คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุวัตร์ สุขเกษม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 319 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2326/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างทำของไม่จำเป็นต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ อายุความเริ่มนับเมื่อส่งมอบงาน
สัญญาจ้างทำของ กฎหมายมิได้บัญญัติให้ต้องกระทำตามแบบหรือต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือจึงจะฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ เพียงแต่ผู้ว่าจ้างตกลงจะให้สินจ้างเพื่อผลสำเร็จแห่งการที่ทำนั้นก็เป็นการเพียงพอที่จะฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ ดังนั้น แม้เอกสารตามที่โจทก์อ้างจะไม่มีลายมือชื่อของจำเลยในฐานะผู้ว่าจ้าง ก็ใช้เป็นพยานหลักฐาน เพื่อประกอบการพิจารณาว่าจำเลยได้ตกลงว่าจ้างให้โจทก์ทำการดังกล่าวหรือไม่ได้
การที่โจทก์ต้องส่งมอบงานก่อสร้างอาคารชุด ส่วนที่ 17 และงานติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าในอาคารชุดดังกล่าว แก่จำเลยเป็นหน้าที่ของโจทก์ตามสัญญา แม้ในส่วนงานติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้านั้นโจทก์ได้ติดตั้งเสร็จแล้ว แต่งานในส่วนการก่อสร้างอาคารชุด ส่วนที่ 17 โจทก์ยังทำไม่เสร็จ โจทก์ย่อมมีเหตุอันควรที่จะรอส่งมอบงานทั้งสองอย่างนี้พร้อมกัน แต่ตราบใดที่ยังไม่มีการส่งมอบงานระหว่างโจทก์กับจำเลย สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในการเรียกค่าติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าก็ยังไม่เกิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 602 วรรคหนึ่ง และอายุความในการฟ้องร้องจึงยังไม่เริ่มนับตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/12 เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าโจทก์ส่งมอบงานที่ทำดังกล่าวแก่จำเลยในวันที่ 5 มิถุนายน 2534 และยื่นฟ้องวันที่ 3 มิถุนายน 2536 สิทธิเรียกร้องในส่วนนี้จึงยังไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1935/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินติดแม่น้ำเจ้าพระยาไม่ถือเป็นที่ดินไม่มีทางออก การเรียกร้องทางจำเป็นไม่สำเร็จ
ที่ดินของโจทก์ที่ 6 ถึงที่ 13 ทั้ง 4 แปลงอยู่ติดแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งปัจจุบันยังมีการใช้สัญจรตามปกติจึงเป็นทางสาธารณะ ที่ดินของโจทก์ดังกล่าวจึงไม่เป็นที่ดินที่มีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 วรรคหนึ่ง
บ้านบางหลังของฝ่ายโจทก์เป็นบ้านยกพื้น อยู่สูงกว่าระดับน้ำในแม่น้ำประมาณ 70 เซนติเมตร แสดงให้เห็นว่า ระดับน้ำในแม่น้ำกับริมตลิ่งย่อมจะน้อยกว่า 70 เซนติเมตร กรณีไม่ถือว่าเป็นที่ชันอันระดับที่ดินกับทางสาธารณะอยู่สูงกว่ากันมากตามความหมายของมาตรา 1349 วรรคสอง
เมื่อที่ดินของโจทก์ที่ 6 ถึงที่ 13 ทั้ง 4 แปลงอยู่ติดทางสาธารณะแม้ฝ่ายโจทก์ไม่ได้ใช้ทางสาธารณะนี้สัญจรไปมาเป็นเวลานานแล้วก็ไม่ทำให้โจทก์ทั้งสิบสามมีสิทธิที่จะใช้ทางพิพาทในที่ดินของจำเลยทั้งเจ็ดโดยอ้างว่าเป็นทางจำเป็นได้
ที่ดินของโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 5 และโจทก์ที่ 8 ถึงที่ 13 แปลงอื่น ซึ่งไม่ได้ติดทางสาธารณะโดยตรงนั้น เป็นที่ดินแบ่งแยกมาจากที่ดินที่ติดทางสาธารณะหากโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 5 และโจทก์ที่ 8 ถึงที่ 13 จะเรียกร้องเอาทาง ก็ต้องเรียกร้องเอาจากที่ดินแปลงเดิมที่ได้แบ่งแยกหรือแบ่งโอนกัน ไม่อาจที่จะเรียกร้องขอใช้ทางพิพาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1682/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความชอบด้วยกฎหมายของประกาศกระทรวงสาธารณสุข กำหนดเมทแอมเฟตามีนเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 1
พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 6และมาตรา 8(1) ให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษประกาศให้ยาเสพติดให้โทษชื่อใดอยู่ในประเภทใดได้ เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษ ประกาศให้เมทแอมเฟตามีนเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว จึงมีผลใช้บังคับได้ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 6 เช่นกฎหมายประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135 จึงชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1682/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความชอบด้วยกฎหมายของประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่กำหนดให้เมทแอมเฟตามีนเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 1
พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 6 และมาตรา 8 (1) ให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษประกาศให้ยาเสพติดให้โทษชื่อใดอยู่ในประเภทใดได้ เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษประกาศให้เมทแอมเฟตามีนเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135 (พ.ศ. 2539) และได้ประกาศในราชกิจจานุเบิกษาแล้ว จึงมีผลใช้บังคับได้ตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 6 เช่นกฎหมาย ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135 จึงชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1627/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนเชิด-ความรับผิดทางละเมิด: เจ้าของรถมีส่วนรับผิดเมื่อรถถูกใช้โดยไม่ชอบ
รถแท็กซี่คันเกิดเหตุมีชื่อจำเลยที่ 2 และหมายเลขโทรศัพท์ของจำเลยที่ 2 ปรากฏอยู่ข้างรถ การที่จำเลยที่ 1 นำรถคันดังกล่าวออกมาขับรับผู้โดยสาร ย่อมเป็นการแสดงออกต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้สุจริตว่า จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนเชิดของจำเลยที่ 2เจ้าของรถในการรับจ้างบรรทุกผู้โดยสาร จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในผลแห่งละเมิดที่เกิดขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 427,821

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1458/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมและผลของการขายสินสมรสโดยไม่ได้รับอนุญาตจากคู่สมรส
ขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องในวันที่ 29 มิถุนายน 2535ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคสองซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2499ที่ใช้บังคับอยู่บัญญัติให้ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมได้ก่อนเสร็จการสืบพยานหลักฐานของคู่ความฝ่ายซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อนแม้ต่อมามีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2535มาตรา 3 ให้ยกเลิกความในมาตรา 88 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และให้ใช้ความใหม่แทนแล้วก็ตาม แต่มาตรา 18 บัญญัติว่า พระราชบัญญัตินี้ไม่ใช้บังคับแก่บรรดาคดีที่ได้ยื่นฟ้องไว้แล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และแม้ต่อมาจะมีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 14)พ.ศ. 2538 ใช้บังคับโดยมาตรา 3 ให้ยกเลิกมาตรา 88 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2535และให้ใช้ความใหม่แทน แต่ก็มิได้ยกเลิกมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2535 ดังนั้น เมื่อจำเลยยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมต่อศาลก่อนเสร็จการสืบพยานหลักฐานของโจทก์ซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อน จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
การที่ อ. หญิงมีสามีขายที่ดินซึ่งเป็นสินสมรสอันเป็นสินบริคณห์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1462(เดิม) ให้แก่จำเลย เป็นการกระทำที่ผูกพันสินบริคณห์ตามมาตรา 38(เดิม) ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นซึ่งจะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตของ ล. สามี หากกระทำโดยมิได้รับอนุญาตก็จะตกเป็นโมฆียะ อันเป็นเรื่องความสามารถไม่ใช่แบบที่กฎหมายกำหนด แม้ไม่ได้รับอนุญาตก็ไม่ทำให้สัญญาระหว่าง อ. กับจำเลยตกเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1455/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตรวจค้นโดยมีหมายค้นชอบด้วยกฎหมายเมื่อดำเนินการโดยเจ้าพนักงานตามหมายและต่อหน้าบุคคลในครอบครัวที่ให้ความยินยอม
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 97และมาตรา 102 วรรคหนึ่ง การค้นโดยมีหมายค้นจะต้องดำเนินการโดยเจ้าพนักงานตำรวจผู้ถูกระบุชื่อในหมายค้น และทำการค้นต่อหน้าเจ้าของหรือบุคคลในครอบครัวของเจ้าของสถานที่ที่จะค้นหรือมิฉะนั้นก็ค้นต่อหน้าบุคคลอื่นสองคนที่ขอให้มาเป็นพยานก็ได้ร้อยตำรวจเอก พ. ผู้ถูกระบุชื่อในหมายค้นเป็นหัวหน้าในการตรวจค้นและทำการตรวจค้นต่อหน้าจำเลยซึ่งเป็นบุตรของเจ้าของบ้าน จึงถือว่าเป็นบุคคลในครอบครัวตามที่ระบุในมาตรา 102 วรรคหนึ่ง แม้จำเลยจะยังไม่บรรลุนิติภาวะแต่ก็เป็นผู้เข้าใจในสาระของการกระทำและมีความรู้สึกผิดชอบเพียงพอที่จะให้ความยินยอมโดยชอบแล้ว ดังนั้น การค้นจึงชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1402/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวการร่วมครอบครองยาเสพติดเพื่อจำหน่าย แม้ไม่ได้ยึดยาจากตัวจำเลยโดยตรง ก็ถือเป็นหลักฐานได้
แม้เจ้าพนักงานตำรวจจะไม่ได้ยึดเมทแอมเฟตามีนจากจำเลยที่ 3 ก็ตาม แต่การที่จำเลยที่ 3 ร่วมเดินทางมากับจำเลยที่ 1 และที่ 2 เพื่อขอดูเงินที่จะซื้อเมทแอมเฟตามีนจากผู้ล่อซื้อ และขณะที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 กำลังตรวจนับเงินกันนั้นจำเลยที่ 3 ก็ยืนดูอยู่ใกล้ ๆ แล้วจำเลยที่ 3 ก็ขับรถจักรยานยนต์ออกไปพร้อมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ครั้นจำเลยที่ 1 และที่ 2เดินทางกลับมายังที่นัดหมายเพื่อส่งมอบเมทแอมเฟตามีนให้แก่ผู้ล่อซื้อ จำเลยที่ 3 ก็ร่วมเดินทางมาด้วย แม้ขณะจำเลยที่ 2ส่งมอบเมทแอมเฟตามีน จำเลยที่ 3 จะนั่งดูอยู่บนกำแพงห่างออกไปเพียง 3 ถึง 4 เมตรก็ตาม ก็มีลักษณะเป็นการเฝ้าดูเหตุการณ์และระวังภัยที่จะเกิดขึ้นขณะนั้นนั่นเอง พฤติการณ์ของจำเลยที่ 3 มีลักษณะเป็นการแบ่งหน้าที่กันทำในระหว่างจำเลยทั้งสาม การกระทำของจำเลยที่ 3 ถือได้ว่าเป็นการร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ครอบครองเมทแอมเฟตามีนของกลางเพื่อจำหน่ายและจำหน่าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1376/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รวมในที่ดินและบ้านพิพาท: การพิสูจน์สิทธิในสินสมรสและการแบ่งทรัพย์สิน
แม้โจทก์ จำเลย และ ย. ซึ่งเป็นบิดาของจำเลย จะได้รับการสันนิษฐานไว้ก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1357 ว่าผู้เป็นเจ้าของรวมกันมีส่วนเท่ากันก็ตามแต่ข้อสันนิษฐานของกฎหมายดังกล่าวไม่ใช่ข้อสันนิษฐานเด็ดขาดโจทก์สามารถนำสืบหักล้างเปลี่ยนแปลงได้ เมื่อพฤติการณ์แสดงให้เห็นชัดแจ้งว่าที่ดินและบ้านพิพาทเป็นของโจทก์และจำเลยโดย ย. เพียงแต่มีชื่อร่วมในโฉนดที่ดินพิพาทเพื่อการเสนอธนาคารขออนุมัติกู้เงิน ย. จึงหาได้มีส่วนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมแต่อย่างใดไม่ โจทก์มีสิทธิฟ้องขอแบ่งที่ดินและบ้านพิพาทซึ่งเป็นสินสมรสกึ่งหนึ่ง
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์หย่าขาดจากจำเลยให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ ให้จำเลยแบ่งที่ดินและบ้านพิพาทแก่โจทก์กึ่งหนึ่งเป็นเงิน 375,000 บาท ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้จำเลยแบ่งแก่โจทก์หนึ่งในสามเป็นเงิน 250,000 บาทโจทก์ฎีกาขอให้พิพากษาให้จำเลยแบ่งแก่โจทก์กึ่งหนึ่ง ดังนี้ทุนทรัพย์พิพาทกันในชั้นฎีกาเป็นเงิน 125,000 บาท ต้องเสียค่าขึ้นศาลจากทุนทรัพย์ดังกล่าว และแม้ไม่เกินสองแสนบาทก็ไม่ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงเพราะเป็นคดีเกี่ยวกับสิทธิในครอบครัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1376/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งสินสมรสหลังหย่า: ศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้เป็นไปตามเดิม เนื่องจากเห็นควรให้แบ่งสินสมรสเป็นธรรม
โจทก์จำเลยเคยเป็นสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย ต่อมาหย่าขาดกัน โจทก์และจำเลยพิพาทเกี่ยวกับที่ดินและบ้านพิพาทซึ่งเป็นสินสมรสมีราคา 750,000 บาท ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าให้จำเลยแบ่งแก่โจทก์กึ่งหนึ่งเป็นเงิน 375,000 บาท ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้จำเลยแบ่งแก่โจทก์หนึ่งในสามเป็นเงิน 250,000 บาท โจทก์ฎีกาขอให้พิพากษาให้จำเลยแบ่งที่ดินและบ้านพิพาทแก่โจทก์กึ่งหนึ่งตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ดังนี้ทุนทรัพย์พิพาทกันในชั้นฎีกาเป็นเงิน 125,000 บาท แม้ไม่เกินสองแสนบาทก็ไม่ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงเพราะเป็นคดีเกี่ยวกับสิทธิในครอบครัว
of 32