คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ศุภชัย ภู่งาม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 288 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 676/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับปรุงโครงสร้างหนี้และข้อยกเว้นภาษี การโอนทรัพย์สินให้สถาบันการเงินเพื่อลดหนี้
การยกเว้นภาษีตามประมวลรัษฎากรให้แก่ลูกหนี้และสถาบันการเงินสำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการโอนทรัพย์สินอันเนื่องมาจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนดตามมาตรา 6 ของพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 360) พ.ศ. 2542 นั้น หมายถึงการโอนทรัพย์สินของลูกหนี้ให้แก่สถาบันการเงินซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้โดยทรัพย์สินดังกล่าวมีมูลค่าต่ำกว่ายอดหนี้เท่านั้น แต่การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ระหว่างโจทก์กับธนาคาร ท. ตามสัญญามิได้มีการตกลงให้โจทก์โอนห้องชุดที่จำนองหรือทรัพย์สินอื่นใดให้แก่ธนาคาร ดังนั้น เมื่อธนาคารปลดหนี้ให้แก่โจทก์ตามสัญญา โจทก์จึงได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับจำนวนเงินที่ค้างชำระและธนาคารปลดหนี้ให้ตามมาตรา 5 แห่งพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าว แต่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา อากรแสตมป์และ ภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับการโอนขายห้องชุดที่จำนองให้แก่ ก. ตามมาตรา 6 แห่งพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าว แต่อย่างใด เนื่องจากมิใช่เป็นการโอนให้แก่สถาบันการเงินทั้งไม่เข้าเงื่อนไขที่จะได้รับการยกเว้น ตามมาตรา 8 แห่งพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าวด้วย ส่วนพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 373) พ.ศ. 2543 มีผลบังคับใช้สำหรับการโอนอสังหาริมทรัพย์ของลูกหนี้ตั้งแต่ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2543 เป็นต้นไป จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2544 เท่านั้น ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากที่โจทก์โอนไปแล้ว โจทก์จึงไม่ได้สิทธิ ยกเว้นภาษีอากรตามพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าวด้วยเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 675/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการขอคืนอากรหลังชำระหลังได้รับมอบสินค้า และอายุความของคดีภาษีอากร
ตามพระราชบัญญัติศุลกากรฯ มาตรา 10 วรรคห้ากำหนดให้โจทก์จะต้องโต้แย้งหรือแจ้งความไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนส่งมอบสินค้าว่าจะยื่นคำเรียกร้องขอคืนอากรได้ก็ต่อเมื่อโจทก์ชำระค่าอากรเพิ่มตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยเรียกให้ชำระเพิ่มในวันนำเข้านั้นเอง แต่คดีนี้โจทก์ได้วางหนังสือค้ำประกันของธนาคารเป็นประกันค่าอากรอันเป็นการดำเนินการเพื่อให้สินค้าออกจากอารักขาของจำเลยตามพระราชบัญญัติศุลกากรฯ มาตรา 112 และต่อมาพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้ประเมินราคาเพิ่มและแจ้งการประเมินให้โจทก์ชำระอากรขาเข้า และโจทก์ได้ชำระหลังจากที่ได้รับมอบสินค้าแล้ว กรณีจึงไม่ต้องด้วยมาตรา 10 วรรคห้า โจทก์จึงไม่สิ้นสิทธิในการเรียกร้องขอคืนเงินอากร แม้โจทก์จะมิได้ฟ้องคดีภายใน 2 ปีนับแต่วันนำเข้า แต่พระราชบัญญัติศุลกากรฯ ก็มิได้บัญญัติเกี่ยวกับกำหนดอายุความเรื่องนี้ไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 523/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนหุ้นต้องทำตามแบบที่กฎหมายกำหนด หากไม่เป็นไปตามแบบ สัญญาโอนหุ้นเป็นโมฆะ แม้มีการชำระเงินแล้ว
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทำสัญญาขายหุ้นของจำเลยในบริษัทบ. ให้แก่โจทก์ 2,500 หุ้น ในราคา 2,500,000 บาท จำเลยได้รับเงินค่าหุ้นจากโจทก์ในวันทำสัญญา 500,000 บาท โดยมีเงื่อนไขว่าหากการซื้อขายหุ้นมีปัญหาหรือโมฆะ จำเลยจะคืนเงินพร้อมดอกเบี้ยให้โจทก์ แต่จำเลยไม่สามารถจัดการโอนหุ้นตามสัญญาให้แก่โจทก์โดยทางบริษัท บ. แจ้งว่า การโอนหุ้นขัดต่อข้อบังคับของบริษัทซึ่งกรรมการของบริษัทคัดค้านการโอนหุ้น และโจทก์ได้แจ้งให้จำเลยทราบแล้ว จำเลยจึงต้องคืนเงิน 500,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ ดังนี้ถือว่าโจทก์ได้บรรยายฟ้องโดยแจ้งชัดแล้ว จึงเป็นฟ้องที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรคสอง ส่วนข้อบังคับของบริษัท บ. มีว่าอย่างไรการโอนหุ้นตามฟ้องขัดต่อข้อบังคับของบริษัทอย่างไร กรรมการบริษัทที่คัดค้านการโอนหุ้นคือใครตามมติที่ประชุมครั้งที่เท่าใดล้วนเป็นเรื่องรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบพยานได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
หุ้นของบริษัท บ. เป็นหุ้นสามัญชนิดระบุชื่อแม้ยังไม่ได้ออกใบหุ้นแต่การโอนหุ้นก็ต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129 วรรคสอง ซึ่งกำหนดแบบไว้ว่าถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อของผู้โอนกับผู้รับโอน มีพยานคนหนึ่งเป็นอย่างน้อยลงชื่อรับรองลายมือนั้น ๆ ด้วยแล้ว ท่านว่าเป็นโมฆะ เมื่อหนังสือสัญญาโอนหุ้นในบริษัทดังกล่าวระหว่างโจทก์จำเลย ไม่มีผู้ลงชื่อเป็นพยานรับรองลายมือดังกล่าว จึงเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 523/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาโอนหุ้นโมฆะเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามรูปแบบกฎหมาย จำเลยต้องคืนเงินค่าหุ้นพร้อมดอกเบี้ย
สัญญาโอนหุ้น มีการลงลายมือชื่อจำเลยและโจทก์ไว้ จึงถือเป็นหลักฐานในการโอนหุ้น แต่เมื่อหุ้นของบริษัท บ. ทั้งหมดเป็นหุ้นสามัญชนิดระบุชื่อและยังไม่ได้ออกใบหุ้น ซึ่งการโอนหุ้นดังกล่าวต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1129 วรรคสอง ที่กำหนดแบบไว้ว่าถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อของผู้โอนกับผู้รับโอน มีพยานคนหนึ่งเป็นอย่างน้อยลงชื่อรับรองลายมือนั้น ๆ แล้วถือว่าเป็นโมฆะ เมื่อสัญญาโอนหุ้นระหว่างโจทก์และจำเลยไม่มีผู้ลงชื่อเป็นพยานรับรองลายมือการโอนหุ้นดังกล่าวจึงเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 523/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนหุ้นชนิดระบุชื่อต้องทำตามรูปแบบที่กฎหมายกำหนด หากไม่ถูกต้องสัญญาเป็นโมฆะ
หุ้นของบริษัททั้งหมดเป็นหุ้นสามัญชนิดระบุชื่อ แม้คู่ความจะรับกันว่าทางบริษัทยังไม่ออกใบหุ้นแต่การโอนหุ้นก็ต้องปฏิบัติตาม ป.พ.พ.มาตรา 1129 วรรคสอง เพราะเป็นกรณีโอนหุ้นชนิดระบุชื่อ ซึ่งกำหนดแบบไว้ว่าถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อของผู้โอนและผู้รับโอน มีพยานคนหนึ่งเป็นอย่างน้อยลงชื่อรับรองลายมือนั้น ๆ ด้วยแล้ว ท่านว่าเป็นโมฆะ เมื่อหนังสือสัญญาโอนหุ้นไม่มีผู้ลงชื่อเป็นพยานรับรองลายมือดังกล่าว การโอนหุ้นระหว่างจำเลยกับโจทก์จึงเป็นโมฆะตามบทบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 508/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความชำรุดบกพร่องหลังส่งมอบสินค้า ผู้ขายไม่ต้องรับผิด และสิทธิในการยึดหน่วงราคาสิ้นสุดลง
ความชำรุดบกพร่องของทรัพย์สินที่ขายอันผู้ขายจะต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 472 นั้น จะต้องเป็นความชำรุดบกพร่องที่มีอยู่ก่อนแล้ว หรือมีอยู่ในขณะทำสัญญาซื้อขายหรือในเวลาส่งมอบทรัพย์สินที่ขายส่วนความชำรุดบกพร่องที่มีขึ้นภายหลังผู้ขายหาต้องรับผิดไม่ ปรากฏว่าก่อนที่จำเลยรับมอบเครื่องผลิตไอศกรีมพิพาทจากโจทก์ จำเลยได้ตรวจสอบการทำงานของเครื่องแล้ว ซึ่งสามารถใช้การได้ดี แสดงว่าเครื่องผลิตไอศกรีมดังกล่าวมิได้มีความชำรุดบกพร่องอยู่ก่อนหรือในขณะทำสัญญาซื้อขายหรือในเวลาส่งมอบ ดังนั้น การที่เครื่องผลิตไอศกรีมพิพาทเกิดชำรุดบกพร่องหลังจากใช้งานไปได้เกือบ 1 ปี จึงเป็นความชำรุดบกพร่องนี้ไม่ จำเลยจึงไม่มีสิทธิยึดหน่วงราคาที่ยังไม่ได้ชำระตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 488

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 508/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขายเกี่ยวกับความชำรุดบกพร่องของสินค้า: ความชำรุดที่เกิดขึ้นหลังการใช้งานไม่ใช่ความรับผิดของผู้ขาย
ความชำรุดบกพร่องของทรัพย์สินที่ขายอันผู้ขายจะต้องรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 572 นั้น จะต้องเป็นความชำรุดบกพร่องที่มีอยู่ก่อนแล้ว หรือมีอยู่ในขณะนำสัญญาซื้อขาย หรือในเวลาส่งมอบทรัพย์สินที่ขาย เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าก่อนที่ผู้ซื้อจะรับมอบเครื่องผลิตไอศกรีมพิพาทจากผู้ขาย ผู้ซื้อได้ตรวจสอบการทำงานของเครื่องแล้วปรากฏว่าเครื่องสามารถใช้การได้ดี ฉะนั้น ที่เครื่องผลิตไอศกรีมพิพาทเกิดชำรุดบกพร่องหลังจากใช้งานไปได้เกือบ 1 ปี จึงเป็นความชำรุดบกพร่องที่มีขึ้นภายหลังอันเกิดจากการใช้งาน ผู้ขายหาต้องรับผิดในความชำรุดบกพร่องนี้ไม่ ผู้ซื้อจึงไม่มีสิทธิยึดหน่วงราคาที่ยังได้ได้ชำระตามมาตรา 488

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 500-501/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยข้อพิพาทนอกประเด็นข้อพิพาทตามที่จำเลยยกขึ้นในชั้นศาล และการพิจารณาความเสียหายจากเหตุเพลิงไหม้
ตามคำให้การจำเลยสำนวนแรกกับคำฟ้องของจำเลยซึ่งเป็นโจทก์สำนวนหลัง ต่างก็อ้างเพียงว่าการที่อาคารสถานที่เช่าถูกเพลิงไหม้ ทำให้คนไม่ไปใช้บริการในอาคารดังกล่าว จึงเป็นเหตุให้ไม่เหมาะสมที่จะใช้เป็นที่ติดตั้งป้ายโฆษณาอีกต่อไป สัญญาเช่าที่จำเลยผู้เช่าทำกับโจทก์ผู้ให้เช่าจึงสิ้นสุดลงทันทีตามข้อตกลงในสัญญาเช่า ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ยกข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การสำนวนแรก หรือบรรยายไว้ในคำฟ้องสำนวนหลังตอนใดเลยว่าการที่เกิดเหตุเพลิงไหม้ทำให้ระบบฉีดน้ำดับเพลิงฉีดใส่ป้ายโฆษณาของจำเลยเสียหายจำนวน 54 ป้าย จากป้ายที่มีอยู่ทั้งหมด 82 ป้าย ดังนี้การที่ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวมาแล้วพิพากษาให้โจทก์ชำระเงินแก่จำเลย จึงเป็นการนอกเหนือไปจากประเด็นข้อพิพาท เป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็น ไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 131(2), 141 และ 142 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 496/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังคำให้การของผู้ร่วมกระทำผิด และการพิจารณาความน่าเชื่อถือของคำให้การในชั้นสอบสวน
แม้เจ้าพนักงานตำรวจจะกล่าวหาว่า ท. เป็นผู้ต้องหาในครั้งแรกแต่ ท. ไม่ได้ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยด้วย คำให้การของ ท. หาใช่คำซัดทอดของผู้ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยแต่อย่างใด ทั้ง ท. ให้การต่อพนักงานสอบสวนภายหลังเกิดเหตุเพียงชั่วข้ามคืนและโดยทันทีที่เข้าแจ้งเหตุให้พนักงานสอบสวนทราบ เป็นการยากที่ ท. จะปรุงแต่งเรื่องราวเพื่อปรักปรำจำเลยหรือเพื่อต่อสู้คดีได้ ทั้งเป็นคำให้การที่มิได้เกิดจากการจูงใจ มีคำมั่นสัญญาขู่เข็ญหลอกลวงหรือโดยมิชอบประการอื่น และแม้จะฟังว่า ท. ให้การซัดทอดจำเลย คำให้การชั้นสอบสวนของผู้กระทำผิดด้วยกันก็ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามมิให้ศาลรับฟังแต่อย่างใด ดังนั้น แม้โจทก์และโจทก์ร่วมจะไม่ได้ตัว ท. มาเบิกความในชั้นศาล ศาลย่อมนำคำให้การของ ท. ในชั้นสอบสวนมาฟังประกอบการพิจารณาลงโทษจำเลยได้
คำให้การของจำเลยต่อพนักงานสอบสวนยืนยันรับว่าเป็นผู้ใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายจริง และการนำชี้ที่เกิดเหตุก็กระทำโดยเปิดเผยต่อหน้าประชาชนจำนวนมาก ซึ่งแสดงว่าไม่มีการล่อลวงหรือขู่เข็ญ คำให้การในชั้นสอบสวนดังกล่าวจึงใช้ยันจำเลยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 134 และรับฟังประกอบพยานหลักฐานของโจทก์ให้มีน้ำหนักมั่นคงยิ่งขึ้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 448/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับและดอกเบี้ยต้องมีข้อตกลงชัดเจน, ดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยเป็นโมฆะ, สถานะลูกหนี้มีผลต่อการใช้เช็ค
การที่คู่สัญญาจะมีสิทธิคิดเบี้ยปรับจากคู่สัญญาฝ่ายที่ผิดสัญญาได้นั้น ต้องมีการตกลงไว้ในสัญญาโดยชัดแจ้งว่า มีเงื่อนไขในการกำหนดเบี้ยปรับกันอย่างไรผิดสัญญาข้อใดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 379 หาใช่เป็นการคิดเอาตามอำเภอใจแต่ฝ่ายเดียวไม่
จำเลยทั้งสองเป็นหนี้ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. แม้หนี้เดิมจะเป็นหนี้ค่าซื้อสินค้ามิใช่หนี้กู้ยืมก็ตาม แต่ก็เป็นหนี้เงินที่ต้องชำระต่อกันจึงต้องอยู่ภายใต้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7และมาตรา 224 ซึ่งคิดดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดได้เพียงร้อยละ 7.5 ต่อปีและห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดอีกด้วย การที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. คิดดอกเบี้ยจากจำเลยในต้นเงิน 2 ล้านบาทมาเป็นจำนวน 6 ล้านบาทเศษ ในเวลาประมาณ 2 ปี นับว่าเป็นจำนวนดอกเบี้ยสูงมากคิดแล้วเป็นดอกเบี้ยในอัตราร้อยละร้อยต่อปีทั้งการเปลี่ยนเช็คแต่ละฉบับโดยนำดอกเบี้ยมารวมเป็นต้นเงินตามเช็คฉบับใหม่มีลักษณะเป็นการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยอันต้องห้ามตามกฎหมาย ประกอบกับตลอดเวลาที่ค้าขายติดต่อกัน จำเลยทั้งสองได้ออกเช็คให้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. เพื่อชำระหนี้มีจำนวนประมาณ 30 ฉบับ และทุกฉบับขึ้นเงินไม่ได้ทั้งโจทก์ผู้รับโอนเช็คพิพาทจาก ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ยังรับว่าเช็คที่ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. นำไปเปลี่ยนจากจำเลยทุกครั้งเป็นเช็คที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. นำไปแลกเงินสดจากโจทก์ และเมื่อถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์จะส่งเช็คฉบับนั้นนำไปขอเปลี่ยนเช็คฉบับใหม่จากจำเลยทุกคราวไป แสดงให้เห็นว่าห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. และโจทก์ต่างรู้ถึงฐานะทางการเงินของจำเลยทั้งสองเป็นอย่างดีว่ามีความขัดสนรุนแรงเพียงใดดังนั้น การที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ให้จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาท4 ฉบับ แต่ละฉบับมีจำนวนเงินสูงลงวันที่ล่วงหน้าเป็นวันเดียวกันโดยให้เวลาเพียง 2 เดือนเศษ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช.ย่อมทราบดีว่าขณะที่จำเลยทั้งสองสั่งจ่ายเช็คนั้น จำเลยไม่มีความสามารถที่จะชำระหนี้ตามเช็คได้ จำเลยทั้งสองอยู่ในภาวะที่ถูก ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. บีบบังคับให้ต้องสั่งจ่ายเช็คที่มีดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยรวมอยู่ด้วย การสั่งจ่ายเช็คของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ แม้ว่าโจทก์จะไม่ทราบถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวก็ตาม
of 29