คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 ม. 102 ทวิ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4545/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปรียบเทียบงดฟ้องร้องทางศุลกากร: อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการและขอบเขตความรับผิดของเจ้าหน้าที่
จำเลยที่ 10 ซึ่งเป็นรองอธิบดีกรมศุลกากรได้มีความเห็นตามที่เจ้าหน้าที่เสนอมาว่า ม. ซึ่งเป็นผู้นำเข้ารถยนต์ใช้แล้วจากประเทศญี่ปุ่นได้นำเข้ารถยนต์โดยสำแดงรุ่นผิดไปจากรถยนต์โตโยต้า ซอเรอร์ เป็นรถยนต์โตโยต้า มาร์คทู ต่อมา ม. ขอยกรถยนต์คันดังกล่าวให้ตกเป็นของแผ่นดินเพื่อตกลงระงับคดีตามมาตรา 27 หรือ 27 ทวิ ของ พ.ร.บ. ศุลกากร จึงให้นำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมคณะกรรมการเปรียบเทียบงดการฟ้องร้อง แม้จำเลยที่ 10 จะมีความเห็นให้นำเรื่องเข้าที่ประชุมโดยมิได้มีความเห็นชี้ขาดก่อนว่าการกระทำของ ม. จะเป็นความตามมาตรา 27 หรือว่าจะเป็นความผิดตามมาตรา 27 ทวิ ฐานใดฐานหนึ่ง เพื่อพิจารณาก่อนว่าความผิดที่ ม. กระทำจะตรงหรือไม่ตรงด้วยข้อหาความผิดที่จะเปรียบเทียบได้ก็ตาม ก็หาเป็นการละเมิดต่อโจทก์ไม่ เพราะอำนาจการวินิจฉัยชี้ขาดว่า ม. ผู้นำเข้ารถยนต์จะมีความผิดฐานใด เป็นอำนาจของศาล
การเปรียบเทียบปรับโดยอธิบดีกรมศุลกากร ตามมาตรา 102 ก็ดี หรือโดยคณะกรรมการเปรียบเทียบงดการฟ้องร้องตามมาตรา 102 ทวิ ก็ดี จะต้องปรากฏว่าผู้จะถูกฟ้องร้องได้ยินยอมและใช้ค่าปรับตามที่มีผู้มีอำนาจได้เปรียบเทียบด้วยจึงจะชอบ ดังนั้น การที่คณะกรรมการเปรียบเทียบงดการฟ้องร้องได้มีมติให้รับทำความตกลงระงับคดีโดยรับรถยนต์ของกลางไว้เป็นของแผ่นดินตามข้อเสนอของผู้ต้องหา จึงย่อมเป็นการเปรียบเทียบที่ชอบด้วยกฎหมาย
แม้ในการประชุมของคณะกรรมการเปรียบเทียบงดการฟ้องร้องจะมีแต่เลขานุการคณะกรรมการเป็นผู้รายงาน โดยจำเลยที่ 10 และที่ 11 จะทราบข้อเท็จจริงและมิได้ทักท้วงหรือชี้แจงแสดงเหตุผลในที่ประชุมเป็นเรื่องการบกพร่องในการปฏิบัติหน้าที่การประชุม ซึ่งไม่ถึงขนาดที่จะถือได้ว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออันเป็นการละเมิด เพราะที่ประชุมจะมีมติอย่างไรย่อมต้องเป็นไปตามความเห็นของผู้เข้าร่วมประชุม ซึ่งมิได้มีเพียงจำเลยที่ 10 และที่ 11 เท่านั้น การมีมติจึงเป็นมติของคณะกรรมการเปรียบเทียบงดการฟ้องร้อง มิใช่ความเห็นส่วนตัวของจำเลยที่ 10 และที่ 11 ดังนี้ แม้การมีมติของคณะกรรมการเปรียบเทียบงดการฟ้องร้องจะทำให้โจทก์ไม่สามารถเรียกค่าอากรที่ขาดจากข้าราชการที่กระทำผิดวินัยได้ก็ตาม ก็ไม่อาจเรียกให้จำเลยที่ 10 และที่ 11 รับผิดฐานละเมิดต่อโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2227/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีศุลกากร: การประเมินอากรและการเปรียบเทียบปรับ
กรมศุลกากรจำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ไปทำความตกลงระงับคดีในชั้นศุลกากร เพื่องดการนำคดีมาฟ้องร้องต่อศาล แต่ไม่ปรากฏว่าพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้ทำการประเมินอากรที่โจทก์ต้องเสียและออกแบบแจ้งการประเมินอากรไปยังโจทก์เพื่อให้โจทก์นำเงินค่าอากรมาชำระตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2496 มาตรา 112 ทวิ วรรคหนึ่ง กรณียังไม่อาจถือได้ว่าจำเลยได้โต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์แล้ว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
ในส่วนของค่าปรับที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยแจ้งให้โจทก์นำเงินไปชำระนั้น เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยตรวจพบว่ามีการกระทำผิดทางอาญาเกี่ยวกับ พ.ร.บ.ศุลกากรฯ ถ้าโจทก์ยอมเสียค่าปรับตามคำเปรียบเทียบก็ย่อมทำให้คดีอาญาระงับไปได้ ตามมาตรา 102 และมาตรา 102 ทวิ ซึ่งเป็นการปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายและระเบียบได้ให้อำนาจไว้โดยชอบแล้ว หากโจทก์ไม่ยินยอมให้เปรียบเทียบปรับ จำเลยก็ไม่มีอำนาจบังคับได้ เพียงแต่ส่งเรื่องให้พนักงานสอบสวนดำเนินการต่อไป จึงไม่มีเหตุจะเพิกถอนคำสั่งของจำเลยแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4082/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานหลีกเลี่ยงค่าภาษีอากร แม้ขาดอายุความฟ้องฐานสำแดงเท็จ ก็ยังฟ้องฐานหลีกเลี่ยงภาษีได้ ผู้เกี่ยวข้องกับการหลีกเลี่ยงภาษีย่อมมีความผิด
จำเลยเป็นผู้จัดการของบริษัท ท.จำกัด ได้สั่งเครื่องจักรหลายประเภทเข้ามาในราชอาณาจักร โดยสำแดงในใบขนสินค้าขาเข้าเพื่อชำระอากรต่ำกว่าราคาที่แท้จริง อันเป็นการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร ทั้งฐานสำแดงเท็จตามมาตรา 99 และฐานหลีกเลี่ยงค่าภาษีอากรตามมาตรา 27 ซึ่งเป็นความผิดต่างกรรมกัน แม้โจทก์จะมิได้ฟ้องจำเลยในความผิดตามมาตรา 99 เพราะขาดอายุความแล้ว ก็ย่อมฟ้องจำเลยในความผิดตามมาตรา 27 ได้
ความผิดตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร นอกจากจะเอาความผิดต่อผู้หลีกเลี่ยงค่าภาษีอากรแล้ว ยังเอาผิดต่อผู้ที่เกี่ยวข้องในการหลีกเลี่ยงค่าภาษีอากรด้วย ฉะนั้นแม้บริษัท ท.จำกัด จะเป็นผู้นำเครื่องจักรเข้ามาในราชอาณาจักร แต่เมื่อจำเลยซึ่งเป็นตัวแทนของบริษัท ท.จำกัด เกี่ยวข้องในการหลีกเลี่ยงภาษีอากรของบริษัท ท.จำกัดด้วย จำเลยย่อมมีความผิดฐานดังกล่าว
เจ้าพนักงานผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนอธิบดีกรมศุลกากรได้เรียกให้จำเลยไปตกลงระงับคดี โดยจะเปรียบเทียบปรับแก่จำเลย แต่เมื่อจำเลยไม่ยอมชำระค่าปรับตามที่ตกลงยินยอมกรณีก็ถือไม่ได้ว่า มีการเปรียบเทียบปรับอันจะทำให้คดีของจำเลยเลิกกันตามพระราชบัญญัติศุลกากรมาตรา 102, 102 ทวิ และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 ประกอบมาตรา 37 (4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5995/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์สินของกลางหลังคำร้องเปรียบเทียบถูกยกเลิก เจ้าหน้าที่ชอบที่จะดำเนินการตามกฎหมายได้
เจ้าหน้าที่ศุลกากรจับกุมโจทก์ในข้อหาพยายามพาของต้องจำกัดออกไปนอกราชอาณาจักร อันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากรพุทธศักราช 2469 มาตรา 27 จึงมีอำนาจนำตัวโจทก์และของพิพาทซึ่งเป็นของกลางที่เกี่ยวกับการพยายามกระทำความผิดส่งสถานีตำรวจ เพื่อจัดการตามกฎหมาย แม้ต่อมาโจทก์ได้ทำคำร้องขอให้เปรียบเทียบเพื่อไม่ต้องดำเนินคดี โดยขอยกของพิพาทให้เป็นของแผ่นดินก็ตาม แต่ภายหลังโจทก์กลับขอคืนของพิพาทก่อนที่คณะกรรมการเปรียบเทียบงดการฟ้องร้องจะพิจารณาคำร้องขอให้เปรียบเทียบมาตรา 102 ทวิ ถือได้ว่าโจทก์ไม่ประสงค์ให้มีการเปรียบเทียบต่อไปโจทก์จึงหมดความคุ้มกันในการที่จะถูกดำเนินคดีจำเลยย่อมมีอำนาจยึดของพิพาทไว้เพื่อนำส่งพนักงานสอบสวนให้ดำเนินการตามมาตรา 20 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5995/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์สินของกลางหลังผู้ต้องหาขอเปรียบเทียบแล้วถอนคำขอ ถือว่าหมดความคุ้มกันจำเลยมีสิทธิยึดทรัพย์ได้
เจ้าหน้าที่ศุลกากรจับกุมโจทก์ในข้อหาพยายามพาของต้องจำกัดออกไปนอกราชอาณาจักร อันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากรพุทธศักราช 2469 มาตรา 27 จึงมีอำนาจนำตัวโจทก์และของพิพาทซึ่งเป็นของกลางที่เกี่ยวกับการพยายามกระทำความผิดส่งสถานีตำรวจเพื่อจัดการตามกฎหมาย แม้ต่อมาโจทก์ได้ทำคำร้องขอให้เปรียบเทียบเพื่อไม่ต้องดำเนินคดี โดยขอยกของพิพาทให้เป็นของแผ่นดินก็ตาม แต่ภายหลังโจทก์กลับขอคืนของพิพาทก่อนที่คณะกรรมการเปรียบเทียบงดการฟ้องร้องจะพิจารณาคำร้องขอให้เปรียบเทียบมาตรา 102 ทวิ ถือได้ว่าโจทก์ไม่ประสงค์ให้มีการเปรียบเทียบต่อไปโจทก์จึงหมดความคุ้มกันในการที่จะถูกดำเนินคดีจำเลยย่อมมีอำนาจยึดของพิพาทไว้เพื่อนำส่งพนักงานสอบสวนให้ดำเนินการตามมาตรา 20 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4186/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยินยอมชำระค่าปรับทางภาษีอากร ถือเป็นการยอมรับความเท็จในการสำแดงพิกัดอัตราศุลกากร ฟ้องร้องเรียกคืนไม่ได้
โจทก์นำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรโดยสำแดงว่า เป็นสินค้าอยู่ในพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 34.02 ข. และได้ชำระอากรขาเข้าตามพิกัดอัตราศุลกากรประเภทดังกล่าว ต่อมา กรม ศุลกากรจำเลยที่ 1มีหนังสือแจ้งไปยังโจทก์ว่าโจทก์สำแดงพิกัดอัตราศุลกากรสินค้าที่โจทก์นำเข้าไม่ถูกต้องเป็นเหตุให้โจทก์เสียค่าอากรขาดไปและแจ้งด้วยว่าการกระทำของโจทก์ดังกล่าวเป็นความผิดอาญาฐานสำแดงเท็จเพื่อหลีกเลี่ยงอากรตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พุทธศักราช 2469 มาตรา 99และมาตรา 27 ซึ่งอธิบดีกรมศุลกากร จำเลยที่ 2 หรือคณะกรรมการมีอำนาจเปรียบเทียบปรับและงดการฟ้องร้องได้แล้วแต่กรณี ตาม พ.ร.บ. ศุลกากร มาตรา 102 หรือ 102 ทวิ ดังนี้ถ้า โจทก์เห็นว่าการที่โจทก์สำแดงพิกัดอัตราศุลกากรไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าดังกล่าวยังไม่เป็นความผิดฐานสำแดงเท็จเพื่อหลีกเลี่ยงอากรตามข้อกล่าวหาของจำเลยที่ 1 โจทก์ก็ต้องไม่ยินยอมให้จำเลยที่ 2หรือคณะกรรมการทำการเปรียบเทียบและไม่ชำระค่าปรับให้แก่จำเลยที่ 1โดยให้จำเลยที่ 1 ดำเนินคดีอาญาแก่โจทก์ต่อไป เมื่อโจทก์ได้ยินยอมให้จำเลยที่ 2 หรือคณะกรรมการทำการเปรียบเทียบปรับและได้ชำระค่าปรับตามที่จำเลยที่ 2 หรือคณะกรรมการทำการเปรียบเทียบกับชำระค่าอากรขาเข้า ภาษีการค้าที่ขาดเรียบร้อยแล้ว ย่อมเป็นการเปรียบเทียบปรับที่ชอบด้วยกฎหมาย ถือว่าโจทก์ได้ยอมรับแล้วว่าพิกัดอัตราศุลกากรที่โจทก์สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้านั้นเป็นเท็จเพื่อหลีกเลี่ยงอากร ถึงแม้ว่าสินค้าที่โจทก์นำเข้ามาจะจัดอยู่ในพิกัดอัตราศุลกากรประเภทอื่นก็ตามโจทก์จะนำมาเป็นมูลฟ้องเป็นคดีแพ่งไม่ได้ และการที่โจทก์ขอสงวนสิทธิ์โต้แย้งไว้ ก็ไม่เพียงพอให้ถือว่าโจทก์ไม่ยินยอมให้จำเลยที่ 2 หรือคณะกรรมการเปรียบเทียบปรับ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4186/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยินยอมให้เปรียบเทียบปรับในคดีศุลกากร ถือเป็นการยอมรับความผิด การฟ้องคดีแพ่งเพื่อเรียกค่าปรับคืนจึงไม่สำเร็จ
โจทก์นำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรโดยสำแดงว่า เป็นสินค้าอยู่ในพิกัดอัตราศุลกากร ประเภทที่ 34.02 ข. และได้ชำระอากรขาเข้าตามพิกัดอัตราศุลกากรประเภทดังกล่าว ต่อมากรมศุลกากรจำเลยที่ 1 มีหนังสือแจ้งไปยังโจทก์ว่าโจทก์สำแดงพิกัดอัตราศุลกากรสินค้าที่โจทก์นำเข้าไม่ถูกต้องเป็นเหตุให้โจทก์เสียค่าอากรขาดไปและแจ้งด้วยว่าการกระทำของโจทก์ดังกล่าวเป็นความผิดอาญาฐานสำแดงเท็จเพื่อหลีกเลี่ยงอากรตามพระราชบัญญัติศุลกากร มาตรา 99 และมาตรา 27 ซึ่งอธิบดีกรมศุลกากรจำเลยที่ 2 หรือคณะกรรมการมีอำนาจเปรียบเทียบปรับและงดการฟ้องร้องได้แล้วแต่กรณี ตามพระราชบัญญัติศุลกากร มาตรา 102 หรือ 102 ทวิ ดังนี้ ถ้าโจทก์เห็นว่าการที่โจทก์สำแดงพิกัดอัตราศุลกากรไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าดังกล่าวยังไม่เป็นความผิดฐานสำแดงเท็จเพื่อหลีกเลี่ยงอากรตามข้อกล่าวหาของจำเลยที่ 1 โจทก์ก็ต้องไม่ยินยอมให้จำเลยที่ 2 หรือคณะกรรมการทำการเปรียบเทียบและไม่ชำระค่าปรับให้แก่จำเลยที่ 1 โดยให้จำเลยที่ 1 ดำเนินคดีอาญาแก่โจทก์ต่อไป เมื่อโจทก์ได้ยินยอมให้จำเลยที่ 2 หรือคณะกรรมการทำการเปรียบเทียบปรับและได้ชำระค่าปรับตามที่จำเลยที่ 2 หรือคณะกรรมการทำการเปรียบเทียบกับชำระค่าอากรขาเข้า ภาษีการค้าที่ขาดเรียบร้อยแล้ว ย่อมเป็นการเปรียบเทียบปรับที่ชอบด้วยกฎหมาย ถือว่าโจทก์ได้ยอมรับแล้วว่าพิกัดอัตราศุลกากรที่โจทก์สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้านั้นเป็นเท็จเพื่อหลีกเลี่ยงอากรถึงแม้ว่าสินค้าที่โจทก์นำเข้ามาจะจัดอยู่ในพิกัดอัตราศุลกากรประเภทอื่นก็ตาม โจทก์จะนำมาเป็นมูลฟ้องเป็นคดีแพ่งไม่ได้ และการที่โจทก์ขอสงวนสิทธิ์โต้แย้งไว้ก็ไม่เพียงพอให้ถือว่าโจทก์ไม่ยินยอมให้จำเลยที่ 2 หรือคณะกรรมการเปรียบเทียบปรับ