คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 ม. 13

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6241/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ชื่อธุรกิจที่มีคำว่า 'ธนกิจ' โดยไม่ได้รับอนุญาตเข้าข่ายผิดกฎหมายธุรกิจเงินทุน
มาตรา 6 แห่งพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์พ.ศ. 2522 พ.ศ. 2526 แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522มาตรา 13 เป็นว่า "ห้ามมิให้ผู้ใด นอกจากบริษัทเงินทุนใช้ชื่อหรือคำแสดงชื่อในธุรกิจว่า "เงินทุน""การเงิน""การลงทุน""เครดิต""ทรัสต์""ไฟแนนซ์" หรือคำอื่นใดที่มีความหมายเช่นเดียวกัน เว้นแต่ธนาคารพาณิชย์หรือสำนักงานที่กระทำการแทนธนาคารต่างประเทศตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์" และคำสั่งสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลางที่ 1/2527 เรื่อง การรับจดทะเบียนชื่อห้างหุ้นส่วนบริษัท อธิบดีกรมทะเบียนการค้า นายทะเบียนกลางห้ามมิให้รับจดทะเบียนชื่อห้างหุ้นส่วนบริษัทที่ใช้ชื่อ คำหรือข้อความ คือชื่อภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศ ซึ่งมีความหมายหรือทำให้เข้าใจได้ว่าเป็นห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทที่ประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวตามบัญชีท้ายคำสั่งนั้น ซึ่งรวมทั้งคำว่า "ธนกิจ" ด้วยคำสั่งดังกล่าวแม้ไม่ใช่กฎหมาย แต่เป็นการแสดงว่าทางราชการถือว่าคำว่า "ธนกิจ" เป็นชื่อของผู้ประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ จึงมีคำสั่งห้ามจดทะเบียนคำนี้แก่ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจดังกล่าว ปรากฏว่าบริษัทจำเลยมีวัตถุประสงค์ประกอบธุรกิจด้านธุรกิจเงินทุนและธุรกิจหลักทรัพย์โดยใช้ชื่อธุรกิจว่า "บริษัทคลังสินค้าอาคเนย์ธนกิจ จำกัด" แสดงว่าจำเลยมีเจตนาให้หมายถึงการประกอบธุรกิจด้านคลังสินค้า ธุรกิจเงินทุน และหลักทรัพย์ด้วยเมื่อจำเลยไม่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเงินทุน จำเลยจึงต้องเลิกใช้ชื่อที่มีคำว่า "ธนกิจ" ภายในกำหนด 180 วัน นับแต่วันที่พระราชกำหนด ฯ ใช้บังคับ ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนฯ พ.ศ. 2522 มาตรา 37 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดฯหากฝ่าฝืนย่อมเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 13,72

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4219/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนชื่อบริษัทหลังมีกฎหมายใหม่ ทำให้ไม่เป็นความผิดฐานใช้ชื่อบริษัทเงินทุนโดยไม่ได้รับอนุญาต
จำเลยใช้ชื่อว่าบริษัทเงินทุนในการประกอบธุรกิจโดยจำเลยมิใช่บริษัทเงินทุนตามกฎหมาย ต่อมาระหว่างอุทธรณ์ได้มีประกาศใช้บังคับ พระราชกฤษฎีกาแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนฯ ซึ่งมาตรา 37บัญญัติให้เลิกใช้ชื่อดังกล่าวภายใน 180 วันนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกา ใช้บังคับ ภายในกำหนดเวลาดังกล่าว จำเลยได้จดทะเบียนเปลี่ยนชื่อบริษัทเลิกใช้ชื่อว่า บริษัทเงินทุน ดังนี้จำเลยมิได้กระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 13,72 แห่งพระราชบัญญัติ การประกอบธุรกิจเงินทุนฯ อีกต่อไป ถือได้ว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4219/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงชื่อบริษัทเพื่อปฏิบัติตาม พ.ร.ก. แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ. ธุรกิจเงินทุน และผลกระทบต่อความผิดฐานใช้ชื่อบริษัทที่สื่อถึงธุรกิจเงินทุน
จำเลยใช้ชื่อ ว่าบริษัทเงินทุนในการประกอบธุรกิจโดยจำเลยมิใช่บริษัทเงินทุนตามกฎหมาย ต่อมาระหว่างอุทธรณ์ได้มีประกาศใช้บังคับ พ.ร.ก. แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนฯ พ.ศ. 2526 ซึ่งมาตรา 37 บัญญัติให้เลิกใช้ชื่อ ดังกล่าวภายใน 180 วันนับแต่วันที่ พ.ร.ก. ใช้บังคับ ภายในกำหนดเวลาดังกล่าว จำเลยได้จดทะเบียนเปลี่ยนชื่อ บริษัท เลิกใช้ชื่อ ว่าบริษัทเงินทุน ดังนี้ จำเลยมิได้กระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 13,72 แห่ง พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจเงินทุนฯ พ.ศ. 2522 อีกต่อไปถือได้ว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4219/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ชื่อบริษัทที่มีคำว่า 'เงินทุน' โดยไม่ได้รับอนุญาต และการแก้ไขเปลี่ยนแปลงชื่อตามกฎหมาย
จำเลยใช้ชื่อว่าบริษัทเงินทุนในการประกอบธุรกิจโดยจำเลยมิใช่บริษัทเงินทุนตามกฎหมาย ต่อมาระหว่างอุทธรณ์ได้มีประกาศใช้บังคับ พระราชกฤษฎีกาแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนฯ ซึ่งมาตรา 37 บัญญัติให้เลิกใช้ชื่อดังกล่าวภายใน 180 วันนับแต่วันที่พ.ร.ก. ใช้บังคับ ภายในกำหนดเวลาดังกล่าว จำเลยได้จดทะเบียนเปลี่ยนชื่อบริษัทเลิกใช้ชื่อว่า บริษัทเงินทุน ดังนี้จำเลยมิได้กระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 13, 72 แห่งพระราชบัญญัติ การประกอบธุรกิจเงินทุนฯ อีกต่อไป ถือได้ว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิด