พบผลลัพธ์ทั้งหมด 288 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5015/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งประกาศขายทอดตลาดที่ชอบด้วยกฎหมาย แม้จำเลยปกปิดภูมิลำเนา และไม่โต้แย้งการแจ้งทางหนังสือพิมพ์
คดีนี้ได้มีการประกาศขายทอดตลาด 2 ครั้ง ในการนำประกาศขายทอดตลาดครั้งแรกไปแจ้งแก่จำเลย เจ้าหน้าที่ส่งหมายรายงานว่าบ้านของจำเลยได้รื้อไปแล้ว เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงเรียกผู้แทนโจทก์มาแถลงเกี่ยวกับภูมิลำเนาของจำเลย ผู้แทนโจทก์แถลงว่า ได้ติดต่อเพื่อสืบหาที่อยู่ของจำเลย และปรากฏว่าไม่พบตามทะเบียนราษฎร์ จึงขอประกาศหนังสือพิมพ์แจ้งให้จำเลยทราบแทนการส่งหมายและในวันประกาศขายทอดตลาดครั้งที่ 1 ทนายจำเลยก็แถลงเพื่อขอคัดเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการขายทอดตลาดครั้งนี้ นอกจากนั้นทนายจำเลยยังยื่นคำแถลงคัดค้านเกี่ยวกับราคาที่ขายว่ายังต่ำไป ดังนี้ เมื่อบ้านเลขที่ 174 อันเป็นภูมิลำเนาของจำเลยกำลังถูกรื้อ โดยจำเลยมีพฤติการณ์ปกปิดภูมิลำเนาอันแท้จริงของตน จึงเป็นกรณีที่ไม่อาจส่งประกาศกำหนดวันนัดขายทอดตลาดให้จำเลย ณ ภูมิลำเนาดังกล่าวของจำเลยขณะโจทก์ฟ้องได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 74 (2) และการที่จำเลยทราบดีอยู่แล้วว่าถูกเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์และประกาศขายทอดตลาดและแจ้งให้จำเลยทราบโดยประกาศหนังสือพิมพ์แล้ว แต่จำเลยหาได้คัดค้านว่า การแจ้งให้จำเลยโดยประกาศหนังสือพิมพ์ไม่ถูกต้อง ทั้งจำเลยมิได้แจ้งให้ศาลหรือเจ้าพนักงานบังคับคดีทราบว่าในการขายทอดตลาดครั้งต่อไป ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งให้จำเลยทราบ ณภูมิลำเนาใหม่ของจำเลย พฤติการณ์ของจำเลยเช่นนี้จึงเป็นการยอมรับว่าการแจ้งกำหนดวันขายทอดตลาดให้จำเลยทราบโดยประกาศหนังสือพิมพ์ถูกต้องแล้ว กรณีจึงไม่เหตุที่จะเพิกถอนการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5015/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายทอดตลาดชอบด้วยกฎหมาย แม้จำเลยปกปิดภูมิลำเนา และไม่คัดค้านการแจ้งโดยหนังสือพิมพ์
คดีนี้ได้มีการประกาศขายทอดตลาด 2 ครั้งในการนำประกาศขายทอดตลาดครั้งแรกไปแจ้งแก่จำเลยเจ้าหน้าที่ส่งหมายรายงานว่าบ้านของจำเลยได้รื้อไปแล้วเจ้าพนักงานบังคับคดีจึงเรียกผู้แทนโจทก์มาแถลงเกี่ยวกับภูมิลำเนาของจำเลย ผู้แทนโจทก์แถลงว่า ได้ติดต่อเพื่อสืบหาที่อยู่ของจำเลย และปรากฏว่าไม่พบตามทะเบียนราษฎร์จึงขอประกาศหนังสือพิมพ์แจ้งให้จำเลยทราบแทนการส่งหมาย และในวันประกาศขายทอดตลาดครั้งที่ 1 ทนายจำเลยก็แถลงเพื่อขอคัดเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการขายทอดตลาดครั้งนี้ นอกจากนั้นทนายจำเลยยังยื่นคำแถลงคัดค้านเกี่ยวกับราคาที่ขายว่ายังต่ำไป ดังนี้ เมื่อบ้านเลขที่ 174อันเป็นภูมิลำเนาของจำเลยกำลังถูกรื้อ โดยจำเลยมีพฤติการณ์ปกปิดภูมิลำเนาอันแท้จริงของตน จึงเป็นกรณีที่ไม่อาจส่งประกาศกำหนดวันนัดขายทอดตลาดให้จำเลยณ ภูมิลำเนาดังกล่าวของจำเลยขณะโจทก์ฟ้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 74(2) และการที่จำเลยทราบดีอยู่แล้วว่าถูกเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์และประกาศขายทอดตลาดและแจ้งให้จำเลยทราบโดยประกาศหนังสือพิมพ์แล้ว แต่จำเลยหาได้คัดค้านว่าการแจ้งให้จำเลยโดยประกาศหนังสือพิมพ์ไม่ถูกต้องทั้งจำเลยมิได้แจ้งให้ศาลหรือเจ้าพนักงานบังคับคดีทราบว่าในการขายทอดตลาดครั้งต่อไป ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งให้จำเลยทราบ ณ ภูมิลำเนาใหม่ของจำเลยพฤติการณ์ของจำเลยเช่นนี้จึงเป็นการยอมรับว่าการแจ้งกำหนดวันขายทอดตลาดให้จำเลยทราบโดยประกาศหนังสือพิมพ์ถูกต้องแล้ว กรณีจึงไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4983/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสพเมทแอมเฟตามีนของผู้ขับรถ: ไม่ครบองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก แม้เป็นยาเสพติด
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยซึ่งเป็นผู้ได้รับ ใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ (ผู้ขับรถ) เสพเมทแอมเฟตามีนซึ่งเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ขณะขับขี่รถยนต์บรรทุก เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ตามฟ้องว่าจำเลยเสพเมทแอมเฟตามีนซึ่งเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไม่ใช่เสพวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิต และประสาท พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43 ทวิบัญญัติห้ามมิให้ผู้ขับขี่เสพหรือรับเข้าร่างกายไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ ซึ่งวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทกลุ่ม แอมเฟตามีนหรือวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทอย่างอื่นที่อธิบดีกำหนดซึ่งผู้ฝ่าฝืนมีความผิด ตามมาตรา 157 ทวิ นั้น เมื่อตามข้อกำหนดกรมตำรวจ เรื่องกำหนดชื่อและประเภทของวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทฯ ลงวันที่ 13 กรกฎาคม 2537 กำหนดให้ห้ามเสพแอมเฟตามีนและเมทแอมเฟตามีน แสดงว่า บทบัญญัติดังกล่าวประสงค์ที่จะเอาผิด และลงโทษผู้ขับขี่ที่เสพหรือรับวัตถุออกฤทธิ์ เข้าร่างกายเท่านั้น มิได้ประสงค์ที่จะเอาผิดและลงโทษผู้ขับขี่ที่เสพหรือรับยาเสพติดให้โทษ ในประเภท 1 เข้าร่างกายด้วย ประกอบกับ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 วรรคแรกบัญญัติให้บุคคลจักต้องรับโทษในทางอาญาต่อเมื่อได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้ในขณะนั้นบัญญัติ เป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ ดังนั้น เมื่อปรากฏว่า ขณะที่จำเลยขับรถโดยเสพเมทแอมเฟตามีนตามฟ้องได้มีประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 97(พ.ศ. 2539) และฉบับที่ 135(พ.ศ. 2539)ออกมาใช้บังคับอยู่ก่อนแล้ว ซึ่งมีผลทำให้เมทแอมเฟตามีนไม่เป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 อีกต่อไป และระบุให้เมทแอมเฟตามีนเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 การที่จำเลยซึ่งเป็นผู้ขับขี่ เสพเมทแอมเฟตามีนจึงเป็นการกระทำที่ไม่ครบองค์ประกอบความผิดตาม มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติ จราจรทางบก พ.ศ. 2522 ศาลจึงไม่อาจพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามบทบัญญัติ มาตราดังกล่าว และไม่อาจลงโทษจำเลย หรือมีคำสั่งให้พักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาต ขับขี่รถยนต์ของจำเลยตามมาตรา 157 ทวิ วรรคหนึ่งได้ ทั้งกรณีมิได้เป็นเรื่องที่ประกาศกระทรวงสาธารณสุขทั้งสองฉบับยกเลิกความผิดตาม พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง เนื่องจากความผิดตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าวยังคงมีอยู่ กล่าวคือ ผู้ขับขี่ที่เสพหรือรับเข้าร่างกาย ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์กลุ่มแอมเฟตามีน หรือวัตถุออกฤทธิ์อย่างอื่นที่อธิบดีกรมตำรวจกำหนดนอกจากแอมเฟตามีนและเมทแอมเฟตามีนยังคง ต้องมีความผิดตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าว อีกทั้งการเสพเมทแอมเฟตามีนก็ยังคงเป็นความผิดตามกฎหมายอื่นอยู่ และมิได้ถูกยกเลิก ไปโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุข ทั้งสองฉบับดังกล่าว การพักใช้ใบอนุญาตขับขี่หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ไม่ใช่โทษตามกฎหมาย เมื่อการเสพเมทแอมเฟตามีนของผู้ขับรถในขณะขับรถไม่อาจถือเป็นความผิดตาม พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง ศาลจึงไม่อาจสั่งให้พักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาต ขับขี่รถยนต์ได้อยู่ในตัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4983/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความความผิด พ.ร.บ.จราจรทางบก กรณีเสพเมทแอมเฟตามีนและขอบเขตการลงโทษ
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยซึ่งเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ (ผู้ขับรถ) เสพเมทแอมเฟตามีนซึ่งเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ขณะขับขี่รถยนต์บรรทุก เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ตามฟ้องว่า จำเลยเสพเมทแอมเฟตามีนซึ่งเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไม่ใช่เสพวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท
พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43 ทวิ บัญญัติห้ามมิให้ผู้ขับขี่เสพหรือรับเข้าร่างกายไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ ซึ่งวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทกลุ่มแอมเฟตามีนหรือวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทอย่างอื่นที่อธิบดีกำหนดซึ่งผู้ฝ่าฝืนมีความผิดตามมาตรา 157 ทวิ นั้น เมื่อตามข้อกำหนดกรมตำรวจ เรื่องกำหนดชื่อและประเภทของวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทฯ ลงวันที่ 13 กรกฎาคม2537 กำหนดให้ห้ามเสพแอมเฟตามีนและเมทแอมเฟตามีน แสดงว่า บทบัญญัติดังกล่าวประสงค์ที่จะเอาผิดและลงโทษผู้ขับขี่ที่เสพหรือรับวัตถุออกฤทธิ์เข้าร่างกายเท่านั้น มิได้ประสงค์ที่จะเอาผิดและลงโทษผู้ขับขี่ที่เสพหรือรับยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 เข้าร่างกายด้วย ประกอบกับ ป.อ.มาตรา 2 วรรคแรก บัญญัติให้บุคคลจักต้องรับโทษในทางอาญาต่อเมื่อได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้ในขณะนั้นบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ ดังนั้น เมื่อปรากฏว่า ขณะที่จำเลยขับรถโดยเสพเมทแอมเฟตามีนตามฟ้องได้มีประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 97(พ.ศ.2539) และฉบับที่ 135 (พ.ศ.2539) ออกมาใช้บังคับอยู่ก่อนแล้ว ซึ่งมีผลทำให้เมทแอมเฟตามีนไม่เป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 อีกต่อไป และระบุให้เมทแอมเฟตามีนเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 การที่จำเลยซึ่งเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีนจึงเป็นการกระทำที่ไม่ครบองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 43 ทวิวรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 ศาลจึงไม่อาจพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าว และไม่อาจลงโทษจำเลยหรือมีคำสั่งให้พักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ของจำเลยตามมาตรา 157 ทวิ วรรคหนึ่งได้ ทั้งกรณีมิได้เป็นเรื่องที่ประกาศกระทรวงสาธารณสุขทั้งสองฉบับยกเลิกความผิดตามพ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง เนื่องจากความผิดตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าวยังคงมีอยู่ กล่าวคือ ผู้ขับขี่ที่เสพหรือรับเข้าร่างกายซึ่งวัตถุออกฤทธิ์กลุ่มแอมเฟตามีนหรือวัตถุออกฤทธิ์อย่างอื่นที่อธิบดีกรมตำรวจกำหนดนอกจากแอมเฟตามีนและเมทแอมเฟตามีนยังคงต้องมีความผิดตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าว อีกทั้งการเสพเมทแอมเฟตามีนก็ยังคงเป็นความผิดตามกฎหมายอื่นอยู่ และมิได้ถูกยกเลิกไปโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขทั้งสองฉบับดังกล่าว
การพักใช้ใบอบุญาตขับขี่หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ไม่ใช่โทษตามกฎหมาย เมื่อการเสพเมทแอมเฟตามีนของผู้ขับรถในขณะขับรถไม่อาจถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิวรรคหนึ่ง ศาลจึงไม่อาจสั่งให้พักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ได้อยู่ในตัว
พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43 ทวิ บัญญัติห้ามมิให้ผู้ขับขี่เสพหรือรับเข้าร่างกายไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ ซึ่งวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทกลุ่มแอมเฟตามีนหรือวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทอย่างอื่นที่อธิบดีกำหนดซึ่งผู้ฝ่าฝืนมีความผิดตามมาตรา 157 ทวิ นั้น เมื่อตามข้อกำหนดกรมตำรวจ เรื่องกำหนดชื่อและประเภทของวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทฯ ลงวันที่ 13 กรกฎาคม2537 กำหนดให้ห้ามเสพแอมเฟตามีนและเมทแอมเฟตามีน แสดงว่า บทบัญญัติดังกล่าวประสงค์ที่จะเอาผิดและลงโทษผู้ขับขี่ที่เสพหรือรับวัตถุออกฤทธิ์เข้าร่างกายเท่านั้น มิได้ประสงค์ที่จะเอาผิดและลงโทษผู้ขับขี่ที่เสพหรือรับยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 เข้าร่างกายด้วย ประกอบกับ ป.อ.มาตรา 2 วรรคแรก บัญญัติให้บุคคลจักต้องรับโทษในทางอาญาต่อเมื่อได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้ในขณะนั้นบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ ดังนั้น เมื่อปรากฏว่า ขณะที่จำเลยขับรถโดยเสพเมทแอมเฟตามีนตามฟ้องได้มีประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 97(พ.ศ.2539) และฉบับที่ 135 (พ.ศ.2539) ออกมาใช้บังคับอยู่ก่อนแล้ว ซึ่งมีผลทำให้เมทแอมเฟตามีนไม่เป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 อีกต่อไป และระบุให้เมทแอมเฟตามีนเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 การที่จำเลยซึ่งเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีนจึงเป็นการกระทำที่ไม่ครบองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 43 ทวิวรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 ศาลจึงไม่อาจพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าว และไม่อาจลงโทษจำเลยหรือมีคำสั่งให้พักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ของจำเลยตามมาตรา 157 ทวิ วรรคหนึ่งได้ ทั้งกรณีมิได้เป็นเรื่องที่ประกาศกระทรวงสาธารณสุขทั้งสองฉบับยกเลิกความผิดตามพ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง เนื่องจากความผิดตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าวยังคงมีอยู่ กล่าวคือ ผู้ขับขี่ที่เสพหรือรับเข้าร่างกายซึ่งวัตถุออกฤทธิ์กลุ่มแอมเฟตามีนหรือวัตถุออกฤทธิ์อย่างอื่นที่อธิบดีกรมตำรวจกำหนดนอกจากแอมเฟตามีนและเมทแอมเฟตามีนยังคงต้องมีความผิดตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าว อีกทั้งการเสพเมทแอมเฟตามีนก็ยังคงเป็นความผิดตามกฎหมายอื่นอยู่ และมิได้ถูกยกเลิกไปโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขทั้งสองฉบับดังกล่าว
การพักใช้ใบอบุญาตขับขี่หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ไม่ใช่โทษตามกฎหมาย เมื่อการเสพเมทแอมเฟตามีนของผู้ขับรถในขณะขับรถไม่อาจถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิวรรคหนึ่ง ศาลจึงไม่อาจสั่งให้พักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ได้อยู่ในตัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4888/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องทางจำเป็นเมื่อที่ดินแบ่งแยก – ความกว้างของทางจำเป็น
เมื่อที่ดินของโจทก์ทั้งสองและของจำเลยต่างแบ่งแยกจากที่ดินโฉนดเลขที่ 2394 ในคราวเดียวกัน เป็นเหตุให้ที่ดินของโจทก์ทั้งสองไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะได้ คงมีที่ดินของจำเลยเพียงแปลงเดียวที่อยู่ติดทางสาธารณประโยชน์ โจทก์ทั้งสองย่อมมีสิทธิเรียกร้องเอาทางจำเป็นจากที่ดินแปลงใดแปลงหนึ่งที่แบ่งแยกในคราวเดียวกัน รวมถึงที่ดินของจำเลยได้โดยตรงตาม ป.พ.พ. มาตรา 1350 หาใช่มีสิทธิเรียกร้องเอาทางจำเป็นได้แต่เฉพาะที่ดินโฉนดเลขที่ 2394 แปลงเดิมส่วนที่คงเหลือจากการแบ่งแยกแบ่งโอนกันแล้วเท่านั้นไม่
การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า ทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอมหรือทางจำเป็นหรือไม่ ถือได้ว่ามีประเด็นในเรื่องความกว้างยาวของทางจำเป็นด้วยแล้ว การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ไม่รับวินิจฉัยเพราะถือว่าไม่มีประเด็นจึงเป็นการไม่ชอบ
การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า ทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอมหรือทางจำเป็นหรือไม่ ถือได้ว่ามีประเด็นในเรื่องความกว้างยาวของทางจำเป็นด้วยแล้ว การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ไม่รับวินิจฉัยเพราะถือว่าไม่มีประเด็นจึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4733/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกานี้ยืนหลักการรื้อถอนอาคารที่ฝ่าฝืนกฎหมายควบคุมอาคาร แม้แก้ไขไม่ได้ และเจ้าของ/ผู้ครอบครองต้องรับผิดชอบ
พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 เป็นกฎหมายพิเศษการฟ้องบังคับตามพระราชบัญญัติดังกล่าวเป็นเรื่องที่กฎหมายมีวัตถุประสงค์ให้อำนาจเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่จะคุ้มครองประโยชน์และความปลอดภัยแก่ประชาชนเป็นสำคัญ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นจึงฟ้องขอให้บังคับให้รื้อถอนได้เสมอหากอาคารที่ก่อสร้างโดยฝ่าฝืนกฎหมายยังคงอยู่กรณีไม่อาจนำบทบัญญัติเรื่องอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้บังคับได้ พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 42 กำหนดว่าการก่อสร้างดัดแปลงอาคารโดยฝ่าฝืนกฎหมายในกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารดำเนินการรื้อถอนอาคารนั้นทั้งหมดหรือบางส่วนได้ ดังนั้น โจทก์จึงฟ้องบังคับ จำเลยที่ 2 ในฐานะเจ้าของและจำเลยที่ 3 ในฐานะผู้ครอบครองอาคารพิพาทได้ อาคารพิพาทเป็นตึกแถว จึงอยู่ในบังคับของข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522ข้อ 76(4) ให้ต้องมีที่ว่างโดยปราศจากสิ่งปกคลุมไว้เป็นทางเดินหลังอาคารได้ถึงกันมีความกว้างไม่น้อยกว่า 2 เมตรการที่อาคารของจำเลยทุกห้องมีการดัดแปลงก่อสร้างต่อเติมเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กเต็มที่ว่างด้านหลังอาคารทุกชั้นรวมทั้งการต่อเติมอีก 2 ชั้น ดังกล่าวย่อมเห็นได้โดยสภาพว่าไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครฯ ดังกล่าวได้ นอกจากจะรื้อถอนส่วนที่ดัดแปลงก่อสร้างต่อเติมดังกล่าวออกไป การที่โจทก์สั่งให้จำเลยที่ 2ถึงที่ 5 รื้อถอนโดยไม่สั่งให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4188/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทุนทรัพย์พิพาทไม่เกินห้าหมื่นบาท ต้องห้ามอุทธรณ์ข้อเท็จจริง และการฎีกาในประเด็นที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันในศาลอุทธรณ์
โจทก์ทั้งหกฟ้องโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าท. ได้ทำพินัยกรรมยกที่พิพาทให้โจทก์ทั้งหกคนละส่วนเท่า ๆ กันคิดราคารวม 205,500 บาท ศาลชั้นต้นพิพากษา ยกฟ้อง โจทก์ทั้งหก อุทธรณ์ขอให้บังคับตามคำขอท้ายฟ้อง ฉะนั้น ทุนทรัพย์ที่พิพาท ในชั้นอุทธรณ์ของโจทก์แต่ละคนต้องคิดตามส่วนแบ่งของโจทก์ แต่ละคน ไม่ใช่ทุนทรัพย์ที่อุทธรณ์รวมกันมา เมื่อทุนทรัพย์พิพาท ในชั้นอุทธรณ์ของโจทก์แต่ละคนไม่เกินห้าหมื่นบาท จึงต้องห้าม โจทก์ทั้งหกมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ที่โจทก์ทั้งหกอุทธรณ์ว่า ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องของ โจทก์ทั้งหกที่ขอให้ส่งพินัยกรรมไปตรวจพิสูจน์อีกครั้งไม่ชอบ และ พินัยกรรมฉบับที่โจทก์ทั้งหกนำมาฟ้องไม่ใช่พินัยกรรมปลอมโจทก์ทั้งหกจึงมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งในปัญหาที่ศาลชั้นต้นสั่งยก คำร้อง ของ โจทก์เพราะได้โต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้นไว้แล้วนั้น เป็นการโต้แย้งดุลพินิจที่ว่าศาลชั้นต้นเห็นควรส่งพินัยกรรม ไปตรวจพิสูจน์อีกครั้งหรือไม่ จึงเป็นข้อเท็จจริงซึ่งนำไปสู่ การพิจารณาในข้อกฎหมายว่าโจทก์ทั้งหกมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่ง ของศาลชั้นต้นได้หรือไม่ เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง แม้โจทก์ทั้งหก จะได้โต้แย้งคำสั่งไว้ก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิที่โจทก์ทั้งหก จะอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้ เมื่ออุทธรณ์ของโจทก์ทั้งหกในปัญหาที่ว่า พินัยกรรมที่โจทก์ทั้งหกนำมาฟ้องไม่ใช่พินัยกรรมปลอมเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ที่ต้องห้ามไม่ให้อุทธรณ์ การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของ โจทก์ทั้งหกและศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้จึงเป็นการไม่ชอบ ดังนั้นฎีกาของโจทก์ทั้งหกที่ว่าโจทก์ทั้งหกโต้แย้งคำสั่ง ศาลชั้นต้นไว้แล้วและพินัยกรรมที่โจทก์ทั้งหกนำมาฟ้องไม่เป็นพินัยกรรมปลอมจึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้โจทก์ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4185/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องแย้งที่ไม่เกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม ศาลไม่รับคำฟ้อง
โจทก์ฟ้องจำเลยโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าจำเลยเช่าบ้านโจทก์ เมื่อครบกำหนดสัญญาเช่าโจทก์บอกเลิกสัญญา แต่จำเลยไม่ยอมออกไป ขอให้บังคับจำเลยและบริวารขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากบ้านเช่าและชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ การที่จำเลยฟ้องแย้งว่า โจทก์เกิดความโกรธแค้นจึงกลั่นแกล้งจำเลยด้วยการฟ้องขับไล่จำเลยเป็นคดีนี้ ทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย อันเป็นกรณีที่จำเลยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าโจทก์กระทำละเมิด ซึ่งไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม ชอบที่ศาลจะมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องแย้งของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4185/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องแย้งค่าเสียหายจากละเมิดที่ไม่เกี่ยวเนื่องกับฟ้องเดิม ศาลไม่รับคำฟ้องแย้ง
โจทก์ฟ้องจำเลยโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าจำเลยเช่าบ้านโจทก์ เมื่อครบกำหนดสัญญาเช่าโจทก์บอกเลิกสัญญา แต่จำเลยไม่ยอมออกไป ขอให้บังคับจำเลยและบริวารขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากบ้านเช่าและชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ การที่จำเลยฟ้องแย้งว่า โจทก์เกิดความโกรธแค้นจึงกลั่นแกล้งจำเลยด้วยการฟ้องขับไล่จำเลยเป็นคดีนี้ทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย อันเป็นกรณีที่จำเลยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าโจทก์กระทำละเมิด ซึ่งไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม ชอบที่ศาลจะมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องแย้งของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4145/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: การตกลงซื้อขายก่อนมีผลบังคับพระราชกฤษฎีกา ทำให้ไม่มีสิทธิรับค่าทดแทน
โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 38400 และ 38401 โดยทราบมาก่อนว่าที่ดินของโจทก์ดังกล่าวอยู่ในบริเวณที่จะถูกทางราชการเวนคืนเพื่อสร้างทางพิเศษระบบทางด่วนขั้นที่ 2 สายบางโคล่-แจ้งวัฒนะ เมื่อปรากฏว่าการตกลงซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์ผู้ถูกเวนคืนและการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยเป็นการตกลงซื้อขายที่ดินกันตามธรรมดาด้วยความสมัครใจทั้งของผู้ขายและผู้ซื้อ โดยมีการทำบันทึกข้อตกลงจะซื้อจะขายที่ดินกันก่อนที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในบริเวณเดียวกันจะมีผลใช้บังคับ และโจทก์ทราบดีมาก่อนว่าที่ดินของโจทก์ตามฟ้องอยู่ในเขตถูกเวนคืน การที่ทางราชการได้ที่ดินของโจทก์มาย่อมเป็นการได้มาโดยตกลงในเรื่องการโอนไว้เป็นอย่างอื่น เมื่อมิใช่จำเลยได้มาจากการเวนคืนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 5 โจทก์ผู้ถูกเวนคืนจึงไม่มีสิทธิได้รับค่าทดแทนและดอกเบี้ยตามพระราชบัญญัติดังกล่าว
บันทึกของประธานคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยระบุว่า คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้มีมติยกอุทธรณ์ของโจทก์และทำบันทึกเพื่อตั้งข้อสังเกตเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเพื่อแจ้งให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยพิจารณาให้ความเป็นธรรม โดยมีข้อเสนอว่าคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เห็นควรที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทยจะต้องพิจารณาหาแนวทางให้ความช่วยเหลือแก่โจทก์ โดยจ่ายเงินค่าทดแทนเพิ่มอีกจำนวนหนึ่งโดยเร็วต่อไป และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยปฏิบัติราชการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้มีบันทึกสั่งการว่า "ให้ทบทวนจ่ายตามคณะกรรมการอุทธรณ์" แต่ต่อมาจำเลยได้ทำบันทึกเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยอีกว่าไม่สามารถที่จะหาทางช่วยเหลือจ่ายเงินค่าทดแทนเพิ่มแก่โจทก์ได้เนื่องจากกรณีของโจทก์เป็นกรณีจัดซื้อที่ดินก่อนพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่อำเภอปากเกร็ด พ.ศ. 2530 มีผลใช้บังคับ ซึ่งกฎหมายไม่เปิดช่องให้ดำเนินการได้และจำเลยได้แจ้งให้โจทก์ทราบในเวลาต่อมา ดังนี้ เมื่อไม่ปรากฏว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีคำสั่งในที่สุดในเรื่องนี้ให้จ่ายค่าทดแทนเพิ่มตามเดิม ย่อมรับฟังไม่ได้ว่ามีคำสั่งให้จ่ายเงินแก่โจทก์เพราะบันทึกสั่งการในครั้งแรกเป็นการสั่งให้ทบทวนมิใช่คำสั่งในทางปกครองที่ให้จ่ายเงินทันที
บันทึกของประธานคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยระบุว่า คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้มีมติยกอุทธรณ์ของโจทก์และทำบันทึกเพื่อตั้งข้อสังเกตเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเพื่อแจ้งให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยพิจารณาให้ความเป็นธรรม โดยมีข้อเสนอว่าคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เห็นควรที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทยจะต้องพิจารณาหาแนวทางให้ความช่วยเหลือแก่โจทก์ โดยจ่ายเงินค่าทดแทนเพิ่มอีกจำนวนหนึ่งโดยเร็วต่อไป และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยปฏิบัติราชการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้มีบันทึกสั่งการว่า "ให้ทบทวนจ่ายตามคณะกรรมการอุทธรณ์" แต่ต่อมาจำเลยได้ทำบันทึกเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยอีกว่าไม่สามารถที่จะหาทางช่วยเหลือจ่ายเงินค่าทดแทนเพิ่มแก่โจทก์ได้เนื่องจากกรณีของโจทก์เป็นกรณีจัดซื้อที่ดินก่อนพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่อำเภอปากเกร็ด พ.ศ. 2530 มีผลใช้บังคับ ซึ่งกฎหมายไม่เปิดช่องให้ดำเนินการได้และจำเลยได้แจ้งให้โจทก์ทราบในเวลาต่อมา ดังนี้ เมื่อไม่ปรากฏว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีคำสั่งในที่สุดในเรื่องนี้ให้จ่ายค่าทดแทนเพิ่มตามเดิม ย่อมรับฟังไม่ได้ว่ามีคำสั่งให้จ่ายเงินแก่โจทก์เพราะบันทึกสั่งการในครั้งแรกเป็นการสั่งให้ทบทวนมิใช่คำสั่งในทางปกครองที่ให้จ่ายเงินทันที