คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ศุภชัย ภู่งาม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 288 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4025/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องละเมิด: การนับอายุความเริ่มจากวันที่รู้ถึงการละเมิดและตัวผู้กระทำละเมิด
จำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์ตั้งแต่วันที่ 26 เมษายน 2532 และวันที่ 9 ตุลาคม 2533 ตามลำดับ โจทก์ทราบมาโดยตลอดว่า ผู้กระทำละเมิดในครั้งนี้คือจำเลย เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2540 จึงต้องถือว่าค่าเสียหายเกี่ยวกับที่ดินและแผงค้าตามฟ้องที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ 24 เมษายน 2539 เกิน 1 ปี แล้วเป็นอันขาดอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 448 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3841/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คุณสมบัติผู้สมัคร ส.ว.สำเร็จการศึกษา – วันสำเร็จการศึกษาตามประกาศมหา’ลัยมีผลผูกพัน
ผู้ร้องเป็นผู้สอบไล่ผ่านครบถ้วนทุกวิชาตามหลักสูตรปริญญาตรีรัฐศาสตรบัณฑิตและผ่านการอนุมัติของสภาวิชาการของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชแล้วเพียงแต่รอการอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัยเท่านั้น ซึ่งทางมหาวิทยาลัยดังกล่าวได้ชี้แจงผลการตรวจสอบคุณวุฒิการศึกษาว่า เมื่อสภามหาวิทยาลัยอนุมัติแล้ว ผู้ร้องจะสำเร็จการศึกษาตั้งแต่วันที่ 29 เมษายน 2545 และตามประกาศของมหาวิทยาลัยที่ออกตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยก็ระบุว่า นักศึกษาที่สอบไล่ได้ชุดวิชาต่าง ๆ ครบถ้วน... มหาวิทยาลัยจะดำเนินการขออนุมัติปริญญา.. โดยถือวันถัดจากวันสิ้นสุดการสอบไล่ครั้งสุดท้ายเป็นวันสำเร็จการศึกษา ซึ่งก็คือวันที่ 29 เมษายน 2545 นั่นเอง ดังนั้น ผู้ร้องจึงเป็นผู้สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีตั้งแต่วันดังกล่าวอันเป็นวันถัดจากวันสิ้นสุดการสอบไล่ครั้งสุดท้ายโดยไม่จำต้องอาศัยผลของการอนุมัติปริญญาของสภามหาวิทยาลัยอีกต่อไปเมื่อมีพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาในวันที่ 4 สิงหาคม 2545 โดยคณะกรรมการเลือกตั้งได้ประกาศการสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาระหว่างวันที่ 8กรกฎาคม 2545 ถึงวันที่ 12 กรกฎาคม 2545 และผู้ร้องไปยื่นใบสมัครรับเลือกตั้งในวันแรก ผู้ร้องจึงเป็นผู้มีคุณสมบัติสำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่าในขณะยื่นใบสมัครตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 125(3) ผู้คัดค้านต้องรับสมัครผู้ร้องและประกาศให้ผู้ร้องเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3701/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ค่าอากรและเงินเพิ่มศุลกากร การตีความการหักชำระหนี้ และข้อจำกัดการคิดดอกเบี้ย
กรณีตามใบขนสินค้าขาเข้าฉบับหลังกรมศุลกากรโจทก์นำเงินที่ได้รับจากธนาคารชำระหนี้ค่าอากรขาเข้าก่อนแล้วจึงนำส่วนที่เหลือไปชำระเงินเพิ่ม ส่วนกรณีตามใบขนสินค้าขาเข้า 2 ฉบับแรก มีข้อสงสัยว่าโจทก์นำเงินที่ได้รับจากธนาคารไปชำระหนี้ค่าอากรขาเข้าก่อนหรือชำระเงินเพิ่มก่อน ต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่จำเลย ซึ่งเป็นคู่กรณีฝ่ายซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้นั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 11 จึงฟังได้ว่า โจทก์นำเงินที่ได้รับจากธนาคารไปหักชำระเป็นค่าอากรขาเข้าก่อนเมื่อเงินที่ธนาคารส่งให้โจทก์เพื่อชำระหนี้ตามใบขนสินค้าขาเข้าแต่ละฉบับมีจำนวนมากกว่าอากรขาเข้า จึงไม่มีอากรขาเข้าที่ค้างชำระอีกต่อไป เงินที่ขาดจำนวนอีก 345,890.88 บาท จึงเป็นเงินเพิ่มที่จำเลยยังค้างชำระ แม้พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 112 จัตวา วรรคสาม จะบัญญัติให้ถือว่าเงินเพิ่มเป็นเงินอากร แต่มาตรา 112 จัตวา วรรคหนึ่ง ให้เรียกเก็บเงินเพิ่มในอัตราร้อยละหนึ่งต่อเดือนของค่าอากรที่นำมาชำระโดยไม่คิดทบต้น ดังนั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกเก็บเงินเพิ่มในอัตราร้อยละหนึ่งต่อเดือนจากเงินเพิ่มที่ค้างชำระจำนวน 345,890.88 บาท เพราะเป็นการคิดเงินเพิ่มทบต้น ต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3701/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ค่าอากรและเงินเพิ่มตามหนังสือค้ำประกัน การตีความการหักชำระหนี้ และข้อจำกัดการคิดดอกเบี้ยเงินเพิ่ม
ตามใบขนสินค้าขาเข้าฉบับหลัง โจทก์นำเงินที่ได้รับจากธนาคารชำระหนี้ค่าอากรขาเข้าก่อน แล้วจึงนำส่วนที่เหลือไปชำระเงินเพิ่ม ส่วนกรณีตามใบขนสินค้าขาเข้า 2 ฉบับแรก มีข้อสงสัยว่า โจทก์นำเงินที่ได้จากธนาคารไปชำระหนี้ค่าอากรขาเข้าก่อนหรือชำระเงินเพิ่มก่อน จึงตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่จำเลยซึ่งเป็นคู่กรณีฝ่ายซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้นั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 11 ว่าโจทก์นำเงินที่ได้รับจากธนาคารไปหักชำระเงินค่าอากรขาเข้าก่อน
โจทก์แจ้งให้จำเลยชำระค่าอากรขาเข้าตามใบขนสินค้าขาเข้าทั้งสามฉบับ แต่จำเลยไม่ชำระ และมิได้อุทธรณ์การประเมิน โจทก์จึงเรียกให้ธนาคารผู้ค้ำประกันชำระเงินตามจำนวนที่ค้ำประกันไว้ ปรากฏว่าเงินที่ธนาคารส่งให้โจทก์มีจำนวนมากกว่าอากรขาเข้า ดังนั้น เมื่อโจทก์นำไปชำระค่าอากรขาเข้าก่อน จึงไม่มีอากรขาเข้าที่ค้างชำระอีกต่อไป เงินที่ขาดจำนวนอีก 345,890.88 บาท จึงเป็นเงินเพิ่มที่จำเลยยังค้างชำระ แม้ พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 112 จัตวา วรรคสาม จะบัญญัติให้ถือว่าเงินเพิ่มเป็นเงินอากร แต่มาตรา 112 จัตวา วรรคหนึ่ง บัญญัติ "...ให้เรียกเก็บเงินเพิ่มในอัตราร้อยละหนึ่งต่อเดือนของค่าอากรที่นำมาชำระโดยไม่คิดทบต้น..." ดังนั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกเก็บเงินเพิ่มในอัตราร้อยละหนึ่งต่อเดือนจากเงินเพิ่มที่ค้างชำระจำนวน 345,890.88 บาท เพราะเป็นการคิดเงินเพิ่มทบต้น ต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3200/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% คำวินิจฉัยอธิบดีกรมสรรพากรเป็นเพียงขั้นตอนเบื้องต้น โจทก์มีสิทธิฟ้องร้องต่อศาลได้
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขายสินค้าหรือการให้บริการ ที่จะได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 ต่อไป ลงวันที่ 13 สิงหาคม 2540 ข้อ 4 ระบุว่า ในกรณีที่มีปัญหา ในการปฏิบัติและการวินิจฉัยตามประกาศนี้ ให้อธิบดีมีอำนาจวินิจฉัยและคำวินิจฉัยของอธิบดีให้ถือเป็นที่สุดนั้น แม้ประกาศดังกล่าวออกโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมาย แต่กฎหมายที่ให้อำนาจในการออกประกาศฉบับนี้มิได้บัญญัติให้อำนาจอธิบดีกรมสรรพากรที่จะออกประกาศกำหนดว่า ถ้ามีปัญหาในการปฏิบัติและอธิบดีมีคำวินิจฉัยแล้ว ให้ถือเป็นที่สุด ฟ้องร้องต่อศาลไม่ได้ ดังนั้น คำว่า "คำวินิจฉัยของอธิบดีให้ถือเป็นที่สุด" ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฉบับดังกล่าวจึงมีความหมายเพียงว่า เป็นที่สุดในขั้นตอนการปฏิบัติงานในชั้นวินิจฉัยว่า ผู้ประกอบการที่ยื่นคำขอรับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 ต่อไป ได้รับสิทธินั้นหรือไม่เท่านั้น เพื่อจะได้ดำเนินการตามขั้นตอนอื่นต่อไป ดังนั้นเมื่อคำวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพากรเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลได้
บันทึกข้อตกลงท้ายสัญญาจ้างเหมางานก่อสร้างเป็นสัญญาที่ทำขึ้นเพื่อเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อตกลงตามสัญญาเดิม แม้จะระบุว่าเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาเดิม แต่ทำขึ้นเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2540 มิใช่สัญญาที่ได้มีการทำสัญญาก่อน วันที่ 16 สิงหาคม 2540 ซึ่งเป็นวันที่ พ.ร.ฎ. ออกตามความใน ป.รัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 309) พ.ศ. 2540 ใช้บังคับ ส่วนบันทึกข้อตกลงโครงการคอนโดมิเนียมทำขึ้นหลังพ้นกำหนดเวลาทำงานให้แล้วเสร็จตามสัญญาจ้างเหมางานก่อสร้างทั้งสองฉบับ ไม่มีข้อความระบุว่าเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจ้างเหมางานก่อสร้างฉบับเดิม สิทธิและหน้าที่ของคู่สัญญาแตกต่างไปจากเดิมมาก บันทึกข้อตกลงฉบับนี้จึงเป็นสัญญาที่โจทก์และบริษัท ม. ทำขึ้น เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2541 เพื่อเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อตกลงตามสัญญาเดิม มิใช่สัญญาที่ได้มีการทำสัญญาก่อนวันที่ 16 สิงหาคม 2540 โจทก์จึงมิใช่ผู้ประกอบการภายใต้เงื่อนไขที่ระบุไว้ในข้อ 1(3) แห่งประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขายสินค้าหรือการให้บริการที่จะได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา ร้อยละ 7 ต่อไป ลงวันที่ 13 สิงหาคม 2540 โจทก์จึงไม่มีสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 ต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3200/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหลังพ.ร.ก.ใหม่ สัญญาเพิ่มเติมหลังสัญญาเดิมไม่เข้าเกณฑ์อัตรา 7%
แม้ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขายสินค้าหรือการให้บริการที่จะได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7.0ต่อไป ที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 309) พ.ศ. 2540 และพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2538 และมาตรา 80 แห่งประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 ก็ตาม แต่กฎหมายดังกล่าวทุกฉบับมิได้บัญญัติให้อำนาจอธิบดีกรมสรรพากรออกประกาศกำหนดว่าถ้ามีปัญหาในการปฏิบัติและอธิบดีมีคำวินิจฉัยแล้วให้ถือเป็นที่สุดฟ้องร้องต่อศาลไม่ได้ซึ่งคำว่า "คำวินิจฉัยของอธิบดีให้ถือเป็นที่สุด" ตามประกาศฉบับดังกล่าวมีความหมายเพียงว่า เป็นที่สุดในขั้นตอนการปฏิบัติงานในชั้นวินิจฉัยว่าผู้ประกอบการที่ยื่นคำขอรับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7.0 ต่อไปได้รับสิทธินั้นหรือไม่เท่านั้น เพื่อจะได้ดำเนินการตามขั้นตอนอื่นต่อไป เมื่อคำวินิจฉัยของอธิบดีดังกล่าวเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลได้
บริษัท ม. จ้างโจทก์ก่อสร้างอาคารชุดก่อนวันที่ 16 สิงหาคม 2540 ซึ่งเป็นช่วงที่โจทก์ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7.0 ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 236)ฯ แต่ต่อมาโจทก์กับบริษัท ม. ทำบันทึกข้อตกลงต่อท้ายสัญญาดังกล่าวโดยเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อตกลงตามสัญญาเดิม แม้จะระบุว่าเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาเดิม แต่เป็นการทำขึ้นเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2540 จึงมิใช่สัญญาที่ได้ทำขึ้นก่อนวันที่ 16 สิงหาคม 2540 โจทก์จึงไม่มีสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7.0 ต่อไป โดยต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ9.0 ตามมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 309)ฯ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3198/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระภาษีอากรเมื่อไม่ได้ส่งออกสินค้าตามกำหนด และสิทธิการเรียกร้องของเจ้าหนี้ผู้ค้ำประกัน
การที่จำเลยนำของเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อผลิตส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศโดยนำหนังสือค้ำประกันของธนาคารวางประกัน และรับของไปจากอารักขาของศุลกากรเป็นเพียงการผ่อนผันชำระค่าอากรขาเข้าให้แก่จำเลย เมื่อจำเลยมิได้ผลิตสินค้าส่งออกไปต่างประเทศภายในกำหนด 1 ปี ตามกฎหมาย ย่อมเป็นหน้าที่ของจำเลยที่จะนำเงินอากรขาเข้าและภาษีอากรตามที่เจ้าพนักงานประเมินไว้ไปชำระมิใช่เป็นหน้าที่เจ้าพนักงานประเมินจะต้องติดตามทางถามให้จำเลยชำระ ทั้งตาม พ.ร.บ. ศุลกากรก็ดี ประมวลรัษฎากรก็ดี มิได้บัญญัติกำหนดระยะเวลาให้เจ้าพนักงานประเมินติดตามทวงถามไว้แต่อย่างใด ดังนั้น เจ้าพนักงานประเมินจะเรียกให้จำเลยหรือผู้ค้ำประกันชำระค่าอากรขาเข้าเมื่อใดก็ได้ภายในอายุความ เมื่อจำเลยไม่ชำระค่าอากรที่ต้องเสียก็ต้องเรียกเงินเพิ่มจากจำเลยตามกฎหมาย
กรณีการนำหนังสือค้ำประกันของธนาคารมาวางก็ไม่มีบทบัญญัติใดตาม พ.ร.บ. ศุลกากรว่าถ้าผู้นำของเข้าไม่ชำระค่าอากรขาเข้า ภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาล (ปัจจุบันเป็นภาษีส่วนท้องถิ่น) ตามที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งให้ทราบแล้วภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง ก็ให้เรียกเก็บจากผู้ค้ำประกันทันที ตาม ป.พ.พ. มาตรา 686 ที่ให้สิทธิเจ้าหนี้เรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้ ตั้งแต่ลูกหนี้ผิดนัดนั้น ถ้าหนี้จะใช้สิทธิเรียกร้องเมื่อใดก็ได้ภายในอายุความ และเมื่อเรียกจากธนาคารผู้ค้ำประกันแล้วหนี้ยังขาดอยู่เท่าใดจำเลยก็ต้องรับผิดชำระค่าภาษีอากรส่วนที่ขาดรวมทั้งเงินเพิ่มแก่โจทก์ การที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าอากรขาเข้า ภาษีการค้า ภาษีบำรุงเทศบาล (ปัจจุบันเป็นภาษีส่วนท้องถิ่น) และเงินเพิ่ม จึงเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมายและภายในชอบที่กฎหมายบัญญัติ จึงมิใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3193/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์เกินความจำเป็นในการบังคับคดี การพิจารณาความเหมาะสมระหว่างราคาทรัพย์สินที่ยึดกับจำนวนหนี้
โจทก์เคยบริหารกิจการของจำเลยมานับแต่เริ่มก่อตั้งบริษัทจำเลย ย่อมทราบว่าจำเลยมีเครื่องจักรขนาดใหญ่อยู่หลายเครื่องรวมทั้งราคาของเครื่องจักรดังกล่าวด้วยโจทก์เป็นเจ้าหนี้จำเลยเพียงไม่กี่แสนบาท จึงน่าจะมุ่งยึดเครื่องจักรที่มีราคาใกล้เคียงกับจำนวนหนี้ ประกอบกับจำเลยไม่มีปัญหาเกี่ยวกับหนี้จำนองที่จำเลยมีต่อธนาคารอื่นทั้ง ก. ซึ่งมีที่ดินที่ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับโจทก์หลายแปลงก็เต็มใจให้โจทก์นำไปหักชำระหนี้ได้โดยที่โจทก์ไม่มีข้อโต้แย้งใด ๆ อีกด้วย จึงเห็นได้ว่า โจทก์นำยึดทรัพย์สินของจำเลยเกินกว่าที่จำเป็นแก่การบังคับคดี อันต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 284 วรรคหนึ่ง และโจทก์ต้องชำระค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีกรณียึดทรัพย์สินซึ่งไม่ใช่ตัวเงินแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่ายตามมาตรา 284 วรรคสอง โดยคิดค่าธรรมเนียมในอัตราร้อยละ 3 ครึ่งของราคาทรัพย์สินที่ยึดแต่ไม่เกินจำนวนหนี้ที่จะต้องรับผิดในการบังคับคดีของจำเลยตามตาราง 5 ข้อ 3 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3064/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฟ้องร้องเมื่อถูกโต้แย้งสิทธิในที่ดิน แม้ยังมิได้ถูกบังคับคดี
การที่จำเลยมีหนังสือแจ้งโจทก์ว่าจำเลยยื่นฟ้องขับไล่ ส. และจำเลยเป็นฝ่ายชนะคดี ให้โจทก์ในฐานะบริวารของ ส. ออกจากที่พิพาท เมื่อโจทก์เห็นว่าตนมิใช่บริวารของ ส. แต่เป็นเจ้าของครอบครองทำประโยชน์ในที่พิพาทมานานแล้ว แสดงว่ามีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ระหว่างโจทก์กับจำเลยตามกฎหมายแพ่งอันเกี่ยวกับสิทธิในที่พิพาทแล้ว โจทก์มีสิทธิเสนอคดีของตนต่อศาลโดยยื่นฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 55 ได้ แม้โจทก์จะยื่นฟ้องจำเลยก่อนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะปิดประกาศกำหนดเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 จัตวา (3)ในคดีที่จำเลยฟ้องขับไล่ ส. ออกจากที่พิพาทก็ตาม เพราะบทบัญญัติดังกล่าวแม้หากบุคคลนั้นไม่ยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในเวลาตามที่กฎหมายกำหนด ก็เป็นเพียงให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบุคคลนั้นเป็นบริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษาหาได้มีผลเป็นการตัดสิทธิห้ามบุคคลนั้นจะฟ้องร้องเป็นคดีใหม่ไม่ และเมื่อโจทก์มิได้ร้องขอเข้าไปในคดีที่จำเลยบังคับขับไล่ ส. โจทก์จึงมิได้อยู่ในฐานะเป็นคู่ความในคดีนั้นย่อมไม่ผูกพันในผลแห่งคดีดังกล่าวหรือจะถูกต้องห้ามมิให้ฟ้องร้องไม่ว่าจะด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายในเรื่องฟ้องซ้ำหรือดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3033/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินราคาอากรขาเข้าใหม่โดยศุลกากรชอบด้วยกฎหมาย แม้ราคาสำแดงไม่ตรงกับราคาตลาด
โจทก์ชำระอากรขาเข้าเพิ่มภายหลังนำของไปจากอารักขาของศุลกากรแล้ว กรณีจึงไม่ต้องด้วย พ.ร.บ ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 10 วรรคห้า แม้โจทก์มิได้แจ้งความไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าจะเรียกร้องเงินอากรที่ชำระเพิ่มคืนก็ไม่ตัดสิทธิโจทก์ในการฟ้องคดี
เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าราคาที่โจทก์สำแดงในใบขนสินค้าขาเข้าทั้ง 4 ฉบับ ที่พิพาทเป็นราคาที่โจทก์ซื้อและเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของสินค้าที่โจทก์นำเข้า เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยย่อมมีอำนาจประเมินราคาใหม่ได้โดยปฏิบัติตามคำสั่งทั่วไปของกรมศุลกากรที่ 44/2540 ว่าด้วยระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการกำหนดราคาที่ใช้ในการประเมินอากรและการตรวจสอบใบขนสินค้าขาเข้า แม้คำสั่งทั่วไปกรมศุลกากรฉบับดังกล่าวจะมิใช่กฎหมายก็ตาม แต่ก็เป็นคำสั่งที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ ศุลกากร พ.ศ. 2469 ซึ่งใช้เป็นหลักปฏิบัติทั่วไป มิใช่เลือกปฏิบัติเฉพาะโจทก์ดังนั้นการที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยประเมินราคาสินค้าที่โจทก์นำเข้าทั้ง 4 เที่ยวใหม่ จึงชอบด้วยกฎหมาย
of 29