พบผลลัพธ์ทั้งหมด 158 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2537/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการลดเบี้ยปรับภาษีอากร แม้ไม่ตรงตามระเบียบ หากผู้เสียภาษีไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยง
ศาลภาษีอากรกลางให้เหตุผลในการลดเบี้ยปรับว่าโจทก์ไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงการชำระภาษีและให้ความร่วมมือแก่ศาลในการพิจารณาคดี หาใช่เพราะโจทก์ให้ความร่วมมือแก่ศาลในการพิจารณาคดีแต่เพียงประการเดียว แม้โจทก์จะมิได้นำพยานมาสืบในประเด็นนี้ก็ตาม แต่ศาลภาษีอากรก็มีอำนาจนำข้อเท็จจริงจากเอกสารของจำเลยในสำนวนคือรายงานการพิจารณาอุทธรณ์ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปีภาษี2536 ถึง 2539 รายของโจทก์ ที่เจ้าพนักงานของจำเลยให้ความเห็นในประเด็นที่โจทก์ของดหรือลดเบี้ยปรับว่า พฤติการณ์ของโจทก์ไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี แต่เกิดจากความสำคัญผิดและความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ในข้อกฎหมายมาประกอบดุลพินิจในการพิจารณางดหรือลดเบี้ยปรับด้วย
แม้ประมวลรัษฎากร มาตรา 27 ทวิ จะให้อำนาจแก่อธิบดีกรมสรรพากรวางระเบียบในการงดหรือลดเบี้ยปรับออกมาใช้ แต่ก็เป็นเพียงระเบียบที่เจ้าพนักงานประเมินจะต้องถือปฏิบัติไม่มีผลผูกพันศาลให้ต้องปฏิบัติตามระเบียบเช่นว่านั้น ศาลจึงมีอำนาจพิจารณาว่าการที่เจ้าพนักงานงดหรือลดเบี้ยปรับมานั้นถูกต้องตามระเบียบหรือไม่ และมีอำนาจที่จะงดหรือลดเบี้ยปรับได้เองในกรณีที่มีเหตุอันสมควรอีกด้วย
แม้ประมวลรัษฎากร มาตรา 27 ทวิ จะให้อำนาจแก่อธิบดีกรมสรรพากรวางระเบียบในการงดหรือลดเบี้ยปรับออกมาใช้ แต่ก็เป็นเพียงระเบียบที่เจ้าพนักงานประเมินจะต้องถือปฏิบัติไม่มีผลผูกพันศาลให้ต้องปฏิบัติตามระเบียบเช่นว่านั้น ศาลจึงมีอำนาจพิจารณาว่าการที่เจ้าพนักงานงดหรือลดเบี้ยปรับมานั้นถูกต้องตามระเบียบหรือไม่ และมีอำนาจที่จะงดหรือลดเบี้ยปรับได้เองในกรณีที่มีเหตุอันสมควรอีกด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2528/2544 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทุนทรัพย์พิพาทในชั้นฎีกาเกิน 200,000 บาท ทำให้ฎีกาต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์ทั้งสามฟ้องขอให้บังคับจำเลยแบ่งที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกแก่โจทก์ทั้งสามคนละส่วน รวม 3 ส่วน ใน 6 ส่วน ดังนี้ แม้โจทก์ทั้งสามจะฟ้องรวมกันมา การอุทธรณ์ฎีกาของจำเลยก็ต้องถือทุนทรัพย์ตามทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกันเพราะเป็นเรื่องที่โจทก์แต่ละคนใช้สิทธิเฉพาะตน เมื่อที่ดินพิพาทที่โจทก์ทั้งสามตีราคาเป็นทุนทรัพย์รวมกันมานั้นมีราคา 1,200,000 บาท ที่ดินพิพาทแต่ละส่วนที่โจทก์แต่ละคนฟ้องขอแบ่งจึงมีราคาไม่เกิน 200,000 บาท ดังนั้น ราคาทรัพย์สินหรือทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาสำหรับจำเลยต่อโจทก์แต่ละคนจึงไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2528/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทุนทรัพย์พิพาทต่ำกว่า 200,000 บาท ทำให้ฎีกาต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248
โจทก์ทั้งสามฟ้องขอให้บังคับจำเลยแบ่งที่ดินราคา1,200,000 บาท ซึ่งเป็นทรัพย์มรดกแก่โจทก์ทั้งสามคนละส่วนรวม 3 ส่วน ใน 6 ส่วน แม้โจทก์ทั้งสามจะฟ้องรวมกันมา การอุทธรณ์ฎีกาของจำเลยก็ต้องถือทุนทรัพย์ตามทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกัน เพราะเป็นเรื่องที่โจทก์แต่ละคนใช้สิทธิเฉพาะตน เมื่อที่ดินพิพาทแต่ละส่วนที่โจทก์แต่ละคนฟ้องขอแบ่งมีราคาไม่เกิน 200,000 บาท ราคาทรัพย์สินหรือทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาสำหรับจำเลยต่อโจทก์แต่ละคนจึงไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2528/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในคดีแบ่งมรดก: ทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนกำหนดขอบเขตการพิจารณา
โจทก์ทั้งสามฟ้องขอให้บังคับจำเลยแบ่งที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกแก่โจทก์ทั้งสามคนละส่วน รวม 3 ส่วน ใน 6 ส่วน ดังนี้ แม้โจทก์ทั้งสามจะฟ้องรวมกันมา การอุทธรณ์ฎีกาของจำเลยก็ต้องถือทุนทรัพย์ตามทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกัน เพราะเป็นเรื่องที่โจทก์แต่ละคนใช้สิทธิเฉพาะตน เมื่อที่ดินพิพาทที่โจทก์ทั้งสามตีราคาเป็นทุนทรัพย์รวมกันมานั้นมีราคา 1,200,000 บาท ที่ดินพิพาทแต่ละส่วนที่โจทก์แต่ละคนฟ้องขอแบ่งจึงมีราคาไม่เกิน 200,000 บาท ดังนั้น ราคาทรัพย์สินหรือทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาสำหรับจำเลยต่อโจทก์แต่ละคนจึงไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2245/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ: การระงับข้อพิพาทโดยการแลกเปลี่ยนภาระหน้าที่และการบังคับตามสัญญา
บันทึกข้อตกลงในช่องข้อตกลงของคู่กรณีระบุให้ ส. (บุตรโจทก์)ขนย้ายครอบครัวออกจากบ้านเช่าภายใน 60 วัน ส่วนจำเลยยินยอมยกที่ดินโฉนดเลขที่ 8021 เนื้อที่ 35 ตารางวา ให้แก่โจทก์ ดังนี้ จะเห็นว่าข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยดังกล่าวกำหนดให้คู่กรณีทั้งสองฝ่ายต่างมีภาระหน้าที่ต่อกันและเป็นการระงับข้อพิพาทที่มีอยู่ จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2190/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพกพาอาวุธมีดเป็นความผิดสำเร็จ แม้ไม่ได้ใช้ในการกระทำผิด และการบังคับค่าปรับต้องเป็นไปตามอัตราที่กฎหมายกำหนด
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371 ใช้คำว่า "ผู้ใดพาอาวุธไปในเมือง" ฉะนั้นเมื่อจำเลยมีอาวุธมีดติดตัวไปในเมืองก็เป็นความผิดสำเร็จแล้ว หาจำต้องใช้ในการกระทำผิดไม่
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 30 บัญญัติว่า ในการกักขังแทนค่าปรับให้ถืออัตรา 70 บาทต่อหนึ่งวัน ดังนั้นเมื่อศาลอุทธรณ์ลงโทษปรับจำเลยเป็นเงิน 37.50 บาท การบังคับค่าปรับจึงกักขังแทนค่าปรับไม่ได้
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 30 บัญญัติว่า ในการกักขังแทนค่าปรับให้ถืออัตรา 70 บาทต่อหนึ่งวัน ดังนั้นเมื่อศาลอุทธรณ์ลงโทษปรับจำเลยเป็นเงิน 37.50 บาท การบังคับค่าปรับจึงกักขังแทนค่าปรับไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2034/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบทรัพย์ในคดีสิ่งแวดล้อม: ศาลใช้ดุลพินิจตาม ป.อ.มาตรา 33 เมื่อของกลางเป็นเครื่องมือประกอบอาชีพทั่วไป
จำเลยกระทำความผิดเพียงฝ่าฝืนคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัด ที่สั่งห้ามเลี้ยงกุ้งกุลาดำระบบความเค็มต่ำภายใน พื้นที่จังหวัด เครื่องยนต์ ชุดเกียร์ปั่นน้ำ ชุดแกนเหล็กติดใบพันใช้ตีน้ำ ทุ่นรองแกนเหล็กของกลางล้วนเป็นเครื่องมือที่ใช้ประกอบอาชีพเลี้ยงปลา เลี้ยงกุ้ง เป็นเครื่องมือประกอบอาชีพทั่วไป มิใช่เครื่องมือที่มีไว้จะเป็นความผิดในตัวโดยตรงซึ่งตาม พ.ร.บ. ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ก็ไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการริบทรัพย์ไว้โดยเฉพาะ จึงต้องอาศัยบทบัญญัติการริบทรัพย์สินตาม ป.อ. มาตรา 33 จึงเป็นดุลพินิจของศาลที่จะริบหรือไม่ก็ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2034/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบทรัพย์ในคดีสิ่งแวดล้อม: เครื่องมือประกอบอาชีพทั่วไป มิใช่ความผิดโดยตรง ศาลมีดุลพินิจ
จำเลยกระทำผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งผู้ว่าราชการจังหวัดที่มีคำสั่งให้ระงับการเลี้ยงกุ้งกุลาดำในพื้นที่กำหนดโดยเด็ดขาดและก่อให้เกิดอันตรายหรือความเสียหายจากภาวะมลพิษแต่ชุดเกียร์ปั่นน้ำชุดแกนเหล็กติดใบพัดใช้ตีน้ำทุ่นรองแกนเหล็กล้วนเป็นเครื่องมือที่ใช้ประกอบอาชีพเลี้ยงปลาเลี้ยงกุ้ง เป็นเครื่องมือประกอบอาชีพทั่วไป มิใช่เครื่องมือที่มีไว้จะเป็นความผิดในตัวโดยตรงซึ่งตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพ.ศ. 2535 ไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการริบทรัพย์ไว้โดยเฉพาะจึงต้องอาศัยบทบัญญัติการริบทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 33 ซึ่งเป็นดุลพินิจของศาลที่จะริบหรือไม่ก็ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1720/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเบิกความเท็จ: รายละเอียดคำเบิกความที่ขัดแย้งกับข้อเท็จจริงเป็นสำคัญ แม้ไม่ได้ระบุรายละเอียดในฟ้อง
โจทก์ฟ้องจำเลยฐานเบิกความเท็จ โดยบรรยายฟ้องว่าคำเบิกความของจำเลยเป็นข้อสำคัญในคดี มิได้บรรยายรายละเอียดว่าข้อความอันเป็นเท็จนั้นเป็นข้อสำคัญในคดีก่อนอย่างไร แต่โจทก์ก็ได้บรรยายถึงการเบิกความอย่างไรเป็นความเท็จและความจริงเป็นอย่างไร ซึ่งในคดีที่จำเลยเบิกความนั้น ส. ถูกฟ้องเป็นจำเลยข้อหาฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา ข้อที่ว่า ส. เป็นคนร้ายฆ่าผู้ตายหรือไม่เป็นข้อสำคัญในคดีดังกล่าว เมื่อความจริง ส. ใช้อาวุธปืนยิงผู้ตาย แต่จำเลยเบิกความว่าไม่ได้หันไปดูว่าใครเป็นคนยิงและถูกยิง ไม่เห็นเหตุการณ์ขณะที่มีการยิงกัน คำเบิกความของจำเลยตามที่โจทก์ฟ้องดังกล่าวย่อมเป็นข้อสำคัญในคดีที่เข้าใจได้อยู่ในตัวเอง ฟ้องโจทก์จึงมีรายละเอียดพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1720/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158(5) ของฟ้องเบิกความเท็จ: การบรรยายความเท็จและข้อสำคัญในคดี
ตามคำฟ้องบรรยายว่า จำเลยเบิกความเป็นพยานในคดีอาญาที่พนักงานอัยการโจทก์ ฟ้องขอให้ลงโทษจ่าสิบตำรวจ ส. จำเลย ในความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา มีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในความครอบครองและพาอาวุธปืนติดตัวไปโดยไม่ได้รับอนุญาต จำเลยเบิกความในชั้นศาลว่า ไม่เห็นเหตุการณ์ขณะที่มีการยิงกัน ซึ่งคำเบิกความของจำเลยดังกล่าวเป็นความเท็จในการพิจารณาคดีอาญาต่อศาล และความเท็จนั้นเป็นข้อสำคัญในคดี แม้โจทก์มิได้บรรยายรายละเอียดว่า ข้อความอันเป็นเท็จที่จำเลยเบิกความเป็นข้อสำคัญในคดีก่อนอย่างไรก็ตาม แต่โจทก์ก็ได้บรรยายถึงการเบิกความอย่างไรเป็นความเท็จและความจริงเป็นอย่างไร ข้อที่ว่าจ่าสิบตำรวจ ส. เป็นคนร้ายฆ่าผู้ตายโดยใช้อาวุธปืนยิงหรือไม่นั้น เป็นข้อสำคัญในคดีดังกล่าว เมื่อความจริงจำเลยเห็นจ่าสิบตำรวจ ส. ใช้อาวุธปืนยิงผู้ตาย แล้วจำเลยมาเบิกความว่า ไม่ได้หันไปดูว่าใครเป็นคนยิงและถูกยิงไม่เห็นเหตุการณ์ขณะที่มีการยิงกัน คำเบิกความของจำเลยตามที่โจทก์ฟ้อง ย่อมเป็นข้อสำคัญในคดีที่เข้าใจได้อยู่ในตัวเอง ฟ้องโจทก์จึงมีรายละเอียดพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี เป็นฟ้องที่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 177 วรรคสอง จำคุก 3 ปี จำเลยอุทธรณ์ว่า จำเลยไม่ได้กระทำผิดฐานเบิกความเท็จตามฟ้อง แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโดยเห็นว่าเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) โดยยังมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยว่า จำเลยกระทำความผิดฐานเบิกความเท็จตามฟ้องหรือไม่ เพื่อให้การวินิจฉัยความผิดของจำเลยเป็นไปตามลำดับศาล เพราะผลแห่งการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์อาจนำไปสู่การจำกัดสิทธิการฎีกาของคู่ความได้ ศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 208 (2) ประกอบด้วยมาตรา 225
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 177 วรรคสอง จำคุก 3 ปี จำเลยอุทธรณ์ว่า จำเลยไม่ได้กระทำผิดฐานเบิกความเท็จตามฟ้อง แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโดยเห็นว่าเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) โดยยังมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยว่า จำเลยกระทำความผิดฐานเบิกความเท็จตามฟ้องหรือไม่ เพื่อให้การวินิจฉัยความผิดของจำเลยเป็นไปตามลำดับศาล เพราะผลแห่งการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์อาจนำไปสู่การจำกัดสิทธิการฎีกาของคู่ความได้ ศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 208 (2) ประกอบด้วยมาตรา 225