พบผลลัพธ์ทั้งหมด 158 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6402/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประมงผิดกฎหมาย: โทษฐานใช้กระแสไฟฟ้าทำการประมง และการริบของกลาง
การใช้กระแสไฟฟ้าทำการประมงเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 มาตรา 20ซึ่งมีบทลงโทษตามมาตรา 62 ทวิ ให้จำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท ดังนั้นความผิดฐานใช้กระแสไฟฟ้าทำการประมงจึงมิใช่มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน ดังที่จำเลยฎีกา การที่ศาลชั้นต้นวางโทษให้จำคุก 6 เดือน จึงมิได้เกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้และเมื่อนำโทษจำคุก 6 เดือน ฐานใช้กระแสไฟฟ้าทำการประมงในฤดูปลาวางไข่มารวมเข้าด้วยกันแล้วจึงเป็นจำคุก 1 ปี ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 แล้วศาลชั้นต้นคง จำคุกจำเลย 6 เดือน จึงเป็นการวางโทษและคำนวณการลงโทษจำเลยถูกต้อง แต่ศาลล่างทั้งสองมิได้วินิจฉัยในเรื่องริบของกลางตามที่โจทก์ขอนั้นเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 186(9)แม้โจทก์ไม่อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6368/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกค่าชดใช้จากสัญญาซื้อขายที่ดิน: ใช้มาตรา 193/30 วางหลักเกณฑ์ 10 ปี
โจทก์และจำเลยตกลงซื้อขายที่ดินพิพาทตามสัญญาจะซื้อจะขาย และได้มีการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่กันไปแล้ว ซึ่งตามสัญญาระบุว่าเป็นการซื้อขายที่ดิน ตาม น.ส.3 ก. รวม 3 ฉบับ เนื้อที่ 92 ไร่ และได้กำหนดไว้ในสัญญาว่า เนื้อที่ 92 ไร่ ถ้าทำการรังวัดแล้วน้อยกว่า 90 ไร่ ผู้ขายจะยอมชดใช้ให้ครบตามจำนวนที่แจ้งไว้โดยจ่าย เป็นค่าชดใช้ไร่ละ 43,000 บาท การที่โจทก์ฟ้องจำเลย ให้ชดใช้ค่าที่ดินที่ขาดไป จึงเป็นการฟ้องให้ปฏิบัติ ตามข้อตกลงในสัญญาจะซื้อจะขายสิทธิฟ้องเรียกเงินคืน ตามสัญญานี้ กฎหมายมิได้กำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30สัญญาจะซื้อจะขายทำเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2533โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2536 ยังไม่เกิน10 ปี ฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6368/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกค่าชดใช้ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน: 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30
โจทก์และจำเลยตกลงซื้อขายที่ดินพิพาทตามสัญญาจะซื้อจะขายและได้มีการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่กันไปแล้ว ซึ่งตามสัญญาระบุว่าเป็นการซื้อขายที่ดินตาม น.ส.3 ก. รวม 3 ฉบับ เนื้อที่ 92 ไร่ และได้กำหนดไว้ในสัญญาว่า เนื้อที่ 92 ไร่ ถ้าทำการรังวัดแล้วน้อยกว่า 90 ไร่ ผู้ขายจะยอมชดใช้ให้ครบตามจำนวนที่แจ้งไว้โดยจ่ายเป็นค่าชดใช้ไร่ละ 43,000 บาท การที่โจทก์ฟ้องจำเลยให้ชดใช้ค่าที่ดินที่ขาดไป จึงเป็นการฟ้องให้ปฏิบัติตามข้อตกลงในสัญญาจะซื้อจะขายสิทธิฟ้องเรียกเงินคืนตามสัญญานี้ กฎหมายมิได้กำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30 สัญญาจะซื้อจะขายทำเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2533 โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2536 ยังไม่เกิน10 ปี ฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6031/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คดีอาญาต้องยื่นต่อศาลอุทธรณ์ก่อน มิอาจยื่นต่อศาลฎีกาโดยตรง
ในคดีอาญา การอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งศาลชั้นต้นในข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายมีบทบัญญัติไว้โดยชัดเจนในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 193 วรรคแรก แล้วว่า ให้อุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์จึงนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิมาอนุโลมใช้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15หาได้ไม่ การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์ คำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยตรงมายังศาลฎีกาจึง เป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5621/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โมฆะนิติกรรมจำนอง: เจ้าของทรัพย์สินที่แท้จริงมีสิทธิเพิกถอน แม้โจทก์มิได้อ้างถึงเจตนาทุจริตของผู้รับจำนอง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์และจำเลยที่ 1ได้จดทะเบียนหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยา โดยจำเลยที่ 1ยอมยกทรัพย์สินทั้งหมดที่เป็นของตนให้แก่โจทก์และบุตรบุญธรรม 4 คน ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้นำที่ดินพิพาทซึ่งมิใช่ของตนไปจำนองให้แก่จำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 1ไม่มีอำนาจอันชอบด้วยกฎหมายที่จะกระทำได้ นิติกรรมจำนองระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 จึงตกเป็นโมฆะ เพราะจำเลยที่ 1 มิใช่เจ้าของที่แท้จริง เป็นเหตุให้โจทก์ ซึ่งเป็นเจ้าของแท้จริงต้องได้รับความเสียหาย ขอให้เพิกถอนนิติกรรมจำนองระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ฟ้องของโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ และคำขอบังคับรวมทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา เช่นว่านั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรคสอง แล้ว ส่วนจะเป็นจริงตามที่โจทก์ฟ้องหรือจำเลยทั้งสองต่อสู้และกรณีจะเพิกถอนนิติกรรมจำนองได้หรือไม่ เป็นเรื่องที่ศาลจะต้องวินิจฉัยต่อไป ดังนั้นการที่โจทก์มิได้บรรยายในฟ้องว่าจำเลยที่ 2 ไม่สุจริตอย่างไรในการรับจำนองที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1และการจำนองที่ดินทำให้โจทก์เสียเปรียบอย่างไร ไม่ทำให้ฟ้อง ของโจทก์ในส่วนของจำเลยที่ 2 เป็นฟ้องเคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5621/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โมฆะ นิติกรรมจำนอง เจ้าของทรัพย์สินไม่ยินยอม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์และจำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยา โดยจำเลยที่ 1 ยอมยกทรัพย์สินทั้งหมดที่เป็นของตนให้แก่โจทก์และบุตรบุญธรรม 4 คน ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้นำที่ดินพิพาทซึ่งมิใช่ของตนไปจำนองให้แก่จำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจอันชอบด้วยกฎหมายที่จะกระทำได้ นิติกรรมจำนองระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 จึงตกเป็นโมฆะเพราะจำเลยที่ 1 มิใช่เจ้าของที่แท้จริง เป็นเหตุให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของแท้จริงต้องได้รับความเสียหาย ขอให้เพิกถอนนิติกรรมจำนองระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ฟ้องของโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับรวมทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตาม ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสองแล้ว ส่วนจะเป็นจริงตามที่โจทก์ฟ้องหรือจำเลยทั้งสองต่อสู้และกรณีจะเพิกถอนนิติกรรมจำนองได้หรือไม่ เป็นเรื่องที่ศาลจะต้องวินิจฉัยต่อไป ดังนั้น การที่โจทก์มิได้บรรยายในฟ้องว่าจำเลยที่ 2 ไม่สุจริตอย่างไรในการรับจำนองที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1และการจำนองที่ดินทำให้โจทก์เสียเปรียบอย่างไร ไม่ทำให้ฟ้องของโจทก์ในส่วนของจำเลยที่ 2 เป็นฟ้องเคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5597/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสัญญาซื้อขายที่ดินมือเปล่าเริ่มนับเมื่อมีโฉนด และเบี้ยปรับตามสัญญาบังคับใช้ได้
ที่ดินที่ตกลงจะซื้อขายกันเป็นที่ดินมือเปล่าตามสัญญาจะซื้อขายมีข้อตกลงว่า โจทก์จะชำระราคาค่าที่ดินส่วนที่เหลือเมื่อได้รับโฉนดแล้ว แสดงว่าคู่สัญญาจะบังคับตามสิทธิของแต่ละฝ่ายได้ต่อเมื่อมีการออกโฉนดที่ดินแล้วปรากฏว่าที่ดินพิพาทได้ออกเป็นโฉนดที่ดินเมื่อปี 2531และ 2533 อายุความจึงต้องเริ่มนับตั้งแต่ปีดังกล่าวมิใช่นับแต่วันทำสัญญาจะซื้อขาย ขณะทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทยังเป็นที่ดินมือเปล่าเมื่อสัญญาจะซื้อขายได้ระบุที่ตั้งของที่ดิน และระบุด้วยว่าเป็นที่ดินตามหลักฐานใบนำสำรวจซึ่งได้ระบุจำนวนเนื้อที่ดิน ที่จะซื้อขายกัน โดยให้ผู้ซื้อมีสิทธิเลือกเอาที่ดินที่ใด ก็ได้ตามใบนำสำรวจและยังระบุด้วยว่าจะชำระเงินค่าที่ดิน ส่วนที่เหลือเมื่อได้รับโฉนดที่ดินแล้ว ถือว่าเป็น สัญญาจะซื้อขายที่มีสาระสำคัญครบถ้วนแล้ว จึงสมบูรณ์ ใช้บังคับได้ตามกฎหมาย ตามสัญญาจะซื้อขายระบุว่า ถ้าผู้จะขายผิดสัญญาไม่ไปจดทะเบียนขายตามกำหนด ผู้จะขายยอมให้ผู้จะซื้อฟ้องศาลบังคับให้เป็นไปตามสัญญา และยอมใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้จะซื้อ 200,000 บาท และ 100,000 บาท ตามลำดับค่าเสียหายเช่นนี้ถือได้ว่าเป็นเบี้ยปรับซึ่งกำหนดไว้ในสัญญา และเป็นเบี้ยปรับซึ่งผู้จะขายผู้เป็นลูกหนี้สัญญาจะให้เมื่อตนไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 381 ซึ่งนอกจาก จะเรียกให้โอนที่ดินเป็นการชำระหนี้แล้วผู้จะซื้อซึ่งเป็น เจ้าหนี้ยังมีสิทธิเรียกเอาเบี้ยปรับตามสัญญาจากผู้จะขาย ได้อีกด้วย มิใช่เบี้ยปรับตามมาตรา 380 ซึ่งเจ้าหนี้ มีสิทธิเรียกให้ชำระหนี้หรือเรียกเอาเบี้ยปรับแทน การชำระหนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5584/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ชำระภาษีการค้าของผู้ประกอบการ แม้จะมีการโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ภายหลัง
จำเลยได้ยื่นคำร้องขอชำระภาษีการค้าโดยระบุว่าจำเลยเป็นเจ้าของและผู้ดัดแปลงรถยนต์บรรทุกยี่ห้อเบนซ์ 300 ทีดี เก๋งแวน เป็นรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ประเมินราคารถยนต์และจำนวนภาษีที่จำเลยต้องชำระแล้ว จำเลยก็ได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้า (ภ.ค.40) แสดงรายการภาษีการค้าที่ต้องเสียจำนวน 319,440 บาทและชำระในวันยื่นแบบ 50,000 บาท ส่วนที่เหลือขอผ่อนชำระรวม 54 งวดถือได้ว่าจำเลยเป็นผู้ประกอบการค้าและผูกพันตนที่จะชำระภาษีการค้าตามมาตรา79 ทวิ (5) และ 79 ทวิ วรรคสอง แห่งป.รัษฎากรแล้ว จำเลยจึงมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องชำระภาษีการค้าทั้งหมดในวันที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้า(ภ.ค.40) การที่อธิบดีกรมสรรพากรอนุญาตให้ผู้ที่ต้องเสียภาษีการค้าดังกล่าวที่มีจำนวนตั้งแต่ 200,000 บาทขึ้นไป ผ่อนชำระเป็นงวดได้นั้นก็ถือว่าเป็นประโยชน์แก่จำเลยแล้ว ดังนั้น แม้ว่าจะมีการโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ในภายหลัง จำเลยก็ยังคงมีหน้าที่ต้องชำระภาษีการค้าที่ค้างชำระทั้งหมดตามกฎหมายและตามคำร้องที่ยื่นขอผ่อนชำระไว้ หาใช่ว่าหน้าที่ต้องเสียภาษีอากรเป็นของผู้เช่าซื้อรถยนต์ซึ่งเป็นเจ้าของภายหลังจากโอนกรรมสิทธิ์ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5584/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ประกอบการค้ามีหน้าที่ชำระภาษีการค้าจากการดัดแปลงรถยนต์ แม้จะมีการโอนกรรมสิทธิ์ภายหลัง
จำเลยได้ยื่นคำร้องขอชำระภาษีการค้า โดยระบุว่าจำเลยเป็นเจ้าของและผู้ดัดแปลงรถยนต์บรรทุกยี่ห้อเบนซ์ 300 ทีดี เก๋งแวน เป็นรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ ประเมินราคารถยนต์และจำนวนภาษีที่จำเลยต้องชำระแล้วจำเลยก็ได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้า (ภ.ค.40)แสดงรายการภาษีการค้าที่ต้องเสียจำนวน 319,440 บาทและชำระในวันยื่นแบบ 50,000 บาท ส่วนที่เหลือขอผ่อนชำระรวม 54 งวด ถือได้ว่าจำเลยเป็นผู้ประกอบการค้าและผูกพันตนที่จะชำระภาษีการค้าตามมาตรา 79 ทวิ(5) และ 79 ทวิ วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว จำเลยจึงมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องชำระภาษีการค้าทั้งหมดในวันที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้า (ภ.ค.40) การที่อธิบดีกรมสรรพากรอนุญาตให้ผู้ที่ต้องเสียภาษีการค้าดังกล่าวที่มีจำนวนตั้งแต่200,000 บาทขึ้นไป ผ่อนชำระเป็นงวดได้นั้นก็ถือว่าเป็นประโยชน์แก่จำเลยแล้ว ดังนั้น แม้ว่าจะมีการโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ในภายหลัง จำเลยก็ยังคงมีหน้าที่ต้องชำระภาษีการค้าที่ค้างชำระทั้งหมดตาม กฎหมายและตามคำร้องที่ยื่นขอผ่อนชำระไว้ หาใช่ว่าหน้าที่ต้องเสียภาษีอากรเป็นของผู้เช่าซื้อรถยนต์ซึ่งเป็น เจ้าของภายหลังจากโอนกรรมสิทธิ์ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5540/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจ: การรับฟังพยานหลักฐานและการยอมรับความถูกต้องของเอกสาร
โจทก์มี จ. ผู้รับมอบอำนาจมาเบิกความยืนยันว่าโจทก์โดย ศ.กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ได้ลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของโจทก์ในหนังสือมอบอำนาจ โดยทนายโจทก์ได้ส่งต้นฉบับหนังสือมอบอำนาจต่อศาล ประกอบการถามพยานโจทก์ตัวผู้รับมอบอำนาจ และขอส่งสำเนาแทนต้นฉบับ จำเลยก็มิได้คัดค้านว่าสำเนาหนังสือมอบอำนาจฉบับดังกล่าว มีข้อความไม่ตรงกันกับต้นฉบับถือว่าจำเลยยอมรับความถูกต้อง ของเอกสารนี้แล้ว ศาลย่อมรับฟังประกอบถ้อยคำของโจทก์ได้