คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุวัตร์ สุขเกษม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 319 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3949/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ แม้ชำระเงินครบถ้วนแต่ไม่ตรงตามกำหนดและสถานที่ ศาลมีอำนาจบังคับคดีได้
++ เรื่อง ซื้อขาย (ชั้นบังคับคดี)
++ โปรดดูย่อจากหนังสือคำพิพากษาศาลฎีกา สำนักงานศาลยุติธรรม
++ เล่มที่ 8 หน้า 159 ++
++ ขอดูชุดพิเศษโปรดติดต่อห้องบริการเอกสารสำเนาคำพิพากษา (ห้องสมุด) ชั้น 4, 5 ++

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3899/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสมบูรณ์ของฟ้องคดีอาญาเกี่ยวกับของผิดกฎหมาย และการแยกความผิดเป็นหลายกรรมต่างกัน
ปัญหาตามฎีกาของจำเลยว่า ฟ้องโจทก์เกี่ยวกับ เลื่อยโซ่ยนต์ ของกลางสมบูรณ์ตามกฎหมายหรือไม่ และความผิดของจำเลยตามฟ้องเป็นการกระทำเพียงกรรมเดียว หรือหลายกรรมต่างกัน แม้จะมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วใน ศาลล่างทั้งสอง แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยจำเลยย่อมยกขึ้นฎีกาได้ โจทก์ระบุในฟ้องแล้วว่า จำเลยได้บังอาจซื้อ รับจำนำ หรือ รับไว้ซึ่งเลื่อยโซ่ยนต์ ของกลาง และได้ช่วยพาเอาไปเสีย ช่วยจำหน่าย ช่วยซ่อนเร้นซึ่งเลื่อยโซ่ยนต์ ดังกล่าว โดยจำเลย รู้อยู่แล้วว่าเป็นของที่ผู้อื่นได้ลักลอบนำหนีศุลกากรเข้ามา ในราชอาณาจักร โดยหลีกเลี่ยงอากรที่จะต้องเสียสำหรับของนั้น ทั้งนี้ โดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย และคำขอท้ายฟ้อง โจทก์อ้าง พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิ และ พระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2499 มาตรา 4 เช่นนี้ นับว่าเพียงพอที่จะฟังได้ว่าเลื่อยโซ่ยนต์ ของกลางเป็นของต้องห้าม ต้องกำ กัดตามกฎหมายในการนำเข้าและต้องชำระภาษี โจทก์หาจำต้องระบุว่าเป็นของต้องห้ามต้องกำ กัดตามประกาศ ของกระทรวงใดอีกไม่ ถือได้ว่าฟ้องโจทก์เกี่ยวกับเลื่อยโซ่ยนต์ ของกลางสมบูรณ์ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) และ (6) แล้ว การพิจารณาว่า การกระทำเป็นกรรมเดียวหรือหลายกรรมต่างกัน มิใช่จะพิจารณาแต่เพียงว่า ถ้าเป็นการกระทำความผิดหลายฐานในครั้งเดียวคราวเดียวแล้วจะต้องเป็นกรรมเดียวเสมอไป การกระทำความผิดหลายฐานในครั้งเดียวคราวเดียวอาจเป็นหลายกรรมต่างกันได้ หากผู้กระทำมีเจตนาที่จะให้เกิดผลต่างกันหรือประสงค์จะให้เกิดผลเป็นความผิดหลายฐาน การที่ตามวันเวลาเกิดเหตุซึ่งเจ้าพนักงานจับจำเลยพร้อมยึดของกลางในคดีในข้อหาความผิด ทำไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ แปรรูปไม้ มีไม้หวงห้ามแปรรูปไว้ในครอบครอง เกิน 0.20 ลูกบาศก์เมตร โดยฝ่าฝืนต่อกฎหมายและซื้อ รับจำนำหรือรับไว้ซึ่งของอันตนรู้ว่าเป็นของที่นำเข้ามาใน ราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากร กรณีมิใช่เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3887/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุบันดาลโทสะต้องเกิดจากการถูกข่มเหงอย่างร้ายแรง การผัดชำระหนี้ค่าจ้างไม่ถือเป็นการข่มเหง
พฤติการณ์ที่จำเลยมาทวงเงินค่าจ้างที่ค้างจากผู้เสียหายซึ่งเป็นนายจ้างแล้วถูกผัดชำระอยู่หลายครั้ง โดยไม่ปรากฏว่าผู้เสียหายได้กระทำการอื่นใดต่อจำเลยอีก เพียงเท่านั้นถือไม่ได้ว่าจำเลยถูกผู้เสียหายข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม จำเลยจะอ้างเหตุบันดาลโทสะเป็นประโยชน์แก่คดีของตนหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3682/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ตามคำพิพากษาเกี่ยวกับการแบ่งสินสมรส: การยอมรับจำนวนเงินที่ระบุในคำฟ้องถือเป็นการชำระหนี้ถูกต้อง
โจทก์ฟ้องขอแบ่งสินสมรสโดยระบุจำนวนราคาสินสมรสมาในคำฟ้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยแบ่งสินสมรสโดยกำหนดราคาทรัพย์แต่ละอันดับไว้ ศาลฎีกาเห็นว่าการแบ่งสินสมรสระหว่างสามีภริยาต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1533 จึงพิพากษาว่าถ้าจำเลยไม่ยอมแบ่งหรือไม่สามารถแบ่งสินสมรสอันดับใดให้นำสินสมรสอันดับนั้นออกขายทอดตลาดแล้วนำเงินมาแบ่งให้โจทก์ครึ่งหนึ่ง นอกจากที่แก้คงเป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ซึ่งหมายถึงว่าการขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทอันดับใดได้เงินน้อยกว่าจำนวนเงินที่ระบุในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จำเลยก็ไม่ต้องรับผิดเกินกว่าราคาที่ขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทนั้น แต่ในทางกลับกันจำเลยก็คงจะรับผิดต่อโจทก์ไม่เกินกว่าจำนวนเงินที่โจทก์กล่าวอ้างและมีคำขอมาในคำฟ้อง เมื่อจำเลยยอมแบ่งสินสมรสตามจำนวนเงินที่ระบุมาในคำฟ้องแก่โจทก์ จึงถือได้ว่าจำเลยได้ปฏิบัติการชำระหนี้ถูกต้องตามคำพิพากษาแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3643/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดิน: การซื้อขายและการครอบครองโดยชอบธรรมมีน้ำหนักกว่าชื่อในเอกสารสิทธิ
แม้ ป.บิดาโจทก์จะมีชื่อในหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3) ที่พิพาทอันสันนิษฐานไว้ก่อนว่า ป.ผู้มีชื่อในทะเบียนเป็นผู้มีสิทธิครอบครองตาม ป.พ.พ.มาตรา 1373 ก็ตาม แต่ตามทางนำสืบของโจทก์เป็นเรื่องเลื่อนลอยไม่น่าเชื่อ ส่วนพยานหลักฐานจำเลยมีน้ำหนักน่าเชื่อว่าที่พิพาทเป็นของจำเลยซื้อมาแล้วให้ ป. เป็นผู้มีชื่อในเอกสารสิทธิดังกล่าวด้วยเหตุผลทางศาสนาอิสลาม การที่จำเลยยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกโดยอ้างว่า ที่พิพาทเป็นมรดกของ ป. เป็นเพียงต้องการให้ที่พิพาทซึ่งเป็นของจำเลยกลับโอนมาเป็นของจำเลยตามที่มีผู้แนะนำให้ดำเนินการเท่านั้น ไม่อาจฟังว่าที่พิพาทเป็นมรดกของ ป. ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าที่ดินพิพาทมิใช่ทรัพย์ของ ป.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3643/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดิน: การซื้อขายที่ดินโดยใช้ชื่อผู้อื่นเพื่อเหตุผลทางศาสนา ไม่ถือเป็นทรัพย์มรดก
แม้ ป. บิดาโจทก์จะมีชื่อในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) ที่พิพาทอันสันนิษฐานไว้ก่อนว่าป. ผู้มีชื่อในทะเบียนเป็นผู้มีสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1373 ก็ตามแต่ทางนำสืบของโจทก์เป็นเรื่องเลื่อนลอยไม่น่าเชื่อ ส่วนพยานหลักฐานจำเลยมีน้ำหนักน่าเชื่อว่าที่พิพาทเป็นของจำเลยซื้อมาแล้วให้ ป. เป็นผู้มีชื่อในเอกสารสิทธิดังกล่าวด้วยเหตุผลทางศาสนาอิสลามการที่จำเลยยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกโดยอ้างว่า ที่พิพาทเป็นมรดกของ ป. เป็นเพียงต้องการให้ที่พิพาทซึ่งเป็นของจำเลยกลับโอนมาเป็นของจำเลยตามที่มีผู้แนะนำให้ดำเนินการเท่านั้น ไม่อาจฟังว่าที่พิพาทเป็นมรดกของ ป. ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าที่ดินพิพาทมิใช่ทรัพย์ของ ป.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3541/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายหินหลีกเลี่ยงกฎหมายโอนสิทธิอนุญาตระเบิดและย่อยหินเป็นโมฆะ
โจทก์เป็นผู้ได้รับอนุญาตจากทางราชการให้ประกอบกิจการระเบิดและย่อยหินในที่ดินของรัฐ และมาตรา 9 แห่ง ป.ที่ดินไม่มีข้อความที่อนุญาตให้ผู้รับใบอนุญาตโอนสิทธิแก่ผู้อื่นได้ โจทก์ผู้รับใบอนุญาตจึงต้องทำเองโดยเฉพาะตัวและผู้ที่ฝ่าฝืนบทบัญญัติในมาตรา 9 คือผู้ที่เข้าไปประกอบกิจการระเบิดและย่อยหินโดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่จะมีโทษทางอาญาตามมาตรา 108 ทวิเมื่อตามสัญญาซื้อขายหินระหว่างโจทก์จำเลยมีข้อตกลงให้จำเลยระเบิดและย่อยหินเองโดยจำเลยมิได้เป็นผู้ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ดำเนินการ ดังนี้ หากจำเลยเข้าไปดำเนินการก็ย่อมเข้าข่ายเป็นความผิดตามบทกฎหมายดังกล่าว ทั้งกรณีนี้อธิบดีกรมที่ดินมีอำนาจสั่งเพิกถอนในอนุญาตของโจทก์เสียได้ เนื่องจากตามเงื่อนไขการอนุญาตให้ระเบิดและย่อยหินระบุว่า ผู้ได้รับอนุญาตต้องดำเนินการด้วยตนเองจะให้ผู้อื่นดำเนินการหรือโอนสิทธิให้ผู้อื่นไม่ได้ นอกจากนี้สัญญาซื้อขายหินได้กำหนดให้ผู้ซื้อจะต้องเข้าไปทำการระเบิดและย่อยหินเองภายในระยะเวลาตามใบอนุญาตภาระภาษีต่าง ๆ ผู้ซื้อต้องรับผิดชอบ รวมทั้งค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมที่ต้องเสียแก่หน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง และหน้าที่ต่าง ๆ ของโจทก์ที่ทางราชการระบุไว้ในใบอนุญาตที่สำคัญ ๆ ทุกข้อก็นำมาระบุไว้ในสัญญาให้เป็นหน้าที่ของผู้ซื้อ สัญญาซื้อขายหินดังกล่าวเป็นเรื่องที่ทำขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงกฎหมายและข้อกำหนดห้ามโอนสิทธิตามใบอนุญาตระเบิดและย่อยหิน โดยโจทก์จำเลยมีเจตนาแท้จริงที่จะโอนสิทธิตามใบอนุญาตระเบิดและย่อยหินแก่กัน จึงเป็นสัญญาที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ย่อมตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 150 การออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ตามสัญญาดังกล่าว จึงมิใช่เป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย การกระทำของจำเลยไม่อาจเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2534 มาตรา 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3541/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายหินเพื่อหลีกเลี่ยงกฎหมายอนุญาตระเบิดหินเป็นโมฆะ, เช็คไม่มีมูลหนี้
โจทก์เป็นผู้ได้รับอนุญาตจากทางราชการให้ประกอบกิจการ ระเบิดและย่อยหินในที่ดินของรัฐ และมาตรา 9 แห่ง ประมวลกฎหมายที่ดินไม่มีข้อความที่อนุญาตให้ผู้รับใบอนุญาต โอนสิทธิแก่ผู้อื่นได้ โจทก์ผู้รับใบอนุญาตจึงต้องทำเอง โดยเฉพาะตัวและผู้ที่ฝ่าฝืนบทบัญญัติในมาตรา 9 คือผู้ที่ เข้าไปประกอบกิจการระเบิดและย่อยหินโดยไม่ได้รับอนุญาต จากพนักงานเจ้าหน้าที่จะมีโทษทางอาญาตามมาตรา 108 ทวิ เมื่อตามสัญญาซื้อขายหินระหว่างโจทก์จำเลยมีข้อตกลงให้จำเลย ระเบิดและย่อยหินเองโดยจำเลยมิได้เป็นผู้ได้รับอนุญาตจาก พนักงานเจ้าหน้าที่ให้ดำเนินการ ดังนี้ หากจำเลยเข้าไป ดำเนินการก็ย่อมเข้าข่ายเป็นความผิดตามบทกฎหมายดังกล่าว ทั้งกรณีนี้อธิบดีกรมที่ดินมีอำนาจสั่งเพิกถอนในอนุญาตของโจทก์เสียได้ เนื่องจากตามเงื่อนไขการอนุญาตให้ระเบิดและย่อยหินระบุว่า ผู้ได้รับอนุญาตต้องดำเนินการด้วยตนเองจะให้ผู้อื่นดำเนินการหรือโอนสิทธิให้ผู้อื่นไม่ได้ นอกจากนี้สัญญาซื้อขายหินได้กำหนดให้ผู้ซื้อจะต้องเข้าไป ทำการระเบิดและย่อยหินเองภายในระยะเวลาตามใบอนุญาตภาระภาษีต่าง ๆ ผู้ซื้อต้องรับผิดชอบ รวมทั้งค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมที่ต้องเสียแก่หน่วยราชการที่เกี่ยวข้องและหน้าที่ต่าง ๆ ของโจทก์ที่ทางราชการระบุไว้ในใบอนุญาตที่สำคัญ ๆ ทุกข้อก็นำมาระบุไว้ในสัญญาให้เป็นหน้าที่ของผู้ซื้อ สัญญาซื้อขายหินดังกล่าวเป็นเรื่องที่ทำขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงกฎหมายและข้อกำหนดห้ามโอนสิทธิตามใบอนุญาตระเบิด และย่อยหิน โดยโจทก์จำเลยมีเจตนาแท้จริงที่จะโอนสิทธิ ตามใบอนุญาตระเบิดและย่อยหินแก่กัน จึงเป็นสัญญาที่มี วัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ขัดต่อ ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ย่อมตกเป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 การออกเช็คพิพาท เพื่อชำระหนี้ตามสัญญาดังกล่าว จึงมิใช่เป็นการออกเช็ค เพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย การกระทำ ของจำเลยไม่อาจเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิด อันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3541/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายหินเพื่อหลีกเลี่ยงกฎหมายห้ามโอนสิทธิใบอนุญาตระเบิดหิน เป็นโมฆะ ทำให้เช็คที่ออกมาชำระหนี้ไม่มีผล
โจทก์เป็นผู้ได้รับอนุญาตจากทางราชการให้ประกอบกิจการ ระเบิดและย่อยหินในที่ดินของรัฐ และมาตรา 9 แห่งประมวลกฎหมายที่ดินไม่มีข้อความที่อนุญาตให้ผู้รับใบอนุญาต โอนสิทธิแก่ผู้อื่นได้ โจทก์ผู้รับใบอนุญาตจึงต้องทำเอง โดยเฉพาะตัว และผู้ที่ฝ่าฝืนบทบัญญัติในมาตรา 9 คือ ผู้ที่เข้าไปประกอบกิจการระเบิดและย่อยหินโดยไม่ได้ รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่จะมีโทษทางอาญาตามมาตรา 108 ทวิ เมื่อตามสัญญาซื้อขายหินระหว่างโจทก์จำเลยมีข้อตกลง ให้จำเลยระเบิดและย่อยหินเอง โดยจำเลยมิได้เป็น ผู้ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ดำเนินการ ดังนี้หากจำเลยเข้าไปดำเนินการก็ย่อมเข้าข่ายเป็นความผิดตามบทกฎหมายดังกล่าว ทั้งกรณีนี้อธิบดีกรมที่ดินมีอำนาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาตของโจทก์เสียได้ เนื่องจากตามเงื่อนไขการอนุญาตให้ระเบิดและย่อยหินระบุว่า ผู้ได้รับอนุญาตต้องดำเนินการด้วยตนเอง จะให้ผู้อื่นดำเนินการหรือโอนสิทธิให้ผู้อื่นไม่ได้ นอกจากนี้สัญญาซื้อขายหินได้กำหนดให้ผู้ซื้อจะต้องเข้าไปทำการระเบิดและย่อยหินเองภายในระยะเวลาตามใบอนุญาต ภาระภาษีต่าง ๆ ผู้ซื้อต้องรับผิดชอบรวมทั้งค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมที่ต้องเสียแก่หน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง และหน้าที่ต่าง ๆ ของโจทก์ที่ทางราชการระบุไว้ในใบอนุญาตที่สำคัญ ๆ ทุกข้อก็นำมาระบุไว้ในสัญญาให้เป็นหน้าที่ของผู้ซื้อ สัญญาซื้อขายหินดังกล่าวเป็นเรื่องที่ทำขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงกฎหมายและข้อกำหนดห้ามโอนสิทธิตามใบอนุญาตระเบิดและย่อยหิน โดยโจทก์จำเลยมีเจตนาแท้จริงที่จะโอนสิทธิตามใบอนุญาตระเบิดและย่อยหินแก่กันจึงเป็นสัญญาที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนย่อมตกเป็นโมฆะตามสัญญาดังกล่าวจึงมิใช่เป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย การกระทำของจำเลยไม่อาจเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3503/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินคดีอย่างคนอนาถา: การอุทธรณ์คำสั่งที่ศาลต้องส่งไปยังศาลฎีกา และการพิจารณาฐานะยากจนของผู้ขอ
จำเลยที่ 1 ขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นฎีกา เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นฎีกาแล้ว จำเลยที่ 1อาจยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อศาลฎีกาภายในกำหนดเจ็ดวัน นับแต่วันมีคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 156 วรรคท้าย เพราะเป็นเรื่องอยู่ในกระบวนการพิจารณาของศาลฎีกาจำเลยที่1กลับอุทธรณ์คำสั่งต่อศาลอุทธรณ์จึงเป็นการไม่ชอบ ซึ่งศาลอุทธรณ์ชอบที่จะส่งคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไปให้ศาลฎีกาพิจารณาสั่งต่อไป การที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ยกคำร้องนั้นจึงไม่ชอบปัญหานี้เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยที่ 1 มิได้ฎีกาคัดค้านคำสั่งศาลอุทธรณ์ดังกล่าวศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(5),246 และ 247ให้เพิกถอนคำสั่งศาลอุทธรณ์ที่สั่งยกคำร้อง แม้จำเลยที่ 1 จะอยู่ในฐานะลำบาก กิจการที่ดำเนินการอยู่ต้องลดสัดส่วนและต้องนำรายได้มาเป็นค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างประมาณ 100 คน มีหนี้สินถูกฟ้องหลายคดีทุนทรัพย์ประมาณ 1,000 ล้านบาทหลักทรัพย์ถูกยึดเป็นประกันหนี้จำนองและมีราคาลดลง กับจำเลยที่ 1 ยังมีภาระอุปการะเลี้ยงดูบุตรก็ตาม แต่จำเลยที่ 1ก็ยังดำเนินกิจการมีรายได้ตลอดจนมีทรัพย์สินอยู่ ประกอบกับในชั้นอุทธรณ์จำเลยก็สามารถเสียค่าธรรมเนียมศาลได้จึงยังไม่เป็นที่พอใจว่าจำเลยที่ 1เป็นคนยากจนไม่สามารถเสียค่าธรรมเนียมศาลได้
of 32