คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุวัตร์ สุขเกษม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 319 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2129/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลูกสร้างอาคารรุกล้ำที่ดิน: สิทธิของเจ้าของที่ดินโอนรับทราบการรุกล้ำก่อน
หนังสือยินยอมให้ทำการปลูกสร้างอาคารร่วมผนังซึ่งเป็นข้อตกลงระหว่างจำเลยกับ ส. เจ้าของที่ดินเดิมในการก่อสร้างอาคารชิดแนวเขตที่ดินของตนและใช้โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กกับผนังอาคารด้านติดกันร่วมกัน แม้จะมีเฉพาะฐานรากใต้ดินเท่านั้นที่รุกล้ำเข้าไปในที่ดินของ ส. ซึ่งเกิดจากจำเลยกระทำไปตามข้อตกลงในหนังสือยินยอมดังกล่าว ดังนั้นแม้จะมีส่วนที่รุกล้ำอยู่บ้าง ก็ไม่เป็นการทำละเมิดต่อ ส. เมื่อโจทก์ทั้งสองรับโอนที่ดินของ ส. มาในสภาพที่มีการรุกล้ำอยู่ก่อนแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยเกี่ยวกับการรุกล้ำดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2129/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินเนื่องจากข้อตกลงปลูกสร้างอาคารร่วมผนัง การโอนสิทธิที่ดินในสภาพรุกล้ำ
หนังสือยินยอมให้ทำการปลูกสร้างอาคารร่วมผนังเป็นข้อตกลงระหว่างจำเลยกับ ส. เจ้าของที่ดินเดิมในการก่อสร้างอาคารชิดแนวเขตที่ดินของตนและใช้โครงสร้างคอนกรีต เสริมเหล็กกับผนังอาคารด้านติดกันนั้นร่วมกัน โจทก์เป็น เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโดยซื้อมาจากภรรยาและทายาทผู้รับมรดกของ ส. เจ้าของที่ดินเดิม ฐานรากที่รุกล้ำและเหล็กเส้นที่งอกเงยเกิดจากจำเลยกระทำไปตามข้อตกลงในหนังสือยินยอมให้ปลูกสร้างอาคารร่วมผนังแม้จะมีส่วนรุกล้ำ ก็ไม่เป็นการทำละเมิดต่อ ส. โจทก์รับโอนที่ดินของ ส. มาในสภาพที่มีการรุกล้ำอยู่ก่อนแล้ว จึงไม่มีสิทธิเรียก ค่าเสียหายจากจำเลยเกี่ยวกับการรุกล้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2097/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำไม้ในเขตป่าสงวน-เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า: การปรับบทความผิดและหลักการลงโทษกรรมเดียว-หลายกรรม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทำไม้อันเป็นการทำให้เสื่อม สภาพป่า อันเป็นป่าสงวนแห่งชาติและเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าบริเวณเขาบรรทัด กับมีคำขอท้ายฟ้องขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 11,73พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 14,31และพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535มาตรา 38,54 เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพผิดตามฟ้องการกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิดต่อกฎหมายทั้งสามฉบับดังกล่าว อีกทั้งความผิดตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าฯ มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ก็มีโทษหนักกว่าความผิดตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติฯ มาตรา 31 วรรคหนึ่งด้วย ดังนั้น ที่ศาลล่างทั้งสองปรับบทว่าความผิดฐานตัดโค่นไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติกับความผิดฐานตัดโค่นไม้ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเป็นความผิดกรรมเดียวกันให้ลงโทษฐานตัดโค่นไม้ตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติฯซึ่งเป็นบทหนักจึงไม่ถูกต้อง อีกทั้งความผิดฐานแปรรูปไม้หวงห้าม และมีไม้หวงห้ามแปรรูปไว้ในครอบครองก็เป็นความผิดที่ผู้กระทำมีเจตนาต่างกัน จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยแม้โจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาขึ้นมาศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง โดยไม่แก้โทษที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษามาเพราะจะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย ซึ่งต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 212

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2073/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแย่งการครอบครองที่ดิน การเปลี่ยนลักษณะการครอบครอง และผลของการครอบครองแทนเจ้าของ
โจทก์ฟ้องขอแบ่งกรรมสิทธิ์รวมจากจำเลยทั้งสอง จำเลยร่วมยื่นคำให้การและฟ้องแย้งโดยยื่นรวมมาในฉบับเดียวกันกับจำเลยทั้งสองแล้วในวันเดียวกันจำเลยร่วมยังได้ยื่นคำร้องขอเข้าเป็นจำเลยร่วม (จำเลยที่ 3) ด้วยและศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตแล้ว ทั้งตามคำร้องขอเข้าเป็นจำเลยร่วมประกอบคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยร่วม (จำเลยที่ 3) ที่ว่าที่พิพาท จำเลยร่วมเป็นเจ้าของรวมกับจำเลยทั้งสองเพราะได้แย่งการครอบครองจากโจทก์ทั้งสองแล้ว ขอให้ยกฟ้องและพิพากษาว่าที่พิพาทเป็นของจำเลยร่วมและจำเลยทั้งสอง คำฟ้องโจทก์ทั้งสองที่ขอแบ่งกรรมสิทธิ์รวมเช่นนี้มีผลกระทบต่อจำเลยร่วม แม้คำร้องขอจะกล่าวว่าขอเข้าเป็นจำเลยร่วมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(2) ก็ตาม แต่เมื่อเป็นที่เห็นได้ว่าเป็นคำร้องขอเพื่อยังให้ได้รับความรับรองคุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิของจำเลยร่วมที่มีอยู่ตาม มาตรา 57(1) การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า จำเลยที่ 3(จำเลยร่วม) ไม่ได้เข้ามาเป็นคู่ความด้วยการร้องสอดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57 กับให้เพิกถอนและมีคำสั่งไม่รับคำให้การและฟ้องแย้งจำเลยที่ 3(จำเลยร่วม) ย่อมเป็นการไม่ชอบ จึงให้เพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ในส่วนนี้เป็นให้รับคำให้การและฟ้องแย้งจำเลยที่ 3(จำเลยร่วม)
เหตุที่จำเลยทั้งสองและจำเลยร่วมอ้างถึงการแย่งการครอบครองที่พิพาทโจทก์ทั้งสองสืบเนื่องมาจากจำเลยที่ 2 จำเลยร่วมเคยฟ้องโจทก์ทั้งสองคดีนี้กับพวกคดีถึงที่สุดในคดีก่อนโดยศาลฎีกาวินิจฉัยว่าที่พิพาทเป็นของจำเลยที่ 2 และ ม. บิดาโจทก์ทั้งสองคดีนี้คนละ 1 ใน 3 ส่วน ต่อมาโจทก์ทั้งสองในฐานะทายาทของ ม. ได้ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองนำหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาทส่งศาลเพื่อให้โจทก์ทั้งสองนำไปจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์ทั้งสองคดีนี้แทน คดีหลังถึงที่สุดโดยศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยทั้งสองคดีนี้นำหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวส่งศาลเพื่อให้โจทก์ทั้งสองคดีนี้นำไปจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์ทั้งสองคดีนี้ และโจทก์ทั้งสองคดีนี้ได้จดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์ทั้งสองแทนนายโม่ง แล้ว ผลของคดีตามคำพิพากษาศาลฎีกาทั้งสองสำนวนดังกล่าวยังคงผูกพันจำเลยทั้งสองและจำเลยร่วมกับโจทก์ทั้งสองคดีนี้ซึ่งเป็นผู้สืบสิทธิของ ม. ฉะนั้นในการครอบครองของจำเลยทั้งสองคดีนี้และจำเลยร่วมนับแต่วันที่ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษามาจึงเป็นการครอบครองที่ดินพิพาทแทนโจทก์ทั้งสอง จำเลยทั้งสองและจำเลยร่วมจะเปลี่ยนแปลงอ้างเหตุว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยทั้งสองและจำเลยร่วมก็ต่อเมื่อได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือโดยต้องแสดงเจตนาแห่งการยึดถือโดยบอกกล่าวไปยังโจทก์ทั้งสองคดีนี้ผู้มีสิทธิครอบครองว่าจำเลยทั้งสองคดีนี้และจำเลยร่วมไม่มีเจตนาจะยึดถือแทนโจทก์ทั้งสองคดีนี้ผู้มีสิทธิครอบครองต่อไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381 แต่ตามคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองคดีนี้และจำเลยร่วมไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองและจำเลยร่วมได้มีการแสดงเจตนาดังกล่าวข้างต้นให้โจทก์ทั้งสองคดีนี้ทราบ จำเลยทั้งสองคดีนี้และจำเลยร่วมจึงไม่อาจอ้างเหตุแย่งการครอบครองเกิน 1 ปี ตามที่จำเลยทั้งสองคดีนี้และจำเลยร่วมให้การและฟ้องแย้งมายันโจทก์ได้
ศาลล่างทั้งสองพิพากษามาเป็นเรื่องแบ่งกรรมสิทธิ์รวม แต่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยไปจดทะเบียนแบ่งแยกที่พิพาท หากไม่ปฏิบัติให้ถือเอาตามคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนานั้นเป็นการไม่ถูกต้อง เพราะไม่เป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364 ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องเป็นว่า ให้ยกคำขอในส่วนที่ว่า หากจำเลยทั้งสองไม่ไปให้ถือเอา ตามคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนานั้นเสีย โดยการแบ่งกรรมสิทธิ์รวม ให้เป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2073/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลคดีถึงที่สุดผูกพันการครอบครอง การแย่งการครอบครองต้องแสดงเจตนาชัดเจน การแบ่งกรรมสิทธิ์รวมต้องเป็นไปตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอแบ่งกรรมสิทธิ์รวมจากจำเลยทั้งสอง จำเลยร่วมยื่นคำให้การและฟ้องแย้งโดยยื่นรวมมาในฉบับเดียวกันกับจำเลยทั้งสองแล้ว ในวันเดียวกันจำเลยร่วมยังได้ยื่นคำร้องขอเข้าเป็นจำเลยร่วม (จำเลยที่ 3) ด้วยและศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตแล้ว ทั้งตามคำร้องขอเข้าเป็นจำเลยร่วมประกอบคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยร่วม (จำเลยที่ 3) ที่ว่าที่พิพาทจำเลยร่วมเป็นเจ้าของรวมกับจำเลยทั้งสองเพราะได้แย่งการครอบครองจากโจทก์ทั้งสองแล้ว ขอให้ยกฟ้องและพิพากษาว่าที่พิพาทเป็นของจำเลยร่วมและจำเลยทั้งสอง คำฟ้องโจทก์ทั้งสองที่ขอแบ่งกรรมสิทธิ์รวมเช่นนี้มีผลกระทบต่อจำเลยร่วม แม้คำร้องขอจะกล่าวว่าขอเข้าเป็นจำเลยร่วมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (2) ก็ตาม แต่เมื่อเป็นที่เห็นได้ว่าเป็นคำร้องขอเพื่อยังให้ได้รับความรับรองคุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิของจำเลยร่วมที่มีอยู่ตาม มาตรา 57 (1) การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า จำเลยที่ 3 (จำเลยร่วม) ไม่ได้เข้ามาเป็นคู่ความด้วยการร้องสอดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 กับให้เพิกถอนและมีคำสั่งไม่รับคำให้การและฟ้องแย้งจำเลยที่ 3 (จำเลยร่วม) ย่อมเป็นการไม่ชอบ จึงให้เพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ในส่วนนี้เป็นให้รับคำให้การและฟ้องแย้งจำเลยที่ 3 (จำเลยร่วม)
เหตุที่จำเลยทั้งสองและจำเลยร่วมอ้างถึงการแย่งการครอบครองที่พิพาทโจทก์ทั้งสองสืบเนื่องมาจากจำเลยที่ 2 จำเลยร่วมเคยฟ้องโจทก์ทั้งสองคดีนี้กับพวกคดีถึงที่สุดในคดีก่อนโดยศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ที่พิพาทเป็นของจำเลยที่ 2 และ ม. บิดาโจทก์ทั้งสองคดีนี้คนละ 1 ใน 3 ส่วน ต่อมาโจทก์ทั้งสองในฐานะทายาทของ ม. ได้ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองนำหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาทส่งศาลเพื่อให้โจทก์ทั้งสองนำไปจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์ทั้งสองคดีนี้แทน คดีหลังถึงที่สุดโดยศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยทั้งสองคดีนี้นำหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวส่งศาลเพื่อให้โจทก์ทั้งสองคดีนี้นำไปจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์ทั้งสองคดีนี้ และโจทก์ทั้งสองคดีนี้ได้จดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์ทั้งสองแทนนายโม่งแล้ว ผลของคดีตามคำพิพากษาศาลฎีกาทั้งสองสำนวนดังกล่าวยังคงผูกพันจำเลยทั้งสองและจำเลยร่วมกับโจทก์ทั้งสองคดีนี้ซึ่งเป็นผู้สืบสิทธิของ ม. ฉะนั้นในการครอบครองของจำเลยทั้งสองคดีนี้และจำเลยร่วมนับแต่วันที่ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษามาจึงเป็นการครอบครองที่ดินพิพาทแทนโจทก์ทั้งสอง จำเลยทั้งสองและจำเลยร่วมจะเปลี่ยนแปลงอ้างเหตุว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยทั้งสองและจำเลยร่วม ก็ต่อเมื่อได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือโดยต้องแสดงเจตนาแห่งการยึดถือโดยบอกกล่าวไปยังโจทก์ทั้งสองคดีนี้ผู้มีสิทธิครอบครองว่าจำเลยทั้งสองคดีนี้และจำเลยร่วมไม่มีเจตนาจะยึดถือแทนโจทก์ทั้งสองคดีนี้ผู้มีสิทธิครอบครองต่อไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1381 แต่ตามคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองคดีนี้และจำเลยร่วมไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองและจำเลยร่วมได้มีการแสดงเจตนาดังกล่าวข้างต้นให้โจทก์ทั้งสองคดีนี้ทราบ จำเลยทั้งสองคดีนี้และจำเลยร่วมจึงไม่อาจอ้างเหตุแย่งการครอบครองเกิน 1 ปี ตามที่จำเลยทั้งสองคดีนี้และจำเลยร่วมให้การและฟ้องแย้งมายันโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1762/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหย่าที่ต้องพิสูจน์การแยกกันอยู่โดยสมัครใจตลอด 3 ปี และเหตุผลที่แท้จริงของการแยกกัน
การที่จำเลยไม่ได้อยู่กับโจทก์ฉันสามีภริยาที่ต่างประเทศ เนื่องจากโจทก์ไม่ให้ความยินยอมในการทำหนังสืออนุญาต เข้าประเทศ (วีซ่า) แก่จำเลย ต่อมาเมื่อโจทก์กลับมา รับราชการภายในประเทศไทย โจทก์เป็นฝ่ายแยกไปอยู่ต่างหาก กับน้องสาวของโจทก์เอง ถือว่าโจทก์สมัครใจแยกกันอยู่ กับจำเลยแต่ฝ่ายเดียว แต่จำเลยไม่ได้สมัครใจแยกกันอยู่ กับโจทก์ หาใช่เป็นกรณีที่โจทก์จำเลยสมัครใจแยกกันอยู่ เพราะเหตุไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุข ตลอดมาเกิน 3 ปี อันเป็นเหตุให้โจทก์ฟ้องหย่าตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516(4/2) แต่อย่างใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1396/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาท: ผลของคำพิพากษาเดิมผูกพันผู้สืบสิทธิ และระยะเวลาการครอบครองต่อเนื่อง
เดิมที่ดินพิพาททั้งสองแปลงเป็นที่งอกริมตลิ่งที่ น้ำท่วมไม่ถึงหน้าที่ดินตราจองเลขที่ 1493 และ 1494 ของผู้คัดค้านทั้งสอง ปี 2515 ผู้คัดค้านทั้งสองยื่นคำขอ รังวัดออกโฉนดที่ดินพิพาท ส. บิดาผู้ร้องที่ 1 คัดค้านแต่เจ้าพนักงานที่ดินก็ทำการรังวัดออกโฉนดที่ดินให้แก่ ผู้คัดค้านทั้งสอง ต่อมา ส. ได้ฟ้องผู้คัดค้านทั้งสองและเจ้าพนักงานที่ดินขอให้เพิกถอนการออกโฉนดที่ดินดังกล่าว ระหว่างพิจารณา ส. ถึงแก่กรรม ผู้ร้องทั้งสองยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ ส. ศาลชั้นต้นอนุญาตคดีดังกล่าว ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้อง คดีถึงที่สุดโดย วินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่งอกริมตลิ่งของที่ดินตราจองที่ตราว่า "ได้ทำประโยชน์แล้ว" เลขที่ 1493 และ 1474จึงเป็นทรัพย์สินของผู้คัดค้านทั้งสองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1308 การที่ ส.ครอบครองที่ดินพิพาทแทนผู้คัดค้านทั้งสองและคัดค้านการ ออกโฉนดที่ดิน ถือได้ว่าเป็นการบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือมาเป็นการยึดถือเพื่อตนเมื่อปี 2515 แต่ ส.เพิ่งมาฟ้องกล่าวอ้างว่าได้ครอบครองที่ดินพิพาทโดยความสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเมื่อปี 2517 หลังบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือเพียง 2 ปี ส. จึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ดังนี้ระยะเวลาที่ ส. บิดาผู้ร้องที่ 1 ครอบครองที่ดิน พิพาทนับแต่วันคัดค้านการออกโฉนดที่ดิน จนถึงวันฟังคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีดังกล่าวนั้น ต้องถือว่า เป็นการครอบครองแทนผู้คัดค้านทั้งสองเท่านั้น เมื่อผู้ร้องทั้งสองซึ่งเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาท สืบสิทธิต่อจาก ส. ผู้ร้องทั้งสองจึงนับเวลาการครอบครองในระหว่างคดีดังกล่าวมารวมเข้ากับเวลาที่ ส. ครอบครองและผู้ร้องทั้งสองครอบครองไม่ได้ เพราะการที่คู่ความฝ่ายหนึ่งครอบครองที่ดินพิพาทในระหว่างคดีกับเจ้าของที่ดินคู่ความฝ่ายนั้นจะอ้างว่าได้ครอบครองปรปักษ์ต่อ คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้ แม้ผู้ร้องทั้งสองจะมิใช่คู่ความเดียวกับโจทก์ในคดีก่อน แต่ผู้ร้องทั้งสองครอบครองที่ดินพิพาทโดยสืบสิทธิต่อจากโจทก์ ในคดีก่อน ต้องถือว่าผู้ร้องทั้งสองและผู้คัดค้านทั้งสอง ในคดีนี้กับโจทก์และจำเลยทั้งสองในคดีก่อนเป็นคู่ความเดียวกัน ผลแห่งคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีก่อนที่วินิจฉัยว่า ส. ครอบครองที่ดินพิพาทเพียงสองปียังไม่ครบสิบปีจึงไม่ได้ กรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ย่อมผูกพันผู้ร้องทั้งสองด้วย ทั้งหลังจากศาลฎีกาพิพากษา คดีนั้นแล้วจนถึงวันที่ผู้ร้องทั้งสองยื่นคำร้องขอคดีนี้ ผู้ร้องทั้งสองเพิ่งครอบครองที่ดินพิพาทมายังไม่ถึง 10 ปี ผู้ร้องทั้งสองจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท โดยการครอบครอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1396/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ที่ดิน: สิทธิการครอบครองต่อเนื่องจากผู้อื่น และระยะเวลาการครอบครองที่ยังไม่ครบกำหนด
ผู้คัดค้านที่ 1 มีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 2699เนื้อที่ประมาณ 3 งาน 35 ตารางวา ผู้คัดค้านที่ 2 มีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 2700 เนื้อที่ประมาณ 1 ไร่ 41 ตารางวา เดิมที่ดินพิพาททั้งสองแปลงเป็นที่งอกริมตลิ่งที่น้ำท่วมไม่ถึงหน้าที่ดินตราจองเลขที่ 1493 และ 1494 ของผู้คัดค้านทั้งสอง เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2515 ผู้คัดค้านทั้งสองยื่นคำขอรังวัดออกโฉนดที่ดินพิพาท ส.บิดาผู้ร้องที่ 1 คัดค้าน แต่เจ้าพนักงานที่ดินก็ทำการรังวัดออกโฉนดที่ดินให้แก่ผู้คัดค้านทั้งสอง ต่อมา ส.ได้ฟ้องผู้คัดค้านทั้งสองและเจ้าพนักงานที่ดินขอให้เพิกถอนการออกโฉนดที่ดินดังกล่าว ระหว่างพิจารณา ส.ถึงแก่กรรม ผู้ร้องทั้งสองยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ ส.ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ผู้ร้องที่ 1 เข้าเป็นคู่ความแทนที่ ส.คดีดังกล่าว ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้อง คดีถึงที่สุดโดยวินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่งอกริมตลิ่งของที่ดินตราจองที่ตราว่า "ได้ทำประโยชน์แล้ว" เลขที่ 1493 และ1494 จึงเป็นทรัพย์สินของผู้คัดค้านทั้งสองตาม ป.พ.พ.มาตรา 1308 และถือว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ที่ดินมือเปล่าแต่เป็นที่ดินอยู่ในตราจองที่ตราว่า "ได้ทำประโยชน์แล้ว"ของที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวในลักษณะเป็นส่วนควบ ส่วนการที่ทางราชการออกโฉนดที่ดินให้แก่ที่ดินพิพาทเป็นเพียงการปฏิบัติเพื่อให้ที่ดินพิพาทมีหนังสือสำคัญตามประเภทที่ดินเท่านั้น ส.ครอบครองที่ดินพิพาทแทนผู้คัดค้านทั้งสอง ส.คัดค้านการออกโฉนดที่ดินถือได้ว่าเป็นการบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือที่ดินพิพาทแทนผู้คัดค้านทั้งสองมาเป็นการยึดถือเพื่อตนให้แก่ผู้คัดค้านทั้งสองทราบแล้วโดยปริยายเมื่อปี 2515 แต่ส.เพิ่งมาฟ้องกล่าวอ้างว่า ได้ครอบครองที่ดินพิพาทโดยความสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเมื่อปี 2517 หลังบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือเพียงสองปียังไม่ครบสิบปี ส.จึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตาม ป.พ.พ.มาตรา 1382ดังนี้ระยะเวลาที่ ส.บิดาผู้ร้องที่ 1 ครอบครองที่ดินพิพาทนับแต่วันคัดค้านการออกโฉนดที่ดินจนถึงวันฟ้องคดีแพ่ง และนับถึงวันฟังคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีดังกล่าวนั้นส.และผู้ร้องทั้งสองครอบครองที่ดินพิพาทในระหว่างคดี ต้องถือว่าเป็นการครอบครองแทนผู้คัดค้านทั้งสองเท่านั้น เมื่อผู้ร้องทั้งสองซึ่งเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทสืบสิทธิต่อจาก ส. ผู้ร้องทั้งสองจึงนับเวลาการครอบครองในระหว่างคดีดังกล่าวมารวมเข้ากับเวลาที่ ส.ครอบครองและผู้ร้องทั้งสองครอบครองไม่ได้ เพราะการที่คู่ความฝ่ายหนึ่งครอบครองที่ดินพิพาทในระหว่างคดีกับเจ้าของที่ดิน คู่ความฝ่ายนั้นจะอ้างว่าได้ครอบครองปรปักษ์ต่อคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้ และแม้ผู้ร้องทั้งสองจะมิใช่คู่ความเดียวกับโจทก์ในคดีก่อน แต่ผู้ร้องทั้งสองครอบครองที่ดินพิพาทโดยสืบสิทธิต่อจากโจทก์ในคดีก่อน ต้องถือว่าผู้ร้องทั้งสองและผู้คัดค้านทั้งสองในคดีนี้กับโจทก์และจำเลยทั้งสองในคดีก่อนเป็นคู่ความเดียวกัน ผลแห่งคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีก่อนที่วินิจฉัยว่า ส.ครอบครองที่ดินพิพาทเพียงสองปียังไม่ครบสิบปีจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ตาม ป.พ.พ.มาตรา1382 ย่อมผูกพันผู้ร้องทั้งสองด้วย ทั้งหลังจากศาลฎีกาพิพากษาคดีนั้นแล้วจนถึงวันที่ผู้ร้องทั้งสองยื่นคำร้องคดีนี้ ผู้ร้องทั้งสองก็เพิ่งครอบครองที่ดินพิพาทมายังไม่ถึง 1 ปีผู้ร้องทั้งสองยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการครอบครอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1170/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบเรียกรับเงินจากผู้ประกอบการ
เมื่อพฤติการณ์ของจำเลยฟังได้ว่าจำเลยมีเจตนามาแต่แรกที่จะกระทำทุจริตโดยใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ของตนโดยมิชอบจูงใจให้โจทก์ร่วมมอบเงินให้แก่จำเลยการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 148 ซึ่งเป็นบทเฉพาะแล้วไม่จำเป็นต้องปรับบทความผิดตามมาตรา 157 ซึ่งเป็นบททั่วไปอีก ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149 เป็นเรื่องที่ เริ่มต้นโดยใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ของตนโดยชอบแล้วกลับทุจริตในภายหลัง การที่จำเลยกับพวกยึดไม้ของกลาง130 ชิ้น และกล่าวหาโจทก์ร่วมว่ามีไม้หวงห้ามแปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต แต่ในทางนำสืบของโจทก์ และโจทก์ร่วมไม่ได้ความแน่ชัดว่า เมื่อจำเลยกล่าวหาโจทก์ร่วม แล้วจำเลยได้เรียกเงินจากโจทก์ร่วมเพื่อมิให้ดำเนินคดี แก่โจทก์ร่วมจริงหรือไม่ จึงยังไม่พอฟังลงโทษจำเลย ในความผิดฐานนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1035/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความเริ่มนับแต่วันผิดนัดชำระหนี้ แม้โจทก์ชะลอการใช้สิทธิบังคับชำระหนี้ด้วยเงินประกัน
สัญญากู้ระหว่างโจทก์กับจำเลยมีกำหนดเวลาชำระหนี้ไว้แน่นอน คือภายในวันที่ 20 กรกฎาคม 2528 เมื่อจำเลยไม่ได้ชำระหนี้ให้โจทก์ในวันดังกล่าว อายุความจึงเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม 2528 อันเป็นวันที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องเป็นต้นไป ส่วนที่จำเลยนำเงินฝากประจำเป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญาและยินยอมให้นำจำนวนเงินดังกล่าวไปหักทอนหนี้หรือชำระหนี้ได้ทันทีเมื่อครบกำหนดชำระเงินตามสัญญาแล้วจำเลยผิดนัด การที่โจทก์ไม่นำเงินฝากประจำของจำเลยมาชำระหนี้ในทันทีกลับปล่อยให้ล่วงเลยไปถึง 6 เดือน แล้วจึงนำเงินฝากดังกล่าวมาชำระหนี้นั้นก็เป็นเรื่องการปฏิบัติงานของพนักงานโจทก์ ไม่มีผลทำให้วันเริ่มนับอายุความคดีนี้เปลี่ยนแปลงไปได้ โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2539 จึงเกิน 10 ปี คดีโจทก์จึงขาดอายุความ
of 32