คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(4)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 33 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2893/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการนัดหยุดงานของสมาชิกสหภาพแรงงาน การประกาศของนายจ้างมิอาจลบล้างสิทธิได้
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ กำหนดลำดับขั้นตอนนำไปสู่การนัดหยุดงานได้โดยชอบตามมาตรา 22 วรรคท้าย โดยเริ่มจากการที่นายจ้างหรือลูกจ้างแจ้งข้อเรียกร้องให้อีกฝ่ายหนึ่งเพื่อกำหนดหรือแก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเสียก่อน แต่การแจ้งข้อเรียกร้องดังกล่าวหาต้องกระทำด้วยตนเองเสนอไปไม่ อาจให้สมาคมนายจ้างหรือสหภาพแรงงานแล้วแต่กรณีดำเนินการแทนสมาชิกได้ ทั้งมีอำนาจดำเนินการตามขั้นตอนต่อจากนั้นแทนผู้เป็นสมาชิกต่อไปหลังจากนั้นผู้เป็นสมาชิกก็สามารถปิดงานหรือนัดหยุดงานตามแต่กรณีไปโดยชอบ ดังนี้เมื่อสหภาพแรงงานที่โจทก์ทั้งเก้าเป็นสมาชิก ได้แจ้งนัดหยุดงานตามขั้นตอนโดยชอบดังกล่าวแล้ว ถือได้ว่าเป็นการแจ้งนัดหยุดงานแทนสมาชิกด้วย โจทก์ทั้งเก้าจึงไม่ต้องแจ้งนัดหยุดงานต่อจำเลยอีก ส่วนการหยุดงานนั้นมีบทบัญญัติ มาตรา 99 อนุญาตให้สหภาพแรงงานชักชวนสนับสนุนลูกจ้างซึ่งเป็นสมาชิกสหภาพเข้าร่วมหยุดงานเพิ่มขึ้นภายหลังได้อีก ฉะนั้น การหยุดงานจึงหาจำต้องเข้าสมทบหยุดงานพร้อมกันตั้งแต่เริ่มต้นไม่ ดังนี้ เมื่อโจทก์ทั้งเก้าซึ่งเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานเข้าร่วมหยุดงานภายหลังที่สหภาพแรงงานได้นัดหยุดงานไปก่อนแล้ว จึงชอบด้วยกฎหมาย มิใช่เป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุสมควรตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2211/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดงานเนื่องจากรับราชการทหาร ไม่ถือเป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุสมควร
การที่ลูกจ้างขาดงานเป็นเวลา 3 วันทำงานติดต่อ กัน จะเป็นการละทิ้งหน้าที่โดย ไม่มีเหตุสมควรหรือไม่ ต้อง พิจารณาถึง เหตุที่ทำให้ลูกจ้างนั้นไม่ได้มาทำงานว่ามีเหตุสมควรหรือไม่ เพียงใดไม่ใช่ว่าเมื่อลูกจ้างไม่มาทำงานโดย ฝ่าฝืนระเบียบหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเรื่องการลาแล้ว จะเป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุสมควรเสมอไป โจทก์ละทิ้งหน้าที่เกิน 3 วันทำงานติดต่อ กันเนื่องจากไปรับราชการทหารตาม กฎหมาย ไม่ใช่เป็นการละทิ้งหน้าที่โดย ไม่มีเหตุอันสมควรที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ได้ โดย ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4367/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้าง: เหตุอันสมควร, การลาที่ไม่ชอบ, และสิทธิในการได้รับค่าชดเชย/สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
โจทก์ขอลาหยุดงาน 3 วัน จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างไม่อนุญาตโจทก์จึงหยุดงานไป 4 วัน เพื่อเดิน ทางไปจัดเตรียมงานสมรสของบุตรที่ต่างจังหวัดตามประเพณีของท้องถิ่น ดังนี้ เป็นการละทิ้งหน้าที่โดยมีเหตุอันสมควร กรณีต้องด้วยข้อยกเว้นตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(4) จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุดังกล่าวจึงต้องจ่ายค่าชดเชย การละทิ้งการงานของลูกจ้างอันเป็นเหตุให้นายจ้างเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้านั้น ไม่จำต้องมีเหตุอันสมควรหรือไม่เมื่อโจทก์ขอลาหยุด แต่จำเลยไม่อนุญาต การที่โจทก์หยุดงานไปจึงเป็นการลาที่ไม่ชอบ ทั้งเป็นการไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย ถือได้ว่าเป็นการละทิ้งการงานตามป.พ.พ. มาตรา 583 จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า.
of 4