พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3159/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพยายามลักลอบส่งออกแร่ดีบุก การพิจารณาโทษบทที่หนักกว่าระหว่าง พ.ร.บ.แร่ และ พ.ร.บ.ศุลกากร
จำเลยขนแร่ดีบุกซึ่งแต่งและย่าง แห้งแล้วบรรจุไว้ในกระสอบที่มีน้ำหนักเท่ากันจำนวนถึง 853 กระสอบ จากบนบก ลง เรือหางยาวนำไปเก็บไว้บนแพซึ่งจอดอยู่กลางทะเลลึกห่างจากฝั่งถึง 2 กิโลเมตรเพื่อรอเรือใหญ่มาขนต่อไปอีกทอดหนึ่ง โดยแพก็มีเครื่องยนต์ถึง 2เครื่อง ซึ่งสามารถนำแร่ดีบุกต่อไปยังเรือใหญ่เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักรได้โดยง่าย แสดงว่าจำเลยมีเจตนาลักลอบส่งแร่ดีบุกออกนอกราชอาณาจักร และถือได้ว่าเป็นการกระทำที่เลยขั้นตระเตรียมการแล้ว การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานพยายามลักลอบนำแร่ออกนอกราชอาณาจักร ความผิดฐานพยายามลักลอบนำแร่ออกนอกราชอาณาจักรตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 มาตรา 129152 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2522 มาตรา 23 และพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27102 ตรี เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท และการพิจารณาว่าบทกฎหมายใดเป็นบทหนักหรือเบากว่ากันนั้นจะต้องพิเคราะห์จากอัตราโทษจำคุก ปรากฏว่าโทษจำคุกตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 มาตรา 152 ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2522 มาตรา 23 กับโทษจำคุกตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 102 ตรี นั้น มีอัตราโทษสูงสุดเท่ากันคือจำคุกไม่เกิน 10 ปี แต่ความผิดฐานพยายามลักลอบนำแร่ออกนอกราชอาณาจักรตามพระราชบัญญัติศุลกากรฯ มาตรา 27มีอัตราโทษเท่ากับการทำความผิดสำเร็จ ดังนั้น โทษจำคุกตามพระราชบัญญัติศุลกากรฯ ดังกล่าวจึงหนักกว่าโทษจำคุกตามพระราชบัญญัติแร่ฯ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3159/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพยายามลักลอบนำแร่ดีบุกออกนอกราชอาณาจักร การพิจารณาบทหนักเบาตามกฎหมายแร่และศุลกากร
จำเลยขนแร่ดีบุกซึ่งแต่งและย่างแห้งแล้วบรรจุไว้ในกระสอบที่มีน้ำหนักเท่ากันจำนวน 853 กระสอบ จากบนบก ลงเรือหางยาวนำไปเก็บไว้บนแพซึ่งจอดอยู่กลางทะเลลึกห่างจากฝั่งถึง 2 กิโลเมตร เพื่อรอเรือใหญ่มาขนต่อไปอีกทอดหนึ่ง โดยแพมีเครื่องยนต์ 2 เครื่องซึ่งสามารถนำแร่ดีบุกต่อไปยังเรือใหญ่เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักรได้โดยง่ายแสดงว่าจำเลยมีเจตนาลักลอบส่งแร่ดีบุกออกนอกราชอาณาจักรและถือได้ว่าเป็นการกระทำที่เลยขั้นตระเตรียมการแล้ว จึงเป็นความผิดฐานพยายามลักลอบนำแร่ออกนอกราชอาณาจักร ความผิดฐานพยายามลักลอบนำแร่ออกนอกราชอาณาจักรตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 มาตรา 129,152 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2522 มาตรา 23 และพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27,102 ตรี เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท และการพิจารณาว่าบทกฎหมายใดเป็นบทหนักหรือเบากว่านั้นจะต้องพิเคราะห์จากอัตราโทษจำคุกปรากฏว่า โทษจำคุกตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 มาตรา 152ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2522มาตรา 23 กับโทษจำคุกตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469มาตรา 102 ตรี นั้น มีอัตราโทษสูงสุดเท่ากันคือจำคุกไม่เกิน10 ปี แต่ความผิดฐานพยายามลักลอบนำแร่ออกนอกราชอาณาจักรตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 มีอัตราโทษเท่ากับการกระทำความผิดสำเร็จดังนั้นโทษจำคุกตามพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ. 2469 จึงหนักกว่าโทษจำคุกตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 590/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการได้รับเงินสินบนนำจับของผูแจ้งเบาะแส แม้เกี่ยวข้องกับการกระทำผิด และเหตุผลที่กรมศุลกากรชะลอการจ่ายเงิน
โจทก์เป็นผู้แจ้งความนำจับของกลาง และการจับกุมดังกล่าวเป็นผลสำเร็จก็เนื่องจากการแจ้งความของโจทก์ อันเข้าหลักเกณฑ์ตามระเบียบของกรมศุลกากรจำเลยว่าด้วยการจ่ายเงินสินบนและรางวัล พ.ศ. 2517 ที่จำเลยจะต้องจ่ายเงินสินบนแก่โจทก์ แม้โจทก์เป็นลูกจ้างของเจ้าของของกลางและรู้เห็นในการกระทำผิดนั้นก็มิได้เป็นข้อห้ามหรือข้อยกเว้นตามระเบียบดังกล่าวที่จำเลยจะยกขึ้นเป็นเหตุเพื่อปฏิเสธการจ่ายเงินสินบนนำจับในกรณีนี้ได้ โจทก์ฟ้องจำเลยเรียกเงินสินบนตามระเบียบดังกล่าวจึงมิใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
ตามระเบียบของจำเลยว่าด้วยการจ่ายเงินสินบนและรางวัลพ.ศ. 2517 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 102 ตรี แห่งพระราชบัญญัติ ศุลกากร พ.ศ. 2469 ได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายเงินสินบนนำจับไว้ตามข้อ 4,5 และให้อำนาจอธิบดีกรมศุลกากรในการจ่ายเงินสินบนไว้ในข้อ 10 ว่า ในกรณีที่เห็นสมควรอธิบดีกรมศุลกากรจะรอการจ่ายเงินสินบนและรางวัลทั้งหมดหรือบางส่วนไว้พลางก่อนก็ได้ เมื่อการขายของกลางรายนี้มีกรณีพิพาทและมีการฟ้องกรมศุลกากรเป็นจำเลย คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ เห็นได้ว่าเงินค่าขายของกลางมีปัญหาที่ยังไม่ยุติไม่แน่ว่าคดีดังกล่าวกรมศุลกากรจะแพ้หรือชนะ ทั้งการจ่ายเงินสินบนตามกฎหมายและระเบียบของจำเลยจะต้องจ่ายจากเงินของกลางนั้นเอง ดังนี้ ที่จำเลยยังไม่จ่ายเงินสินบนแก่โจทก์ด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงมีเหตุอันสมควรซึ่งอาจยกขึ้นอ้างได้โดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบปฏิบัติของจำเลย โจทก์ยังไม่มีสิทธิที่จะฟ้องจำเลยให้จ่ายเงินสินบน.(ที่มา-ส่งเสริม)
ตามระเบียบของจำเลยว่าด้วยการจ่ายเงินสินบนและรางวัลพ.ศ. 2517 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 102 ตรี แห่งพระราชบัญญัติ ศุลกากร พ.ศ. 2469 ได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายเงินสินบนนำจับไว้ตามข้อ 4,5 และให้อำนาจอธิบดีกรมศุลกากรในการจ่ายเงินสินบนไว้ในข้อ 10 ว่า ในกรณีที่เห็นสมควรอธิบดีกรมศุลกากรจะรอการจ่ายเงินสินบนและรางวัลทั้งหมดหรือบางส่วนไว้พลางก่อนก็ได้ เมื่อการขายของกลางรายนี้มีกรณีพิพาทและมีการฟ้องกรมศุลกากรเป็นจำเลย คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ เห็นได้ว่าเงินค่าขายของกลางมีปัญหาที่ยังไม่ยุติไม่แน่ว่าคดีดังกล่าวกรมศุลกากรจะแพ้หรือชนะ ทั้งการจ่ายเงินสินบนตามกฎหมายและระเบียบของจำเลยจะต้องจ่ายจากเงินของกลางนั้นเอง ดังนี้ ที่จำเลยยังไม่จ่ายเงินสินบนแก่โจทก์ด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงมีเหตุอันสมควรซึ่งอาจยกขึ้นอ้างได้โดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบปฏิบัติของจำเลย โจทก์ยังไม่มีสิทธิที่จะฟ้องจำเลยให้จ่ายเงินสินบน.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 590/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการได้รับเงินสินบนนำจับของเจ้าหน้าที่ แม้จะเกี่ยวข้องกับเจ้าของของกลาง และการมีข้อพิพาทเกี่ยวกับของกลาง
โจทก์เป็นผู้แจ้งความนำจับของกลาง และการจับกุมดังกล่าวเป็นผลสำเร็จก็เนื่องจากการแจ้งความของโจทก์ อันเข้าหลักเกณฑ์ตามระเบียบของจำเลยว่าด้วยการจ่ายเงินสินบนและรางวัล พ.ศ. 2517ที่จำเลยจะต้องจ่ายเงินสินบนแก่โจทก์ แม้โจทก์เป็นลูกจ้างของเจ้าของของกลางและรู้เห็นในการกระทำผิดนั้น ก็มิได้เป็นข้อห้ามหรือข้อยกเว้นตามระเบียบดังกล่าว ที่จำเลยจะยกขึ้นเป็นเหตุเพื่อปฏิเสธการจ่ายเงินสินบนนำจับในกรณีนี้ได้ โจทก์ฟ้องจำเลยเรียกเงินสินบนตามระเบียบดังกล่าวจึงมิใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ตามระเบียบของจำเลยว่าด้วยการจ่ายเงินสินบนและรางวัลพ.ศ. 2517 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 102 ตรีแห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 ได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายเงินสินบนนำจับไว้ตามข้อ 4,5 และให้อำนาจอธิบดีกรมศุลกากรในการจ่ายเงินสินบนไว้ในข้อ 10 ว่า ในกรณีที่เห็นสมควรอธิบดีกรมศุลกากรจะรอการจ่ายเงินสินบนและรางวัลทั้งหมดหรือบางส่วนไว้พลางก่อนก็ได้ เมื่อการขายของกลางรายนี้มีกรณีพิพาทและมีการฟ้องกรมศุลกากรเป็นจำเลย คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ เห็นได้ว่าเงินค่าขายของกลางมีปัญหาที่ยังไม่ยุติไม่แน่ว่าคดีดังกล่าวกรมศุลกากรจะแพ้หรือชนะ ทั้งการจ่ายเงินสินบนตามกฎหมายและระเบียบของจำเลยจะต้องจ่ายจากเงินของกลางนั้นเอง ที่จำเลยยังไม่จ่ายเงินสินบนแก่โจทก์ด้วยเหตุผลดังกล่าวจึงมีเหตุอันสมควรซึ่งอาจยกขึ้นอ้างได้โดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบปฏิบัติของจำเลย โจทก์ยังไม่มีสิทธิที่จะฟ้องจำเลยให้จ่ายเงินสินบน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3350/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกดอกเบี้ยจากหนี้ภาษีอากร: กฎหมายเฉพาะบัญญัติไว้แล้ว ไม่อาจเรียกดอกเบี้ยเพิ่มได้
กฎหมายได้บัญญัติทางแก้สำหรับกรณีผู้นำเข้าหรือลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ค่าภาษีอากรขาเข้า ค่าภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลไว้โดยเฉพาะแล้วกล่าวคือ ในส่วนที่เป็นเงินภาษีอากรขาเข้าเพิ่มเป็นกรณีที่ตรวจเก็บอากรขาดตามพระราชบัญญัติศุลกากร มาตรา 102 ตรี (3) ซึ่งมาตรา 112 จัตวาวรรคแรกห้ามมิให้เรียกเก็บเงินเพิ่ม ส่วนกรณีภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาล ประมวลรัษฎากรมาตรา 89 ทวิ บัญญัติให้ผู้ประกอบการค้าเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละหนึ่งต่อเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ โดยเงินเพิ่มจะต้องไม่เกินจำนวนภาษีที่ต้องชำระ ดังนั้นจึงนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา224 ว่าด้วยดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดมาเรียกร้องเอากับลูกหนี้ซ้ำอีกหาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4305/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องเคลือบคลุมและการใช้อำนาจย้อนสำนวนของศาลอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์จะพิพากษายกคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลชั้นต้นแล้วย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิพากษาหรือมีคำสั่งใหม่ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(1) หรือไม่นั้น เป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์จะไม่ใช้อำนาจนั้นก็ได้ ประเด็นที่ว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ซึ่งศาลชั้นต้นไม่ได้วินิจฉัยนั้น เป็นปัญหาข้อกฎหมาย ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยประเด็นดังกล่าวเองได้ ไม่ต้องพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นส่งสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระสินบนนำจับร้อยละ 30ของราคาสินค้า ปรากฏว่าโจทก์บรรยายฟ้องเฉพาะแต่ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 เท่านั้น โดยอ้างว่าจำเลยที่ 2ตกลงกับโจทก์ว่าหากโจทก์แจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบจนเป็นผลให้จำเลยที่ 2 จับกุมสินค้าหรือผู้กระทำผิดได้ จำเลยที่ 2 จะจ่ายสินบนนำจับให้โจทก์ ส่วนเกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ที่ 3 โจทก์คงบรรยายฟ้องแต่เพียงว่า หลังจากมีการจับกุมสินค้าหลบหนีภาษีรายนี้แล้ว จำเลยที่ 1 ได้ออกไปตรวจและนำสินค้าที่จับได้มอบให้กับจำเลยที่ 3 ดังนี้ความตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ไม่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ที่ 3 แต่อย่างใด โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าโจทก์มีสิทธิเรียกร้องสินบนนำจับจากจำเลยที่ 1 ที่ 3 เพราะเหตุใด คำฟ้องของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ที่ 3 จึงไม่ได้แสดงแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา รวมทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา เป็นฟ้องเคลือบคลุม
โจทก์ฎีกาว่า โจทก์เห็นพ้องด้วยกับคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 เพราะโจทก์ก็ไม่ได้มีเจตนาจะให้จำเลยที่ 2 รับผิดเป็นส่วนตัวอยู่แล้ว เท่ากับโจทก์ไม่ประสงค์จะฎีกาในส่วนความรับผิดของจำเลยที่ 2 ที่มีต่อโจทก์ส่วนที่โจทก์จะขอถือเอาอุทธรณ์ข้อ 3(ข) เป็นส่วนหนึ่งแห่งฎีกาด้วยนั้นโจทก์หาได้บรรยายข้อความดังกล่าวไว้ในฎีกาไม่ฎีกาของโจทก์ในส่วนนี้จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249.
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระสินบนนำจับร้อยละ 30ของราคาสินค้า ปรากฏว่าโจทก์บรรยายฟ้องเฉพาะแต่ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 เท่านั้น โดยอ้างว่าจำเลยที่ 2ตกลงกับโจทก์ว่าหากโจทก์แจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบจนเป็นผลให้จำเลยที่ 2 จับกุมสินค้าหรือผู้กระทำผิดได้ จำเลยที่ 2 จะจ่ายสินบนนำจับให้โจทก์ ส่วนเกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ที่ 3 โจทก์คงบรรยายฟ้องแต่เพียงว่า หลังจากมีการจับกุมสินค้าหลบหนีภาษีรายนี้แล้ว จำเลยที่ 1 ได้ออกไปตรวจและนำสินค้าที่จับได้มอบให้กับจำเลยที่ 3 ดังนี้ความตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ไม่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ที่ 3 แต่อย่างใด โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าโจทก์มีสิทธิเรียกร้องสินบนนำจับจากจำเลยที่ 1 ที่ 3 เพราะเหตุใด คำฟ้องของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ที่ 3 จึงไม่ได้แสดงแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา รวมทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา เป็นฟ้องเคลือบคลุม
โจทก์ฎีกาว่า โจทก์เห็นพ้องด้วยกับคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 เพราะโจทก์ก็ไม่ได้มีเจตนาจะให้จำเลยที่ 2 รับผิดเป็นส่วนตัวอยู่แล้ว เท่ากับโจทก์ไม่ประสงค์จะฎีกาในส่วนความรับผิดของจำเลยที่ 2 ที่มีต่อโจทก์ส่วนที่โจทก์จะขอถือเอาอุทธรณ์ข้อ 3(ข) เป็นส่วนหนึ่งแห่งฎีกาด้วยนั้นโจทก์หาได้บรรยายข้อความดังกล่าวไว้ในฎีกาไม่ฎีกาของโจทก์ในส่วนนี้จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4305/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องเคลือบคลุม ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเองได้ ไม่ต้องย้อนสำนวน
ศาลอุทธรณ์จะพิพากษายกคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลชั้นต้น แล้วย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิพากษาหรือมีคำสั่งใหม่ ดัง ที่บัญญัติไว้ในป.วิ.พ. มาตรา 243(1) หรือไม่นั้น เป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ศาลอุทธรณ์จะไม่ใช้อำนาจนั้นก็ได้ ประเด็นที่ว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ ซึ่งศาลชั้นต้นไม่ได้วินิจฉัยนั้น เป็นปัญหาข้อกฎหมาย ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยประเด็นดังกล่าวเองได้ ไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่ โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระสินบนนำจับร้อยละ 30ของราคาสินค้า ปรากฏว่า โจทก์บรรยายฟ้องเฉพาะ แต่ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 เท่านั้น โดยอ้างว่าจำเลยที่ 2 ตกลงกับโจทก์ว่าหากโจทก์แจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบจนเป็นผลให้จำเลยที่ 2จับกุมสินค้าหรือผู้กระทำผิดได้ จำเลยที่ 2 จะจ่ายสินบนนำจับให้โจทก์ ส่วนเกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ที่ 3 โจทก์คงบรรยายฟ้องแต่เพียงว่าหลังจากมีการจับกุมสินค้าหลบหนีภาษีรายนี้แล้ว จำเลยที่ 1 ได้ออกไปตรวจและนำสินค้าที่จับได้มอบให้กับจำเลยที่ 3 ดังนี้ความตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ไม่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ที่ 3 แต่อย่างใดโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่า โจทก์มีสิทธิเรียกร้องสินบนนำจับจากจำเลยที่ 1 ที่ 3 เพราะเหตุใด คำฟ้องของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ที่ 3 จึงไม่ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา รวมทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา เป็นฟ้องเคลือบคลุม.