พบผลลัพธ์ทั้งหมด 158 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 262/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ยักยอกทรัพย์โดยอาศัยความไว้วางใจจากนายจ้าง แม้จะบรรเทาผลร้าย แต่เจตนาไม่จริงใจ ศาลฎีกายืนโทษ
จำเลยกระทำความผิดฐานยักยอก แม้จะเป็นความผิดที่ไม่ร้ายแรงนักและเป็นความผิดอันยอมความได้ แต่ได้กระทำโดยอาศัยโอกาสที่จำเลยได้รับมอบหมายหน้าที่และความไว้วางใจจากผู้เสียหายซึ่งเป็นนายจ้างของจำเลยให้เป็นผู้เก็บเงินจากลูกค้า อันเป็นการกระทำที่ไม่สมควรอย่างยิ่ง หลังจากที่จำเลยกระทำผิดและถูกจับมาดำเนินคดี จนศาลพิพากษาลงโทษ จำเลยก็หาได้บรรเทาผลร้ายให้แก่ผู้เสียหายไม่ การที่จำเลยนำเงิน 9,360 บาทไปวางไว้ที่สำนักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ ก็เป็นการกระทำหลังจากที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีคำพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้ลงโทษจำเลยแล้ว การวางทรัพย์ของจำเลยจึงมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะได้รับการรอการลงโทษจากศาลฎีกาเท่านั้นหาใช่มีเจตนาแท้จริงที่จะบรรเทาผลร้ายให้แก่ผู้เสียหายไม่ อีกทั้งผู้เสียหายก็ยังติดใจดำเนินคดีต่อจำเลยอยู่ กรณีจึงยังไม่มีเหตุสมควรรอการลงโทษให้จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 24/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทนายความละเลยหน้าที่ ชดใช้ค่าเสียหาย - การใช้ดุลพินิจที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อลูกความ
โจทก์แต่งตั้งจำเลยเป็นทนายความ จำเลยมีอำนาจว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ แทนโจทก์ได้ตามที่เห็นสมควรเพื่อรักษาผลประโยชน์ของโจทก์ การที่จะซักค้านพยานโจทก์ปากใดหรือไม่ หรือสมควรนำพยานปากใด เข้าสืบหรือไม่ย่อมอยู่ในดุลพินิจของจำเลย แต่การ ใช้ดุลพินิจนั้นจะต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่โจทก์ การที่จำเลยมอบอำนาจให้เสมียนทนายไปเลื่อนคดี หลังจากที่มีการสืบพยานปากนาย อ. เสร็จแล้วจนเป็นเหตุให้ศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนคดี ทำให้ไม่มีโอกาสซักค้านพยานปากดังกล่าวก็ดี การที่จำเลยไม่นำตัวโจทก์เข้าเบิกความทั้ง ๆ ที่โจทก์แสดงเจตนาว่าจะเข้าเบิกความก็ดี การที่จำเลยไม่แจ้งวันนัดเดินเผชิญสืบรวมทั้งวันนัดฟังคำพิพากษาให้โจทก์ทราบ และไม่ใส่ใจไปฟังคำพิพากษาด้วยตนเองหรือมอบฉันทะให้ผู้อื่นไปฟังแทนก็ดี การไม่อุทธรณ์ คำพิพากษาโดยมิได้ปรึกษาโจทก์ หรือแจ้งให้โจทก์ ทราบถึงเหตุผลที่ไม่ควรอุทธรณ์ก็ดีล้วนแต่เป็นการ ใช้ดุลพินิจที่ปราศจากเหตุผล มีแต่จะก่อให้เกิดความเสียหาย แก่โจทก์ พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยละเลยต่อหน้าที่ ที่จะต้องปฏิบัติและเป็นการผิดสัญญาจ้างว่าความ จำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ จำเลยได้ทำหน้าที่ทนายความให้โจทก์ในศาลชั้นต้นเป็นส่วนใหญ่แล้ว โจทก์จึงต้องใช้ค่าแห่งการงานที่จำเลยทำให้โจทก์ด้วยการใช้เงินตามควรแห่งการนั้น การที่ศาลอุทธรณ์ให้โจทก์ใช้ค่าทนายความในส่วนนี้ให้แก่จำเลยจำนวน 10,000 บาท และให้จำเลยคืนค่าทนายความที่รับไปแล้วให้โจทก์ 40,000 บาท จึงเหมาะสมแล้วสำหรับค่าเสียหายนั้น โจทก์นำสืบตนเองเพียงปากเดียวลอย ๆโดยมิได้ชี้ชัดให้เห็นว่า หากจำเลยปฏิบัติหน้าที่ทนายความอย่างเต็มที่แล้ว โจทก์จะชนะคดีในส่วนใดมากน้อยเพียงใดจึงไม่อาจกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์เต็มตามฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 24/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทนายความละเลยหน้าที่ตามสัญญาจ้างว่าความ ทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์
เมื่อจำเลยรับจ้างเป็นทนายความแก้ต่างให้โจทก์และโจทก์ได้แต่งตั้งจำเลยเป็นทนายความโดยชอบแล้ว จำเลยย่อมมีอำนาจว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ แทนโจทก์ได้ตามที่เห็นสมควรเพื่อรักษาผลประโยชน์ของโจทก์ แม้การที่จะซักค้านพยานโจทก์ปากใดอย่างไรหรือไม่ หรือสมควรนำพยานปากใดเข้าสืบหรือไม่ก็อยู่ในอำนาจหรือดุลพินิจของจำเลยก็ตาม แต่การที่จำเลยมอบอำนาจให้เสมียนทนายไปเลื่อนคดีหลังจากที่มีการสืบ อ. พยานโจทก์เสร็จแล้วจนเป็นเหตุให้ศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนคดี ทำให้ไม่มีโอกาสซักค้าน อ. พยานโจทก์ก็ดี การที่จำเลยไม่นำตัวโจทก์เข้าเบิกความเป็นพยานทั้ง ๆ ที่โจทก์ได้แสดงเจตนาว่าจะเข้าเบิกความเป็นพยานแล้วก็ดี การที่จำเลยไม่แจ้งวันนัดเดินเผชิญสืบให้โจทก์ทราบรวมทั้งมิได้แจ้งวันนัดฟังคำพิพากษาให้โจทก์ทราบและไม่ใส่ใจที่จะไปฟังคำพิพากษาด้วยตนเองหรือมอบฉันทะให้ผู้อื่นไปฟังแทนก็ดี การไม่อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นต่อศาลอุทธรณ์โดยมิได้ปรึกษาโจทก์ หรือแจ้งให้โจทก์ทราบถึงเหตุผลที่ไม่ควรอุทธรณ์ก็ดี ล้วนแต่เป็นการใช้ดุลพินิจที่ปราศจากเหตุผล มีแต่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ ถือได้ว่าจำเลยละเลยต่อหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติและเป็นการผิดสัญญาจ้างว่าความ จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์
ค่าทนายความที่จำเลยต้องคืนให้โจทก์กับค่าเสียหายที่จำเลยต้องชดใช้ให้โจทก์ต่างเป็นหนี้เงิน จำเลยจึงต้องเสียดอกเบี้ยแก่โจทก์ในอัตราร้อยละ7.5 ต่อปี นับแต่วันผิดนัด ตาม ป.พ.พ.มาตรา 224
ค่าทนายความที่จำเลยต้องคืนให้โจทก์กับค่าเสียหายที่จำเลยต้องชดใช้ให้โจทก์ต่างเป็นหนี้เงิน จำเลยจึงต้องเสียดอกเบี้ยแก่โจทก์ในอัตราร้อยละ7.5 ต่อปี นับแต่วันผิดนัด ตาม ป.พ.พ.มาตรา 224
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 24/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทนายความละเลยหน้าที่ จำเลยต้องชดใช้ค่าเสียหายและคืนค่าทนายความ
เมื่อจำเลยรับจ้างเป็นทนายความแก้ต่างให้โจทก์และโจทก์ได้แต่งตั้งจำเลยเป็นทนายความโดยชอบแล้วจำเลยย่อมมีอำนาจว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆแทนโจทก์ได้ตามที่เห็นสมควรเพื่อรักษาผลประโยชน์ของโจทก์ แม้การที่จะซักค้านพยานโจทก์ปากใดอย่างไรหรือไม่ หรือสมควรนำพยานปากใดเข้าสืบหรือไม่ก็อยู่ในอำนาจหรือดุลพินิจของจำเลยก็ตาม แต่การที่จำเลยมอบอำนาจให้เสมียนทนายไปเลื่อนคดีหลังจากที่มีการสืบ อ. พยานโจทก์เสร็จแล้วจนเป็นเหตุให้ศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนคดี ทำให้ไม่มีโอกาสซักค้าน อ. พยานโจทก์ก็ดีการที่จำเลยไม่นำตัวโจทก์เข้าเบิกความเป็นพยานทั้ง ๆ ที่โจทก์ได้แสดงเจตนาว่าจะเข้าเบิกความเป็นพยานแล้วก็ดี การที่จำเลยไม่แจ้งวันนัดเดินเผชิญสืบให้โจทก์ทราบรวมทั้งมิได้แจ้งวันนัดฟังคำพิพากษาให้โจทก์ทราบและไม่ใส่ใจที่จะไปฟังคำพิพากษาด้วยตนเอง หรือมอบฉันทะให้ผู้อื่นไปฟังแทนก็ดี การไม่อุทธรณ์คำพิพากษา ศาลชั้นต้นต่อศาลอุทธรณ์โดยมิได้ปรึกษาโจทก์ หรือแจ้ง ให้โจทก์ทราบถึงเหตุผลที่ไม่ควรอุทธรณ์ก็ดี ล้วนแต่ เป็นการใช้ดุลพินิจที่ปราศจากเหตุผล มีแต่จะก่อให้เกิด ความเสียหายแก่โจทก์ ถือได้ว่าจำเลยละเลยต่อ หน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติและเป็นการผิดสัญญาจ้าง ว่าความ จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ ค่าทนายความที่จำเลยต้องคืนให้โจทก์กับค่าเสียหายที่จำเลยต้องชดใช้ให้โจทก์ต่างเป็นหนี้เงิน จำเลยจึงต้องเสียดอกเบี้ยแก่โจทก์ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีนับแต่วันผิดนัด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8140/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บุกรุกที่สาธารณประโยชน์ - ทำให้เสียทรัพย์ - ลดโทษรอการลงโทษ
จำเลยบุกรุกยึดถือครอบครองที่ดินสาธารณประโยชน์และได้แผ้วถางที่ดินดังกล่าวใช้ทำไร่ ทำให้บุคคลอื่นทั่วไปไม่สามารถใช้ประโยชน์จากหนองคำปลาหลาอันเป็นสาธารณประโยชน์ในส่วนที่จำเลยบุกรุกยึดถือครอบครอง เป็นการทำให้หนองสาธารณะนั้นไร้ประโยชน์แม้เป็นเพียงบางส่วน การกระทำของจำเลยก็เป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ที่ใช้หรือมีไว้เพื่อ สาธารณประโยชน์แล้ว ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 360
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8123/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจริบยานพาหนะ: การพิจารณาความเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดโดยตรง
โจทก์ฟ้องและมีคำขอให้ริบรถจักรยานยนต์ของกลางด้วย แต่ศาลชั้นต้นมิได้มีคำวินิจฉัยในเรื่องของกลาง จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 186 (9)แม้โจทก์จะมิได้อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้
ปัญหาที่ว่ายานพาหนะใดเป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดซึ่งศาลมีอำนาจสั่งริบตาม ป.อ.มาตรา 33 (1) นั้น ต้องพิจารณาดูตามพฤติการณ์ของการกระทำผิดแต่ละเรื่องไปว่าผู้กระทำผิดได้ใช้ยานพาหนะนั้นในการกระทำความผิดหรือไม่
โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับรถจักรยานยนต์ของกลางว่า จำเลยที่ 2 กับพวกร่วมกันวิ่งราวทรัพย์สร้อยคอทองคำและจี้ทองคำของผู้เสียหายโดยฉกฉวยเอาซึ่งหน้า และใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะพาทรัพย์นั้นไปและเพื่อให้พ้นจากการจับกุม รถจักรยานยนต์ของกลางจึงเป็นเพียงยานพาหนะที่จำเลยใช้ภายหลังการวิ่งราวทรัพย์ มิใช่ใช้ในการวิ่งราวทรัพย์ ไม่เข้าหลักเกณฑ์ในเรื่องทรัพย์สินที่ศาลมีอำนาจสั่งริบตามมาตรา 33 (1) แห่ง ป.อ.ดังกล่าว ศาลจึงไม่ริบรถจักรยานยนต์ของกลาง
ปัญหาที่ว่ายานพาหนะใดเป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดซึ่งศาลมีอำนาจสั่งริบตาม ป.อ.มาตรา 33 (1) นั้น ต้องพิจารณาดูตามพฤติการณ์ของการกระทำผิดแต่ละเรื่องไปว่าผู้กระทำผิดได้ใช้ยานพาหนะนั้นในการกระทำความผิดหรือไม่
โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับรถจักรยานยนต์ของกลางว่า จำเลยที่ 2 กับพวกร่วมกันวิ่งราวทรัพย์สร้อยคอทองคำและจี้ทองคำของผู้เสียหายโดยฉกฉวยเอาซึ่งหน้า และใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะพาทรัพย์นั้นไปและเพื่อให้พ้นจากการจับกุม รถจักรยานยนต์ของกลางจึงเป็นเพียงยานพาหนะที่จำเลยใช้ภายหลังการวิ่งราวทรัพย์ มิใช่ใช้ในการวิ่งราวทรัพย์ ไม่เข้าหลักเกณฑ์ในเรื่องทรัพย์สินที่ศาลมีอำนาจสั่งริบตามมาตรา 33 (1) แห่ง ป.อ.ดังกล่าว ศาลจึงไม่ริบรถจักรยานยนต์ของกลาง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8123/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบรถจักรยานยนต์ของกลางในคดีวิ่งราวทรัพย์: พิจารณาการใช้ยานพาหนะในการกระทำผิด
โจทก์ฟ้องและมีคำขอให้ริบรถจักรยานยนต์ของกลางด้วย แต่ศาลชั้นต้นมิได้มีคำวินิจฉัยในเรื่องของกลาง จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 186(9) แม้โจทก์จะมิได้อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้
ปัญหาที่ว่ายานพาหนะใดเป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิด ซึ่งศาลมีอำนาจสั่งริบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33(1) นั้น ต้องพิจารณาดูตามพฤติการณ์ของการกระทำผิดแต่ละเรื่องไปว่าผู้กระทำผิดได้ใช้ยานพาหนะนั้นในการกระทำความผิดหรือไม่
โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับรถจักรยานยนต์ของกลางว่า จำเลยที่ 2 กับพวกร่วมกันวิ่งราวทรัพย์สร้อยคอทองคำและจี้ทองคำของผู้เสียหายโดยฉกฉวยเอาซึ่งหน้า และใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะพาทรัพย์นั้นไปและเพื่อให้พ้นจากการจับกุม รถจักรยานยนต์ของกลางจึงเป็นเพียงยานพาหนะที่จำเลยใช้ภายหลังการวิ่งราวทรัพย์มิใช่ใช้ในการวิ่งราวทรัพย์ ไม่เข้าหลักเกณฑ์ในเรื่องทรัพย์สินที่ศาลมีอำนาจสั่งริบตามมาตรา 33(1) แห่งประมวลกฎหมายอาญาดังกล่าว ศาลจึงไม่ริบรถจักรยานยนต์ของกลาง
ปัญหาที่ว่ายานพาหนะใดเป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิด ซึ่งศาลมีอำนาจสั่งริบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33(1) นั้น ต้องพิจารณาดูตามพฤติการณ์ของการกระทำผิดแต่ละเรื่องไปว่าผู้กระทำผิดได้ใช้ยานพาหนะนั้นในการกระทำความผิดหรือไม่
โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับรถจักรยานยนต์ของกลางว่า จำเลยที่ 2 กับพวกร่วมกันวิ่งราวทรัพย์สร้อยคอทองคำและจี้ทองคำของผู้เสียหายโดยฉกฉวยเอาซึ่งหน้า และใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะพาทรัพย์นั้นไปและเพื่อให้พ้นจากการจับกุม รถจักรยานยนต์ของกลางจึงเป็นเพียงยานพาหนะที่จำเลยใช้ภายหลังการวิ่งราวทรัพย์มิใช่ใช้ในการวิ่งราวทรัพย์ ไม่เข้าหลักเกณฑ์ในเรื่องทรัพย์สินที่ศาลมีอำนาจสั่งริบตามมาตรา 33(1) แห่งประมวลกฎหมายอาญาดังกล่าว ศาลจึงไม่ริบรถจักรยานยนต์ของกลาง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7119/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขาดไร้อุปการะ, ค่ารักษาพยาบาล, ค่าฟื้นฟูจิตใจ จากละเมิด
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1563 บัญญัติไว้ว่า บุตรจำต้องเลี้ยงดูบิดามารดา การที่ลูกจ้างของจำเลยที่ 1 กระทำละเมิดเป็นเหตุให้บุตรของโจทก์ที่ 3 ตายถือว่าโจทก์ที่ 3 ขาดไร้อุปการะตามกฎหมายจากบุตร โจทก์ที่ 3 จึงชอบที่จะได้รับค่าขาดไร้อุปการะทั้งในปัจจุบันและความหวังในอนาคตโดยผลแห่งกฎหมาย โดยไม่จำต้องพิจารณาว่าขณะเกิดเหตุหรือในอนาคตเด็กหญิง พ.จะได้อุปการะโจทก์ที่ 3 จริงหรือไม่ ส่วนค่าอุปการะเลี้ยงดูจะเป็นจำนวนเท่าใด ศาลย่อมกำหนดให้ตามสมควร
ค่าเสียหายจำนวน 40,000 บาท ซึ่งโจทก์ที่ 4 จ่ายให้แก่คณะแพทย์ของโรงพยาบาลในการทำการผ่าตัดเพื่อช่วยชีวิตเด็กหญิง ส.นั้น ค่าใช้จ่ายส่วนนี้เป็นสินน้ำใจที่โจทก์ที่ 4 จ่ายให้แก่คณะแพทย์เองโดยที่คณะแพทย์ไม่ได้เรียกร้องเป็นความพอใจของโจทก์ที่ 4 ที่ต้องการตอบแทนคณะแพทย์ที่ช่วยเหลือบุตรสาวของตนการจ่ายนี้ไม่อาจกำหนดจำนวนที่แน่นอน ไม่มีหลักเกณฑ์และกฎหมายรองรับ จึงไม่อาจเรียกร้องจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้
การที่เด็กหญิง ส.บาดเจ็บสาหัสต้องหยุดเรียนไปนาน จึงเป็นการจำเป็นต้องจ้างครูมาสอนพิเศษ ส่วนการเรียนเปียโนก็เป็นการฟื้นฟูจิตใจของเด็กหญิง ส.ซึ่งบาดเจ็บสาหัส และต้องกระทบกระเทือนจิตใจจากใบหน้าที่เสียโฉมถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่ผู้เสียหายชอบที่จะได้รับการชดใช้ จากผู้กระทำละเมิด
ค่าเสียหายจำนวน 40,000 บาท ซึ่งโจทก์ที่ 4 จ่ายให้แก่คณะแพทย์ของโรงพยาบาลในการทำการผ่าตัดเพื่อช่วยชีวิตเด็กหญิง ส.นั้น ค่าใช้จ่ายส่วนนี้เป็นสินน้ำใจที่โจทก์ที่ 4 จ่ายให้แก่คณะแพทย์เองโดยที่คณะแพทย์ไม่ได้เรียกร้องเป็นความพอใจของโจทก์ที่ 4 ที่ต้องการตอบแทนคณะแพทย์ที่ช่วยเหลือบุตรสาวของตนการจ่ายนี้ไม่อาจกำหนดจำนวนที่แน่นอน ไม่มีหลักเกณฑ์และกฎหมายรองรับ จึงไม่อาจเรียกร้องจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้
การที่เด็กหญิง ส.บาดเจ็บสาหัสต้องหยุดเรียนไปนาน จึงเป็นการจำเป็นต้องจ้างครูมาสอนพิเศษ ส่วนการเรียนเปียโนก็เป็นการฟื้นฟูจิตใจของเด็กหญิง ส.ซึ่งบาดเจ็บสาหัส และต้องกระทบกระเทือนจิตใจจากใบหน้าที่เสียโฉมถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่ผู้เสียหายชอบที่จะได้รับการชดใช้ จากผู้กระทำละเมิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7119/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเสียหายจากละเมิดทางรถยนต์: ครอบคลุมค่ารักษาพยาบาล, ค่าขาดไร้อุปการะ, และค่าฟื้นฟูสภาพจิตใจ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1563 บัญญัติไว้ว่าบุตรจำต้องเลี้ยงดูบิดามารดา การที่ลูกจ้างของจำเลยที่ 1กระทำละเมิดเป็นเหตุให้บุตรของโจทก์ที่ 3 ตาย ถือว่าโจทก์ที่ 3 ขาดไร้อุปการะตามกฎหมายจากบุตร โจทก์ที่ 3จึงชอบที่จะได้รับค่าขาดไร้อุปการะทั้งในปัจจุบันและความหวังในอนาคตโดยผลแห่งกฎหมาย โดยไม่จำต้องพิจารณาว่าขณะเกิดเหตุหรือในอนาคตเด็กหญิง พ. จะได้อุปการะโจทก์ที่ 3 จริงหรือไม่ ส่วนค่าอุปการะเลี้ยงดูจะเป็นจำนวนเท่าใด ศาลย่อมกำหนดให้ตามสมควร ค่าเสียหายจำนวน 40,000 บาท ซึ่งโจทก์ที่ 4 จ่ายให้แก่คณะแพทย์ของโรงพยาบาลในการทำการฝ่าตัดเพื่อช่วยชีวิตเด็กหญิง ส. นั้น ค่าใช้จ่ายส่วนนี้เป็นสินน้ำใจที่โจทก์ที่ 4 จ่ายให้แก่คณะแพทย์เองโดยที่คณะแพทย์ ไม่ได้เรียกร้องเป็นความพอใจของโจทก์ที่ 4 ที่ต้องการตอบแทน คณะแพทย์ที่ช่วยเหลือบุตรสาวของตน การจ่ายนี้ไม่อาจกำหนดจำนวนที่แน่นอน ไม่มีหลักเกณฑ์และกฎหมายรองรับ จึงไม่อาจเรียกร้องจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ การที่เด็กหญิง ส. บาดเจ็บสาหัสต้องหยุดเรียนไปนานจึงเป็นการจำเป็นต้องจ้างครูมาสอนพิเศษ ส่วนการเรียนเปียโนก็เป็นการฟื้นฟูจิตใจของเด็กหญิงส. ซึ่งบาดเจ็บสาหัสและต้องกระทบกระเทือนจิตใจจากใบหน้าที่เสียโฉม ถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่ผู้เสียหายชอบที่จะได้รับการชดใช้ จากผู้กระทำละเมิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6984/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการนั่งพิจารณาคดีนอกสถานที่และการรับคำฟ้องตามคำสั่งศาลจังหวัดบุรีรัมย์
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 35ที่ศาลจังหวัดบุรีรัมย์ระบุเป็นที่มาแห่งอำนาจในการออกคำสั่งให้ศาลจังหวัดบุรีรัมย์ไปนั่งพิจารณา ณ ที่ทำการศาลจังหวัดบุรีรัมย์ (นางรอง) บัญญัติเป็นหลักการไว้ว่าการนั่งพิจารณาคดีที่ยื่นไว้ต่อศาลใดจะต้องกระทำในศาลนั้นในวันที่ศาลเปิดทำการและตามเวลาทำงานที่ศาลได้กำหนดไว้แต่ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือเป็นการจำเป็น ศาลมีอำนาจที่จะมีคำสั่งกำหนดการนั่งพิจารณา ณ สถานที่อื่นในวันหยุดงานหรือในเวลาใด ๆ ก็ได้ ทั้งนี้ก็โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การพิจารณาคดีเป็นไปโดยรวดเร็วเป็นประโยชน์แก่ประชาชนผู้มีอรรถคดี ดังนั้น คำสั่งกำหนดการนั่งพิจารณาณ สถานที่อื่นหรือในวันหยุดงานหรือในเวลาใด ๆ ตามบทบัญญัติในมาตรา 35 จึงต้องแปลความหมายให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์แห่งกฎหมายดังกล่าวด้วย กล่าวคือย่อมรวมถึงการนั่งพิจารณาคดีและการดำเนินกระบวนพิจารณาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องหรือเกี่ยวเนื่องกับการนั่งพิจารณาคดีอันได้แก่ การยื่นคำฟ้องคำร้อง คำขอต่าง ๆ มิใช่แปลจำกัดเคร่งครัดแต่เฉพาะการนั่งพิจารณาคดีเป็นรายเรื่องไป และแม้ในขณะที่ศาลจังหวัดบุรีรัมย์มีคำสั่งดังกล่าวจะมีพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลจังหวัดนางรองขึ้นแล้วก็ตาม แต่เมื่อยังไม่มีพระราชกฤษฎีกาให้เปิดทำการ ศาลจังหวัดบุรีรัมย์ก็ยังคงมีอำนาจเหนือพื้นที่ดังกล่าวและมีอำนาจกำหนดการนั่งพิจารณาโดยอาศัย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 35 ได้เมื่อคดีที่โจทก์ฟ้องมูลคดีเกิดขึ้นที่อำเภอนางรองและจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ที่อำเภอนางรอง โจทก์จึงชอบที่จะยื่นคำฟ้องต่อศาลจังหวัดบุรีรัมย์ (นางรอง) ตามคำสั่งของศาลจังหวัดบุรีรัมย์ อีกทั้งกรณีไม่ปรากฏว่ามีอุปสรรคหรือเหตุขัดข้องที่โจทก์ไม่อาจยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดบุรีรัมย์(นางรอง) ได้ การที่ศาลจังหวัดบุรีรัมย์มีคำสั่งไม่รับคำฟ้องของโจทก์โดยให้โจทก์นำคำฟ้องไปยื่นที่ศาลจังหวัดบุรีรัมย์ (นางรอง) จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย