พบผลลัพธ์ทั้งหมด 33 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3431/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากรายงานเท็จที่ไม่ร้ายแรงเพียงพอต่อการไม่จ่ายค่าชดเชย
การทำรายงานเท็จของโจทก์เกี่ยวกับการไปติดต่อประสานงานและเร่งรัดเก็บเงินค่าเช่าซื้อรถยนต์จากลูกค้าทำให้จำเลยได้รับความเสียหายเพียงทำให้จำเลยไม่ได้รับข้อมูลหรือข้อเท็จจริงเกี่ยวกับตัวลูกค้าที่ถูกต้องแท้จริง รวมทั้ง ยังไม่ได้รับเงินค่างวดค่าเช่าซื้อรถยนต์จากลูกค้าทันที และจำเลยอาจได้รับชำระล่าช้าออกไปบ้างเท่านั้น แต่การกระทำ ของโจทก์ก็มิได้ทำให้หนี้ค่างวดดังกล่าวต้องระงับไปเพราะเหตุ ดังกล่าว เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รับความเสียหายอื่นใดจาก การทำรายงานเท็จดังกล่าวอีก ทั้งการกระทำความผิดครั้งก่อน ๆ ของโจทก์ซึ่งไม่ใช่กรณีที่จำเลยนำมาเป็นเหตุเลิกจ้างโจทก์ จำเลยก็ได้ลงโทษโจทก์ไปแล้ว กรณีจึงไม่อาจนำมาประกอบการ พิจารณาว่าการกระทำของโจทก์ครั้งนี้เป็นการฝ่าฝืนระเบียบ ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยอย่างร้ายแรงที่จำเลย จะเลิกจ้างโจทก์โดยไม่จ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ แต่พฤติการณ์ของโจทก์เป็นการกระทำอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 จำเลยจึง เลิกจ้างโจทก์ได้โดยมิพักต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่จำต้อง จ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2359/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากดื่มเบียร์ขณะปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งถือเป็นการละทิ้งหน้าที่และฝ่าฝืนระเบียบของบริษัท
โจทก์เป็นพนักงานขับรถ มีหน้าที่นำพนักงานของ จำเลยที่ได้รับบาดเจ็บระหว่างทำงานส่งโรงพยาบาล ซึ่งเป็นหน้าที่สำคัญที่เกี่ยวกับความปลอดภัยในชีวิต และร่างกายของบุคคล การดื่มเบียร์ซึ่งเป็นสิ่งมึนเมา ย่อมทำให้การปฏิบัติ หน้าที่บกพร่องและอาจก่อให้เกิดอันตราย และความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ผู้อื่นได้ ทั้งจำเลยก็ได้กำหนด ไว้ในมาตรการทางวินัยอันเป็นข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานว่า เป็นกรณีร้ายแรงด้วย ดังนี้ การที่โจทก์ละทิ้งหน้าที่โดย ได้ร่วมดื่มเบียร์กับพนักงานอื่น ๆ ในบริเวณโรงงานขณะปฏิบัติ หน้าที่ จึงเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานในกรณีที่ร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(4) จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุดังกล่าว จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1454/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากฝ่าฝืนระเบียบสำคัญของธนาคาร ถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
ธนาคารจำเลยมีระเบียบและคำสั่งเรื่องการให้สินเชื่อแก่ลูกค้าชัดแจ้งว่าลูกค้าที่ขอสินเชื่อตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป ผู้จัดการสาขาไม่มีอำนาจอนุมัติเอง ต้องส่งเรื่องไปขออนุมัติจากสำนักงานใหญ่ เมื่อสำนักงานใหญ่อนุมัติแล้วจึงจะจดทะเบียนจำนองให้แก่ลูกค้าได้ การที่จำเลยวางระเบียบไว้เช่นนั้นเพื่อให้สำนักงานใหญ่ได้กลั่นกรองให้ละเอียดรอบคอบอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งเป็นมาตรการป้องกันความเสี่ยงหรือความเสียหายของจำเลย จึงต้องถือว่าระเบียบและคำสั่งนี้มีความสำคัญแก่การดำเนินกิจการธนาคาร ของจำเลยการที่โจทก์รีบดำเนินการจดทะเบียนจำนองให้แก่ บริษัทด. ในวงเงิน 162 ล้านบาท ก่อนได้รับอนุมัติจากจำเลย ทั้งที่ส. รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ของจำเลยมีคำสั่งว่ากรณีจำเป็นเร่งด่วนก็ต้องขออนุมัติจากสำนักงานใหญ่ก่อน จะดำเนินการจดทะเบียนจำนองให้แก่ลูกค้าไม่ได้ แสดงให้เห็นว่าการฝ่าฝืนระเบียบหรือคำสั่งของจำเลย และเป็นเหตุให้จำเลยขาดเงินฝากอันเป็นหลักประกันถึง 39 ล้านบาท ทั้งโจทก์ยังเปลี่ยนแปลงลักษณะของสินเชื่อโดยเปลี่ยนแปลงจากวงเงินหนังสือค้ำประกันมาเป็นวงเงินรับรองตั๋วแลกเงินและวงเงินรับซื้อตั๋วเงินให้แก่บริษัทด. อีกด้วย อันเป็นผลทำให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างมาก และความเสียหาย นี้หาใช่ความเสียหายที่เกิดจากจำเลยมีคำสั่งให้ระงับสินเชื่อไม่ การกระทำของโจทก์ถือว่าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบหรือ คำสั่งเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเป็นกรณีร้ายแรง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(4) โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชย สินจ้างแทนการ บอกกล่าวล่วงหน้า และการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุ ดังกล่าวมิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1454/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างด้วยเหตุฝ่าฝืนระเบียบสำคัญของธนาคาร ไม่ถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
ธนาคารจำเลยมีระเบียบและคำสั่งเรื่องการให้สินเชื่อแก่ลูกค้าชัดแจ้งว่าลูกค้าที่ขอสินเชื่อตั้งแต่ 10 ล้านบาท ขึ้นไป ผู้จัดการสาขาไม่มีอำนาจอนุมัติเอง ต้องส่งเรื่องไปขออนุมัติจากสำนักงานใหญ่เมื่อสำนักงานใหญ่อนุมัติแล้วจึงจะจดทะเบียนจำนองให้แก่ลูกค้าได้ การที่จำเลยวางระเบียบไว้เช่นนั้นเพื่อให้สำนักงานใหญ่ได้กลั่นกรองให้ละเอียดรอบคอบอีกชั้นหนึ่งซึ่งเป็นมาตรการป้องกันความเสี่ยงหรือความเสียหายของจำเลยจึงต้องถือว่าระเบียบและคำสั่งนี้มีความสำคัญแก่การดำเนินกิจการธนาคารของจำเลย การที่โจทก์รีบดำเนินการจดทะเบียนจำนองให้แก่บริษัทด.ในวงเงิน 162 ล้านบาทก่อนได้รับอนุมัติจากจำเลย ทั้งที่ส.รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ของจำเลยมีคำสั่งว่ากรณีจำเป็นเร่งด่วนก็ต้องขออนุมัติจากสำนักงานใหญก่อนจะดำเนินการจดทะเบียนจำนองให้แก่ลูกค้าไม่ได้และการที่โจทก์ฝ่าฝืนระเบียบหรือคำสั่งของจำเลยเป็นเหตุให้จำเลยขาดเงินฝากอันเป็นหลักประกันถึง 39 ล้านบาท ทั้งโจทก์ยังเปลี่ยนแปลงลักษณะของสินเชื่อโดยเปลี่ยนแปลงจากวงเงินหนังสือค้ำประกันมาเป็นวงเงินรับรองตั๋วแลกเงินและวงเงินรับซื้อตั๋วเงินให้แก่บริษัทด.อีกด้วย อันเป็นผลทำให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างมาก และความเสียหายนี้หาใช่ความเสียหายที่เกิดจากจำเลยมีคำสั่งให้ระงับสินเชื่อไม่การกระทำของโจทก์ถือว่าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบหรือคำสั่งเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเป็นกรณีร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(4)โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และกรณีจำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุดังกล่าวมิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1352/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้าง การพิสูจน์หนังสือเตือน และสิทธิในการได้รับค่าชดเชย
คำตักเตือนเป็นหนังสือตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ 47(4)ไม่ได้กำหนดแบบไว้ว่าจะต้องมีรูปแบบและข้อความเป็นอย่างไร แต่หนังสือตักเตือนนั้นจะต้องเป็นกรณีที่นายจ้างตักเตือนลูกจ้างที่ได้กระทำผิดฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้างมิให้กระทำผิดเช่นว่านั้นซ้ำอีก หากกระทำจะต้องถูกลงโทษ แต่ตามใบเตือนของจำเลยคงระบุแต่เพียงว่าโจทก์กระทำผิดมาทำงานสายเป็นการกระทำที่ผิดระเบียบข้อบังคับของจำเลยเท่านั้น มิได้มีข้อความที่เป็นคำตักเตือนของนายจ้างไม่ให้ลูกจ้างกระทำผิดเช่นนั้นซ้ำอีกและหากกระทำผิดอีกต้องถูกลงโทษไว้ ใบเตือนของจำเลยจึงถือไม่ได้ว่าเป็นหนังสือตักเตือนตามกฎหมาย กรณีจึงไม่เข้าข้อยกเว้นที่จำเลยจะไม่จ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีและค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 45,47(4) เพราะเหตุที่โจทก์กระทำผิดซ้ำ โจทก์กระทำการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานโดยมาทำงานสายหลายครั้งและหลังจากจำเลยมีใบเตือนแล้ว โจทก์ก็ยังคงมาสายอยู่เป็นประจำอีก ทั้งยังกระทำการฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยเรื่องอื่น ๆ เช่นนี้ การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงเป็นการเลิกจ้างโดยมีเหตุอันสมควร ถือไม่ได้ว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายในส่วนนี้และโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 583 ในวันพิจารณาโจทก์ได้แถลงรับข้อเท็จจริงต่อศาลแรงงานว่าในการทำงานกับจำเลยโจทก์มาทำงานสายเป็นประจำและจำเลยได้มีหนังสือเตือนตามเอกสารท้ายคำให้การจริง อันเป็นการยอมรับว่าใบเตือนดังกล่าวได้ออกโดยจำเลย ซึ่งศาลแรงงานก็ได้วินิจฉัยว่าโจทก์มาทำงานสายเป็นประจำอันเป็นการกระทำผิดซ้ำคำเตือนเป็นหนังสือ ส. จึงบอกกล่าวเลิกจ้างโจทก์จริง ฉะนั้น ที่โจทก์อุทธรณ์โต้เถียงว่า ใบเตือนดังกล่าวของจำเลยจึงออกโดยผู้มีอำนาจหรือไม่ไม่ปรากฏ จึงเป็นการออกใบเตือนโดยไม่ชอบนั้นย่อมเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6706/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานยักยอกทรัพย์: ขอบเขตคำว่า 'บริษัท' ในข้อบังคับบริษัท
ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยที่กำหนดความผิดวินัยอย่างร้ายแรงคือ ลักทรัพย์หรือยักยอกทรัพย์ของบริษัทหรือของเพื่อนร่วมงานในบริเวณบริษัท คำว่า"บริษัท" มิได้หมายถึงความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ของบริษัทแต่เพียงอย่างเดียว แต่หมายความรวมถึงทรัพย์ที่บริษัทครอบครองดูแลรับผิดชอบอยู่ด้วย เมื่อปรากฏว่า ของขวัญนาฬิกาตั้งโต๊ะที่โจทก์เบียดบังเอาไปเป็นของผู้ที่นำมามอบให้แก่บริษัท ข. ขณะที่ของขวัญนั้นอยู่ในความครอบครองดูแลและรับผิดชอบของจำเลย และจำเลยมอบให้โจทก์ครอบครองดูแลแทน ซึ่งจำเลยจะต้องนำของขวัญ ดังกล่าวไปมอบให้บริษัท ข. กรณีถือได้ว่า โจทก์ได้ยักยอกทรัพย์ของจำเลยไปตามข้อบังคับดังกล่าวอันเป็นการกระทำผิดข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานข้อดังกล่าวของจำเลยในกรณีร้ายแรงแล้ว แต่กรณีมิใช่เป็นการยักยอกทรัพย์ของเพื่อนร่วมงานในบริเวณบริษัทของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5943/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากทุจริตต่อหน้าที่และฝ่าฝืนระเบียบบริษัท ศาลฎีกายืนตามศาลแรงงาน
โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างไม่ออกไปปฏิบัติหน้าที่ แต่รู้เห็นยินยอมให้ อ. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกนำอุปกรณ์ของจำเลยผู้เป็นนายจ้างออกไปทำหน้าที่ผู้จัดการประจำเขตการขายที่โจทก์เป็นผู้ดำรงตำแหน่งอยู่ และการเป็นผู้จัดการประจำเขตเป็นคุณสมบัติเฉพาะบุคคลซึ่งผ่านการคัดเลือกจากจำเลยหาใช่มอบหมายให้บุคคลภายนอกซึ่งไม่ผ่านการคัดเลือกมาทำการแทนได้ไม่ การที่โจทก์ไม่ออกไปปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว แต่รับเงินค่าจ้างทุกเดือนย่อมเป็นการแสวงหาประโยชน์อันมิควรได้โดยชอบ เป็นการทุจริตต่อหน้าที่ โจทก์จะอ้างว่าเป็นลูกจ้างรายเดือนวันที่ไม่ทำงานยังมีสิทธิได้ค่าจ้างจึงไม่เป็นการทุจริตหาได้ไม่ เพราะลูกจ้างจะได้ค่าจ้างในวันที่ไม่ทำงานต้องเป็นกรณีลาหยุดงานโดยชอบหรือเป็นกรณีอื่น ที่กฎหมายบัญญัติให้ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าจ้าง แม้ตามระเบียบข้อบังคับการทำงานของจำเลยไม่ได้ระบุว่าการกระทำใดเป็นความผิด และมีเพียงบทลงโทษการที่โจทก์ไม่ออกไปทำงานก็ตามแต่เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างจำเลยมีตำแหน่งผู้จัดการประจำเขตการขายรับผิดชอบงานขายและจำเลยได้มีหนังสือส่งถึงโจทก์โดยตรง กล่าวย้ำถึงหน้าที่ความรับผิดชอบในตำแหน่งของโจทก์ ซึ่งลักษณะงานต้องติดต่อกับสาวเอวอนตลอดเวลา และหนังสือดังกล่าวมีรายละเอียดระบุชัดว่า รถยนต์ที่บริษัทจำเลยจัดหาให้โจทก์ จำเลยไม่อนุญาตให้บุคคลอื่น ที่ไม่ใช่ผู้จัดการประจำเขตนำไปใช้เด็ดขาด การที่โจทก์ มีหน้าที่รับผิดชอบต้องติดต่อสาวเอวอนตลอดเวลา แต่โจทก์ ละเลยต่อหน้าที่ ไม่ออกปฏิบัติงาน โดยรู้เห็นยินยอมให้ผู้อื่น ออกแสดงเป็นผู้จัดการประจำเขต ถือได้ว่าโจทก์ฝ่าฝืนระเบียบ เกี่ยวกับการทำงานอยู่ในตัว และที่โจทก์รู้เห็นยินยอมให้ อ. ซึ่งไม่ใช่พนักงานของจำเลย นำรถยนต์ประจำตำแหน่งของจำเลย ไปใช้ย่อมเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของจำเลยโดยแจ้งชัด และนอกจากนี้การที่โจทก์รู้เห็นยินยอมให้ อ.เรียกเก็บค่าสมัครสาวเอวอนโดยไม่มีสิทธิ แอบอ้างชื่อสาวเอวอนสั่งสินค้า จากจำเลยแล้วไม่ชำระค่าสินค้า ทำให้จำเลยเสียชื่อเสียง เกียรติคุณ และเสียทางทำมาหาได้ ถือได้ว่าโจทก์รู้เห็นยินยอม ในการก่อความเสียหายดังกล่าวให้จำเลย จึงเป็นการฝ่าฝืนระเบียบเกี่ยวกับการทำงานเป็นกรณีร้ายแรง ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า ศาลแรงงานฟังว่าโจทก์ยินยอมให้ อ.นำอุปกรณ์ไปรับสมัครสาวเอวอน เก็บค่าสมัคร แอบอ้างชื่อสาวเอวอน สั่งสินค้านำหลักฐานของผู้อื่นไปแอบอ้างสมัครทำให้จำเลยเสียหาย เป็นการฟังข้อเท็จจริงนอกสำนวนเมื่อไม่ปรากฏว่ามีการรับฟังข้อเท็จจริงนอกสำนวนดังที่โจทก์ยกขึ้นกล่าวอ้าง อุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและ วิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2512/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างและค่าชดเชย: หนังสือเตือนต้องมีผลบังคับใช้จริง การพักงานไม่ถือเป็นการเตือน
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 47(4) ที่ระบุกรณีที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยว่าฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมและนายจ้าง ได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว ซึ่งหนังสือเตือนนั้นต้องมีผลบังคับไม่เกิน 1 ปี นับแต่วันที่ลูกจ้างได้รับทราบหนังสือเตือนนั้น เป็นกำหนดระยะเวลาขั้นสูงเอาไว้ว่ามิให้บังคับกันเกินไปกว่า 1 ปี เท่านั้น หาได้บังคับเป็นการตายตัวว่าจะต้องบังคับกันเป็นเวลา 1 ปีโดยเด็ดขาดไม่ นายจ้างและลูกจ้างจึงตกลงกันวางระเบียบ ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานในส่วนที่เกี่ยวกับการบังคับใช้ กำหนดระยะเวลาของการเตือนเป็นหนังสือให้มีผลบังคับต่ำกว่า หรือน้อยกว่า 1 ปี ก็ได้ ไม่เป็นการขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(4) จึงย่อมใช้บังคับได้ การที่จำเลยออกหนังสือเตือนโจทก์ เรื่องการขาดงานเมื่อเดือนกรกฎาคม 2539 แล้วโจทก์ขาดงาน เมื่อวันที่ 6 และ 7 พฤษภาคม 2540 อีก แต่เมื่อหนังสือเตือน ของจำเลยฉบับเดือนกรกฎาคม 2539 สิ้นผลบังคับตามข้อตกลง เกี่ยวกับสภาพการจ้างที่โจทก์จำเลยตกลงกันตามข้อกำหนด ในคู่มือสภาพการจ้างไปแล้ว กรณีถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้กระทำผิด ซ้ำคำเตือนจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยอาศัยเหตุนี้จึงต้องจ่าย ค่าชดเชยแก่โจทก์ ตามคู่มือสภาพการจ้างของจำเลยมีขั้นตอนที่จะเลือก ลงโทษพนักงานเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น จำเลยมีบันทึก การลงโทษโจทก์ระบุให้สั่งพักการทำงานโจทก์เป็นเวลา 5 วัน โดยไม่จ่ายค่าจ้างระหว่างวันที่ 24 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2540 เท่านั้น หาได้มีข้อความใดระบุว่าให้ลงโทษโดยการเตือน เป็นหนังสือด้วย แม้ข้อความในตอนท้ายของบันทึกดังกล่าว แม้จะมีข้อความในลักษณะห้ามมิให้โจทก์ฝ่าฝืนและกระทำผิดอีก จึงไม่มีผลเป็นการตักเตือนเป็นหนังสือ ดังนี้ เมื่อการลงโทษ โจทก์เป็นการลงโทษพักงาน 5 วัน โดยไม่ได้รับค่าจ้างแล้วจะถือว่าจำเลยได้ลงโทษโจทก์โดยการตักเตือนเป็นหนังสือ รวมอยู่ด้วยอีกไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1244/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ค่าชดเชย และสิทธิในการได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย ข้อ 4.7 กำหนดเรื่องการขาดงาน ถือเป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุผลที่สมควร จะถูกพิจารณาโทษทางวินัย คือ ขาดงานครั้งแรกไม่จ่ายค่าจ้างในวันขาดงานและออกหนังสือเตือนครั้งที่ 1การขาดงานครั้งที่ 2 และครั้งที่ 3 จะไม่จ่ายค่าจ้าง 2 เท่าและ 3 เท่าของค่าจ้าง พร้อมกับออกหนังสือเตือนทั้งสองครั้งตามลำดับ การขาดงานครั้งที่ 4 จึงจะเลิกจ้างได้ และข้อ 5.24 กำหนดว่า เจ้าหน้าที่ที่ฝ่าฝืนระเบียบของศูนย์ประกันสังคมของจำเลยจะถูกพิจารณาลงโทษดังนี้1. ตักเตือนด้วยวาจา 2. ออกจดหมายเตือนครั้งที่ 13. ออกจดหมายเตือนครั้งที่ 24. ออกจดหมายเตือนครั้งที่ 3พักงานโดยมีกำหนดโดยไม่ได้รับค่าจ้าง และ 5. เลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย ดังนั้น ตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานดังกล่าว เจ้าหน้าที่ที่ขาดงานโดยละทิ้งหน้าที่จำเลยจะต้องเตือนด้วยวาจา 1 ครั้งก่อน หากมีการกระทำผิดซ้ำในเรื่องเดิมหลังจากนั้นจำเลยจะต้องออกหนังสือเตือนถึง3 ครั้ง เมื่อขาดงานครั้งที่ 5 จึงให้เลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย เมื่อระเบียบข้อบังคับของจำเลยทั้งสองนี้ ถือเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างและเป็นคุณแก่ลูกจ้างยิ่งกว่าประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(4) และจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยระบุในหนังสือเลิกจ้างว่า โจทก์ละทิ้งหน้าที่โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับในการทำงาน โดยในครั้งแรกโจทก์ได้รับคำสั่งของจำเลยให้โจทก์ไปทำงานเป็นแพทย์ประกันสังคมประจำโรงพยาบาล ร.แต่โจทก์ไม่ยอมปฎิบัติตามจำเลยจึงได้ออกคำสั่งเป็นหนังสือให้โจทก์ไปปฎิบัติหน้าที่ที่โรงพยาบาลร. โจทก์รับทราบหนังสือดังกล่าวแล้วไม่ยอมไป เมื่อตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย จำเลยจะต้องตักเตือนด้วยวาจา 1 ครั้ง และออกหนังสือเตือนอีก 3 ครั้ง จึงจะเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยได้ การที่จำเลยออกหนังสือเตือนโจทก์เพียงครั้งเดียวแล้วเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ปฎิบัติตามขั้นตอนของข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างและกรณีไม่เข้าข้อยกเว้นที่จำเลยจะเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยจึงเป็นการเลิกจ้างที่จำเลยจะต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ แต่การที่โจทก์ได้รับคำสั่งจากศูนย์ประกันสังคมเอกชนในนามจำเลยที่ 1 ให้ไปปฎิบัติงานเป็นแพทย์ที่โรงพยาบาลร.แต่โจทก์ก็ไม่ไปปฎิบัติงานตามคำสั่ง เมื่อจำเลยมีหนังสือย้ำให้โจทก์ไปปฎิบัติงานภายในเวลาที่กำหนด โจทก์ก็ไม่ไปปฎิบัติงานตามหน้าที่อีก เช่นนี้ ถือได้ว่าโจทก์ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับในการทำงานของจำเลยทั้งสองโดยไม่ปฎิบัติตามคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลย ทั้งจำเลยได้เตือนเป็นหนังสือแล้ว จึงมีเหตุอันสมควรเพียงพอที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ได้ไม่เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ส่วนลำดับขั้นตอนการลงโทษตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยที่กำหนดให้จำเลยเตือนด้วยวาจาในครั้งแรก และออกหนังสือเตือนอีก 3 ครั้ง จึงจะเลิกจ้างลูกจ้างได้นั้นเมื่อระเบียบดังกล่าวได้ระบุไว้ชัดว่าให้ใช้แก่กรณีเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเท่านั้น ดังนี้จะนำระเบียบนี้มาใช้บังคับแก่กรณีเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 49 ซึ่งมีหลักเกณฑ์การวินิจฉัยแตกต่างจากการเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 และข้อ 47 หาได้ไม่และการที่โจทก์ไม่ไปปฎิบัติงานเป็นการจงใจขัดคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างแล้ว จำเลยจึงมีเหตุที่จะเลิกจ้างโจทก์โดยมิพักต้องบอกกล่าวล่วงหน้า และโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจากจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1243/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานกระทำผิดวินัยร้ายแรง แม้เหตุเกิดนอกสถานที่ทำงาน ศาลยืนตามคำพิพากษาศาลแรงงาน
การที่โจทก์อุทธรณ์ว่า ตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย ห้ามทะเลาะวิวาทและกล่าววาจาที่ไม่สุภาพให้ร้ายต่อเพื่อนร่วมงานหรือผู้บังคับบัญชา ป. เป็นลูกจ้างของ ว. ป. จึงไม่ใช่ลูกจ้างจำเลย และไม่ได้เป็นเพื่อนร่วมงานหรือผู้บังคับบัญชาของโจทก์ การกระทำของโจทก์จึงไม่เป็นการกระทำผิดระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย หากจะถือว่าเป็นการกระทำผิดระเบียบข้อบังคับดังกล่าว ก็ไม่ใช่กรณีร้ายแรงอันจำเลยจะเลิกจ้างได้ทันทีโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยนั้นเมื่อคดีไม่มีประเด็นว่า ป. เป็นลูกจ้างของจำเลยหรือไม่เพราะโจทก์มิได้กล่าวมาในฟ้องและข้อเท็จจริงดังกล่าวเกิดจากคำเบิกความของผู้จัดการฝ่ายบุคคลของจำเลยเป็นข้อเท็จจริงนอกเรื่องนอกประเด็น และไม่เกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่คู่ความจะต้องนำสืบ จึงเป็นข้อเท็จจริงที่ได้มาโดยไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ต้องห้ามมิให้รับฟังตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 การที่จำเลยยกข้อเท็จจริงดังกล่าวเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายที่โจทก์อุทธรณ์ ศาลฎีกาย่อมไม่รับวินิจฉัย ศาลแรงงานวินิจฉัยว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมีสาเหตุมาจาก ป. ทำงานให้แก่จำเลย การกระทำของโจทก์จึงเป็นการผิดวินัยแต่ศาลแรงงานมิได้ชี้ชัดว่า ป. เกี่ยวพันกับจำเลยในฐานะใด เพียงแต่กล่าวว่า ป. ทำงานให้แก่จำเลยแต่เมื่อโจทก์ยอมรับข้อเท็จจริงตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลแรงงานว่า รายงานเหตุการณ์ของแผนก GENERALAFFAIRSถึงผู้จัดการฝ่ายบุคคลของจำเลยตามเอกสารหมาย ล.19 ถูกต้องแล้วดังนั้นเมื่อได้ความตามเอกสารดังกล่าวว่า หลังจากมีการสอบสวนพนักงานทั้งหมดแล้วแผนก GENERALAFFAIRS ได้ตักเตือนพนักงานและได้จัดการเกี่ยวกับการทำงานของพนักงานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้โดยให้ย้ายพนักงานไปทำงานในบริเวณที่ไกลต่อกันและกันเพื่อไม่ให้มีการทะเลาะกันอีก จึงเห็นได้ว่า การที่แผนกธุรการฝ่ายบุคคลของจำเลยสั่งย้ายพนักงานซึ่งมี ป. ลูกจ้างของว. ซึ่งเป็นผู้รับเหมาทำความสะอาดให้จำเลยรวมอยู่ด้วยนั้นถือได้แล้วว่า ป. เป็นเพื่อนร่วมงานของโจทก์เพราะโจทก์มีหน้าที่เป็นคนทำสวนของจำเลย ส่วน ป. เป็นพนักงานของผู้รับเหมาทำความสะอาดในที่ทำการของจำเลย แม้ผู้เป็น นายจ้างของโจทก์กับ ป. จะต่างคนกันก็ตาม แต่เมื่อผลของงานที่แต่ละคนดำเนินการไปนั้นตกได้แก่จำเลยแต่ผู้เดียว ดังนั้นเมื่อโจทก์ทำร้ายร่างกาย ป. จนได้รับอันตรายสาหัสเช่นนี้จึงผิดข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยที่ระบุว่าห้ามทะเลาะวิวาทและกล่าววาจาที่ไม่สุภาพให้ร้ายต่อเพื่อนร่วมงานแล้ว เมื่อสาเหตุที่โจทก์ทำร้ายร่างกาย ป. เนื่องมาจากในระหว่างเวลาทำงาน ขณะ ป. ทำความสะอาดห้องน้ำในโรงงานของจำเลย เป็นเหตุให้น้ำกระเด็นไปถูกเสื้อผ้าของโจทก์ที่ตากไว้เปียกและสกปรก โจทก์ได้ด่าว่า ป. อย่างเสียหายและหลังจากเลิกงานแล้วยังได้ไปดักทำร้ายร่างกาย ป.นอกที่ทำการของบริษัทจำเลยอีก เมื่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นดังกล่าวเป็นเหตุการณ์ที่ต่อเนื่องมาจากการทำงานภายในบริษัทจำเลย กรณีถือได้ว่าเป็นเหตุการณ์เดียวกัน และเมื่อการกระทำของโจทก์เป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับการทำงานกรณีร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(4) จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย และไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 โจทก์จงใจอุทธรณ์บิดเบือนโต้แย้งในข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานรับฟังคำเบิกความของ ช. ว่า ตามระเบียบจำเลยจะจ่ายเงินโบนัสให้แก่พนักงานเฉพาะผู้ที่ทำงานถึงวันกำหนดจ่ายเงินโบนัส เป็นการไม่ชอบ เพราะ ช.เบิกความขัดกับระเบียบข้อบังคับการทำงานของจำเลยตามเอกสารหมาย ล.20 ซึ่งไม่มีการกำหนดจ่ายเงินโบนัสไว้นั้นเมื่อข้อเท็จจริงในสำนวนปรากฏว่า ช. ไม่ได้เบิกความเกี่ยวโยงถึงเอกสารหมาย ล.20 ไว้เช่นนี้ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ในปัญหาข้อนี้ แม้ตามประกาศของจำเลยเรื่องการจ่ายเงินโบนัส ได้ประกาศ ก่อนที่จำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์และข้อความในประกาศกำหนด ว่าจำเลยจะจ่ายเงินโบนัสให้พนักงานทุกคนหลังจากวันที่จำเลย เลิกจ้างโจทก์ก็ตาม คำว่า พนักงาน หมายถึง ผู้ซึ่งมีฐานะเป็นลูกจ้างจำเลยอยู่ในวันกำหนดจ่ายเงินโบนัสเท่านั้นเมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ไปก่อนวันที่จำเลยกำหนดจ่ายเงินโบนัสให้แก่พนักงาน และเมื่อฐานะความเป็นลูกจ้างของโจทก์ย่อมสิ้นไปก่อนถึงวันกำหนดจ่ายเงินโบนัสดังกล่าวแล้วจำเลยจึงไม่ต้องจ่ายเงินโบนัสแก่โจทก์