พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4418/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีและเรียกเก็บเงินเพิ่มอากรขาเข้ากรณีราคาสำแดงต่ำกว่าราคาจริง และการตัดเศษของบาทในการคำนวณภาษี
การเรียกเก็บเงินเพิ่มอากรขาเข้าอีกร้อยละ 20 ตามมาตรา 112 ตรี มีได้เฉพาะ 2 กรณี คือ กรณีมิได้ชำระเงินอากรครบถ้วนตามมาตรา 112 ทวิ อย่างหนึ่ง กับกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามระเบียบหรือเงื่อนไขที่อธิบดีกรมศุลกากรกำหนดตามมาตรา 40 อีกอย่างหนึ่ง คดีนี้แม้จะปรากฏว่าจำเลยนำสินค้าเข้าโดยแสดงความจำนงว่าจะนำมาใช้ในการผลิต สินค้าสำเร็จรูปเพื่อส่งออกไปเมืองต่างประเทศภายใน 1 ปี นับแต่วันนำเข้า โดยวางหนังสือค้ำประกันของธนาคารต่อ โจทก์ที่ 1 และจำเลยมิได้นำสินค้าที่นำเข้านี้ไปผลิตเพื่อ ส่งออกให้เสร็จสิ้นครบถ้วนภายใน 1 ปีก็ตาม แต่เนื่องจาก พนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมศุลกากรโจทก์ที่ 1 เห็นว่าจำเลย สำแดงราคาต่ำกว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาด จึงทำการประเมิน ราคาสินค้าเพิ่มขึ้น การประเมินดังกล่าวเกิดจากการที่จำเลย ยื่นใบขนสินค้าไม่ถูกต้อง กรณีจึงเป็นเรื่องที่จำเลยปฏิบัติ ผิดเงื่อนไขในการที่ผู้นำเข้าจะนำของออกจากอารักขาของ กรมศุลกากร ตามมาตรา 40 โจทก์ที่ 1 จึงมีสิทธิเรียกเก็บ เงินเพิ่มอากรขาเข้าตามมาตรา 112 ตรี ได้ พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2500 มาตรา 5 บัญญัติให้ยกเว้นภาษีเงินได้ในหมวด 3 และภาษีการค้าในหมวด 4ของลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเฉพาะเศษของบาทจากการคำนวณภาษี และพระราชบัญญัติระเบียบ บริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 มาตรา 112 วรรคสอง บัญญัติว่า "ในการเสียภาษีอากรและค่าธรรมเนียมตามมาตรานี้ เศษของหนึ่งบาทให้ตัดทิ้ง" บทบัญญัติดังกล่าวเป็นเรื่อง ที่ยกเว้นภาษีแก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเฉพาะเศษของบาทจากการ คำนวณในกรณีที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีนำเงินค่าภาษีทั้งหมด มาชำระ เมื่อผู้มีหน้าที่เสียภาษีมิได้นำเงินค่าภาษีมาชำระ หรือชำระไม่ครบถ้วน การคำนวณภาษีดังกล่าวจึงยังไม่สิ้นสุด การที่ศาลภาษีอากรวินิจฉัยให้ตัดเศษของบาทจากการคำนวณ ภาษีจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4172/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนอากรขาเข้าและการบังคับสิทธิเรียกร้องเมื่อไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการส่งออกภายในกำหนด และอายุความ
ของที่จำเลยนำเข้ามาผลิตหรือผสม หรือประกอบเพื่อส่งออกไปยังเมืองต่างประเทศภายในกำหนด 1 ปี นับแต่วันนำของเข้า จำเลยย่อมได้รับคืนอากรตามพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482 มาตรา 19 ทวิ การที่จำเลยนำหนังสือค้ำประกันของธนาคารไปวางประกันการชำระค่าภาษีอากรและรับของมาจากศุลกากร ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ชำระภาษีอากรแล้ว เพราะเป็นเพียงผ่อนผันการชำระอากรขาเข้าให้แก่จำเลยเท่านั้น เมื่อจำเลยมิได้นำของดังกล่าวมาผลิต หรือผสม หรือประกอบแล้วส่งออกไปยังเมืองต่างประเทศภายในกำหนด 1 ปีจำเลยย่อมไม่มีสิทธิได้รับคืนภาษีอากรและมีหน้าที่ต้องนำภาษีอากรไปชำระต่อศุลกากรกรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 112 ทวิ วรรคแรกแห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 ที่พนักงานศุลกากรจะต้องทำการประเมินและแจ้งให้จำเลยผู้นำของเข้านำภาษีอากรไปชำระเสียก่อน เพราะมิได้มีปัญหาเกี่ยวกับจำนวนค่าภาษีอากรว่าผู้นำของเข้าจะต้องเสียประเภทใดและเป็นจำนวนเท่าใด เมื่อจำเลยไม่นำภาษีอากรไปชำระพระราชบัญญัติศุลกากรก็มิได้บัญญัติให้พนักงานศุลกากรเรียกเก็บเงินจากธนาคารผู้ค้ำประกันทันที และตามพระราชบัญญัติศุลกากรก็ดี ประมวลรัษฎากรก็ดี มิได้กำหนดระยะเวลาให้พนักงานศุลกากรติดตามทวงถามไว้แต่อย่างใด พนักงานศุลกากรจึงเรียกให้จำเลยหรือผู้ค้ำประกันชำระค่าภาษีอากรได้ภายในอายุความ และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 686 ที่ให้สิทธิเจ้าหนี้เรียกร้องให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้ตั้งแต่ลูกหนี้ผิดนัดนั้น เจ้าหนี้จะใช้สิทธิเรียกร้องดังกล่าวเมื่อใดก็ได้ภายในอายุความเช่นเดียวกัน ดังนั้นเมื่อพนักงานศุลกากรเรียกเก็บเงินจากธนาคารผู้ค้ำประกันแล้วยังขาดจำนวนอยู่เท่าใดและได้ประเมินภาษีอากรไปยังจำเลยแล้ว จำเลยไม่ชำระจำเลยจึงต้องรับผิดชำระภาษีอากรส่วนที่ขาดรวมทั้งเงินเพิ่ม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 169 บัญญัติให้เริ่มนับอายุความตั้งแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป ดังนั้นการที่จำเลยนำของเข้ามาผลิตหรือผสม หรือประกอบ เพื่อส่งออกไปยังต่างประเทศภายในกำหนด 1 ปี และได้นำหนังสือค้ำประกันของธนาคารมาค้ำประกันการชำระภาษีอากรนั้น ในระหว่าง 1 ปีดังกล่าวโจทก์ยังไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระค่าภาษีอากร สิทธิเรียกร้องให้ชำระค่าภาษีอากรจะเกิดขึ้นเมื่อครบกำหนด 1 ปีดังกล่าวแล้ว และจำเลยมิได้ใช้ของที่นำเข้ามาผลิต หรือผสมหรือประกอบสินค้าส่งออกไปยังเมืองต่างประเทศ ดังนั้นเมื่อจำเลยนำของเข้าเมื่อ 30 พฤษภาคม 2518 และมิได้ใช้ของดังกล่าวผลิต หรือผสม หรือประกอบสินค้าส่งออกไปยังเมืองต่างประเทศภายใน 1 ปี อายุความเริ่มนับถัดจากวันที่ครบ 1 ปี คือวันที่ 1มิถุนายน 2519 เป็นต้นไป ถึงวันฟ้องคือวันที่ 30 พฤษภาคม 2529 ยังไม่เกิน 10 ปี ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ.
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 169 บัญญัติให้เริ่มนับอายุความตั้งแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป ดังนั้นการที่จำเลยนำของเข้ามาผลิตหรือผสม หรือประกอบ เพื่อส่งออกไปยังต่างประเทศภายในกำหนด 1 ปี และได้นำหนังสือค้ำประกันของธนาคารมาค้ำประกันการชำระภาษีอากรนั้น ในระหว่าง 1 ปีดังกล่าวโจทก์ยังไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระค่าภาษีอากร สิทธิเรียกร้องให้ชำระค่าภาษีอากรจะเกิดขึ้นเมื่อครบกำหนด 1 ปีดังกล่าวแล้ว และจำเลยมิได้ใช้ของที่นำเข้ามาผลิต หรือผสมหรือประกอบสินค้าส่งออกไปยังเมืองต่างประเทศ ดังนั้นเมื่อจำเลยนำของเข้าเมื่อ 30 พฤษภาคม 2518 และมิได้ใช้ของดังกล่าวผลิต หรือผสม หรือประกอบสินค้าส่งออกไปยังเมืองต่างประเทศภายใน 1 ปี อายุความเริ่มนับถัดจากวันที่ครบ 1 ปี คือวันที่ 1มิถุนายน 2519 เป็นต้นไป ถึงวันฟ้องคือวันที่ 30 พฤษภาคม 2529 ยังไม่เกิน 10 ปี ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4172/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระภาษีอากรกรณีนำเข้าเพื่อผลิตส่งออก และอายุความฟ้องเรียกเก็บภาษีเมื่อไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข
ของที่จำเลยนำเข้ามาผลิตหรือผสม หรือประกอบเพื่อส่งออกไปยังเมืองต่างประเทศภายในกำหนด 1 ปี นับแต่วันนำของเข้า จำเลยย่อมได้รับคืนอากรตามพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482 มาตรา 19 ทวิ การที่จำเลยนำหนังสือค้ำประกันของธนาคารไปวางประกันการชำระค่าภาษีอากรและรับของมาจากศุลกากร ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ชำระภาษีอากรแล้ว เพราะเป็นเพียงผ่อนผันการชำระอากรขาเข้าให้แก่จำเลยเท่านั้น เมื่อจำเลยมิได้นำของดังกล่าวมาผลิต หรือผสม หรือประกอบแล้วส่งออกไปยังเมืองต่างประเทศภายในกำหนด 1 ปี จำเลยย่อมไม่มีสิทธิได้รับคืนภาษีอากรและมีหน้าที่ต้องนำภาษีอากรไปชำระต่อศุลกากรกรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 112 ทวิ วรรคแรกแห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 ที่พนักงานศุลกากรจะต้องทำการประเมินและแจ้งให้จำเลยผู้นำของเข้านำภาษีอากรไปชำระเสียก่อน เพราะมิได้มีปัญหาเกี่ยวกับจำนวนค่าภาษีอากรว่าผู้นำของเข้าจะต้องเสียประเภทใดและเป็นจำนวนเท่าใด เมื่อจำเลยไม่นำภาษีอากรไปชำระพระราชบัญญัติศุลกากรก็มิได้บัญญัติให้พนักงานศุลกากรเรียกเก็บเงินจากธนาคารผู้ค้ำประกันทันที และตามพระราชบัญญัติศุลกากรก็ดี ประมวลรัษฎากรก็ดี มิได้กำหนดระยะเวลาให้พนักงานศุลกากรติดตามทวงถามไว้แต่อย่างใด พนักงานศุลกากรจึงเรียกให้จำเลยหรือผู้ค้ำประกันชำระค่าภาษีอากรได้ภายในอายุความ และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 686 ที่ให้สิทธิเจ้าหนี้เรียกร้องให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้ตั้งแต่ลูกหนี้ผิดนัดนั้น เจ้าหนี้จะใช้สิทธิเรียกร้องดังกล่าวเมื่อใดก็ได้ภายในอายุความเช่นเดียวกัน ดังนั้นเมื่อพนักงานศุลกากรเรียกเก็บเงินจากธนาคารผู้ค้ำประกันแล้วยังขาดจำนวนอยู่เท่าใดและได้ประเมินภาษีอากรไปยังจำเลยแล้ว จำเลยไม่ชำระจำเลยจึงต้องรับผิดชำระภาษีอากรส่วนที่ขาดรวมทั้งเงินเพิ่ม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 169 บัญญัติให้เริ่มนับอายุความตั้งแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป ดังนั้นการที่จำเลยนำของเข้ามาผลิตหรือผสม หรือประกอบ เพื่อส่งออกไปยังต่างประเทศภายในกำหนด 1 ปี และได้นำหนังสือค้ำประกันของธนาคารมาค้ำประกันการชำระภาษีอากรนั้น ในระหว่าง 1 ปีดังกล่าวโจทก์ยังไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระค่าภาษีอากร สิทธิเรียกร้องให้ชำระค่าภาษีอากรจะเกิดขึ้นเมื่อครบกำหนด 1 ปีดังกล่าวแล้ว และจำเลยมิได้ใช้ของที่นำเข้ามาผลิต หรือผสมหรือประกอบสินค้าส่งออกไปยังเมืองต่างประเทศ ดังนั้นเมื่อจำเลยนำของเข้าเมื่อ 30 พฤษภาคม 2518 และมิได้ใช้ของดังกล่าวผลิต หรือผสม หรือประกอบสินค้าส่งออกไปยังเมืองต่างประเทศภายใน 1 ปี อายุความเริ่มนับถัดจากวันที่ครบ 1 ปี คือวันที่ 1 มิถุนายน 2519 เป็นต้นไป ถึงวันฟ้องคือวันที่ 30 พฤษภาคม 2529 ยังไม่เกิน 10 ปี ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ.
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 169 บัญญัติให้เริ่มนับอายุความตั้งแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป ดังนั้นการที่จำเลยนำของเข้ามาผลิตหรือผสม หรือประกอบ เพื่อส่งออกไปยังต่างประเทศภายในกำหนด 1 ปี และได้นำหนังสือค้ำประกันของธนาคารมาค้ำประกันการชำระภาษีอากรนั้น ในระหว่าง 1 ปีดังกล่าวโจทก์ยังไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระค่าภาษีอากร สิทธิเรียกร้องให้ชำระค่าภาษีอากรจะเกิดขึ้นเมื่อครบกำหนด 1 ปีดังกล่าวแล้ว และจำเลยมิได้ใช้ของที่นำเข้ามาผลิต หรือผสมหรือประกอบสินค้าส่งออกไปยังเมืองต่างประเทศ ดังนั้นเมื่อจำเลยนำของเข้าเมื่อ 30 พฤษภาคม 2518 และมิได้ใช้ของดังกล่าวผลิต หรือผสม หรือประกอบสินค้าส่งออกไปยังเมืองต่างประเทศภายใน 1 ปี อายุความเริ่มนับถัดจากวันที่ครบ 1 ปี คือวันที่ 1 มิถุนายน 2519 เป็นต้นไป ถึงวันฟ้องคือวันที่ 30 พฤษภาคม 2529 ยังไม่เกิน 10 ปี ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ.