พบผลลัพธ์ทั้งหมด 319 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3281/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อสู้คดีหย่าและการไม่รับฟังข้อเท็จจริงของศาลชั้นต้น
จำเลยให้การว่า จำเลยไม่เคยประพฤติตนตามที่โจทก์กล่าวอ้างทั้งสิ้น โจทก์ทำตัวเองไม่เหมาะสมในการเป็นหัวหน้าครอบครัวไปติดพันหญิงอื่น หาเรื่องคอยทุบตีจำเลยอยู่เสมอ ไม่เคยกลับมาให้ความอบอุ่นแก่บุตรและครอบครัว เมื่อผู้บังคับบัญชาหรือเพื่อนฝูงว่ากล่าวตักเตือน โจทก์จึงโกรธและทำร้ายทุบตีจำเลยและหาเหตุที่จะไม่ยอมเข้าบ้าน เห็นได้ว่าจำเลยให้การต่อสู้ว่า โจทก์เป็นฝ่ายหาเหตุออกจากบ้านไปเอง จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยยอมรับในประเด็นจงใจละทิ้งร้างโจทก์ดังที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้หย่าขาดโดยไม่ฟังข้อเท็จจริงตามที่คู่ความนำสืบ จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142
ปัญหาว่าคำให้การจำเลยถือว่าเป็นการยอมรับหรือไม่ เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดกล่าวอ้างโต้แย้งคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยเองได้
ปัญหาว่าคำให้การจำเลยถือว่าเป็นการยอมรับหรือไม่ เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดกล่าวอ้างโต้แย้งคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3237/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฆ่าจากการทำร้ายร่างกายส่วนสำคัญของร่างกายจนอาจถึงแก่ชีวิต
ผู้เสียหายมีบาดแผลฉีกขาดที่ด้านซ้ายของคอขนาดยาว 7 เซนติเมตรลึกถึงชั้นกล้ามเนื้อคอและเส้นเลือดข้างคอ ตัดเส้นประสาทและกล้ามเนื้อข้างคอหลายมัด แพทย์ผู้ตรวจรักษาเบิกความว่าหากไม่ได้รับการรักษาโดยทันที อาจเสียเลือดและช็อคถึงแก่ชีวิตได้ ลักษณะบาดแผลที่ผู้เสียหายถูกฟัน ที่คอ แม้จะไม่ได้ความชัดว่าอาวุธที่ใช้ฟันดังกล่าวเป็นมีดหรือขวานก็ตาม แต่การที่จำเลยกับพวกใช้อาวุธดังกล่าวฟันไปที่คอของผู้เสียหายอันเป็น ส่วนสำคัญของร่างกายจนได้รับบาดแผลฉกรรจ์ ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษา โดยทันทีแล้วผู้เสียหายจะถึงแก่ความตาย ฟังได้ว่าจำเลยกับพวกกระทำการ ดังกล่าวโดยมีเจตนาฆ่า เมื่อผู้เสียหายไม่ถึงแก่ความตายจำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3146/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาที่ศาลชั้นต้นรับฎีกาของจำเลยที่ไม่ชอบ และประเด็นการพิสูจน์ความผิดฐานมีอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต
คำพิพากษาศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นให้ยกฟ้องโจทก์เฉพาะความผิดตาม พ.ร.บ. อาวุธปืนฯ มาตรา 7, 8 ทวิ วรรคหนึ่ง, 72 วรรคสาม, 72 ทวิ วรรคสอง ประกอบ ป.อ. มาตรา 83 ข้อหาฐานร่วมกันมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนโดยไม่ได้รับใบอนุญาตกับร่วมกันพาอาวุธปืนไปในทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาตเท่านั้น ส่วนข้อหาฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่นศาลอุทธรณ์พิพากษายืนโดยแก้โทษเฉพาะจำเลยที่ 2 และระยะเวลาการควบคุมเพื่อฝึกอบรมของจำเลยทั้งสองโดยลดโทษให้จำเลยที่ 2 หนึ่งในสี่ คงจำคุกจำเลยที่ 2 มีกำหนด 4 ปี 6 เดือน และให้ส่งตัวจำเลยทั้งสองไปควบคุมเพื่อฝึกอบรมยังสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนมีกำหนดระยะเวลาขั้นต่ำคนละ 2 ปี และขั้นสูงคนละ 3 ปี แม้ศาลอุทธรณ์ยังคงลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 6 ปี แต่การที่ศาลชั้นต้นใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนแทนการลงโทษอาญาหรือวิธีการเพื่อความปลอดภัยโดยส่งตัวจำเลยทั้งสองไปฝึกอบรมยังสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนมีกำหนดคนละ 3 ปี แทนการลงโทษอาญาแก่จำเลยทั้งสองนั้น ถือได้ว่าศาลชั้นต้นมิได้พิพากษาให้ลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสองเกินห้าปี ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ลดโทษให้จำเลยที่ 2 และแก้กำหนดระยะเวลาส่งตัวจำเลยทั้งสองไปยังสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนขั้นต่ำคนละ 2 ปี และขั้นสูงคนละ 3 ปี เป็นการพิพากษายืนในเรื่องการใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนแทนการลงโทษหรือวิธีการเพื่อความปลอดภัย ศาลอุทธรณ์มิได้พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสองเกินห้าปี คู่ความจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 124 ประกอบมาตรา 6 และ ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ส่วนความผิดฐานร่วมกันพาอาวุธปืนไป ในทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุอันสมควร ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ลงโทษปรับจำเลยทั้งสองคนละ 50 บาท ศาลอุทธรณ์มิได้พิพากษาลงโทษในความผิดฐานนี้จำคุกจำเลยทั้งสองเกินห้าปี คู่ความจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่าพยานโจทก์ทุกปากมีพิรุธ ทั้งลักษณะแห่งคดีนับว่าเป็นพิรุธ ควรยกประโยชน์แห่งข้อสงสัยให้แก่จำเลยทั้งสอง เป็นการฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาล เป็นปัญหาข้อเท็จจริงว่าจำเลยทั้งสองมิได้กระทำผิดฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่นและความผิดฐานร่วมกันพาอาวุธปืนไปในทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุอันสมควร และที่จำเลยทั้งสองฎีกา ขอให้ลงโทษต่ำกว่าที่ศาลอุทธรณ์กำหนด เป็นการฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการลงโทษจึงเป็นปัญหาข้อเท็จจริง จำเลยทั้งสองจึงต้องห้ามฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าว
ตาม ป.วิ.อ. แม้จะมิได้บัญญัติไว้ชัดแจ้งว่าหน้าที่หรือภาระการพิสูจน์ความผิดของจำเลยตกอยู่แก่โจทก์ แต่ตามมาตรา 158 (5) กำหนดให้คำฟ้องต้องทำเป็นหนังสือและมีการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำผิดนั้น ๆ อีกทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีกับมาตรา 15 กำหนดว่า วิธีพิจารณาข้อใดซึ่งประมวลกฎหมายนี้มิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับเท่าที่พอจะใช้บังคับได้ และตาม ป.วิ.พ. มาตรา 84 กำหนดว่า ถ้าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งกล่าวอ้างข้อเท็จจริงอย่างใด ๆ เพื่อสนับสนุนคำฟ้องหรือคำให้การของตน ให้หน้าที่นำสืบข้อเท็จจริงนั้นตกอยู่แก่คู่ความฝ่ายที่กล่าวอ้าง แต่ว่า (1) คู่ความไม่ต้องพิสูจน์ข้อเท็จจริงซึ่งเป็นที่รู้กันอยู่ทั่วไป หรือซึ่งไม่มีข้อโต้แย้งได้ หรือซึ่งศาลเห็นว่าคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งได้รับแล้ว (2) ถ้ามีข้อสันนิษฐานไว้ในกฎหมายเป็นคุณแก่คู่ความฝ่ายใด คู่ความฝ่ายนั้นต้องพิสูจน์แต่เพียงว่าตนได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขแห่งการที่ตนจะได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานนั้นครบถ้วนแล้ว ดังนั้น โจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบข้อเท็จจริงตามที่กล่าวในคำฟ้อง
ข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามที่โจทก์นำสืบว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันมีและใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายทั้งสาม ทั้ง พ.ร.บ. อาวุธปืนฯ มาตรา 13 บัญญัติว่า "ห้ามมิให้ออกใบอนุญาตตามความในหมวดนี้ (คือหมวด 1 อาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืน) แก่?(4) บุคคลซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ ?" ซึ่งบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าว ศาลย่อมรู้ได้เอง ประกอบกับข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่อาจโต้แย้งได้ว่าขณะเกิดเหตุจำเลยทั้งสองยังไม่บรรลุนิติภาวะ จึงเป็นที่เห็นได้ว่า นายทะเบียนอาวุธปืนย่อมไม่อาจออกใบอนุญาตให้มีและพาอาวุธปืนให้แก่จำเลยทั้งสองได้ตามบทกฎหมายข้างต้นถือได้ว่าโจทก์นำสืบข้อเท็จจริงให้รับฟังได้ว่า จำเลยทั้งสองไม่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนให้มีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนและพาอาวุธปืนไปในทางสาธารณะแล้ว
ตาม ป.วิ.อ. แม้จะมิได้บัญญัติไว้ชัดแจ้งว่าหน้าที่หรือภาระการพิสูจน์ความผิดของจำเลยตกอยู่แก่โจทก์ แต่ตามมาตรา 158 (5) กำหนดให้คำฟ้องต้องทำเป็นหนังสือและมีการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำผิดนั้น ๆ อีกทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีกับมาตรา 15 กำหนดว่า วิธีพิจารณาข้อใดซึ่งประมวลกฎหมายนี้มิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับเท่าที่พอจะใช้บังคับได้ และตาม ป.วิ.พ. มาตรา 84 กำหนดว่า ถ้าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งกล่าวอ้างข้อเท็จจริงอย่างใด ๆ เพื่อสนับสนุนคำฟ้องหรือคำให้การของตน ให้หน้าที่นำสืบข้อเท็จจริงนั้นตกอยู่แก่คู่ความฝ่ายที่กล่าวอ้าง แต่ว่า (1) คู่ความไม่ต้องพิสูจน์ข้อเท็จจริงซึ่งเป็นที่รู้กันอยู่ทั่วไป หรือซึ่งไม่มีข้อโต้แย้งได้ หรือซึ่งศาลเห็นว่าคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งได้รับแล้ว (2) ถ้ามีข้อสันนิษฐานไว้ในกฎหมายเป็นคุณแก่คู่ความฝ่ายใด คู่ความฝ่ายนั้นต้องพิสูจน์แต่เพียงว่าตนได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขแห่งการที่ตนจะได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานนั้นครบถ้วนแล้ว ดังนั้น โจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบข้อเท็จจริงตามที่กล่าวในคำฟ้อง
ข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามที่โจทก์นำสืบว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันมีและใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายทั้งสาม ทั้ง พ.ร.บ. อาวุธปืนฯ มาตรา 13 บัญญัติว่า "ห้ามมิให้ออกใบอนุญาตตามความในหมวดนี้ (คือหมวด 1 อาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืน) แก่?(4) บุคคลซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ ?" ซึ่งบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าว ศาลย่อมรู้ได้เอง ประกอบกับข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่อาจโต้แย้งได้ว่าขณะเกิดเหตุจำเลยทั้งสองยังไม่บรรลุนิติภาวะ จึงเป็นที่เห็นได้ว่า นายทะเบียนอาวุธปืนย่อมไม่อาจออกใบอนุญาตให้มีและพาอาวุธปืนให้แก่จำเลยทั้งสองได้ตามบทกฎหมายข้างต้นถือได้ว่าโจทก์นำสืบข้อเท็จจริงให้รับฟังได้ว่า จำเลยทั้งสองไม่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนให้มีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนและพาอาวุธปืนไปในทางสาธารณะแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2939/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีเสร็จสิ้นแล้ว แม้มีการปรับปรุงบัญชีดอกเบี้ย จำเลยไม่มีสิทธิเพิกถอนได้
เมื่อผู้ซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาดได้ชำระราคาครบถ้วนและศาลมีหนังสือแจ้งให้เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนระงับการจำนอง - โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่ผู้ซื้อ ทั้งโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาก็ได้รับชำระหนี้จากเงินสุทธิที่ได้รับจากการขายทอดตลาดไปแล้ว ดังนี้ ถือว่าการบังคับคดีได้เสร็จลงแล้วจำเลยจึงไม่มีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนการบังคับคดีที่เสร็จแล้วได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา296 วรรคสอง
การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจัดทำบัญชีแสดงรายการรับ-จ่าย เพื่อปรับปรุงฉบับเดิมขึ้นใหม่ก็เพราะจำเลยยื่นคำแถลงคัดค้านการคิดคำนวณดอกเบี้ยของเจ้าพนักงานบังคับคดี เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีคิดคำนวณดอกเบี้ยใหม่ แม้จะทำให้ตัวเลขทางบัญชีไม่ตรงกับบัญชีแสดงการรับจ่ายเดิมเพราะการคิดคำนวณดอกเบี้ยผิดพลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีเอง หาใช่เป็นเรื่องที่ทำให้การบังคับคดียังไม่เสร็จลงไม่ เพราะไม่มีการกระทำอย่างใดในการที่จะบังคับเกี่ยวกับที่ดินของจำเลยต่อไปอีก
ป.วิ.พ.มาตรา 316 เป็นบทบัญญัติที่กำหนดหน้าที่ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องจัดทำบัญชีในการปฏิบัติงานบังคับคดี และมาตรา 320 ก็เป็นเรื่องที่กำหนดให้เฉพาะเจ้าหนี้เท่านั้นที่จะยื่นคำแถลงคัดค้านบัญชีส่วนเฉลี่ยต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้บทบัญญัติสองมาตราดังกล่าวหาใช่เป็นเรื่องที่จะทำให้จำเลยมีสิทธิร้องขอเพิกถอนการบังคับคดีซึ่งการบังคับคดีเสร็จลงแล้วได้
การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจัดทำบัญชีแสดงรายการรับ-จ่าย เพื่อปรับปรุงฉบับเดิมขึ้นใหม่ก็เพราะจำเลยยื่นคำแถลงคัดค้านการคิดคำนวณดอกเบี้ยของเจ้าพนักงานบังคับคดี เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีคิดคำนวณดอกเบี้ยใหม่ แม้จะทำให้ตัวเลขทางบัญชีไม่ตรงกับบัญชีแสดงการรับจ่ายเดิมเพราะการคิดคำนวณดอกเบี้ยผิดพลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีเอง หาใช่เป็นเรื่องที่ทำให้การบังคับคดียังไม่เสร็จลงไม่ เพราะไม่มีการกระทำอย่างใดในการที่จะบังคับเกี่ยวกับที่ดินของจำเลยต่อไปอีก
ป.วิ.พ.มาตรา 316 เป็นบทบัญญัติที่กำหนดหน้าที่ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องจัดทำบัญชีในการปฏิบัติงานบังคับคดี และมาตรา 320 ก็เป็นเรื่องที่กำหนดให้เฉพาะเจ้าหนี้เท่านั้นที่จะยื่นคำแถลงคัดค้านบัญชีส่วนเฉลี่ยต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้บทบัญญัติสองมาตราดังกล่าวหาใช่เป็นเรื่องที่จะทำให้จำเลยมีสิทธิร้องขอเพิกถอนการบังคับคดีซึ่งการบังคับคดีเสร็จลงแล้วได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2939/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีเสร็จสิ้นแล้ว แม้มีการปรับปรุงบัญชีรายรับ-จ่ายจากข้อคัดค้านดอกเบี้ย จำเลยไม่มีสิทธิเพิกถอน
เมื่อผู้ซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาดได้ชำระราคาครบถ้วนและศาลมีหนังสือแจ้งให้เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนระงับการจำนอง - โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่ผู้ซื้อ ทั้งโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาก็ได้รับชำระหนี้จากเงินสุทธิที่ได้รับจากการขายทอดตลาดไปแล้ว ดังนี้ ถือว่าการบังคับคดีได้เสร็จลงแล้วจำเลยจึงไม่มีสิทธิ ร้องขอให้เพิกถอนการบังคับคดีที่เสร็จแล้วได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง
การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจัดทำบัญชีแสดงรายการรับ-จ่ายเพื่อปรับปรุงฉบับเดิมขึ้นใหม่ก็เพราะจำเลยยื่นคำแถลงคัดค้านการคิดคำนวณดอกเบี้ยของเจ้าพนักงานบังคับคดี เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีคิดคำนวณดอกเบี้ยใหม่ แม้จะทำให้ตัวเลขทางบัญชีไม่ตรงกับบัญชีแสดงการรับจ่ายเดิมเพราะการคิดคำนวณดอกเบี้ยผิดพลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีเอง หาใช่เป็นเรื่องที่ทำให้การบังคับคดียังไม่เสร็จลงไม่ เพราะไม่มีการกระทำอย่างใดในการที่จะบังคับเกี่ยวกับที่ดินของจำเลยต่อไปอีก
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 316 เป็นบทบัญญัติที่กำหนดหน้าที่ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องจัดทำบัญชีในการปฏิบัติงานบังคับคดี และมาตรา 320 ก็เป็นเรื่องที่กำหนดให้เฉพาะเจ้าหนี้เท่านั้นที่จะยื่นคำแถลงคัดค้านบัญชีส่วนเฉลี่ยต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้บทบัญญัติสองมาตราดังกล่าวหาใช่เป็นเรื่องที่จะทำให้จำเลยมีสิทธิร้องขอเพิกถอนการบังคับคดีซึ่งการบังคับคดีเสร็จลงแล้วได้
การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจัดทำบัญชีแสดงรายการรับ-จ่ายเพื่อปรับปรุงฉบับเดิมขึ้นใหม่ก็เพราะจำเลยยื่นคำแถลงคัดค้านการคิดคำนวณดอกเบี้ยของเจ้าพนักงานบังคับคดี เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีคิดคำนวณดอกเบี้ยใหม่ แม้จะทำให้ตัวเลขทางบัญชีไม่ตรงกับบัญชีแสดงการรับจ่ายเดิมเพราะการคิดคำนวณดอกเบี้ยผิดพลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีเอง หาใช่เป็นเรื่องที่ทำให้การบังคับคดียังไม่เสร็จลงไม่ เพราะไม่มีการกระทำอย่างใดในการที่จะบังคับเกี่ยวกับที่ดินของจำเลยต่อไปอีก
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 316 เป็นบทบัญญัติที่กำหนดหน้าที่ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องจัดทำบัญชีในการปฏิบัติงานบังคับคดี และมาตรา 320 ก็เป็นเรื่องที่กำหนดให้เฉพาะเจ้าหนี้เท่านั้นที่จะยื่นคำแถลงคัดค้านบัญชีส่วนเฉลี่ยต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้บทบัญญัติสองมาตราดังกล่าวหาใช่เป็นเรื่องที่จะทำให้จำเลยมีสิทธิร้องขอเพิกถอนการบังคับคดีซึ่งการบังคับคดีเสร็จลงแล้วได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2825/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาในคดีเยาวชนต้องห้ามตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนฯ ไม่มีอำนาจอนุญาตฎีกา
คดีที่ต้องห้ามฎีกาตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534มาตรา 124 ไม่มีบทบัญญัติใดให้อำนาจอธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัว หรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวอนุญาตให้ฎีกาได้ดังเช่นกรณีอุทธรณ์ตามมาตรา 121 และกรณีไม่อาจนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221 โดยอาศัยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 6 มาใช้บังคับแก่กรณีนี้ได้ แม้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจะอนุญาตให้ฎีกาก็เป็นการไม่ชอบ และเมื่อคดีต้องห้ามฎีกาแล้วก็ไม่จำต้องส่งสำนวนไปให้ผู้พิพากษาที่ระบุตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221 มีคำสั่งเกี่ยวกับคำร้องขออนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2825/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การห้ามฎีกาในคดีเยาวชนและครอบครัว แม้ผู้พิพากษาอนุญาตก็ไม่ชอบ
คดีที่ต้องห้ามฎีกาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 124 ไม่มีบทบัญญัติใดให้อำนาจอธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัว หรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวอนุญาตให้ฎีกาได้ดังเช่นกรณีอุทธรณ์ตามมาตรา 121 และกรณีไม่อาจนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ.มาตรา 221 โดยอาศัย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 6 มาใช้บังคับแก่กรณีนี้ได้ แม้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจะอนุญาตให้ฎีกาก็เป็นการไม่ชอบ และเมื่อคดีต้องห้ามฎีกาแล้วก็ไม่จำต้องส่งสำนวนไปให้ผู้พิพากษาที่ระบุตาม ป.วิ.อ.มาตรา 221 มีคำสั่งเกี่ยวกับคำร้องขออนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2686/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ข้อเท็จจริงขัดต่อกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ถูกต้อง
จำเลยยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาพร้อมคำฟ้องอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์และอนุญาตให้ยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา แต่อุทธรณ์ของจำเลยเป็นการอุทธรณ์ว่าศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงไม่ถูกต้อง ไม่ฟังข้อเท็จจริงตามที่ควรจะฟัง เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง จำเลยจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 223 ทวิ ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาโดยตรงจึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงและคดีต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาโดยตรงโดยมิได้ส่งสำเนาคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์แก่โจทก์เพื่อให้โจทก์มีโอกาสคัดค้านก่อน เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ถูกต้อง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่ง การที่ศาลฎีกาจะส่งสำนวนคืนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 5 วินิจฉัยตามมาตรา 223 ทวิ วรรคท้ายจึงไม่เป็นประโยชน์ ศาลฎีกาย่อมพิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นที่รับอุทธรณ์ของจำเลยและที่อนุญาตให้จำเลยยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา และให้ศาลชั้นต้นสั่งอุทธรณ์ของจำเลยใหม่
จำเลยอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงและคดีต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาโดยตรงโดยมิได้ส่งสำเนาคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์แก่โจทก์เพื่อให้โจทก์มีโอกาสคัดค้านก่อน เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ถูกต้อง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่ง การที่ศาลฎีกาจะส่งสำนวนคืนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 5 วินิจฉัยตามมาตรา 223 ทวิ วรรคท้ายจึงไม่เป็นประโยชน์ ศาลฎีกาย่อมพิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นที่รับอุทธรณ์ของจำเลยและที่อนุญาตให้จำเลยยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา และให้ศาลชั้นต้นสั่งอุทธรณ์ของจำเลยใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2686/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ข้อเท็จจริงขัดต่อกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 223 ทวิ และการไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนการส่งสำเนาคำร้อง
จำเลยยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาพร้อมคำฟ้องอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์และอนุญาตให้ยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา แต่อุทธรณ์ของจำเลยเป็นการอุทธรณ์ว่าศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงไม่ถูกต้อง ไม่ฟังข้อเท็จจริงตามที่ควรจะฟัง เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง จำเลยจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 223 ทวิที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาโดยตรงจึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงและคดีต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาโดยตรงโดยมิได้ส่งสำเนาคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์แก่โจทก์เพื่อให้โจทก์มีโอกาสคัดค้านก่อน เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ถูกต้อง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่ง การที่ศาลฎีกาจะส่งสำนวนคืนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 5 วินิจฉัยตามมาตรา 223 ทวิ วรรคท้ายจึงไม่เป็นประโยชน์ ศาลฎีกาย่อมพิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นที่รับอุทธรณ์ของจำเลยและที่อนุญาตให้จำเลยยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา และให้ศาลชั้นต้นสั่งอุทธรณ์ของจำเลยใหม่
จำเลยอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงและคดีต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาโดยตรงโดยมิได้ส่งสำเนาคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์แก่โจทก์เพื่อให้โจทก์มีโอกาสคัดค้านก่อน เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ถูกต้อง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่ง การที่ศาลฎีกาจะส่งสำนวนคืนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 5 วินิจฉัยตามมาตรา 223 ทวิ วรรคท้ายจึงไม่เป็นประโยชน์ ศาลฎีกาย่อมพิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นที่รับอุทธรณ์ของจำเลยและที่อนุญาตให้จำเลยยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา และให้ศาลชั้นต้นสั่งอุทธรณ์ของจำเลยใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2498/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชิงทรัพย์โดยใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะ พยานหลักฐานเพียงปากเดียวแต่มีเหตุผลน่าเชื่อถือ
แม้โจทก์จะมีผู้เสียหายเป็นประจักษ์พยานเพียงปากเดียวมาเบิกความแต่ผู้เสียหายก็เบิกความยืนยันข้อเท็จจริงชัดเจนเป็นขั้นเป็นตอนสอดคล้องต้องกันอย่างมีเหตุมีผล ผู้เสียหายกับจำเลยเป็นคนตำบลเดียวกัน เคยเห็นหน้ากันบ่อยครั้งเพียงแต่ไม่เคยพูดคุยกัน สถานที่เกิดเหตุก็เป็นริมถนนที่โล่งแจ้งในเวลากลางวัน จำเลยไม่มีอุปกรณ์ใดปกปิดหรืออำพรางใบหน้าประกอบกับขณะที่จำเลยลงจากรถจะมาเก็บเอาสร้อยคอทองคำที่ตกอยู่ริมถนนได้มีการพูดโต้ตอบกับผู้เสียหายอยู่ชั่วขณะหนึ่ง ผู้เสียหายมีโอกาสมองเห็นและจดจำรูปร่างหน้าตากันได้ ส่วนที่จำเลยนำสืบต่อสู้คดีโดยอ้างฐานที่อยู่นั้น นอกจากจะไม่มีเหตุผลในการรับฟังแล้วยังไม่น่าเชื่อ ไม่อาจรับฟังเพื่อหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ได้ จึงฟังได้ว่าจำเลยเป็นคนร้ายผู้เสียหายยืนยันว่าได้รับบาดเจ็บที่แขนทั้งสองข้าง หัวเข่า และใบหน้าถลอกมีโลหิตไหล แม้ผลการตรวจชันสูตรบาดแผลไม่ระบุว่ามีโลหิตไหลหรือไม่ก็อาจจะเป็นเพราะแพทย์ตรวจภายหลังเกิดเหตุถึง 2 วันก็เป็นได้ จากบาดแผลดังกล่าวถือได้ว่าผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กายตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 339 วรรคสามแล้ว
การที่จำเลยนั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์มากระทำการชิงทรัพย์จนได้ทรัพย์ไปเรียบร้อย โดยพวกของจำเลยติดเครื่องรถจักรยานยนต์รออยู่แล้วจำเลยได้เดินไปขึ้นนั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์คันดังกล่าวหลบหนีไปนั้น แสดงว่าจำเลยมีเจตนาที่จะใช้รถจักรยานยนต์ที่พวกของจำเลยติดเครื่องรออยู่นั้นเป็นยานพาหนะในการกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์เพื่อพาทรัพย์นั้นไปและหลบหนีเพื่อให้พ้นจากการจับกุมการกระทำของจำเลยจึงเป็นการชิงทรัพย์โดยใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ตรี
การที่จำเลยนั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์มากระทำการชิงทรัพย์จนได้ทรัพย์ไปเรียบร้อย โดยพวกของจำเลยติดเครื่องรถจักรยานยนต์รออยู่แล้วจำเลยได้เดินไปขึ้นนั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์คันดังกล่าวหลบหนีไปนั้น แสดงว่าจำเลยมีเจตนาที่จะใช้รถจักรยานยนต์ที่พวกของจำเลยติดเครื่องรออยู่นั้นเป็นยานพาหนะในการกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์เพื่อพาทรัพย์นั้นไปและหลบหนีเพื่อให้พ้นจากการจับกุมการกระทำของจำเลยจึงเป็นการชิงทรัพย์โดยใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ตรี