คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุวัตร์ สุขเกษม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 319 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2498/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชิงทรัพย์โดยใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะ พยานหลักฐานเพียงปากเดียวแต่มีเหตุผลน่าเชื่อถือ
แม้โจทก์จะมีผู้เสียหายเป็นประจักษ์พยานเพียงปากเดียวมาเบิกความแต่ผู้เสียหายก็เบิกความยืนยันข้อเท็จจริงชัดเจนเป็นขั้นเป็นตอนสอดคล้องต้องกันอย่างมีเหตุมีผล ผู้เสียหายกับจำเลยเป็นคนตำบลเดียวกัน เคยเห็นหน้ากันบ่อยครั้งเพียงแต่ไม่เคยพูดคุยกัน สถานที่เกิดเหตุก็เป็นริมถนนที่โล่งแจ้งในเวลากลางวัน จำเลยไม่มีอุปกรณ์ใดปกปิดหรืออำพรางใบหน้าประกอบกับขณะที่จำเลยลงจากรถจะมาเก็บเอาสร้อยคอทองคำที่ตกอยู่ริมถนนได้มีการพูดโต้ตอบกับผู้เสียหายอยู่ชั่วขณะหนึ่ง ผู้เสียหายมีโอกาสมองเห็นและจดจำรูปร่างหน้าตากันได้ ส่วนที่จำเลยนำสืบต่อสู้คดีโดยอ้างฐานที่อยู่นั้น นอกจากจะไม่มีเหตุผลในการรับฟังแล้วยังไม่น่าเชื่อ ไม่อาจรับฟังเพื่อหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ได้ จึงฟังได้ว่าจำเลยเป็นคนร้ายผู้เสียหายยืนยันว่าได้รับบาดเจ็บที่แขนทั้งสองข้าง หัวเข่า และใบหน้าถลอกมีโลหิตไหล แม้ผลการตรวจชันสูตรบาดแผลไม่ระบุว่ามีโลหิตไหลหรือไม่ก็อาจจะเป็นเพราะแพทย์ตรวจภายหลังเกิดเหตุถึง 2 วันก็เป็นได้ จากบาดแผลดังกล่าวถือได้ว่าผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กายตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 339 วรรคสามแล้ว
การที่จำเลยนั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์มากระทำการชิงทรัพย์จนได้ทรัพย์ไปเรียบร้อย โดยพวกของจำเลยติดเครื่องรถจักรยานยนต์รออยู่แล้วจำเลยได้เดินไปขึ้นนั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์คันดังกล่าวหลบหนีไปนั้น แสดงว่าจำเลยมีเจตนาที่จะใช้รถจักรยานยนต์ที่พวกของจำเลยติดเครื่องรออยู่นั้นเป็นยานพาหนะในการกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์เพื่อพาทรัพย์นั้นไปและหลบหนีเพื่อให้พ้นจากการจับกุมการกระทำของจำเลยจึงเป็นการชิงทรัพย์โดยใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ตรี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2291/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอดถอนผู้จัดการมรดกจากพฤติการณ์จงใจไม่ปฏิบัติหน้าที่ โต้แย้งทรัพย์สิน และต้องโทษจำคุก
การที่ผู้คัดค้านจงใจไม่ปฏิบัติหน้าที่ผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้องเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทเจ้ามรดกให้เสร็จสิ้นลุล่วงไปตามภาระหน้าที่ของตนทั้งมีพฤติการณ์โต้แย้งเกี่ยวกับทรัพย์สินของเจ้ามรดกที่ผู้คัดค้านอ้างว่าทรัพย์มรดกที่ตนจะต้องจัดการแบ่งปันนั้นเป็นของมารดาตนเองมิใช่ของเจ้ามรดก นับว่าผู้คัดค้านกระทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดกและมีเหตุให้เห็นได้ว่าผู้คัดค้านจะไม่จัดการแบ่งปันทรัพย์มรดกให้เป็นไปโดยสุจริตทั้งผู้คัดค้านต้องโทษจำคุกอยู่ย่อมไม่สามารถทำหน้าที่เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้องได้ จึงไม่สมควรที่จะให้ผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้องต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1892/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานพยายามกระทำชำเราเด็กหญิง และการพิพากษาความรับผิดชอบของจำเลยร่วม
โจทก์มีผู้เสียหายซึ่งขณะเกิดเหตุอายุ 9 ปีเศษ เป็นประจักษ์พยานเพียงคนเดียวแต่พฤติการณ์แวดล้อมที่ปรากฏ มีเหตุผลเชื่อได้ว่าเหตุการณ์เป็นไปดังที่ผู้เสียหายเบิกความ แม้คำเบิกความของผู้เสียหายในชั้นศาลจะแตกต่างจากคำให้การในชั้นสอบสวนบ้าง ซึ่งเป็นเพียงประเด็นรายละเอียดปลีกย่อยในเรื่องที่ไม่สำคัญย่อมไม่ทำให้น้ำหนักคำเบิกความของผู้เสียหายลดน้อยลง
จำเลยทั้งสองกอดปล้ำผู้เสียหายก็เพื่อการกระทำชำเราผู้เสียหายและในเวลาเดียวกันจำเลยทั้งสองก็ได้พยายามกระทำชำเราผู้เสียหาย ไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองได้กระทำอนาจารอย่างอื่นแก่ผู้เสียหายอีก จะถือว่าจำเลยทั้งสองมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 279 วรรคสอง ด้วยไม่ได้ ข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยที่ 2 จะไม่ฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 และเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดีศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ที่ไม่ได้ฎีกาด้วยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1892/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานเด็กประกอบพฤติการณ์แวดล้อม และอำนาจศาลในการวินิจฉัยจำเลยที่ไม่ได้ฎีกา
โจทก์มีผู้เสียหายซึ่งขณะเกิดเหตุอายุ 9 ปีเศษ เป็นประจักษ์พยานเพียงคนเดียว แต่พฤติการณ์แวดล้อมที่ปรากฏ มีเหตุผลเชื่อได้ว่าเหตุการณ์เป็นไปดังที่ผู้เสียหายเบิกความ แม้คำเบิกความของผู้เสียหายในชั้นศาลจะแตกต่างจากคำให้การในชั้นสอบสวนบ้าง ซึ่งเป็นเพียงประเด็นรายละเอียดปลีกย่อยในเรื่องที่ไม่สำคัญ ย่อมไม่ทำให้น้ำหนักคำเบิกความของผู้เสียหายลดน้อยลง
จำเลยทั้งสองกอดปล้ำผู้เสียหายก็เพื่อการกระทำชำเราผู้เสียหายและในเวลาเดียวกันจำเลยทั้งสองก็ได้พยายามกระทำชำเราผู้เสียหาย ไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองได้กระทำอนาจารอย่างอื่นแก่ผู้เสียหายอีก จะถือว่าจำเลยทั้งสองมีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 279 วรรคสอง ด้วยไม่ได้ ข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยที่ 2 จะไม่ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 และเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ที่ไม่ได้ฎีกาด้วยได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1857/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีอาญาของจำเลยต่างชาติที่ไม่เข้าใจภาษาไทย การใช้ล่าม และการรับสารภาพ
ในคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า"ในวันที่ 23 กรกฎาคม 2540 ก่อนศาลมีคำพิพากษา ศาลได้อ่านและอธิบายฟ้องเป็นภาษาไทยให้จำเลยฟัง ซึ่งจำเลยเข้าใจภาษาไทยเป็นอย่างดี จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลจึงได้มีคำพิพากษาไปในวันนั้นด้วยเหตุนี้จึงไม่มีเหตุที่จะพิจารณาคดีใหม่ตามคำร้อง ให้ยกคำร้อง"แสดงว่าจำเลยเข้าใจคำฟ้องของโจทก์ คำให้การรับสารภาพของจำเลยกับเรื่องที่จำเลยไม่ต้องการทนายความจึงเป็นไปตามความประสงค์อันแท้จริงของจำเลย มิใช่เกิดจากความไม่เข้าใจในภาษาไทย จึงไม่มีเหตุจำเป็นจะต้องใช้ล่ามแปลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 13 วรรคหนึ่ง
ความผิดหลายกรรมต่างกันตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องย่อมมีผลเป็นการรับสารภาพทุกข้อหาโจทก์ไม่จำต้องสืบพยานเพื่อพิสูจน์ความผิดของจำเลยอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1551/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้รับจำนองเหนือทรัพย์ขายทอดตลาด แม้มิได้ยื่นคำร้องก่อนการขาย
แม้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับจำนองไม่ได้ยื่นคำร้องขอต่อศาลก่อนเอาทรัพย์พิพาทออกขายทอดตลาด ก็หาเป็นเหตุให้ผู้ร้องหมดสิทธิในฐานะผู้รับจำนองไปไม่เพราะการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 289ของลูกหนี้ตามคำพิพากษาย่อมไม่กระทบกระเทือนถึงบุริมสิทธิของผู้รับจำนองซึ่งอาจร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์พิพาทได้ ฉะนั้น เมื่อเอาทรัพย์พิพาทขายทอดตลาดโดยปลอดจำนองตามความประสงค์ของผู้ร้อง และผู้ร้องเป็นผู้ประมูลซื้อจากขายทอดตลาดได้ ผู้ร้องจึงมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้รายอื่นรวมทั้งโจทก์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1448/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการแต่งตั้งผู้จัดการมรดก ต้องยื่นต่อศาลที่มีภูมิลำเนาของเจ้ามรดกขณะเสียชีวิต
พระภิกษุ ก. ได้มาซึ่งที่ดินในจังหวัดลำพูนในระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศต่อมาพระภิกษุ ก. ถึงแก่มรณภาพขณะที่พระภิกษุ ก. มีภูมิลำเนาอยู่ที่วัดในจังหวัดเชียงใหม่ โดยมิได้จำหน่ายที่ดินไปในระหว่างชีวิตหรือโดยพินัยกรรมการยื่นคำร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดกรายนี้จึงต้องยื่นต่อศาลจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นศาลที่เจ้ามรดกมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตขณะถึงแก่ความตายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4 จัตวา
เมื่อผู้ร้องไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอให้แต่งตั้งผู้จัดการมรดกต่อศาลจังหวัดลำพูนการที่ศาลจังหวัดลำพูนรับคำร้องไว้พิจารณาและมีคำสั่ง กับศาลอุทธรณ์ภาค 2พิจารณาอุทธรณ์ผู้ร้องและพิพากษายืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นจึงเป็นการมิชอบปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) เป็นไม่รับคำร้องขอของผู้ร้องและให้คืนค่าขึ้นศาลทั้งสามศาลแก่ผู้ร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1448/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการแต่งตั้งผู้จัดการมรดก: ที่ตั้งมรณภาพเป็นหลัก
พระภิกษุ ก.ได้มาซึ่งที่ดินในจังหวัดลำพูนในระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศ ต่อมาพระภิกษุ ก.ถึงแก่มรณภาพขณะที่พระภิกษุ ก.มีภูมิลำเนาอยู่ที่วัดในจังหวัดเชียงใหม่ โดยมิได้จำหน่ายที่ดินไปในระหว่างชีวิตหรือโดยพินัยกรรมการยื่นคำร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดกรายนี้จึงต้องยื่นต่อศาลจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นศาลที่เจ้ามรดกมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตขณะถึงแก่ความตายตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4จัตวา
เมื่อผู้ร้องไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอให้แต่งตั้งผู้จัดการมรดกต่อศาลจังหวัดลำพูน การที่ศาลจังหวัดลำพูนรับคำร้องไว้พิจารณาและมีคำสั่ง กับศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิจารณาอุทธรณ์ผู้ร้องและพิพากษายืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นจึงเป็นการมิชอบปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (5)เป็นไม่รับคำร้องขอของผู้ร้องและให้คืนค่าขึ้นศาลทั้งสามศาลแก่ผู้ร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1412/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุฟ้องหย่าต้องมีเหตุตามกฎหมาย การแยกกันอยู่ต้องเกิดจากความสมัครใจของทั้งสองฝ่าย การฟ้องหย่าไม่สำเร็จหากฝ่ายหนึ่งไม่ประสงค์จะหย่า
เหตุฟ้องหย่าอันที่มิใช่เกิดจากความยินยอมพร้อมใจของคู่กรณีทั้งสองฝ่ายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516 นั้นโจทก์ต้องพิสูจน์ให้ศาลเชื่อได้ว่า จำเลยเป็นฝ่ายประพฤติตนไม่สมควรหรือกระทำการอันเข้าเงื่อนไขที่มาตรา 1516 ได้ระบุไว้นอกจากอนุมาตรา(4/2) ส่วนเหตุฟ้องหย่าที่เกิดจากความสมัครใจของคู่กรณีทั้งสองฝ่ายก็ต้องเกิดจากความสมัครใจโดยแท้จริงของคู่กรณีทั้งสองฝ่าย มิใช่สมัครใจเพียงฝ่ายเดียว ดังนั้น หากพฤติการณ์แห่งคดีมิได้เป็นไปดังที่ได้กล่าวมาทั้งสองกรณีนี้ โจทก์ก็ไม่มีสิทธิฟ้องหย่าจำเลย แม้ว่าจะมิได้อยู่ร่วมกันหรือไม่มีเยื่อใยต่อกัน และไม่มีความหวังที่จะคืนดีกันอีกแล้วก็ตาม
แม้จะถูกฟ้องหย่าหลายครั้ง จำเลยก็ไม่เคยคิดที่จะฟ้องหย่าโจทก์หรือมีความประสงค์ที่จะหย่าขาดจากโจทก์แต่อย่างใด รวมทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยมีพฤติกรรมในทำนองชู้สาวกับชายอื่นหรือนอกใจโจทก์ ตรงข้ามกับโจทก์ซึ่งมีพฤติกรรมอันส่อแสดงว่านอกใจจำเลยและยกย่องหญิงอื่นฉันภริยา จึงเป็นเหตุที่ทำให้จำเลยต้องทำหนังสือร้องเรียนขอความเป็นธรรมต่อปลัดกระทรวงมหาดไทยและสำนักราชเลขาธิการ รวมทั้งทำหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงต่อบิดาและมารดาของหญิงที่ยุ่งเกี่ยวกับสามีของตน ตลอดจนฟ้องเรียกค่าทดแทนจากหญิงนั้นด้วย การที่จำเลยต้องกล่าวพาดพิงถึงโจทก์ในหนังสือร้องเรียนและเบิกความเป็นพยานในคดีดังกล่าวเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรงนั้นแม้ถ้อยคำบางคำอาจเกินเลยและรุนแรงไปบ้างก็ล้วนเป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยกล่าวด้วยความหึงหวงในตัวสามีอันเป็นธรรมชาติของภริยาโดยทั่วไป ทั้งเป็นการกล่าวโดยสุจริต โดยชอบธรรมเพื่อป้องกันส่วนได้เสียตามคลองธรรม จึงมิใช่เป็นการหมิ่นประมาท ดังนั้น ถ้อยคำดังกล่าวมิใช่เป็นการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรงอันต้องด้วยเหตุหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516(3) อีกทั้งพฤติการณ์ระหว่างโจทก์และจำเลยยังมิใช่กรณีที่สมัครใจแยกกันอยู่ตามมาตรา 1516(4/2) แต่เป็นกรณีโจทก์เป็นฝ่ายแยกไปเองโดยยกย่องหญิงอื่นฉันภริยา เมื่อจำเลยมิได้ประสงค์จะหย่าขาดจากโจทก์โจทก์ก็ไม่อาจอ้างเป็นเหตุฟ้องหย่าจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1392/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามในปัญหาข้อเท็จจริง แม้ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกา
ที่จำเลยฎีกาขอให้รอการลงโทษในความผิดฐานมีภาชนะหรือเครื่องกลั่นสำหรับทำสุรานั้น ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามฟ้องและให้ลงโทษจำคุก 1 เดือน เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นกักขังแทน เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 5 มิได้พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 219 ตรี ที่จำเลยฎีกาขอให้รอการลงโทษ จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงและต้องห้ามตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221 ไม่ได้บัญญัติให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ คำอนุญาตของผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นจึงไม่มีผลหรือทำให้จำเลยมีสิทธิฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้
of 32