้จัดการมรดกร่วมกันของ ร.
ศาลอุทธรณ์ได้พิพากษาคดีถึงที่สุดแล้วว่า จำเลยได้รับที่ดินของ ร.ตามสัญญาครบถ้วนแล้ว จำเลยไม่มีสิทธิเรียกให้แบ่งที่พิพาท จำเลยมีหน้าที่ต้องโอนส่วนของจำเลยในโฉนดที่พิพาทให้โจทก์ เมื่อจำเลยเป็นคู่ความในคดีดังกล่าว จึงต้องผูกพันตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงต้องโอนที่พิพาทให้โจทก์ทั้งสองในฐานะผู้จัดการมรดกร่วมกันของ ร.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5242/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: การกำหนดราคาค่าทดแทนตามราคาตลาด ณ วันที่กฎหมายมีผลบังคับใช้ และสิทธิในการได้รับดอกเบี้ย
จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ฯ กับโจทก์เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2537 และจ่ายเงินค่าอสังหาริมทรัพย์ตามสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวให้แก่โจทก์เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2537 แม้มิใช่เป็นการดำเนินการเพื่อเวนคืนโดยอาศัย พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน.. พ.ศ. 2530 แต่การดำเนินการดังกล่าวอยู่ในระหว่างเวลาบังคับใช้ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน? พ.ศ. 2535 ซึ่งมีจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามพระราชกฤษฎีกาฉบับหลังนี้ ทำให้จำเลยที่ 2 มีอำนาจตกลงซื้อขายและกำหนดจำนวนเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ ที่จะต้องเวนคืนจากโจทก์และจ่ายเงินค่าอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวให้แก่โจทก์ จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ฯ กับโจทก์ โดยอาศัยอำนาจของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตาม พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน.. พ.ศ. 2535 การดำเนินการเพื่อเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์จึงเป็นการดำเนินการโดยอาศัย พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน? พ.ศ. 2535 และไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการกำหนดเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์ที่จะต้องเวนคืนไว้เป็นพิเศษในพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับใดโดยเฉพาะ ดังนั้น การกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่จะต้องเวนคืนจึงต้องคำนึงถึงมาตรา 21 (1) ถึง (5) แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 คือต้องคำนึงถึงราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของที่ดินของโจทก์ที่จะต้องเวนคืนตามที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน? พ.ศ. 2535 คือวันที่ 29 สิงหาคม 2535
โจทก์กับจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันตามมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2537 ดังนั้น ฝ่ายจำเลยมีหน้าที่จะต้องจ่ายเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ทั้งหมดให้แก่โจทก์ภายใน 120 วัน นับแต่วันที่ทำสัญญาซึ่งก็คือวันที่ 15 พฤษภาคม 2537 ตามมาตรา 11 วรรคหนึ่ง อันเป็นวันที่ต้องมีการจ่ายตามมาตรา 26 วรรคท้าย โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยนับแต่วันดังกล่าว ไม่ใช่คิดจากวันรับเงินค่าทดแทน
โจทก์กับจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันตามมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2537 ดังนั้น ฝ่ายจำเลยมีหน้าที่จะต้องจ่ายเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ทั้งหมดให้แก่โจทก์ภายใน 120 วัน นับแต่วันที่ทำสัญญาซึ่งก็คือวันที่ 15 พฤษภาคม 2537 ตามมาตรา 11 วรรคหนึ่ง อันเป็นวันที่ต้องมีการจ่ายตามมาตรา 26 วรรคท้าย โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยนับแต่วันดังกล่าว ไม่ใช่คิดจากวันรับเงินค่าทดแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5219/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเรียกคืนที่ดินและฟ้องแย้งละเมิด: เงื่อนไขฟ้องแย้งต้องเชื่อมโยงกับฟ้องเดิม
แม้จำเลยจะให้การรับว่าโจทก์มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามฟ้องร่วมกับอ. โดยจำเลยเพียงมีชื่อถือกรรมสิทธิ์แทนก็ตาม แต่เมื่อจำเลยยังมิได้โอนเปลี่ยนชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ให้โจทก์ตามที่โจทก์ต้องการจนโจทก์ต้องนำคดีมาฟ้องต่อศาล ถือได้ว่ามีข้อโต้แย้งที่โจทก์จำเป็นต้องใช้สิทธิทางศาลแล้ว โจทก์จึงฟ้องจำเลยได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 55
โจทก์ฟ้องเรียกที่ดินคืนจากจำเลยอ้างว่าให้จำเลยใส่ชื่อในโฉนดที่ดินไว้แทน แต่ฟ้องแย้งของจำเลยเป็นเรื่องละเมิดเรียกค่าเสียหายโดยจำเลยกล่าวอ้างว่าโจทก์กลั่นแกล้งฟ้องจำเลยทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย ฟ้องแย้งของจำเลยจึงมีเงื่อนไข เพราะจะรับฟังได้เมื่อคดีฟังได้ว่าฟ้องเดิมเป็นเรื่องที่โจทก์แกล้งฟ้องจำเลยก่อน ฟ้องแย้งของจำเลยจึงไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม ชอบที่ศาลจะสั่งไม่รับฟ้องแย้งของจำเลย
โจทก์กับ อ.จะมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามฟ้องคนละเท่าใดตามที่จำเลยให้การและฟ้องแย้ง ย่อมเป็นเรื่องที่โจทก์กับ อ.จะไปว่ากล่าวกันเอง ไม่เกี่ยวกับคดีนี้ ที่ศาลชั้นต้นไม่รับฟ้องแย้ง และงดสืบพยานโจทก์จำเลยในประเด็นนี้ชอบแล้ว
โจทก์ฟ้องเรียกที่ดินคืนจากจำเลยอ้างว่าให้จำเลยใส่ชื่อในโฉนดที่ดินไว้แทน แต่ฟ้องแย้งของจำเลยเป็นเรื่องละเมิดเรียกค่าเสียหายโดยจำเลยกล่าวอ้างว่าโจทก์กลั่นแกล้งฟ้องจำเลยทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย ฟ้องแย้งของจำเลยจึงมีเงื่อนไข เพราะจะรับฟังได้เมื่อคดีฟังได้ว่าฟ้องเดิมเป็นเรื่องที่โจทก์แกล้งฟ้องจำเลยก่อน ฟ้องแย้งของจำเลยจึงไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม ชอบที่ศาลจะสั่งไม่รับฟ้องแย้งของจำเลย
โจทก์กับ อ.จะมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามฟ้องคนละเท่าใดตามที่จำเลยให้การและฟ้องแย้ง ย่อมเป็นเรื่องที่โจทก์กับ อ.จะไปว่ากล่าวกันเอง ไม่เกี่ยวกับคดีนี้ ที่ศาลชั้นต้นไม่รับฟ้องแย้ง และงดสืบพยานโจทก์จำเลยในประเด็นนี้ชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5219/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฟ้องร้องเมื่อกรรมสิทธิ์ไม่เป็นไปตามเจตนา และขอบเขตการพิจารณาฟ้องแย้งที่เกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม
แม้จำเลยจะให้การรับว่าโจทก์มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามฟ้องร่วมกับอ. โดยจำเลยเพียงมีชื่อถือกรรมสิทธิ์แทนก็ตาม แต่เมื่อจำเลยยังมิได้โอนเปลี่ยนชื่อ ผู้ถือกรรมสิทธิ์ให้โจทก์ตามที่โจทก์ต้องการจนโจทก์ ต้องนำคดีมาฟ้องต่อศาล ถือได้ว่ามีข้อโต้แย้งที่โจทก์จำเป็น ต้องใช้สิทธิทางศาลแล้ว โจทก์จึงฟ้องจำเลยได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 โจทก์ฟ้องเรียกที่ดินคืนจากจำเลยอ้างว่าให้จำเลยใส่ชื่อในโฉนดที่ดินไว้แทน แต่ฟ้องแย้งของจำเลยเป็นเรื่อง ละเมิดเรียกค่าเสียหายโดยจำเลยกล่าวอ้างว่าโจทก์กลั่นแกล้งฟ้องจำเลยทำให้จำเลยได้รับความเสียหายฟ้องแย้งของจำเลยจึงมีเงื่อนไข เพราะจะรับฟังได้เมื่อคดีฟังได้ว่าฟ้องเดิมเป็นเรื่องที่โจทก์แกล้งฟ้องจำเลยก่อน ฟ้องแย้งของจำเลยจึงไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม ชอบที่ศาลจะสั่ง ไม่รับฟ้องแย้งของจำเลย โจทก์กับอ. จะมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามฟ้องคนละเท่าใดตามที่จำเลยให้การและฟ้องแย้ง ย่อมเป็นเรื่องที่โจทก์ กับอ. จะไปว่ากล่าวกันเอง ไม่เกี่ยวกับคดีนี้ ที่ศาลชั้นต้นไม่รับฟ้องแย้ง และงดสืบพยานโจทก์จำเลย ในประเด็นนี้ชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5127/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันคำพิพากษาคดีก่อนเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ และการวินิจฉัยประเด็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวเนื่องกับความสงบเรียบร้อย
คดีก่อนจำเลยที่ 2 ในคดีนี้เป็นโจทก์ฟ้องส.เป็นจำเลยที่ 1 และโจทก์เป็นจำเลยที่ 2 โดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าของบ้านเลขที่ 81/1 จะเข้าไปรื้อบ้านหลังดังกล่าวของจำเลยที่ 2 แต่ส.กับโจทก์ซึ่งเป็นสามีภริยากันขัดขวางขอให้ห้าม ส. และโจทก์ขัดขวางการรื้อบ้านโจทก์ให้การในคดีก่อนว่า จำเลยที่ 2 จะรื้อบ้านเลขที่ 81/3ของโจทก์ และฟ้องแย้งให้จำเลยที่ 2 รื้อบ้านเลขที่ 81/1ของจำเลยที่ 2 ออกไปศาลชั้นต้นพิพากษาคดีถึงที่สุดว่าหลังจากการบังคับคดีในคดีก่อนแล้ว โจทก์ได้ขอออกเลขที่บ้านใหม่เป็นเลขที่ 81/3 เมื่อ จำเลยที่ 2 ซื้อบ้านตามคำสั่งศาลโดยสุจริตจึงย่อมได้กรรมสิทธิ์ ห้ามส.และโจทก์เกี่ยวข้องหรือขัดขวางในการที่จำเลยที่ 2จะทำการรื้อบ้านเลขที่ 81/1 ซึ่งปัจจุบันได้มีการออกทะเบียนบ้าน ใหม่เป็นเลขที่ 81/3 ฟ้องแย้งของโจทก์ให้ยกเสีย คำพิพากษา ในคดีดังกล่าวย่อมผูกพันโจทก์และจำเลยที่ 2 ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคหนึ่งและเมื่อคำพิพากษานั้นวินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์ในบ้านดังกล่าวว่าเป็นของจำเลยที่ 2 จึงย่อมใช้ยันบุคคลภายนอกคือจำเลยที่ 1 ในคดีนี้ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 145(2) คดีก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาถึงที่สุดโดยฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 2 ซื้อบ้านเลขที่ 81/1 ซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนเป็น 81/3 ตามคำสั่งศาลโดยสุจริตย่อมได้กรรมสิทธิ์ เท่ากับศาลมีคำวินิจฉัยว่าโจทก์มิได้เป็นเจ้าของ บ้านเลขที่ 81/3 การที่โจทก์มาฟ้องเป็นคดีนี้โดยยกข้ออ้าง ที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า บ้านเลขที่ 81/3 เป็นของโจทก์อีก และจำเลยที่ 2 ก็ให้การว่า บ้านเลขที่ดังกล่าวไม่ใช่ของโจทก์ ในการชี้สองสถานศาลชั้นต้นตั้งประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์เป็นเจ้าของบ้านเลขที่ 81/3 หรือไม่ จึงถือว่า ประเด็นข้อพิพาทนี้ได้วินิจฉัยมาแล้วในคดีก่อน ดังนั้น ข้อวินิจฉัยเกี่ยวด้วยกรรมสิทธิ์ในบ้านเลขที่ 81/3 จึงย่อมผูกพันโจทก์คดีนี้ด้วย แม้จำเลยทั้งสองจะมิได้ ยกเป็นข้อต่อสู้ว่าคำพิพากษาในคดีก่อนผูกพันโจทก์ก็ตาม เพราะปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วย ความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลย่อมมีอำนาจ ยกข้อวินิจฉัยเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์บ้านเลขที่ 81/3 ในคดีก่อนขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145(5) มิใช่เป็นการวินิจฉัยนอกเหนือคำฟ้องและ คำให้การ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5127/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลคำพิพากษาผูกพันคู่ความและบุคคลภายนอก: หลักการใช้ยันบุคคลภายนอกและอำนาจศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145
คดีก่อนจำเลยที่ 2 ในคดีนี้เป็นโจทก์ฟ้อง ส.เป็นจำเลยที่ 1และโจทก์เป็นจำเลยที่ 2 โดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า จำเลยที่ 2ซึ่งเป็นเจ้าของบ้านเลขที่ 81/1 จะเข้าไปรื้อบ้านหลังดังกล่าวของจำเลยที่ 2แต่ ส.กับโจทก์ซึ่งเป็นสามีภริยากันขัดขวาง ขอให้ห้าม ส. และโจทก์ขัดขวางการรื้อบ้าน โจทก์ให้การในคดีก่อนว่า จำเลยที่ 2 จะรื้อบ้านเลขที่ 81/3 ของโจทก์ และฟ้องแย้งให้จำเลยที่ 2 รื้อบ้านเลขที่ 81/1 ของจำเลยที่ 2 ออกไปศาลชั้นต้นพิพากษาคดีถึงที่สุดว่า หลังจากการบังคับคดีในคดีก่อนแล้ว โจทก์ได้ขอออกเลขที่บ้านใหม่เป็นเลขที่ 81/3 เมื่อ จำเลยที่ 2 ซื้อบ้านตามคำสั่งศาลโดยสุจริตจึงย่อมได้กรรมสิทธิ์ ห้าม ส.และโจทก์เกี่ยวข้องหรือขัดขวางในการที่จำเลยที่ 2จะทำการรื้อบ้านเลขที่ 81/1 ซึ่งปัจจุบันได้มีการออกทะเบียนบ้านใหม่เป็นเลขที่81/3 ฟ้องแย้งของโจทก์ให้ยกเสีย คำพิพากษาในคดีดังกล่าวย่อมผูกพันโจทก์และจำเลยที่ 2 ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145 วรรคหนึ่ง และเมื่อคำพิพากษานั้นวินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์ในบ้านดังกล่าวว่าเป็นของจำเลยที่ 2 จึงย่อมใช้ยันบุคคลภายนอกคือจำเลยที่ 1 ในคดีนี้ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 (2)
คดีก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาถึงที่สุดโดยฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 2 ซื้อบ้านเลขที่ 81/1 ซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนเป็น 81/3 ตามคำสั่งศาลโดยสุจริตย่อมได้กรรมสิทธิ์ เท่ากับศาลมีคำวินิจฉัยว่าโจทก์มิได้เป็นเจ้าของบ้านเลขที่ 81/3 การที่โจทก์มาฟ้องเป็นคดีนี้โดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า บ้านเลขที่ 81/3เป็นของโจทก์อีก และจำเลยที่ 2 ก็ให้การว่า บ้านเลขที่ดังกล่าวไม่ใช่ของโจทก์ในการชี้สองสถานศาลชั้นต้นตั้งประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์เป็นเจ้าของบ้านเลขที่ 81/3หรือไม่ จึงถือว่าประเด็นข้อพิพาทนี้ได้วินิจฉัยมาแล้วในคดีก่อน ดังนั้น ข้อวินิจฉัยเกี่ยวด้วยกรรมสิทธิ์ในบ้านเลขที่ 81/3 จึงย่อมผูกพันโจทก์คดีนี้ด้วย แม้จำเลยทั้งสองจะมิได้ยกเป็นข้อต่อสู้ว่าคำพิพากษาในคดีก่อนผูกพันโจทก์ก็ตาม เพราะปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลย่อมมีอำนาจยกข้อวินิจฉัยเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์บ้านเลขที่ 81/3 ในคดีก่อนขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145 (5) มิใช่เป็นการวินิจฉัยนอกเหนือคำฟ้องและคำให้การ
คดีก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาถึงที่สุดโดยฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 2 ซื้อบ้านเลขที่ 81/1 ซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนเป็น 81/3 ตามคำสั่งศาลโดยสุจริตย่อมได้กรรมสิทธิ์ เท่ากับศาลมีคำวินิจฉัยว่าโจทก์มิได้เป็นเจ้าของบ้านเลขที่ 81/3 การที่โจทก์มาฟ้องเป็นคดีนี้โดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า บ้านเลขที่ 81/3เป็นของโจทก์อีก และจำเลยที่ 2 ก็ให้การว่า บ้านเลขที่ดังกล่าวไม่ใช่ของโจทก์ในการชี้สองสถานศาลชั้นต้นตั้งประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์เป็นเจ้าของบ้านเลขที่ 81/3หรือไม่ จึงถือว่าประเด็นข้อพิพาทนี้ได้วินิจฉัยมาแล้วในคดีก่อน ดังนั้น ข้อวินิจฉัยเกี่ยวด้วยกรรมสิทธิ์ในบ้านเลขที่ 81/3 จึงย่อมผูกพันโจทก์คดีนี้ด้วย แม้จำเลยทั้งสองจะมิได้ยกเป็นข้อต่อสู้ว่าคำพิพากษาในคดีก่อนผูกพันโจทก์ก็ตาม เพราะปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลย่อมมีอำนาจยกข้อวินิจฉัยเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์บ้านเลขที่ 81/3 ในคดีก่อนขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145 (5) มิใช่เป็นการวินิจฉัยนอกเหนือคำฟ้องและคำให้การ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5106/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรุกล้ำทำลายทรัพย์สินบนที่สาธารณะ การกระทำละเมิด และหน้าที่ของเทศบาล
คำฟ้องโจทก์ได้บรรยายไว้แล้วว่าโจทก์ได้ทำรั้วลวดหนามล้อมรอบที่พิพาทและปลูกไม้ยืนต้นตามที่ระบุชื่อไว้ในที่พิพาท โดยระบุจำนวนเนื้อที่ และแสดงแผนที่พิพาทไว้ตามเอกสารท้ายฟ้อง แล้วถูกจำเลยบุกรุกทำลายต้นไม้ยืนต้นและเสารั้วขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายตามฟ้อง ฟ้องของโจทก์จึงแสดงชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาข้ออ้างซึ่งใช้เป็นหลักแห่งข้อหาตลอดจนคำขอบังคับโดยชัดเจนพอเข้าใจได้แล้ว ส่วนข้อเท็จจริงที่ว่าต้นไม้ชนิดใดถูกทำลายจำนวนเท่าใด เสารั้วลวดหนามปักอยู่บริเวณใดบ้าง เป็นเรื่องรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าที่พิพาทเกิดจากกรณีกระแสน้ำพัดพาเอาดิน กรวด ทราย มากองทับถมสูงขึ้นจนกลายเป็นที่งอกริมตลิ่งจากที่ดินโฉนดตามฟ้องของโจทก์ตามธรรมชาติ ที่พิพาทจึงเป็นที่ชายตลิ่งอันเป็นทรัพย์สินที่ประชาชนใช้ร่วมกัน ถือเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตาม ป.พ.พ.มาตรา 1304
แม้ที่ดินพิพาทที่โจทก์ฟ้องกล่าวอ้างว่าเป็นที่งอกของที่ดินโจทก์แต่ทางพิจารณาได้ความว่า ที่พิพาทเป็นที่สาธารณะ และเทศบาลจำเลยมีหน้าที่ดูแลที่ดินสาธารณะด้วยก็ตาม แต่จำเลยก็ต้องดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย และไม่มีอำนาจที่จะทำลายทรัพย์สินของบุคคลอื่นซึ่งอยู่ในที่สาธารณะโดยพลการ การที่จำเลยได้ร่วมรื้อถอนเสารั้วลวดหนามโค่นตัดฟันต้นไม้ที่โจทก์ปลูกไว้ในที่พิพาทและไถกลบบ่อน้ำของโจทก์ในที่พิพาท จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าที่พิพาทเกิดจากกรณีกระแสน้ำพัดพาเอาดิน กรวด ทราย มากองทับถมสูงขึ้นจนกลายเป็นที่งอกริมตลิ่งจากที่ดินโฉนดตามฟ้องของโจทก์ตามธรรมชาติ ที่พิพาทจึงเป็นที่ชายตลิ่งอันเป็นทรัพย์สินที่ประชาชนใช้ร่วมกัน ถือเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตาม ป.พ.พ.มาตรา 1304
แม้ที่ดินพิพาทที่โจทก์ฟ้องกล่าวอ้างว่าเป็นที่งอกของที่ดินโจทก์แต่ทางพิจารณาได้ความว่า ที่พิพาทเป็นที่สาธารณะ และเทศบาลจำเลยมีหน้าที่ดูแลที่ดินสาธารณะด้วยก็ตาม แต่จำเลยก็ต้องดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย และไม่มีอำนาจที่จะทำลายทรัพย์สินของบุคคลอื่นซึ่งอยู่ในที่สาธารณะโดยพลการ การที่จำเลยได้ร่วมรื้อถอนเสารั้วลวดหนามโค่นตัดฟันต้นไม้ที่โจทก์ปลูกไว้ในที่พิพาทและไถกลบบ่อน้ำของโจทก์ในที่พิพาท จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5106/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทที่ดินสาธารณะ การรื้อถอนทรัพย์สิน และค่าเสียหายจากการกระทำละเมิด
คำฟ้องโจทก์ได้บรรยายไว้แล้วว่าโจทก์ได้ทำรั้วลวดหนามล้อมรอบที่พิพาทและปลูกไม้ยืนต้นตามที่ ระบุชื่อไว้ในที่พิพาท โดยระบุจำนวนเนื้อที่ และแสดง แผนที่พิพาทไว้ตามเอกสารท้ายฟ้อง แล้วถูกจำเลยบุกรุกทำลายต้นไม้ยืนต้นและเสารั้ว ขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายตามฟ้องฟ้องของโจทก์จึงแสดงชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา ข้ออ้างซึ่งใช้เป็นหลักแห่งข้อหาตลอดจนคำขอบังคับโดยชัดเจน พอเข้าใจได้แล้ว ส่วนข้อเท็จจริงที่ว่าต้นไม้ชนิดใด ถูกทำลายจำนวนเท่าใด เสารั้วลวดหนามปักอยู่บริเวณใดบ้างเป็นเรื่องรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณาฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าที่พิพาทเกิดจากกรณี กระแสน้ำพัดพาเอาดิน กรวด ทราย มากองทับถมสูงขึ้นจนกลายเป็นที่งอกริมตลิ่งจากที่ดินโฉนดตามฟ้องของโจทก์ตามธรรมชาติที่พิพาทจึงเป็นที่ชายตลิ่งอันเป็นทรัพย์สินที่ประชาชน ใช้ร่วมกัน ถือเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 แม้ที่ดินพิพาทที่โจทก์ฟ้องกล่าวอ้างว่าเป็นที่งอกของที่ดินโจทก์แต่ทางพิจารณาได้ความว่า ที่พิพาทเป็นที่สาธารณะ และเทศบาลจำเลยมีหน้าที่ดูแลที่ดินสาธารณะ ด้วยก็ตาม แต่จำเลยก็ต้องดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายและไม่มีอำนาจที่จะทำลายทรัพย์สินของบุคคลอื่นซึ่งอยู่ในที่สาธารณะโดยพลการ การที่จำเลยได้ร่วมรื้อถอนเสารั้วลวดหนามโค่นตัดฟันต้นไม้ที่โจทก์ปลูกไว้ในที่พิพาทและไถกลบบ่อน้ำของโจทก์ในที่พิพาท จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5051/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองทรัพย์มรดกของผู้จัดการมรดกและการโอนให้ผู้อื่น สิทธิเรียกร้องแบ่งมรดก
ที่พิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ ค. เมื่อ ค.ถึงแก่ความตายจำเลยที่ 1 ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกซึ่งศาลได้มีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดก แล้วจำเลยที่ 1 ได้ใส่ชื่อของตนในฐานะผู้จัดการมรดกลงในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินทรัพย์มรดก ถือได้ว่าจำเลยที่ 1ครอบครองที่พิพาทแทนทายาทอื่นทุกคน เมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 รับโอนที่พิพาทจากจำเลยที่ 1 ก็ต้องถือว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ครอบครองที่พิพาทแทนทายาทอื่นเช่นเดียวกัน โจทก์ในฐานะทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของ ค.จึงมีสิทธิเรียกร้องให้แบ่งที่พิพาทได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1748 วรรคหนึ่ง โดยไม่มีอายุความ
โจทก์ฟ้องว่า ที่พิพาทเป็นทรัพย์มรดก ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนระหว่างจำเลยทั้งสาม และให้จำเลยทั้งสามแบ่งที่พิพาทแก่โจทก์ทั้งสาม จำเลยทั้งสามให้การตอนแรกว่า ที่พิพาทตกเป็นของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งได้รับยกให้จากค.ก่อนตาย แต่ให้การตอนหลังว่า หากที่พิพาทเป็นทรัพย์มรดก แต่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกจดทะเบียนโอนที่พิพาทให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 แล้ว ถือว่าจำเลยที่ 2และที่ 3 ได้แย่งการครอบครองที่พิพาท เช่นนี้เป็นคำให้การไม่ชัดแจ้งและขัดแย้งกันเองไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 177 วรรคสอง แต่คำให้การดังกล่าวเป็นที่เข้าใจได้ว่าจำเลยปฏิเสธฟ้องโจทก์โดยสิ้นเชิง ทั้งการแย่งการครอบครองจะมีได้ก็แต่ในที่ดินของผู้อื่น ดังนี้ คดีจึงยังคงมีประเด็นข้อพิพาทว่าที่พิพาทเป็นทรัพย์มรดกหรือไม่ แต่ไม่มีประเด็นข้อพิพาทเรื่องแย่งการครอบครอง
คดีนี้ไม่มีประเด็นข้อพิพาทเรื่องแย่งการครอบครอง และเมื่อศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งชี้ขาดว่า ไม่มีประเด็นข้อพิพาทเรื่องแย่งการครอบครองจำเลยทั้งสามก็ไม่โต้แย้งคัดค้าน จำเลยทั้งสามจึงไม่มีสิทธิฎีกาว่าโจทก์สิ้นสิทธิฟ้องเรียกเอาคืนซึ่งการครอบครอง
โจทก์ฟ้องว่า ที่พิพาทเป็นทรัพย์มรดก ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนระหว่างจำเลยทั้งสาม และให้จำเลยทั้งสามแบ่งที่พิพาทแก่โจทก์ทั้งสาม จำเลยทั้งสามให้การตอนแรกว่า ที่พิพาทตกเป็นของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งได้รับยกให้จากค.ก่อนตาย แต่ให้การตอนหลังว่า หากที่พิพาทเป็นทรัพย์มรดก แต่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกจดทะเบียนโอนที่พิพาทให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 แล้ว ถือว่าจำเลยที่ 2และที่ 3 ได้แย่งการครอบครองที่พิพาท เช่นนี้เป็นคำให้การไม่ชัดแจ้งและขัดแย้งกันเองไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 177 วรรคสอง แต่คำให้การดังกล่าวเป็นที่เข้าใจได้ว่าจำเลยปฏิเสธฟ้องโจทก์โดยสิ้นเชิง ทั้งการแย่งการครอบครองจะมีได้ก็แต่ในที่ดินของผู้อื่น ดังนี้ คดีจึงยังคงมีประเด็นข้อพิพาทว่าที่พิพาทเป็นทรัพย์มรดกหรือไม่ แต่ไม่มีประเด็นข้อพิพาทเรื่องแย่งการครอบครอง
คดีนี้ไม่มีประเด็นข้อพิพาทเรื่องแย่งการครอบครอง และเมื่อศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งชี้ขาดว่า ไม่มีประเด็นข้อพิพาทเรื่องแย่งการครอบครองจำเลยทั้งสามก็ไม่โต้แย้งคัดค้าน จำเลยทั้งสามจึงไม่มีสิทธิฎีกาว่าโจทก์สิ้นสิทธิฟ้องเรียกเอาคืนซึ่งการครอบครอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5051/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองทรัพย์มรดกโดยผู้จัดการมรดกและการโอนให้ผู้อื่น ผลกระทบต่อสิทธิเรียกร้องแบ่งมรดกของทายาท
ที่พิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ ค.เมื่อค. ถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 1 ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้ง จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกซึ่งศาลได้มีคำสั่งให้ จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดก แล้วจำเลยที่ 1 ได้ใส่ชื่อ ของตนในฐานะผู้จัดการมรดกลงในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ที่ดินทรัพย์มรดก ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ครอบครองที่พิพาทแทน ทายาทอื่นทุกคน เมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 รับโอนที่พิพาท จากจำเลยที่ 1 ก็ต้องถือว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ครอบครอง ที่พิพาทแทนทายาทอื่นเช่นเดียวกัน โจทก์ในฐานะทายาท ผู้มีสิทธิรับมรดกของ ค. จึงมีสิทธิเรียกร้องให้แบ่งที่พิพาทได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1748 วรรคหนึ่ง โดยไม่มีอายุความ โจทก์ฟ้องว่า ที่พิพาทเป็นทรัพย์มรดก ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนระหว่างจำเลยทั้งสาม และให้จำเลยทั้งสามแบ่งที่พิพาทแก่โจทก์ทั้งสาม จำเลยทั้งสามให้การตอนแรกว่าที่พิพาทตกเป็นของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งได้รับยกให้จากค. ก่อนตาย แต่ให้การตอนหลังว่า หากที่พิพาทเป็นทรัพย์มรดก แต่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกจดทะเบียนโอนที่พิพาทให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 แล้ว ถือว่าจำเลยที่ 2และที่ 3 ได้แย่งการครอบครองที่พิพาท เช่นนี้เป็นคำให้การไม่ชัดแจ้งและขัดแย้งกันเองไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสองแต่คำให้การดังกล่าวเป็นที่เข้าใจได้ว่าจำเลยปฏิเสธฟ้องโจทก์โดยสิ้นเชิง ทั้งการแย่งการครอบครองจะมีได้ก็แต่ในที่ดินของผู้อื่น ดังนี้ คดีจึงยังคงมีประเด็นข้อพิพาทว่าที่พิพาทเป็นทรัพย์มรดกหรือไม่ แต่ไม่มีประเด็นข้อพิพาทเรื่องแย่งการครอบครอง คดีนี้ไม่มีประเด็นข้อพิพาทเรื่องแย่งการครอบครองและเมื่อศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งชี้ขาดว่า ไม่มีประเด็นข้อพิพาทเรื่องแย่งการครอบครองจำเลยทั้งสามก็ไม่โต้แย้งคัดค้าน จำเลยทั้งสามจึงไม่มีสิทธิฎีกาว่าโจทก์สิ้นสิทธิฟ้องเรียกเอาคืนซึ่งการครอบครอง