คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุทิน ปัทมราชวิเชียร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 158 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1977/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าและต่อเติมอาคาร: สิทธิหลังหมดสัญญา
การที่จำเลยออกเงินตกแต่งทำหินขัดพื้นชั้นที่หนึ่งและชั้นที่สอง ทำผนังกั้นห้องต่อเติมทำห้องน้ำชั้นที่สองและต่อเติมพื้นที่ชั้นที่สามครึ่ง เป็นการกระทำเพื่อความสวยงามและเพื่อความสะดวกสบายในการใช้สอยทรัพย์สินที่เช่านั้นหามีลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทนชนิดพิเศษที่จะทำให้จำเลยมีสิทธิยิ่งไปกว่าสัญญาเช่าธรรมดาไม่ เมื่อสัญญาเช่า ครบกำหนดแล้วและโจทก์ไม่ประสงค์ที่จะให้จำเลยเช่าต่อ จำเลยก็ไม่มีสิทธิอยู่ในตึกแถวพิพาทอีกต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1809/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ภาษีและการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคล: ข้อจำกัดการอุทธรณ์และการประเมินภาษี
เจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งการประเมินแก่โจทก์โดยแยกเป็นเรื่องแจ้งการประเมินเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย 1 ฉบับภาษีเงินได้นิติบุคคล 3 ฉบับ ภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย 1 ฉบับ และภาษีการค้า 2 ฉบับ รวมเป็น 7 ฉบับ แต่โจทก์อุทธรณ์คัดค้านการประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์รวมมาในฉบับเดียวกัน โดยข้อความในอุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวล้วนเป็นการโต้แย้งเกี่ยวกับภาษีการค้า ส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคลนั้น โจทก์ได้กล่าวโต้แย้งไว้ในอุทธรณ์แต่เพียงว่า เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ แต่มิได้กล่าวว่าไม่ถูกต้องอย่างไร ทั้งไม่มีข้อความใดที่แสดงให้เห็นว่าโจทก์โต้แย้งคัดค้านการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินเกี่ยวกับรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (3) (9) (13) (18) แห่งป.รัษฎากร จึงต้องถือว่าโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์คัดค้านการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินในประเด็นเรื่องรายจ่ายต้องห้ามต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ แม้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะรับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ในประเด็นนี้ ก็หามีผลให้อุทธรณ์ในประเด็นนี้กลายเป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วยกฎหมายขึ้นมาไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธินำประเด็นนี้มาฟ้องต่อศาล
มาตรา 67 ทวิ แห่ง ป.รัษฎากร บัญญัติขึ้นเพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีก่อนถึงกำหนดเวลายื่นรายการตามมาตรา 68 จึงให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจัดทำประมาณการกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชี แล้วยื่นรายการเพื่อชำระภาษีจากจำนวนกึ่งหนึ่งของประมาณการกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นโดยให้ยื่นชำระภายในสองเดือนนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาหกเดือน นับแต่วันแรกของรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าว และหากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่ยื่นประมาณการหรือแสดงประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นโดยไม่มีเหตุอันสมควรก็จะต้องรับผิดตามมาตรา 67 ตรีซึ่งกำหนดให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ของจำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระตามมาตรา 67 ทวิ หรือของกึ่งหนึ่งของจำนวนเงินภาษีที่ต้องเสียในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น หรือของภาษีที่ชำระขาด แล้วแต่กรณี จึงถือได้ว่าการฝ่าฝืนมาตรา 67 ทวิ ได้มีบทบัญญัติกำหนดความรับผิดไว้โดยเฉพาะแล้วอีกประการหนึ่งมาตรา 67 ทวิ นี้เป็นเรื่องของการประมาณการและหากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่ยื่นประมาณการหรือแสดงประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 เจ้าพนักงานประเมินจะทราบและประเมินให้ชำระภาษีพร้อมเงินเพิ่มได้ทันทีเมื่อบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นยื่นชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลตามแบบภงด.50 เมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีนั้น โดยไม่จำต้องออกหมายเรียกตัวผู้ยื่นรายการมาไต่สวนตรวจสอบดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 19 กรณีจึงมิใช่เรื่องแสดงรายการตามแบบที่ยื่นไม่ถูกต้องและมีการออกหมายเรียกไต่สวนตรวจสอบแล้วจึงประเมินภาษีเพิ่มตามที่ตรวจพบดังที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 19 และมาตรา 20เจ้าพนักงานประเมินจึงไม่มีอำนาจประเมินให้โจทก์เสียเบี้ยปรับตามมาตรา 22

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1809/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษี รายจ่ายต้องห้าม และเบี้ยปรับประมาณการกำไรสุทธิที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
เจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งการประเมินแก่โจทก์โดยแยกเป็นเรื่องแจ้งการประเมินเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หัก ณ ที่จ่าย 1 ฉบับ ภาษีเงินได้นิติบุคคล 3 ฉบับ ภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย 1 ฉบับ และภาษีการค้า 2 ฉบับ รวมเป็น 7 ฉบับ แต่โจทก์อุทธรณ์คัดค้านการประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์รวมมาในฉบับเดียวกัน โดยข้อความ ในอุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวล้วนเป็นการโต้แย้งเกี่ยวกับ ภาษีการค้า ส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและ ภาษีเงินได้นิติบุคคลนั้น โจทก์ได้กล่าวโต้แย้งไว้ในอุทธรณ์ แต่เพียงว่า เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินไม่ถูกต้องตาม หลักเกณฑ์ แต่มิได้กล่าวว่าไม่ถูกต้องอย่างไร ทั้งไม่มี ข้อความใดที่แสดงให้เห็นว่าโจทก์โต้แย้งคัดค้านการประเมิน ของเจ้าพนักงานประเมินเกี่ยวกับรายจ่ายต้องห้ามตาม มาตรา 65 ตรี(3)(9)(13)(18) แห่งประมวลรัษฎากรจึงต้องถือว่าโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์คัดค้านการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินในประเด็นเรื่องรายจ่ายต้องห้ามต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แม้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะรับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ในประเด็นนี้ก็หามีผลให้อุทธรณ์ ในประเด็นนี้กลายเป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วยกฎหมายขึ้นมาไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธินำประเด็นนี้มาฟ้องต่อศาล มาตรา 67 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร บัญญัติขึ้นเพื่อ ประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีก่อนถึงกำหนดเวลายื่นรายการตามมาตรา 68 จึงให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจัดทำประมาณ การกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีแล้วยื่นรายการเพื่อชำระ ภาษีจากจำนวนกึ่งหนึ่งของประมาณการกำไรสุทธิในรอบระยะเวลา บัญชีนั้น โดยให้ยื่นชำระภายในสองเดือนนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาหกเดือน นับแต่วันแรกของรอบระยะเวลาบัญชี ดังกล่าวและหากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่ยื่นประมาณการ หรือแสดงประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25ของกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นโดยไม่มีเหตุอันสมควร ก็จะต้องรับผิดตามมาตรา 67 ตรี ซึ่งกำหนดให้บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ของจำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระตามมาตรา 67 ทวิ หรือ ของกึ่งหนึ่งของจำนวนเงินภาษีที่ต้องเสียในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น หรือของภาษีที่ชำระขาด แล้วแต่กรณีจึงถือได้ว่าการฝ่าฝืน มาตรา 67 ทวิ ได้มีบทบัญญัติกำหนดความรับผิดไว้โดย เฉพาะแล้ว อีกประการหนึ่งมาตรา 67 ทวิ เป็นเรื่องของ การประมาณการและหากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ไม่ยื่นประมาณการหรือแสดงประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกิน ร้อยละ 25 เจ้าพนักงานประเมินจะทราบและประเมินให้ชำระภาษีพร้อมเงินเพิ่มได้ทันทีเมื่อบริษัทหรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นยื่นชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลตามแบบ ภ.ง.ด.50 เมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีนั้น โดยไม่จำต้องออก หมายเรียกตัวผู้ยื่นรายการมาไต่สวนตรวจสอบดังที่บัญญัติ ไว้ในมาตรา 19 กรณีจึงมิใช่เรื่องแสดงรายการตามแบบที่ยื่น ไม่ถูกต้องและมีการออกหมายเรียกไต่สวนตรวจสอบแล้วจึง ประเมินภาษีเพิ่มตามที่ตรวจพบดังที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 19 และมาตรา 20 เจ้าพนักงานประเมินจึงไม่มี อำนาจประเมินให้โจทก์เสียเบี้ยปรับตามมาตรา 22

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1809/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษี: การอุทธรณ์ที่ไม่ชัดเจนในประเด็นรายจ่ายต้องห้าม และการชำระภาษีประมาณการที่ขาดเกิน 25%
เจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งการประเมินแก่โจทก์โดยแยกเป็นเรื่องแจ้งการประเมินเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หัก ณ ที่จ่าย 1 ฉบับ ภาษีเงินได้นิติบุคคล 3 ฉบับภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย 1 ฉบับ และภาษีการค้า2 ฉบับ รวมเป็น 7 ฉบับ แต่โจทก์อุทธรณ์คัดค้านการประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์รวมมาในฉบับเดียวกัน โดยข้อความ ในอุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวล้วนเป็นการโต้แย้งเกี่ยวกับ ภาษีการค้า ส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคลนั้น โจทก์ได้กล่าวโต้แย้งไว้ในอุทธรณ์แต่เพียงว่า เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ แต่มิได้กล่าวว่าไม่ถูกต้องอย่างไรทั้งไม่มีข้อความใดที่แสดงให้เห็นว่าโจทก์โต้แย้งคัดค้านการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินเกี่ยวกับรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (3)(9)(13)(18) แห่งประมวลรัษฎากรจึงต้องถือว่าโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์คัดค้านการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินในประเด็นเรื่องรายจ่ายต้องห้ามต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ แม้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะรับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ในประเด็นนี้ ก็หามีผลให้อุทธรณ์ในประเด็นนี้กลายเป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วยกฎหมายขึ้นมาไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธินำประเด็นนี้มาฟ้องต่อศาล มาตรา 67 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร บัญญัติขึ้นเพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีก่อนถึงกำหนดเวลายื่นรายการตามมาตรา 68 จึงให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจัดทำประมาณการ กำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชี แล้วยื่นรายการเพื่อชำระภาษี จากจำนวนกึ่งหนึ่งของประมาณการกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชี นั้นโดยให้ยื่นชำระภายในสองเดือนนับแต่วันสุดท้ายของ รอบระยะเวลาหกเดือน นับแต่วันแรกของรอบระยะเวลาบัญชี ดังกล่าว และหากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่ยื่น ประมาณการหรือแสดงประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นโดยไม่มีเหตุอันสมควรก็จะต้องรับผิดตามมาตรา 67 ตรี ซึ่งกำหนดให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20ของจำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระตามมาตรา 67 ทวิ หรือของกึ่งหนึ่ง ของจำนวนเงินภาษีที่ต้องเสียในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น หรือของภาษีที่ชำระขาด แล้วแต่กรณี จึงถือได้ว่าการฝ่าฝืนมาตรา 67 ทวิ ได้มีบทบัญญัติกำหนดความรับผิดไว้โดยเฉพาะแล้ว อีกประการหนึ่งมาตรา 67 ทวิ นี้เป็นเรื่องของการประมาณการและหากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่ยื่นประมาณการหรือแสดงประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 เจ้าพนักงานประเมินจะทราบและประเมินให้ชำระภาษีพร้อมเงินเพิ่มได้ทันทีเมื่อบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นยื่นชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลตามแบบ ภงด.50 เมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีนั้นโดยไม่จำต้องออกหมายเรียกตัวผู้ยื่นรายการมาไต่สวนตรวจสอบ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 19 กรณีจึงมิใช่เรื่องแสดงรายการ ตามแบบที่ยื่นไม่ถูกต้องและมีการออกหมายเรียกไต่สวน ตรวจสอบแล้วจึงประเมินภาษีเพิ่มตามที่ตรวจพบดังที่ บัญญัติไว้ใน มาตรา 19 และมาตรา 20 เจ้าพนักงานประเมิน จึงไม่มีอำนาจประเมินให้โจทก์เสียเบี้ยปรับตามมาตรา 22

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1598/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องไล่เบี้ยประกันภัย: ความแตกต่างระหว่างบุคคลภายนอกผู้ก่อเหตุ กับผู้รับประกันภัยด้วยกัน
เมื่อโจทก์ได้บรรยายฟ้องด้วยว่า โจทก์ได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนเป็นค่ารักษาพยาบาลเบื้องต้นตามกฎหมายให้แก่ผู้บาดเจ็บ หรือผู้เอาประกันภัยไปแล้วโจทก์จึงอยู่ในฐานะผู้รับช่วงสิทธิใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยในฐานะผู้รับประกันภัยรถยนต์คันที่ก่อให้เกิดความเสียหายได้ คำฟ้องของโจทก์จึงมิได้จำกัดเฉพาะการฟ้องเรียกค่ารักษาพยาบาลตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ดังนี้ จึงชอบที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จะหยิบยกบทบัญญัติในเรื่องอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 882 ขึ้นวินิจฉัยได้ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535มาตรา 31 มีความหมายว่า ถ้าบริษัทผู้รับประกันภัย ได้จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยไปแล้ว บริษัทมีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่บุคคลภายนอก เจ้าของรถ ผู้ขับขี่รถ ผู้ซึ่งอยู่ในรถหรือผู้ประสบภัย ซึ่งเป็น ผู้ก่อให้เกิดความเสียหายได้ภายในกำหนดอายุความ 1 ปีนับแต่วันที่ได้จ่ายเงินค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยแต่อายุความ 1 ปี ดังกล่าวมิได้หมายความรวมถึงการฟ้องไล่เบี้ยเอาแก่บริษัทผู้รับประกันภัยรถคันที่ก่อให้เกิดความเสียหายด้วยเมื่อจำเลยเป็นบริษัทผู้รับประกันภัยรถคันที่ก่อให้เกิดความเสียหายมิใช่เป็นบุคคลภายนอกผู้ก่อให้เกิดความเสียหายในเหตุที่ รถชนกันแล้ว กรณีจึงไม่อาจนำอายุความ 1 ปี ตามมาตรา 31 วรรคสอง ดังกล่าวมาใช้บังคับ หากแต่เป็นเรื่องที่ผู้รับประกันภัย ฟ้องไล่เบี้ยเรียกค่าเสียหายเอาจากผู้รับประกันภัยด้วยกัน ต้องใช้อายุความ 2 ปี ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 882 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1598/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องไล่เบี้ยประกันภัย: การแยกแยะระหว่างการฟ้องบุคคลภายนอกกับบริษัทประกันภัยด้วยกัน
เมื่อโจทก์ได้บรรยายฟ้องด้วยว่า โจทก์ได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนเป็นค่ารักษาพยาบาลเบื้องต้นตามกฎหมายให้แก่ผู้บาดเจ็บหรือผู้เอาประกันภัยไปแล้วโจทก์จึงอยู่ในฐานะผู้รับช่วงสิทธิใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยในฐานะผู้รับประกันภัยรถยนต์คันที่ก่อให้เกิดความเสียหายได้ คำฟ้องของโจทก์จึงมิได้จำกัดเฉพาะการฟ้องเรียกค่ารักษาพยาบาลตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 ดังนี้จึงชอบที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จะหยิบยกบทบัญญัติในเรื่องอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 882 ขึ้นวินิจฉัยได้
พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 มาตรา 31มีความหมายว่า ถ้าบริษัทผู้รับประกันภัยได้จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยไปแล้ว บริษัทมีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่บุคคลภายนอก เจ้าของรถ ผู้ขับขี่รถ ผู้ซึ่งอยู่ในรถหรือผู้ประสบภัย ซึ่งเป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหายได้ภายในกำหนดอายุความ 1 ปีนับแต่วันที่ได้จ่ายเงินค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัย แต่อายุความ 1 ปี ดังกล่าวมิได้หมายความรวมถึงการฟ้องไล่เบี้ยเอาแก่บริษัทผู้รับประกันภัยรถคันที่ก่อให้เกิดความเสียหายด้วย เมื่อจำเลยเป็นบริษัทผู้รับประกันภัยรถคันที่ก่อให้เกิดความเสียหายมิใช่เป็นบุคคลภายนอกผู้ก่อให้เกิดความเสียหายในเหตุที่รถชนกันแล้ว กรณีจึงไม่อาจนำอายุความ 1 ปี ตามมาตรา 31 วรรคสอง ดังกล่าวมาใช้บังคับ หากแต่เป็นเรื่องที่ผู้รับประกันภัยฟ้องไล่เบี้ยเรียกค่าเสียหายเอาจากผู้รับประกันภัยด้วยกันต้องใช้อายุความ 2 ปี ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 882 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1598/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องไล่เบี้ยประกันภัย: ความแตกต่างระหว่างบุคคลภายนอกผู้ก่อเหตุกับบริษัทประกันภัยคู่กรณี
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อโจทก์ได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนเป็นค่ารักษาพยาบาลเบื้องต้นตามกฎหมายให้แก่ผู้บาดเจ็บหรือผู้เอาประกันภัยไปแล้ว โจทก์จึงอยู่ในฐานะผู้รับช่วงสิทธิใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยในฐานะผู้รับประกันภัยรถยนต์คันที่ก่อให้เกิดความเสียหาย คำฟ้องของโจทก์จึงมิได้จำกัดเฉพาะ การฟ้องเรียกค่ารักษาพยาบาลตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 เท่านั้น ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535มาตรา 31 มีความหมายว่า ถ้าบริษัทผู้รับประกันภัยได้จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยไปแล้ว บริษัทมีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่บุคคลภายนอก เจ้าของรถ ผู้ขับขี่รถผู้ซึ่งอยู่ในรถหรือผู้ประสบภัยซึ่งเป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหายได้ภายในกำหนดอายุความ 1 ปี นับแต่วันที่ได้จ่ายเงินค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัย แต่อายุความ 1 ปี ดังกล่าวมิได้หมายรวมถึงการฟ้องไล่เบี้ยเอาแก่ บริษัทผู้รับประกันภัยรถคันที่ก่อให้เกิดความเสียหายด้วย ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าจำเลยเป็นบริษัทผู้รับประกันภัย รถคันที่ก่อให้เกิดความเสียหาย มิใช่เป็นบุคคลภายนอก ผู้ก่อให้เกิดความเสียหายในเหตุที่รถชนกันแล้ว กรณีจึง ไม่อาจนำอายุความ 1 ปี ตามมาตรา 31 วรรคสอง ดังกล่าว มาใช้บังคับ หากแต่เป็นเรื่องที่ผู้รับประกันภัยฟ้องไล่เบี้ยเรียกค่าเสียหายเอาจากผู้รับประกันภัยด้วยกัน ต้องใช้ อายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 882 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1598/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกค่าเสียหายจากประกันภัย: ประกันภัยกับประกันภัย vs. ประกันภัยกับบุคคลภายนอก
โจทก์ได้บรรยายฟ้องด้วยว่า เมื่อโจทก์ได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนเป็นค่ารักษาพยาบาลเบื้องต้นตามกฎหมายให้แก่ผู้บาดเจ็บหรือผู้เอาประกันภัยไปแล้ว โจทก์จึงอยู่ในฐานะผู้รับช่วงสิทธิใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยในฐานะผู้รับประกันภัยรถยนต์คันที่ก่อให้เกิดความเสียหายได้ คำฟ้องของโจทก์จึงมิได้จำกัดเฉพาะการฟ้องเรียกค่ารักษาพยาบาล ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535เท่านั้น ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จึงหยิบยกบทบัญญัติในเรื่องอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 882 ขึ้นวินิจฉัยได้ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535มาตรา 31 ซึ่งใช้บังคับในขณะเกิดเหตุ มีความหมายว่าถ้าบริษัทผู้รับประกันภัยได้จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยไปแล้ว บริษัทมีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่บุคคลภายนอกเจ้าของรถ ผู้ขับขี่รถ ผู้ซึ่งอยู่ในรถหรือผู้ประสบภัยซึ่งเป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหายได้ภายในกำหนดอายุความ 1 ปี นับแต่วันที่ได้จ่ายเงินค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัย แต่อายุความ 1 ปี ดังกล่าวมิได้ หมายความรวมถึง การฟ้องไล่เบี้ยเอาแก่บริษัทผู้รับประกันภัยรถคันที่ก่อ ให้เกิดความเสียหายด้วย เมื่อจำเลยเป็นบริษัทผู้รับประกันภัย รถคันที่ก่อให้เกิดความเสียหาย มิใช่เป็นบุคคลภายนอก ผู้ก่อให้เกิดความเสียหายในเหตุที่รถชนกันแล้ว กรณีจึง ไม่อาจนำอายุความ 1 ปี ตามมาตรา 31 วรรคสอง ดังกล่าวมาใช้บังคับ หากแต่เป็นเรื่องที่ผู้รับประกันภัย ฟ้องไล่เบี้ยเรียกค่าเสียหายเอาจากผู้รับประกันภัยด้วยกัน ต้องใช้อายุความ 2 ปี ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 882 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1510/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการอุทธรณ์ฎีกาเรื่องฟ้องเคลือบคลุม & ผลของการผิดนัดสัญญาจำนอง
จำเลยยกข้อต่อสู้ในคำให้การว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุม แต่จำเลยมิได้บรรยายว่าสภาพแห่งข้อหาในคำฟ้องของโจทก์ข้อใดที่เคลือบคลุมไม่ชัดแจ้งอย่างไรคำให้การของจำเลยจึงแสดงเหตุโดยไม่ชัดแจ้ง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 177 วรรคสองทั้งศาลชั้นต้นก็มิได้กำหนดประเด็นว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ ดังนี้ ปัญหาว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นโดยชอบจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ฎีกาในปัญหานี้
การที่จำเลยผู้จำนองทำหนังสือมอบอำนาจโดยจำเลยยอมโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างซึ่งเป็นทรัพย์จำนองให้แก่โจทก์ หากจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้อันเป็นการฝ่าฝืน ป.พ.พ. มาตรา 711 ย่อมมีผลเพียงทำให้ข้อตกลงดังกล่าวนั้นไม่สมบูรณ์ โดยโจทก์จะบังคับหรือปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าวไม่ได้เท่านั้น แต่หามีผลทำให้นิติกรรมการจดทะเบียนจำนองระหว่างโจทก์กับจำเลยในส่วนอื่นที่กระทำโดยชอบต้องเสียไปไม่ สัญญาจำนองระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงยังมีผลใช้บังคับได้ เมื่อจำเลยยังมิได้ชำระหนี้และจดทะเบียนไถ่ถอนจำนอง โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1510/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจำนองยังใช้บังคับได้ แม้มีข้อตกลงโอนกรรมสิทธิ์ที่ไม่สมบูรณ์
การที่จำเลยผู้จำนองและโจทก์ผู้รับจำนองได้ทำหนังสือมอบอำนาจ โดยจำเลยยอมโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างซึ่งเป็นทรัพย์จำนอง ให้แก่โจทก์เมื่อจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้อันเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 711 นั้น ย่อมมีผลเพียงทำให้ข้อตกลงดังกล่าวไม่สมบูรณ์โดยโจทก์จะบังคับหรือ ปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าวไม่ได้เท่านั้น หามีผลทำให้นิติกรรม การจดทะเบียนจำนองระหว่างโจทก์กับจำเลยในส่วนอื่น ที่กระทำโดยชอบต้องเสียไปหรือไม่สมบูรณ์แต่อย่างใด เมื่อปรากฏว่า จำเลยยังมิได้ชำระหนี้และจดทะเบียนไถ่ถอนจำนอง สัญญาจำนอง ระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงยังมีผลใช้บังคับได้ โจทก์ย่อมมี อำนาจฟ้องจำเลย
of 16