คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุวัตร์ สุขเกษม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 319 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9546/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรู้เห็นเป็นใจในการกระทำผิดฐานฉายวิดีโอคาราโอเกะโดยไม่ได้รับอนุญาต และการริบของกลาง
ผู้ร้องเป็นเจ้าของตู้คาราโอเกะ อันประกอบด้วยเครื่องรับโทรทัศน์สี เครื่องเล่นวิดีโอซีดี แผ่นวิดีโอซีดี และเครื่องเสียงพร้อมลำโพง ซึ่งศาลได้มีคำพิพากษาให้ริบตาม ป.อ. มาตรา 33 เพราะจำเลยได้นำไปฉายหรือให้บริการ วิดีโอซีดีคาราโอเกะที่มีการแสดงภาพและเสียงเพลงบริการลูกค้าโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตาม พ.ร.บ. ควมคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ. 2530 มาตรา 4, 20 วรรคสอง, 38 แต่ผู้ร้องทราบความต้องการของจำเลยว่าจำเลยต้องการติดตั้งตู้คาราโอเกะอย่างเร่งด่วนในทันทีแม้จำเลยยังไม่ได้รับใบอนุญาต ทั้งนี้เพื่อเป็นการเอาใจลูกค้ารวมถึงกิจการค้าขายเจริญขึ้นตามไปด้วย ดังนี้รับฟังได้ว่า ผู้ร้องรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลย
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาคดีถึงที่สุด ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยได้จัดให้มีการฉายวิดีโอซีดีที่มีการแสดงภาพและเสียงเพลงขึ้นในสถานที่ให้บริการเทปหรือวัสดุโทรทัศน์ แม้คำพิพากษาดังกล่าวไม่ผูกพันผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลภายนอก แต่เมื่อผู้ร้องไม่ได้โต้แย้งว่าจำเลยไม่ได้ใช้ตู้คาราโอเกะของกลางอันประกอบด้วยเครื่องรับโทรทัศน์สีวิดีโอซีดี เครื่องเล่นวิดีโอซีดี เครื่องเสียงและลำโพงในการกระทำความผิดฐานฉายวิดีโอซีดีของกลางที่มีการแสดงภาพและ เสียงเพลงในสถานที่ให้บริการเทปหรือวัสดุโทรทัศน์โดยไม่ได้รับอนุญาต จึงต้องฟังว่าทรัพย์ทั้งหมดถูกใช้ในการกระทำผิดของจำเลย ทรัพย์ชิ้นใดโดยตัวของมันเองจะเป็นวัสดุโทรทัศน์หรือไม่ก็ตาม ทรัพย์นั้นก็ยังคงเป็นทรัพย์ที่ ถูกใช้ร่วมกับทรัพย์อื่นในการกระทำความผิดฐานฉายวิดีโอซีดีที่มีการแสดงภาพและเสียงเพลงขึ้นในสถานที่ให้บริการเทปหรือวัสดุโทรทัศน์โดยไม่ได้รับอนุญาตอันควรต้องริบตาม ป.อ. มาตรา 33 อยู่ดี จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยจากศาลฎีกาว่าทรัพย์ชิ้นใดเป็นวัสดุโทรทัศน์อันจะริบตาม พ.ร.บ. ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ. 2530 มาตรา 4 หรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8504/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องขอเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย: วิธีพิจารณาคดีที่ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1555 หากบิดามีชีวิตอยู่ต้องดำเนินคดีอย่างคดีมีข้อพิพาทคือฟ้องบิดาโดยทำเป็นคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 แต่ถ้าบิดาถึงแก่ความตายไปแล้วต้องดำเนินคดีอย่างคดีไม่มีข้อพิพาทคือเริ่มคดีโดยยื่นคำร้องขอต่อศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 188(1) ดังนั้น เมื่อผู้ตายซึ่งเป็นบิดาได้ถึงแก่ความตายไปแล้ว โจทก์จึงต้องดำเนินคดีอย่างคดีไม่มีข้อพิพาท ส่วนบทบัญญัติมาตรา 1558 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็นเรื่องเกี่ยวกับสิทธิที่จะได้รับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรมซึ่งเป็นผลตามมาจากการที่ร้องขอให้ศาลพิพากษาเป็นบุตร มิใช่บทบัญญัติที่ให้อำนาจโจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะทายาทผู้ตายเพื่อให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8504/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องบุตรชอบด้วยกฎหมาย: วิธีฟ้องที่ถูกต้องตามสถานะบิดา (มีชีวิต/เสียชีวิต) และสิทธิในการรับมรดก
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1555 หากบิดามีชีวิตอยู่ต้องดำเนินคดีอย่างคดีมีข้อพิพาทคือฟ้องบิดาโดยเสนอข้อหาทำเป็นคำฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 แต่ถ้าบิดาถึงแก่ความตายไปแล้วต้องดำเนินคดีอย่างคดีไม่มีข้อพิพาทคือให้เริ่มคดีโดยยื่นคำร้องขอต่อศาลตามมาตรา 188 (1)
ผู้ตายซึ่งโจทก์อ้างว่าเป็นบิดาได้ถึงแก่ความตายไปแล้ว โจทก์จึงต้องดำเนินคดีไม่มีข้อพิพาทคือเริ่มคดีโดย ยื่นคำร้องขอมิใช่เสนอคำฟ้องอย่างคดีมีข้อพิพาทส่วน ป.พ.พ. มาตรา 1558 เป็นเรื่องเกี่ยวกับสิทธิที่จะได้รับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรมซึ่งเป็นผลตามมาจากการที่ร้องขอให้ศาลพิพากษาเป็นบุตร หาใช่บทบัญญัติที่ให้อำนาจโจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะทายาทผู้ตายเพื่อให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายไม่ เมื่อโจทก์มิได้ดำเนินการให้ ถูกต้องตาม ป.พ.พ. ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษายกฟ้องโจทก์จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8325/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการบังคับคดี: เจ้าหนี้ตามสัญญาประนีประนอมฯ ไม่อาจใช้สิทธิบังคับคดีแทนลูกหนี้ตามคำพิพากษา
การบังคับคดีนั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 271 บัญญัติให้บุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะ (เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา)เท่านั้น ที่จะร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง ผู้ร้องไม่ใช่บุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะ (ในคดีที่ร้องนี้) จึงไม่มีสิทธิตามกฎหมายดังกล่าวสำหรับกรณีที่เจ้าหนี้ที่จะใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 233 นั้น หมายถึงการใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลโดยให้เจ้าหนี้เป็นโจทก์ฟ้องในนามของเจ้าหนี้แทนลูกหนี้ได้รวมทั้งเรียกลูกหนี้เข้ามาในคดีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 234 มิใช่เข้าสวมสิทธิในการบังคับคดีของลูกหนี้ ซึ่งเป็นสิทธิที่กฎหมายกำหนดให้เป็นสิทธิแก่บุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8047/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาของนิติบุคคลล้มละลาย: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจจัดการ
อำนาจฟ้องในคดีอาญาเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะมิได้หยิบยกขึ้นว่ากล่าวในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ก็มีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
เมื่อโจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ซึ่งมีคำพิพากษาให้ล้มละลายแล้ว จึงทำให้บริษัทโจทก์เป็นอันเลิกกันโดยบทบัญญัติของ ป.พ.พ. มาตรา 1236 (5) และโจทก์ย่อมหมดอำนาจที่จะทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของโจทก์ต่อไปอีก การจัดการรวมทั้งการฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของโจทก์ย่อมตกอยู่ในอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะจัดการแต่ผู้เดียว ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 , 24 ทั้งมาตรา 1247 ก็บัญญัติไว้ว่า การชำระบัญชีบริษัทจำกัดซึ่งล้มละลายนั้น ให้จัดทำไปตามบทกฎหมายล้มละลายที่คงใช้อยู่ตามแต่จะทำได้ ดังนั้นกรรมการบริษัทโจทก์จึงไม่กลับมีอำนาจทำการแทนบริษัทโจทก์ได้อีกโดยอาศัยอำนาจตาม ป.พ.พ. มาตรา 1249 เพราะมาตรา 1251 ก็ระบุเป็นข้อยกเว้นไว้แล้วว่าบริษัทในเมื่อเลิกกันเพราะเหตุอื่นนอกจากล้มละลาย กรรมการของบริษัทย่อมเข้าเป็นผู้ชำระบัญชี คดีนี้บริษัทโจทก์เลิกกันเพราะเหตุล้มละลาย กรรมการบริษัทโจทก์จึงไม่ใช่ผู้ชำระบัญชีและไม่มีอำนาจมอบอำนาจให้ฟ้องคดีนี้ตามมาตรา 1252

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8040/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องที่สมบูรณ์ก่อนคำสั่งอายัดและการละเมิดสิทธิจากปฏิบัติโดยไม่ชอบ
การโอนสิทธิเรียกร้องระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่ 1 ได้ทำเป็นหนังสือและมีการบอกกล่าวการโอนเป็นหนังสือไปยังการกีฬาแห่งประเทศไทยซึ่งมีฐานะเป็นลูกหนี้ของจำเลยที่ 1 อีกทั้งการกีฬาแห่งประเทศไทยได้ตอบรับทราบการโอนเป็นหนังสือแล้ว การโอนสิทธิเรียกร้องรายนี้เกิดผลบริบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 306 วรรคหนึ่ง แล้ว อันมีผลให้สิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 1ในการรับเงินค่าจ้างก่อสร้างตกเป็นของผู้ร้องตั้งแต่วันที่การกีฬาแห่งประเทศไทยรับทราบการโอนสิทธิเรียกร้อง ส่วนจำเลยที่ 1ย่อมหมดสิทธิที่จะรับเงินจำนวนดังกล่าวอีกต่อไป การที่การกีฬาแห่งประเทศไทยไม่ยอมจ่ายเงินดังกล่าวแก่ผู้ร้องโดยอ้างว่ามีคำสั่งอายัดสิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 1 ไว้ชั่วคราวก่อนพิพากษาและได้จ่ายเงินให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีผู้เป็นตัวแทนของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยที่ 1 ไป จึงเป็นการปฏิบัติโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นการละเมิดสิทธิของผู้ร้อง เมื่อผู้ร้องต้องได้รับความเสียหายก็ชอบที่จะไปดำเนินการเรียกร้องตามสิทธิของตนไม่มีสิทธิที่จะขอให้ศาลมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเรียกเงินคืนจากโจทก์และขอให้เพิกถอนคำสั่งอายัดชั่วคราวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7774/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บันดาลโทสะจากการถูกยั่วยุ: การฟันผู้อื่นจนถึงแก่ความตายในงานศพ
ผู้ตายได้พูดกับจำเลยด้วยถ้อยคำว่า "มึงไม่นักเลง พ่อมึงถูกฆ่าตั้งแต่เล็ก ๆ มึงไม่มีน้ำยา" จำเลยตอบว่า "เสร็จแล้วก็ให้เสร็จกันไป" ผู้ตายพูดว่า "เสร็จแต่มึง กูไม่เสร็จ" ในบริเวณงานศพต่อหน้าผู้มาร่วมงานศพจำนวนหลายคน ทั้งผู้ตายถูกกล่าวหาว่าร่วมกันฆ่าบิดาจำเลย แต่ผู้ตายต่อสู้คดีจนพ้นความผิด พฤติการณ์ที่ผู้ตายกล่าวถ้อยคำต่อหน้าจำเลยและบุคคลอื่นอีกหลายคนตอกย้ำความรู้สึกของจำเลยว่าผู้ตายฆ่าบิดาจำเลยตั้งแต่จำเลยยังเป็นเด็ก แต่จำเลยก็ไม่มีความกล้าหาญพอที่จะทำอะไรได้ แม้จำเลยจะพูดโต้ตอบไปว่าไม่ติดใจในเรื่องดังกล่าวอีกต่อไปแล้วก็ตามแต่ผู้ตายก็ยังพูดทำนองท้าทายจะเอาเรื่องกับจำเลยอีกย่อมเป็นการเย้ยหยันสบประมาทต่อจำเลยอย่างร้ายแรง ทำให้จำเลยรู้สึกอับอายขายหน้าและแค้นเคืองขึ้นมาโดยทันใดอย่างมาก ถือได้ว่าการกระทำของผู้ตายเป็นการข่มเหงจิตใจของจำเลยอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม การที่จำเลยหยิบมีดพร้าในบริเวณที่เกิดเหตุฟันผู้ตายในขณะนั้น 1 ครั้ง ที่บริเวณศีรษะจนเป็นให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย จึงเป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะตาม ป.อ. มาตรา 72

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7774/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บันดาลโทสะจากการถูกเหยียดหยามความทรงจำบาดแผลในอดีต ถือเป็นเหตุลดโทษอาญา
ผู้ตายพูดกับจำเลยว่า "มึงไม่นักเลง พ่อมึงถูกกูฆ่าตั้งแต่เล็ก ๆ มึงไม่มีน้ำยา" จำเลยตอบว่า "เสร็จแล้วก็ให้เสร็จกันไป" ผู้ตายพูดว่า"เสร็จแต่มึง กูไม่เสร็จ" เป็นการพูดในบริเวณงานต่อหน้าผู้มาร่วมงานศพจำนวนหลายคน ทั้งผู้ตายถูกกล่าวหาว่าฆ่าบิดาจำเลย แต่ต่อสู้คดีจนพ้นความผิด ที่ผู้ตายกล่าวถ้อยคำตอกย้ำความรู้สึกของจำเลยว่าผู้ตายฆ่าบิดาจำเลยตั้งแต่จำเลยยังเป็นเด็ก แต่จำเลยก็ไม่มีความกล้าหาญพอที่จะทำอะไรได้ แม้จำเลยจะพูดโต้ตอบไปว่าไม่ติดใจในเรื่องดังกล่าวอีกต่อไปแล้ว แต่ผู้ตายก็ยังพูดทำนองท้าทายจะเอาเรื่องกับจำเลยอีกย่อมเป็นการเย้นหยันสบประมาทต่อจำเลยอย่างร้ายแรง ทำให้จำเลยรู้สึกอับอายขายหน้าและแค้นเคืองขึ้นมาโดยทันใดอย่างมาก ถือได้ว่าการกระทำของผู้ตายเป็นการข่มเหงจิตใจของจำเลยอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม การที่จำเลยหยิบมีดพร้าในบริเวณที่เกิดเหตุฟันผู้ตายในขณะนั้น 1 ครั้ง ที่บริเวณศีรษะจนเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตายจึงเป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 72

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7728-7731/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยปฏิบัติหน้าที่มิชอบ ขัดขวางการจ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษแก่โจทก์ ก่อความเสียหาย เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
โจทก์ทั้งสี่มาปฏิบัติราชการทำการสอนนักศึกษาตามกระบวนวิชาที่ได้รับมอบหมาย โจทก์ทั้งสี่จึงมีสิทธิที่จะได้รับเงินค่าตอบแทนพิเศษแม้โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 จะไม่ลงเวลาทำงานตามระเบียบว่าด้วยการลงเวลาอันเป็นการผิดระเบียบก็ตาม ก็เป็นเรื่องคนละส่วนกันกับเรื่องนี้ที่จะต้องไปดำเนินการตามระเบียบข้าราชการพลเรือนอีกส่วนหนึ่งต่างหาก หาได้กระทบถึงสิทธิอันมีอยู่โดยชอบในการรับเงินค่าตอบแทนพิเศษของโจทก์ทั้งสี่แต่อย่างใดไม่ ทั้งแบบฟอร์มก็เป็นแบบฟอร์มที่ให้จำเลยในฐานะหัวหน้าภาควิชารับรองการปฏิบัติราชการของอาจารย์ในภาควิชาไม่ใช่หลักฐานรับรองการลงเวลาปฏิบัติงาน จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องรับรองการปฏิบัติราชการของโจทก์ทั้งสี่และไม่มีสิทธิขีดฆ่าชื่อโจทก์ทั้งสี่ออกจากแบบฟอร์มการเบิกจ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษได้ นอกจากนี้จำเลยในฐานะหัวหน้าภาควิชาซึ่งมีหน้าที่รับรองการปฏิบัติราชการเพื่ออนุมัติเบิกจ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษ จะต้องปฏิบัติการในส่วนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์โดยเคร่งครัดด้วยความเที่ยงธรรมและเสมอภาค แต่ข้อเท็จจริงกลับปรากฏว่า จำเลยก็รับรองการปฏิบัติราชการและทำเรื่องขออนุมัติเบิกจ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษให้อาจารย์อื่นซึ่งไม่ได้ลงชื่อในบัญชีลงเวลาการปฏิบัติราชการของข้าราชการเช่นเดียวกัน แสดงว่าจำเลยไม่ใช้หลักเกณฑ์ในการพิจารณารับรองการปฏิบัติราชการเช่นเดียวกับที่ใช้กับโจทก์ทั้งสี่ จึงเป็นการเลือกปฏิบัติและเป็นการปฏิบัติหน้าที่อันก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ทั้งสี่ในการที่จะได้รับเงินค่าตอบแทนพิเศษซึ่งโจทก์ทั้งสี่มีสิทธิโดยชอบที่จะได้รับ ดังนั้น การที่จำเลยไม่รับรองการปฏิบัติราชการของโจทก์ทั้งสี่และขีดฆ่าชื่อโจทก์ทั้งสี่ออกจากแบบฟอร์มการเบิกจ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษ เพื่อขออนุมัติเบิกจ่ายในงวดประจำเดือนตามฟ้องของโจทก์ทั้งสี่ ซึ่งเป็นการเลือกปฏิบัติและก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ทั้งสี่ดังกล่าว ถือได้ว่าจำเลยปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ทั้งสี่ อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
แม้จำเลยจะมีเจตนาอย่างเดียวในอันที่จะไม่เสนอชื่อโจทก์ที่ 1ให้ได้รับเงินค่าตอบแทนพิเศษในแต่ละงวดเดือน เจตนาของจำเลยเช่นว่านั้นจะเกิดขึ้นเมื่อเจ้าหน้าที่ธุรการการเงินเสนอขึ้นมาให้จำเลยพิจารณาลงลายมือชื่อรับรองการปฏิบัติราชการของโจทก์ที่ 1 เฉพาะในวันหนึ่งวันหนึ่งที่จำเลยพบเห็นแบบฟอร์มการเบิกจ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษในแต่ละเดือนที่เจ้าหน้าที่เสนอขึ้นมาเท่านั้น เมื่อสิ้นวันแล้วจำเลยมีเจตนาเช่นนั้นอีกในงวดเดือนต่อมาก็เป็นการกระทำอีกวันหนึ่งซึ่งเป็นการกระทำต่างหากจากวันที่ล่วงมาเป็นอีกกรรมหนึ่ง ดังนั้น การที่จำเลยไม่รับรองการปฏิบัติราชการของโจทก์ที่ 1 และขีดฆ่าชื่อโจทก์ที่ 1 ออกจากฟอร์มการเบิกจ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษจำนวน 7 งวดจึงเป็นความผิด 7 กรรมต่างกันต้องตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 91

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7407/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองเลื่อยโซ่ที่ถูกริบและนำออกขายทอดตลาดโดยมิชอบ แม้ผู้ซื้อจะสุจริต แต่เลื่อยโซ่ยังคงเป็นของต้องห้ามตามกฎหมายศุลกากร
การกระทำความผิดต่อ พ.ร.บ. ศุลกากร มาตรา 27 ทวิ เกี่ยวกับการช่วยรับเอาไว้ซึ่งของต้องห้ามหรือต้องจำกัดนี้ ของต้องห้ามดังกล่าวได้แก่ของซึ่งมีกฎหมายห้ามการนำเข้าหรือส่งออกไว้
ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่องการนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร (ฉบับที่ 91) พ.ศ. 2521 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.ฎ. ควบคุมการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้าบางอย่าง (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2496 ได้กำหนดว่า เลื่อยโซ่พร้อมอุปกรณ์เป็นสินค้าต้องห้ามจะนำเข้าในราชอาณาจักรมิได้ หากเจ้าพนักงานยึดเลื่อยโซ่ได้จะต้องส่งเลื่อยโซ่ ดังกล่าวให้แก่เจ้าหน้าที่ศุลกากรที่อยู่ใกล้เคียงที่สุด จากนั้นกรมศุลกากรจะทำการทำลายเครื่องเลื่อยโซ่โดยไม่มีการ นำออกมาจากจำหน่าย ดังนั้น โดยสภาพของเลื่อยโซ่จึงไม่อาจนำเข้ามาในราชอาณาจักรได้เพราะต้องห้าม ตามกฎหมายดังกล่าว แม้ต่อมาจะได้มีการนำเลื่อยโซ่ดังกล่าวออกขายทอดตลาดอันเป็นการดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์สินที่ใช้กระทำความผิดตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ โดยดำเนินการขายตามความใน พ.ร.บ. ป่าไม้ มาตรา 64 ทวิ แต่เนื่องจากทรัพย์ของกลางเป็นของต้องห้ามตาม พ.ร.บ. ศุลกากรกรณีจึงต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 120 แห่ง พ.ร.บ. ศุลกากร ที่บัญญัติว่า เมื่อใดบทบัญญัติใน พ.ร.บ. ศุลกากรแตกต่างกับบทกฎหมายอื่นก็ให้ยกบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ. ศุลกากรใช้บังคับ เมื่อศาลสั่งริบเลื่อยโซ่ของกลางอันเป็นของต้องห้าม จึงต้องมีการจัดการให้เป็นไปตามมาตรา 25 การที่ เจ้าหน้าที่ได้นำของต้องห้ามดังกล่าวมาขายทอดตลาดโดยขัดต่อบทกฎหมาย การขายทอดตลาดจึงหาทำให้เลื่อยโซ่ซึ่งเป็นของต้องห้าม กลับเป็นของชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใดไม่
แม้เลื่อยโซ่ของกลางเป็นของต้องห้าม แต่จำเลยผู้ครอบครองทรัพย์ที่ได้จากการที่มีผู้ซื้อทรัพย์มาจากการ ขายทอดตลาด โดยจำเลยรู้ว่าทรัพย์ของกลางดังกล่าวได้มาจากการทอดตลาดโดยเปิดเผยและจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ทำให้จำเลยเข้าใจโดยสุจริตว่าเลื่อยโซ่ดังกล่าวเป็นทรัพย์ที่ประชาชนครอบครองใช้สอยได้ และมิใช่ของต้องห้ามหรือของต้องจำกัด การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ศุลกากร มาตรา 27 ทวิ
of 32