พบผลลัพธ์ทั้งหมด 33 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 734/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม: การเปลี่ยนแปลงวันหยุดประเพณีสร้างความสับสน ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชย
เดิมจำเลยกำหนดให้วันที่ 4 และ 5 มิถุนายน 2536 เป็นวันหยุดตามประเพณี แต่จำเลยมีความจำเป็นต้องให้ลูกจ้างมาทำงานในวันดังกล่าวจึงได้ขออนุญาตต่อแรงงานจังหวัด แรงงานจังหวัดอนุญาต แสดงว่าจำเลยยังถือว่าวันที่ 4 และ 5 มิถุนายน 2536 เป็นวันหยุดตามประเพณีของจำเลยอยู่ แต่ในขณะเดียวกันจำเลยก็มีประกาศเปลี่ยนแปลงวันหยุดประเพณีดังกล่าวเป็นวันที่ 2 และ 6กรกฎาคม 2536 แทน และสหภาพแรงงานที่โจทก์เป็นสมาชิกได้มีหนังสือคัดค้านการที่จำเลยประกาศเปลี่ยนแปลงวันหยุดดังกล่าวด้วยเหตุการณ์ดังกล่าวน่าจะสร้างความสับสนแก่ลูกจ้างของจำเลยรวมทั้งโจทก์ด้วยว่า วันที่ 4 และ 5 มิถุนายน 2536 เป็นวันหยุดตามประเพณีหรือไม่และจะต้องมาทำงานในวันนั้นหรือไม่ ดังจะเห็นได้จากบัญชีรายชื่อลูกจ้างที่ไม่มาทำงานในวันดังกล่าวมีจำนวนถึง169 คน กรณีจึงไม่พอที่จะถือว่า โจทก์ละทิ้งหน้าที่ในวันที่ 4และ 5 มิถุนายน 2536 โดยไม่มีเหตุอันสมควร การกระทำของโจทก์ไม่เข้าข้อยกเว้นที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4107/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีทำร้ายร่างกายในที่ทำงาน ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
ข้อบังคับการทำงานของผู้ร้องกำหนดประเภทการลงโทษไว้โดยมิได้ระบุขั้นตอนการลงโทษไว้ ผู้ร้องจึงไม่จำต้องลงโทษตามขั้นตอนในข้อบังคับการทำงานผู้ร้องอาจเลือกวิธีใด ๆ ตามข้อบังคับการทำงานโดยพิจารณาจากความหนักเบาของความผิดของพนักงานแต่ละคน ผู้คัดค้านกระทำผิดในขณะปฏิบัติหน้าที่ในสถานที่ทำงานโดยไม่ยำเกรงต่อข้อบังคับการทำงานของผู้ร้อง การกระทำของผู้คัดค้านไม่เป็นเยี่ยงอย่างอันดีทำให้แตกความสามัคคี ยากแก่การปกครองบังคับบัญชา กรณีจึงมีเหตุสมควรให้ผู้ร้องเลิกจ้างผู้คัดค้านได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4107/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างได้เมื่อกระทำผิดวินัยร้ายแรง แม้ข้อบังคับไม่ได้กำหนดขั้นตอนการลงโทษ
ข้อบังคับการทำงานของผู้ร้องกำหนดประเภทการลงโทษ ไว้โดยมิได้ระบุขั้นตอนการลงโทษไว้ ผู้ร้องจึงไม่จำต้อง ลงโทษตามขั้นตอนในข้อบังคับการทำงานผู้ร้องอาจ เลือกวิธีใด ๆ ตามข้อบังคับการทำงาน โดยพิจารณา จากความหนักเบาของความผิดของพนักงานแต่ละคนผู้คัดค้านกระทำผิดในขณะปฏิบัติหน้าที่ในสถานที่ทำงานโดยไม่ยำเกรงต่อข้อบังคับการทำงานของผู้ร้องการกระทำของผู้คัดค้านไม่เป็นเยี่ยงอย่างอันดี ทำให้แตกความสามัคคี ยากแก่การปกครองบังคับบัญชากรณีจึงมีเหตุสมควรให้ผู้ร้องเลิกจ้างผู้คัดค้านได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3851/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมเนื่องจากเหตุจำเป็นและเหตุสุดวิสัย การหยุดงานเนื่องจากเหตุจำเป็นและการประกาศภาวะฉุกเฉินถือเป็นเหตุอันสมควร
โจทก์หยุดงานไปตั้งแต่วันที่ 18 พฤษภาคม 2535 ถึงวันที่ 20พฤษภาคม 2535 เนื่องจากโจทก์มีความจำเป็นต้องไปร่วมงานบวชน้องเขยที่ต่างจังหวัดประกอบกับในระหว่างที่โจทก์หยุดงานและอยู่ที่ต่างจังหวัดนั้น ได้มีการประกาศภาวะฉุกเฉินไม่มีรถยนต์โดยสารแล่นเข้ากรุงเทพมหานคร จึงเป็นเหตุให้โจทก์ไม่สามารถเดินทางกลับมาทำงานได้ ดังนี้ การหยุดงานหรือการละทิ้งหน้าที่ของโจทก์จึงเป็นการละทิ้งหน้าที่โดยมีเหตุอันสมควร กรณีไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตามข้อ47(4) ของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานจำเลยจะเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุดังกล่าวโดยไม่จ่ายค่าชดเชยหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1217/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการนัดหยุดงานของสมาชิกสหภาพแรงงาน แม้จะยินยอมข้อตกลงกับนายจ้างแล้ว ก็ยังคงมีอยู่ นายจ้างเลิกจ้างไม่ได้หากสมาชิกยังอยู่ในช่วงนัดหยุดงานโดยชอบ
การที่ผู้กล่าวหาที่ 1 ที่ 2 ที่ 5 ที่ 6 และที่ 7 ได้ทำ หนังสือให้แก่โจทก์ว่าได้รับทราบข้อเท็จจริงแล้ว จึงไม่ติดใจที่จะ เรียกร้องใด ๆต่อโจทก์อีกต่อไปและมีความประสงค์จะเข้าทำงาน ตามปกติ ก็หาทำให้สิทธินัดหยุดงานที่มีอยู่ตาม พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518อันเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับความ สงบเรียบร้อยของประชาชนระงับไปไม่ผู้กล่าวหาที่ 1 ที่ 2 ไม่มา ทำงานในระหว่างที่ยังอยู่ในช่วงระยะเวลานัดหยุดงานโดยชอบ ไม่ถือว่าเป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุผล อันสมควร ส่วนผู้กล่าวหาที่ 5 ที่ 6 และที่ 7 นั้น ข้อเท็จจริงปรากฏว่า ไม่มาทำงานเพราะโจทก์ปิดงาน จึงมิใช่การละทิ้งหน้าที่โดย ไม่มีเหตุผลอันสมควรเช่นกัน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5005/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิหักเงินประกันความเสียหายจากละทิ้งหน้าที่ และการกำหนดประเด็นข้อพิพาทค่าจ้าง
จำเลยมีระเบียบเกี่ยวกับเงินประกันความว่า "หากมีความเสียหายเกิดขึ้นอันอยู่ในความรับผิดชอบตามหน้าที่ของพนักงาน ไม่ว่าจะโดยเจตนา ไม่เจตนาประมาทเลินเล่อ อันเป็นความผิดจากการกระทำของพนักงานโรงพยาบาล มีสิทธิหักค่าเสียหายออกจากเงินประกันได้ทันทีตามความเป็นจริง และพนักงานต้องไม่กระทำความผิดสถานร้ายแรงตามกฎหมาย และถูกเลิกจ้างตามความผิดนั้น โรงพยาบาลจะคืนเงินประกันให้" การที่โจทก์ขาดงานอันเป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุอันสมควรเป็นเวลาติดต่อกันถึงห้าวัน ย่อมเป็นการเสียหายแก่จำเลยอยู่ในตัวและถือได้ว่าเป็นการร้ายแรง เมื่อโจทก์ถูกเลิกจ้างเพราะเหตุนี้จึงเข้าเกณฑ์ตามระเบียบดังกล่าว ซึ่งจำเลยมีสิทธิหักเงินประกันได้ ศาลแรงงานกลางกำหนดประเด็นข้อพิพาทและบันทึกไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาว่า สำหรับค่าจ้างในวันหยุดพักผ่อนประจำปีจำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้โดยชัดแจ้งไม่เป็นประเด็นข้อพิพาท จำเลยไม่ได้โต้แย้งว่าการกำหนดประเด็นไม่ถูกต้อง หรือไม่ชอบ คดีจึงไม่มีประเด็นเรื่องค่าจ้างในวันหยุดพักผ่อนประจำปี.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2542/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละทิ้งหน้าที่ของลูกจ้างและการเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย กรณีลูกจ้างไม่มาปฏิบัติงานตามที่นายจ้างสั่ง
โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยในตำแหน่ง พนักงานรักษาความปลอดภัยมีหน้าที่ปฏิบัติงานประจำอยู่ตาม สถานที่ที่จำเลยสั่งให้ไปปฏิบัติงานเดิม โจทก์ปฏิบัติงานอยู่ที่โรงแรมในกรุงเทพมหานคร ต่อ มาจำเลยสั่งให้ไปปฏิบัติงานที่โรงงานสุราจังหวัด นครปฐม แต่ โจทก์ไม่ไปขอทำงานใน กรุงเทพมหานคร เพราะภริยาโจทก์ป่วยเป็นคนพิการเดิน ไม่ได้ แม้หลังจากที่โจทก์ไม่ไปปฏิบัติงานที่โรงงานสุราจังหวัด นครปฐม ตาม คำสั่งของจำเลยและโจทก์ไม่มีหน้าที่ใด ที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานที่บริษัทจำเลยโจทก์ก็ยังมีหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงานที่ต้อง ทำงานให้แก่จำเลย คือต้อง มาที่บริษัทจำเลยเพื่อรับคำสั่งให้ไปปฏิบัติงานใด ๆ ให้แก่จำเลย ซึ่ง หากไม่มาจำเลยก็ไม่อาจมีคำสั่งให้โจทก์ทำงานให้แก่จำเลยได้ ดังนั้นการที่โจทก์ไม่มาที่บริษัทจำเลยเป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อ กันจึงเป็นการละทิ้งหน้าที่โดย ไม่มีเหตุอันสมควร จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดย ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2236/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลาหยุดของลูกจ้าง: เหตุผลอันสมควร, คำเตือน, และสิทธิในการรับค่าชดเชย
มารดาโจทก์เป็นโรคความดันโลหิตสูงซึ่งได้รับการรักษาตามปกติไม่ปรากฏว่ามีอาการรุนแรงและเฉียบพลัน และไม่ได้ป่วยหนักจนเป็นเหตุให้โจทก์ต้องรีบเดินทางไปทันที การที่โจทก์ขาดงานไปเยี่ยมมารดาโดยไม่ลากิจ ให้ถูกต้อง จึงเป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุอันสมควร การที่ นาย จ้างมีระเบียบห้ามมิให้ลูกจ้างลาหยุดโดยไม่มีเหตุอันสมควรหรือลาหยุดเป็นประจำนั้น มิได้หมายความว่าถ้าลูกจ้างฝ่าฝืนแล้วจะต้องมีความผิด เพราะถ้าลูกจ้างยื่นใบลาโดยไม่มีเหตุสมควรหรือลาหยุดบ่อย นายจ้างก็สามารถจะไม่อนุญาตให้ลาหยุดได้ถ้าลูกจ้างลาหยุดโดยนายจ้างอนุญาตแล้ว แม้เป็นการลาหยุดโดยไม่มีเหตุอันสมควรหรือลาหยุดเป็นประจำ จะถือว่าเป็นความผิดของลูกจ้างไม่ได้ และการลากิจ ลาป่วยบ่อย ๆ ของลูกจ้าง ไม่ใช่การกระทำผิดไม่ต้องด้วยประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(3) ในอันที่จะเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2236/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้าง: เหตุผลความจำเป็น, การลาหยุด, และสิทธิในการได้รับค่าชดเชย
มารดาโจทก์เป็นโรคความดันโลหิตสูงซึ่งได้รับการรักษาตามปกติไม่ปรากฏว่ามีอาการรุนแรงและเฉียบพลัน และไม่ได้ป่วยหนักจนเป็นเหตุให้โจทก์ต้องรีบเดินทางไปทันที การที่โจทก์ขาดงานไปเยี่ยมมารดาโดยไม่ลากิจให้ถูกต้อง จึงเป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุอันสมควร การที่นายจ้างมีระเบียบห้ามมิให้ลูกจ้างลาหยุดโดยไม่มีเหตุอันสมควรหรือลาหยุดเป็นประจำนั้น มิได้หมายความว่าถ้าลูกจ้างฝ่าฝืนแล้วจะต้องมีความผิด เพราะถ้าลูกจ้างยื่นใบลาโดยไม่มีเหตุสมควรหรือลาหยุดบ่อย นายจ้างก็สามารถจะไม่อนุญาตให้ลาหยุดได้ถ้าลูกจ้างลาหยุดโดยนายจ้างอนุญาตแล้ว แม้เป็นการลาหยุดโดยไม่มีเหตุอันสมควรหรือลาหยุดเป็นประจำ จะถือว่าเป็นความผิดของลูกจ้างไม่ได้ และการลากิจ ลาป่วยบ่อย ๆ ของลูกจ้าง ไม่ใช่การกระทำผิดไม่ต้องด้วยประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 47(3) นายจ้างจะเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1122/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละทิ้งหน้าที่และการวินิจฉัยคดีแรงงาน: การรับเฉพาะการขาดงานไม่ใช่การยอมรับการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุสมควร
คดีมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่า โจทก์ละทิ้งหน้าที่สามวันติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรหรือไม่ เมื่อศาลสอบโจทก์ โจทก์เพียงแต่แถลงรับว่าโจทก์ขาดงานเป็นเวลาสามวันติดต่อกันโดยมิได้แจ้งหรือยื่นใบลาต่อจำเลย ไม่ได้แถลงรับว่าการที่โจทก์ขาดงานนั้นเป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุอันสมควร คดีจึงยังมีปัญหาต้องวินิจฉัยอีกว่า การที่โจทก์ขาดงานนั้นเป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุอันสมควรหรือไม่ คำแถลงรับของโจทก์ดังกล่าวยังไม่เพียงพอแก่การวินิจฉัยคดีได้ ที่ศาลแรงงานกลางสั่งให้งดสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยแล้ววินิจฉัยว่า โจทก์ละทิ้งหน้าที่สามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร จึงเป็นกรณีที่ศาลแรงงานกลางปฏิบัติไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 31 ศาลฎีกาเห็นควรย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานกลางพิจารณาคดีใหม่ให้ถูกต้อง.