คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุทิน ปัทมราชวิเชียร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 158 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 361/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดประเด็นข้อพิพาทและภาระการพิสูจน์ในคดีภาษีอากร และการฟ้องผู้ว่าฯ กทม. ในฐานะผู้ชี้ขาดประเมิน
ชั้นชี้สองสถานศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาท ทนายจำเลยได้โต้แย้งด้วยวาจาขอให้กำหนดประเด็นเพิ่ม และคัดค้านการกำหนดภาระการพิสูจน์ ศาลชั้นต้นสั่งว่า หากจำเลยจะคัดค้านให้คัดค้านเข้ามาเป็นหนังสือภายใน 8 วัน จำเลยยื่นคำร้องคัดค้านภายในกำหนด ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคำร้องว่าไม่มีเหตุสมควรเปลี่ยนแปลงคำสั่ง ให้ยกคำร้อง จึงเป็นการชี้ขาดคำคัดค้านตาม ป.วิ.พ. มาตรา 183 วรรคสาม จำเลยต้องโต้แย้งไว้ตามมาตรา 226 จึงจะมีสิทธิอุทธรณ์ได้ เมื่อจำเลยมิได้โต้แย้ง จำเลยก็ไม่มีสิทธิอุทธรณ์ในปัญหานี้
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครโดยตำแหน่งจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบในกิจการของกรุงเทพมหานครตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 มาตรา 50 จึงอาจฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นคดีความในศาลได้ ไม่จำต้องเอากรุงเทพมหานครซึ่งเป็นนิติบุคคลเข้ามาเป็นคู่ความเสมอไป โดยเฉพาะในกรณีของภาษีโรงเรือนและที่ดิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครยังเป็นผู้พิจารณาการประเมินใหม่ตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 25 ประกอบ พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครฯ มาตรา 50 และ 109 นอกจากนี้ พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ มาตรา 32 ยังกำหนดว่า เมื่อคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลซึ่งแก้คำชี้ขาดของอธิบดีกรมสรรพากรหรือสมุหเทศาภิบาล (ในคดีนี้คือผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร) นั้น ได้ส่งไปให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบ แล้วให้พนักงานเจ้าหน้าที่แก้บัญชีการประเมินให้ถูกต้องโดยเร็ว ดังนี้ ผู้ที่จะถูกบังคับตามกฎหมายและคำพิพากษาโดยตรงก็คือผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นหัวหน้าในการบริหารกิจการทั้งปวงของกรุงเทพมหานคร และเป็นผู้บังคับบัญชาของพนักงานเจ้าหน้าที่ในกรุงเทพมหานคร และเมื่อมีการแก้ไขประเมินก็หมายถึงต้องคืนเงินภาษีที่รับชำระเกินมาจากผู้รับประเมินด้วย โจทก์จึงฟ้องผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นจำเลยขอให้แก้ไขการประเมินและคืนเงินภาษีได้ เพราะเป็นการฟ้องจำเลยในฐานะเป็นผู้ชี้ขาดการประเมินและเป็นผู้แทนของกรุงเทพมหานคร มิใช่ฟ้องให้รับผิดเป็นส่วนตัว
ค่ารายปีของโรงเรือนนั้นอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามสภาพข้อเท็จจริงซึ่งอาจจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ จึงไม่อาจนำ ค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วเพียงอย่างเดียวมาเป็นหลักในการกำหนดค่ารายปีหรือค่าภาษีในปีภาษีที่พิพาทได้ ปรากฏว่า ปี 2539 เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ อัตราค่าเช่าโรงเรือนในปีดังกล่าวจึงน่าจะเปลี่ยนแปลงไปในทางลดลง ทั้งตามคำสั่งกรุงเทพมหานครที่ 63/2538 ข้อ 2.1 ก็กำหนดให้พิจารณาปรับค่ารายปีตามภาวะเศรษฐกิจ พนักงานเจ้าหน้าที่ ของจำเลยจึงต้องประเมินค่ารายปีโดยคำนึงถึงลักษณะของทรัพย์สิน ขนาดพื้นที่ ทำเลที่ตั้ง และบริการสาธารณะ ที่ทรัพย์สินนั้นได้รับประโยชน์ตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ มาตรา 8 ดังนั้น การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยใช้ค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วเป็นหลักสำหรับการคำนวณค่าภาษีซึ่งจะต้องเสียในปีต่อมาเพียงอย่างเดียว จึงไม่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 361/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทภาษีอากร: การประเมินค่าเช่าที่สมควร และการพิจารณาทำเลที่ตั้งในการกำหนดอัตราค่าเช่า
ชั้นกำหนดประเด็นข้อพิพาท ทนายจำเลยได้โต้แย้งด้วยวาจาขอให้กำหนดประเด็นเพิ่ม ศาลชั้นต้นสั่งว่าหากจำเลยจะคัดค้านให้คัดค้านเข้ามาเป็นหนังสือภายใน 8 วัน จำเลยยื่นคำร้องแล้วศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคำร้องว่า ไม่มีเหตุสมควรเปลี่ยนแปลงคำสั่ง ให้ยกคำร้อง จึงเป็นการชี้ขาดคำคัดค้านตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 183 วรรคสาม จำเลยต้องโต้แย้งไว้ตามมาตรา 226 วรรคสอง จึงจะมีสิทธิอุทธรณ์ได้ เมื่อจำเลยมิได้โต้แย้ง จำเลยก็ไม่มีสิทธิอุทธรณ์ในปัญหานี้
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครโดยตำแหน่งจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบในกิจการของกรุงเทพมหานครตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 มาตรา 50 จึงอาจฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นคดีความในศาลได้ ไม่จำต้องเอากรุงเทพมหานครซึ่งเป็นนิติบุคคลเข้ามาเป็นคู่ความเสมอไป โดยเฉพาะในกรณีของภาษีโรงเรือนและที่ดิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครยังเป็นผู้พิจารณาการประเมินใหม่ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2535 มาตรา 25 ประกอบพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครฯ มาตรา 50 และ 109นอกจากนี้พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ มาตรา 32 ยังกำหนดว่าเมื่อคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลซึ่งแก้คำชี้ขาดของอธิบดี กรมสรรพากรหรือสมุหเทศาภิบาล (ในคดีนี้คือผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร) นั้นได้ส่งไปให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบแล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แก้บัญชีการประเมินให้ถูกต้องโดยเร็ว ดังนี้ ผู้ที่จะถูกบังคับตามกฎหมายและคำพิพากษาโดยตรงก็คือผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นหัวหน้าในการบริหารกิจการทั้งปวงของกรุงเทพมหานคร และเป็นผู้บังคับบัญชาของพนักงานเจ้าหน้าที่ในกรุงเทพมหานคร และเมื่อมีการแก้ไขประเมินก็หมายถึงต้องคืนเงินภาษีที่รับชำระเกินมาจากผู้รับประเมินด้วย โจทก์จึงฟ้องผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นจำเลยขอให้แก้ไขการประเมินและคืนเงินภาษีได้ เพราะเป็นการฟ้องจำเลยในฐานะเป็นผู้ชี้ขาดการประเมินและเป็นผู้แทนของกรุงเทพมหานคร มิใช่ฟ้องให้รับผิดเป็นส่วนตัว
ค่ารายปีของโรงเรือนนั้นอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามสภาพข้อเท็จจริงซึ่งอาจจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ จึงไม่อาจนำค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วเพียงอย่างเดียวมาเป็นหลักในการกำหนดค่ารายปีหรือค่าภาษีในปีภาษีที่พิพาทได้ ปรากฏว่าปี 2539เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ อัตราค่าเช่าโรงเรือนในปีดังกล่าวจึงน่าจะเปลี่ยนแปลงไปในทางลดลง ทั้งตามคำสั่งกรุงเทพมหานครที่ 63/2538 ข้อ 2.1 ก็กำหนดให้พิจารณาปรับค่ารายปีตามภาวะเศรษฐกิจ พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยจึงต้องประเมินค่ารายปีโดยคำนึงถึงลักษณะของทรัพย์สิน ขนาดพื้นที่ ทำเลที่ตั้ง และบริการสาธารณะที่ทรัพย์สินนั้นได้รับประโยชน์ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินฯมาตรา 8 ดังนั้น การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยใช้ค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วเป็นหลักสำหรับการคำนวณค่าภาษีซึ่งจะต้องเสียในปีต่อมาเพียงอย่างเดียวจึงไม่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8751/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินมัดจำตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ ต้องชำระในวันทำสัญญา ส่วนเงินผ่อนชำระหลังวันทำสัญญาเป็นเพียงการชำระราคาส่วนหนึ่ง
มัดจำตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 377จะต้องเป็นทรัพย์สินที่ได้ให้ในวันทำสัญญา ไม่ใช่ทรัพย์สินที่ให้ในวันอื่น
ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างข้อ 1.2 ระบุว่าในวันทำสัญญานี้ผู้จะซื้อได้ชำระเงินจองไว้แล้ว และข้อ 2 ระบุว่าผู้จะซื้อตกลงจะชำระเงินส่วนที่เหลือตามข้อ 1 โดยแบ่งชำระเป็นงวด ๆดังนี้ เงินค่าจองและเงินที่ชำระงวดที่ 1 ซึ่งชำระในวันทำสัญญาจึงเป็นเงินมัดจำส่วนเงินที่ชำระภายหลังจากนั้นไม่ใช่เงินมัดจำ แต่เป็นเงินที่ชำระราคาที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างบางส่วนล่วงหน้า เมื่อมีการบอกเลิกสัญญาหนี้ตามสัญญาย่อมระงับลง เงินที่ส่งมอบแก่กันเพื่อชำระหนี้บางส่วนย่อมกลับเป็นเงินอันจะต้องใช้คืนเพื่อให้คู่สัญญากลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 391 เมื่อโจทก์จำเลยตกลงกันให้ริบโดยไม่ต้องใช้คืน ข้อตกลงที่ให้ริบเงินดังกล่าวมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับที่กำหนดเป็นจำนวนเงินตามมาตรา 379 และเบี้ยปรับนี้ถ้าสูงเกินส่วนศาลก็มีอำนาจที่จะลดลงให้เหลือเป็นจำนวนที่พอสมควรได้ตามนัยมาตรา 383 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8751/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินมัดจำสัญญาซื้อขายที่ดิน, การบอกเลิกสัญญา, เบี้ยปรับ, การคืนเงิน
มัดจำตาม ป.พ.พ. มาตรา 377 จะต้องเป็นทรัพย์สินที่ได้ให้ในวันทำสัญญา ไม่ใช่ทรัพย์สินที่ให้ในวันอื่น ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างข้อ 1.2 ระบุว่า ในวันทำสัญญานี้ผู้จะซื้อได้ชำระเงินจองไว้แล้วและข้อ 2 ระบุว่าผู้จะซื้อตกลงจะชำระเงินส่วนที่เหลือตามข้อ 1 โดยแบ่งชำระเป็นงวด ๆ ดังนี้ เงินค่าจองและเงินที่ชำระงวดที่ 1 ซึ่งชำระในวันทำสัญญาจึงเป็นเงินมัดจำตามความหมายแห่งบทบัญญัติดังกล่าวมาข้างต้น จำเลยมีสิทธิรับได้ทั้งสองจำนวน ส่วนเงินที่ชำระภายหลังจากนั้นไม่ใช่เงินมัดจำแต่เป็นเงินที่ชำระราคาที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างบางส่วนล่วงหน้าเมื่อมีการบอกเลิกสัญญา หนี้ตามสัญญาย่อมระงับลง เงินที่ส่งมอบแก่กันเพื่อชำระหนี้บางส่วนย่อมกลับเป็นเงินอันจะต้องใช้คืนเพื่อให้คู่สัญญากลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 391 เมื่อโจทก์จำเลยตกลงกันให้ริบโดยไม่ต้องใช้คืนข้อตกลงที่ให้ริบเงินดังกล่าวมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับที่กำหนดเป็นจำนวนเงินตามมาตรา 379 และเบี้ยปรับนี้ถ้าสูงเกินส่วนศาลก็มีอำนาจที่จะลดลงให้เหลือเป็นจำนวนที่พอสมควรได้ตามนัยมาตรา 383 วรรคหนึ่ง
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2542)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7925/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นแบบแสดงรายการภาษีสรรพสามิตล่าช้า ผู้ประกอบการต้องรับผิดตามกฎหมาย แม้จะอ้างระเบียบปฏิบัติ
พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 10 (1) (ก) และประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ขยายกำหนดเวลาชำระภาษีสรรพสามิต ลงวันที่ 30 ธันวาคม 2534 ข้อ 2 (1) กำหนดให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมยื่นแบบรายการภาษีพร้อมกับชำระภาษีภายใน 10 วัน นับแต่วันที่นำน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันออกจากโรงอุตสาหกรรม วันที่นำน้ำมันออกจากโรงอุตสาหกรรม หมายถึงแต่ละวันหรือระยะเวลาตั้งแต่ 00.00 นาฬิกา ถึง 24 นาฬิกา ของแต่ละวัน ดังนั้น ความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีต้องถือตามปริมาณน้ำมันที่นำออกพ้นไปจากโรงอุตสาหกรรม ณ เวลา 24 นาฬิกาของแต่ละวันเป็นเกณฑ์ในการยื่นแบบรายการภาษีและชำระภาษีภายใน 10 วัน นับแต่วันนั้น โดยไม่จำต้องคำนึงว่าการส่งจ่ายน้ำมันทางท่อแบบวงจรต่อเนื่องจะเสร็จสิ้นกระบวนการทุกขั้นตอนเมื่อใด การที่โจทก์นำประมาณน้ำมันทั้งหมดตั้งแต่วันเริ่มต้นส่งจ่ายน้ำมันทางท่อจนถึงวันเสร็จสิ้นกระบวนการส่งจ่ายน้ำมันไปยื่นแบบรายการภาษีและชำระภาษีในคราวเดียวพร้อมกันในกำหนด 10 วัน นับแต่วันเสร็จสิ้นกระบวนการส่งจ่ายน้ำมันจึงไม่ถูกต้อง
ระเบียบกรมสรรพสามิตว่าด้วยการควบคุมโรงงานอุตสาหกรรมทำน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน ฉบับลงวันที่ 6 พฤษภาคม 2507 และฉบับที่ 2/2525 ลงวันที่ 30 ธันวาคม 2525 เป็นหลักเกณฑ์ทางปฏิบัติเพื่อควบคุมการตรวจสอบการนำน้ำมันออกจากโรงอุตสาหกรรมให้อยู่ในความรู้เห็นและยินยอมของพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมโรงงาน เพื่อทราบปริมาณน้ำมันที่ส่งจ่ายออกไปทั้งหมด เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบกับจำนวนภาษีที่โจทก์ชำระ ไม่เกี่ยวกับกำหนดเวลาการยื่นแบบรายการภาษีและชำระภาษี โจทก์จึงไม่อาจอ้างระเบียบดังกล่าวมาลบล้างกำหนดเวลาในการยื่นแบบรายการภาษีและชำระภาษีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7830-7831/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนขายทรัพย์สินเพื่อหลีกเลี่ยงชำระหนี้ค่าทนายความเข้าข่ายความผิดฐานโกงเจ้าหนี้
โจทก์อุทธรณ์ว่า เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้เป็นยุติว่า จำเลยตกลงว่าจ้างโจทก์ให้เป็นทนายความฟ้องคดีขอแบ่งมรดก และคดีดังกล่าวถึงที่สุดโดยคำพิพากษาตามยอมให้จำเลยได้รับส่วนแบ่งเป็นที่ดินจำนวน 3 ไร่ และ 5 ไร่ ตามลำดับ หลังจากนั้นจำเลยยังไม่ชำระค่าว่าความให้โจทก์ โจทก์จึงได้ฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่ง สำหรับที่ดินที่จำเลยมีสิทธิได้รับตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น จำเลยมอบหมายให้ว. ไปขายแก่บุคคลอื่นโดยจำเลยได้รับส่วนแบ่งเป็นเงินตามราคาที่ดินที่ขายได้ตามส่วนของตน ซึ่งมีการฝากธนาคารไว้แล้ว จำเลยถอนเงินดังกล่าวไป ถือได้ว่าจำเลยมีเจตนาจะมิให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของตนได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งเป็นเจตนาพิเศษอันเป็นองค์ประกอบความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350 แล้ว อันเป็นอุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่วินิจฉัยปรับข้อเท็จจริงที่รับฟังได้แล้วนั้นว่าเข้าองค์ประกอบความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตามฟ้องหรือไม่ จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อกฎหมาย
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า อุทธรณ์ของโจทก์เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงจึงไม่รับวินิจฉัยให้และพิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์ แต่ศาลฎีกาเห็นว่าอุทธรณ์ของโจทก์เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมาย ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ ซึ่งหากศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์แล้ว คดีอาจมีผลต่อการฎีกาของโจทก์ตามกฎหมายได้ศาลฎีกาให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6972/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลูกสร้างสิ่งล้ำน้ำและการลงโทษปรับตาม พ.ร.บ.เดินเรือฯ ศาลฎีกายืนโทษปรับและคำสั่งรื้อถอน
ความผิดตามพระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ. 2456มาตรา 117ต้องระวางโทษปรับตามมาตรา 118 โดยคำนวณตามพื้นที่ของอาคารหรือสิ่งอื่นใดในอัตราไม่น้อยกว่าตารางเมตรละห้าร้อยบาท แต่ไม่เกินตารางเมตรละหนึ่งหมื่นบาทจำเลยปลูกสร้างอาคารเป็นสะพานทางเดินและทำเป็นศาลาท่าน้ำล่วงล้ำเข้าไปเหนือน้ำในน้ำ ของทะเลสาบเป็นเนื้อที่ 143.32 ตารางเมตร การที่ศาลล่างลงโทษปรับจำเลย 214,980 บาท เมื่อลดโทษกึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 78 แล้งคงปรับ 107,490 บาทเป็นการปรับโดยคำนวณตามพื้นที่ตารางเมตรละ 1,500 บาท นับว่าเหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งรูปคดีแล้ว พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทยฯ มาตรา 118 ทวิ ที่แก้ไขแล้วเป็นการกำหนดวิธีการรื้อถอนหรือแก้ไขอาคารหรือสิ่งอื่นใดที่ปลูกสร้างขึ้นโดยมิได้รับอนุญาตจากเจ้าท่าเท่านั้นไม่ใช่บทบัญญัติซึ่งเป็นองค์ประกอบของความผิดตามฟ้อง ดังนั้น แม้ฟ้องของโจทก์มิได้บรรยายว่าเจ้าท่ามีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนหรือแก้ไขสิ่งปลูกสร้างแล้ว แต่จำเลยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งก็เป็นฟ้องที่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158(5) แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5201/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีการค้าดอกเบี้ยจากธุรกิจประกันชีวิต: ดอกเบี้ยเงินฝาก ตั๋วเงิน และหุ้นกู้ ถือเป็นรายรับที่ต้องเสียภาษี
ภาษีการค้าเป็นภาษีที่เรียกเก็บจากรายรับของผู้ประกอบการค้าตาม ป.รัษฎากร มาตรา 79 สำหรับกรณีการรับประกันชีวิต มาตรา 79 (4) (ก) บัญญัติให้รายรับหมายความว่า "ดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียมหรือค่าบริการในการให้กู้ยืมเงิน" ซึ่งแตกต่างจากการรับประกันภัยอย่างอื่นตามมาตรา 79 (4) (ข) ที่บัญญัติให้รายรับหมายความว่า "เบี้ยประกันภัยหรือเงินอื่นที่ผู้รับประกันภัยเรียกเก็บ เว้นแต่เบี้ยประกันภัยส่วนที่ต้องคืนภายในเดือนที่เก็บได้ และเบี้ยประกันภัยที่ได้รับจากการรับประกันภัยต่อ ซึ่งผู้เอาประกันภัยต่อได้เสียภาษีจากเบี้ยประกันภัยตามหมวดนี้แล้ว" ทั้งนี้เนื่องจากการรับประกันชีวิตนั้น ผู้ประกอบการมีความผูกพันที่จะต้องจ่ายเงินจำนวนหนึ่งให้แก่ผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์เมื่อครบกำหนดเวลาที่ตกลงกันไว้หรือเมื่อผู้เอาประกันภัยได้รับบาดเจ็บหรือถึงแก่ความตายแล้วแต่กรณี ซึ่งแตกต่างจากการรับประกันภัยอย่างอื่น ที่ผู้ประกอบการจะต้องจ่ายเงินเป็นค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้รับประโยชน์ตามสัญญา ก็ต่อเมื่อเกิดความเสียหายจริงเท่านั้น ประมวลรัษฎากรจึงไม่บัญญัติให้เบี้ยประกันภัยเป็นรายรับที่ต้องเสียภาษีการค้าของกิจการประกันชีวิต แต่ให้ถือเอาดอกเบี้ยซึ่งเป็นดอกผลที่ผู้ประกอบการได้รับจากการนำเบี้ยประกันภัยไปลงทุนหรือหาประโยชน์รวมทั้งค่าธรรมเนียมและค่าบริการในการกู้ยืมเงินเป็นรายรับแทน คำว่า ดอกเบี้ยในมาตรา 79 (4) (ก) จึงหมายถึงดอกเบี้ยทุกประเภทที่ผู้ประกอบการรับประกันชีวิตได้รับเนื่องจากการประกอบการค้าของตน อีกทั้งตาม พ.ร.บ.ประกันชีวิต พ.ศ. 2510 มาตรา 22 ยังได้กำหนดถึงธุรกิจที่บริษัทประกันชีวิตจะลงทุนไว้หลายประการรวมถึงการให้กู้ยืม ซื้อหุ้นกู้ ซื้อหรือซื้อลดตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงินและฝากเงินไว้กับธนาคารในประเทศโดยได้รับดอกเบี้ย การลงทุนดังกล่าวล้วนมีลักษณะอย่างเดียวกันคือได้รับประโยชน์หรือผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ย ดังนั้น ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร ดอกเบี้ยตั๋วเงินและดอกเบี้ยหุ้นกู้ย่อมเป็นดอกเบี้ยที่ได้รับเนื่องจากการประกอบการค้าหรือการประกอบธุรกิจของผู้ประกอบการประกันชีวิต ดอกเบี้ยดังกล่าวจึงเป็นรายรับที่ต้องเสียภาษีการค้าตามมาตรา 79 (4) (ก)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5080/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกและการดำเนินกระบวนการพิจารณาของผู้ร้องที่เหลือ
ผู้ร้องที่ 1 และที่ 2 ได้เริ่มคดีโดยร่วมกันยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ผู้คัดค้านยื่นคำร้องคัดค้าน แต่ภายหลังผู้คัดค้านได้ยื่นคำร้องขอถอนคำคัดค้านไปและยินยอมให้ผู้ร้องทั้งสองเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกัน การที่ผู้ร้องที่ 1 ได้ขอถอนคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกเฉพาะตัวผู้ร้องที่ 1 ในเวลาต่อมา และศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตแล้วย่อมไม่มีผลให้คำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกเดิมของผู้ร้องที่ 2 กลับเป็นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกขึ้นมาใหม่ การที่ศาลชั้นต้นได้ดำเนินกระบวนพิจารณาไต่สวนคำร้องขอของผู้ร้องที่ 2 ต่อไปเพื่อวินิจฉัยว่าสมควรตั้งให้ผู้ร้องที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกหรือไม่ศาลชั้นต้นจึงไม่จำต้องประกาศหนังสือพิมพ์หรือแจ้งให้ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียทราบอีกการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นที่กระทำมาจึงชอบแล้ว ไม่เป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบที่ผู้คัดค้านจะขอให้เพิกถอนตาม ป.วิ.พ.มาตรา 27 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5080/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกเฉพาะตัวไม่ทำให้คำร้องเดิมเป็นคำร้องใหม่ การพิจารณาของศาลชอบแล้ว
ผู้ร้องที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก โดยผู้คัดค้านทั้งสองยื่นคำร้องคัดค้าน แต่ต่อมาได้ถอนคำคัดค้านไปแล้ว การที่ผู้ร้องที่ 1 ได้ขอถอนคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกเฉพาะตัวผู้ร้องที่ 1 ไม่มีผลให้คำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกเดิมของผู้ร้องที่ 2 กลับเป็นคำร้องขอใหม่ขึ้นมาแต่อย่างใด ศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะดำเนินการไต่สวนคำร้องขอของผู้ร้องที่ 2 เพื่อวินิจฉัยว่าสมควรตั้งให้ผู้ร้องที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกหรือไม่ต่อไป ที่ศาลชั้นต้นไม่ประกาศหนังสือพิมพ์หรือแจ้งให้ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียทราบอีก จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ชอบแล้ว ไม่เป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบที่ผู้คัดค้านทั้งสองจะขอให้เพิกถอนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 27 ได้
of 16