คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อนันต์ โรจนเนืองนิตย์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 29 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3941/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ช่วยเหลือบุคคลต่างด้าว ได้รับคำสั่งให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 83,137,157,267,268 ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดตามมาตรา 137 และ 267 ด้วย หากแต่เป็นการกระทำ ด้วยเจตนาเดียวคือเพื่อช่วยเหลือบุคคลต่างด้าวในการ ขอมีบัตรประจำตัวประชาชน และจำเลยในฐานะเจ้าพนักงานได้ละเว้น การปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ดำเนินการขัดขวางมิให้บุคคล ต่างด้าวขอทำบัตรประจำตัวประชาชนแต่กลับให้ถ้อยคำรับรอง บุคคลต่างด้าวว่ามีสัญชาติไทย อันก่อให้เกิดความเสียหายแก่ อำเภอ ท.และผู้อื่น ซึ่งเป็นกรรมเดียว แต่เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท จึงให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามมาตรา 90คำพิพากษาดังกล่าวย่อมหมายความว่าจำเลยกระทำความผิดตาม บทกฎหมายอื่น อันได้แก่มาตรา 137,267 และ 157 ด้วยแต่เป็นกรรมเดียว เพียงแต่ศาลชั้นต้นมิได้ปรับบทให้เห็น ชัดเจนการที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาปรับบทให้ชัดเจนขึ้นว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามบทบัญญัติของกฎหมายมาตราใดบ้างโดยมิได้แก้โทษจำเลย คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงไม่ขัดต่อกฎหมาย ว.พาท.มาแจ้งย้ายทะเบียนบ้านเข้าบ้านพ.วันเกิดเหตุนายอำเภอและ ร. ปลัดอำเภอ ไม่อยู่ปฏิบัติหน้าที่จำเลยในฐานะผู้ช่วยนายทะเบียนจึงอนุมัติการย้ายเข้าของ ท.ต่อมาวันรุ่งขึ้นท. ได้มาติดต่อขอเปลี่ยนชื่อ ข.เป็น ร. และได้ยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนเป็นครั้งแรกเจ้าหน้าที่ได้จัดให้มีการรับรองบุคคล บุคคลที่มารับรองจะเป็นผู้ใดก็ได้ซึ่งรู้จักผู้ยื่นคำขอ มีจำเลยเป็นผู้ให้คำรับรอง ท.และจำเลยเป็นผู้มีคำสั่งให้ดำเนินการออกบัตรประจำตัวประชาชนให้แก่ ท. เมื่อปรากฏความจริงว่า ข.คือ ท. ซึ่งเป็นบุคคลต่างด้าว แต่จำเลยมาให้คำรับรองว่าเป็นบุคคลสัญชาติไทย ทั้ง ๆ ที่จำเลยทราบว่า ท.เป็นบุคคลต่างด้าว ดังนี้ แม้จำเลยจะมีตำแหน่งเป็นเพียงปลัดอำเภอ และมีอาวุโสต่ำกว่าปลัดอำเภออื่น จำเลยจึงไม่มีหน้าที่รักษาการแทนนายอำเภอเพราะยังมีปลัดอำเภออาวุโสปฏิบัติหน้าที่อยู่ก็ตาม และแม้ตามคำสั่งนายอำเภอที่เกิดเหตุได้มอบหมายงานทะเบียนทั่วไปให้ ร.และมอบหมายงานบัตรประจำตัวประชาชนให้ ส. ส่วนจำเลยเพียงแต่ได้รับมอบหมายงานส่งเสริมการปกครอง จำเลยจึงไม่มีหน้าที่ ไม่ว่าจะโดยการ รักษาการแทนนายอำเภอหรือโดยได้รับมอบหมายจากนายอำเภอก็ตาม แต่หน้าที่ของจำเลยดังกล่าวเมื่อเป็นการมอบหมายภายใน ซึ่ง ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 มาตรา 67 บัญญัติให้ นายอำเภอ ปลัดอำเภอ สมุห์บัญชี ซึ่งรวมเรียกว่ากรมการอำเภอ แม้มีตำแหน่งต่างกันย่อมมีหน้าที่ และความรับผิดชอบรวมกันในการที่จะให้การปกครองอำเภอนั้น เรียบร้อย ดังนี้ ต้องถือว่าจำเลยซึ่งมีตำแหน่งปลัดอำเภอมีหน้าที่และความรับผิดชอบร่วมกับนายอำเภอและปลัดอำเภอคนอื่นอยู่ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ข้อบังคับที่ 1/2509 ของกระทรวงมหาดไทย ได้วางระเบียบไว้ในการสอบสวนข้าราชการฝ่ายปกครองว่า ต้องมีพนักงานฝ่ายปกครองร่วมกับพนักงานสอบสวนฝ่ายตำรวจด้วยเมื่อข้อบังคับดังกล่าวนี้ถูกบัญญัติขึ้นเพื่อคุ้มครองผลประโยชน์ของผู้ต้องหาที่มีลักษณะพิเศษแห่งข้อบังคับดังกล่าวเท่านั้น เช่น กรณีที่ผู้ต้องหาให้การรับสารภาพโดยถูกพนักงานสอบสวนขู่เข็ญ เป็นต้น ซึ่งหากการสอบสวนนั้นไม่มีพนักงานสอบสวนฝ่ายปกครองร่วมด้วย การสอบสวนนั้นย่อมไม่ชอบ และรับฟังไม่ได้ว่าผู้ต้องหาให้การรับสารภาพแต่คดีนี้จำเลยให้การปฏิเสธมาโดยตลอด สิทธิของจำเลยไม่ได้ รับการกระทบกระเทือน ไม่ว่าในชั้นสอบสวนหรือชั้นพิจารณาของศาล ทั้งจำเลยเองก็มิได้กล่าวหาว่าการสอบสวนโดยพนักงานสอบสวน ฝ่ายตำรวจดำเนินไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใด ดังนี้ การสอบสวนในคดีนี้จึงชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 18 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3941/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานปฏิบัติ/ละเว้นหน้าที่โดยมิชอบ กรณีออกบัตรประชาชนให้บุคคลต่างด้าว
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 83, 137,157, 267, 268 ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดตามมาตรา 137 และ267 ด้วย หากแต่เป็นการกระทำด้วยเจตนาเดียวคือเพื่อช่วยเหลือบุคคลต่างด้าวในการขอมีบัตรประจำตัวประชาชน และจำเลยในฐานะเจ้าพนักงานได้ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ดำเนินการขัดขวางมิให้บุคคลต่างด้าวขอทำบัตรประจำตัวประชาชนแต่กลับให้ถ้อยคำรับรองบุคคลต่างด้าวว่ามีสัญชาติไทย อันก่อให้เกิดความเสียหายแก่อำเภอ ท.และผู้อื่น ซึ่งเป็นกรรมเดียว แต่เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท จึงให้ลงโทษตาม ป.อ.มาตรา 157 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามมาตรา 90 คำพิพากษาดังกล่าวย่อมหมายความว่าจำเลยกระทำความผิดตามบทกฎหมายอื่น อันได้แก่มาตรา137, 267 และ 157 ด้วย แต่เป็นกรรมเดียว เพียงแต่ศาลชั้นต้นมิได้ปรับบทให้เห็นชัดเจน การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาปรับบทให้ชัดเจนขึ้นว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามบทบัญญัติของกฎหมายมาตราใดบ้าง โดยมิได้แก้โทษจำเลย คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงไม่ขัดต่อกฎหมาย
ว.พา ท. มาแจ้งย้ายทะเบียนบ้านเข้าบ้าน พ. วันเกิดเหตุนายอำเภอและ ร.ปลัดอำเภอ ไม่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ จำเลยในฐานะผู้ช่วยนายทะเบียนจึงอนุมัติการย้ายเข้าของ ท. ต่อมาวันรุ่งขึ้น ท.ได้มาติดต่อขอเปลี่ยนชื่อ ข.เป็น ร.และได้ยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนเป็นครั้งแรก เจ้าหน้าที่ได้จัดให้มีการรับรองบุคคล บุคคลที่มารับรองจะเป็นผู้ใดก็ได้ซึ่งรู้จักผู้ยื่นคำขอ มีจำเลยเป็นผู้ให้คำรับรอง ท.และจำเลยเป็นผู้มีคำสั่งให้ดำเนินการออกบัตรประจำตัวประชาชนให้แก่ ท. เมื่อปรากฏความจริงว่า ข. คือ ท.ซึ่งเป็นบุคคลต่างด้าว แต่จำเลยมาให้คำรับรองว่าเป็นบุคคลสัญชาติไทย ทั้งๆ ที่จำเลยทราบว่า ท.เป็นบุคคลต่างด้าว ดังนี้ แม้จำเลยจะมีตำแหน่งเป็นเพียงปลัดอำเภอ และมีอาวุโสต่ำกว่าปลัดอำเภออื่น จำเลยจึงไม่มีหน้าที่รักษาการแทนนายอำเภอเพราะยังมีปลัดอำเภออาวุโสปฏิบัติหน้าที่อยู่ก็ตาม และแม้ตามคำสั่งนายอำเภอที่เกิดเหตุได้มอบหมายงานทะเบียนทั่วไปให้ ร. และมอบหมายงานบัตรประจำตัวประชาชนให้ ส. ส่วนจำเลยเพียงแต่ได้รับมอบหมายงานส่งเสริมการปกครอง จำเลยจึงไม่มีหน้าที่ ไม่ว่าจะโดยการรักษาการแทนนายอำเภอหรือโดยได้รับมอบหมายจากนายอำเภอก็ตาม แต่หน้าที่ของจำเลยดังกล่าวเมื่อเป็นการมอบหมายภายใน ซึ่งตามพ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2457 มาตรา 67 บัญญัติให้ นายอำเภอ ปลัดอำเภอสมุห์บัญชี ซึ่งรวมเรียกว่ากรมการอำเภอ แม้มีตำแหน่งต่างกันย่อมมีหน้าที่และความรับผิดชอบรวมกันในการที่จะให้การปกครองอำเภอนั้นเรียบร้อย... ดังนี้ ต้องถือว่าจำเลยซึ่งมีตำแหน่งปลัดอำเภอมีหน้าที่และความรับผิดชอบร่วมกับนายอำเภอและปลัดอำเภอคนอื่นอยู่ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตาม ป.อ.มาตรา 157
ข้อบังคับที่ 1/2509 ของกระทรวงมหาดไทยได้วางระเบียบไว้ในการสอบสวนข้าราชการฝ่ายปกครองว่า ต้องมีพนักงานฝ่ายปกครองร่วมกับพนักงานสอบสวนฝ่ายตำรวจด้วย เมื่อข้อบังคับดังกล่าวนี้ถูกบัญญัติขึ้นเพื่อคุ้มครองผลประโยชน์ของผู้ต้องหาที่มีลักษณะพิเศษแห่งข้อบังคับดังกล่าวเท่านั้น เช่น กรณีที่ผู้ต้องหาให้การรับสารภาพโดยถูกพนักงานสอบสวนขู่เข็ญ เป็นต้น ซึ่งหากการสอบสวนนั้นไม่มีพนักงานสอบสวนฝ่ายปกครองร่วมด้วย การสอบสวนนั้นย่อมไม่ชอบ และรับฟังไม่ได้ว่าผู้ต้องหาให้การรับสารภาพ แต่คดีนี้จำเลยให้การปฏิเสธมาโดยตลอด สิทธิของจำเลยไม่ได้รับการกระทบกระเทือน ไม่ว่าในชั้นสอบสวนหรือชั้นพิจารณาของศาล ทั้งจำเลยเองก็มิได้กล่าวหาว่าการสอบสวนโดยพนักงานสอบสวนฝ่ายตำรวจดำเนินไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใด ดังนี้การสอบสวนในคดีนี้จึงชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 18 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3941/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานเจ้าพนักงานละเว้นหน้าที่โดยมิชอบ กรณีปลัดอำเภอรับรองบุคคลต่างด้าว และการสอบสวนชอบด้วยกฎหมาย
พระราชบัญญัติ ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 มาตรา 67กำหนดให้นายอำเภอ ปลัดอำเภอ สมุห์บัญชี รวมเรียกว่ากรมการ อำเภอแม้มีตำแหน่งต่างกันย่อมมีหน้าที่และความรับผิดชอบ รวมกันในการที่จะให้การปกครองอำเภอนั้นเรียบร้อย กรณีจึงต้อง ถือว่าจำเลยซึ่งมีตำแหน่งปลัดอำเภอมีหน้าที่และความรับผิดชอบ ร่วมกับนายอำเภอและปลัดอำเภอคนอื่นอยู่ การกระทำของจำเลย ที่ให้คำรับรอง ท. ในการขอมีบัตรประจำตัวประชาชนทั้ง ๆที่ทราบว่า ท. เป็นบุคคลต่างด้าวจึงเป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดย มิชอบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ข้อบังคับของกระทรวงมหาดไทยที่ 1/2509 วางระเบียบ ใน การสอบสวนข้าราชการฝ่ายปกครองว่าต้องมีพนักงานฝ่ายปกครองร่วม กับพนักงานสอบสวนฝ่ายตำรวจด้วยนั้นก็เพื่อคุ้มครองผลประโยชน์ ของผู้ต้องหาให้การรับสารภาพโดยถูกพนักงานสอบสวนขู่เข็ญ แต่ คดี นี้จำเลยให้การปฏิเสธมาโดยตลอด สิทธิของจำเลยไม่ได้รับการกระทบกระเทือนแต่อย่างใด การสอบสวนจึงชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 18 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3934/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดผลผูกพันตามสัญญาค้ำประกันหลังเปลี่ยนแปลงกรรมการและทำสัญญาใหม่ ย่อมทำให้จำเลยที่ 4 หลุดพ้นจากความรับผิด
จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาฉบับพิพาทค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ โดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ต่อมาจำเลยที่ 4 ได้ขายหุ้นทั้งหมดและลาออกจากการเป็นกรรมการ ซึ่งที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นอนุมัติให้จำเลยที่ 4 ลาออกและให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 เป็นกรรมการแทน โดยมีการนำมติดังกล่าว ไปจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแล้ว นับแต่นั้นจำเลยที่ 4 จึงไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับจำเลยที่ 1 นอกจากนี้จำเลยที่ 1 ได้มีหนังสือแจ้งการเปลี่ยนแปลงกรรมการ จำเลยที่ 1 ให้โจทก์ทราบแล้ว การที่ต่อมาโจทก์ให้จำเลย ที่ 2 ที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ใหม่ภายหลังจากโจทก์ ทราบเรื่องที่จำเลยที่ 4 ออกจากการเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของ จำเลยที่ 1 และจำนวนผู้ค้ำประกันตามสัญญาค้ำประกันฉบับเดิม ลดน้อยลงโดยโจทก์ให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 เพิ่มวงเงินที่ ค้ำประกันสูงขึ้นอีกหนึ่งเท่าตัวในหนังสือค้ำประกันฉบับใหม่ ประกอบกับหนังสือค้ำประกันดังกล่าวมิได้ระบุว่าเป็นการค้ำประกัน จำเลยที่ 1 เพิ่มเติมจากหนังสือค้ำประกันฉบับเดิม เห็นได้ชัดว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยที่ 4 ต้องผูกพัน ตามหนังสือค้ำประกันฉบับพิพาทต่อไปอีก ดังนั้น สัญญาค้ำประกันเดิมจึงเป็นอันดับยกเลิกเพิกถอนไปในตัวโดยปริยาย โดยโจทก์ไม่จำต้องทำหนังสือเพิกถอนสัญญาค้ำประกันในส่วนของจำเลยที่ 4 อีก หนี้ตามสัญญาขายลดเช็คที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นมูลหนี้ที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่สัญญาค้ำประกันเดิมเพิกถอนแล้วจำเลยที่ 4 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ชำระหนี้ดังกล่าวแก่โจทก์ การที่จำเลยที่ 4 ทำบันทึกข้อตกลงถึงโจทก์ เสนอขอชำระหนี้จำนวน 400,000 บาท เพื่อให้โจทก์ปลดเปลื้องภาระผูกพันของจำเลยที่ 4 ในสัญญาค้ำประกันฉบับพิพาท เพราะเข้าใจว่ากรรมการบริหารใหม่ ของจำเลยที่ 1 มิได้ปลดภาระผูกพันให้แก่จำเลยที่ 4 เมื่อจำเลยที่ 4 ไม่มีหน้าที่ต้องชำระ การทำบันทึกดังกล่าว จึงไม่เป็นเหตุให้จำเลยที่ 4 ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3869/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปิดหมายที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายทำให้จำเลยไม่ทราบถึงการฟ้องคดี ส่งผลให้กระบวนการพิจารณาไม่เป็นไปตามกฎหมาย
ป.วิ.พ.มาตรา 79 บัญญัติเรื่องการปิดหมายไว้ว่า ให้ปิดคำคู่ความไว้ในที่แลเห็นได้ง่าย ณ สำนักทำการงานของคู่ความนั้น การที่โจทก์ระบุที่อยู่ของจำเลยอย่างกว้าง ๆ ทั้งที่สำนักทำการงานของจำเลยมีหน่วยงานในสังกัดหลายหน่วยงานกับมีพนักงานจำนวนมากจนพนักงานเดินหมายไม่สามารถสืบหาได้ว่าจำเลยทำงาน ณ หน่วยงานใดของการไฟฟ้านครหลวงเขตคลองเตย ทำให้จำเลยไม่มีโอกาสรู้ว่าถูกโจทก์ฟ้องและไม่อยู่ในวิสัยที่จำเลยจะรู้ได้ การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยโดยวิธีปิดหมายเช่นนี้จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 79ทำให้กระบวนพิจารณาหลังจากนั้นต่อมาเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายด้วย ปัญหาเรื่องการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยโดยไม่ชอบนั้นเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมชอบที่จะต้องเพิกถอนเสียตาม ป.วิ.พ.มาตรา 27 ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คำสั่งศาลชั้นต้น และคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ตั้งแต่การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยแล้วมีคำพิพากษาหรือคำสั่งใหม่ตามรูปคดีต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3869/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียกที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ทำให้กระบวนการพิจารณาคดีไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 79 บัญญัติเรื่องการปิดหมายไว้ว่า ให้ปิดคำคู่ความไว้ในที่แลเห็นได้ง่ายณ สำนักทำการงานของคู่ความนั้น การที่โจทก์ระบุที่อยู่ของจำเลยอย่างกว้าง ๆ ทั้งที่สำนักทำการงานของจำเลยมีหน่วยงานในสังกัดหลายหน่วยงานกับมีพนักงานจำนวนมากจนพนักงานเดินหมายไม่สามารถ สืบหาได้ว่าจำเลยทำงาน ณ หน่วยงานใดของการไฟฟ้านครหลวง เขตคลองเตย ทำให้จำเลยไม่มีโอกาสรู้ว่าถูกโจทก์ฟ้องและไม่อยู่ในวิสัยที่จำเลยจะรู้ได้ การส่งหมายเรียกและสำเนา คำฟ้องให้แก่จำเลยโดยวิธีปิดหมายเช่นนี้จึงไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 79 ทำให้ กระบวนพิจารณาหลังจากนั้นต่อมาเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย ปัญหา เรื่องการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยโดยไม่ชอบนั้น เป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมชอบที่จะต้องเพิกถอนเสียตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คำสั่ง ศาลชั้นต้นและคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ตั้งแต่การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยแล้วมีคำพิพากษาหรือคำสั่งใหม่ตามรูปคดีต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3859/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการขายทอดตลาด: ราคาต่ำกว่าราคาจริง & ข้อตกลงงดขายที่ไม่ผูกพันเจ้าพนักงานบังคับคดี
ก่อนวันขายทอดตลาด 1 วัน จำเลยนำเงินไปชำระหนี้ตาคำพิพากษาบางส่วนแก่ น. ภริยาโจทก์ที่บ้าน และ น. ตกลงกับจำเลยว่าจะงดการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยที่ยึดไว้ซึ่งกำหนดจะขายในวันรุ่งขึ้น แม้โจทก์มิได้ขอให้งดการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยดังกล่าวก็ตาม แต่เมื่อข้อตกลงระหว่างจำเลยกับ น. ดังกล่าว ไม่เกี่ยวกับการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยที่ถูกยึดกรณีจึงเป็นเรื่องที่ น. ผิดข้อตกลงกับจำเลย ย่อมไม่กระทบกระเทือนถึงการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีซึ่งได้ขายทอดตลาดตามวันเวลาที่ได้กำหนดไว้ตามที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ประกาศให้ทราบทั่วกันล่วงหน้าก่อนแล้วการขายทอดตลาดดังกล่าวของเจ้าพนักงานบังคับคดี จึงมิเสียไป
จำเลยยื่นคำร้องว่า ที่ดินและบ้าน 2 ชั้น ของจำเลยที่ถูกยึดมีราคาจริงถึง1,500,000 บาท แต่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ดังกล่าวให้แก่ ธ.ผู้ซื้อในราคาเพียง 500,000 บาท ต่ำกว่าราคาจริงหลายเท่าเจ้าพนักงานบังคับคดีจึงชอบที่จะถอนทรัพย์สินจากการขายทอดตลาดนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 513 หากเป็นความจริงก็อาจถือได้ว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีปฏิบัติฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 308 ที่บังคับให้การขายทอดตลาดต้องดำเนินไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยการขายทอดตลาด จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาจึงชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องของจำเลยโดยยังมิได้ทำการไต่สวนคำร้องของจำเลยจึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3859/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการขายทอดตลาด: ราคาต่ำกว่าราคาจริง, การไม่ไต่สวน, สิทธิลูกหนี้
ก่อนวันขายทอดตลาด 1 วัน จำเลยนำเงินไปชำระหนี้ตามคำพิพากษาบางส่วนแก่ น.ภริยาโจทก์ที่บ้าน และ น.ตกลงกับจำเลยที่ 2 ว่าจะงดการขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึดไว้จากจำเลยทั้งสองตามประกาศซึ่งกำหนดจะขายในวันรุ่งขึ้น แม้โจทก์มิได้ขอให้งดการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยดังกล่าว เมื่อข้อตกลงระหว่างจำเลยกับ น.ดังกล่าว ไม่กี่ยวกับการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยที่ถูกยึดเป็นเรื่องที่หาก น.ผิดข้อตกลงกับจำเลยที่ 2 เท่านั้น ย่อมไม่กระทบกระเทือนถึงการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดี ซึ่งได้ขายทอดตลาดตามวันเวลาที่ได้กำหนดไว้ตามประกาศขายทอดตลาดที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ประกาศให้ทราบทั่วกันล่วงหน้าก่อนแล้ว ไม่ทำให้การขายทอดตลาดดังกล่าวของเจ้าพนักงานบังคับคดีเสียไป
จำเลยยื่นคำร้องว่าที่ดินและบ้าน 2 ชั้น ของจำเลยทั้งสองมีราคาจริงถึง 1,500,000 บาท แต่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ดังกล่าวให้แก่ ธ.ผู้ซื้อในราคาเพียง 500,000 บาท ซึ่งเป็นการขายทอดตลาดต่ำกว่าราคาจริงหลายเท่า เป็นการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทรัพย์ที่ขายทอดตลาดไปในราคาต่ำเกินสมควร ขัดต่อ ป.พ.พ.มาตรา 513 ซึ่งอาจถือได้ว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีปฏิบัติฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติ ป.พ.พ.มาตรา 308 ที่บังคับให้การขายทอดตลาดต้องดำเนินไปตาม ป.พ.พ.ว่าด้วยการขายทอดตลาด จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดนั้นได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา296 วรรคสอง การที่ศาลล่างทั้งสองมีคำสั่งและคำพิพากษาให้ยกคำร้องของจำเลยโดยยังมิได้ทำการไต่สวนคำร้องของจำเลยทั้งสองให้ได้ความชัดว่า ข้อกล่าวอ้างเกี่ยวกับราคาที่ดินและบ้านเป็นความจริงหรือไม่ จึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3775/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีขายทอดตลาดต้องพิจารณาราคาที่เหมาะสมและเป็นธรรม โดยเทียบกับราคาประเมินและสภาพทรัพย์
ที่ดินของจำเลยที่โจทก์นำยึดมาขายทอดตลาดเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษานั้นสำนักงานที่ดินจังหวัดได้ประเมินราคาไว้เพื่อเป็นทุนทรัพย์ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินรวมทั้งแปลงราคา 493,400 บาท การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาที่ดินไว้ในขณะยึดเพียง30,837.50 บาท เป็นการประเมินที่ต่ำกว่าราคาจริงมาก เมื่อผู้ซื้อทรัพย์ให้ราคาสูงสุด 38,000 บาท ถือว่าเป็นราคา ที่ยังไม่เพียงพอกับราคาทรัพย์ที่ขายอีกมาก ชอบที่ เจ้าพนักงานบังคับคดีจะถอนทรัพย์สินนั้นออกจากการขายทอดตลาด ตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 513 การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกลับอนุมัติให้ขายในราคาที่ไม่ถูกต้องแก่ผู้ซื้อ จึงเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการ บังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 308 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 513 โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาชอบที่จะคัดค้านราคาขายและขอให้เพิกถอนการอนุมัติขายนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง ที่ดินที่ขายทอดตลาดสำนักงานที่ดินจังหวัดประเมินราคากลางไว้ถึง 493,400 บาท เจ้าพนักงานบังคับคดีขายไปในราคาเพียง38,000 บาท โดยมีผู้ซื้อทรัพย์ที่เข้าประมูลเพียงรายเดียวทั้งเป็นในการขายทอดตลาดครั้งแรก ซึ่งเป็นการขายในราคาที่ต่ำกว่าราคาประเมินของทางราชการประมาณ 13 เท่า เห็นได้ชัดแจ้งว่า ราคาที่ขายนั้นจะถูกต้องสมควรไปมิได้ ชอบที่ศาลจะมีคำสั่งให้เพิกถอนเสีย แล้วให้ดำเนินการขายใหม่
of 3