คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุวัตร์ สุขเกษม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 319 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3279/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการรับมรดกของบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรอง vs. การสมรสซ้อนของผู้เป็นบิดา
แม้การจดทะเบียนรับรองบุตรจะเป็นการจดทะเบียนภายหลังยื่นคำร้องขอนี้ แต่ตามพฤติการณ์ที่ ส. ให้ผู้ร้องใช้นามสกุล อุปการะเลี้ยงดูผู้ร้อง ทั้งยังเป็นผู้ปกครองในขณะที่ผู้ร้องเรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นก่อนที่จะมีการจดทะเบียนรับรองบุตรดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นที่รู้กันโดยทั่วไปตลอดมาว่าผู้ร้องเป็นบุตรนอกกฎหมายที่ ส. บิดาได้รับรองมาตั้งแต่ก่อนที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอคดีนี้แล้ว ผู้ร้องซึ่งอยู่ในฐานะเป็นผู้สืบสันดานและทายาทโดยธรรมจึงมีสิทธิเพียงรับมรดกของ ส. เมื่อ ส. ถึงแก่ความตายเท่านั้น ดังนั้นการที่ผู้คัดค้านได้จดทะเบียนสมรสซ้อนกับ ส. จึงไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิทธิของผู้ร้อง อันเป็นการโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่หรือจะต้องใช้สิทธิทางศาลที่จะทำให้ผู้ร้องมีอำนาจมาร้องขอต่อศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ถือว่าผู้ร้องไม่อยู่ในฐานะเป็นบุคคลผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 1497 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3279/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการฟ้องขอให้การสมรสซ้อนเป็นโมฆะ: ผู้มีส่วนได้เสียและผลกระทบต่อสิทธิทายาท
สามีที่จดทะเบียนสมรสซ้อนเป็นผู้ทำการสมรสโดยไม่สุจริตจึงมิใช่เป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสซ้อนของตนเป็นโมฆะตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1497 ภริยาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายมิใช่ผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอให้ ศาลพิพากษาว่าการสมรสซ้อนของสามีเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1497 บุตรนอกกฎหมายแม้บิดาจะจดทะเบียนเด็กเป็นบุตร ชอบด้วยกฎหมายแล้วก็ตามบุตรเช่นว่านี้ก็มีสิทธิแต่เพียงรับมรดก ของบิดากับมารดาของตนเมื่อบุคคลทั้งสองถึงแก่ความตาย แล้วเท่านั้น ฉะนั้น การที่บิดาจดทะเบียนสมรสซ้อนจึงไม่ก่อให้เกิด ผลกระทบต่อสิทธิของบุตร ไม่อยู่ในฐานะเป็นบุคคลผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสซ้อน ของบิดาเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1497เช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3226/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้เงินไม่สมบูรณ์ (ปิดอากรแสตมป์ไม่ถูกต้อง) ไม่อาจใช้เป็นหลักฐานได้
ปัญหาว่าสัญญากู้เงินฉบับพิพาทไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ให้ถูกต้องครบถ้วนและขีดฆ่า จึงไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การจำเลยก็ยกขึ้นฎีกาได้
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้เงินกู้พร้อมดอกเบี้ย จำเลยให้การว่า จำเลยไม่เคยกู้เงินโจทก์ จำเลยลงลายมือชื่อในช่องผู้กู้ในสัญญากู้เงินที่ยังไม่กรอกข้อความให้โจทก์ไว้เพื่อประกันหนี้ค่าหวยเถื่อนที่จำเลยซื้อจากโจทก์ สัญญากู้เงินเป็นสัญญาปลอม ดังนี้ เป็นกรณีที่จำเลยต่อสู้คดีว่าจำเลยไม่ได้กู้เงินจากโจทก์โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องนำสืบให้เห็นตามข้ออ้างตามคำฟ้องว่าจำเลยกู้เงินจากโจทก์ไปจริง
เมื่อโจทก์ต้องอาศัยเอกสารสัญญากู้เงินเป็นพยานหลักฐาน ซึ่งสัญญากู้เงินที่โจทก์อ้างมีลักษณะเป็นตราสารต้องปิดอากรแสตมป์ 1 บาท ต่อทุกจำนวนเงิน2,000 บาท หรือเศษของ 2,000 บาท แห่งยอดเงินกู้ยืม ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้าย ป.รัษฎากร โดยที่ยอดเงินกู้ตามสัญญากู้เงินดังกล่าวมีจำนวน 200,000 บาทจึงต้องปิดอากรแสตมป์ 100 บาท แต่ในสัญญาปรากฏว่าปิดอากรแสตมป์เพียง 50 บาทถือว่าสัญญากู้เงินนี้ปิดอากรแสตมป์ไม่บริบูรณ์ ไม่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้เท่ากับว่าโจทก์ไม่มีหลักฐานการกู้ยืมเป็นหนังสือ ป.พ.พ.มาตรา 653 วรรคหนึ่ง ดังนี้โจทก์ย่อมไม่อาจฟ้องร้องบังคับคดีได้ตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3226/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้ที่ปิดอากรแสตมป์ไม่บริบูรณ์ใช้เป็นหลักฐานทางแพ่งไม่ได้ ทำให้ฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้
ปัญหาว่าสัญญากู้เงินฉบับพิพาทไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ให้ถูกต้องครบถ้วนและขีดฆ่า จึงไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยย่อมยกขึ้นฎีกาได้ แม้จำเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การก็ตาม โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้เงินกู้พร้อมดอกเบี้ยจำเลยให้การว่า จำเลยไม่เคยกู้เงินโจทก์ จำเลยลงลายมือชื่อในช่องผู้กู้ในสัญญากู้เงินที่ยังไม่กรอกข้อความให้โจทก์ไว้เพื่อประกันหนี้ค่าหวยเถื่อน ที่จำเลยซื้อจากโจทก์ สัญญากู้เงินเป็นสัญญาปลอม ดังนี้ เป็นกรณีที่จำเลยต่อสู้ คดีว่าจำเลยไม่ได้กู้เงินจากโจทก์ โจทก์จึงมีหน้าที่ ต้องนำสืบให้เห็นตามข้ออ้างตามคำฟ้องว่าจำเลยกู้เงิน จากโจทก์ไปจริง สัญญากู้เงินที่โจทก์นำมาฟ้องปิดอากรแสตมป์ไม่บริบูรณ์ไม่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้ เท่ากับว่าโจทก์ไม่มีหลักฐานการกู้ยืมเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคหนึ่งดังนี้ โจทก์ย่อมไม่อาจฟ้องร้องบังคับคดีได้ตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3226/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาที่ไม่ติดอากรแสตมป์ครบถ้วนใช้เป็นหลักฐานทางแพ่งไม่ได้ แม้จำเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้
ปัญหาว่าสัญญากู้เงินฉบับพิพาทไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ให้ถูกต้องครบถ้วนและขีดฆ่า จึงไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การจำเลยก็ยกขึ้นฎีกาได้ โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้เงินกู้พร้อมดอกเบี้ย จำเลยให้การว่า จำเลยไม่เคยกู้เงินโจทก์ จำเลยลงลายมือชื่อ ในช่องผู้กู้ในสัญญากู้เงินที่ยังไม่กรอกข้อความให้โจทก์ไว้เพื่อ ประกันหนี้ค่าหวยเถื่อน ที่จำเลยซื้อจากโจทก์ สัญญากู้เงินเป็นสัญญาปลอม ดังนี้ เป็นกรณีที่จำเลยต่อสู้คดีว่าจำเลย ไม่ได้กู้เงินจากโจทก์โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องนำสืบให้เห็น ตามข้ออ้างตามคำฟ้องว่าจำเลยกู้เงินจากโจทก์ไปจริง เมื่อโจทก์ต้องอาศัยเอกสารสัญญากู้เงินเป็นพยานหลักฐาน ซึ่งสัญญากู้เงินที่โจทก์อ้างมีลักษณะเป็นตราสารต้องปิดอากรแสตมป์1 บาท ต่อทุกจำนวนเงิน 2,000 บาท หรือเศษของ 2,000 บาท แห่งยอดเงินกู้ยืม ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้าย ประมวลรัษฎากรโดยที่ยอดเงินกู้ตามสัญญากู้เงินดังกล่าวมีจำนวน 200,000 บาท จึงต้องปิดอากรแสตมป์ 100 บาท แต่ในสัญญาปรากฏว่า ปิดอากรแสตมป์เพียง 50 บาทถือว่าสัญญากู้เงินนี้ปิดอากรแสตมป์ไม่บริบูรณ์ ไม่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้เท่ากับว่าโจทก์ไม่มีหลักฐานการกู้ยืมเป็นหนังสือประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคหนึ่งดังนี้ โจทก์ย่อมไม่อาจฟ้องร้องบังคับคดีได้ตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2554/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าจ้างช่างฝีมือ: การสะดุดหยุด และการรับสภาพหนี้ ทำให้ระยะเวลาเริ่มนับใหม่
จำเลยที่ 1 ว่าจ้างโจทก์ตกแต่ง จัดทำและติดตั้งเฟอร์นิเจอร์ภายในอาคาร โจทก์ทำงานเสร็จและส่งมอบแล้ว แต่มีงานที่ต้องซ่อมแซมอีกเล็กน้อย ส่วนจำเลยที่ 1 ชำระค่าจ้างเกือบครบแล้ว โดยตกลงกันให้ชำระเงินที่ค้าง เมื่อโจทก์ซ่อมแซมงานดังกล่าวเสร็จ กรณีจึงเข้าลักษณะโจทก์ผู้เป็นช่างฝีมือเรียกเอาค่าการงานที่ได้ทำจากจำเลยที่ 1 ผู้ว่าจ้าง ซึ่งมีกำหนดอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1)
จำเลยที่ 1 ชำระค่าจ้างงวดสุดท้ายบางส่วนให้แก่โจทก์วันที่ 3 พฤษภาคม 2534 ฉะนั้น ต้องเริ่มนับอายุความ ตั้งแต่วันดังกล่าว ซึ่งถือว่าจำเลยรับสภาพหนี้ต่อโจทก์ตามสิทธิเรียกร้องโดยชำระหนี้ให้บางส่วน อายุความย่อม สะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1) การนับระยะเวลาจึงเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 4 พฤษภาคม 2534 และครบ 2 ปี ในวันที่ 3 พฤษภาคม 2536 โจทก์ฟ้องคดีวันที่ 23 กันยายน 2537 คดีจึงขาดอายุความ แต่ปรากฏว่า เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2536 อันเป็นระยะเวลาก่อนโจทก์ฟ้องซึ่งคดีโจทก์ขาดอายุความแล้ว จำเลยที่ 1 มีหนังสือทักท้วงโจทก์ว่า ยอดหนี้รายพิพาทที่โจทก์ทวงถามมานั้นไม่ถูกต้อง อีกทั้งเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2537 จำเลยที่ 1 ยังมีหนังสือแจ้งขอให้โจทก์ลดเงินที่ค้างลงอีก 30,000 บาท และขอให้โจทก์ไปซ่อมแซมงานในส่วนที่ค้างอยู่ จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ยอมรับว่ายังเป็นหนี้โจทก์อยู่ อันเป็นการรับสภาพความรับผิดซึ่งมีผลเท่ากับเป็นการสละประโยชน์แห่งอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/24 ดั้งนั้น เมื่อนับจากวันที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องดังกล่าวถึงวันฟ้อง ไม่เกิน 2 ปี คดีโจทก์จึงยัง ไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2464/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในคดีครอบครัว: สถานที่จดทะเบียนหย่าเป็นที่เกิดมูลคดี
บันทึกในทางทะเบียนการหย่าตามฟ้องทำที่ที่ว่าการอำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการเมื่อโจทก์ฟ้องว่าจำเลยไม่ทำหน้าที่ผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรทั้งสองจึงถือว่า เป็นกรณีที่อ้างว่าจำเลยประพฤติผิดสัญญาหรือข้อตกลงในการจดทะเบียนหย่านั้น แม้จำเลยและบุตรทั้งสองมีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดนครสวรรค์ก็ตาม ก็ถือว่าสถานที่ที่ได้มีการจดทะเบียนการหย่าเป็นสถานที่ที่มูลคดีเกิดขึ้นในท้องที่ที่ได้ทำบันทึกข้อตกลงในทะเบียน การหย่าไว้นั้น จึงถือว่ามูลคดีเกิดขึ้นที่ที่ว่าการอำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดสมุทรปราการแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวซึ่งเป็นศาลที่มูลคดีเกิดขึ้น ในเขตได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(1) ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับ คำฟ้อง โจทก์แล้ว ต่อมามีคำสั่งใหม่เป็นว่าไม่รับคำฟ้องและให้จำหน่ายคดี เมื่อศาลสูงเห็นว่า ไม่ถูกต้อง ย่อมพิพากษากลับเป็นให้ศาลชั้นต้นรับคำฟ้องของโจทก์แล้วให้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อจากกระบวนพิจารณาที่ได้ทำไว้ก่อนวันมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีจากสารบบความนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2464/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาลฟ้องคดีหย่า: สถานที่จดทะเบียนหย่าเป็นสถานที่มูลคดีเกิด
บันทึกในทางทะเบียนการหย่าตามฟ้องทำที่ที่ว่าการอำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อโจทก์ฟ้องว่าจำเลยไม่ทำหน้าที่ผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรทั้งสองจึงถือว่า เป็นกรณีที่อ้างว่าจำเลยประพฤติผิดสัญญาหรือข้อตกลงในการจดทะเบียนหย่านั้น แม้จำเลยและบุตรทั้งสองมีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดนครสวรรค์ก็ตาม ก็ถือว่าสถานที่ที่ได้มีการจดทะเบียนการหย่าเป็นสถานที่ที่มูลคดีเกิดขึ้นในท้องที่ที่ได้ทำบันทึกข้อตกลงในทะเบียนการหย่าไว้นั้น จึงถือว่ามูลคดีเกิดขึ้นที่ที่ว่าการอำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดสมุทรปราการ แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวซึ่งเป็นศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 4 (1)
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับคำฟ้องโจทก์แล้ว ต่อมามีคำสั่งใหม่เป็นว่าไม่รับคำฟ้องและให้จำหน่ายคดี เมื่อศาลสูงเห็นว่าไม่ถูกต้อง ย่อมพิพากษากลับเป็นให้ศาลชั้นต้นรับคำฟ้องของโจทก์แล้วให้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อจากกระบวนพิจารณาที่ได้ทำไว้ก่อนวันมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีจากสารบบความนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2383/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คดีเยาวชนและครอบครัวที่ศาลเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นการส่งตัวไปฝึกอบรม และข้อยกเว้นการห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
คดีที่ต้องห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 121 แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 นั้น ต้องห้ามอุทธรณ์แต่เฉพาะกรณีที่โจทก์อุทธรณ์เกี่ยวกับการที่ศาลใช้ดุลพินิจเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นการส่งตัวไปฝึกและอบรมเท่านั้น คดีนี้แม้ศาลชั้นต้นจะพิพากษาให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นการส่งตัวไปฝึกและอบรมที่สถานพินิจเป็นเวลาไม่เกิน 2 ปี แต่โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงว่าจำเลยกระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิดหรือไม่ ไม่ได้อุทธรณ์เกี่ยวกับการที่ศาลใช้ดุลพินิจเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นการส่งตัวไปฝึกและอบรม ฉะนั้นโจทก์จะอุทธรณ์ได้หรือไม่จึงต้องพิจารณาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความเหมือนคดีธรรมดา ไม่จำต้องได้รับอนุญาตจากผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวตามมาตรา 122 ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวแต่อย่างใด
การจะพิจารณาว่าคดีจะอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้หรือไม่นั้น ต้องพิจารณาอัตราโทษที่บัญญัติไว้ในกฎหมายตามฟ้อง แม้ศาลชั้นต้นจะพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 295 , 83 ซึ่งอัตราโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่โจทก์อุทธรณ์ว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวการในความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหายซึ่งตาม ป.อ. มาตรา 288 , 80 , 83 ระวางโทษไว้สองในสามส่วนของโทษประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี ซึ่งเป็นอัตราโทษสูงกว่าที่กำหนดไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ โจทก์จึงอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2311/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลเยาวชนฯ กรณีอายุจำเลยปรากฏหลังพิจารณาชั้นต้น: ไม่ต้องโอนคดี
ข้อเท็จจริงเรื่องอายุของจำเลยมิได้ปรากฏขึ้นในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นที่มีอำนาจพิจารณาคดีธรรมดา แต่ปรากฏในระหว่างการพิจารณาในชั้นอุทธรณ์ เมื่อคดีนี้ได้ทำการพิจารณาโดยศาลอุทธรณ์แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวอันถือได้ว่าเป็นการโอนคดีไปยังศาลที่มีอำนาจเพื่อพิจารณาพิพากษาต่อไปตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534มาตรา 15 แล้วจึงไม่ต้องโอนคดีไปยังศาลเยาวชนและครอบครัวกลางอีก
of 32