คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุทิน ปัทมราชวิเชียร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 158 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6157/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีและการชำระหนี้ที่ผิดสัญญา: สิทธิของเจ้าหนี้ในการปฏิเสธการชำระหนี้ที่ไม่ถูกต้องตามสัญญา
แม้จำเลยจะยอมจดทะเบียนการเช่าให้โจทก์อันเป็นการขอปฏิบัติการชำระหนี้ตามคำพิพากษาในลำดับแรกก็ตาม แต่หนังสือสัญญาเช่าที่จำเลยเสนอให้โจทก์จดทะเบียนนั้นมีข้อความจำกัดสิทธิผู้เช่าเกินกว่าที่ผู้เช่าโดยทั่วไปจะปฏิบัติได้ เช่นบุคคลที่จะอยู่อาศัยในอาคารที่เช่าต้องเป็นญาติของผู้เช่า ห้ามชาวต่างประเทศอยู่อาศัยหรือทำงานในอาคารที่เช่า ห้ามทุกคนอยู่บริเวณเฉลียงของอาคารในเวลากลางวันเป็นต้นซึ่งหนังสือสัญญาเช่าตึกดังกล่าวมีข้อความผิดไปจากข้อความในสัญญาก่อสร้างอาคารยกสิทธิและสัญญาว่าจ้างสร้างอาคารเดิม อันเป็นการจะบังคับให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ผิดไปจากที่จำเลยจะต้องชำระ เช่นนี้ ย่อมเป็นเหตุให้โจทก์มีสิทธิไม่ยอมรับจดทะเบียนการเช่ากับจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 207 และมาตรา 320กรณีต้องถือว่าจำเลยไม่สามารถปฏิบัติการชำระหนี้ตามคำพิพากษาในลำดับแรกได้ โจทก์ย่อมขอออกหมายบังคับคดีแก่จำเลยเพื่อบังคับชำระเงินตามคำพิพากษาในลำดับหลังได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6157/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีและการชำระหนี้ที่ไม่ถูกต้องตามสัญญา ศาลอนุญาตให้บังคับคดีได้
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยที่ 1 ไปจดทะเบียนการเช่าที่ดินโฉนดเลขที่พิพาทกับโจทก์เป็นเวลา 30 ปี โดยให้โจทก์ชำระเงินจำนวน 750,000 บาท แก่จำเลยที่ 2 เป็นการตอบแทน ถ้าจำเลยที่ 1 ไม่ไปก็ให้จำเลยทั้งสองชำระเงินจำนวน 4,950,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยและให้จำเลยทั้งสองชำระค่าขาดประโยชน์เป็นเงินเดือนละ 30,000 บาท แก่โจทก์จนกว่าจำเลยที่ 1 จะไปจดทะเบียนการเช่าที่ดินให้แก่โจทก์และหรือจนกว่าจำเลยทั้งสองจะชำระเงินต้นและดอกเบี้ยให้แก่โจทก์เสร็จสิ้น จำเลยทั้งสองทราบคำบังคับแล้วจำเลยที่ 1 แจ้งให้โจทก์ไปรับการจดทะเบียนการเช่าที่ดินที่พิพาท ณ สำนักงานที่ดิน แต่โจทก์ไม่ไปตามนัด เพราะโจทก์ตรวจสอบแล้วปรากฎว่าจำเลยที่ 1 ไม่ก่อสร้างอาคารพิพาทตามที่ระบุไว้ในสัญญา การก่อสร้างยังไม่เรียบร้อยและไม่อาจทำการค้าได้ อาคารพิพาทมีสภาพรกร้างไม่มีผู้เข้าอยู่อาศัยหากโจทก์รับจดทะเบียนการเช่าแล้วไม่ทำการค้าภายใน 4 ปี โจทก์จะต้องถูกขับไล่และหากไม่ออกจากอาคารพิพาทก็จะต้องเสียค่าปรับวันละ 100,000 บาท การที่จำเลยที่ 1 ไม่ปรับปรุงอาคารให้อยู่ในสภาพที่ทำการค้าได้ แม้จำเลยที่ 1 จะยอมจดทะเบียนการเช่าให้โจทก์อันเป็นการขอปฏิบัติการชำระหนี้ตามคำพิพากษาในลำดับแรกแล้วก็ตามแต่หนังสือสัญญาเช่าที่จำเลยที่ 1 เสนอให้โจทก์จดทะเบียนมีข้อความจำกัดสิทธิผู้เช่าเกินกว่า ที่ผู้เช่าโดยทั่วไปจะปฏิบัติได้ เช่น บุคคลที่จะอยู่อาศัยในอาคารที่เช่าต้องเป็นญาติของผู้เช่าห้ามชาวต่างประเทศอยู่อาศัยหรือทำงานในอาคารที่เช่า ห้ามทุกคนอยู่บริเวณเฉลียงของอาคารในเวลากลางวัน ผู้เช่าต้องทำการค้าภายใน 4 ปี นับแต่วันทำสัญญาเช่ามิฉะนั้นต้องเสียค่าปรับเป็นรายวัน อันเป็นการจะบังคับให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ผิดไปจากที่จำเลยที่ 1 จะต้องชำระตามคำพิพากษา ย่อมเป็นเหตุให้โจทก์มีสิทธิไม่ยอมรับจดทะเบียนการเช่ากับจำเลยที่ 1 ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 207 และมาตรา 320 กรณีต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ไม่สามารถปฏิบัติการชำระหนี้ตามคำพิพากษา ในลำดับแรกได้ โจทก์ย่อมขอออกหมายบังคับคดีแก่จำเลยที่ 1 เพื่อบังคับชำระเงินตามคำพิพากษาในลำดับหลังได้ การออกหมายบังคับคดีของศาลชั้นต้นไม่ได้ขัดต่อ ป.วิ.พ.มาตรา 296 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6133/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความผิดฐานลักทรัพย์และการแยกพิจารณาคดีต่างกรรมต่างวาระ รวมถึงการพิพากษาความผิดตามองค์ประกอบของกฎหมาย
คดีอาญาอีกเรื่องอื่นกับคดีนี้จำเลยเป็นคนเดียวกัน แต่เป็นการลักทรัพย์ผู้เสียหายคนละคนกัน โดยลักทรัพย์ของผู้เสียหายคนหนึ่งเสร็จแล้วจึงไปลักทรัพย์ของผู้เสียหายอีกคนหนึ่ง ทั้งทรัพย์ก็มิได้รวมอยู่ด้วยกัน โดยห่างกันเป็นร้อยเมตร อันเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระกัน จึงมิใช่เป็นเหตุในลักษณะแห่งคดีเดียวกัน ซึ่งศาลจะต้องรับฟังข้อเท็จจริงเป็นอย่างเดียวกัน
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(12) นอกจากเจ้าทรัพย์จะต้องเป็นผู้มีอาชีพกสิกรรมแล้ว จะต้องได้ความอีกว่า ทรัพย์ที่ถูกลักนั้น เป็นผลิตภัณฑ์ พืชพันธุ์หรือสัตว์ หรือเครื่องมืออันมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรมหรือได้มาจากการประกอบกสิกรรมด้วย แต่ตามฟ้องของโจทก์ไม่ปรากฏว่าข้าวเปลือกที่จำเลยลักไปเป็นผลิตภัณฑ์หรือพืชพันธุ์ซึ่งผู้เสียหายมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรม หรือได้มาจากการกสิกรรมหรือไม่ฟ้องโจทก์จึงไม่ต้องด้วยมาตรา 335(12)ศาลจึงไม่อาจลงโทษจำเลยในความผิดดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6133/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลักทรัพย์ข้าวเปลือก: การพิสูจน์ความผิดและองค์ประกอบความผิดฐานลักทรัพย์จากการเกษตร
จำเลยในคดีอาญาอีกเรื่องหนึ่งของศาลชั้นต้นกับจำเลยคดีนี้เป็นบุคคลคนเดียวกัน แม้พวกคนร้ายจะเป็น ชุดเดียวกันและกระทำการลักทรัพย์ติดต่อกัน แต่เป็นการลักทรัพย์ของผู้เสียหายคนละคนกับผู้เสียหายอีกคนหนึ่ง ทรัพย์ก็มิได้รวมอยู่ด้วยกันแต่อยู่ห่างกันเป็นร้อยเมตร อันเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระกัน จึงมิใช่เป็นเหตุในลักษณะแห่งคดีเดียวกันซึ่งศาลจะต้องรับฟังข้อเท็จจริงเป็นอย่างเดียวกัน
แม้โจทก์จะไม่มีประจักษ์พยานเห็นขณะคนร้ายลักข้าวเปลือกของผู้เสียหาย แต่โจทก์มีพยานเบิกความว่า เห็นรถยนต์ของคนร้ายบรรทุกกระสอบใส่ข้าวเปลือกมีชื่อ อ. ติดอยู่ที่กระสอบซึ่งเป็นกระสอบที่ใช้ใส่ข้าวเปลือกบริเวณบ้านผู้เสียหายมาติดหล่มอยู่ห่างจากกองกระสอบข้าวเปลือกของผู้เสียหายประมาณ 500 เมตร สงสัยว่าจะเป็นกระสอบข้าวของผู้เสียหาย เมื่อรถคนร้ายไปแล้วพยานจึงได้ไปบอกผู้เสียหายในเวลาใกล้เคียงกัน ผู้เสียหายพบว่าข้าวเปลือกหายไป 6 กระสอบ จึงไปแจ้งความและอีก 1 สัปดาห์ต่อมา เมื่อเจ้าพนักงานตำรวจนำกระสอบข้าวซึ่งผู้รับซื้อข้าวเปลือกจาก ส. และจำเลยมาให้ผู้เสียหายดูแล้ว ผู้เสียหายจำได้ว่าเป็นกระสอบใส่ข้าวเปลือกของตน ตามพฤติการณ์ที่จำเลยเป็นผู้พาไปติดต่อรถยนต์มาบรรทุกข้าวในคืนเกิดเหตุ เมื่อได้รถยนต์แล้วก็มิได้ไปขนข้าวทันทียังได้ไป พบพวกซึ่งรออยู่ที่ร้านกาแฟแล้วเปลี่ยนไปนั่งกินข้าวต้ม จนถึงเวลาประมาณเที่ยงคืนจึงเดินทางไปขนข้าว และตามบันทึกคำให้การชั้นสอบสวนจำเลยก็ให้การว่าคืนเกิดเหตุขนข้าวไปเก็บไว้ที่บ้านจำเลยก่อน รุ่งขึ้นจำเลยก็ยังได้พา ส. ไปขายข้าวด้วย ต่อมาเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยและ ส. ได้พร้อมกันที่บ้านจำเลย เมื่อพิจารณาประกอบ คำรับสารภาพของจำเลยตามบันทึกการจับกุมแล้ว ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยร่วมกันพวกคนร้ายลักข้าวเปลือกของ ผู้เสียหายไปจริง
ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 (12) นอกจากเจ้าทรัพย์จะต้องเป็นผู้มีอาชีพกสิกรรมแล้ว จะต้องได้ความอีกว่า ทรัพย์ที่ถูกลักนั้นเป็นผลิตภัณฑ์พืชพันธ์หรือสัตว์ หรือเครื่องมืออันมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรมหรือได้มาจากการประกอบกสิกรรมด้วย
ตามฟ้องของโจทก์ไม่ปรากฏว่าข้าวเปลือกที่จำเลยกับพวกลักไปเป็นผลิตภัณฑ์หรือพืชพันธ์ซึ่งผู้เสียหายมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรม หรือได้มาจากการกสิกรรม จึงไม่ต้องด้วย ป.อ. มาตรา 335 (12) ศาลจึงไม่อาจลงโทษจำเลยในความผิดตามมาตรา 335 (12) ได้ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5981/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบวกโทษจำคุกที่รอการลงโทษ: ความชัดเจนของคำขอและเจตนาของจำเลยมีผลต่อการพิจารณา
การระบุหมายเลขคดีที่โจทก์ขอให้นับโทษจำคุกที่รอการลงโทษไว้มาบวกเข้ากับโทษจำคุกในคดีนี้เห็นได้ชัดแจ้งว่าเป็นการพิมพ์หมายเลขคดีแดงผิดพลาดจาก 566/2542 เป็น 556/2542ซึ่งเป็นเรื่องเล็กน้อย ทั้งจำเลยให้การรับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกันกับจำเลยในคดีอาญาที่โจทก์ขอให้บวกโทษ ซึ่งได้ระบุรายละเอียดทั้งฐานความผิดและโทษที่พิพากษามาด้วย อันเป็นการแสดงว่าจำเลยเข้าใจคำขอให้นำโทษจำคุกที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนมาบวกเข้ากับโทษในคดีนี้ จึงหาทำให้ฟ้องโจทก์เป็นฟ้องเคลือบคลุมไม่การที่ศาลนำโทษจำคุกในคดีก่อนที่รอการลงโทษไว้มาบวกเข้ากับโทษจำคุกในคดีนี้ จึงมิได้เป็นการพิพากษาเกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5960/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินคืนจากผู้ขายหลังแจ้งความร้องทุกข์ การเพิกถอนนิติกรรมเมื่อมีผลกระทบต่อบุคคลภายนอก
ช. ขายที่ดินคืนให้โจทก์เนื่องจากโจทก์ไปร้องทุกข์ต่อจำเลยที่ 1 และมีการไกล่เกลี่ยจน ช. ตกลงโอนที่ดินพิพาทคืนโจทก์โดยให้โจทก์ชำระเงิน 300,000 บาท แต่โจทก์ไม่สามารถหาเงินได้ทัน จึงขอให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ช่วยเหลือหาเงินให้ โดยจะตอบแทนด้วยการโอนที่ดินให้จำนวน 3 ไร่ ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าในการขายที่ดินพิพาทคืนโจทก์ดังกล่าว ช. กลับโอนที่ดินพิพาทเป็นชื่อของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 แทนการซื้อขายที่ดินพิพาทจึงมิได้เป็นไปตามที่ ช. กับโจทก์และจำเลยที่ 1ที่ 2 ตกลงกัน การที่ ช. โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ย่อมทำให้โจทก์เสียเปรียบ โจทก์ย่อมขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่าง ช. กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 หรือติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของโจทก์ได้ แต่การเพิกถอนนิติกรรมดังกล่าวย่อมกระทบกระเทือนถึงสิทธิของ ช. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกคดี เมื่อโจทก์ไม่ได้ฟ้องช. เป็นจำเลย ผลของคำพิพากษาไม่อาจบังคับบุคคลภายนอกคดีศาลจึงไม่อาจพิพากษาให้ตามคำของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5916/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่โต้แย้งกระบวนการพิจารณาที่ผิดระเบียบในศาลชั้นต้น ทำให้ไม่อุทธรณ์ได้ในชั้นอุทธรณ์และฎีกา
ในระหว่างการสืบพยานจำเลย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานศาลนำสำนวนคดีแพ่งอีกคดีหนึ่งมาผูกติดไว้กับสำนวนคดีตามที่ทนายจำเลยยื่นคำแถลงขอและอนุญาตให้เลื่อนการพิจารณาออกไปตามที่ทนายจำเลยแถลงขอเวลาในการตรวจสอบสำนวนคดีที่มาผูกติดไว้ เมื่อถึงวันนัดสืบพยานถัดไป เจ้าพนักงานศาลมิได้นำสำนวนคดีแพ่งดังกล่าวมาผูกติดไว้ แต่ทนายจำเลยก็ไม่ได้โต้แย้งคัดค้านทั้งยังนำพยานเข้าเบิกความต่อจนเสร็จสิ้น จนศาลชั้นต้นพิพากษาคดีต่อมา จากพฤติการณ์ดังกล่าวจำเลยมิได้โต้แย้งว่าศาลชั้นต้นพิจารณาผิดระเบียบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 วรรคสองแต่อย่างใดข้อที่ว่าศาลชั้นต้นพิจารณาผิดระเบียบหรือไม่ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5916/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่โต้แย้งกระบวนการพิจารณาที่ผิดระเบียบ ทำให้ข้ออุทธรณ์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ในวันนัดสืบพยานจำเลย จำเลยและจำเลยร่วมยื่นคำแถลงต่อศาลชั้นต้น ขอให้มีคำสั่งให้เจ้าพนักงานศาลนำสำนวนคดีแพ่งมาผูกติดไว้กับสำนวนคดีนี้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาต ทนายจำเลยและทนายจำเลยร่วมซึ่งเป็นคนเดียวกันได้แถลงต่อศาลชั้นต้นขอเลื่อนคดีอ้างว่าต้องตรวจสอบเอกสารหลายฉบับในสำนวนคดีแพ่งดังกล่าวซึ่งต้องใช้เวลา ศาลชั้นต้นอนุญาตให้เลื่อนไปนัดสืบพยานจำเลยต่อวันที่ 9 ธันวาคม 2542 เมื่อถึงวันนัดสืบพยานจำเลย เจ้าพนักงานศาลมิได้นำสำนวนคดีแพ่งมาผูกไว้ในคดีนี้ จำเลยและจำเลยร่วมทราบแล้วก็ไม่ได้โต้แย้งคัดค้าน ทั้งยังนำพยานเข้าเบิกความต่อจนเสร็จสิ้นและแถลงติดใจสืบพยานจำเลยเพียงเท่านี้ จนศาลชั้นต้นพิพากษาคดีในวันที่ 30 ธันวาคม 2542 การที่จำเลยและจำเลยร่วมมิได้โต้แย้งว่าศาลชั้นต้นพิจารณาผิดระเบียบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคสอง ดังนั้น ข้อที่ว่าศาลชั้นต้นมิได้สั่งให้เจ้าพนักงานศาลนำสำนวนคดีแพ่งมาผูกติดไว้ทำให้จำเลยและจำเลยร่วมไม่มีโอกาสใช้สำนวนดังกล่าวซักค้านพยานโจทก์เป็นการพิจารณาผิดระเบียบหรือไม่ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น เป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้ชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5875/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจับกุมและแจ้งข้อหาจำหน่ายยาเสพติดโดยไม่มีพยานหลักฐานชัดเจน ศาลยกประโยชน์แห่งความสงสัย
ก่อนจับกุมจำเลย พยานผู้จับกุมสืบทราบเพียงว่ามีหญิงคนหนึ่งลักลอบจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนจึงไปที่หมู่บ้านที่เกิดเหตุพบจำเลยยืนอยู่ข้างทางท่าทางมีพิรุธจะเดินหนีจึงแสดงตัวเข้าตรวจค้นจับกุมพบเมทแอมเฟตามีนอยู่ในมือจำเลยและเงินสดอยู่ในกระเป๋ากางเกง จึงแจ้งข้อหาว่าจำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ชั้นจับกุมและสอบสวนจำเลยให้การรับสารภาพ ดังนี้ พยานผู้จับกุมก็ไม่ทราบแน่ชัดว่าจำเลยจะเป็นหญิงตามที่สืบทราบมาหรือไม่ เหตุที่จับจำเลยได้น่าจะเป็นเหตุบังเอิญมากกว่า นอกจากจำเลยแล้วก็ยังมีการจับกุมผู้ต้องหารายอื่น ๆ อีก ทั้งบันทึกคำให้การรับสารภาพชั้นสอบสวนก็มีร่องรอยการแก้ไขในช่องแจ้งข้อหา กรณียังมีเหตุน่าสงสัยอยู่ว่าจำเลยกระทำผิดในข้อหามีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายหรือไม่คงลงโทษฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5720/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุสุดวิสัยในการยื่นอุทธรณ์ – การขยายเวลา และการยื่นคำร้องต่อศาลอื่น
จำเลยได้รับอนุญาตให้ขยายเวลายื่นอุทธรณ์ภายในวันที่ 28 กันยายน 2541 จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะยื่นอุทธรณ์ ต่อศาลชั้นต้นที่มีเขตศาลเหนือคดีนี้ภายในวันที่ 28 กันยายน 2541 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 198 หากไม่อาจยื่นอุทธรณ์ ต่อศาลชั้นต้นได้โดยเหตุสุดวิสัย จำเลยจะยื่นอุทธรณ์โดยทำเป็นคำร้องต่อศาลซึ่งตนอยู่ในเขตศาลในขณะนั้นก็ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 10 ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15
ทนายจำเลยได้รับมอบหมายจากจำเลยให้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้น (ศาลจังหวัดลพบุรี) และทนายจำเลยได้ ขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ไป 15 วัน ซึ่งจะครบกำหนดระยะเวลาขอขยายวันที่ 29 กันยายน 2541 แต่ศาลชั้นต้น ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์คดีนี้ไปเพียงวันที่ 28 กันยายน 2541 ซึ่งในวันที่ 28 กันยายน 2541 ทนายจำเลยไปดูที่เกิดเหตุคดีอื่นภายในจังหวัดฉะเชิงเทรา เวลาประมาณ 8 นาฬิกา ปรากฏว่ารถยนต์ของทนายจำเลยขับไปชนก้อนหินขนาดใหญ่ เป็นเหตุให้ก้นถังน้ำมันเครื่องแตก ช่างไม่สามารถทำการซ่อมให้เสร็จในวันเดียวกันหรือหากเสร็จก็จะเป็นเวลาเย็น เป็นเหตุให้ทนายจำเลยกลับมายื่นอุทธรณ์ต่อศาลจังหวัดลพบุรีไม่ทัน ทนายจำเลยจึงยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์ ต่อศาลจังหวัดฉะเชิงเทราซึ่งเป็นศาลที่ทนายจำเลยอยู่ภายในเขตศาล เนื่องจากทนายจำเลยไปคนเดียวและรถยนต์ ของทนายจำเลยมีราคาประมาณสองล้านบาทและไม่รู้จักกับเจ้าของอู่ซ่อมรถ จึงไม่อาจทิ้งรถยนต์ไว้ที่อู่ซ่อมรถ เมื่อมีเหตุที่ทนายจำเลยไม่อาจที่จะกลับไปยื่นอุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้น (ศาลจังหวัดลพบุรี) ได้ทัน ถือว่าเป็นพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้และไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้อันเป็นเหตุสุดวิสัย ทนายจำเลยจึงยื่นคำร้องขอยื่นอุทธรณ์ ต่อศาลจังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งทนายจำเลยอยู่ในเขตศาลในขณะนั้นได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 10 ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15
of 16