พบผลลัพธ์ทั้งหมด 158 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1510/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องเคลือบคลุม-อำนาจฟ้อง: จำเลยต้องยกประเด็นชัดเจน ศาลยึดสัญญาจำนองเดิมแม้มีข้อตกลงโอน
จำเลยยกข้อต่อสู้ในคำให้การว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมแต่จำเลยมิได้บรรยายว่าสภาพแห่งข้อหาในคำฟ้องของโจทก์ข้อใดที่เคลือบคลุมไม่ชัดแจ้งอย่างไรคำให้การของจำเลยจึงแสดงเหตุโดยไม่ชัดแจ้ง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสองทั้งศาลชั้นต้นก็มิได้กำหนดประเด็นว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ ดังนี้ ปัญหาว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นโดยชอบจึงต้องห้าม มิให้อุทธรณ์ฎีกาในปัญหานี้ การที่จำเลยผู้จำนองทำหนังสือมอบอำนาจโดยจำเลยยอมโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างซึ่งเป็นทรัพย์จำนองให้แก่โจทก์ หากจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้อันเป็นการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 711 ย่อมมีผลเพียง ทำให้ข้อตกลงดังกล่าวนั้นไม่สมบูรณ์ โดยโจทก์จะบังคับหรือ ปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าวไม่ได้เท่านั้น แต่หามีผล ทำให้นิติกรรมการจดทะเบียนจำนองระหว่างโจทก์กับจำเลย ในส่วนอื่นที่กระทำโดยชอบต้องเสียไปไม่ สัญญาจำนองระหว่าง โจทก์กับจำเลยจึงยังมีผลใช้บังคับได้ เมื่อจำเลยยังมิได้ ชำระหนี้และจดทะเบียนไถ่ถอนจำนอง โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1503/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประนีประนอมยอมความในคดีเช็ค การสละสิทธิฟ้องอาญา และผลกระทบต่ออำนาจฟ้อง
บันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลย มีข้อความว่าโจทก์ตกลงให้จำเลยผ่อนชำระหนี้เป็นงวด ๆ โดยจ่ายเป็นเช็คจำนวน 7 ฉบับ เพื่อชำระหนี้แทนเช็คพิพาท ดังนี้ข้อความดังกล่าวจึงเป็นการระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นจากธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาทโดยโจทก์ยอมผ่อนผันให้จำเลยผ่อนชำระหนี้ถือได้ว่าเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 แล้ว และการที่โจทก์นำเช็คที่จำเลยออกให้ใหม่ตามข้อตกลงดังกล่าวที่ถึงกำหนดไปเรียกเก็บเงิน แสดงว่าโจทก์เจตนาเข้าถือสิทธิตามเช็คฉบับใหม่และสละสิทธิที่จะดำเนินคดีอาญากับจำเลยตามเช็คพิพาทแล้ว มิฉะนั้นจะกลายเป็นว่า โจทก์มีสิทธิที่จะดำเนินคดีอาญากับจำเลยตามเช็คพิพาทและตามเช็คฉบับใหม่ซึ่งต่างเป็นเช็คที่ชำระหนี้รายเดียวกัน ส่วนที่โจทก์ยังคงเก็บเช็คพิพาทไว้ก็ไม่อาจตีความได้ว่าโจทก์ยังคงติดใจดำเนินคดีอาญาตามเช็คพิพาทต่อจำเลยแต่อย่างใด กรณีถือได้ว่ามีการยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมายสำหรับเช็คพิพาทแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2)โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1503/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประนีประนอมยอมความในคดีเช็ค: การสละสิทธิฟ้องอาญาจากการรับเช็คชำระหนี้ใหม่
ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยมีว่า โจทก์ตกลงให้จำเลยผ่อนชำระหนี้เป็นงวด ๆ โดยจ่ายเป็นเช็คจำนวน 7 ฉบับ เพื่อชำระหนี้แทนเช็คพิพาทดังนี้ข้อความดังกล่าวจึงเป็นการระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นจากธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาทโดยโจทก์ยอมผ่อนผันให้จำเลยผ่อนชำระหนี้ถือได้ว่าเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 แล้วและการที่โจทก์นำเช็คที่จำเลยออกให้ใหม่ตามข้อตกลงดังกล่าวที่ถึงกำหนดไปเรียกเก็บเงิน แสดงว่าโจทก์เจตนาเข้าถือสิทธิตามเช็คฉบับใหม่และสละสิทธิที่จะดำเนินคดีอาญากับจำเลยตามเช็คพิพาทแล้วมิฉะนั้นจะกลายเป็นว่า โจทก์มีสิทธิที่จะดำเนินคดีอาญากับ จำเลยตามเช็คพิพาทและตามเช็คฉบับใหม่ซึ่งต่างเป็นเช็คที่ชำระหนี้รายเดียวกันส่วนที่โจทก์ยังคงเก็บเช็คพิพาทไว้ก็ไม่อาจตีความได้ว่าโจทก์ยังคงติดใจดำเนินคดีอาญาตามเช็คพิพาทต่อจำเลยแต่อย่างใด กรณีถือได้ว่ามีการยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมายสำหรับเช็คพิพาทแล้วสิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2)โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1503/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประนีประนอมยอมความและผลกระทบต่อการฟ้องคดีอาญาเช็ค
ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลย มีข้อความว่า โจทก์ตกลงให้จำเลยผ่อนชำระหนี้เป็นงวด ๆ โดยจ่ายเป็นเช็คจำนวน 7 ฉบับ เพื่อชำระหนี้แทนเช็คพิพาท ดังนี้ข้อความดังกล่าวจึงเป็นการระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นจากธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาทโดยโจทก์ยอมผ่อนผันให้จำเลยผ่อนชำระหนี้ ถือได้ว่าเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ.มาตรา 850 แล้ว และการที่โจทก์นำเช็คที่จำเลยออกให้ใหม่ตามข้อตกลงดังกล่าวที่ถึงกำหนดไปเรียกเก็บเงิน แสดงว่าโจทก์เจตนาเข้าถือสิทธิตามเช็คฉบับใหม่และสละสิทธิที่จะดำเนินคดีอาญากับจำเลยตามเช็คพิพาทแล้ว มิฉะนั้นจะกลายเป็นว่า โจทก์มีสิทธิที่จะดำเนินคดีอาญากับจำเลยตามเช็คพิพาทและตามเช็คฉบับใหม่ซึ่งต่างเป็นเช็คที่ชำระหนี้รายเดียวกัน ส่วนที่โจทก์ยังคงเก็บเช็คพิพาทไว้ก็ไม่อาจตีความได้ว่าโจทก์ยังคงติดใจดำเนินคดีอาญาตามเช็คพิพาทต่อจำเลยแต่อย่างใด กรณีถือได้ว่ามีการยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมายสำหรับเช็คพิพาทแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 (2)โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1209/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างโดยเจตนาลวง และสิทธิในการเรียกร้องค่าเสียหายจากการครอบครอง
คำฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องขอให้เพิกถอนนิติกรรมอำพรางระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และให้จำเลยที่ 1 โอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างคืนโจทก์กับให้ใช้ค่าเสียหาย คำฟ้องของ โจทก์เป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ไม่เกี่ยวกับ จำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 จึงไม่มีนิติสัมพันธ์กับโจทก์โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้ ต่อสู้ในประเด็นนี้ แต่ปัญหาอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับ ความสงบเรียบร้อยและศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นว่ากล่าวเองได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ราคาที่ดินพร้อมอาคารสโมสรและสระว่ายน้ำพิพาทประมาณ 8,710,000 บาท ไม่น่าเชื่อว่าโจทก์จะยอมขายให้จำเลยที่ 1 ในราคาเพียง 5,350,000 บาท ภายหลังซื้อขายที่ดินและทรัพย์พิพาทแล้วยังปรากฏว่าโจทก์เป็นผู้เก็บผลประโยชน์โดยจำเลยที่ 1 ไม่ได้ทำสัญญาให้โจทก์เช่าเป็นเวลา 3 ปีครึ่งต่อมาภายหลังจำเลยที่ 1 เข้าเก็บเกี่ยวผลประโยชน์เองกลับปรากฏว่าจำเลยที่ 1 แบ่งผลประโยชน์ให้แก่โจทก์เดือนละ 12,000 บาท ทุกเดือน ประกอบกับ ก. บุตรของจำเลยที่ 1 เคยเบิกความในชั้นขอคุ้มครองชั่วคราว ก่อนพิพากษาว่า โจทก์โอนที่ดินและอาคารสโมสรฝากจำเลยที่ 1ไว้ โดยไม่มีการซื้อขายกันจริง แสดงให้เห็นว่าการซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นการแสดงเจตนาลวงไม่มี ความประสงค์ให้ผูกพันกัน จึงใช้บังคับระหว่างกันไม่ได้ที่ดินและอาคารพิพาทจึงยังเป็นของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1004/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิ้นสุดคดีแล้ว โต้แย้งขัดรัฐธรรมนูญไม่ได้ ศาลไม่ต้องส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540มาตรา 264 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ศาลส่งความเห็นไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยในกรณีที่ศาลเห็นเอง หรือในกรณีที่คู่ความโต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้นต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 6 แห่งรัฐธรรมนูญ ก็ต่อเมื่อศาลดังกล่าวจะใช้บทกฎหมายนั้นบังคับแก่คดีที่อยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลนั้น และยังไม่มีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในส่วนที่เกี่ยวกับบทบัญญัตินั้น ดังนั้น หากคดีดังกล่าวได้เสร็จสิ้นถึงที่สุดไปแล้ว ศาลหรือบุคคลใดจะกล่าวอ้างว่ากฎหมายขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญและจะส่งเรื่องหรือขอให้ศาลนั้นส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยหาได้ไม่ ข้อโต้แย้งของโจทก์ที่ว่าประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 220 ที่ศาลชั้นต้นและศาลฎีกาได้ใช้เป็นหลักในการสั่งไม่รับฎีกาของโจทก์ไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยว่าเป็นบทบัญญัติที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 มาตรา 26,27,28 และ 272 หรือไม่นั้นศาลฎีกาได้มีคำสั่งยืนตามคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับฎีกาของโจทก์ และศาลชั้นต้นได้อ่านคำสั่งคำร้อง ของ ศาลฎีกาดังกล่าวให้คู่ความฟังแล้ว จึงต้องถือว่าคดีระหว่างโจทก์และจำเลยได้เสร็จสิ้นถึงที่สุดไปแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิโต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ใช้บังคับในคดีนั้นขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญได้อีกต่อไป หากโจทก์ประสงค์จะโต้แย้งว่าประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220 ข้อหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ โจทก์ชอบที่จะโต้แย้งก่อนที่ศาลฎีกาจะมีคำสั่งดังกล่าว อีกทั้งขณะที่คดีนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยในคดีอื่นแล้วว่าประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540มาตรา 26,27,28 และ 272 ซึ่งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าวใช้ได้ในคดีทั้งปวงตามมาตรา 264 วรรคสาม กรณีที่โจทก์ร้องขอจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 มาตรา 264 ศาลจึงไม่จำต้องส่งข้อโต้แย้งของโจทก์ไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1004/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิ้นสุดคดีแล้ว โต้แย้งกฎหมายขัดรัฐธรรมนูญไม่ได้ ศาลไม่ต้องส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา264 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ศาลส่งความเห็นไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยในกรณีที่ศาลเห็นเอง หรือในกรณีที่คู่ความโต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้นต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 6 แห่งรัฐธรรมนูญ ก็ต่อเมื่อศาลดังกล่าวจะใช้บทกฎหมายนั้นบังคับแก่คดีที่อยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลนั้น และยังไม่มีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในส่วนที่เกี่ยวกับบทบัญญัตินั้น ดังนั้น หากคดีดังกล่าวได้เสร็จสิ้นถึงที่สุดไปแล้ว ศาลหรือบุคคลใดจะกล่าวอ้างว่ากฎหมายขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญและจะส่งเรื่องหรือขอให้ศาลนั้นส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยหาได้ไม่
ข้อโต้แย้งของโจทก์ที่ว่า ป.วิ.อ.มาตรา 220 ที่ศาลชั้นต้นและศาลฎีกาได้ใช้เป็นหลักในการสั่งไม่รับฎีกาของโจทก์ไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยว่าเป็นบทบัญญัติที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช2540 มาตรา 26, 27, 28 และ 272 หรือไม่นั้น ศาลฎีกาได้มีคำสั่งยืนตามคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับฎีกาของโจทก์ และศาลชั้นต้นได้อ่านคำสั่งคำร้องของศาลฎีกาดังกล่าวให้คู่ความฟังแล้ว จึงต้องถือว่าคดีระหว่างโจทก์และจำเลยได้เสร็จสิ้นถึงที่สุดไปแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิโต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ใช้บังคับในคดีนั้นขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญได้อีกต่อไป หากโจทก์ประสงค์จะโต้แย้งว่า ป.วิ.อ.มาตรา 220 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ โจทก์ชอบที่จะโต้แย้งก่อนที่ศาลฎีกาจะมีคำสั่งดังกล่าว อีกทั้งขณะที่คดีนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยในคดีอื่นแล้วว่า ป.วิ.อ.มาตรา 220 ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 มาตรา 26, 27, 28 และ 272 ซึ่งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าวใช้ได้ในคดีทั้งปวงตามมาตรา 264 วรรคสาม กรณีที่โจทก์ร้องขอจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 264 ศาลจึงไม่จำต้องส่งข้อโต้แย้งของโจทก์ไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยอีก
ข้อโต้แย้งของโจทก์ที่ว่า ป.วิ.อ.มาตรา 220 ที่ศาลชั้นต้นและศาลฎีกาได้ใช้เป็นหลักในการสั่งไม่รับฎีกาของโจทก์ไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยว่าเป็นบทบัญญัติที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช2540 มาตรา 26, 27, 28 และ 272 หรือไม่นั้น ศาลฎีกาได้มีคำสั่งยืนตามคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับฎีกาของโจทก์ และศาลชั้นต้นได้อ่านคำสั่งคำร้องของศาลฎีกาดังกล่าวให้คู่ความฟังแล้ว จึงต้องถือว่าคดีระหว่างโจทก์และจำเลยได้เสร็จสิ้นถึงที่สุดไปแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิโต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ใช้บังคับในคดีนั้นขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญได้อีกต่อไป หากโจทก์ประสงค์จะโต้แย้งว่า ป.วิ.อ.มาตรา 220 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ โจทก์ชอบที่จะโต้แย้งก่อนที่ศาลฎีกาจะมีคำสั่งดังกล่าว อีกทั้งขณะที่คดีนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยในคดีอื่นแล้วว่า ป.วิ.อ.มาตรา 220 ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 มาตรา 26, 27, 28 และ 272 ซึ่งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าวใช้ได้ในคดีทั้งปวงตามมาตรา 264 วรรคสาม กรณีที่โจทก์ร้องขอจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 264 ศาลจึงไม่จำต้องส่งข้อโต้แย้งของโจทก์ไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1004/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิ้นสุดคดีแล้ว ไม่อาจอ้างขัดรัฐธรรมนูญได้ ศาลฎีกาไม่ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540มาตรา 264 วรรคหนึ่ง เป็นบทบัญญัติให้ศาลส่งความเห็น ไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยในกรณีที่ศาลเห็นเอง หรือในกรณีที่คู่ความโต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้น ต้องด้วยมาตรา 6 แห่งรัฐธรรมนูญฯ ก็ต่อเมื่อศาลดังกล่าว จะใช้บทกฎหมายนั้นบังคับแก่คดีที่อยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลนั้นและยังไม่มีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในส่วนที่ เกี่ยวกับบทบัญญัตินั้น ดังนั้น หากคดีดังกล่าวได้เสร็จสิ้นถึงที่สุดไปแล้ว ศาลหรือบุคคลใดจะกล่าวอ้างว่ากฎหมายขัดหรือ แย้งต่อรัฐธรรมนูญและจะส่งเรื่องหรือขอให้ศาลนั้นส่งเรื่อง ไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยหาได้ไม่ เมื่อคดีนี้ ศาลฎีกาได้มีคำสั่งยืนตามคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับฎีกา ของโจทก์และศาลชั้นต้นได้อ่านคำสั่งนั้นให้คู่ความฟังแล้ว จึงต้องถือว่าคดีระหว่างโจทก์และจำเลยได้เสร็จสิ้นถึงที่สุด ไปแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิโต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ที่ใช้บังคับในคดีนั้นขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญฯ ได้อีกต่อไป หากโจทก์ประสงค์จะโต้แย้งว่าประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญฯ โจทก์ชอบที่จะ โต้แย้งก่อนที่ศาลฎีกาจะมีคำสั่งดังกล่าว การที่โจทก์ฎีกาโต้แย้งว่า มาตรา 264 แห่งรัฐธรรมนูญฯควรใช้บังคับกับกฎหมายสารบัญญัติซึ่งเป็นแก่น แท้ของคดีที่ฟ้อง ส่วนกฎหมายวิธีสบัญญัติเป็นคำสั่งเรื่องวิธีพิจารณาและเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนอันทำให้กฎหมายสารบัญญัติที่พิพาทกันต้องยุติลงโดยไม่ชอบ เพราะคดีไม่ได้ขึ้นไปสู่ศาลฎีกา และการไม่ชอบเช่นนี้มีรัฐธรรมนูญฯมาตรา 26,27,28 รองรับให้คำสั่งที่ทำให้คดีต้องยุติโดยไม่ชอบนั้นดำเนินต่อไปได้โดยต้องส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญ เป็นผู้วินิจฉัยนั้น ถือเป็นเพียงความเห็นของโจทก์ ถ้อยคำในรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 264 หาได้มีความหมายดังที่ โจทก์ฎีกาไม่ประกอบกับขณะคดีนี้อยู่ระหว่างการพิจารณา ของศาลฎีกา ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยในคดีอื่นแล้วว่า ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220 ไม่ขัดหรือแย้ง ต่อรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 26,27,28 และ 272 ซึ่งคำวินิจฉัย ของศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าวใช้ได้ในคดีทั้งปวงตามมาตรา 264 วรรคสาม กรณีของโจทก์จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 264
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 539/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิขอคืนรถจักรยานยนต์ของผู้ให้เช่าซื้อเมื่อผู้เช่าซื้อนำไปใช้กระทำผิด โดยผู้ให้เช่าซื้อมิได้รู้เห็นเป็นใจ
การที่มีบุคคลเอารถจักรยานยนต์ของผู้ร้องไปกระทำผิดผู้ร้องย่อมไม่อาจทราบได้ทั้งโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานมาสืบให้เห็นว่าผู้ร้องรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดอย่างใด นอกจากนี้ผู้ร้องยังได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อไปยัง บ. ผู้เช่าซื้อหลังจากที่จำเลยที่ 2 ได้นำรถจักรยานยนต์ของกลางไปใช้ในการกระทำผิด จึงน่าเชื่อว่าผู้ร้องไม่ได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดและใช้สิทธิขอคืนรถจักรยานยนต์ของกลาง ผู้ร้องจึงมีสิทธิขอ รถจักรยานยนต์ของกลางคืน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 355/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รอการลงโทษคดีค้าประเวณี: พฤติการณ์ผู้ต้องหาไม่สำนึกผิด, มีประวัติอาชญากรรม, และมีแนวโน้มกระทำผิดซ้ำ
จำเลยกระทำความผิดฐานเป็นเจ้าของกิจการและสถานการค้าประเวณี และฐานเป็นธุระจัดหาซึ่งบุคคลใดเพื่อให้บุคคลนั้นกระทำการค้าประเวณี อันเป็นความผิดสองกรรมและจากรายงานการสืบเสาะและพินิจของพนักงานคุมประพฤติปรากฏว่าจำเลยยังเป็นเจ้าของสถานที่ในลักษณะเดียวกันกับสถานที่ในคดีนี้อีกแห่งหนึ่ง โดยมีการแบ่งเป็นห้องเล็ก ๆ ภายในไว้สำหรับบริการทางเพศแสดงว่าจำเลยมิได้รู้สึกยำเกรงต่อกฎหมายบ้านเมืองนอกจากนี้จำเลยยังมีนิสัยและความประพฤติเป็นนักเลงอันธพาลและพกพาอาวุธปืน มีเรื่องทะเลาะวิวาทกับผู้อื่นมาหลายครั้งซึ่งจำเลยทราบรายงานดังกล่าวก็มิได้คัดค้านและพนักงานคุมประพฤติเห็นว่าการใช้วิธีคุมประพฤติน่าจะไม่ได้ผลกับจำเลย ตามพฤติการณ์แห่งคดีประกอบกับความประพฤติของจำเลยจึงไม่สมควรที่จะรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลย