คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(4)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 33 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 294/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างที่ลาป่วยเพื่อทำธุรกิจส่วนตัว และการขัดคำสั่งนายจ้างชอบด้วยกฎหมาย
กรณีที่โจทก์ยื่นใบลาป่วยขอหยุดงานรวม 90 วันนั้น เหตุแห่งการลาป่วยเป็นข้อเท็จจริงที่ปรากฏในขณะที่โจทก์ยื่นใบลา จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างจึงอนุญาตให้โจทก์หยุดงานไปตามนั้น แต่ต่อมาเมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่าโจทก์มิได้ป่วยเจ็บจนไม่สามารถทำงานตามปกติ และโจทก์หยุดงานไปเพื่อทำธุรกิจส่วนตัวอันเป็นการหยุดงานโดยไม่มีเหตุอันสมควร ซึ่งจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์โดยถือว่าโจทก์ละทิ้งหน้าที่ 3 วันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรและแจ้งลาป่วยเสร็จ ส่วนเหตุเลิกจ้างซึ่งจำเลยได้ออกหนังสือสั่งให้โจทก์ไปรายงานตัวเพื่อกลับเข้าทำงาน อันเป็นข้อเท็จจริงที่ปรากฏหลังจากจำเลยอนุญาตให้โจทก์ลาป่วยและอยู่ในระหว่างลาหยุดงานเป็นข้อเท็จจริงคนละส่วนกับข้อเท็จจริงในเหตุเลิกจ้างที่จำเลยถือว่าโจทก์ละทิ้งหน้าที่ 3 วันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรและแจ้งลาป่วยเท็จ ดังนั้น ที่ศาลแรงงานวินิจฉัยเหตุของการเลิกจ้างทั้งสองประการดังกล่าวนี้ จึงมิได้ขัดแย้งกัน หลังจากจำเลยอนุญาตให้โจทก์ลาป่วยและหยุดงานแล้ว ปรากฏว่า โจทก์มิได้ป่วยเจ็บจนไม่สามารถปฏิบัติงานได้ จำเลยจึงมีหนังสือแจ้งให้โจทก์รายงานตัวกลับเข้าทำงานในตำแหน่งใหม่นั้นการที่จำเลยมีหนังสือแจ้งดังกล่าวให้โจทก์ทราบและถือปฏิบัติแสดงว่าเหตุแห่งการลาป่วยที่จำเลยอนุญาตนั้นได้สิ้นไปแล้วและเป็นการยกเลิกการอนุญาตให้โจทก์ลาหยุดงานไปในตัวจำเลยหาจำต้องระบุข้อความไว้โดยแจ้งชัดว่ายกเลิกการอนุญาตให้โจทก์ลาป่วยไม่ เมื่อจำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์มารายงานตัวเพื่อกลับเข้าทำงาน โจทก์ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติทั้ง ๆ ที่จำเลยได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้วหลายครั้ง เป็นการที่จำเลยจงใจขัดคำสั่งนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุอันสมควร จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ประเด็นที่โจทก์ยกขึ้นอ้างในอุทธรณ์เป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็น จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงาน ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5515/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งให้ลูกจ้างทำความสะอาดรถหลังเกิดอุบัติเหตุ ไม่ใช่การลงโทษทางวินัย นายจ้างมีสิทธิออกคำสั่งได้
คำสั่งของผู้ร้องซึ่งเป็นนายจ้างที่ให้ผู้คัดค้าน ซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างไปทำความสะอาดแคร่หรือทางรถเทรลเลอร์ครั้งละ 1 วัน เป็นคำสั่งที่ผู้ร้องใช้ปฏิบัติตามประเพณี ของทางแผนกขนส่งของผู้ร้องในกรณีที่พนักงานขับรถของผู้ร้องไปเกิดอุบัติเหตุในขณะปฏิบัติงานในหน้าที่ตลอดมาและพนักงานอื่นของผู้ร้องที่เป็นพนักงานขับรถก็ยอมรับปฏิบัติตามเช่นนี้ กรณีถือได้ว่าเป็นระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอย่างหนึ่งของผู้ร้องแม้จะมิได้ระบุเป็นลายลักษณ์อักษรก็ใช้บังคับได้ทั้งตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของผู้ร้องไม่ปรากฏว่าการทำความสะอาดแคร่เป็นการลงโทษทางวินัยของผู้ร้อง การที่ผู้ร้องมอบหมายให้พนักงานขับรถรวมทั้งผู้คัดค้านที่ขับรถไปเกิดอุบัติเหตุ ล้างแคร่หรือหางรถเทรลเลอร์จึงมิใช่เป็นการลงโทษ แต่เป็นการมอบหมายงานเป็นกรณีพิเศษผู้ร้องจึงมีอำนาจที่จะออกคำสั่งมอบหมายงานดังกล่าวได้ซึ่งพนักงานขับรถทุกคนและผู้คัดค้านมีหน้าที่ปฏิบัติตามเมื่อผู้คัดค้านไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้ร้องที่ออกโดยชอบผู้ร้องจึงมีสิทธิลงโทษผู้คัดค้านได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3184/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม การกระทำผิดวินัยทั่วไปไม่ถึงขั้นร้ายแรง นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างจำเลยได้ด่า ส. ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของโจทก์ว่า "ตอแหล" ต่อหน้าพนักงานอื่นในสถานที่ทำงานขณะที่ ส.สั่งห้ามพนักงานพูดเสียงดังการที่โจทก์ด่าส.โดยใช้ถ้อยคำว่า "ตอแหล" ซึ่งมีความหมายว่าเป็นคนพูดเท็จอันเป็นการแสดงกิริยากระด้างกระเดื่องต่อผู้บังคับบัญชาด้วยการใช้วาจาดูหมิ่น เหยียดหยามและก้าวร้าว เป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยซึ่งจำเลยได้จัดไว้ในหัวข้อเรื่องวินัยและความประพฤติทั่วไปของพนักงาน แยกต่างหากจากหัวข้อเรื่องความผิดร้ายแรงซึ่งได้ระบุการกระทำที่เป็นความผิดร้ายแรงไว้โดยเฉพาะ ซึ่งแสดงว่าจำเลยไม่ได้ถือว่าการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานดังกล่าวเป็นความผิดกรณีร้ายแรงแต่อย่างใด ดังนั้น เมื่อปรับการกระทำของโจทก์กับระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยดังกล่าวแล้ว การกระทำของโจทก์เป็นเพียงฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเป็นกรณีทั่วไป หาเป็นความผิดกรณีร้ายแรงไม่ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยเคยเตือนโจทก์เป็นหนังสือมาก่อน จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงต้องจ่ายค่าชดเชยตามข้อ 46 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3149/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม การกระทำผิดระเบียบข้อบังคับ และสิทธิประโยชน์หลังการจ้าง
จำเลยประกอบธุรกิจการธนาคารซึ่งเป็นธุรกิจที่จะต้องเป็นที่เชื่อถือของประชาชนทั่วไป การที่โจทก์สั่งให้ผู้ใต้บังคับบัญชาโอนเงินจำเลยไปยังบัญชีต่าง ๆ ทั้งในสาขาเดียวกับและต่างสาขาย่อมเป็นที่เห็นได้ว่าขณะที่มีการโอนเงินของจำเลยไปยังบัญชีทั้งหลายเหล่านั้น ตัวเงินย่อมจะต้องถูกหักจากจำเลยไปแล้ว และการกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำที่ผิดระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย การกระทำของโจทก์ดังกล่าวมีลักษณะอาศัยตำแหน่งหน้าที่ในฐานะผู้จัดการสาขาซึ่งไม่มีอำนาจทำได้ ส่วนการที่ฝ่ายตรวจสอบและฝ่ายการพนักงานของจำเลยมีความเห็นว่าการโอนเงินไปก่อนแล้วค่อยรวมยอดตัดจากบัญชีของบิดาโจทก์คราวเดียวในตอนเย็นของวันเดียวกัน แม้จะไม่ถูกต้องตามระเบียบแต่ก็ไม่ปรากฏว่าทำให้จำเลยได้รับความเสียหายเป็นเพียงความเห็นที่คำนึงเฉพาะด้านตัวเงินหรือดอกเบี้ยซึ่งไม่ได้สูญหาย แต่โดยทั่วไปแล้วย่อมเป็นที่เห็นได้ว่าจำเลยได้รับความเสียหายในด้านความเชื่อถือของประชาชนเพราะอาจมีกรณีเงินบัญชีของบิดาโจทก์ไม่เพียงพอที่จะนำมาใช้คืนจำเลยได้ ทั้งไม่ปรากฏว่าการโอนเงินจากบัญชีของบิดาโจทก์ไปยังบัญชีต่าง ๆ อย่างถูกต้องนั้นมีเหตุขัดข้องหรือไม่สะดวกอย่างไร ประกอบกับการที่จำเลยประกอบธุรกิจด้านการเงินการธนาคาร ระเบียบข้อบังคับที่ให้ปฏิบัติเกี่ยวกับเงินในธนาคารจะต้องถือว่ามีส่วนสำคัญมากเพื่อให้ธุรกิจของจำเลยมีความมั่นคงเป็นที่เชื่อถือได้ การกระทำที่ผิดระเบียบของโจทก์เช่นนี้ถือว่าเป็นการทุจริตต่อหน้าที่และทำให้จำเลยได้รับความเสียหายเป็นการกระทำผิดระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกรณีร้ายแรง จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยชอบ มิใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมโจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าเสียหายจากการที่ถูกจำเลยมีคำสั่งปลดออกจากงาน และเป็นกรณีที่เข้าลักษณะตามที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 47(4) จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์กรณีดังกล่าวเป็นการกระทำความผิดร้ายแรง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 583 จำเลยไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าอีกด้วย จำเลยมีระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานในหมวด 3ว่าด้วยเงินบำเหน็จพิเศษ กำหนดให้จำเลยมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินบำเหน็จพิเศษให้แก่พนักงานหรือลูกจ้างของจำเลยสำหรับผู้ที่ทำงานมาครบ 10 ปี ตามอัตราเงินเดือนที่กำหนดไว้ในข้อ 1แต่ในข้อ 2 ได้กำหนดข้อยกเว้นไว้ว่าเงินบำเหน็จดังกล่าวจะจ่ายให้เมื่อพนักงานหรือลูกจ้างผู้นั้นออกจากงาน เว้นแต่กรณีออกจากงานเพราะกระทำความผิดตามภาค 2 หมวด 3ข้อ 3(1) หรือ (2) หรือ (3) ซึ่งหมายถึงการออกจากงานเพราะจำเลยมีคำสั่งไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจำเลยมีคำสั่งให้โจทก์ออกจากงาน โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จพิเศษ ส่วนเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพนั้น ตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกำหนดไว้ในภาค 3 หมวด 2ข้อ 2.7 วรรคสอง ว่า "ให้คณะกรรมการกองทุนฯ ดำเนินการดังนี้2.7.2 จ่ายเงินสมทบและผลประโยชน์ทุกทอดของเงินสมทบให้แก่สมาชิก เว้นแต่ 2.7.2.1 สมาชิกที่ถูกลงโทษทางวินัยโดยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกโดยธนาคารมีคำสั่งงดจ่ายเงินพึงได้ใด ๆ ทั้งสิ้น" ดังนั้นโจทก์ถูกจำเลยมีคำสั่งให้ออกจากงานโดยงดจ่ายเงินพึงได้ใด ๆ ทั้งสิ้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินกองทุนสมทบที่จำเลยนำเข้าบัญชีเงินกองทุนให้แก่โจทก์ โจทก์คงมีสิทธิได้รับเฉพาะส่วนที่โจทก์จ่ายในฐานะที่เป็นสมาชิก แต่แม้จำเลยได้ออกเอกสารซึ่งได้แยกให้เห็นว่าเงินส่วนหักจากพนักงานและเงินส่วนสมทบโดยจำเลยไว้ชัดแจ้ง เมื่อปรากฏว่าในส่วนเงินที่หักจากพนักงานนั้นโจทก์ได้รับแล้ว และจำเลยมีคำสั่งให้โจทก์ออกจากงานโดยงดจ่ายเงินพึงได้ใด ๆ ทั้งสิ้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินส่วนสมทบนี้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1806/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกจ้างรายเดือนลงเวลาทำงานเท็จ ไม่ถือเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ หรือจงใจทำให้นายจ้างเสียหาย จึงต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์เป็นลูกจ้างรายเดือน ได้รับค่าจ้างเป็นอัตราเดือนละตามจำนวนที่กำหนดไว้แน่นอน การคิดค่าจ้างเป็นรายเดือนนี้ย่อมไม่มีการนำจำนวนวันละเวลาที่มาปฏิบัติงานมาเป็นเกณฑ์ในการคำนวณค่าจ้างในการมาปฏิบัติงานของโจทก์ ดังนี้ หากโจทก์จะขาดงานไปบ้างก็ถือเป็นเพียงการปฏิบัติผิดระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานฐานละทิ้งหน้าที่เท่านั้น การที่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างรายเดือนลงเวลามาปฏิบัติงานกะกลางคืนตั้งแต่เวลา 19.57นาฬิกา ถึงเวลา 4 นาฬิกาของวันรุ่งขึ้นอันเป็นเท็จ ย่อมมีผลเป็นการขาดงานไปหนึ่งกะเท่านั้น กรณียังถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำเพื่อแสวงหาประโยชน์ในค่าจ้างโดยไม่ชอบและประสงค์ให้จำเลยได้รับความเสียหายแก่การผลิต จึงไม่เป็นการทุจริตต่อหน้าที่และจงใจทำให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างได้รับความเสียหายตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 47(1) และ (3) การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์มิได้กระทำความผิดดังกล่าว จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1244/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ค่าชดเชย และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า กรณีลูกจ้างไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง
ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยข้อ 47 กำหนดเรื่องการขาดงานถือเป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุผลที่สมควรจะถูกพิจารณาโทษทางวินัยคือขาดงานครั้งแรกไม่จ่ายค่าจ้างในวันขาดงานและออกหนังสือเตือนครั้งที่1การขาดงานครั้งที่ 2 และครั้งที่ 3 จะไม่จ่ายค่าจ้าง 2 เท่าและ 3 เท่าของค่าจ้างพร้อมกับออกหนังสือเตือนทั้งสองครั้งตามลำดับการขาดงานครั้งที่4จึงจะเลิกจ้างได้และข้อ5.24กำหนดว่าเจ้าหน้าที่ที่ฝ่าฝืนระเบียบของศูนย์ประกันสังคมของจำเลยจะถูกพิจารณาลงโทษดังนี้1.ตักเตือนด้วยวาจา 2.ออกจดหมายเตือนครั้งที่ 1 3. ออกจดหมายเตือนครั้งที่ 2 4.ออกจดหมายเตือนครั้งที่ 3 พักงานโดยมีกำหนดโดยไม่ได้รับค่าจ้างและ 5.เลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยดังนั้นตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานดังกล่าวเจ้าหน้าที่ที่ขาดงานโดยละทิ้งหน้าที่จำเลยจะต้องเตือนด้วยวาจา 1ครั้งก่อนหากมีการกระทำผิดซ้ำในเรื่องเดิมหลังจากนั้นจำเลยจะต้องออกหนังสือเตือนถึง 3 ครั้งเมื่อขาดงานครั้งที่ 5 จึงให้เลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยเมื่อระเบียบข้อบังคับของจำเลยทั้งสองนี้ถือเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างและเป็นคุณแก่ลูกจ้างยิ่งกว่าประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ 47(4) และจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยระบุในหนังสือเลิกจ้างว่าโจทก์ละทิ้งหน้าที่โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับในการทำงานโดยในครั้งแรกโจทก์ได้รับคำสั่งของจำเลยให้โจทก์ไปทำงานเป็นแพทย์ประกันสังคมประจำโรงพยาบาลร.แต่โจทก์ไม่ยอมปฏิบัติตามจำเลยจึงได้ออกคำสั่งเป็นหนังสือให้โจทก์ไปปฏิบัติหน้าที่ที่โรงพยาบาลร.โจทก์รับทราบหนังสือดังกล่าวแล้วไม่ยอมไปเมื่อตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยจำเลยจะต้องตักเตือนด้วยวาจา 1 ครั้งและออกหนังสือเตือนอีก 3 ครั้งจึงจะเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยได้การที่จำเลยออกหนังสือเตือนโจทก์เพียงครั้งเดียวแล้วเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนของข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างและกรณีไม่เข้าข้อยกเว้นที่จำเลยจะเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยจึงเป็นการเลิกจ้างที่จำเลยจะต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์แต่การที่โจทก์ได้รับคำสั่งจากศูนย์ประกันสังคมเอกชนในนามจำเลยที่1ให้ไปปฏิบัติงานเป็นแพทย์ที่โรงพยาบาลร.แต่โจทก์ก็ไม่ไปปฏิบัติงานตามคำสั่งเมื่อจำเลยมีหนังสือย้ำให้โจทก์ไปปฏิบัติงานภายในเวลาที่กำหนดโจทก์ก็ไม่ไปปฏิบัติงานตามหน้าที่อีกเช่นนี้ถือได้ว่าโจทก์ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับในการทำงานของจำเลยทั้งสองโดยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยทั้งจำเลยได้เตือนเป็นหนังสือแล้วจึงมีเหตุอันสมควรเพียงพอที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ได้ไม่เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมส่วนลำดับขั้นตอนการลงโทษตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยที่กำหนดให้จำเลยเตือนด้วยวาจาในครั้งแรกและออกหนังสือเตือนอีก3ครั้งจึงจะเลิกจ้างลูกจ้างได้นั้นเมื่อระเบียบดังกล่าวได้ระบุไว้ชัดว่าให้ใช้แก่กรณีเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเท่านั้นดังนี้จะนำระเบียบนี้มาใช้บังคับแก่กรณีเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522 มาตรา 49 ซึ่งมีหลักเกณฑ์การวินิจฉัยแตกต่างจากการเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ 46 และข้อ 47 หาได้ไม่และการที่โจทก์ไม่ไปปฏิบัติงานเป็นการจงใจขัดคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างแล้วจำเลยจึงมีเหตุที่จะเลิกจ้างโจทก์โดยมิพักต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจากจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 583

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 90/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีทะเลาะวิวาท ต้องพิจารณาพฤติการณ์เป็นรายกรณี ไม่ใช่เลิกจ้างได้ทันทีเสมอไป
แม้ระเบียบข้อบังคับของจำเลยจะระบุว่าการทะเลาะวิวาทถือเป็นความผิดอย่างร้ายแรงก็ตาม จะถือว่าถ้ามีการทะเลาะวิวาทกันแล้วไม่ว่ากรณีจะเป็นอย่างไรก็เป็นกรณีร้ายแรงทุกกรณีนั้น ย่อมไม่ชอบด้วยความมุ่งหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 47 ซึ่งการที่จะฟังว่ากรณีใดเป็นกรณีร้ายแรงหรือไม่จะต้องพิจารณาถึงพฤติการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นกรณีไป กรณีของโจทก์ทั้งสองแม้ได้ทะเลาะวิวาทกันจนถึงขนาดกอดรัดฟัดเหวี่ยงกัน แต่เมื่อ บ.หัวหน้ากะเข้ามาเห็นและแยกโจทก์ทั้งสองออกจากกันแล้วก็ไม่มีเหตุการณ์ร้ายแรงอย่างไรต่อไปอีก ทรัพย์สินของจำเลยก็ไม่ปรากฏว่าเสียหายอย่างไร ส่วนการกระทำของโจทก์ทั้งสองที่ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของจำเลยด้วยนั้น แต่เมื่อระเบียบข้อบังคับของจำเลยดังกล่าว จำเลยมิได้ถือว่าเป็นกรณีร้ายแรงดังนี้ กรณียังถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีร้ายแรงที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ทั้งสองโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5959/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงเวลาทำงานไม่ตรงกับความเป็นจริง ไม่ถือเป็นการทุจริตหรือฝ่าฝืนระเบียบร้ายแรง หากนายจ้างไม่ถือเป็นสาระสำคัญ
ตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ลูกจ้างจะต้องมาทำงานระหว่าง 8 นาฬิกา ถึง 17 นาฬิกา การที่ลูกจ้างลงเวลาทำงานไว้ว่าได้มาทำงานและเลิกงานตามเวลาดังกล่าว โดยมีลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ควบคุมการทำงานลงชื่อกำกับความถูกต้องในช่องหมายเหตุทุกวัน แสดงว่านายจ้างไม่ได้ถือว่าการลงเวลามาทำงานและเลิกงานเป็นสาระสำคัญ แม้จะลงเวลาไม่ตรงกับความเป็นจริงผู้ควบคุมการทำงานลูกจ้างก็ลงชื่อกำกับความถูกต้องให้ ไม่ปรากฏว่า ลูกจ้างถูกหักค่าจ้างจากการมาทำงานสายและเลิกงานก่อนเวลา จึงมิใช่เป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานในกรณีที่ร้ายแรง และการกระทำดังกล่าวก็ไม่ถือว่าเป็นการทุจริตต่อหน้าที่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5780/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่เป็นธรรมจากเหตุฝ่าฝืนระเบียบ และการหักเงินทดรองจ่ายจากค่าจ้าง
ข้อความในเอกสารที่เป็นปัญหา นอกจากจะมีคำรับของลูกจ้างว่ามาทำงานสายอันเป็นการกระทำฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของนายจ้างแล้ว ลูกจ้างยังให้สัญญาว่าจะไม่มาทำงานสายอีก หากไม่ปฏิบัติตามคณะกรรมการสอบสวนจะได้พิจารณาเสนอให้ออกก่อนโดยไม่ได้บำเหน็จก็ได้ ลูกจ้างและคณะกรรมการสอบสวนไม่ลงลายมือชื่อไว้ ข้อความตอนหลังที่แสดงให้เห็นว่าคณะกรรมการสอบสวนได้ตักเตือนไม่ให้ลูกจ้างกระทำซ้ำอีกซึ่งหากกระทำซ้ำอีก ก็จะได้รับโทษถึงกับให้ออก อันมีลักษณะเป็นหนังสือเดือนอยู่ในตัวด้วย และคณะกรรมการสอบสวนผู้ลงลายมือชื่อในหนังสือนั้นได้รับการแต่งตั้งจากนายจ้างให้ดำเนินการในเรื่องนี้ต่อลูกจ้าง ย่อมมีอำนาจที่จะลงลายมือชื่อในหนังสือนั้นแทนนายจ้างได้ เอกสารดังกล่าวจึงเป็นหนังสือเตือนของนายจ้างโดยชอบ เมื่อลูกจ้างฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของนายจ้าง และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้างเมื่อนายจ้างมีเหตุเลิกจ้างลูกจ้างดังกล่าว นายจ้างก็ไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรมแล้ว เงินทดรองจ่ายที่ลูกจ้างได้ยืมนายจ้างไปอันเนื่องมาจากการทำงานมิใช่หนี้อื่นตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 30 นายจ้างมีสิทธินำเงินทดรองดังกล่าวมาหักจากค่าจ้างที่นายจ้างจะต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5615/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้าง การวินิจฉัยพยานหลักฐาน และการพิจารณาคำเตือนซ้ำ ศาลฎีกาเห็นว่าการลากิจไม่ถือเป็นความผิดซ้ำคำเตือน
การลากิจตามเอกสารหมาย ร.16 ของผู้คัดค้านนั้นผู้ร้องมิได้บรรยายหรือกล่าวไว้ในคำร้องว่าผู้คัดค้านได้ขาดงานโดยฝ่าฝืนระเบียบการลาซึ่งผู้ร้องไม่ได้ประสงค์ให้ลงโทษ การที่ศาลแรงงานนำมาฟังเป็นโทษแก่ผู้คัดค้านจึงเป็นการไม่ชอบ ส่วนเอกสารหมาย ร.21 เป็นการลากิจซึ่งผู้คัดค้านได้ยื่นใบลาล่วงหน้าจึงไม่ผิดระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของผู้ร้อง แต่เป็นการลาเกินกำหนด 4 วันเป็นกรณีไม่ได้รับค่าจ้างตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานซึ่งผู้ร้องก็ไม่ได้อนุมัติการลา แต่ผู้ร้องได้หมายเหตุไว้ว่าในกรณีนี้ผู้จัดการบุคคลได้เรียกมาว่ากล่าวตักเตือนให้นำไปปรับปรุง ผู้คัดค้านรับปากว่าขอเป็นครั้งสุดท้ายในครั้งนี้ ซึ่งหากมีอีกจะยอมถือเป็นขาดงานและลงชื่อผู้จัดการไว้ ตามข้อความดังกล่าวผู้ร้องไม่ติดใจเอาโทษแก่ผู้คัดค้านและไม่ถือว่าเป็นความผิดแล้วผู้ร้องจะนำการลากิจครั้งนี้มากล่าวโทษผู้คัดค้านอีกหาได้ไม่ผู้คัดค้านจึงมิได้กระทำผิดซ้ำคำเตือน ที่ศาลแรงงานรับฟังเอกสารหมาย ร.16 ที่ผู้ร้องอ้างเป็นการฟังพยานนอกเหนือจากที่กล่าวในคำร้องและรับฟังเอกสารหมาย ร.21 ซึ่งผู้คัดค้านไม่ผิดเป็นว่าผู้คัดค้านมีความผิด เป็นการวินิจฉัยพยานหลักฐานเป็นอย่างอื่นนอกสำนวนเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(5),246 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
of 4